​วิ่งว่าว เก็บข้าว เป่าปี ​


วิ่งว่าว เก็บข้าว เป่าปี

วันนี้ฉันได้มีโอกาสเข้าแปลงเกษตรของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งมีโครงการ

วิ่งว่าว เก็บข้าว เป่าปี

ภาพในอดีตของฉันผุดขึ้นทันที

วิ่งว่าว

ในสมัยเด็กๆนั้น ฉันมีบ้านใกล้กับปู่เจ๊ะ ซึ่งเป็นพี่ชายของย่าและเป็นกำนันที่ตำบลละหารนี้ แต่ฉันเรียก พ่อเจ๊ะ ช่วงหน้าร้อนหน้าบ้านของปู่และเลยมาถึงหน้าบ้านของฉันจะมีเด็กๆ วัยรุ่น และผู้สูงอายุนั่งใช้พร้า เหลาไม้ไผ่กัน เพื่อทำง่าว (ว่าว) ว่าวที่ปู่นิยมทำคือ ว่าววงเดือน เมื่อเหลาเสร็จ ไม้ไผ่บางๆนั้นจะถูกนำมาดัดให้โค้งคล้ายรูแจันทร์เสี้ยวจึงเรียกว่าววงเดือน ซึ่งเดือน หมายถึง ดวงจันทร์ แล้วใช้เชือกฝ้ายผูกที่ละข้อ เราที่เป็นเด็กผู้หญิงมีหน้าที่ซื้กระดาษว่าว และกวนแป้งเปียก พ่อเจ๊ะและทีมผู้ชายจะใช้กระดาษว่าวที่บอบบางแปะทับก้านไม้ไผ่ที่เหลาไว้อย่างประณีต เพราะัมิฉะนั้นกระดาษขาดจะต้องซื้อใหม่ ฝีมือลวดลายแล้วแต่ใครจะจินตนาการ จากนั้นใช้ไม้ไผ่แปะขวางเพื่อเวลาโดนลมจะมีเสียงดัง ช่วงบ่ายๆเด็กๆก็จะนำไปเล่นบริเวณทุ่งนาที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว

ขอบคุณภาพจากกลูเกิ้ลค่ะ

เก็บข้าว

เก็บข้าวเป็นภาษาถิ่น เนื่องจากเราใช้แกะในการเก็บทีละรวง ลักษณะของแกะจะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ กระดานแกะ ตาแกะ และหลอดแกะ หรือด้ามแกะ การใช้แกะเกี่ยวข้าวทำโดยการเอาแกะใส่เข้าระหว่างนิ้วนางและนิ้วกลาง ใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งจับระหว่างรวงข้าว แล้วเอารวงข้าวมาทาบกับคมของแกะ และใช้คมแกะตัดที่คอรวงข้าวแต่ละรวง ส่วนมือที่ว่างก็ใช้เก็บรวงข้าวที่ตัดแล้วจนเต็มกำมือ เมื่อข้าวเต็มกำมือ ก็นำมาวางไว้ในที่แห้ง เมื่อได้พอประมาณก็นำมาผูกรวงให้แน่นทำเป็นเลียงข้าว เพื่อที่จะนำไปเก็บไว้ในลอมข้าวต่อไป วันนี้เป็นการเก็บข้าวพันธู์พื้นเมือง ชื่อ ข้าวหอมกระดังงา มีการแข่งขันการประกวดการเก็บข้าว ดังภาพในโครงการค่ะ

แข่งขันเก็บข้าว

ผู้เขียนร่วมเป็นคณะกรรมการประกวด

บุคลากรมหาวิทยาลัยร่วมเก็บข้าว

สอนวิธีการใช้แกะกับนักศึกษาแพทย์

ผู้เขียนพร้อมคณบดี วจก.

นักศึกษาแพทย์ใช้แกะเกี่ยวข้าว

เป่าปี

ซังข้าวหรือต้นข้าวสามารถประยุกต์เป็นของเล่นให้กับเด็กๆระหว่างที่พ่อแม่เก็บข้าวได้ วันนี้มีการประกวดเป่าปี่ซังข้าวค่ะ

ชาวบ้านร่วมแข่งขันเป่าปี่ซังข้าว

นักศึกษาแพทย์ร่วมแข่งขันด้วย


หมายเลขบันทึก: 603674เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2016 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มีนาคม 2016 15:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท