เรียนปรัชญาเพื่ออะไร


"ปรัชญาคือ วิชาว่าด้วยปัญญา"

Philosophy is the knowledge about mind: its nature and activities for internal outcome and external outcome (กีรติ บุญเจือ, 2559)

.............

เรียนปรัชญาเพื่ออะไร เรียนไปก็ไม่มีอาชีพเฉพาะ เรียนอะไรที่มีงานทำดีกว่า คำถามเหล่านี้สำหรับผู้สนใจจะเรียนปรัชญาไม่ว่าระดับใด ย่อมอาจจะรู้สึกว่าตอบได้ยาก ส่วนหนึ่งเพราะไม่รู้เหมือนกันว่าปรัชญาคืออะไร เรียนแล้วได้อะไร มีอาชีพให้ทำไหม แล้วจะทำงานอะไรได้บ้าง ????

............

ขออธิบายคร่าวๆ ในฐานะผู้สอนวิชาปรัชญาศึกษา ดังนี้

1. ปรัชญาคืออะไร มีผู้นิยามไว้มาก และก็ต่างๆกันไป จึงสรุปได้ยาก แต่คิดง่ายๆ ว่าเรียนเพราะอยากฉลาดก็แล้วกัน แต่มีกรอบวัตถุประสงค์ในการเรียนได้แก่

เรียนปรัชญา เพื่อรู้ปัญหาที่ยังแก้ไม่ตก ปัญหานั้นเป็นปัญหาอะไรก็ได้ ปัญหาเหล่านี้บ้างก็ความรู้เฉพาะสาขาวิชานั้นๆ มาตอบไว้แล้ว เป็นความรู้ที่ตายตัวแล้ว แต่ในบางปัญหาก็ยังไม่สามารถให้คำตอบที่แน่นอนตายตัวได้ จึงยังเป็น “ปัญหาปรัชญา” ต่อไป

ปรัชญามุ่งหา “คำตอบที่เป็นไปได้” นั่นคือ 1) มีเหตุผลสนับสนุนให้เห็นว่าเป็นคำตอบได้ หรือ 2) คำอธิบายคำตอบก็ไม่ขัดแย้งในตัวเอง และ 3) ไม่ไร้ความหมาย

ปัญหาปรัชญา เกิดจากสมรรถนะคิดของมนุษย์ จึงต้องฝึกมองให้เห็นปัญหาไว้ให้มาก ย่อมได้เปรียบผู้ที่มองไม่เห็นปัญหา

  • —เพื่อรู้จักมองเห็นปัญหาที่คนธรรมดามองเองไม่เห็น
  • —เพื่อรู้จักมองหาคำตอบทุกคำตอบที่เป็นไปได้
  • —เพื่อรู้จักเก็บส่วนดีจากทุกคำตอบมาเป็นหลักยึดเหนี่ยวของตน

ผลที่เกิดจากการได้ศึกษาปรัชญา คือ การอ่านใจคน นั่นคือ อ่านความคิด ความเชื่อของผู้อื่นได้ เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาต่างๆ ทุกวิชา วิชาทั้งหลายล้วนเกิดจากแม่คือปรัชญา และเติบโตไปเป็นวิชาเฉพาะ แต่ก็ยังมีปรัชญาประยุกต์ที่ตามผลสรุปของวิชาต่างๆ เพื่อมองหา “ปัญหาปรัชญา” ต่อไป เห็นความสืบเนื่องของความคิดมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือรู้แนวความคิด แนวทางคำถาม คำตอบและแนวทางปฏิบัติตามแนวความคิดนั้นๆ และแนวความคิดอื่นๆ ในยุคก่อนหน้า ในยุคเดียวกัน และในยุคต่อๆ มา

เนื้อหาปรัชญา

  • ความเป็นจริงคืออะไร (what is reality)
    • —อภิปรัชญา (metaphysics)
  • เรารู้ความเป็นจริงได้อย่างไร (how to know reality)
    • —ญาณวิทยา (epistemology)
  • เครื่องมือของปรัชญา คือ ตรรกวิทยา (logic)
  • ปรัชญาประยุกต์ (applied philosophy) คือการนำเอาปรัชญาบริสุทธิ์ไปตีความผลสรุปของวิชาอื่นๆ

2. เรียนปรัชญาแล้วทำอาชีพอะไร อาชีพของผู้เรียนปรัชญา คือ นักปรัชญา แต่นักปรัชญาไม่มีงานอาชีพ นักปรัชญามีหน้าที่เป็นผู้ศึกษา เรียนรู้ และสอนสั่งผู้อื่น ดังนั้น อาชีพของนักปรัชญา จึงได้แก่ ครู อาจารย์ วิทยากร ในยุคสมัยใหม่นี้ เนื้อหาที่วิชาปรัชญาสอนกันมากได้แก่ การใช้วิจารณญาณ (critical thinking) และการคิดอย่างมีเหตุผล (logical positivism) ซึ่งทำให้มีอาชีพรองรับสำหรับคนที่ถนัด 2 เรื่องนี้โดยเฉพาะ คือ นักวิเคราะห์ และ ที่ปรึกษา

3. ในบางประเทศ โดยเฉพาะชาติตะวันตก และประเทศที่พัฒนาแล้ว ผู้จบปรัชญาในระดับปริญญาทั้งตรี โท เอก จะมีรายได้จากงานสูงเป็นอันดับต้นๆ ของผู้จบสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

4. ปรัชญาในประเทศไทย เป็นของยาก เพราะสอนประวัติศาสตร์ปรัชญาเป็นสำคัญ (ท่อง-จำ) ในบางแห่งสอนวิเคราะห์ (analytic) และ มีไม่กี่แห่งที่สอนวิจารณญาณ (critical mind)

5. ขอบข่ายที่ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย คือ พุทธปรัชญา

6. หลักปรัชญาที่พัฒนาโดยคนไทยที่สำคัญคือ ปรัชญากระบวนทรรศน์ โของศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ ราชบัณฑิต เมื่อ พ.ศ.2546 และอยู่ในช่วงการพัฒนาในฐานะ philosophy of thought

หมายเลขบันทึก: 607094เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2016 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2016 12:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท