การจัดทัพในมังรายศาสตร์


ในระหว่างที่ผู้เขียนศึกษา "ตำราพิไชยสงคราม เมืองเพชรบูรณ์" เพื่อเขียนออกมาเป็นภาษาปัจจุบัน

พบว่า ตามประวัติกองทัพไทย จะอ้างถึงการจัดทัพใน "มังรายศาสตร์" ว่าเป็นหลักฐานแรกเท่าที่พบ

ในระหว่างนั้น ได้สืบค้นข้อมูลทางออนไลน์ พบ เอกสารสำคัญ คือ มังรายศาสตร์ (ฉบับ เสาไห้ จ.ศ.1161)

ดร.ประเสริฐ ณ นคร ถอดเป็นอักษรไทย จากตัวหนังสือพื้นเมืองล้านนาไทย

นำมาให้เห็นกันครับ


ข้อความข้างต้น เป็นการจัดหน่วยยามปกติ

ไพร่สิบคน ให้มีนายสิบผู้หนี่ง ข่มกว้านผู้หนึ่ง (ทำหน้าที่เป็นผู้ติดต่อ ป่าวประกาศเรื่องงานนายสิบทุกคน ) (สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ อธิบายไว้ว่า เป็น เจ้าหมู่ หรือ หัวหน้าหมู่บ้านดูและ คนเดิน ไพร่ ที่ได้การฝึก )

นายสิบมีห้าคน ให้มีนายห้าสิบผู้หนึ่ง มีปากซ้าย ผู้หนึ่ง 1 และปากขวาผู้หนึ่ง (เป็นผู้ช่วยรอฟังความ)

นายห้าสิบมีสองคน ให้มีนายร้อยผู้หนึ่ง (เทียบเท่ากับผู้บังคับกองร้อย)

นายร้อยมีสิบคนให้มีเจ้าพันผู้หนึ่ง (เทียบเท่ากับผู้บังคับกองพัน)

เจ้าพันมีสิบคน ให้มีเจ้าหมื่นผู้หนึ่ง (เทียบเท่ากับผู้บัญชาการกองพล)

เจ้าหมื่นมีสิบคน ให้มีเจ้าแสนผู้หนึ่ง (เทียบเท่ากับแม่ทัพ)

ปกครองแบบนี้เพื่อไม่ให้ขัดเคืองใจพระเจ้าแผ่นดิน (จาก หนังสือ ประวัติกองทัพไทย ในรอบ 200 ปี พ.ศ. 2325-2525 (2525) , หน้า 15-16 )

การจัดดังกล่าวนี้ร่วมสมัยกับสมัยกรุงสุโขทัย จึงอาจนำมาใช้กับการทหารของกองทัพกรุงสุโขทัยด้วย

(อ้างจาก http://www.sukhothai.go.th/history/hist_05.htm )

ส่วนการจัดเหล่าทหาร ที่เคยรู้กันคือ จตุรงคเสนา แต่ในแบ่งกองทหารตาม มังรายศาสตร์ จัดแบ่งตามความสำคัญ (ประวัติกองทัพไทย ในรอบ 200 ปี พ.ศ. 2325-2525 (2525), หน้า 15) คือ

ชั้นสูง ได้แก่ เหล่าพลช้าง เรียกว่านายช้าง

ชั้นกลาง ได้แก่ เหล่าพลม้า เรียกว่า นายม้า

ชั้นต่ำ ได้แก่ เหล่าพลราบ เรียกว่านายตีน

บันทึกเก่าและหลักฐานโบราณ มีคุณค่าและประโยชน์มากในการไขความเข้าใจในอดีต และทำให้เราได้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น ว่าในสมัยโบราณ ไทยเราก็มีหลักการ พิชัยยุทธ และอาจไม่ได้ ป่าเถื่อน แบบฝรั่งว่า ตามภาพจำหลักที่นครวัด ก็ได้


หมายเลขบันทึก: 605002เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2016 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2016 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท