เติมเต็มการผลิตและเผยแพร่ข่าวเพื่อเสนอผ่านสื่อดิจิตอลทีวี


ความรู้จากสื่อมวลชนเพื่อคนทำงานพีอาร์

กิจกรรม “พีอาร์ มช.และสื่อมวลชน สุนทรียสนทนา” เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้ร่วมกันในระหว่างผู้ที่รับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ เป็นการสนับสนุนการจัดการความรู้ของผู้ปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย ผ่านกระบวนแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) การเปิดโอกาสรับฟังการถ่ายทอดประสบการณ์ทำงานของสื่อมวลชน รวมถึงเรียนรู้มุมมองของสื่อมวลชนต่อความต้องการข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผ่านเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนและเล่าสู่กันฟังความรู้ที่ฝังลึกในตัวผู้ปฏิบัติงาน (Tacit Knowledge) อันเกิดจากการสะสมประสบการณ์ความสำเร็จในงาน และนำมาถ่ายทอดสกัดองค์ความรู้ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร กิจกรรมครั้งแรกเริ่มต้นที่ การผลิตและเผยแพร่ข่าวเพื่อเสนอผ่านสื่อดิจิตอลทีวี โดย คุณฟงหวิน ศักดิ์อัศวิน สื่อมวลชนสยามรัฐ และ LC Cable TV

ขณะเดียวกันเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ให้ทีมงานในการทำหน้าที่เป็นคุณลิขิตในวงการการจัดการความรู้ ฉันจึงมอบหมายทีมงานในงาน 1 หรือ 2 ทำหน้าที่สกัดความรู้ที่ได้รับไว้ เพื่อให้ผู้สนใจร่วมเรียนรู้โดยทางอ้อม และต่อยอดความรู้เหล่านี้ สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ สกัดความรู้โดย นางสาวเมธาพร เฉลิมเขตต์ งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง


มาติดตามความรู้ดีๆ กันค่ะ

งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดกิจกรรม พีอาร์ มช.และสื่อมวลชนสุนทรียสนทนา เรื่องการผลิตและเผยแพร่ข่าวเพื่อเสนอผ่านสื่อดิจิตอลทีวี โดย คุณฟงหวิน ศักดิ์อัศวิน จากสยามรัฐ และ LC Cable TV ให้เกียรติเป็นวิทยากรในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้แก่เครือข่ายพนักงานปฏิบัติงานด้านการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 37 คน เมื่อวันอังคารที่ 17 มีนาคม 2558 เวลา 13.30-15.30 น. ณ ห้องประชุมพระยาศรีวิสารวาจา สำนักงานมหาวิทยาลัย

จากการบันทึกข้อมูลที่ได้ระหว่างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อการผลิตและเผยแพร่ข่าวเพื่อเสนอผ่านสื่อดิจิตอลทีวี พอสรุปกระบวนการบรรยายและบอกเล่าประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ ดังต่อไปนี้

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้

  • การนำส่งข่าวให้สื่อมวลชนหลายสำนักพิมพ์ ควรเลือกภาพที่ไม่เหมือนกัน เพื่อให้มีความแตกต่างในข่าวที่เผยแพร่ โดยดูจากวิธีการเลือกใช้ภาพข่าวของแต่ละสำนักพิมพ์ ในการส่งข่าวหากมีเป็นหนังสือพิมพ์ส่วนกลางควรส่งให้สื่อส่วนภูมิภาคที่ตนอาศัยอยู่ ควรแยกไฟล์ภาพ กับไฟล์เนื้อข่าวคนละส่วนเพื่อความสะดวกในการนำมาใช้ของสื่อมวลชนต่อไป
  • ภาพข่าวที่ส่งให้นักข่าวไม่ควรผ่านการตัดต่อ เนื่องจากสื่อมวลชนจะเป็นผู้ตัดต่อเองตามความเหมาะสมกับเนื้อข่าว และควรเป็นภาพแนวนอน ภาพที่ถ่ายควรมีประธาน บรรยากาศของงาน
  • การบรรยายใต้ภาพ มีความสอดคล้องกับภาพ และมีองค์ประกอบของข่าวครบถ้วน อันได้แก่ ใคร (who) ทำอะไร (what) ที่ไหน (where) เมื่อไหร่ (when) ทำไมต้องทำ (why) อย่างไหร่ (how) มีความยาวไม่เกิน 3-4 บรรทัด
  • สื่อสิ่งพิมพ์ส่วนกลาง นิยมใช้ภาพประกอบข่าวเพียงรูปเดียว หากเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่นอาจใช้หลายภาพได้
  • การถ่ายภาพข่าวเคลื่อนไหว ให้ทำการถ่ายแยกเป็น shot โดยแต่ละ shot มีความยาวประมาณ 10-15 วินาที จากนั้นนำส่งให้สื่อมวลชนนำไปใช้ต่อไป
  • การถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวประกอบข่าวควรหลีกเลี่ยงการถ่ายติดพระบรมฉายาลักษณ์รวมถึงสินค้าที่จะแสดงชื่อเฉพาะ
  • ช่องทางการส่งข่าวให้กับสื่อมวลชนที่สะดวก คือ E-mail และในยุคปัจจุบันมีช่องทางที่รวดเร็วมากขึ้น คือ ช่องทาง line

นอกจากนี้ในวงสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้มีการตั้งคำถาม การแบ่งปันประสบการณ์ทำงานที่น่าสนใจ ดังนี้

ลำดั

ประเด็นสอบถาม/เล่าแลกเปลี่ยน

รายละเอียด

1.

ลักษณะของภาพข่าวอย่างไร ที่มีโอกาสได้ลงหนังสือพิมพ์

  • การถ่ายภาพหมู่ มีโอกาสที่จะได้ลงหนังสือพิมพ์มากกว่าภาพบุคคล 1-2 คน
  • ควรพิจารณาส่งภาพข่าวไฟล์ภาพหลายๆ ภาพให้สื่อมวลชนเลือกเผยแพร่
  • สื่อมวลชนที่มีการแข่งขันกัน จะไม่พิจารณาการลงภาพซ้ำกัน
2.

การใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพ

สามารถส่งภาพข่าวได้ แต่ควรตั้งค่าความละเอียดสูง และภาพมีความคมชัดมากๆ

3.

ภาพถ่ายที่ป้ายชื่องานอยู่สูงเกินกว่าจะถ่ายติดภาพในภาพเดียว

ให้นำส่งภาพต้นฉบับ อาศัยส่งหลายภาพโดยแยกโฟลเดอร์กับเนื้อข่าว แล้วสื่อมวลชนจะนำไปตัดต่อตามความเหมาะสมต่อไป

4.

การส่งข่าวให้นักข่าว

  • งานที่มีการเตรียมข่าวไว้ก่อนล่วงหน้า สามารถ copy ข่าวใส่ไว้ใน USB แล้วแจกสื่อมวลชนในงานก็จะง่ายในการนำไปใช้งาน
  • การส่งข่าวให้ท้องถิ่นกับส่วนกลางควรแยกไฟล์ส่งคนละรอบ
  • หากหน่วยงาน คณะ ส่งข่าวเดียวกันก็สามารถทำได้ สื่อมวลชนจะพิจารณาว่าข่าวนี้ลงหรือยัง แล้วดำเนินการเสนอข่าวต่อไป
5.

กรณีส่งข่าวที่มีเนื้อข่าวเชิญชวนให้สนใจแต่มีการเสียเงินลงทะเบียน เช่นข่าวรับสมัครอบรมภาษาของสถาบันภาษา เป็นต้น

สื่อมวลชนจะพิจารณาข่าวประชาสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม หากกิจกรรมใดมีค่าใช้จ่าย อาจต้องพิจารณาการลงเป็นสื่อโฆษณา

6.

หากไม่รู้จักกับสื่อมวลชน ข่าวที่ส่งไปจะได้ลงหรือไม่

การไปร่วมงานแถลงข่าวถือเป็นช่องทางที่ทำให้เรารู้จักสื่อมวลชน และเป็นช่องทางในการส่งข่าวเพื่อทำการประชาสัมพันธ์ต่อไป เช่น ทุกวันอังคาร ณ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่

7.

การส่งภาพข่าวเคลื่อนไหวให้สื่อมวลชนช่วยเผยแพร่

นักประชาสัมพันธ์สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหว ด้วยกล้องวิดีโอ กล้องจากโทรศัพท์มือถือ โดยบันทึกสั้นๆ shot ละ 10-15 วินาที จำนวนมากเท่าที่ต้องการ และส่งให้สื่อมวลชน ๆ จะพิจารณาการคัดเลือกตัดต่อตามที่เห็นสมควรเอง กรณีสื่อดิจิตอลทีวีจากส่วนกลาง อาจตัดต่อให้มีความยาวเหลือ 1-3 นาที หากเป็นสื่อดิจิตอลที่ไม่มีเรื่องธุรกิจค่าเวลาในการออกอากาศ สามารถนำเสนอผลิตเป็นสารคดีสั้น 10-15 นาที ได้

8.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีช่องทางการใช้สื่อดิจิตอล

  • สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ITSC ได้จัดทำ CMU Channel เผยแพร่บนเว็บไซต์ ซึ่งมีช่องทางนำเสนอข่าวสารประชาสัมพันธ์ของคณะ และส่วนงาน ภายใต้เมนู AroundCMU นักประชาสัมพันธ์สามารถผลิตสื่อดิจิตอล ความยาว 1 - 5 นาที โดยอาจประสานงานมายังงานประชาสัมพันธ์ หรือติดต่อโดยตรงไปยัง ITSC ได้
  • มหาวิทยาลัยให้การสนับสนุน รายการรื่นรมย์ร่มสถาบัน ที่ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 17.00-18.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์ “เฉลิมกรุง ทีวี” หน่วยงาน คณะ สามารถผลิตสื่อดิจิตอลเพื่อขอความอนุเคราะห์เผยแพร่ได้ (รับชม C-Band, Set Top Box, Local Cable, Facebook : Chaleamkrungtv, www.miccellmedias.com,infosat, thaisat, leotech, ideSET, ช่อง 150, dynasat ช่อง 128, sun box ช่อง 84, android)

สรุปประเมินผลการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม เป็นกิจกรรมที่ดี ได้รับความรู้ เทคนิคต่างๆในการส่งข่าว เขียนข่าว สามารถนำไปใช้ได้เป็นอย่างดี ได้รับประโยชน์มาก เห็นควรจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะเช่นนี้อีก

12/05/2559

หมายเลขบันทึก: 606293เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2016 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2016 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท