KM.Md.KKU 1 กรกฎาคม 2559 : “สัมมนาทิศทางการจัดการความรู้ เพื่อตอบสนองกลยุทธ์หลักของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น"


หากผู้บริหาร/ผู้นำองค์กรเข้าใจแนวคิด หลักการ และแก่นของ KM จะสามารถใช้ KM เชื่อมโยง ผลักดัน และสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมหรือกลยุทธ์ สู่วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ และค่านิยมของคณะฯ ได้ไม่ยาก...

ในวันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม 2559 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับเกียรติจาก ดร.บุญดี บุญญากิจ ที่ปรึกษาสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นวิทยากรในการ “สัมมนาทิศทางการจัดการความรู้ เพื่อตอบสนองกลยุทธ์หลักของคณะฯ และstrategic KM (Knowledge Management)” ครั้งที่ 1 ด้วยความเชื่อที่ว่า หากผู้บริหาร/ผู้นำองค์กรเข้าใจแนวคิด หลักการ และแก่นของ KM จะสามารถใช้ KM เชื่อมโยง ผลักดัน และสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมหรือกลยุทธ์ สู่วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ และค่านิยมของคณะฯ ได้ไม่ยาก


มีคำถามหลัก ที่ต้องทบทวนตนเองอยู่ไม่กี่คำถามเพื่อประเมินการใช้ KM Tool สำหรับช่วยบริหารองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 หมวด 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มาตรา 11

“ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการเพื่อให้มีลักษณะเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถ ประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้องรวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถสร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกานี้”

หากกลับไปดูหมวด 1 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มาตรา 6

การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้

(1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน

(2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

(3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

(4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น

(5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์

(6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ

(7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

ขอสรุปแนวคิด KM และกิจกรรมที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าวไว้พอสังเขปในบางประเด็น ดังนี้

จากการทบทวนตนเองพบว่าบุคลากรรับรู้เรื่อง วัตถุประสงค์ของการทำ KM คณะฯ ดังนี้

• เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

• ทำงานเป็นทีม

• พัฒนาระบบงาน/เพิ่มประสิทธิภาพ

• เป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์

• ถ่ายทอดความรู้

• ศูนย์รวบรวมข้อมูล

• สื่อสารความรู้/จัดกิจกรรม

• สร้างนวัตกรรม/องค์ความรู้ใหม่

จากความเข้าใจที่ปรากฎดังกล่าว ต้องกลับมาตั้งคำถามตนเองว่า แล้ววัตถุประสงค์การทำ KM ที่เป็นทางการของคณะฯ คืออะไร? ทุกคนในคณะฯ เข้าใจตรงกันแล้วหรือยัง?

...


และจากการตอบแบบสอบถาม พบว่า KM ของเรานั้น...

• บุคลากร : มีส่วนร่วมน้อย บางส่วนไม่ยอมรับ ไม่มีความเข้าใจ KM ไม่มีทักษะในการใช้ KM Tools ไม่มีเวลา/เวลาไม่ตรงกัน ไม่มีแรงจูงใจ

• การสื่อสาร : ไม่ทั่วถึง ไม่ชัดเจน ไม่ต่อเนื่อง

• ระบบฐานข้อมูล : ยังไม่เป็นระบบ ไม่ตอบสนองผู้ใช้งาน

• การดำเนินการ KM : ไม่ต่อเนื่อง

• นโยบาย : ไม่ชัดเจน ไม่ตอบยุทธศาสตร์คณะฯ ขาดการกำหนดองค์ความรู้ที่จำเป็นของหน่วยงานให้สอดคล้องกับการบรรลุวิสัยทัศน์ของคณะฯ

...

ที่ผ่านมาเราทำ KM อย่างเป็นระบบหรือไม่?

จาก KM Process ที่ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่

1) กำหนดองค์ความรู้ที่สำคัญ ที่ทำให้คณะฯ บรรลุวิสัยทัศน์

2) สร้าง/ทำให้ได้มาซึ่งความรู้ดังกล่าว

3) รวบรวม/จัดเก็บอย่างเป็นระบบและทันสมัย

4) เข้าถึงเพื่อรับทราบ ควรมีระบบที่รองรับบุคลากรจำนวนมาก

5) แลกเปลี่ยน โดยการสร้างเวทีให้คนที่มีความรู้มาแลกเปลี่ยนกัน และ

6) การนำไปใช้ เพื่อให้เกิดประสบการณ์และการเรียนรู้

เราทำกิจกรรมอะไรกันไปบ้าง ครบถ้วนตามกระบวนการ KM หรือไม่? ยังน่าคิด


ให้กลุ่มประเมินตนเองตามกระบวนการดังกล่าว ได้ภาพสะท้อนที่บ่งบอกว่า เรายังเน้นการทำ KM ในส่วนของ "การแลกเปลี่ยน" เป็นส่วนใหญ่

ซึ่งหากมิได้ "กำหนดประเด็น" ไว้อย่างชัดเจนแต่แรก ก็ยากที่จะทำให้ KM ส่งพลังผลักสู่วิสัยทัศน์ของคณะฯ ได้


ต่างๆ ดังที่กล่าวมาเป็นเหตุให้ต้องทบทวน KM ของคณะฯ กับวงจรการปรับปรุง และคำถามสำคัญที่เป็นโจทย์ใหญ่ ที่ทางผู้บริหารคณะฯและ สนง.KM ต้องร่วมกันแสวงหาคำตอบ ได้แก่ ทำ KM

- เป็นระบบหรือไม่ ?

- มีประสิทธิผลหรือไม่?

- ฝังลึกในการทำงานแล้วหรือยัง? และ

- ทำทั่วทั้งคณะฯ แล้วหรือยัง?

นั่นจึงเป็นที่มาของการเรียนเชิญ ดร.บุญดี บุญญากิจ มาทบทวน KM ให้กับทีมผู้บริหารทุกระดับอย่างถึ่ถ้วน และถ่องแท้อีกครั้ง

...

จะอย่างไรก็ตาม แม้ผลการตอบ “แบบสอบถามเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในองค์กร (Preliminary Assessment on Organizational Knowledge Management)” จะมีความชัดเจนว่าที่ผ่านมากิจกรรม KM ของคณะฯ เป็น operational KM แต่เชื่อว่านับแต่นี้ต่อไปทุกย่างก้าวของกิจกรรม KM จะเต็มไปด้วยพลังผลักอย่างมีจุดมุ่งหมายทั้งสิ้น

...


กฤษณา สำเร็จ

9 สิงหาคม 2559

หมายเลขบันทึก: 612042เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2016 01:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 สิงหาคม 2016 11:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สรุปได้ดีมากค่ะ

ขณะนี้ส่วนใหญ่เราทำขั้นตอนที่ 5

หากไม่ได้ "กำหนดประเด็น" ไว้อย่างชัดเจนแต่แรก ก็ยากที่จะทำให้ KM ส่งพลังผลักสู่วิสัยทัศน์ของคณะฯ

ผลการจัดอบรมคราวนั้นทำให้เห็นภาพ ว่าคณะแพทย์์ของเราต้องทำอะไรต่อไปอีกมากมายค่ะ

...
ตั้งใจจะเล่าต่อๆไปค่ะ พี่แก้ว

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท