แหล่งชุมนุมตำราพิไชยสงคราม...ไทย


ตำราวรวากยไว้ วิถาร, พิไชยสงครามการ เสร็จสิ้น, จงหาที่พิษฎาร เติมต่อ, จงอย่าฟังกลสิ้น เล่หเลี้ยวจำความ

ถ้าพูดถึง ศิลปแห่งสงคราม (The Art of War) ในโลกและบ้านเรา เชื่อว่า คงไม่มีใครไม่รู้จัก "ตำราพิชัยสงครามชุนวู (The Art of War)" ของจีน เขียนขึ้น 6ศตวรรษ ก่อนคริสตกาล (ประมาณปี 551 – 497 ปี) มีหัวใจสำคัญอยู่ 13 บท ถือเป็นต้นตำรับของศิลปแห่งสงคราม ที่ทหาร นักธุรกิจ ทุกอาชีพต่างก็อ่านกันทั่วทุกคน สนใจอ่านได้จากที่นี่ครับ (https://th.wikipedia.org/wiki/พิชัยสงครามซุนจื่อ)


ที่มาของรูป (อ้างจาก https://en.wikipedia.org/wiki/The_Art_of_War )


ที่่รองลงมาดูเหมือนจะเป็น "36 กลยุทธของซุนวู" มักเรียกกันอย่างนี้ซึ่งยังหาหลักฐานไม่ได้ว่าใครเขียนขึ้นมา บางตำราก็ว่าเป็นคนนิรนาม บางตำราก็ว่าเป็นซุนปิง ไม่มีข้อยุติ (เล่มนี้อ่านสนุก และ มีทำเป็น VCD ขายด้วยครับ)

สุดท้ายในกลุ่มนี้ คงหนีไม่พ้น "สามก๊ก" เพราะหนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงการทำสงครามชิงอำนาจกัน 3 ยุคโดยใช้ตำราพิชัยสงครามจีน ถึง 6 ตำราด้วยกัน

หากพูดถึง "ตำราพิไชยสงครามของไทย" (เขียนตามแบบโบราณ) ที่เห็นกันมักขึ้้นตาม เวบและ บล็อกต่าง ๆ ที่เอา 21 กลยุทธ มาอธิบายความกันนั้น ส่วนใหญ่นำมาจาก"ตำราพิไชยสงครามคำกลอน" ที่มีการพิมพ์ขึ้นมาในระยะหลัง (มีทั้ง ถูกและก็คลาดเคลื่อน )

สายธารแห่งปัญญา

ตามพงศาวดารไทยระบุไว้ว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แรกให้ทำตำราพิชัยสงคราม เมื่อ พุทธศักราช 2041

(บันทึกใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ)


ผู้เขียนได้ศึกษาในเรื่องนี้ตั้งข้อสันนิษฐาน เบื้องต้นว่า

1) คงมีที่มาของตำราพิชัยสงครามจาก มหากาพย์ภารตยุทธที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียโบราณ (เพราะมีกระบวนพยุห์ หลายชื่อที่คล้ายหรือเหมือนกัน)

2) แหล่งที่สองน่าจะมาจาก คัมภีร์บางส่วนของอินเดียเช่นกัน ใน คัมภีร์อรรถศาสตร์ (Arthasastra) แต่งโดย จาณักย ะที่ปรึกษาของพระเจ้าจันทรคุปต์ แห่งแคว้นโมริยะ มีทั้งหมด 7 ยุทธศาสตร์ (Sanman Danda Dana Bheda Maya Upeksa Indrajala )และเป้นกองทัพแรกที่ จัดทัพแบบ จตุรงคเสนา

และหลักฐานอย่างหนึ่งระบุว่า พระมหากษัตริย์ ส่วนใหญ่สมัยโบราณต้อง เรียน "ศิลปศาสตร์ 18 ประการ" หนึ่งในนั้นคือ .ยุทธสา เป็นวิชาสู้รบที่เอาชัยชนะ เรียกว่า คัมภีร์พิชัยสงคราม ( http://www.dooasia.com/thaihistory/h003c004.shtml)

3) ขณะที่ในตำรา กองทัพของขอมโบราณ (The Armies of Angkor) ระบุชัดเจนว่า การจัดกองทัพขอมโบราณนั้นอาศัยหลักตาม คัมภีร์อรรถศาสตร์

เล่มที่ 10 ว่าด้วยการทำสงครามและการจัดกำลังพล 4 รูปแบบของกองทัพ ซึ่งมีในภาพจำหลักนูนต่ำที่ ปราสาทนครวัด (จากหนังสือตามรูป ในหน้าที่ 13)


สำหรับผู้ที่สนใจสามารถหา อ่านได้เพราะมีผู้แปลทั้ง ตำราพิชัยสงครามซุนวู และ สามก๊ก อยู่เป็นหลายเล่ม


ส่วนท่านที่อยากหาร่องลอยตำราพิไชยสงครามไทย (นอกจากไปอ่านที่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ) แนะนำเล่มนี้ครับ ไขรหัสได้ดีทีเดียว คือ

"พิชัยสงครามฮินดูโบราณ" ที่ ร้อยเอก ยี.อี. เยรินี แปลและเรียบเรียงขึ้นจากตำรา นีติประกาศิกา (ตำราอาวุธ) และตำรายุทธสงคราม ศุกรนีติสาร จัดพิมพ์ใน ร.ศ.113 (ค.ศ.1894) ประกอบความเข้าใจได้(ดังรูปปกหนังสือข้างล่างเป็นเล่มที่พิมพ์ใหม่ ในปัจจุบัน-2548)



อยากเข้าใจอย่างแท้จริงต้องอ่าน ฉบับหลวงพิไชยเสนา

หนังสือตำราพิไชยสงคราม ที่ปรากฏเป็นอักษรปัจจุบัน ตามหลักฐานที่พิมพ์ขึ้นครั้งแรกปี 2418 โดยโรงพิมพ์ปลัดเลย์ หนังสือพิไชยสงครามไทย รวมห้าเล่มสมุดไทย คัดลอกมาจากต้นฉบับหลวงพิไชยสงคราม(เป็นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุด)บางครั้งเราเรียกกันว่าฉบับหมอปลัดเลย์

หน้าปกเขียนไว้ชัดเจนว่า

* พิไชยตำหรับนี้ ศุภผล

ยี่สิบเบ็ดครบกล ถี่ถ้วน

สำหรับราชฆณฑล,ปราบศึก, สยอนเอย

ครบสิ่งสงครามถ้วน, เลิศแล้วควรเรียน.

หากท่านใดได้อ่านเล่มนี้ ถือว่าครบถ้วนที่สุดในฉบับคำกลอน จะขาดก็แต่ฉบับ กระบวนพยุหะ แต่ ไขรหัส ตำราพิไชยสงครามโบราณได้ โดยเฉพาะเป็นหนึ่งในเล่มที่ผู้เขียนใช้ในการจัดทำหนังสือ "ตำราพิไชยสงคราม เมืองเพชรบูรณ์"


ส่วนที่กรมศิลปากรได้จัดพิมพ์ เล่มแรก

ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ นายพลตรีพระยารามจตุรงค์(เพ็ชร บุณยรัตพันธ์) ปี 2469 เป็นตำราพิชัยสงครามคำกลอน ฉบับเดิมของเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช(เวก บุณยรัตพันธุ์) และสมเด็จฯ กรมพระสวัสดิ์วัดนวิศิษฎ์ ได้ให้หอพระสมุดฯ ตรวจทานและจัดพิมพ์ และมีตำนานหนังสือตำราพิไชยสงคราม ของสมเเด็จ กรมพระยาดำรงราชานุภาพพิมพ์ไว้ด้วย และกลยุทธ 21 ประการ พร้อมคำอธิบายเป็นคำกลอน

ซึ่งยากในการตีความและการนำไปปรับใช้ (แม้จะมีหลายท่านพยายามทำอยู่ก็ตาม) เพราะหากอ่านเข้าใจได้เลย เกิดตกไปอยู่ในมือศัตรูก็คงจะแย่ ขนาดของซุนวู ก็ยังมีแปลแล้วแปลอีก ยกตัวอย่างแทบจะทุกภาษา ภาษาไทยก็แปลกันหลายสำนัก




ส่วนเล่มต่อมา เป็นเล่มที่พิมพ์ครั้งที่ 5 ของกรมศิลปากร อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยเอกขุนวรนิติ์นิสัย นอกจากเหมือนเล่มแรกแล้วยังมีเพิ่ม ตำราพิชัยสงครามซุนวู แปลโดยนายเสถียร วีรกุล ไว้ด้วย

เล่มล่างเป็นการพิมพ์ครั้งที่ 6 ซึ่งเล่มนี้มักอ้างถึงกันมาก เนื่องจากพิมพ์ในปี 2512 ได้เพิ่มในส่วนของกระบวนพยุหะ หรือ การจัดกระบวนทัพ เข้ามา 17 ภาพ




เล่มสุดท้าย น่าสนใจมาก คือ ฉบับของพลเอกหลวงสวัสดิสรยุทธ ว่าด้วยหลักการสงคราม และประวัติและกิจการทหารการยุทธครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325 ถึง พ.ศ.2475 พิมพ์ในปี 2512

ถ้าอยากลึกซึ้งจริงต้องไปอ่านฉบับโบราณ ที่เป็นเล่มสมุดไทย ในสำนักหอสมุดแห่งชาติ มีเก็บรวบรวมไว้ทั้งหมด 217 เล่มสมุดไทย

ไม่ใช่แต่ตำราพิไชยสงครามเท่านั้น ยังมีตำราปืนใหญ่ และ ตำราพิไชยสงครามของพม่าด้วย


ดร.ดนัย เทียนพุฒ

ที่ปรึกษาและนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
www.drdanai.blogspot.com

www.facebook.com/Strategy.th

Line ID: thailand081

email: [email protected]

หมายเลขบันทึก: 604460เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2016 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2016 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท