​จิตตปัญญาเวชศึกษา ๒๘๐ : Coaching and Mentoring for medical professionalism Part VI (Finale)


จิตตปัญญาเวชศึกษา ๒๘๐ : Coaching and Mentoring for medical professionalism Part VI (Finale)

Summative Reflection

<p “=””>ผมได้ค้นพบมาเป็นเวลานานพอสมควร (ที่จริงควรใช้คำว่า “พบ” มากกว่า เพราะมีคน “ค้น” และพบมาก่อนเยอะแยะ) ในการทำงานยากๆ เหนื่อยๆ นั้น ต้องมี “ฉันทะ” ในอิทธิบาทสี่นำ และมี “สัมมาทิฎฐิ” เป็นหางเสือ ไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง values ของวิชาชีพคือสิ่งเหล่านี้ </p>

ส่วน academic competency จะเป็นคล้ายๆ main ingredients ที่จะปรุงให้เป็นอาหารจานที่จะบริโภค แต่ความซาบซึ้งตรึงใจนั้นเป็นเรื่องของ values ทุกวันนี้นักศึกษาถูก overwhelm ด้วย academic competency จนแทบจะกระดิกกระเดี้ยไปทางไหนไม่ได้ และอย่าว่าแต่นักศึกษาเลย ทุกวันนี้เราถูก bombarded ด้วย information overload ทางวิชาการที่เพิ่มในอัตราเร่ง และด้วยความเร็วที่ว่านี้เองที่ทำให้เราขาดสุนทรียะ ขาดเวลามา reflect ว่าสิ่งที่เราทำงานด้วยความมานะพากเพียรนั้นเติมคุณค่าแก่ชีวิตเราอย่างไรบ้าง

และ "เวลา" ไม่เคยรอใคร ผ่านแล้วก็ผ่านเลย ความประทับใจในประสบการณ์นั้นต้องประทับในครั้งแรก เมื่อไรก็ตามที่ไม่ได้ "พิมพ์" ไว้ในครั้งแรก ความทรงจำของเราจะขาดความสด และเราจะชดเชยด้วยการปรุงแต่งจากสัญญาเก่าๆ ความทรงจำเก่าๆ แทนที่เราจะได้ประสบการณ์ใหม่ เราก็จะอยู่กับของเก่า ของเดิมที่รู้อยู่แล้ว ไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ยืนกรานในความเชื่อเดิมๆ

AWARENESS จะเป็นเครื่องมือสำคัญ

Awareness เป็นทักษะที่ต้องฝึก เพราะถ้าไม่ฝึก ความเป็นออโตเมติกจะเข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ฝึก เราจะกลายเป็นหุ่นยนต์ที่ทำซ้ำๆไปเรื่อยๆ และไม่ได้เรียนรู้หรือรับรู้อะไรใหม่ๆ awareness ฝึกจากการรับรู้ทางกายง่ายที่สุด และยังมีการรับรู้ทางอารมณ์ การรับรู้ความคิดอีกต่างหาก

ดังนั้นจะขอพยายามนีกถึง "อุบาย" ในการที่จะให้ values เข้าไปในตัวกระบวนการเรียนและแจกแจงออกมา ไม่น่าได้ทั้งหมด เอาที่พอนึกออก แต่เชื่อว่าจะมีมากกว่านี้อีกเยอะ

How to develop Professionalism?

เนื่องจากคำนี้จะรวม academic competency เข้ากับ generic competencies ด้านอื่นๆที่เป็น values ด้วย จะไม่ขอพูดถึงสิ่งที่เราคุ้นชิน คือ บรรยาย lap การฝึกหัตถการ ฯลฯ อีก จะเน้นกลุ่มหลัง

@ Reflection
การสะท้อน เป็นกิจกรรมทั้งการเรียนรู้ และเป็นทั้งการประเมินด้วย เมื่อไรที่มีการสะท้อน ควรจะได้มองหาทั้งสอง attributes จะได้คุ้มค่าเวลาที่ใช้ การสะท้อนทำได้ทั้ง self reflection และ group reflection ซึ่งแตกต่างกัน ตัวการสะท้อนเองเป็นทักษะเบื้องต้นที่สำคัญมากๆด้วย เป็นแบบฝึกหัดการมี awareness ที่ดี (เพราะถ้าสะท้อนโดยไม่มี awareness เราจะหลุดอะไรไปหลายประการ หรืออาจจะไม่ได้อะไรเท่าที่ควร) ถ้าเป็นไปได้ ในทุกๆกิจกรรมการเรียนการสอน ควรมีพื้นที่สะท้อน
# สะท้อนความรู้สึก
# สะท้อนอารมณ์ (จงใจแยกออกมา ให้เห็นว่ามันมี shade แตกต่างกัน)
# สะท้อนความคิด
# สะท้อนตนเอง
# สะท้อนคนอื่น
# สะท้อนปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น
ในช่วงต้นก็จะเป็นการสะท้อน "ปรากฏการณ์" แต่ถ้าทำจนขำนาญ เราอาจจะลอง challenge ด้วยการเริ่ม "เชื่อมคุณค่า" ของปรากฏการณ์ดู อันนี้จะเป็น mix ของอารมณ์ ความคิด จินตนาการ อาทิ
# ที่ทำไปทำให้เกิดความสุขกับตนเอง คนอื่น อย่างไร
# สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความทุกข์กับตนเอง คนอื่น อย่างไร เพราะอะไร
# หรือเกิดคำถาม "ทำไมชั้นรู้สึกเบื่อ? ทำไมรู้สึกอินกับมันจังเลย? ทำไมรู้สึกน่าสนใจ ถ้าทำใหม่จะยังคงน่าสนใจไหม?" เป็นต้น
หรือเลยจากนั้นก็จะเป็นการ "ตกผลึก" (การตกผลึกเป็นการหล่อหลอมปรากฎการณ์ และทำให้เกิด "ความหมาย" ขึ้นทีลึกกซึ้งกว่าการบรรยายปรากฏการณ์) อาทิ
# เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง?
# เราเติบโตขึ้นมาด้านใดบ้าง อย่างไร เพราะอะไร?
# ความหมายของสิ่งต่างๆเปลี่ยนไหม? ตัวเรา ตัวคนอื่น กิจกรรม คุณค่า เหตุผล?
# เรามีความสุข ขอบคุณ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไหม?

@ Integral body mind and spirit learning

กิจกรรมการเรียนรู้จะมีพลัง ถ้าทั้งสามฐาน คือ กาย ความคิด และอารมณ์ ถูกใช้ในการเรียนพร้อมๆกัน และทุกๆ attributes ของฐานถูกใช้หลายๆด้าน เช่น
กาย ก็ใช้การรับรู้ทั้งตา หู จมูก รส สัมผัส
ใจ ก็ใช้ทั้งทุกข์ สุข กังวล เมื่อย ปวด
คิด ก็ใข้ทั้งใคร่ครวญ และจินตนาการ
จะเห็นได้ว่ากิจกรรมต่างๆจะมีส่วนผสมของเรื่องเหล่านี้ไม่เท่ากัน และยิ่ง "เนื้อหาเยอะ" สิ่งที่จะโดน compromised เร็วสุดคือ ฐานกาย และฐานใจ เพราะเราถนัดคิด ถนัดพูด รู้สึกว่ามันมีประสิทธิภาพ และใช้่เวลาไม่มาก ทำได้กับนักเรียนเยอะๆ แถมยังรู้สึก secure เพราะอาจารย์คิดเร็วกว่าเด็ก รู้มากกว่าเด็ก แต่พอออกนอก safe Zone ของอาจารย์ ไปเรื่องกาย รู้สึก อารมณ์ ที่อาจารย์จะพบอย่างรวดเร็วว่า "แถวๆนี้เราไม่คุ้นชิน" เราจะเกิดความรู้สึก insecure แต่อาจจะมองไม่เห็นว่า เรื่องงพวกนี้ (กาย รู้สึก อารมณ์) เป็นพื้นที่ที่นักศึกษามีจุดแข็ง และสามารถที่จะ "เท่าเทียม" กับเราได้มากกว่าด้านคิดอย่างเดียว

การออกแบบให้มี ฐานกาย ฐานใจ และฐานคิด ในกิจกรรมนั้น ทำได้ไม่ยาก แต่มีข้อจำกัดคือ เวลา สถานที่ และการนำเข้ากิจกรรม เช่น workshop ต้องเตรียมเครื่องมือ บริบท และคนมากพอสมควร เช่น เตรียมคลิปภาพยนต์ การนำเข้า การหยุด การเปิดพื้นที่ การเชื่อม body เข้าไปในกิจกรรม การดูแลพื้นที่อารมณ์ ตั้งแต่อารมณ์ง่ายๆ อาทิ สุข ขอบคุณ สนุก ไปถึงอารมณ์ที่ท้าทายมากขึ้น อาทิ ทุกข์ เศร้า โกรธ เกลียด กลัว

ในโรงเรียนแพทย์นั้น เรามี "บริบทอันเป็นสัปปายะ" คือเหมาะมากที่จะเรียนอย่างลึกซึ้ง ใช้โยนิโสมนสิการ การครุ่นคิดใคร่ครวญอย่างแยบคาย เป็นพื้นที่ที่ไม่เคยขาดแคลนบริบทอารมณ์ความรู้สึกทั้งแบบง่ายและแบบยากมากๆ ถ้าเราลองย้ายออกมาจากห้องบรรยาย ให้นักศึกษาลอง expose กับบรบทใหม่ๆ (รวมทั้งอาจารย์ด้วย) ความใหม่สดของบริบทจะเอื้อการเรียนรู้ รวมทั้งเป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่ง professionalism ไปด้วย สำหรับทุกๆคน

ก็เป็นการจบการสะท้อนกิจกรรมในสองวัน ขอบพระคุณคณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี คณะอนุกรรมการจริยธรรมแพทยสภา ทีมวิทยากรสุดยอดฝีมือ ที่ปรุงอาหารสมอง อาหารใจ รสเลิศ มอบให้เป็นของขวัญส่งท้ายปีเก่าปีนี้ครับ

คำสำคัญ (Tags): #ads
หมายเลขบันทึก: 620554เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2016 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ธันวาคม 2016 08:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ใช้ตัวนี้บ่อยเลยครับ Reflection

ปกติมาก

แต่มีตัวอื่นๆยังไม่ค่อยได้ใช่

ขอบคุณคุณหมอมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท