KM ทันตแพทย์ เขตบริการสุขภาพที่ ๘ @ หนองคาย (๔)


เว้นหลายวัน บันทึกสุดท้ายของชุดนี้แล้วนะคะ ต่อจากบันทึก KM ทันตแพทย์ เขตบริการสุขภาพที่ ๘ @ หนองคาย (๓) ค่ะ

กระบวนการกลุ่ม (๔) เรื่องดีที่สร้างสรรค์ : โรงเรียนช่องปากติดดาว

มาตรการในโรงเรียน (โจทย์)

  • สถานการณ์การแปรงฟันในโรงเรียน
  • ถ้าเราอยากเพิ่มปริมาณ ความครอบคลุมการแปรงฟันของนักเรียน จะทำอย่างไร
  • ถ้าเราอยากเพิ่มคุณภาพการจัดกิจกรรมแปรงฟันในโรงเรียน จะทำอย่างไร

ตัวแทนกลุ่มนำเสนอต่อยอด มาตรการการแปรงฟันในโรงเรียน

  • สถานการณ์
    • นากลาง แปรงฟันได้ อนุบาล – ป. ๖ สื่อสารกับผู้บริหาร รร. แต่งตั้งครูทุกชั้นเรียนเป็นผู้ดูแลการแปรงฟัน ตรวจความสะอาดทุกครั้ง / มีรุ่นพี่จัดรายการเปิดเพลงให้เด็กมาแปรงฟัน / กอล์ฟ หาโรลโมเดล ใน รร. ให้เด็กผู้นำรู้วิธีเลือกซื้อขนม สอนแปรงฟัน ตรวจวัดความถูกต้องของการแปรงฟัน ให้เด็กกลุ่มนี้ไปสอน รร.อื่น ทพ.ดูความถูกต้อง / นก ใช้สัญลักษณ์ แดง เหลือง เขียว บอกถึงขนมเสี่ยงต่อฟันผุ
    • โพนพิสัย จ.หนองคาย มีโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ๒ แห่ง แปรงฟันในโรงเรียนไม่ครบทุกชั้น และไม่ครบทุกคน บางแห่ง ไม่มีน้ำสำหรับแปรงฟันในฤดูแล้ง
    • นาด้วง จ.เลย มีโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ๑ แห่ง แปรงฟันทุกโรงเรียน แต่ไม่ครบทุกชั้น ส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น
    • ปากชม จ.เลย ไม่มีโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร แปรงฟันในโรงเรียนแต่ไม่ครบทุกคน
    • โรงพยาบาลสกลนคร มีโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ๑ แห่ง แปรงฟันในโรงเรียนไม่ครบทุกชั้น ป.๕-๖ เป็นแกนนำนักเรียนในการแปรงฟัน โรงพยาบาลสนับสนุนแปรงสีฟัน ยาสีฟัน
    • อากาศอำนวย จ.สกลนคร ไม่มีโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร (เคยส่งเข้าประเมินแต่ไม่ผ่าน) มีกิจกรรมการแปรงฟันในโรงเรียนทุกชั้น แต่ไม่ได้ลงไปติดตามผลของกิจกรรม
    • จังหวัดหนองบัวลำภู มีโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ๒ แห่ง โรงเรียนที่มีการแปรงฟันทุกชั้นทุกคน ร้อยละ ๑๐ ประถมศึกษาตอนปลาย มีการแปรงฟัน ร้อยละ ๕๐ บางโรงเรียนไม่แปรงฟัน มีสาเหตุมาจากโรงเรียนไม่มีนโยบายชัดเจน และนักเรียนไม่มีแปรงสีฟัน หรือยาสีฟัน
    • รพ.สต.พระทาย อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ไม่มีโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรในพื้นที่ที่ดูแลดูแล ๒ โรงเรียน ขนาดใหญ่ ๑ แห่ง ขนาดเล็ก ๑ แห่ง แปรงฟันทุกชั้น ทุกคน ทั้ง ๒ แห่ง (ดูจากบันทึกของครูประจำชั้น) เปิดเพลงแปรงฟันให้นักเรียนแปรงฟันทุกวัน ทันตาภิบาลมีการลงเยี่ยมโรงเรียน ทุก ๓ เดือน

  • ทำ SWOT Analysis
    • จุดแข็ง มีรร. เครือข่าย / รร.ส่งเสริมสุขภาพ เครือข่ายทันตบุคลากรระดับเขต
    • จุดอ่อน ทพ.บางคนไม่ได้ลง รร. มีการทำงานแต่ไม่ได้ติดตาม ไม่รู้ข้อมูล ไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน คนไม่พอ เวลาไม่พอ ขาดความต่อเนื่องของการเข้า รร.
    • โอกาส ครูทำตามคำสั่งเสมอ (ผอ./อบต. หมอ) มีภาคีเครือข่าย (ทภ. อสม.) ชมรม อย.น้อย มีกำลังคน ยุวทูตฟันดี หนองบัวลำภูมี อบจ.สัญจร อปท.ให้ความสำคัญงานทันตสาธารณสุขมาก ชมรมผู้สูงอายุสนับสนุนงานทันตสาธารณสุข
    • อุปสรรค ไม่มีนโยบายของเขตการศึกษา ครูไม่ให้ความร่วมมือเพราะเข้าใจว่าไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง ครูทำงานปกติ ครูอนามัยรอทำงานตามทันตบุคลากรอย่างเดียว
  • สรุปสถานการณ์ แนะนำพื้นที่ มี รร.ระดับเพชร / แต่ไม่ได้แปรงทุกคน ไม่ได้แปรงทุกชั้น มีนโยบายบ้างแต่ทำบ้างไม่ทำบ้าง ไม่มีน้ำแปรงฟัน
  • เราไม่รู้ว่าทำไมเด็กถึงไม่แปรงฟัน แปรงฟันเฉพาะเด็กอนุบาล – ป. ๓ ส่วน ป. ๔-๖ ไม่แปรงฟัน รร.เปิดเพลงให้แปรง เด็กแปรงตอนเพลงจบ เด็กตอบว่าไม่มีแปรง เพราะต้องใช้ทั้งที่บ้านและ รร.
  • บางแห่ง ไม่มีน้ำสำหรับใช้แปรงฟัน หรือน้ำไม่สะอาด
  • ใน รร. ไม่ใช่ว่าครูหรือเด็ก หรือผู้ปกครอง ไม่มีความรู้ แต่สิ่งที่ขาด คือ ไม่เห็นความสำคัญในการดูแลช่องปาก เด็กไม่อยากถูกบังคับให้แปรงฟัน หาวิธีที่ทำให้เด็กอยากแปรงฟันเอง ตัวอย่าง เด็กฟันผุมาก หมอส่งผลการตรวจและการรักษาที่ต้องให้บริการ รวมค่ารักษา ส่งไปให้ผู้ปกครอง ผู้ปกครองพาเด็กมาทำฟันเพิ่ม



มาตรการในโรงเรียน

  • พื้นที่ต้องทราบข้อมูล สถานการณ์การแปรงฟัน สภาวะทันตสุขภาพในทุกระดับ ทั้งระดับตำบล (รพ.สต.) ระดับเครือข่ายอำเภอ (โรงพยาบาลชุมชน/โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป) ระดับจังหวัด(สสจ.) ดึงผู้บริหาร ใส่ Caries Free เป็นตัววัดของ รร.
  • ทันตแพทย์ (ทราบข้อมูลทางวิชาการ) และทันตาภิบาล (ทราบข้อมูลสำคัญในพื้นที่) คืนข้อมูลดังกล่าวให้กับผู้บริหารโรงเรียน ผู้นำชุมชน (ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ) ชมรมผู้สูงอายุ อสม. และผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผ่านการจัดประชุมทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ หรือการเข้าประชุมร่วมกับองค์กรต่าง ๆ โดยเน้นไปที่ผู้นำชุมชน หรือผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีลูกหลานอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบดูแลอยู่ จะทำให้เกิดความห่วงใยในบุตรหลานมากกว่าการนำเสนอไปที่ผู้บริหารโรงเรียนอย่างเดียว
  • แจ้งมาตรการการส่งเสริมทันตสุขภาพ ชี้และตั้งเป้าหมายร่วมกับที่ประชุมให้ได้ว่า “เด็กนักเรียนต้องมีการแปรงฟันทุกชั้น ทุกคนและทุกวัน”
  • ขอแนวทางการจัดการร่วมกับงานทันตสาธารณสุข เช่น นโยบายการส่งเสริมให้มีการแปรงฟัน ให้เสนอ โรงเรียนติดดาว หากมีการเห็นพ้องต้องกัน ให้เสนอกิจกรรมที่สำคัญ เช่น
    • โรงเรียนและชุมชน เช่น ผู้นำชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีนโยบายสนับสนุนทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ให้มีการส่งเสริมการแปรงฟันในโรงเรียนและทำให้เด็กนักเรียนต้องแปรงฟันทุกชั้น ทุกคน การแปรงฟันเป็นคะแนนให้เด็กนักเรียน
    • ทำ MOU ร่วมระหว่าง รร. กับ รพ.สต. / รพช. ประสานกับ สพฐ. ติดตามนิเทศ
    • หาคีย์ใน รร. ได้แก่ ผอ. ครูประจำชั้น ครูอนามัย ให้ผลงาน รร.ระดับเพชร/ทอง การสร้าง รร.เครือข่าย (สร้างเฉพาะ รร.ที่พร้อม แล้วเป็นตัวอย่างให้คนอื่นแข่งขัน) การสร้างทีมผู้นำนักเรียน เป็นการสร้างทายาท ส่งต่อข้อมูลให้น้อง เป็นชมรม สมุดบันทึกการแปรงฟัน เป็นต้น
    • เครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ จัดเตรียมบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม ทั้งงบประมาณภายในและภายนอก
    • เครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ ต้องดูแล ประสานงาน ติดตาม ให้โรงเรียนทุกแห่ง โรงเรียนในเครือข่ายเด็กไทยฟันดี โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับต่างๆ จัดกิจกรรมที่มีความชัดเจนมากขึ้น สร้างสิ่งแวดล้อม ทั้งการแปรงฟัน สถานที่ที่เหมาะสมในการแปรงฟัน อุปกรณ์ในการแปรงฟัน ตรวจวัดแปรงบานหรือไม่
    • เครือข่ายบริการสุขภาพ สร้างแรงจูงใจ เช่น ประกวดการแปรงฟัน ในระดับตำบลและอำเภอ โดยจัดโครงการให้มีความร่วมมือของเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และโรงเรียน เพื่อสร้างกระแสการแปรงให้เกิดขึ้น ให้พื้นที่ที่ยังไม่มีกิจกรรมได้เข้ามาร่วมทำกิจกรรมต่อไป
  • รร.เล็ก เด็กแปรงฟันมากกว่า / แปรงฟันพักเที่ยง เดินไปถามนักเรียนว่า สัปดาห์นี้แปรงฟันกี่วัน ให้ดาว รร. (ด่านซ้ายโมเดล)
  • การแจกรางวัล เกียรติบัตรให้ครู / รร. / นักเรียน ครูใช้เก็บเป็นผลงานได้


วิธีแก้ปัญหา

  • รู้ข้อมูลในพื้นที่ตนเอง ของ รพ.สต. และ รพช.
  • คืนข้อมูล ให้ครู ผู้บริหาร รร. ทีมผู้บริหาร รพ. ซึ่งมักตกร่องเดิม ต้องหาคนใหม่ ๆ เช่น ผู้นำชุมชน อปท. ถ้ามีเวลาน้อย ขอนำเสนอข้อมูลเข้าที่ประชุมผู้บริหาร รร.ทั้งอำเภอ
  • แจ้งมาตการที่เราอยากให้เกิด คือ การแปรงฟัน ให้ชุมชนหาแนวทาง /ผู้บริหารกำหนดเป็นนโยบาย เช่น รร.ติดดาว ต้องมีความชัดเจน ว่ามีกิจกรรมอะไร อุปกรณ์แปรง มีน้ำ สถานที่ให้แปรงฟัน หาข้อตกลง
  • กระตุ้นกิจกรรม คือ การประกวด เกิดกระแสให้ รร. ที่ไม่สนใจเข้าร่วมได้ หรือเกิดกระแสในผู้นำแบบไม่เป็นทางการ
  • ข้อเสนอเชิงนโยบายจากส่วนกลาง


พี่ฝนสรุป

  • หาข้อมูล สถานการณ์ในพื้นที่ของเรา
  • คืนข้อมูล และหาภาคีเครือข่าย (ใหม่ๆ) เช่น อปท. ต้องสร้างโอกาสให้ตัวเอง ในการเข้าถึงภาคี
  • อดีตงานเฝ้าระวังทันตะ ในรร. เดิมทันตะมีความเด่นเรื่องงานใน รร.
  • ภาพเขต ๘ ตัวชี้วัดหลักผ่าน เช่น การเข้าถึงบริการ สะท้อนถึงบริการใดที่มากหรือน้อย จุดเด่นของเขต ๘ คือ การเข้าถึงบริการปฐมภูมิ
  • แผน service plan เขต ๘ ส่วนอื่นมีคนช่วยทำ (ระบบบริการ พัฒนาคุณภาพบริการ) ในส่วนของงานส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย เด็กเล็ก เด็กประถม ในปี ๕๘ วางแนวเรื่องการแปรงฟัน ว่าจะทำให้มีคุณภาพมากขึ้น ผลประชุมกลุ่มบอกถึงประสบการณ์การทำงานใน รร. / ในพื้นที่
  • เขตต้องเตรียม ความชัดเจน

พี่พวงสะท้อน

ช่วยกันเสนอเกณฑ์ รร.ติดดาว (แปรงฟันที่ รร.)

  • ใช้จำนวนชั้นของเด็กนักเรียน ?
    • หนึ่งดาว ชั้น อนุบาล
    • สองดาว ชั้น อนุบาล + ป. ๑ – ๓
    • สามดาว ชั้น อนุบาล + ป. ๑ – ๖
  • ใช้จำนวนเด็กในแต่ละชั้นอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ?
  • ใช้จำนวนความถี่ ในการแปรงฟัน ต่อสัปดาห์ ?


ที่ประชุมสรุป

  • เกณฑ์พื้นฐาน ให้ใช้ช่วงชั้นเด็กในปีแรก ๒๕๕๙ตามที่เสนอ หนึ่งดาว สองดาว สามดาว (ข้างบน)
  • เป้าหมาย ปี ๒๕๕๙ รร.แปรงฟันติดสามดาว ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐


กระบวนการกลุ่ม (๕) ร่วมคิดการส่งเสริมภาคีและสร้างเครือข่ายการทำงานในเขตสุขภาพที่ ๘

เชิญชวนทีม CUP ผู้สนใจสมัคร ทีมละ ๓ – ๔ คน ร่วมประชุมที่อำเภอเชียงคาน จ.เลย วันที่ ๑๔ – ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๘

  • เตรียมหัวข้อ ที่อยากรู้ (ประเมิน/วัดผล)
    • อะไรที่อยากรู้ในงานที่เราทำอยู่
    • อะไรคือสิงที่เกิดขึ้นบ้าง จากงานที่เราทำ
    • อะไรคือสิ่งที่ดี หรือสิ่งที่อยากปรับแก้ในงานที่ทำ
    • ส่งไปที่เมล์ สสจ.แต่ละจังหวัด ภายใน ๓๐ ตค. ๒๕๕๘

ปิดการประชุม ขอบคุณผู้เข้าประชุมทุกคนที่ร่วมแบ่งปัน เรียนรู้ ทีมผู้จัดเขต ทีมเจ้าภาพพื้นที่ สสจ.หนองคาย และทีมวิทยากร พบกันใหม่ที่เชียงคาน เจ้าภาพพื้นที่ สสจ.เลย

^_,^

จบบันทึกชุดนี้จริง ๆ แล้วนะคะ ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามและเสนอแนะข้อคิดเห็นดี ๆ

เพื่อเด็ก ๆ เพื่อชาวอีสานตอนบน ๗ จังหวัด จะมีสุขภาวะที่ดีจากการมีสุขภาพฟันดี กินอะไรก็อร่อย นะคะ

คนทำงานเองก็รู้สึกชื่นบาน ชื่นใจไปด้วย เวลาเห็นใคร ๆ มีรอยยิ้มสดใส เพราะปากและฟันแข็งแรง

ช่องปากเป็นประตูสู่สุขภาพ เราเอง คือ หมอฟันประจำตัวเองที่ดีที่สุดนะคะ

พบกันอีกทีที่เชียงคาน กลางเดือนธันวาคมนี้ ภาพธรรมชาติสวยบริสุทธิ์ ร่ำรวยวัฒนธรรมฝั่งโขง .... รอให้ไปเยือน

ทุกท่านไม่ลืมนะคะ .... ก่อนนอนต้องทำอะไร

ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

.... หมอฟันฝั่งโขง ^_,^

หมายเลขบันทึก: 596932เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2015 23:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2015 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เสื้อชมพูพี่หมอฝนเนอะ

ชอบใจหัวข้อนี้ครับ

ทำ SWOT Analysis

  • จุดแข็ง มีรร. เครือข่าย / รร.ส่งเสริมสุขภาพ เครือข่ายทันตบุคลากรระดับเขต
  • จุดอ่อน ทพ.บางคนไม่ได้ลง รร. มีการทำงานแต่ไม่ได้ติดตาม ไม่รู้ข้อมูล ไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน คนไม่พอ เวลาไม่พอ ขาดความต่อเนื่องของการเข้า รร.
  • โอกาส ครูทำตามคำสั่งเสมอ (ผอ./อบต. หมอ) มีภาคีเครือข่าย (ทภ. อสม.) ชมรม อย.น้อย มีกำลังคน ยุวทูตฟันดี หนองบัวลำภูมี อบจ.สัญจร อปท.ให้ความสำคัญงานทันตสาธารณสุขมาก ชมรมผู้สูงอายุสนับสนุนงานทันตสาธารณสุข
  • อุปสรรค ไม่มีนโยบายของเขตการศึกษา ครูไม่ให้ความร่วมมือเพราะเข้าใจว่าไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง ครูทำงานปกติ ครูอนามัยรอทำงานตามทันตบุคลากรอย่างเดียว

สนใจประเด็นสีเหลืองมากๆเลยครับ ถ้าขับเคลื่อนไปในระดับนโยบายน่าสนใจมาก

ชอบใจ และได้เรียนรู้ ในการทำ SWOT Analysis ค่ะ

  • จุดแข็ง มีรร. เครือข่าย / รร.ส่งเสริมสุขภาพ เครือข่ายทันตบุคลากรระดับเขต
  • จุดอ่อน ทพ.บางคนไม่ได้ลง รร. มีการทำงานแต่ไม่ได้ติดตาม ไม่รู้ข้อมูล ไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน คนไม่พอ เวลาไม่พอ ขาดความต่อเนื่องของการเข้า รร.
  • โอกาส ครูทำตามคำสั่งเสมอ (ผอ./อบต. หมอ) มีภาคีเครือข่าย (ทภ. อสม.) ชมรม อย.น้อย มีกำลังคน ยุวทูตฟันดี หนองบัวลำภูมี อบจ.สัญจร อปท.ให้ความสำคัญงานทันตสาธารณสุขมาก ชมรมผู้สูงอายุสนับสนุนงานทันตสาธารณสุข
  • อุปสรรค ไม่มีนโยบายของเขตการศึกษา ครูไม่ให้ความร่วมมือเพราะเข้าใจว่าไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง ครูทำงานปกติ ครูอนามัยรอทำงานตามทันตบุคลากรอย่างเดียว


-สวัสดีครับพี่หมอ

-ตัวผมเองสมัยเป็นเด็กได้รับรางวัลฟันดี

-มาเดี๋ยวนี้เสียวฟัน..เพราะเหงือกร่น..อิๆ

-เสียวแปร๊บๆ ๆ

-ทำไงดีหนอ......หรือผมแก่แล้ว 5555

พื้นสีชมพู ใช่ค่ะพี่ฝน

นโยบายระหว่างกระทรวงศึกษาและสาธารณสุข มีมานานแล้วนะคะ พักหลังแผ่วไปเยอะค่ะ อ.ขจิต

ขอบคุณมากค่ะพี่เปิ้น

เย้ ๆ คุณเพชรฯ เก่งจัง ฟันดีตั้งแต่เล็ก แปรงฟันเบา ๆ นะคะ และถูกทิศทาง บนหมุนข้อมือลง ล่างหมุนข้อมมือขึ้น

ถ้าแปรงขวางตัวฟัน คอฟันสึก จะเสียวได้ค่ะ ^_,^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท