ให้กำลังใจเกษตรกรผู้เลี้ยงครั่งที่ป่าตัน


ต้นจามจุรี ที่เกษตรกรปลูกริมฝั่งแม่น้ำวัง คลองธรรมชาติที่มีน้ำขัง สระเก็บน้ำต่างๆ ส่วนใหญ่ครั่งจะติดดีหรือให้ผลผลิตรังครั่งดี


ให้กำลังใจเกษตรกรผู้เลี้ยงครั่งที่ป่าตัน เมื่อเร็วๆนี้( ๑๒ พค.๕๙ )ผมและทีมงานกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง ได้ออกไปเยี่ยมเยียนเกษตรกรชื่อ ลุงบุญมา บุญภา อยู่บ้านเลขที่ ๙o หมู่๑ บ้านนาคต ตำบลป่าตัน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ขณะที่ทีมงานไปถึง ก็ได้พูดคุยกับลุงบุญมาและได้เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันมีอายุ ๗๗ ปีแล้ว มีประสบการณ์ในการเลี้ยงครั่งมานานพอสมควร แต่มีพื้นที่อยู่แปลงหนึ่ง ประมาณ ๒ ไร่ สภาพเดิมเคยปลูกข้าวมาก่อน ได้ปรับเปลี่ยนมาปลูกต้นจามจุรี ( ต้นฉำฉา) เพื่อจะใช้เลี้ยงครั่ง ปลูกมาแล้ว ๘ ปี แล้ว ปรากฏว่า ครั่งไม่เคยติดเลย ปล่อยตัวครั่งไปก็ตายหมด จากคำบอกเล่าของลุงบุญมา สาเหตุน่ามีอยู่หลายประการและมีประการสำคัญก็คือ เมื่อเราปล่อยพันธุ์ครั่งไปแล้ว ก็พบว่ามีมดดำมากินตัวครั่งจนหมด ในขณะเดียวกันเพื่อนบ้านอีกหลายราย ก็เข้าใจว่าเป็นมดดำมากินตัวครั่งที่เราปล่อยไปบนต้นจามจุรี และอีกประการหนึ่ง พันธุ์ครั่งที่นำมาปล่อยนั้น เป็นพันธุ์ครั่งที่อ่อนไม่ค่อยแข็งแรง ซึ่งซื้อมาจากเพื่อนบ้าน


จากการศึกษาและประสบการณ์ของนักส่งเสริมการเกษตร เราก็พบว่า สาเหตุที่เกษตรกรปล่อยตัวครั่งไปบนต้นจามจุรีไปแล้ว ครั่งไม่ติด หรือที่ชาวบ้านบอกว่าครั่งตาย นั้นมีสาเหตุอยู่หลายประการ ได้แก่ ประการที่ ๑. พันธุ์ครั่ง ควรจะคัดเลือกแม่พันธุ์ครั่งที่อยู่ในรังครั่งแก่มีอายุเต็มที่หากเมื่อนำไปปล่อยอยู่บนต้นจามจุรีแล้ว จะใช้ระยะเวลาหนึ่งก็จะออกจากรังไปหาที่อยู่บนกิ่งไม้ที่ไม่แก่และอ่อนจนเกินไป โดยจะใช้ปากดูดกินน้ำเลี้ยง โดยไม่เคลื่อนย้ายไปไหนเลย หากเป็นพันธุ์ครั่งที่อ่อน ไม่แข็งแรง มีประชากรในรังครั่งน้อยเมื่อนำไปปล่อย ก็จะทำให้ไม่ติดและไม่มีการขยายประชากรตัวครั่งเพิ่มนั่นเองครับ


ประการที่ ๒. อากาศร้อน หากช่วงเวลาที่เราปล่อยพันธุ์ครั่งนั้น หากมีอุณหภูมิสูง เกิน ๓๙ องศาเซลเชียส เป็นช่วงระยะเวลานาน จะมีผลกระทบต่อการตายของตัวครั่ง ซึ่งจะทำให้ประชากรของครั่งลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยทั่วไปเกษตรกรผู้เลี้ยงครั่งจะนิยมเก็บเกี่ยวครั่ง ช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึงเดือนมีนาคม ของทุกปี แต่ก็สอดคล้องกับเปิดรับซื้อผลผลิตครั่งของโรงงานรับซื้อครั่งในจังหวัดลำปางนั่นเอง ในขณะเดียวกันเกษตรกรก็มักจะคัดพันธุ์ครั่งที่เหมาะสม ไปปล่อยเพื่อขยายพันธุ์บนต้นจามจุรี ที่เตรียมไว้ที่จะปล่อยพันธุ์ครั่ง ในรอบใหม่ต่อไป

ประการที่ ๓.แหล่งน้ำและความชื้น ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ จากการที่สังเกตพบว่า ต้นจามจุรี ที่เกษตรกรปลูกริมฝั่งแม่น้ำวัง คลองธรรมชาติที่มีน้ำขัง สระเก็บน้ำต่างๆ ส่วนใหญ่ครั่งจะติดดีหรือให้ผลผลิตรังครั่งดีนั่นเอง



ประการที่ ๔. ต้นไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่ง ปกติเกษตรกรจะปลูกต้นจามจุรี ไว้ตามหัวไร่ปลายนา การเลือกกิ่งที่ไม่แก่ เกินไป หากเป็นเป็นกิ่งแก่ครั่งก็จะไม่เจาะดูดน้ำเลี้ยงต้นจามจุรีได้มาใช้ได้ ก็มีผลกระทบให้ประชากรของครั่งไม่เพิ่มขยาย และจะตายไปในที่สุด ปัจจุบันก็มีการทดลองเลี้ยงครั่งบนต้นถั่วมะแฮะที่อำเภอสบปราบ และลั้นจี่ ที่อำเภองาวเป็นต้น

จากการที่ทีมงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อแนะนำ กับลุงบุญมา ในครั้งนี้ว่า ในฤดูฝนที่เริ่มขึ้นในปีนี้ช่วงตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นไป หากมีฝนตกลงมา ก็จะปรับเปลี่ยนทดลองศึกษา โดยหาพันธุ์ครั่งมาปล่อยในฤดูฝน ก็เท่าที่ทราบก็ทราบแหล่งพันธุ์ครั่งที่เลี้ยงบนต้นลิ้นจี่ ที่อำเภองาว มีไม่น้อยกว่า ๓oo ไร่ โดยจะได้ประสานกับเกษตรกรอำเภองาว ต่อไป


เขียวมรกต

๑๗ พค. ๕๙




หมายเลขบันทึก: 606659เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2016 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2016 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ตัวครั่งหน้าตาอย่างไรค่ะพี่ ไม่เคยรู้จักค่ะ

เปลี่ยนการเลี้ยงครั่งจากต้นจามจุรี เป็นการ เลี้ยงครั่ง บนต้นถั่วมะแฮะ .... เป็นการทดลองที่ดีนะคะ .... สงสารผู้ประกอบอาชีพ นะคะ

ขอให้ได้ผลที่ดีดีนะคะ



เคยทำการทดสอบเลี้ยงในป่าไมยราบยักษ์ ทำได้ปีเดียวสรุปข้อมูลไม่ได้..แรงจูงใจที่ทำเนื่องจากมีป่าไมยราพยักษ์ขึ้นมาย แต่หาคนกำจัดได้ยาก ทำให้ออกดอกแพร่ลูกหลาน การเลี้ยงครั้่ง..หวังไว้ว่าจะช่วยให้คนไปไปตัดไมราบยักษ์เอาครั้งและทำให้ไมยราบยักษ์ลดการติดดอกออกผล...จึงลองทำพิเรนๆดู..น่าจะช่วยลดการแพร่กระจายไมยราบยักษ์ ผู้คนได้ประโยชน์และช่วยกำจัดทางอ้อม ฝันไว้อย่างนั้น แต่ทำไม่สำเร็จ.ครับ เลยมาขายความฝันให้ หน.อารักขา ..ต่อ อิอิ



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท