Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

การจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ไทยในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม


การจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ไทยในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม

Thai Dance Learning Management in The Buddhist Sunday Centerof Wat Phra Pathom chediNakhon Pathom Province


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ 1. เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ไทยในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร 3. เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนที่เรียนนาฏศิลป์ไทย ตามแนวคิด 6Q

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้วิจัยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ ได้แก่ นักเรียนชุมนุมนาฏศิลป์ จำนวน 15 คนผู้ปกครอง จำนวน 4 คนและพระสงฆ์ จำนวน 1 รูป รวมจำนวนผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ ทั้งสิ้น 20 คน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร การจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ไทยอยู่ในชุมนุมนาฏศิลป์ มีนักเรียนที่สนใจเรียนประมาณ 20 คน อาจารย์ผู้สอน เป็นอาจารย์จิตอาสาที่มีความรู้ทางด้านนาฏศิลป์ไทย เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนในการฟ้อนรำตามแบบกรมศิลป์และนาฏศิลป์พื้นบ้าน

2. นักเรียน มีความพึงพอใจต่อการเรียนนาฏศิลป์ไทย อยู่ในระดับมาก ทั้งโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านเพลงรำและท่ารำ ด้านเพื่อนร่วมชั้นเรียนนาฏศิลป์ และด้านบรรยากาศในการเรียน

3. นักเรียนที่เรียนนาฏศิลป์ไทยในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มีการพัฒนาศักยภาพตนเองตามแนวคิด 6Q ได้แก่ ความฉลาดทางสติปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดในการริเริ่มสร้างสรรค์ ความฉลาดทางศีลธรรม จริยธรรม ความฉลาดที่เกิดจากการเล่น และความฉลาดในการแก้ไขปัญหา

คำสำคัญ: นาฏศิลป์ไทย, การจัดการเรียนรู้, ความฉลาด, 6Q, ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

ABSTRACT

The purposes of this research were to study Thai Dance Learning Management in The Buddhist Sunday Center of Wat Phra Pathom chedi Nakhon Pathom Province.

This research is Qualitative Research and Participatory Action Research (PAR). The Key Informant used for study are 20 person including students in Thai Dance club, parent, and monks.

Major findings were as follows :

1. The Buddhist Sunday Center of Wat Phra Pathom chedi Nakhon have Thai Dance Club for Students. Students studies 20 person. Teacher of Thai Dance was volunteer at the Buddhist Sunday Center Wat Phra Pathom chedi.

2.Students haveSatisfactions toward Thai dance Studies at good level.

3.Learning for Thai dance of students in Buddhist Sunday Center have Self Development According to the 6Q concept Include IQ (Intelligence Quotient)EQ (Emotional Quotient)CQ (Creativity Quotient)MQ (Moral Quotient)PQ (Play Quotient) and AQ (Adversity Quotient)

Key words: Thai dance, Learning Management, Quotient, 6Q, Buddhist Sunday Center


พ.ศ.2560 นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง " การจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ไทยในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร " ในการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ครั้งที่ 1 ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2560 ณ โรงแรมเดอะรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร ได้รางวัลนำเสนอระดับดีมาก

</strong>

อ่านรายละเอียดผลการวิจัย เพิ่มเติมได้ที่

http://www.gotoknow.org/posts/628540

หมายเลขบันทึก: 628539เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2017 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2017 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท