สรุป พรบ.ข้าราชการกรุงเทพและบุคลากรกรุงเทพ


สรุป พรบ.ระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร

บังคับใช้ 24 พ.ค. 2554 (ถัดจากวันประกาศ)

5 หมวด 85 มาตรา

1. ก.ก.

2. ก.พ.ค.

3.ข้าราชการ --- ทั่ว ตำ แต่ง วินัย อุทธรณ์ ร้องทุกข์

4. คุ้มครอง

5. บุคลากร

กทม. = กรุงเทพมหานคร

ขรก. = ข้าราชการ

สนง. = สำนักงาน

หน. = หัวหน้า

ป. = ปลัด

ผบห.= ผู้บริหาร

ม. 4 บทนิยาม

ข้าราชการกรุงเทพมหานคร” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้

รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานครหรือจากเงิน

งบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่กรุงเทพมหานครและกรุงเทพมหานครนำมาจัดเป็น

เงินเดือนของข้าราชการกรุงเทพมหานคร

“ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ หมายความว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งรับราชการ

ในสังกัดกรุงเทพมหานคร แต่ไม่รวมถึงข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครและ

ข้าราชการกรุงเทพมหานครในสถาบันอุดมศึกษา

“ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร” หมายความว่า

(1) ข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริม

การเรียนรู้ หรือ

(2) ข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และให้

หมายความรวมถึงข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงาน

เกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ การบริหาร การศึกษา และปฏิบัติงานอื่น

ในหน่วยงานการศึกษาของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและ

บุคลากรกรุงเทพมหานครกำหนด

“ข้าราชการกรุงเทพมหานครในสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานคร

ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาตามที่คณะกรรมการข้าราชการ

กรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครกำหนด

“บุคลากรกรุงเทพมหานคร” หมายความว่า ลูกจ้างกรุงเทพมหานครและพนักงาน

กรุงเทพมหานคร

“ลูกจ้างกรุงเทพมหานคร” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานของ

กรุงเทพมหานครโดยได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณหมวดค่าจ้างของกรุงเทพมหานครหรือจากเงิน

งบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่กรุงเทพมหานครและกรุงเทพมหานครนำมาจัดเป็นค่าจ้าง

ของลูกจ้างกรุงเทพมหานคร

“พนักงานกรุงเทพมหานคร” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับ

ค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณหมวดค่าตอบแทนของกรุงเทพมหานคร

“หน่วยงานการศึกษา” หมายความว่า

(1) สถานศึกษา

(2) แหล่งการเรียนรู้ตามประกาศกรุงเทพมหานคร

(3) ส่วนราชการอื่นตามประกาศกรุงเทพมหานคร

“สถานศึกษา” หมายความว่า โรงเรียนหรือสถานศึกษาของกรุงเทพมหานครที่เรียกชื่ออย่างอื่น

ตามประกาศกรุงเทพมหานคร

“สถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า สถาบันการศึกษาที่จัดการศึกษาระดับปริญญาของ

กรุงเทพมหานครตามประกาศกรุงเทพมหานคร

ม. 6 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมวด 1 คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร (ก.ก.)

ม.7 ให้มี ก.ก. ประกอบด้วย

ตำแหน่ง

บุคคล

(ม.9)วาระ

(ม.12)การพ้นจากตำแหน่ง

ของ 4 กับ 5

1.ประธาน

-ผู้ว่า กทม.

-

-

-


4 ปี

-พ้นตามวาระ คัดเลือกก่อนครบวาระภายใน 60 วัน

-พ้นก่อนวาระ คัดเลือกภายใน 30 วัน นับแต่วันที่พ้น เว้นแต่ไม่เกิน 180 วัน

2.กรรมการโดยตำแหน่ง (5 คน)

-ป.มหาดไทย,เลขาฯก.พ.,เลขาฯก.พ.ร.,เลขาฯก.ค.ศ.,หน.สนง.ก.ก.

3.กรรมการผู้แทน กทม.(4 คน)

-รองผู้ว่า,ป.กทม.,ผู้แทนบุคฯกทม.,หน.สนง.ก.ก.

4.กรรมการผู้แทน ขรก. กทม.(5 คน)

-ขรก.สามัญ(2),ขรก.ครู/บุค(2),ขรก.อุดม(1)

5.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ(5 คน)

- บุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านบริหารท้องถิ่น,บุคคล,ราชการ,กฎหมาย,ศึกษา,อืน

หมายเหตุ : รองผู้ว่า เป็นรองประธาน และหน.สนง.ก.ก. เป็นเลขา *4และ5 โดยการคัดเลือก*

ม. ๘ คุณสมบัติกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

(๑) ไทย (๒) ไม่ต่ำกว่า40 ปีบริบูรณ์ (๓) ไม่ล้มละลาย ไม่ไร้ความสามารถ

(๔) ไม่จำคุก (๕) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ

(๖) ไม่เป็นพนักงาน(๗) ไม่การเมือง (๘) ไม่กรรมการพรรคการเมือง

(๙) ไม่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น

ม. 10-11 การพ้นจากตำแหน่ง ---- ตาย ลา ขาด พ้น

ม.14 อำนาจหน้าที่

แนะนำ , เสนอให้ตราพรฎ. , ออกกฎ , เห็นชอบตั้ง ยุบ เปลี่ยนสำนัก , กรอบอัตรา ,

พิจารณาตำแหน่ง , ตีความ , กำกับ , กำหนดหลักเกณฑ์บุคคล , กำหนดค่าธรรมเนียม ,

พิจารณาระบบทะเบียนประวัติ , อื่น

ม. 16 ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญประจำกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ก.

สามัญข้าราชการ ดังต่อไปนี้

(1) คณะอนุกรรมการสามัญข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ก.

สามัญข้าราชการสามัญ

(2) คณะอนุกรรมการสามัญข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครเรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ก. สามัญข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา”

(3) คณะอนุกรรมการสามัญข้าราชการกรุงเทพมหานครในสถาบันอุดมศึกษา เรียกโดยย่อว่า“อ.ก.ก. สามัญข้าราชการอุดมศึกษา”

ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญประจำหน่วยงานกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ก. สามัญหน่วยงาน” โดยออกชื่อหน่วยงานนั้น ทั้งนี้ ตามที่ ก.ก. กำหนด

*ตามประเภทของข้าราชการกทม.*

ตัวบุคคล

อ.ก.ก.สามัญ

อ.ก.ก.ครู

อ.ก.ก.อุดม

วาระ 2 ปี

ตั้งเลขานุการ 1คน และผู้ช่วยเลขานุการไม่เกิน 2 คน

(1) ผู้ว่าฯ -----ประธาน

(2) ป.กทม./รองป. ---รองปธ.

(3) หัวหน้าสำนักงาน ก.ก.

(4) ผู้ทรงฯ ด้านบุคคล,บริหาร,กม.,อื่น

(4 คน)

/

/

/

/

/

/

/

/

/

/

/

/

กรรมการอื่น

-หน.หน่วยงานที่เป็นสำนัก

-ขรก.กทม.สามัญ 4 คน

-ผอ.สำนักการศึกษา

-ผอ.สถ. 2

-ครู 2

-ผอ.สำนักการแพทย์

-ผบห.อุดมฯ2

-ขรก.อุดมฯ 2

หมายเหตุ : ประธานเป็นผู้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ทรงคุณวุฒิต้องมิได้เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร

ม.27 .ก. มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่าอ.ก.ก. วิสามัญ”เพื่อปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ ก.ก. มอบหมาย

จำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้ง อ.ก.ก. วิสามัญ รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา

วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ก.

ม.28 ให้มีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า“สำนักงาน ก.ก.” มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) เป็นเจ้าหน้าที่

(2) วิเคราะห์และวิจัย

(3) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่า

(4) พัฒนา ส่งเสริม วิเคราะห์ และวิจัยเกี่ยวกับนโยบาย

(5) จัดทำ ยุทธศาสตร์ ประสาน และดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล

(6) ดำเนินการเกี่ยวกับแผนกำ ลังคน

(7) ดำเนินการสอบแข่งขันหรือสอบคัดเลือก

(8) เป็นศูนย์กลางข้อมูลทรัพยากรบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานคร

(9) ติดตามและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานคร

(10) ส่งเสริม ประสานงาน และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการ

(11) ดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา

(12) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาทะเบียนประวัติและการควบคุมเกษียณอายุ

(13) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเสนอต่อ ก.ก. และผู้ว่า (14) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ ก.ก. หรือก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่ามอบหมาย

หมวด 2 คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมกรุงเทพมหานคร

ม. 30 ให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร” ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 5 คน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา ๓๒ กรรมการ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ต้องทำงานเต็มเวลา

ม. 31 คุณสมบัติ ก.พ.ค. กทม. ---ไทย , ไม่ต่ำกว่า 45 ปี , อื่นข้าราชการระดับสูง

ม.32 ให้มีคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธาน รองประธานศาลฎีกาที่ได้รับมอบหมายจากประธานศาลฎีกาหนึ่งคน กรรมการ ก.ก. ผู้ทรงคุณวุฒิหนึ่งคนซึ่งได้รับเลือกโดย ก.ก. และให้หัวหน้าสำนักงาน ก.ก.เป็นกรรมการและเลขานุการให้คณะกรรมการคัดเลือกมีหน้าที่คัดเลือกบุคคลผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๓๑ จำนวน 5 คน ให้ผู้ได้รับคัดเลือกตามวรรคสองประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ ก.พ.ค.

กรุงเทพมหานคร แล้วให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง เลือกกันเองเป็นประธาน แล้วให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง

ม.33 ลักษณะต้องห้ามของ ก.พ.ค. กทม.

ม.34 กรรมการที่ต้องห้าม ให้ลาออกภายใน 15 วัน ถ้าไม่ลาออกให้คัดเลือกใหม่

ม. 35 กรรมการ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร มีวาระ 6 ปี และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

ม.36 การพ้น ---- ตาย , ลา , เกิน 70 ปี , ขาด/ต้องห้าม , คุก , ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เต็มเวลา

ม.37 อำนาจ ก.พ.ค. กทม.---เสนอแนะ พิจารณาอุทธรณ์ร้องทุกข์ คุ้มครอง ออกกฎ

แต่งตั้งบุคคลเพื่อวินิจฉัย

หมวด 3 ข้าราชการกรุงเทพมหานคร

ส่วนที่ 1 บททั่วไป

ม. 40 การจัดระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของกรุงเทพมหานคร ความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า โดยให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ม.41 การจัดระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัตินี้ให้คำนึงถึงระบบคุณธรรม

ม.42 ข้าราชการกรุงเทพมหานครมี 3 ประเภท คือ

(1) ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ

(2) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร

(3) ข้าราชการกรุงเทพมหานครในสถาบันอุดมศึกษา

ม.43 คุณสมบัติ --- ไทย ไม่ต่ำกว่า 18 ปี ประชาธิปไตย

ต้องห้าม ---ไร้ พักรา บก ล้ม คุก ทุจริต ให้ออก(2 กลับมาได้) ไล่ออก(3 กลับมาได้) * เสียง 4 ใน 5*

ม.45 เวลาทำงาน วันหยุด ให้ก.ก. กำหนด หากไม่กำหนดให้ใช้ กม.ที่เกี่ยวข้องโดยอนุโลม

ม.46 เครื่องแบบใช้ตามที่กำหนดใน พรฎ.

ม.47 บำเหน็จ บำนาญ ใช้ตาม กฎหมาย บำเหน็จ บำนาญ

ม.48 ตายในราชการ ให้บำเหน็จพิเศษได้ตามที่ ก.ก. กำหนดได้

ส่วนที่ 2 การกำหนดตำแหน่ง บรรจุ และแต่งตั้ง

ม. 52-54 การบรรจุแต่งตั้งข้าราชการ ดังนี้

ประเภทข้าราชการ

สามัญ

ครู

อุดมศึกษา

ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ

ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง

ตำแหน่ง/ระดับ

ปลัด,หน.สน.ระดับทรงคุณวุฒิหรือเทียบเท่า

วิทยะฐานเชี่ยวชาญพิเศษ

ศาสตราจารย์

ผู้ว่าฯ

นายกกราบบังคมทูลแต่งตั้ง

รองหน.สน. ,หน.ต่ำกว่า สน. ,วิชาการระดับเชี่ยวชาญ , ทักษะพิเศษ,เทียบเท่า

วิทยะฐานเชี่ยวชาญ

ร.ศ.

ผู้ว่าฯ

ผู้ว่าฯ

หน.กอง , วิชาการระดับชำนาญการพิเศษ , ทั่วไประดับอาวุโส , เทียบเท่า

วิทยะฐานชำนาญการพิเศษ

ผ.ศ.

ปลัด โดยคำแนะนำ/เห็นชอบของผู้ว่า

ปลัด โดยคำแนะนำ/เห็นชอบของผู้ว่า

ต่ำลงมา

ต่ำลงมา

ต่ำลงมา

ปลัด , ผอ.สำนัก , หน.สำนัก

ปลัด , ผอ.สำนัก , หน.สำนัก

ม. 57 การโอน ย้าย ทำได้ตามที่ ก.ก. กำหนด *โดยนับอายุราชการด้วย*

ส่วนที่ 3 วินัย และการดำเนินการทางวินัย

ม. 58 การสั่งลงโทศวินัยร้ายแรง/สั่งให้ออก ให้ผู้มีอำนาจบรรจุส่งเรื่องให้ ก.ก. พิจารณา

เมื่อ ก.ก. พิจารณา มีมติเป็นประการใด ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุปฏิบัติตาม

ส่วนที่ 4 การอุทธรณ์

ม. 60 อุทธรณ์ ต่อ ก.พ.ค.กรุงเทพมหานคร ภายใน 30 วัน

ม. 61 ก.พ.ค.กรุงเทพมหานคร ดำเนินการพิจารณาภายใน 120 วัน ขยายได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ๆ ละ

ไม่เกิน 60 วัน และให้บันทึกเหตุขัดข้องให้ปรากฏไว้ด้วย

ม. 62 เมื่อ ก.พ.ค.กรุงเทพมหานคร พิจารณาแล้ว ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการตามภายใน 30 วัน

ส่วนที่ 5 ร้องทุกข์

ม. 64 ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลำดับ

ร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจาก ผู้ว่าฯ ปลัด หน.หน่วยระดับสำนัก ร้องต่อ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร

หมวดที่ 4 การคุ้มครองระบบคุณธรรม

กฎ ระเบียบไม่สอดคล้องกับระบบคุณธรรมให้แก้ไขหรือยกเลิก

หมวดที่ 5 บุคลาการกรุงเทพมหานคร

ม. 67 บุคลากรกรุงเทพมหานคร มี 2 ประเภท คือ

1. ลูกจ้าง กทม.

2. พนักงาน กทม.

ค่าจ้าง ค่าตอบแทน สิทธิหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นใด และบำเหน็จของลูกจ้างและพนักงานกรุงเทพมหานครให้ตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร

วันเวลาทำงาน วันหยุด ให้เป็นไปตามที่ ก.ก. กำหนด

ม. 72 เครื่องแบบของบุคลากรกรุงเทพมหานครและระเบียบการแต่งเครื่องแบบให้เป็นไปตามข้อบังคับที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนดและประกาศในราชกิจจานุเบกษา

บทเฉพาะกาล

นายอภิสิทธิ์ รับสนองพระบรมราชโองการ

คำสำคัญ (Tags): #สอบ กทม.
หมายเลขบันทึก: 629124เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2017 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2017 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท