233. การศึกษาเพื่อการมีงานทำ


การศึกษาในยุค 4.0 เป็นการมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เลือกแนวทางการเรียนที่มุ่งเน้นไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ เนื่องจากปัญหาการจัดการศึกษาของไทยและปัญหาการขาดแคลนแรงงานบางประเภทที่ไม่มีแรงงานเพียงพอหรือไม่มีคนสนใจเรียนทางด้านนั้นๆ จนเป็นเหตุให้ต้องอาศัยแรงงานจากต่างชาติ หรือจ้างแรงงานที่ไม่ตรงกับคุณสมบัติที่ได้เรียนมา

เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องรีบแก้ไข และร่วมกันตะหนักในทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศ ที่มีโรงเรียนสายสามัญมากมาย แต่ขาดการส่งเสริมการเรียนรู้เฉพาะทางอย่างจริงจังเพื่อไปประกอบอาชีพ รวมทั้งการจัดการศึกษาเฉพาะทาง น่าจะถูกจำกัดโดยเนื้อหาหลักสูตร ที่บางพื้นที่มีการจัดการเรียนในหลักสูตรไม่สอดคล้องกับปัจจัยหรือคุณลักษณะพิเศษในท้องถิ่น อันส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานระยะยาวด้วย

ทั้งนี้ ในการแก้ปัญหาในการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ คงต้องเป็นโครงการระยะยาว ที่ไทยต้องลองผิดลองถูกอีกนาน เพราะดูจากการปฏิรูการศึกษาไทย ที่มีมาทุกยุคสมัย ยังเป็นการพายเรือในอ่างมาโดยตลอด

วันนี้ ผู้เขียนเป็นตัวแทนสถานศึกษาเข้ารับฟังนโยบายการศึกษาเพื่อการมีงานทำ ณ วิทยาลัยเทคนิคเลย ได้รับฟังแนวทางการจัดการศึกษาและการส่งเสริมการมีงานทำให้กับผู้เรียนอย่างไรบ้าง

น่าชื่นชม แต่ก็อดเป็นห่วงไม่ได้ว่า สาขางานส่วนใหญ่จะรองรับงานในต่างจังหวัด ลูกหลานชาวเลยออกไปทำมาหากิน เมื่อวันหนึ่งก็อยากกลับมาอยู่ที่บ้าน นั่นแหละการเคลื่อนย้ายแรงงานก็มาถึง

การเรียนรู้แบบไหน ที่จะรองรับงานในท้องถิ่นและช่วยกันพัฒนาบ้านเกิดคนเลยของเราอย่างยั่งยืน...

ก็ได้แต่ตั้งคำถาม และรอคำตอบต่อไป...





หมายเลขบันทึก: 614216เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2016 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2016 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท