แรงงานไทยในศตวรรษที่ ๒๑


แรงงานไทยในศตวรรษที่ ๒๑

ผมฟังข่าวการฉลองวันแรงงาน ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ด้วยความแปลกใจ ว่าเราพูดเรื่องสวัสดิการแรงงานกันแบบเอาใจ และแบบคำนึงถึงผลประโยชน์ระยะสั้น แทนที่จะพูดกันเรื่องหลักๆ ของอนาคตแรงงานไทย

คนไม่รู้อย่างผม จึงขอบันทึกไว้ว่าผมคิดอย่างไรเรื่องแรงงาน ไทย

แรงงานไทยต้องปรับตัว เปลี่ยนจากแรงงานแห่งศตวรรษที่ ๒๐ หรือแรงงานไร้ฝีมือ ไปเป็นแรงงานแห่งศตวรรษที่ ๒๑ หรือแรงงานมีฝีมือ มีการเรียนรู้ รวมทั้งต้องเปลี่ยนไปเป็นผู้ประกอบการรายย่อยให้มากที่สุด แบบในประเทศญี่ปุ่น โดยที่ทางการของประเทศต้องมีมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย

คนขับแท็กซี่ที่เป็นเจ้าของรถเอง ในสายตาของผม เป็นผู้ประกอบการรายย่อย

โดยที่สถานประกอบการของไทยต้องยกระดับ จากผลิตสินค้าหรือให้บริการราคาถูกคุณภาพ ปานกลางหรือต่ำ เปลี่ยนไปผลิตสินค้าหรือให้บริการที่มีคุณภาพสูง ราคายุติธรรม เราจึงจะอยู่ในฐานะที่แข่งขันได้ในตลาดโลก

การศึกษาระดับพื้นฐานของไทย ต้องเปลี่ยนแปลง ไปเน้นสร้างพลเมืองที่เป็นคนเอางานเอาการ รับผิดชอบ สู้งาน และมีทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในลักษณะ เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) พลเมืองไทยทุกคนต้องได้รับการปูพื้นฐานนี้ ไม่ว่าจะประกอบอาชีพใด

วิจารณ์ พานิช

๑ พ.ค. ๕๙

หมายเลขบันทึก: 605741เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2016 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2016 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท