​หลักสูตร พัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT Assistant Director Development Program: EADP 2017) - EADP 13 (ช่วงที่ 5: ระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2560)



สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ EADP รุ่น 13 ทุกท่าน

ขอต้อนรับเข้าสู่หลักสูตร พัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT Assistant Director Development Program: EADP 2017) - EADP 13 (ช่วงที่ 5: ระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2560)

แม้ว่าจะเป็นการทำงานต่อเนื่องเรื่องคนให้กับ กฟผ. มาปีนี้เป็นปีที่ 13 แต่ผมก็ยังรู้สึกตื่นเต้น และพยายามจะแสวงหาความรู้ที่สด และทันสมัยมาแบ่งปันกับลูกศิษย์ของผมเสมอ

จากการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารของ กฟผ. ในระดับผู้อำนวยการ 3 รุ่น และในระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายอีก 9 รุ่นที่ผ่านมา ผมมีความภาคภูมิใจในลูกศิษย์ของผมที่วันนี้หลายคนเติบโต และเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพของสังคม

"ทุนมนุษย์" ใน กฟผ. นั้นเข้มแข็งและมีศักยภาพอยู่แล้ว ผมเป็นเพียงผู้ที่จะช่วยทำหน้าที่จุดประกาย สร้าง Inspiration ให้พวกเขามีพลัง มี Ideas ใหม่ ๆ มีความเข้าใจสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกและพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จ รวมทั้งการทิ้งผลงานหรือสิ่งที่มีคุณค่าไว้สำหรับสังคมไทยของเรา

สำหรับการพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 13 ในปีนี้ ผมก็หวังว่าจะมีสิ่งที่เราจะได้เรียนรู้ร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการทำงานของ กฟผ. และเป็นการสร้างที่สร้างความสุขให้แก่คนไทยต่อไป และผมขอให้ทุกท่านใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ของพวกเรา และแบ่งปันความรู้เหล่านี้ไปสู่สังคมของเราครับ

ติดตามและส่งความคิดเห็นได้ที่ Blog นี้ครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

โครงการหลักสูตร พัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย
ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

13 มีนาคม – 9 มิถุนายน2560

วันที่7 มิถุนายน 2560

(สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

Learning Forum & Activities

หัวข้อ Creative & Innovative Thinking กับการพัฒนางานของ กฟผ. : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน

โดย อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

CLO (Chief Learning Officer) บริษัทกบเหลาดินสอ จำกัด

การจับหัวกระบวนการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเป็นการปักธงหาเป้าหมายว่าจะทำอะไร

ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

อัลเบิร์ต ไอน์สไตล์ กล่าวว่า Insenity :doing in the same thing over and over again and expecting different results.

ความฟั่นเฟือนคือการทำสิ่งเดิมครั้งแล้วครั้งเล่าแต่หวังผลที่แตกต่างไปต่างจากเดิม

อยากเห็นผลลัพธ์แบบเดิมแต่ทำแบบเดิมเสมือนว่าฟั่นเฟือน ดังนั้นอยากให้ผลลัพธ์เปลี่ยนต้องเปลี่ยนวิธีการที่ต่างไปจากเดิม

กิจกรรมที่ 1 แจกกระดาษ A4 รายละเอียดดังนี้

1.เขียนชื่อที่ไม่ใช่ชื่อเรา ไม่ใช่ชื่อจริง ไม่ใช่ชื่อเล่น เป็นชื่อใหม่เอี่ยม (ใส่ Pin Code ต่อท้ายชื่อ)

2. หน้ากาก

3. สิ่งที่ชอบ สิ่งที่เป็น (จริง 4 อย่าง อำ 1 อย่าง)

4. พับกระดาษเป็นเครื่องบิน

5. ปล่อยเครื่องบินกระดาษของแต่ละคนพร้อมกัน

6. หยิบเครื่องบินของใครก็ได้ที่ปล่อยมา

7. ให้สุ่มเลือกเดาคนที่เป็นเจ้าของเครื่องบินกระดาษ

สรุป 1. สิ่งที่ได้เริ่มมาจากการที่เราทุกคนมีเป้าหมายที่อยากเห็นต่างไปจากเดิม

การอยากเห็นผลลัพธ์ต่างไปจากเดิม (แว้บแรกเราจะเผลอทำวิธีเดิม ดังนั้นเมื่อมีสติ เราก็หาวิธีการที่ต่างไปจากเดิม และทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ต่างจากเดิม)

2. คิดหาไอเดียที่ต่างไปจากเดิม

3. เมื่อมีไอเดียแล้วเอาไปลงมือทำ

ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

ความคิดสร้างสรรค์ คือการคิดต่างไปจากเดิม

นวัตกรรม คือการนำความคิดมาลงมือทำแล้วทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ต่างไปจากเดิม

ทั้ง ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมต่างไปจากเดิมได้ เนื่องจากมีธงหรือเป้าหมายที่ต่างไปจากเดิม วิธีการจึงต่างไปจากเดิม แต่เริ่มต้นคือ เป้าหมายที่ต่างไปจากเดิม ดังนั้นเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่ต้องคิดธงขึ้นมา แล้วบอกทีมงานให้หาวิธีการที่ต่างไปจากเดิม แล้วผลลัพธ์จะต่างไปจากเดิม

อย่างไรก็ตาม ผู้นำอาจต้องแฝงความยืดหยุ่นไปนิดคือเพราะสิ่งที่ทำครั้งแรกอาจไม่ดี ไม่ Perfect แต่ให้ลูกน้องพัฒนาต่อ ๆ ไป

Innovative Leader

1. ต้องยอมให้ลูกน้องเป็นพระเอกในการค้นพบไอเดียใหม่ ๆ

เนื่องจาก ลูกน้องเด็กกว่าความคิดสดกว่า ใสกว่า เห็นปัญหา เห็นหน้างานมากกว่า

2. ในฐานะรุ่นพี่ที่เป็นผู้บริหาร แม้มีความคิดสร้างสรรค์น้อยแต่มีประสบการณ์มากกว่า ให้เอามาผสมผสานกันจะทำให้ไอเดียนั้นดีมากยิ่งขึ้น

สรุปคือ ผู้บริหารต้องให้ลูกน้องคิดอะไรต่างไปจากเดิม ทำต่างไปจากเดิม แล้วผลลัพธ์จะต่างไปจากเดิม

กิจกรรมที่ 2 แบ่งกลุ่มตามกลุ่มงานที่เหมือนกัน

1. เขียนชื่อกลุ่มงานที่หัวกระดาษ Flipchart

2. Divergent Thinking into O.F.

คิดให้มากที่สุดเท่าที่คิดได้ (ในเรื่องงาน) ตัวอย่างเรื่องส่วนตัวเช่น มันจะดีนะถ้า...เช่น น้ำไม่ท่วม รถไม่ติด ไม่ร้อน เศรษฐกิจดีกว่านี้ ชีวิตไม่เครียด

จาก ต.ย. สังเกตได้ว่า ไม่ว่าผู้เขียน หรือผู้คิด คิดอะไรได้จะเขียนแหลกโดยไม่ยั้ง ยังไม่ต้องกรองหรือสกรีน เพราะจะไปกรองในขั้นตอนถัดไป

คนที่เขียน Flipchart ก็อย่ากรองสิ่งที่ได้ยินมา แต่ให้เขียนทุก ๆ สิ่งที่ได้ยิน จะไปกรองในขั้นตอนถัดไป

ตัวช่วยที่ทำให้เกิดธง ที่ทำให้เราคิดได้มากกว่าปกติ

3. Convergent Thinking into O.F.

1) การกรองสิ่งที่คิด ประกอบด้วย 3 I คือ Influence , Imaginative , Important จะช่วยคัดออกเฉพาะสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ แล้วเมื่อได้แล้วถึงหาวิธีคิดกับมัน และเมื่อคิดแล้วไม่ได้จริง ๆ ถึงยอมว่าเป็นได้หรือไม่

- Influence หมายถึง เรามีอิทธิพลต่อเรื่องนี้หรือไม่

- Imaginative หมายถึงเรื่องที่ผ่านมาจากตระแกรงแรก เปิดโอกาสให้เราใช้จินตนาการใหม่ ๆ หรือไม่ เช่น กฎหมาย

- Important หมายถึงเป็นเรื่องที่สำคัญหรือไม่


2) การหา Gap Analysis

เมื่อได้เรื่องที่ผ่านแล้วให้มาดูที่คะแนน คือ

1.คะแนน Ideal คือคะแนนมุ่งหวัง

2.คะแนน Actual เป็นความจริงที่เป็นอยู่

หลังจากเห็นช่องว่างของคะแนน ให้ไปหาวิธีเติมช่องว่างที่เป็นจริง


หมายเหตุ :

1. เราจะไม่ตัดเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ออก เพราะเรายังไม่รู้ว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ สิ่งที่ทำไม่ได้จริง ๆ แล้วอาจทำได้ ดังนั้นอย่าเพิ่งตัดทิ้งจะเป็นสิ่งที่อันตรายมาก

2. หลังจากเสร็จโครงการฯ จะได้ธง 1 ธงเพื่อไปหานวัตกรรมต่อว่าจะทำอะไร

สิ่งที่ได้ คือจะรู้เป้าหมายคือ รู้ว่าธงไหนไม่ใช่ ธงไหนที่น่าจะใช้แล้วมาหาหาวัตถุประสงค์ในเชิงสร้างสรรค์ต่อไป

สรุปคือ ในระดับผู้บริหารต้องมีการกำหนดธงที่ต่างไปจากเดิม ถึงกำหนดให้ลูกน้องเราคิดต่างและทำต่างไปจากเดิม โดยเริ่มจากการคิดแบบ Divergent คือคิดมากที่สุดเท่าที่มากได้ แล้วเราจะเริ่มที่กรองธงออกคือ Convergent ผ่าน 3 ตะแกรงคือ 1. Influence 2.Imaginative 3. Important

แล้วพอได้ธงมาแล้วให้ลูกน้องคิดต่อ โดยหา Ideal กับ Actual ให้ลูกน้องเติมเต็มช่องว่างจากการหาไอเดียใหม่ ๆ แล้วให้การสนับสนุนในการลงมือทำ และจะเป็นผู้นำที่ Creative และ Innovative


Panel Discussion & Workshop

หัวข้อ Attitude-Mindset of EGAT Leaders

โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชา มหาคุณ

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

ดำเนินการอภิปรายโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลาดรมภ์ และ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันนี้เสมือนเป็นวันที่ทำให้ประเทืองปัญญาจากผู้ใหญ่ทั้ง 2 คนที่ทำเพื่อประเทศไทย แม้กระทั่งตัวของทุกท่านเป็นประชาชนคนหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ

ผู้นำไม่ได้อยู่ที่ Authority Base แต่อยู่ที่ Trust Base คือความไว้ใจซึ่งกันและกัน อยากให้มีประเด็นที่ถกเถียงกันเป็นประเด็นโป๊ะเชะที่ทุกท่านร่วมเสนอแนะประเด็นที่เป็นประโยชน์

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชา มหาคุณ

สิ่งที่ทำให้เปลี่ยนแนวความคิดแม้ว่าเคยอยู่ระบบศาลที่มีความนิยมแบบดั้งเดิม

การบริหารแบบดั้งเดิม

พบว่าการบริหารด้วยระบบแบบดั้งเดิมมีอุปสรรคใหญ่มากในการทำงาน สมัยก่อนทำงานมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องแผนเศรษฐกิจพัฒนาสังคมแห่งชาติ สิ่งสำคัญที่เป็นปัญหาคือระบบราชการที่ยังคงมีความคิดแบบดั้งเดิมคือยึดเสถียรภาพ ยึดมั่นในหลักการ ไม่ยอมคิดอย่างอื่น คิดนอกกรอบไม่เป็น ซึ่งเป็นลักษณะเช่นเดียวกับ การทำงานของ กฟผ. เรื่องแนวทางการทำงานก็เป็นแบบเดียวกันคือขึ้นอยู่กับผู้นำ ยากที่จะปรับตัว ชินตามคำสั่ง เป็นระบบปิด ไม่เข้าถึงประชาชนในรูปแบบธรรมาภิบาล

ในสมัยทำงานเป็นผู้บริหารศาลมีความกล้าเพียงพอในการคิดนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งได้รับโอกาสให้คนคิดเป็นคนทำ ซึ่งช่วงนั้น ศ.วิชา และทีมงานคิดว่าจะทำศาลแบบใหม่คือ ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลการค้าระหว่างประเทศ เป็นระบบศาลที่แตกต่างจากเดิมจากที่เป็นกระบวนอาญา กระบวนแพ่งในอดีต เพราะกระบวนการในอดีตพบปัญหาคือกระบวลศาลไม่สามารถเข้าถึงประชาชน ทั้ง ๆ ที่โดยแท้จริงควรเป็นกระบวนการ 3 ฝ่าย คือ ไตรภาคี ประกอบด้วยรัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง โดยแต่ละฝ่ายต้องยอมรับฟังความคิดเห็นร่วมกัน ใช้วิธีการประนีประนอมเป็นหลัก หลังจากนั้นจึงเข้าสู่แผนใหม่

ในช่วงนั้นได้มีการคิดถึงศาลเกษตรเช่นเดียวกับ ศาลแรงงาน

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงสำคัญคือศาลเด็กและเยาวชน เพราะต้องการขยายศาลครอบคลุมไปทั้งประเทศเนื่องจากมองว่าปัญหาใหญ่ที่สุดของโลกคือเด็กและเยาวชน และสาเหตุมาจากผู้ใหญ่ที่ไม่เป็น Role Model ของเด็ก ไม่ได้อบรมสั่งสอนยกตัวอย่างเช่น กรณีเปรี้ยวฆ่าหั่นศพ เป็นผลิตผลของการเสื่อมทรามทางสังคม และพบมากในสังคมไทย ดังนั้นระบบในการแก้ไขปัญหาไม่สามารถแก้ไขโดยผู้นำสั่งการ แล้วทุบโต๊ะเหมือนแต่ก่อน แต่ต้องเป็นระบบเปิดที่มีการพูดคุยกัน และเมื่อเกิดมีคดีขึ้น ต้องรู้ว่าเด็กหรือเยาวชนที่มีปัญหาคือคนไข้ ที่ไม่ใช่ผู้ต้องหา หรือจำเลย เราไม่สามารถจัดการเขาได้ในช่วงระยะเวลาสั้น เพราะไม่ได้แก้ไขปัญหาที่แท้จริง

ดังนั้น ระบบการบริหารราชการแผ่นดินที่ยังคิดแบบเดิม ถือว่ากฎหมายคือตัวแก้ปัญหานั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะกฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือ แต่การจะทำให้สำเร็จต้องอาศัยความร่วมมือ และผนึกกำลังเป็นเรื่องเดียวกัน ยกระดับการบริหาร

ระบบที่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้คือระบบที่ปรับได้ทุกรูปแบบโดยไม่เกาะติดที่คำสั่งหรือระเบียบข้อบังคับอย่างเดียว และในกระบวนการแก้ไขปัญหา สิ่งที่มีปัญหาเรื่องระบบคือการทำงานเป็นทีม ซึ่งโดยมากคนไทยมีน้อยที่จะทำงานเป็นทีมเนื่องจากถือตัวเป็นใหญ่ ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น

การให้โอกาสทีมงาน มีเป้าหมายเพื่อหน่วยงาน การใส่ใจลูกค้าประชาชนทั้งหลาย ทำงานในระบบเปิด สามารถตรวจสอบผู้บริหารได้ เสมือนมีระบบธรรมาภิบาลคือโปร่งใส เปิดเผย ตรวจสอบได้ ทุก ๆ ฝ่าย รวมถึงตนเองด้วยที่ต้องให้สามารถตรวจสอบได้ว่าจะแก้ไขอย่างไร แล้วให้ผู้นำทำตัวเป็นตัวอย่าง เป็นต้นแบบให้ได้

แผนกลยุทธ์

1.การฝึกอบรม ,เปลี่ยนทัศนคติ

2. มีการแข่งขัน , มีทางเลือก

3. กำหนดมาตรฐาน การใช้จ่ายคุ้มค่าเงิน

4. สุภาพอ่อนน้อม

5. เต็มใจช่วยเหลือกัน

6. การให้ข่าวสาร

7. การบริหารจัดการเรื่องคุณภาพ (TQM)

ควรเป็นการฝึกอบรมที่เน้นการตระหนักรู้ทั่วถึง แล้วสร้างสิ่งที่เป็นพฤติกรรมเป็นของใหม่ที่จะเปลี่ยนให้ได้ อันดับแรกถ้าจะเข้ามาแก้ไขปัญหา ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง

ตัวอย่างเรื่องคุกที่สหรัฐฯ จะไม่มีการทำลายคน มีแต่จะสร้างคน เช่น คนติดยาเสพติด บอกว่าเขาจะขอหายจากยาเสพติด ที่ประเทศนี้จะให้โอกาสในการปรับตัวและพัฒนาเป็นคนที่ดีขึ้น

ความคิดของคนที่เจริญแล้วคือการให้โอกาสคนเสมอ หรือการให้อภัย

ถามว่าประเทศไทยมีระบบการให้อภัยหรือไม่ อย่างไทยมีให้อภัยแค่ครั้งเดียว แต่กลับเน้นเรื่องการรับโทษเป็นหลัก ซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นปัญหาในการสร้างความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ

คนพื้นฐานในประเทศไทยคิดอย่างไรกับคนที่อยู่ในคุก ที่ผ่านมาพบว่าการให้ความคิดเป็นไปในทางรุนแรงหมด ดังนั้นจึงควรปรับ Mindset ให้อภัยกับผู้คน ให้โอกาสกับคนเสมอ

ประเทศไทยยังไม่เข้าถึงเด็กและเยาวชน ยังไม่เข้าใจเยาวชนว่าเขาอยากได้แบบนี้หรือไม่ ดังนั้นระบบใหม่ที่เป็นระบบที่สำคัญที่สุดคือระบบของการใช้ความประพฤติ ใช้จริยธรรม และวินัยเป็นสิ่งสำคัญ เพราะ จริยธรรมและวินัยไม่ใช่การจับผิด แต่วินัยคือการปลูกฝัง ปลูกจิตสำนึกด้านจริยธรรม สิ่งที่ควรทำคือทำให้เขามีมโนสำนึกในตัวเองในการเปลี่ยนแปลง ว่าสิ่งที่เขาร่วมมือร่วมใจเกิดผลดีต่อส่วนรวม ต่อครอบครัวเขาอย่างไร ไม่ใช่ตัวเขาคนเดียวที่จะได้ดิบได้ดี

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ ความรู้สึกไม่ภาคภูมิใจในตัวเอง จะกลายเป็นตัวสร้างปัญหา และกลุ่มคนพวกนี้จะน้อยใจง่ายและเดือดง่าย มีความรู้สึกที่รุนแรงตลอดเวลา และมองว่าปัญหาคือระบบอุปถัมภ์ที่ไม่สามารถแก้ไขได้

ระบบอุปถัมภ์เป็นปัญหาเพราะเป็นการถูกบีบให้ทำตาม หัวหน้าประเมินตามความชอบ และใช้วิธีนี้ในการประเมินคนจำนวนมาก แต่เบื้องหลังการประเมินคือการเรียกเงิน

ดังนั้นการอบรมบ่มนิสัยเยาวชนที่มีปัญหารุนแรง เราสามารถแก้ไขได้ด้วยการเปลี่ยนทัศนคติ และหลังจากกลับมาแล้วมีความสุขมากกับการฝึกอบรมฟื้นฟูคนที่มีปัญหา ถ้าเราสามารถแก้ปัญหาสร้างคนใหม่ได้ 1 คนก็ถือว่า Complete แล้ว ทุนมนุษย์จึงดีกว่าทรัพยากรมนุษย์มากมายนัก เพราะทุนเป็นเรื่องของความดีงาม การสั่งสมไว้ซึ่งความรู้

ลูกน้อง 1 คน มีค่ามากกว่าลูกน้องชั่วจำนวน 100 คน และคนดี 1 คนนี้จะสร้างคนที่ดีต่อไปในอนาคต เราต้องภูมิใจ ไม่ต้องหวังอะไรมากมาย สิ่งที่ต้องเปลี่ยนคือการเปลี่ยนตัวเราก่อนเป็นอันดับแรก

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

ยกตัวอย่าง เรื่องการให้ลูกน้องไปช่วยทำงานกับ ดร.มัลเดล 2 คน และได้ลองสอบถามเรื่องการทำงานของลูกน้องทั้ง 2 คนจาก ดร.มัลเดลช่วยวิเคราะห์ว่าลูกน้องทั้ง 2 คนเป็นอย่าง

ไร

ดร.มัลเดล บอกว่า ลูกน้อง 2 คนมีความตั้งใจดี แต่ ดร.มัลเดลบอกว่าคนที่คุณหญิงทิพาวดีคิดว่าเก่งมากกว่าอีกคนหนึ่งกลับเป็นคนที่ควรต้องให้ปรับปรุง คุณหญิงทิพาวดีจึงสงสัยว่าเพราะอะไร ประเด็นคือพบว่าคนที่เก่งเวลาฟังดร.มัลเดลแล้วจะชอบขมวดคิ้วคิดในเรื่องที่พูด เพราะต้องการไตร่ตรองก่อน ส่วนอีกคนฟังไม่รู้เรื่องแต่ยิ้มรับเสมอ ดร.มัลเดลกลับบอกว่าชอบคนนี้มากกว่า

คุณหญิงทิพาวดีเลยบอกคนที่เก่งว่า เวลาคิดอะไรให้ทำหน้ายิ้มไว้ตลอดเพราะถ้าทำหน้าคิดคนจะสงสัยว่ารู้สึกไม่พอใจหรือไม่ และอาจเข้าใจผิดได้

Attitude & Mindset

Attitude คือความคิดที่แสดงออกมาเป็นท่าที ซึ่งเป็นวิธีการที่ Approach ของแต่ละคนที่จะมีท่าทีที่บวกหรือลบขึ้นอยู่กับ Attitude ของคน ซึ่งการเป็นผู้นำที่ดีต้องอยู่ที่ Good Attitude

ต้องดูถึงอนาคตของเขา ไม่ใช่เอาความเห็นแก่ตัวไปใส่เขา

Attitude ที่บวก คือการมีเมตตาต่อคน มองไปให้กว้าง

Mindset เป็นกรอบ หรือ Theory ของความคิด ดังนั้นในทฤษฎีการพัฒนาผู้นำจึงพูดว่าให้ทำ Mindset เป็น Growth Mindset คือ Mindset ที่พัฒนาไปเรื่อย ๆ แม้ว่ามีความเชื่ออะไรก็ตาม แต่ให้นำความคิดความเชื่อผสมไปสู่การเป็นนักพัฒนา แล้วความคิดจะพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งนี้คือสิ่งที่ผู้นำต้องฝึก ดังนั้นการเป็นผู้นำอยู่ที่พื้นฐานของ Attitude & Mindset ที่มีอยู่

การเป็นผู้นำที่ดี

1. การตระหนักรู้ ตื่นตัว รอบรู้ในตัวเอง

2. ต้องมองอนาคตตลอด เนื่องจากเวลาเปลี่ยนเร็วมาก การมองถึงระยะยาว 10 ปีอาจไม่พอต้องมองเป็นสัปดาห์ แต่ละคนกำลังเผชิญกับอะไรในอนาคตข้างหน้า เช่น ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมสูงวัยเกือบ 20 % แล้วดังนั้นเวลามองในอนาคตเป็นการดูว่าสังคมจะเป็นอย่างไร อนาคตจะเป็นอย่างไร

กฟผ.เป็นองค์กรชั้นนำ มีมาตรฐานการทำงานสูง มีบทบาทชัดเจน แต่เริ่มมีปัญหาแล้ว อย่างที่แม่เมาะ ดังนั้น กฟผ.ต้องเริ่มหันมาดูเรื่องสิ่งแวดล้อม และ Green Energy มากขึ้น

ความสามารถในการเป็นผู้นำต้องฝึกสมองให้วิ่งขึ้นวิ่งลง ไม่ได้คิดชั้นเดียว ไม่ใช่แค่ตัวอักษรที่มาข้างหน้า แต่ต้องคิดซ้อนไป 3-4 ชั้น เป็นตัวอย่างของการฝึกฝนในการเป็นผู้นำที่มีคุณภาพ คือการฝึกความคิด

การเป็นผู้นำคือการฝึกสมองเรา อย่างที่ฮิตเลอร์บอกว่าสมองเป็นลิ้นชักคือไม่ว่าจะดึงอะไรออกมาจะดึงออกมาผสมผสานกันได้ตลอดเวลา เป็นอีกตัวอย่างของการฝึกความคิดผู้นำ มีการจัดระบบความคิด

สังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง

ในฐานะผู้นำ เราเป็นจิ๊กซอว์ตัวหนึ่งของสังคมใหญ่ การคาดการณ์ปัญหาของสังคม ทำให้เราย้อนกลับมาวางแผนผลกระทบว่าเป็นอย่างไร การย้ายออฟฟิศหรือวางแผนอะไรต่าง ๆ เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแก้ไขได้

คุณลักษณะผู้นำที่พึงปรารถนา

ทุกคนมีสิทธิเป็นผู้นำทั้งสิ้น

ผู้บริหารคือผู้จัดการเรื่องงาน ผู้บริหารสามารถจัดการงานได้ดี แต่บางครั้งไม่สามารถเป็นผู้นำได้ แต่การเป็นผู้นำที่ดี หมายถึงต้องเป็นผู้บริหารที่ดีได้ด้วยเช่นกัน เพราะเขาสามารถจัดการทุกอย่างได้เรียบร้อย

สิ่งหนึ่งที่ผู้บริหารต้องเก่งคือเรื่องงบประมาณเพราะเป็นสิ่งที่จำเป็น ต้องดูว่าวางแผนเก่งหรือไม่ งบประมาณเก่งหรือไม่

การเป็นนักบริหารที่ดีต้องคาดการณ์ทุกอย่างล่วงหน้าและเตรียมพร้อม 100 % แม้สิ่งที่ไม่สามารถตอบได้

ให้มองคนอย่างเข้าใจ ไม่มองแบบ Negative

สรุปคือ

1. ผู้บริหารต้องเก่งงบประมาณ

2. เก่งเรื่องคน ในระบบราชการถ้าไล่ออกไม่ได้ ให้ทำให้ลูกน้องมีความจงรักภักดี ฝึกให้เป็นคนที่เมตตาและมองมุมมองของมนุษย์ต่าง ๆ ได้ทุกแง่มุม

ผู้นำที่ดี

1. ซื่อสัตย์สุจริต

ใครที่โกงและไม่ถูกจับ อย่าไปสนใจ เพราะจริง ๆ คือใครก็รู้

2. กล้าหาญ

ต้องสุภาพและฉลาดในการเถียงหัวหน้า ต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ต่อ ไม่ต้องกลัวฉีกหน้าในที่ห้องประชุมเพราะเป็นองค์กรกันเอง และยังดีกว่าการให้ไปเสียหน้าที่อื่น

คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่ามี Motto คือ ไม่ชอบไม่เป็นไร แต่ต้องไม่ทรยศในงานของตัวเอง

3. จริงใจ มีน้ำใจ

4. เคารพในความเป็นมนุษย์ทุกคน

5. ยุติธรรมในการมอบหมายงาน ไม่มีเด็กเส้น ไม่มี Favorite ต้องแสดงให้เห็นว่าปฏิบัติต่อลูกน้องทุกคนเสมอภาค

6. กตัญญูรู้คุณต่อคนช่วยเหลือเรา แต่ต้องไม่กตัญญูในทางที่ผิด

7. รักษาเกียรติ และศักดิ์ศรี

8. คิดทางบวก

9. เสียสละและให้อภัย (Forgive but never forget)

สรุปคือ คุณต้องมีความมั่นใจในตนเอง ถ้าไม่มั่นใจในตนเองจะเป็นผู้นำที่เติมเต็มไม่ได้ การมั่นใจในตนเองสร้างได้จากการรู้จักตนเอง ต้องฝึกโต้ตอบกับตัวเองให้ได้ เสมือนเป็นการสร้างสติขึ้นมา สติคือการฝึกให้ตัวตนที่แท้จริงที่ดีออกมาบ่อย ๆ แล้วจะคอยเตือนเราตลอดเวลา เป็นการฝึกให้ชมเรา ตัวนี้จะสามารถดุเรา เตือนเรา ชมเราได้ จะทำให้มีเพื่อนคนหนึ่งที่สนิทกับเราและกล้าเตือนเรา

เราดีที่สุดของเรา และเราพร้อมจะดียิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา และรับรองได้ว่าในอนาคตเส้นทางจะไปเรื่อย ๆ ไม่ตกอับ เป็นคนที่ยิ้มให้ตัวเองได้ในกระจกทุกวัน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เชื่อว่าคนพัฒนากระบวนการของความคิดได้ ทัศนคติเป็นตัวกำหนด Mindset คือกระบวนการความคิดที่สะสมมาเป็นพฤติกรรมเฉพาะตัว แต่ถ้าผู้นำเป็นอีกแบบหนึ่งอาจกำหนด Mindset ในองค์กรได้

Growth Mindset เป็นตัวพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น มีความเชื่อว่าคนเราพัฒนาได้ และเราต้องสามารถพัฒนาคนอื่นให้เป็น Growth Mindset ด้วยเช่นกัน และถ้าสามารถร่วมเป็นเครือข่ายหรือ Network ได้ก็สามารถทำให้เกิดโครงการใหม่ ๆ ที่น่าสนใจขึ้นมา เป็นต้น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การพูดของทั้ง 2 ท่านเสมือนเป็นกรณีศึกษา และเป็นกรณีศึกษาที่เป็นความจริง อย่าง ศ.วิชาเป็นนักกฎหมายที่คิดนอกกรอบ ท่านทำเรื่องคนมาก ซึ่งไม่พบได้มากนักในประเทศไทย ส่วนคุณหญิงทิพาวดี รู้จักกันมานานประทับใจในความกล้าหาญ เห็นได้ตอนที่เป็นปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ที่ให้จัดอบรมพัฒนาบุคลากรถึง 5 รุ่น

Mindset ที่ฝังรากลึกอยู่ในข้างในสามารถเปลี่ยนได้ จาก การพัฒนาคน ที่ต้องมีวิธีการพัฒนาที่เข้าไปกระตุ้นดึงความเป็นเลิศให้เกิด Impact หรือที่ ดร.จีระเรียกว่า Chira Way เน้นการพัฒนาที่ต่อเนื่อง กระตุ้นและถ่ายทอด ต้องมีทฤษฎี 2 R’s คือ Reality กับ Relevance และกลับไปก็ขอให้ไปพัฒนาจิตใจของตนเอง

สรุปคือ Mindset , Attitude ,Believe , และ Habit เป็นสิ่งที่อยู่ข้างใน สังเกตได้ว่าอะไรที่มองไม่เห็นเป็นสิ่งที่ปรับตัวได้ยากสุด แต่ต้องพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ในอนาคต

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ประเทศไทยควรมี Mindset อะไรที่เป็น Common

คุณหญิงทิพาวดีตอบว่า ทุกอย่างอยู่ที่ Strength ของเรา ประเทศไทยเสมือน 2 โลกคือโลกที่พัฒนาแล้ว และยังไม่พัฒนาซ้อนกันอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก การนำความจริงไปพูดคือ เห็นสังคมที่แตกต่าง เห็นการดำรงชีวิตของคนไทยที่แตกต่าง ทุนจากต่างประเทศได้เข้ามาครอบครองหมดแล้ว การพัฒนาประเทศต้องอยู่บนฐานความจริง การแก้กฎหมายไม่เอาต่างชาติมาไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลต้อง Aware คือการมี 2 กลุ่ม 2 ระดับที่เราต้องช่วยกันยกรอบนอก ดังนั้นนโยบายที่รัฐบาลควรทำ เราหนีเรื่องการกระจายอำนาจไม่ได้ ต้องตั้งใจเพื่อที่จะยกแต่ละท้องถิ่นขึ้นมาให้มีโอกาสให้มีแรงงานขึ้นมา ความคิดมี ความรู้มี แต่จะทำอย่างไรยังไม่มีคำตอบ

ศ.วิชา ตอบว่า Mindset ของคนไทยเปลี่ยนยาก ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การเปลี่ยน แต่เป็นระบบความคิดที่ฝังชิพไว้คือเรื่องจริยธรรม แต่ไม่ใช่จริยธรรมทั่วไป สิ่งที่ต่างประเทศเปลี่ยนแล้วคือ Conflict of Interest คือการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมที่สามารถแก้ได้แล้ว ในต่างประเทศที่เป็นอารยะ และเจริญแล้วสามารถแยกได้แล้ว และถือว่าเป็นการทุจริตคอรัปชั่น ถือเป็นเรื่องผิดจริยธรรมอย่างรุนแรง แต่ประเทศไทยยังตัดสินใจโดยเอาการตัดสินผลประโยชน์ส่วนตนมาเป็นประโยชน์ เห็นเป็นเรื่องธรรมดา

ยึดถือเรื่อง Trust เป็นสิ่งที่สำคัญในการดูเรื่องจริยธรรม อย่างเช่น ญี่ปุ่น หรือเกาหลี อย่างเช่น ญี่ปุ่น ข้าราชการห้ามไปกินข้าวหรือตีกอล์ฟกับนักธุรกิจ เพราะเป็นต้นทางการทุจริตคอรัปชั่นดังนั้นสิ่งนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่คนไทยต้องเปลี่ยน Mindset ให้คิดเรื่องมาตรฐานในการตัดสินใจว่าตัวเองมีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็น Mindset ในระดับโลก

2. NGOs ส่วนใหญ่จะออกมาขวางในการพัฒนาทุกอย่าง เช่นการสร้างโรงไฟฟ้า เพราะการสร้างโรงไฟฟ้าคือการสร้าง Infrastructure ของประเทศ ได้มีการวางแผนพัฒนาในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพอสมควรแล้ว ยกตัวอย่าง โรงไฟฟ้ากระบี่ ได้มีการพิจารณาอย่างเรียบร้อยแล้ว แต่พอเสนอขึ้นไป โดย NGOs ขวางทำให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนาประเทศในเรื่องนี้

ศ.วิชา ตอบ เป็นผู้หนึ่งที่อยู่ใน NGOs มูลนิธิฯที่ทำตลอดคือเด็กและเยาวชนไม่ได้มีผลกระทบอย่างรุนแรงเรื่องนโยบายแห่งรัฐ แต่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในนโยบายแห่งรัฐ เรื่องนโยบายรัฐเป็นเกี่ยวกับเรื่องการตั้งโจทย์ ถ้าตั้งโจทย์ผิดจะเสมือนติดกระดุมผิดตั้งแต่เม็ดแรก จึงอยากขอให้คิดให้รอบคอบ

Mindset ต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ตั้งโจทย์ให้ดี ยกตัวอย่างในเรื่องเด็กและเยาวชนพบว่าปัญหาเรื่องความรุนแรงมีมาก ให้นำ Trend ของโลกมาผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นต้องให้สิทธิกับเด็กในการโต้ตอบและใช้เหตุใช้ผล ประชาธิปไตยต้องเริ่มตั้งแต่ในบ้าน แล้วจะขยายจากรั้วบ้านไปสู่ภายนอก ถ้าไม่ชอบบางข้อให้ตั้งข้อสงวนไว้ในอนุสัญญา

ดังนั้นการรณรงค์ให้คนมีความรู้เท่ากับเราเป็นสิ่งที่เราต้องทำ และอย่าดูถูกชาวบ้านต้องไม่กั๊กข้อมูล ไปพูดคุยกับเขา ทำความรู้จักกับเขา ไม่เช่นนั้นจะก่อให้เกิด Mindset ที่ค้านกัน และทำให้เขาไม่มั่นใจที่จะเชื่อเราหรือไม่ ทำให้NGOs เข้าใจระบบที่ดี ศึกษาอย่างดี สร้างความเข้าใจที่ดี เชื่อว่าระบบ Trust จะเป็นระบบที่ดีที่สร้างความสมานฉันท์และเชื่อได้

คุณหญิงทิพาวดี ตอบว่า ในการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ และเขียนคำนิยมในเหรียญดุษฎีมาลา คือการคิดประดิษฐ์สิ่งที่เป็นประโยชน์ อย่าง Super K.คิดประดิษฐ์อะไรในการสร้างโรงไฟฟ้า กฟผ.เริ่มจากการเป็นผู้ให้ ผู้สร้าง ผู้นำในการพัฒนา ไม่ใช่ผู้ทำลาย สิ่งนี้คือกุญแจที่ กฟผ.จะสามารถรักษา Image ด้านนี้ได้หรือไม่ อย่างเรื่อง Trust จะเกิดจากประสบการณ์ของตัวเองด้วย

โดยค่าเฉลี่ยคนฟังในเชิงสาระหรือ Verbal แค่ 7% แต่น้ำเสียงกิริยาวิธีการจำได้ 38 % แต่อากัปกิริยา โทน ภาษา จำได้ 55% ยกตัวอย่างเรื่องโรงไฟฟ้าที่กระบี่ รู้สึกไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการชี้แจงที่รู้สึกถึงความไม่ชัดเจน แม้รู้ว่า NGOs พูดเกินไปก็ตาม ประเด็นคือ คนกระบี่ได้อะไรบ้าง ทุกอย่างต้องมีคำตอบ และต้องเป็นคำตอบที่ชาญฉลาด

สิ่งสำคัญคือ Mindset ของผู้บริหาร ที่ดีอย่างหนึ่งคือ อย่ามองคนต่อต้านเป็นศัตรู เพราะเสมือนได้ที่ปรึกษาฟรีต้องขอบคุณเขา เพราะคุณได้คำวิจารณ์ฟรี ๆ อย่า Underestimate อะไร ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามต้องคิดรอบคอบ รอบด้าน อย่างคนรอบรู้ เป็นเรื่องป้องกันความเสี่ยง Risk Management ต้องปิดช่องว่างให้หมด เช่น เชิญ NGOs เข้ามาเรียนรู้ร่วมกัน เดินทางไปที่สถานที่ด้วยกัน

สรุปคือขึ้นอยู่กับ Mindset ที่เป็นนโยบายของประเทศต้องการอะไร ทุกอย่างมีคำตอบอยู่ เราต้องหาคำตอบให้เจอ และต้องสามารถทำให้ NGOs เขากังวลเรื่องอะไร และถ้าเราสามารถตอบคำถามได้หมดเราจะได้ NGOs เป็นพวก แล้วมาถามประชาชนว่าคิดอย่างไร งานนี้ไม่ใช่งานง่าย แต่เป็นงานที่ต้องก้าวทีละก้าว

3. จากที่ ศ.วิชา บรรยายตอนต้นที่นำเรื่อง Trust มาเป็นตัวนำ Accountability และความโปร่งใส การออกพระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้าง จะเป็นตัวขัดหรือไม่ ในส่วนตัวมองเรื่อง พ.ร.บ.เป็นการตีกรอบและคนทุจริตเป็นตัวเกณฑ์

เรามีตัวกำหนดในเรื่องพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างเป็น กฎระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นกฎหมายที่ไม่ใช่กฎหมายใหญ่ และไม่ได้รับความเคารพนับถือจากองค์กรทั่วไป ถูกตีความและถูกใช้ในแง่ของความล้าสมัย ซึ่งความจริงมีหลากหลายจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องยึดสำนักนายกฯ อย่างเดียว จึงทำให้เกิดการแหกกฎต่าง ๆ มากมายตัวอย่างกรณีมหาวิทยาลัย เกิดกรณีที่เกิดความขัดข้อง มหาวิทยาลัยมองว่าไม่จำเป็นต้องใช้ระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี แต่กฎหมายมองว่ามหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานของรัฐ เห็นว่าเป็นความผิดทางวินัย อย่างไรก็ตามต้องออกระเบียบจัดซื้อจัดจ้างให้ชัดเจน จึงได้มีการออกกฎหมายใหม่ที่เป็นตัวกลางเป็นการจัดซื้อจัดจ้างในลักษณะ Mega Project ซึ่งเป็นงบประมาณสูงไม่ต้องใช้พ.ร.บ.ฉบับนี้

ได้นำ Integrity Tag เป็นการลงนามในข้อตกลงว่าไม่โกงและหน่วยงานนั้นก็ลงนามด้วย ถ้าใครผิดสัญญา และตรวจสอบพบจะถูก Blacklist โดยทันที ดังนั้นจึงต้องยอมรับกฎกติกา ต้องเรียนรู้วิธีการใหม่ ๆ เป็นสัญญาคุณธรรม เป็นแนวทางของศาสตราจารย์ที่อยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์เป็นผู้นำทางความคิดการป้องกันการทุจริต แต่หลายประเทศไม่เห็นด้วย บอกว่าต้องมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตาม Transparency เป็นการตรวจสอบที่สมบูรณ์อยู่ และมีผู้สังเกตการณ์ทำการติดตาม สามารถทักท้วงได้ มีการนำแนวความคิดของต่างชาติผนวกเข้ามา ไม่ใช่ของใหม่ของไทย แต่ก่อนไม่ได้ใส่ในกฎหมาย แต่ปัจจุบันได้ใส่ไว้ในกฎหมายแล้ว แต่คนไทยบางกลุ่มเรียนรู้ที่จะฝ่าฝืนกฎหมายได้อย่างไร เช่นการโกงโดยการสำแดงแหล่งผลิตเท็จ กรมศุลกากรเลยยึดไว้ทั้งหมดแล้วจ่ายเงินมหาศาล ดังนั้นสิ่งที่ผ่านมาอะไรที่เป็นของดี ก็สามารถล้มเหลวได้ในประเทศไทย ดังนั้นควรศึกษา และระมัดระวังตั้งแต่ต้น ดังนั้นผู้ทรงคุณวุฒิไม่ควรเป็นคนเดิมซ้ำเพราะสามารถถูกซื้อได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อยากขอให้ทุกท่านนำไปคิดต่อให้ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง และขอให้คุณหญิงทิพาวดี และ ศ.วิชา เป็นแนวร่วมกับ กฟผ.ต่อไป เนื่องจากเป็นคนของประเทศ คำตอบที่ได้เป็นสิ่งที่เป็นความจริง จึงอยากขอฝากสิ่งนี้ให้กับทุกท่านไว้

ถ้า กฟผ.จะสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้ไปหาคนที่หวังดี แต่ไม่สามารถซื้อได้ ให้ใช้หลักการ 2 อย่างคือ Respect & Dignity ให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ให้มีการปะทะกันทางปัญญา ยกย่องให้เกียรติกัน ใช้ปัญญามากขึ้น

ได้พูดคุยกับปราชญ์ชาวบ้านหลายคน เขาบอกว่าถ้าเปิดเวทีให้ความรู้ ชาวบ้านยินดีรับฟัง แต่ถ้าเปิดตัวสร้างโรงไฟฟ้า อาจเกิดการต่อต้านจาก NGOs

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ยกตัวอย่าง ที่ทับสะแก จัดสัมมนามา 1 งานเพื่อมาร่วมแสดงความคิดเห็น มีการเชิญ Stakeholder หลายกลุ่มมา พันธกิจของ กฟผ.คือการสร้างความมั่นคงให้กับประเทศไทย

บางครั้งสิ่งที่พูดคือการให้ความเท่าเทียมทางด้านความรู้ แต่ถ้าคนกฟผ.พูดเองชาวบ้านอาจไม่ฟัง อาจต้องมีตัวกลางเป็นคนพูด

คนที่ทับสะแก ชาวบ้านจะมีความต้องการในการพัฒนาเอาโรงไฟฟ้าเข้ามา เป็นอีกตัวอย่างของการใส่ความรู้ มีกลยุทธ์ มีตัวกลาง และมี NGOs

การปรับ Mindset คนในชาติ ต้องสร้างความตระหนักรู้ให้ทั่วถึง ต้องให้ชาวบ้านเข้าใจด้วย


Lesson Learned – Share and Care

สิ่งที่ “ฉัน” ได้เรียนรู้ – ความประทับใจ และการนำไปปรับใช้(นำเสนอรายบุคคล)

คุณศักดิ์สิทธิ์ (ECGO)

- ได้เรียนรู้และรับฟังความคิดเห็นมุมมองที่หลากหลาย

- ความคิดสร้างสรรค์

- ได้รู้จักกับพวกรุ่นพี่ที่เรียนด้วยกัน มีความประทับใจ

คุญชัยโรจน์

- ชอบอาจารย์จีระที่ทำให้เราได้คิด วิเคราะห์ ปะทะทางปัญญาและทำให้ตื่นตัวตลอดเวลา

- ชอบเรื่องการแต่งกาย และมารยาทในการรับประทานอาหาร

- การทำงานร่วมกับคนอื่น

- การศึกษาดูงานที่จังหวัดน่าน

- การอ่านหนังสือ เพราะเหมือนได้เคาะสนิมในหัว

คุณทิเดช

- ชอบวาดรูป เนื่องจากมีความฝันว่าจะวาดรูป

- ชอบ อาจารย์จีระ ที่กระตุ้นเรื่องปะทะความคิด ทำให้ตื่นตัวตลอดเวลา ได้มีการปะทะกันทางปัญญา

- ได้นำความคิดมาใช้ในหน่วยงาน

คุณจิวสา

- หลักความคิดดีมาก

- การตัดความคิดใครต้องมีเกณฑ์ และหลักการ จะตัดทั้งหมดไม่ได้

- ผู้เรียนมีความตั้งใจ มีการทำงานเป็นทีม และความใจเป็นพี่น้องสูงมาก

- บุคลิกภาพที่เหมาะสม

- การคัดเลือกวิทยากร

คุณสมเกียรติ โรงไฟฟ้าจะนะ

- ที่เรียนทุกวิชาคือเรียนและคุยกัน แต่ยังไม่ได้ทำ

- ถ้าทำให้ประสบความสำเร็จอาจตั้งเป็นพรรคการเมืองหาพวกที่คิดแบบ Disruptive Thinking เพราะอนาคตจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับคนใช้อำนาจว่าจะเป็นใคร

คุณฤดีมาส

- มีความประทับใจเพื่อน ๆ

- วิชาการรู้เรื่อง ประดับความรู้

- ได้มีการปะทะกันทางปัญญา

คุณถาวร

- ได้รู้จักเพื่อน ๆ

- ประทับใจอาจารย์จ้าสรุปประเด็นเก่ง

- การบ้านมากไป และจัดระยะเวลาติดกันเกินไป

ดร.นิทัศน์

- เคยเห็นอาจารย์จีระนานแล้วแต่ไม่ได้พบตัวจริง รู้สึกดีใจที่ได้พบคนที่มีแนวคิดคล้ายกับเรื่องทุนมนุษย์

- ได้รู้จักอาจารย์จีระและทีมงาน

- ได้รู้จักผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายหลายท่าน

- จากการทำงานกลุ่มรู้สึกว่าแต่ละท่านมีของ

- ได้แนวคิดจากผู้ร่วมรุ่น

- การเข้าไปชุมชนน่าน รู้สึกประทับใจ

- ชอบเรื่องวิชาวาดรูป รู้สึกวาดรูปสวย อยากมีเวลามากขึ้น

- หลักสูตรดี อาหารมีคุณภาพ ทีมงานน่ารัก เพื่อนร่วมรุ่นน่ารัก

คุณสุวรรณา

- เคยทำงานที่ กฟผ. รู้สึกยินดีมากที่ได้มาอบรมที่นี่อีก ตอนแรกที่สมัครนึกว่าเป็นโครงการต่างประเทศ

- ประทับใจเรื่องการได้มีโอกาสมารู้จักผู้บริหารระดับสูง เป็นการสร้างโอกาสที่ได้มาในกลุ่ม

- หลักสูตรเรียนรู้ที่ผ่านมาเป็นการเรียนรวดเดียวจบ ครั้งนี้ทำให้รู้สึกแปลกใหม่

คุณพรชัย

- ประทับใจเพื่อน ๆ ในความเป็นคนดี ไม่โกงบ้านโกงเมือง

- คิดว่าตัวเองเก่ง จึงไม่ค่อยเชื่อใคร

- เรื่องภายในแก้อย่างไร ปัญหาของกฟผ.มีมากกว่าที่คิด

- ประทับใจคุณหญิงทิพาวดี เพราะรู้สึกเอาชนะใจได้

- มีคนพูดเยอะ แต่เวลาทำไม่มีคนทำ

- การไปอ่านหนังสือแปลเป็นเรื่องดี รู้สึกเหมือนเรียนปริญญาโท

- การเรียนรู้อยากให้กำหนดไปที่เนื้องานว่าจะทำอะไร มีเป้าหมายแต่ละรุ่นให้ชัดเจน

คุณนพวรรณ

- อยากให้คนเข้าใจเรื่องทุนมนุษย์จริง ๆ เพราะเป็นทั้งเรื่องศาสตร์และศิลป์

- องค์ความรู้เป็นพื้นฐานการต่อยอด ขึ้นอยู่กับจะเก็บเกี่ยวได้มากน้อยแค่ไหน

- ให้คนเห็นความสำคัญของการพัฒนาคน

- ระยะเวลาการอบรมห่างไป บางคนจำไม่ได้ว่าเรียนด้วยกัน

คุณโสตถิพันธุ์

- ได้ผ่านการอบรมมากมา แต่ครั้งนี้รู้สึกว่ามีพลัง เราถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน

- รู้สึกประทับใจในคุณธานีที่มีความเข้าใจกัน

- ทุกคนมีความห่วงใย กฟผ.

คุณธานี

- มี 2 ประเด็นที่ชอบ คือ1. ดร.จีระมีไฟที่กระตุ้นตลอดเวลาให้เราคิดตลอด และ 2. ชอบ อาจารย์จ้าตรงสรุปประเด็นได้ดีมาก ในเรื่องสรุปประเด็น

คุณพนม

- ดูแลด้านงานจัดซื้ออยู่

- ที่เรียนรู้คือ เราต้องเปลี่ยนตัวเองก่อน หมายถึงต้องมี DNA ถึงจะอยู่รอด ได้หลักการดี ๆ จากอาจารย์จีระ คือ ต้องปลูกลูกน้องก่อน ให้คนมีใจทำงาน ปลูกคนเพื่อให้ได้งาน ต้องเปลี่ยน Mindset

คุณสายัณห์

- ประทับใจ ดร.จีระเพราะเป็นคนมีไฟ มีความมุ่งมั่นการพัฒนาคนเป็นเรื่องบุญกุศล

- ประทับใจ ดร.พงษ์ชัย เพราะสิ่งที่คิดมีหลายเรื่องที่ไม่สามารถยับยั้งได้

- ใน EGAT คนปฏิบัติงานไม่พูด คนพูดเก่งบางคนไม่ได้ทำ แต่ Present เก่ง ทำให้มีความก้าวหน้าเร็วในการทำงาน เพราะรู้ว่าทางเดินเส้นไหนก้าวหน้าไปได้เร็ว ทำให้เสมือนทิ้งคนอีกกลุ่มไว้

- เรื่องกฎระเบียบที่เข้ามาตรวจสอบมากเกินไป พบว่าบางครั้งมีหลายคนที่เขาไม่ได้ตั้งใจผิดพลาด แต่ต้องได้รับบทลงโทษโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่นงานทางด้านการเงิน ซึ่งอาจทำให้รู้สึกไม่กล้าที่จะทำงานอย่างเต็มที่

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กล่าวถึงความประทับใจที่ได้มาร่วมเป็นวิทยากรและสรุปประเด็น ขอบคุณที่ทุกท่านเห็นถึงประโยชน์ในการทำงาน

1. มีภาวะผู้นำในการบริหารจัดการทันที

2. ผู้นำหรือผู้บริหารให้มีความหลากหลายตามทฤษฎี 3 V ของ ดร.จีระ ให้มี Value Creation คิดอะไรใหม่ ๆ

3. การทำงานของ กฟผ.ต้องตรงกับ Thailand 4.0 คือการยกระดับรายได้ปานกลาง เพื่อลดกับดักของรายได้ปานกลาง และทำให้เกิดความเป็นจริง เพราะกับดับที่ทำให้เกิดการพัฒนาไม่เท่าเทียมกัน ผลประโยชน์ไม่เท่าเทียมกัน

4. การเปลี่ยนแปลงคน กฟผ. วิทยากรเป็นแค่ส่วนประกอบ สำคัญที่ความรู้ความสามารถของคน กฟผ. ที่ได้รับและไปแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน

5. วิชาอาจารย์จีระมี 2 เรื่องคือ เรื่องปลูกและเก็บเกี่ยว และ 2 R’s คือการนำความจริงมาคลี่ก่อน และเลือกเรื่องที่เก่งมา 1 เรื่อง และจัดลำดับความสำคัญ

วิธีการสรุป

อาจารย์พิชญ์ภูรีกล่าว่าเริ่มต้นตอนแรกจากการย่อความก่อน โชคดีที่เคยเป็นบรรณาธิการ จึงสามารถดึงประเด็นมาเสียบได้

1. ดูโจทย์ก่อน ต้องตีโจทย์ให้แตก

2. มีทักษะการฟังที่ดี และจับประเด็นให้ได้

3. หาประเด็นที่แตะ แล้วจะทำให้มีความคิดเพิ่มขึ้น โดยต้องฟังให้ครบ และเลือกประเด็นที่สอดคล้องกับโจทย์นี้ การเลือกที่ดีที่สุดควรเกี่ยวกับงานของเรา

4. มีข้อมูลในสมองมากพอที่จะเลือกนำมาใช้เชื่อมประเด็น ให้มีการจัดลำดับความสำคัญในการพูด

5. ดูบทบาท หน้าที่ และกาลเทศะ เมื่อเกิดความขัดแย้งให้ดูท่าที ในการทำให้คนยอมรับ


วันที่ 8 มิถุนายน 2560

Group Assignment & Presentation

Lesson Learned – Share and Care บทเรียนจากหนังสือ Harvard Business Review

HBR’s 10 Must Reads on Collaboration

กลุ่มที่ 1 Building a collaborative enterprise

การสร้างองค์กรแห่งความร่วมมือ (Collaborative Enterprise)

ต้องอาศัยชุมชนแห่งความร่วมมือ นำพาผลักดันความสามารถองค์กรให้ลุล่วง ไม่ทำเพื่อบุคคลใด บุคคลหนึ่ง สามารถลด Human Error

ชุมชนที่รวมความรู้จากผู้เชี่ยวชาญมาร่วมกัน ร่วมกันทำงาน นำความสามารถของแต่ละคนมาใช้เป็นพลังผลักดันภารกิจขององค์กรให้ลุล่วง ไม่ใช่ทำงานเพื่อประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

กรณีศึกษา : บริษัท Computer science corporation (CSC) ทำโมเดล Capability Maturity Model (CMM) มาให้สามารถเพิ่มผลผลิตมากขึ้น และลดอัตราความผิดพลาดลงถึง 75%

Three models of corporate community ของชุมชนแบ่งเป็น 3 ลักษณะ

โมเดล 1 Traditional Industrial Model

ค่านิยมร่วมที่มั่นคงแข็งแรง (Strongly shared values) + ประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติ (Traditions) แต่ละคนมีบทบาทชัดเจนตามอาชีพการงานแต่จำกัดความยืดหยุ่นในการทำงาน , พัฒนาด้านนวัตกรรมต่างๆ เป็นไปได้ช้า

โมเดล 2 Free Agent Model

สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ได้ง่าย, ยืดหยุ่น, กฎเกณฑ์และความสัมพันธ์ต่างๆ ลดลงได้เพื่อประโยชน์ของแต่ละคนในองค์กร ความสัมพันธ์ไม่เข้มแข็งและยืดหยุ่นเกินไปส่งผลต่อการสร้างทีมที่มีการทำงานกว้างขวางมากขึ้นทำให้การทำงานประเภท knowledge based work ยากขึ้นด้วยโมเดล 3 Collaborative Community Model

คนมีพื้นฐานความเชื่อที่หลากหลายดังนั้นต้องใช้จุดมุ่งหมายร่วม (shared purpose) กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆขึ้นได้ เหมาะกับการทำงานประเภท Knowledge based work อาศัยความร่วมมือกันระหว่างกัน

การสร้างองค์กรแห่งความร่วมมือ (Collaborative Enterprise)

1. Share Purpose กำหนดจุดมุ่งหมายร่วมกัน อาศัยความร่วมมือร่วมใจในองค์กร ช่วยเหลือคู่ค้า ในสังคมได้อย่างชัดเจน

นักสังคมวิทยา Max Weber กล่าวว่า พื้นฐานความสัมพันธ์ทางสังคมมีด้วยกัน 4 ลักษณะคือ

- Tradition (ประเพณี)

- Self-interest (ผลประโยชน์ของตนเอง)

- Affection (ความชอบ)

- Shared purpose (วัตถุประสงค์ร่วมกัน )

สำหรับ Shared purpose ใน Collaborative Community ต้องมีพื้นฐานความเชื่อใจและความร่วมมือกันระหว่างคนในองค์กรShared purpose ที่มีประสิทธิภาพจะต้องกำหนดท่าทีที่มีต่อคู่แช่ง คู่ค้า การช่วยเหลือลูกค้าและสังคมที่ชัดเจนซึ่งจะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จขององค์กร

กรณีศึกษา 1:หลักการ Value compass ของ บริษัท Kaiser Permanente

Value compass คือ ความร่วมมือกันรับมือความท้าทายที่เกิดขึ้นทุกวันที่ทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบร่วมกัน

นิยามของ Value Compass ของ บริษัท Kaiser Permanente คือ“Best Quality, Best service, most affordable, best place to work (คุณภาพดีที่สุด บริการดีที่สุด ราคาเหมาะสมที่สุดสถานที่ทำงานดีที่สุด)”

กรณีศึกษา 2 :Shared purpose ของบริษัท IBM

IBM สร้างความเข้าใจร่วมกันด้วย 3 กระบวนการ คือ 1.วิเคราะห์ปัญหา 2.มุ่งเน้นแก้ไขและให้บริการตามความต้องการของลูกค้า 3.จะเป็นผู้นำในการคิดค้นนวัตกรรมรูปแบบใหม่และซับซ้อนรองรับความต้องการของลูกค้า

กรณีศึกษา 3 :Shared purpose ของ Citibank

Citibank พัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรม Online banking ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ Growth rate เพิ่มขึ้นถึง 20%

2. Ethic of contribution จริยธรรมของการมีส่วนร่วมในองค์กร

คือ ปลูกฝังจริยธรรมของบุคลากร ไม่ได้ทำงานแค่บทบาทเฉพาะของตน ทำงานเพื่อจุดมุ่งหมายร่วม(shared purpose)ขององค์กร ทำงานนอกเหนือจากภาระหน้าที่ตามความรับผิดชอบ ทำให้ช่วยแก้ไขปัญหาในระดับกว้างขึ้น มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมเพื่อผลประโยชน์โดยรวมสร้างความเชื่อใจในองค์กรทุกคนในองค์กรต้องเชื่อว่า “เพื่อนร่วมกลุ่มทุกคนตั้งใจและสนับสนุนไปสู่จุดมุ่งหมายร่วมกัน (shared purpose)”

3. Instituting Interdependent Process การสร้างกระบวนการทำงานร่วมกัน

หัวใจสำคัญคือทำให้จุดมุ่งหมายร่วม(shared purpose)เป็นส่วนหนึ่งของงานที่ทำ ต้องสร้างกระบวนการทำงานร่วมกัน

Interdependent processesเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการทำงานร่วมกัน ได้แก่ Kaizen, Process mapping, brainstorming, Participatory meeting management, decision making และอื่นๆ

กรณีศึกษา : บริษัท cscพัฒนาโมเดล CMM ทำให้การพัฒนา software ของผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรม software จัดการโครงการต่างๆได้อย่างรวดเร็ว

กรณีศึกษา : บริษัท e-Solutionจัดทำ e-business road map ส่งผ่าน on-line เข้าถึงพนักงานอย่างรวดเร็วให้อิสระแก่พนักงานในการเข้าถึงเพื่อการอัพเดทและปรับแก้ไขได้เสมอ

ในกระบวนการทำงานร่วมกันโดยเนื้อแท้แล้ว :

1. องค์กร collaborative community ต้องให้อิสระแก่ทุกคนในการคิดริเริ่มเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงไปตามลักษณะงานของแต่ละคนและมีการปรึกษาร่วมกันตามความจำเป็น

2. ความยากในการจัดการรูปแบบ collaborative community คือต้องสร้างการยอมรับคุณค่าของการทำงานร่วมกันและบุคลากรในหน่วยงานต้องพร้อมปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของผู้อื่น

4. Creating a Collaborative Infrastructure สร้างหน่วยงานให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน

กำหนดโครงสร้างหน่วยงานที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน โดยจัดตั้ง “ศูนย์กลางการมีส่วนร่วม (Participate Centralization)” เพื่อให้มีการรวมและประสานงานความรู้ความร่วมมือของทุกคนในองค์กรเข้าด้วยกัน

กรณีศึกษา : บริษัท e-Solution

มี3กลุ่มงานและแต่ละกลุ่มมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ช่วยกันกำหนดแผนกลยุทธ์และทิศทางของบริษัทข้อดีคือคนสามารถสวมหลายบทบาททำให้ได้รับข้อมูลจากหลายมุมมอง โครงสร้างเรียบง่ายไม่ซับซ้อนทำให้คนในบริษัทกล้าที่จะตั้งคำถามแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น การสร้างแรงจูงใจโดยการจ่ายเงินไม่ได้เป็นแรงผลักดันหลักของการสร้างแรงจูงใจในองค์กรที่ทำงานร่วมกัน พนักงานจะไม่พอใจถ้ารู้สึกว่าการจ่ายเงินไม่สะท้อนถึงการมีส่วนร่วมของพวกเขา การสร้างแรงจูงใจใช้ทฤษฎี pinball (ถ้าคุณชนะ คุณจะได้เล่นอีกครั้งในระดับที่สูงขึ้น)

The Collaborative Revolution

“Challenges of building Collaborative communities” ความสำเร็จของชุมชนแห่งความร่วมมือขึ้นกับ

- ความตั้งใจของพนักงานมีอย่างต่อเนื่อง

- จุดมุ่งหมายของงาน(shared purpose)ต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับตลาดและลูกค้า

- คนในทีมทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการสร้างและทำความเข้าใจในภารกิจร่วมกันและเกิดการร่วมแรงร่วมใจอย่างแท้จริงในการใส่ไอเดียที่ดีจากทุกคนในการพัฒนางานอย่างไรให้ดีขึ้นและมีต้นทุนที่น้อยลง

สรุป

ปัจจุบันความน่าเชื่อถือของบริษัทไม่ใช่กุญแจสำคัญที่จะสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันอีกต่อไป แต่เป็นการสร้างองค์กรให้เป็น “Collaborative community”ที่จะสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ยั่งยืนเติบใหญ่และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นนั่นเอง

การนำ“Collaborative community”มาปรับใช้กับ กฟผ. ตามหลัก

  • shared purpose
  • Ethic of Contribution
  • Instituting Interdependent process
  • Creating a Collaborative Infrastructure

EGAT ปัจจุบันเป็นองค์กร“Traditional Industrial Model” กำลังเพิ่มขีดความสามารถด้าน Innovation และ speed โดยเกิด “Free Agent Model”บางส่วนในอนาคตสู่ “Collaborative community model”

กิจกรรมที่ทำอยู่

  • กิจกรรม KM (Knowledge Management)
  • กิจกรรม QC/KAIZEN
  • เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQC/TQA)
  • การพัฒนาสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรม
  • จัดตั้ง COP (Community of practice)
  • Lean enterprise

สิ่งที่ยังเป็นอุปสรรค

  • วัฒนธรรมการทำงานของแต่ละสายงานมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
  • ระบบการทำงานแบบตามสายบังคับบัญชาไม่มีการข้ามสายงานกัน
  • ยังขาดแนวคิด shared purpose ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ Collaborative community
  • ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็นอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของคนวิชาชีพอื่น
  • Generation Gap ของผู้ปฏิบัติงาน

ต้องสร้างการทำงานร่วมกันโดยใช้เครื่องมือแบบ Keisen

ในส่วน E-Solution มีการทำ E-Business Roadmap มีการศึกษาร่วมกันตามความจำเป็น สร้างคุณค่าการทำงานร่วมกัน ทุกคนพร้อมปรับเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

สร้างหน่วยงานที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน เน้นการมีส่วนร่วม ต้องการประสานความร่วมมือขององค์กรร่วมกัน มีการยกกรณีศึกษาของบริษัท E-Solution ข้อดีคือคนแต่ละกลุ่มงานสามารถสวมได้แต่ละบทบาท มีอุปสรรคเรียบง่ายไม่ซับซ้อน การจ่ายเงินไม่เป็นที่ยุติธรรมจะส่งผลให้พนักงานไม่พึงพอใจได้

ในส่วนความสำเร็จชุมชน พนักงานมีส่วนสร้างแนวคิดที่ดียิ่งขึ้น

การจะเป็นองค์กรแห่งความร่วมมือได้อย่างไร

1. วิเคราะห์ตัวเองเรื่องเป้าหมายร่วมกันในวันนี้ ตอนนี้ กฟผ.ทราบหรือยังว่าเป้าหมายองค์กรคืออะไร ความเข้มแข็งทางธุรกิจ

2. การสร้างการยอมรับ กฟผ.ต้องยอมรับว่าอ่อนแอต่อสังคมในตอนนี้

3. การสร้างจริยธรรมให้เป็นองค์กรใสสะอาด กฟผ.ได้มีการพูดอย่างชัดเจนแล้ว อยากฝากข้อคิดว่าอยากมีความชัดเจนด้านจริยธรรมมาก จนมีบทลงโทษคนทำไม่ดี แต่ทำให้พนักงานบางคนทำอะไรโดยไม่ได้เจตนา แต่เจอบทลงโทษ และเจ็บช้ำ

4. การสร้างการยอมรับซึ่งกันและกัน อย่างในกรณีเครื่องมือในการทำงานมีความมุ่งมั่นมาก แต่ในชีวิตจริงหายไป อยากให้ทำได้เหมือนกับการใช้เครื่องมือตรงนั้น

การประสานความร่วมมือในการทลาย Silo ต่าง ๆ เน้นการปฏิบัติงานที่มีเป้าหมายเดียวกัน

5. การทำงานร่วมกันได้ ผู้นำต้องเข้มแข็งและชัดเจนจริง ๆ

ผู้นำในฝันไม่มีจริง ๆ แต่จะเลือกสิ่งที่ผู้นำพูดดี ทำดีมาใช้ในบางเรื่อง

การยอมรับในวิชาชีพ การยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่างกันมีมาก

การเปลี่ยนรองบ่อย ๆ เป็นการเปลี่ยนมากที่สุดในสายรอง

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ฝากไว้ 2 เรื่องคือ หลักสูตรนี้พูดถึง IQ ความสามารถ การวิเคราะห์ วิจารณ์ไม่ต้องพูดถึง ต้อง Turn Idea into Action และ Turn Action into Success

วัฒนธรรมองค์กรแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน การเอาชนะอุปสรรคบางอย่างจะรวมพลังได้อย่างไร ถ้าเรารวมตัวแค่ 10 คน เราชนะ ยุคต่อไปต้อง Empower ข้างล่าง ถึงแม้ไม่ได้เป็นอันดับ 1 ขององค์กร อย่า Under Estimate ของตัวเอง

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

คำว่าจริยธรรมอย่างเดียวไม่พอ ต้องดูถึง Integrity คือสามารถทำอะไรได้ในที่ลับและที่แจ้งโดยไม่เกรงใจใคร

การวางรากฐานความคิดคือคิดเหมือนกัน สร้างความเข้าใจกันมากกว่าความยึดถือทางอารมณ์ ทุกที่มีคนใหม่เข้ามา คนใหม่นั่งมองว่าคนเราเก่งหรือไม่ คนเก่านั่งมองว่าคนใหม่เก่งหรือไม่

ให้เปิดใจคุยกัน จัดรูปแบบระบบให้ถูกต้อง และเน้นการทำเพื่อส่วนรวมจะทำให้คน Happy และทำให้มีกฎเกณฑ์

ถ้าเราอยู่ใน Teamwork เดียวกัน หนังสือเล่มนี้สอนให้เป็นการทำทีมที่มีการกลั่นกรองที่ดี

กลุ่มที่ 2 ผู้นำแบบใช้ความร่วมมือ

ทำไมต้องเป็นผู้นำแบบใช้ความร่วมมือ?

  • โลก/สภาพแวดล้อมเปลี่ยน เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระแสธุรกิจ เทคโนโลยี โครงสร้างสังคม และสังคมออนไลน์รูปแบบใหม่ (ทำให้ผู้นำยุคใหม่จะต้องมีความสามารถในการประสาน เชื่อมโยงและร่วมมือกับหน่วยงานและบุคคลต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กรมากขึ้น)
  • เกิดช่องว่างระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
  • ขาดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ
  • กระตุ้นให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรแบบเปิดเผยและแบบมอบหมาย/กระจายอำนาจมากขึ้น (Empowerment)
  • ส่งเสริมให้มีวัฒนธรรมองค์กรแบบร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพสูง

ผู้นำแบบใช้ความร่วมมือเนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สื่อออนไลน์มีบทบาทสำคัญมากต่อการบริหารธุรกิจ เกิดช่องว่างระหว่างผู้บริหารและปฏิบัติงาน ขาดการคิดสร้างสรรค์ และกระตุ้นวัฒนธรรมองค์กรใหม่ ๆ

ส่งเสริมให้มีวัฒนธรรมองค์กรแบบมีประสิทธิภาพสูง

ปัจจุบันมีการใช้สื่อออนไลน์มากขึ้น ได้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางมาก

มีการสร้างความไว้วางใจ เกิดความคิดใหม่ ๆ เพิ่มเติมมาในสื่อออนไลน์ ทำให้ทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากอะไร สามารถเป็นผู้เชื่อมโยงและประสานแนวคิดใช้ความแตกต่างหลากหลาย ใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด

ทักษะ คุณลักษณะ และความสามารถของผู้นำแบบใช้ความร่วมมือ

  • สามารถเป็นผู้เชื่อมโยง/ประสานคนและแนวคิด
  • สามารถใช้ประโยชน์จากความแตกต่างและความหลากหลาย
  • เป็นแบบอย่างในการเป็นผู้นำแบบใช้ความร่วมมือโดยเริ่มที่ผู้บริหารระดับสูงก่อน
  • แสดงความเข็มแข็งและเด็ดขาด

บทบาทของความร่วมมือ มีผู้นำโดยเริ่มให้ผู้บริหารร่วมมือก่อนไประดับล่าง

ผู้เชื่อมโยง/ประสานคนและแนวคิด

พยายามประสานความร่วมมือในองค์กร

  • ภายในองค์กร
  • ภายนอกองค์กร
  • จากภายนอกองค์กรสู่ภายในองค์กร

(มีความสามารถในการเชื่อมโยงคน ความคิด และทรัพยากรต่างๆ ที่โดยปกติอาจไม่ค่อยมีโอกาสได้เจอกันหรืออยู่ร่วมกัน ให้สามารถพบเจอหรืออยู่ร่วมกัน เพื่อประโยชน์ขององค์กรให้ได้ ในทางธุรกิจนั้น ผู้เชื่อมโยง/ประสานจัดว่าเป็นคนสำคัญที่ช่วยให้เกิดความร่วมมือกัน)

มีการเอาความร่วมมือจากภายนอกมาสู่ภายในองค์กร

คำถามคือเป็นผู้เชื่อมโยงและประสานแนวคิดได้หรือไม่

1.เคยร่วมสัมมนาในหลักสูตรและออกนอกสถานที่ในวิชาชีพอื่น เพื่อให้มีความคิดที่หลากหลายจากภายนอก

2. เคยเป็นสมาชิกเครือข่ายหรือสังคมใดบ้าง

3. เคยเขียน Blog ของตัวเองหรือเขียนเพจตัวเองเพื่อเล่าเรื่องให้คนมาวิจารณ์แสดงความคิดเห็น

4. มีความพบปะองค์กรธุรกิจอื่นมากน้อยแค่ไหน เป็นความร่วมมือมากกว่าคู่แข่ง

5. เป็นกรรมการหรือสมาชิกใหญ่ ๆ ในองค์กรภายนอก เพื่อสร้างประโยชน์ให้องค์กรภายใน

ข้อพึงกระทำ

  • พบปะกับผู้นำในระดับ/ตำแหน่งหน้าที่เดียวกันของบริษัทอื่นๆ ที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกันหรือคล้ายคลึงกัน เพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหมือนๆ กัน
  • แบ่งปันข้อมูลที่พนักงานอาจไม่รู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อนำไปสู่ความท้าทายและโอกาส(เช่น บริษัทพบว่าจำเป็นต้องจัดอบรมเรื่องความคิดสร้างสรรค์ให้กับพนักงานมากขั้น)ให้แวะเวียนพูดคุยกับส่วนต่าง ๆ มาก
    • ความเหมือนและต่างกันขององค์กร ได้แก่ คู่ค้า ลูกค้า ซัพพลายเออร์ หน่วยงานภาครัฐ มหาวิทยาลัย สถาบันต่างๆ และสโมสรต่างๆ
    • ความแตกต่างและหลากหลายของบุคคล ได้แก่ ความแตกต่างกันเรื่องพื้นฐานทางบ้าน การศึกษา ศาสนา เชื้อชาติ วัฒนธรรม วิธีคิด ประสบการณ์หรือแม้กระทั่งช่วงอายุ

ความสามารถในการใช้ประโยชน์ขององค์กรที่หลากหลาย

ความเหมือนและความแตกต่างขององค์กร ความแตกต่างหลากหลายของส่วนบุคคล คนเรามีความแตกต่างกัน

การใช้ภาษาตัวเองในการนำเสนอจะได้ประโยชน์และความรู้สึกที่แท้จริงของแต่ละประเทศ

คำถามทดสอบว่าคุณมีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากความแตกต่าง และความหลากหลาย ได้หรือไม่?

  • ในทีมงานของคุณมีความหลากหลายแตกต่างกันของลูกทีมอย่างไรบ้าง (เช่น การศึกษา เพศและอายุ)?
  • คุณใช้เวลาในการเดินทางไปต่างประเทศมากน้อยเพียงใด?
  • ปีนี้คุณออกตลาด ดูงานนอกสถานที่หรือยัง?
  • มีคนรุ่นใหม่ (ที่ไม่ใช่ญาติ) รวมอยู่ในเครือข่ายของคุณหรือไม่?

ข้อพึงกระทำ

1. ให้โอกาสพนักงานหลากหลายได้เสนอความคิด

2. รวบรวมพนักงานที่มีความหลากหลายทุกรูปแบบ

3. มีการกระตือรือร้นตลอดเวลา

4. มีการรวบรวมผลงาน

แบบอย่างการเป็นผู้นำแบบใช้ความร่วมมือ

เริ่มจากผู้บริหารระดับสูงก่อน

  • ต้องให้ความร่วมมือกัน เพื่อความเป็นเอกภาพขององค์กร
  • เป็นแบบอย่างให้กับผู้บริหารระดับล่างและพนักงานระดับปฏิบัติงาน

วิธีการที่ใช้เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงปรับเปลี่ยน/เป็นแบบอย่างการเป็นผู้นำรูปแบบใช้ความร่วมมือมือ

  • ถ้าโครงสร้างไม่เอื้ออำนวยต้องปรับโครงสร้างให้ได้หมด
  • สร้างความร่วมมือ และละลายพฤติกรรมที่ทำให้ทราบว่าตัวเราเป็นคนอย่างไร
  • สร้างทีมงานให้ความร่วมมือมากขึ้น ส่งผลให้ดีขึ้น
  • ผู้บริหารควรถูกประเมิน ความสามารถเชิงบริหารหรือพฤติกรรม ให้มีการประเมินข้ามไปด้วย ไม่ควรนำมาเป็นความดีความชอบ ให้รู้ตัวตนที่แท้จริง

คำถามทดสอบว่าคุณเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กรที่เป็นแบบอย่างการเป็นผู้นำแบบใช้ความร่วมมือ หรือไม่?

  • ลูกทีมของคุณร่วมรับผิดชอบในงานที่ทำร่วมกันหรือไม่?
  • รายงานของคุณสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือกันทำงาน/ความรับผิดชอบร่วมกันหรือไม่?
  • คุณได้ทำอะไรบ้างเพื่อขจัดการแย่งชิงอำนาจกัน/การชิงดีชิงเด่นกันในทีมงาน?
  • รายงานของคุณมีเป้าหมายเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและการเรียนรู้หรือไม่?

กฟผ.มีผู้นำแบบความร่วมมือหรือยัง

ในหลายส่วนเริ่มมีการปรับตัวแล้ว และด้าน IT มาเร็ว ถ้าไม่ได้ส่งข้อมูลระดับล่างถึงบนจะเกิดความเคลือบแคลงสงสัยกัน และอาจทำให้ กฟผ.ไม่สามารถปรับตัวได้

ถ้าเรามี Union คนอื่นเข้ามาจะทำให้เกิดความคิดหลากหลายได้

แสดงความเข้มแข็งและเด็ดขาด

  • สามารถจัดการและสนับสนุนการร่วมมือกันให้เป็นไปอย่างถูกต้อง (หากมีการประชุม การแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกันมากเกินไป จนทำให้ทีมงานไม่สามารถหาข้อสรุปหรือข้อยุติได้จะเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จตามเป้าหมายของทีมงาน)
  • สามารถจัดตั้งและสลายทีมงานได้อย่างรวดเร็วเมื่อโอกาสอำนวย
  • ผ่อนปรนการควบคุมแต่ไม่เสียการควบคุม

คำถามทดสอบว่าคุณเป็นผู้นำที่แสดงถึงความเข้มแข็งและเด็ดขาดหรือไม่?

  • คุณเคยยกเลิกโครงการที่ร่วมมือกันทำในรอบ 6เดือนที่ผ่านมาหรือไม่?
  • เมื่อโอกาสอำนวย คุณจัดการวางรูปแบบทีมและสลายทีมงานได้อย่างฉับไวหรือไม่?
  • คุณเลือกคนที่ถูกต้อง (ที่สามารถยุติการอภิปราย/แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสามารถตัดสินใจ/หาข้อสรุปได้) หรือไม่?
  • หลังจากการถกเถียง/แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเข้มข้นรุนแรง ลูกทีมยอมรับและสนับสนุนการติดสินใจหรือไม่?

ข้อพึงกระทำ

1. ให้สิทธิ์ในการตัดสินใจและความรับผิดชอบกับคนที่ถูกต้องได้ (เลือกคนถูก)

2. ทำให้ลูกทีมยอมรับและสนับสนุนการตัดสินใจของทีม

3. ทำให้ลูกทีมเข้าใจชัดเจน เรื่องสิทธิอำนาจและขอบเขตการตัดสินใจว่าใครมีสิทธิอำนาจในการตัดสินใจเรื่องอะไร มากน้อยเพียงใดและอย่างไร

4. ยุติการยึดติดกับการทำงานแบบเดิมๆ ที่ให้ผลเพียงระยะสั้นๆ และตั้งวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ ก็สามารถเปิดใจตนเองที่จะเรียนรู้และแสวงหาโอกาสที่จะได้รับความรู้จากผู้อื่นและนวัตกรรมใหม่ๆ

แนวคิดโดยย่อ

การใช้ความร่วมมือ (Collaboration) นั้นไม่เหมือนการใช้เสียงข้างมาก(Consensus)
ในขณะเดียวกัน ภาวะผู้นำแบบใช้ความร่วมมือกัน(Collaborative Leadership) กับภาวะผู้นำแบบเผด็จการ -ใช้คำสั่งและการควบคุม (Command-and-Control Leadership) ก็ไม่ได้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

สรุป

  • ต้องสามารถที่จะทำงาน ร่วมมือ และประสานกับบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่มีพื้นฐานที่แตกต่างและหลากหลายไม่ว่าความแตกต่างนั้นจะมาจากพื้นฐานทางบ้าน การศึกษา ศาสนา เชื้อชาติ วัฒนธรรม วิธีคิด หรือแม้กระทั่งช่วงอายุ
  • ต้องมีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่องค์กร
  • ต้องรู้ว่าเมื่อใดควรใช้อิทธิพล (แทนการใช้อำนาจ) เพื่อเดินหน้าสานต่อ เพื่อยุติการอภิปราย/การแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ เพื่อยุติการแบ่งพรรคแบ่งพวก และเพื่อการตัดสินใจขั้นสุดท้าย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Collaborative เป็นหลักการที่ควรทำ ตรงไหนที่ควรหยิบเล่มนี้มาใช้ มีประโยชน์หลายเรื่อง และต้องเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์มาเต็มที่

กลุ่มที่ 3 Silo Busting / on collaboration

กรณีศึกษา

- GE Medical system (GE Healthcare) การเจริญเติบโต ในธุรกิจ ลดลงอย่างรวดเร็ว

- Jones Lang LaSalle (JLL)(Real estate)

การทำลายล้าง Silo

1. คนใหญ่โตใน Silo แต่ละฝ่ายให้คับ Silo

2. จะรอให้ Silo ล้มเอง

3. ทุบ Silo และไปดูข้างนอกบ้าง

GE ทำด้าน Health Care และ JILL เติบโตเร็ว

ช่วงแรกเป็นเรื่องของการใช้การเปลี่ยนจากรถม้าเป็น Breakthrough และเจอใน Business Model

ความจำเป็นด้านการใช้นวัตกรรม

คำถามคือ วันนี้ EGAT อยู่ตรงไหน ประเด็นคือเราจะไปไหน ไปอย่างไร และต้องดูที่ 2R’s และ Back to basic with 2R’s คือReality ความจริง & Relevance ตรงประเด็นแบบเฉียบแหลม และแหลมคม

1.Where are you เพิ่มเติมจาก Dr.Crira

2 เราจะไปไหน

3 เราจะไปอย่างไร

4 เราจะพบกับอุปสรรคข้างหน้าอย่างไร

สรุป EGAT ได้อะไร

4 C’s

1. Coordination

ยกตัวอย่าง GE สร้างกลไกในการทำงานให้พนักงานเน้นความสำคัญกับลูกค้า สร้างหน่วยงาน ปรับ Mindset เน้นการทำงานอย่างรวดเร็ว เน้นการเป็นองค์กร High Performance

GE เป็นเจ้าใหญ่โต

- Information Sharing

2. Co-orperation

ความร่วมมือผ่านทางวัฒนธรรมองค์กร ทำเพื่อลูกค้าเป็นหลัก ทำเรื่อง Customer Centric Company

3. Capability Development

ต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้เชิงลึกต้องมีบุคลากรที่มีความรู้หลากหลาย

4. Connection

เครือข่ายกับคู่ค้าภายนอก อย่าให้พันธมิตรกลายเป็นศัตรู

EGAT

ใช้ที่ประชุมแจกจ่ายงานกัน มองตัวเองเป็นใหญ่ ไม่มองลูกค้า เรื่องความร่วมมือทุกฝ่ายตีกรอบในการทำงาน ต้องอาศัยหลาย ๆ ฝ่ายซึ่งทำยากมาก ผลประโยชน์จะเป็นการทำ OT เป็นหลัก

การพัฒนาขีดความสามารถ ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้เชิงลึก ยากในการทำงานบริการ ไม่สามารถวิเคราะห์ได้

Connection คู่ค้าไม่เป็นมิตรแท้จริง แต่กลายเป็นศัตรูกัน ดังนั้นแต่ละฝ่ายต้องหาทางปรับปรุงช่วยกัน

กฟผ.เป็นหน่วยงานที่ชอบทำเองทุกเรื่องไม่ชอบใช้พันธมิตร ศักยภาพความร่วมมือกับพันธมิตรต่ำมาก

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ในรุ่นนี้ขอให้ใช้จังหวะ โอกาสและเล็ก ๆ ในรุ่นนี้เมื่อเจออุปสรรคให้ทำให้สำเร็จ ไม่ต้องรอว่าจะเอาหรือไม่

เราต้อง Get things done

กลุ่มที่ 4 Harnessing Your Staff

Communities of Practice

HR ต้องกลับไปดูด้วยว่า COP มีอะไรบ้าง

COP เป็นการรวมกลุ่มคนได้ดีถ้ารู้ความรับผิดชอบ มุ่งเน้นการทำงานระยะยาว Longterm

COPชุมชนนักปฏิบัติ

- เป็นการรวมกลุ่มกันอย่างไม่เป็นทางการของผู้เชี่ยวชาญที่จะแบ่งปันความรู้และความคิดกัน

- จะทำงานได้ดีหากเข้าใจในความรับผิดชอบที่ชัดเจน และมีการจัดการข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น

- หัวหน้าชุมชนเป็นลักษณะ Facilitator มากกว่า

How Communities Differ form TEAMS

Communities

  • The long view การพัฒนาองค์ความรู้ในระยะยาว
  • หัวหน้าชุมชนเป็นผู้กำหนดทิศทาง ประสานงานและอำนวยความสะดวกระหว่างสมาชิก แต่ไม่มีอำนาจเหนือสมาชิก
  • มีการขยายเครือข่าย
  • มีการจัดการความรู้ ในมุมมองของการแก้ไขปัญหา

TEAM

  • Focus on specific deliverable
  • หัวหน้าทีมงานมีอำนาจเหนือสมาชิก
  • ไม่มีการขยายเครือข่าย
  • มักไม่ค่อยจัดเก็บองค์ความรู้ที่ได้จากการทำงานจะมุ่งเน้นที่การแก้ไขปัญหาเท่านั้น

ทำไมบาง Communities ล้มเหลว เช่นการได้ระบบบำบัดน้ำเสียที่ลด Cost ลดเวลาด้วย ใช้เวลามากมายในการ Collect ข้อมูล

ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จคือ Flour มีการทำงานหลากหลาย มีการจัดตั้งกลุ่ม COP ในการสืบค้นข้อมูล

การจัดการบำบัดสารกัมมันตภาพรังสี ใช้เรดาร์ก็ไม่สามารถหาได้ มีการเอาดินมาสำรวจโพสต์ข้อความในFlour ผลคือค้นพบบ่อน้ำได้ในระยะเวลารวดเร็ว

เริ่มต้นจากผู้ที่สมัครใจมีความเชี่ยวชาญสนใจเรื่องเดียวกัน เดิม กรอบความคิดนี้สามารถทำได้ แต่โลกเปลี่ยน อาจมีการแชร์ไม่ตรง

ประเด็นคือต้องรู้โจทย์จริง ๆ ว่าองค์กรต้องการอะไร แล้วมาแชร์ ให้ทุกคน ทำ LEAN ในงานของตนเอง จะได้คน 20,000 กว่าคนที่ LEAN ถ้าเรื่องแตกแล้วไม่สามารถทำอะไรได้เลยจะเหนื่อยมาก ๆ ทุกคนสามารถเริ่มต้นด้วยตนเองได้ ไม่เช่นนั้นจะเหนื่อยและหนักกว่านี้

การเป็นผู้นำระดับสูงต้องมี Soft Side สาย รปภ.เป็นสายที่ Soft Side มาก ถ้าผ่านด่านได้จะประสบความสำเร็จพอสมควร ต้องเป็นเชิงคุณภาพมากพอสมควร

การแชร์เรื่องนี้ ต้องมีตัววัดเชิงปริมาณ COP จึงสามารถทำได้ แล้วแปลงเชิงวัดปริมาณเป็นตัววัดเชิงคุณภาพได้อย่างไร

กรณีศึกษา ของ community ที่ล้มเหลว
บริษัท water-engineering ขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่นอกกรุงลอนดอน เริ่มแรกเป็นการรวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการมากๆ ของผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา สมาชิกมีการประชุมกันทุกสัปดาห์ เพื่อการออกแบบระบบน้ำเสียที่จะสามารถทำงานได้ดีกับระบบน้ำภายในประเทศ ซึ่งประสบความสำเร็จมากทั้งลดเวลาและต้นทุน

ต่อมาเมื่อสมาชิกเริ่มมีการหาข้อมูลทาง internet มีการเชื่อมต่อบุคคลอื่นๆในโลกเข้ามาในกลุ่ม ในที่สุด วิศวกรต้องใช้เวลามากมายในการจัดการข้อมูลท้ายสุด community นี้ได้สลายไปแล้ว

กรณีศึกษาของ communities ที่ประสบความสำเร็จ

FLOUR มีการออกแบบ COP ให้ตอบสนองการแก้ปัญหาข้ามพรมแดน และข้ามสายงานธุรกิจ

ทีม nuclear-cleanup project ประสบปัญหาการหาสถานที่ตั้งของบ่อน้ำใต้ดินไม่ให้ปนเปื้อนสารกำมันตภาพรังสี ก่อนการติดตั้งแนวกันดินโดยเครื่องเรด้าก็ไม่สามารถหาตำแหน่งได้

เมื่อทีมงานโพสต์ความต้องการไปที่ชุมชนความรู้ของ FLOUR ได้รับคำแนะนำให้ใช้เทคโนโลยีอื่นจากอุตสาหกรรมอื่น ทำให้ประสบความสำเร็จค้นพบมากกว่า 100 บ่อ โดยไม่ต้องเสี่ยงอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน
Setting up Communities Strategically

  • ปัจจุบัน ชุมชนต้องการโครงสร้างที่ชัดเจน ไม่ใช่แบบไม่เป็นทางการมากเหมือนอดีต
  • มุ่งเน้นปัญหาที่แท้จริงขององค์กร ตัวอย่าง บริษัทยา Pfizer หรือ UN
  • ตั้งเป้าหมายของcommunityที่สามารถส่งมอบได้ ตัวอย่างของ บริษัท CononoPhillips
  • Provide real governance เพื่อให้community รวมเข้ากันได้ดีในโครงสร้างองค์กร จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งและเป็นทางการกับผู้นำระดับสูงขององค์กร
  • Set High management expectation :เช่นที่ Fluor ผู้บริหารคาดหวังให้ชุมชนเป็นแหล่งข้อมูลทางเทคนิคสำหรับองค์กร

บริษัทสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของ community ในองค์กรได้โดย

- จัดเวลาให้การทำหน้าที่หัวหน้าชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของjob description ที่เป็นทางการ บางบริษัทกำหนดให้การเป็นหัวหน้าชุมชนเป็นขั้นตอนหนึ่งของการpromote

  • การฝึกผู้นำชุมชนในบทบาทหน้าที่เนื่องจากการนำชุมชนแตกต่างจากการนำทีม ตัวอย่าง บริษัท Schlumberger ผู้นำคนใหม่จะเรียนหลักสูตร 1วัน เรื่องของการหาคลังความรู้ วิธีการชักจูงอาสาสมัครให้ทำงาน วิธีการทำงานร่วมกับสมาชิกนอกบริษัท เป็นต้น
  • ยึดถือหลักการประชุมซึ่งหน้า ซึ่งจะทำให้การประชุมมีประสิทธิภาพมากกว่าการประชุมทางไกล
  • ใช้เครื่องมือทาง IT ที่ธรรมดาที่สุด เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
  • การทำงานเป็นทีมจะมุ่งเน้นไปที่การให้ผู้คนในองค์กรมีเป้าหมายเดียวกัน ความร่วมมือไม่ได้หมายถึงการเป็นทีม แต่เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร
  • ความร่วมมือมีพื้นฐานมาจากความแตกต่างระหว่างหน่วยงาน ดังนั้นการที่จะร่วมมือกันไม่ได้หมายถึงการมีเป้าหมายเดียวกัน หากแต่เป็นการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยการจัดการความเห็นที่ไม่ตรงกัน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น

บทสรุป

- Communities of practiceเดิมนั้นถือว่าเป็นแหล่งที่จะกระจายความรู้และbest practices ไม่ต้องการการควบคุมจากผู้บริหาร อยู่ได้ด้วยตัวเอง

- ปัจจุบัน ธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้นชุมชนที่ประสบความสำเร็จต้องการโครงสร้างที่เป็นทางการและการควบคุมจากผู้บริหารมากขึ้น ที่สำคัญชุมชนยังคงมีประสิทธิภาพโดยใช้เงินลงทุนต่ำกว่าโครงสร้างอื่นๆ

- ชุมชนสามารถใช้ทรัพยากรที่มีค่าข้ามขอบเขตของโครงสร้างองค์กร ข้ามลักษณะทางภูมิศาสตร์ เช่นกรณีของ Fluor ข้ามกลุ่มของหลายๆสายงาน เช่นกรณีของ Pfizer

- ความสำเร็จของ Communities ต้องการ focus , วัตถุประสงค์ความใส่ใจจากผู้บริหารในการรวมcommunities เข้าในโครงสร้าง และต้องดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้สะท้อนกับเวลาที่มีน้อยของเหล่าผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย

กลุ่มที่ 5 ความร่วมมือในองค์กร การยอมรับและการบริหารจัดการความขัดแย้ง

ความร่วมมือเป็นเสมือนน้ำมันหล่อลื่นที่ทำให้เกิดความลื่นไหลไปได้ แต่มีความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง 3 เรื่องที่ทำให้เกิดความร่วมมือ

ความร่วมมือเกิดจากการที่หน่วยงานมีปฏิสัมพันธ์กันเกิดปัญหาความคิดสร้างสรรค์ ในทางตรงข้ามจะทำให้เกิดความแตกแยก มุ่งได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น

การปรับโครงสร้างขององค์กร มีการจับคนไอทีมารวมเป็นหน่วยงานหนึ่งที่สร้างเป็นกลุ่ม มีการรอคิวคนที่ทำหน่วยงานนี้

ความร่วมมือผิดเป้าไป คือเรื่องการจัดการความไม่ลงรอยกันหรือการขจัดความขัดแย้งกันอยู่

ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความร่วมมือ

1. “ความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ หมายถึงการทำงานเป็นทีม”

2. “ระบบแรงจูงใจที่มีประสิทธิภาพ จะการันตีถึงความร่วมมือ”

  • การใช้ระบบแรงจูงใจเช่น การเพิ่มโบนัสให้เซลล์ที่ทำยอดขายได้ หรือแผนก IT ที่ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากลูกค้าภายใน กลับให้ผลที่น่าผิดหวังในเรื่องของความร่วมมือ
  • หน่วยงานจะมุ่งเน้นเพียงแต่ความสำคัญของงานตนเอง เพราะมีแนวคิดที่ว่าหากทำเพียงแต่งานของตนเองให้ดี ก็จะได้รับผลตอบแทน
  • ระบบแรงจูงใจไม่สามารถกำจัดความตึงเครียดระหว่างหน่วยงานได้ เพราะแต่ละบุคคลจะคิดว่าการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นนั้น เสียเวลาและไร้ประโยชน์

3. “โครงสร้างองค์กรสามารถออกแบบให้เกิดความร่วมมือได้”

  • การนำผู้คนมาอยู่ด้วยกันไม่ได้แปลว่าจะเกิดความร่วมมือ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อองค์กรแยกหน่วยงาน IT ออกมาเป็นแผนกของตัวเอง เพื่อสนับสนุนองค์กร ผลที่ตามมาคือการแย่งกันขอการสนับสนุนจากแผนก IT จึงเกิดระบบการเปิดงานให้หน่วยงาน IT จัดลำดับความสำคัญของงานที่จะรับ
  • ผลที่ได้รับคือ หน่วยงานอื่นเลือกที่จะเข้าหาแผนก IT โดยตรงทำให้งานที่อยู่ในระบบถูกมองว่าไม่สำคัญ
    • การละลายพฤติกรรมจากการศึกษาดูงานในต่างประเทศ
    • การตั้งกลุ่มเด็กใหม่ร่วมกันคิดนวัตกรรม ด้วยทฤษฎีไร้ระเบียบ แล้วมีคนที่มีระเบียบไปจัดกองให้ จึงเกิดความร่วมมือแบบไม่เป็นทางการ
    • สิ่งที่กระเด้งจะเป็นแบบไหน ให้นำกลับไปคิดต่อ เอากรณีศึกษามาขยายผลต่อ เล่าให้ฟัง

กลยุทธ์ในการจัดการความขัดแย้ง

1. ถ้าไม่มีแนวทางที่ชัดเจน แต่ละคนเอาของตัวเอง มาเถียงกันว่าถูกผิด แต่ไม่ได้ข้อสรุป จึงควรมีการกำหนดขั้นตอนให้เคลียร์เมื่อเกิด Conflict ขึ้นมา

-ให้พนักงานอบรมเรื่อง Decision Making และ Conflict Management

2. กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการตัดสินใจ

-เอาฝ่ายต่าง ๆ ร่วมตัดสินใจ

3. ใช้การยกระดับความขัดยังเป็นโอกาสในการสอนงาน

- ความขัดแย้งเกิดตรงไหน แก้ตรงนั้น ให้ลูกน้องแก้กันเองก่อน แล้วหัวหน้าค่อยโค้ชเขา

4. กำหนดเงื่อนไขในการยกระดับการจัดการความขัดแย้ง

- จุดที่เกิดการขัดแย้งต้องเคลียร์กัน มีการส่งเรื่องให้หัวหน้าพิจารณาอีกที

5. ทำให้มั่นใจว่าผู้บริหารจัดการความขัดแย้งในระดับเดียวกัน

- เกิดปัญหาความขัดแย้งที่ระดับไหนให้แก้ที่ระดับนั้น

6. สร้างความโปร่งใสในการจัดการความขัดแย้ง

- มีการสื่อสารให้ชัดเจนว่าเหตุผลที่ตัดสินคืออะไร เพื่อให้พันกักงานเข้าใจและไปปฏิบัติตาม มีการหารือในระดับเดียวกัน แล้วส่งไปที่ระดับบน เป็นการทำให้การตัดสินใจโปร่งใส ทุกคนรับทราบทั่วถึงกัน

การเรียนรู้

1. มองว่าความขัดแย้งไม่ใช้ปัญหา

2. แก้ไขความขัดแย้ง

3. มองเรื่องความขัดแย้งเป็นความร่วมมือ

ใน EGAT เรื่องความขัดแย้งไม่เห็นชัด แต่ออกในการได้รับความร่วมมือน้อย ต่างฝ่ายต่างมองประโยชน์ตัวเองเพื่อให้ได้ PA ตามที่ต้องการ

ดร.จีระ เสริมว่า ถ้า Concept เคลียร์ทุกอย่างก็เคลียร์ได้

กลุ่มที่ 6 ความร่วมมือแบบไหนที่เหมาะสมกับหน่วยงานของคุณ What Kind of Collaboration is Right for You?

ในลักษณะความร่วมมือจะมีเครือข่ายความร่วมมืออยู่ คือแบบเปิดกับแบบปิด

แบบเปิดจะเป็น สิ่งที่หน่วยงานภายนอกเข้ามาแก้ปัญหาได้ แบบปิดต้องมีการเลือกผู้เชี่ยวชาญเข้ามาแก้ปัญหาด้วยกัน

แบบลำดับชั้น บริษัทต้องมีการระบุเป้าหมาย แก้ปัญหา แบบแนวราบให้ทุกคนมีอิสระแก้ปัญหา ให้ประโยชน์ร่วมกัน นำสิ่งที่มีอยู่มาแก้ปัญหาได้ดี

ยกตัวอย่างโครงการกระบี่ ได้มีการอธิบายรูปแบบที่ไม่คงที่ตลอดเวลา รูปแบบความร่วมมือสามารถเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาเพื่อให้สุดท้ายมี Solution ออกมา

รูปแบบเครือข่ายของการร่วมมือ

1.แบบปิด

หน่วยงานจะมีการคัดเลือก คนมาช่วยกันแก้ปัญหา แนวทางแก้ไข ได้อย่างอิสระ หรือตามโจทย์ ที่หน่วยงานกำหนดไว้

ข้อดี: ได้รับทางแก้ปัญหาจากผู้เชี่ยวชาญที่ดีที่สุดในขอบเขตความรู้ที่เลือก

2. แบบเปิด

คนภายนอกหน่วยงานสามารถ เสนอปัญหา แนวทางแก้ไข ได้อย่างอิสระ และเลือกแนวทางที่เหมาะสม

ข้อดี: ได้รับทางแก้ปัญหาจำนวนมากจากแหล่งที่อาจอยู่นอกเหนือขอบเขตประสบการณ์และความรู้ของเรา และมักจะได้ไอเดียที่น่าสนใจอย่างหลากหลาย

ลักษณะของการบริหารจัดการและเครือข่ายความร่วมมือ

ลำดับชั้น-เปิด

ศูนย์กลางนวัตกรรม (Innovation Mall)

บริษัทเป็นผู้โพสต์ปัญหา ทุกคนสามารถเสนอแนวทางแก้ไข และบริษัทจะเป็นผู้เลือกว่าแนวทางใดดีที่สุด

ตัวอย่าง: InnoCentive.com เป็นเว็บไซต์ที่บริษัทสามารถโพสต์ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ลงไปได้

ลำดับชั้น – ปิด

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Elite Circle)

กลุ่มของผู้เข้าร่วมที่เลือกโดยบริษัท รวมทั้งระบุปัญหา และเลือกแนวทางแก้ไข

ตัวอย่าง: กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกว่า 200 คนที่เลือกโดยบริษัท Alessi เพื่อพัฒนาแนวคิดใหม่เกี่ยวกับเครื่องใช้ในบ้าน

แนวราบ – เปิด

ชุมชนนวัตกรรม (Innovation Community)

เครือข่ายที่ทุกคนสามารถโพสต์ปัญหา เสนอแนวทางแก้ไข และเลือกว่าจะใช้แนวทางใด

ตัวอย่าง: ชุมชนซอฟต์แวร์เปิดของ Linux

แนวราบ – ปิด

สมาคม (Consortium)

ดำเนินการเหมือนคลับส่วนตัวที่ผู้เข้าร่วมช่วยกันเลือกปัญหา ตัดสินใจว่าจะทำงานอย่างไร และเลือกแนวทางแก้ไข

ตัวอย่าง: กลุ่มความร่วมมือ IBM ซึ่งได้เลือกบริษัทเข้ามาร่วมพัฒนาเทคโนโลยีสารกึ่งตัวนำ

รูปแบบที่เหมาะสมกับหน่วยงาน

แบบลำดับชั้น

ข้อดี: สามารถควบคุมทิศทางของนวัตกรรมและทิศทางของกลุ่มคนที่จะใช้กำหนดความคุณภาพของงานได้

แบบระนาบเดียวกัน

ข้อดี: แบ่งปันภาระของนวัตกรรม

การปรับใช้กับ กฟผ.

กฟผ.เป็นผู้ตัดสินใจกำหนดโครงการวิธีการแก้ปัญหา

ตัวอย่างโรงไฟฟ้ากระบี่ขนาด 870 เมกะวัตต์ มีการกำหนดลักษณะว่ามีท่าเทียบเรือเพื่อนำถ่านหินขึ้นท่าตรงนี้แล้วผ่านไปที่โรงไฟฟ้า ซึ่งตัวการขนส่งต้องมีการขนส่งด้วยเรือขนาดใหญ่ แล้วส่งต่อไปอีกที

ทำให้ถ่านหินที่เป็นเชื้อเพลิงลดลงได้มาก มีการขนส่งจากท่าเทียบเรือไปอีก 5 กิโลเมตร

มีการขนส่งจากแถวกระบี่

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

เสริมว่า มอบจาก Brain ของ EGAT คำว่า Elite Circle คือน่ากลัว เป็นคนชั้นสูง เกิด Economic of Scale มีการขนถ่ายจากเรือใหญ่ลงเรือเล็ก และใช้เรือเล็กขนอีกที จากนั้นมีการขนเรือเล็กที่คลองรั้ว มีการขนถ่ายสิ่งต่าง ๆ ไป

สร้างชุมชนหลาย ๆ กลุ่มเข้ามา

การตัดสินใจชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจโดยเอาหลักการใหญ่ ๆ มาดูมากขึ้น เราจำเป็นต้อง Include คนเข้ามาใน Project

ระบบทั้งหลายจะเป็นระบบปิดกับสิ่งแวดล้อม

EGAT รู้ระบบแล้วให้มีการอาศัยทางเลือกมาที่ กฟผ.

เรือบรรทุกถ่านหิน มีการขุดลอกร่องน้ำ

เลือกระบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด มีการนำตัวเทคโนโลยีมาใส่ มีการใช้สายพานลักษณะพิเศษ

มีการอำนวยความสะดวก มีลานกองระบบเปิด มีลานกองระบบปิด

เกิด Innovation โครงการกระบี่ อุปกรณ์ทั้งหลายเป็นการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

เรากำลังอยู่ในช่วงที่เปลี่ยนแปลง และกำลังทำอะไรที่ทันสมัย ธุรกิจข้างนอกพยายามหากำไร ใช้ Network ให้เป็นประโยชน์

เรื่อง Mindset ของไทยเราถูกสอนให้ฟังอย่างเดียว ทำให้ไม่กล้าแสดงออก และผลคือการNetwork ของไทยคือการนินทากัน และฉันใดฉันนั้นอยู่ในองค์กรจะก่อให้เกิดการขัดแย้งกัน

กีฬามี 2 แบบ เล่นแบบเดี่ยว หรือเล่นแบบกลุ่ม เช่นเดียวกับการเกษตร ถ้าเล่นแบบใหญ่ต้องอาศัย Network เล่นแบบเล็กอาจทำคนเดียวได้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การวิจารณ์หนังสือคือการเรียนรู้เป็นกลุ่ม วิเคราะห์ภายนอกสู่ภายในทุกวันนี้ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตาม เราขาดไม่ได้ในเรื่องการเรียนรู้

แหล่งความรู้

1.วิทยากรเก่ง ๆ การฝึกอบรมใน Class กูรูได้พูดไว้เช่นในหนังสือHarvard Business Review ที่มีงานวิจัยสนับสนุนอยู่แล้ว มีกรณีศึกษาของที่นั่นที่นี่แต่เป็นแหล่งความรู้อยู่

2. ทักษะภายในของตนเอง และองค์กรของเรา เช่น กฟผ.ผ่านการวิเคราะห์จากการทำงาน

3. ความรู้สดใหม่มาตลอดเวลา มาทุกวัน

สรุปคือ ถ้าเรามีข้อ 1 และ ข้อ 2 แข็งแรง เราจะมีทักษะที่ 3 ใช้ได้

1. สร้างให้เกิดความตระหนักรู้

2. Apply

3. การเชื่อมสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ

สิ่งที่ควรทำ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ประโยชน์ของการอ่านหนังสือเป็นประโยชน์ที่ลึกซึ้งมาก การมี 2 ภาษาจะเป็นประโยชน์

วัฒนธรรมการเรียนรู้ ถ้าไม่อ่านหนังสือนอกห้องเรียนอาจมีปัญหาได้ การเป็นนักวิชาการต้องมีความหลากหลายทางความคิด

นิสัยที่เกิดขึ้นใน 3 เดือนหวังว่าจะอยู่ติดกับทุกคนไปด้วย แต่ละคนมีความมุ่งมั่นสูงมาตรฐานในการนำเสนอไม่ได้แตกต่างจากมหาวิทยาลัย

การอ่านหนังสือเพื่อจับประเด็น ไม่ใช่เพื่อการแปล แนะนำว่าในการอ่านแล้วเป็นอย่างไรให้ลองไปเปิดเว็บแล้วดูด้วย

การตั้ง Academy ของการไฟฟ้าต้องทำให้จริง


Learning Forum

หัวข้อLife Coach for happiness and success

โดย อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

ผู้ก่อตั้ง Jimi The Coach และ Thailand Coaching Academy


Life Coach

Life Coach คือการพามาหาสิ่งที่ตัวเองชอบ และชอบแล้วต้องทำแล้วให้ได้เงิน

คนที่เป็น Coach ต้อง Selfless ไม่ต้องทำเพื่อตนเองแต่ทำเพื่อคนอื่น

การมาหาตัวตนที่แท้จริงที่ทำให้คนมีความสุข

NLP คือ จะรู้ว่าคนจะทำอะไรออกมานั้นจะมาจากจิตใต้สำนึกถ้าเราเข้าใจตนเองได้ ทุกข์บางทุกข์อาจหายไปเลย

คนจะมองในสิ่งที่ตัวเองเป็น หรือมีปม

คำถาม

1.ที่คุณวิชาพูดถึง สังคมไทยพูดถึงว่าถ้ามีลูกน้อง 10 คน ดี 1 คนก็ดีแล้ว แต่สิ่งที่คาใจคือ คนที่ทำผิดแล้วลงโทษไม่ได้แก้ปัญหาได้อย่างแท้จริงหรือไม่ แต่แนวคิดนี้มาจากแนวคิดคนที่อยู่เมืองนอกที่เป็นคนดีหรือไม่ สิ่งที่คิดคือบริบทไทยการใช้วิธีนี้จะแก้ไขได้หรือไม่

ตอบ ให้พื้นที่เขาพูดในสิ่งที่คาใจให้หมดก่อน ถ้าเปลี่ยนสภาพแวดล้อมไม่ได้ให้เปลี่ยนตัวเองก่อน

โดยแท้จริงแล้วมนุษย์เกิดมาสวยงาม มนุษย์ไม่ฆ่าใครอยู่แล้ว แต่อะไรก็ตามที่สังคมเดียวกันเรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้สังคมเคลื่อนไปข้างหน้าได้ดีขึ้น ก็ให้ร่วมทำเพื่อไปให้ถึงตรงนั้น เช่นสมัยจอมพลสฤษดิ์ บอกว่าถ้าวางเพลิงไฟไหม้แล้วจับได้ประหารหมด ในช่วงนั้นจะไม่มีไฟไหม้นานมาก

สังคมมีส่วนหนึ่งที่คิดว่าสังคมต้องถูกลงโทษไปตามกัน อีกส่วนหนึ่งจะมองหรือเห็นด้วยกับการให้โอกาสแล้วพัฒนาได้

ประเด็นคือเราบริหารจิตใจอย่างไรให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เราไม่ชอบได้

ในโลกนี้เราไม่สามารถบอกได้ว่าอะไรถูก เราเพียงแค่บอกได้ว่าอะไรถูกใจเรา สิ่งที่เห็นคือสภาพแวดล้อมที่มีหลายสิ่งที่ควบคุมไม่ได้

ดังนั้น Moment ของการเรียนรู้ต้องดูด้วยว่าเป็นอย่างไร ใช้ตัวตนความเมตตาให้ถูกที่ถูกทางและถูกฝั่ง ต้องขึ้นอยู่กับตัวตนและบทบาท

มนุษย์ทุกคน Drive มาจากความเชื่อมาจากค่านิยมของพวกเรา

พฤติกรรม

คือส่วนที่อยู่เหนือภูเขาน้ำแข็ง

ความรู้สึก

คือส่วนที่อยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็ง เป็นความรู้สึกที่สะท้อนให้แสดงพฤติกรรมออกมา

ความคาดหวัง (กิเลส)

และบางครั้งที่เราทุกเพราะเรามี Feeling of Feeling คือทุกข์ที่แท้จริง เช่น รู้สึกผิด รู้สึกอกตัญญู เกิดเพราะมีความคาดหวังกับตัวเองว่าจะไม่ด่า จะกตัญญู

ตัวตนที่แท้จริง (ความสุขที่แท้จริง)

ภาคใต้ความคาดหวังจะมี Need หรืออาหารของชีวิต เช่น บางครั้งในการเถียงพ่อแม่ แต่รู้สึกผิด เพราะตัวตนที่แท้จริงนั้นต้องการเป็นลูกกตัญญู มีคุณค่า มีอภิชาตบุตร ดังนั้น ตัวตนแท้จริงคือใจเย็น กตัญญู และบางครั้งเราไม่เข้าใจว่าทำไมเป็นเช่นนี้เพราะเขาต้องการให้ตัวตนของเขาเติบโต และถ้าตรงนี้ไม่ตอบสนองอย่าหวังว่ามีความสุข เพราะสิ่งนี้คือ Happiness ที่แท้จริง

สรุป อย่าตัดสินคนที่พฤติกรรม เพราะเขามีพฤติกรรมของเขาซึ่งมีที่มาทำให้เขามีพฤติกรรมแบบนี้ แต่การตัดสินใจในพฤติกรรมลบที่ออกมานั้นจะเป็นอย่างไร ได้ยกตัวอย่างคนที่เป็นผู้นำที่ชอบเผด็จการได้ ต้องมีตัวตนที่สมบูรณ์

ดังนั้นการสร้าง Coaching ในองค์กรให้ไปทิศทางเดียวกัน เรามีศักยภาพของเรา เขามีศักยภาพของเขา ศักยภาพของเราไม่สามารถทำให้เขารอดได้ เพราะเราไม่ทราบว่าใครมีปมอะไร

ยกตัวอย่าง

1. ผู้บริหารที่เดิมไม่กล้า Feedback เพราะเคยค้นพบว่ามีเหตุผลอะไรที่ไม่ได้ Feedback เพราะเขารู้สึกว่า Guilty ในอดีตจึงส่งผลต่อพฤติกรรมในปัจจุบันเนื่องจากมีความรู้สึกติดว่า Feedback คือการทำร้าย จึงได้กลับไปหาตัวตนของเขาจริง ๆ ว่าคืออะไร เพราะถ้าไม่ Feedback ลูกน้องคืออะไร ผลคืออะไร เคยคิดหรือไม่ว่าใคร Feedback ลูกน้องแล้วลูกน้องดี อาจให้ลองทำตามตัวอย่างที่ดู

ให้ใช้ I message คือทำให้เขาแก้ไขพฤติกรรมเขา เพราะจิ้มไปเขาจะไม่รู้สึก

What is Coaching ?

หลายครั้งมีเป้าหมายแล้ว แต่ไปไม่ได้ เพราะอะไร

Coaching คือการพาคนจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งในส่วนที่เขาต้องการ

“การโค้ชเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างโค้ชและผู้ได้รับการโค้ช เพื่อกระตุ้น และจุดประกายความคิด ด้วยกระบวนการที่สร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้ได้รับการโค้ช เกิดแรงบันดาลใจในการที่จะนาเอาศักยภาพและความสามารถที่ถูกบดบังหรือซ่อนอยู่ ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด”

โค้ชชีวิตกับโค้ชผู้บริหารในองค์กรทำไม่เหมือนกัน

โค้ชผู้บริหารเพื่อให้ Perform งานแต่โค้ชชีวิตคือจะทำให้ได้รับการ Fulfill ได้ทั้ง Success และ Fulfill แต่ถ้าเดินไปถึง Success แต่ไม่ได้ Fulfill จะเป็น Fail

ถ้าอยู่ที่ไหน อยู่กับใครไม่ได้เป็นตัวตนเลย ให้วิ่งหนีให้ไกลที่สุด เพราะพลังของมนุษย์อยู่ที่จิตวิญญาณ

“Life Coaching เป็นการทางานร่วมกันระหว่างโค้ชและผู้ได้รับการโค้ช เพื่อเป็นเพื่อร่วมเดินทางพาผู้ได้รับการโค้ชจากจุดที่อยู่ปัจจุบัน ไปบรรลุเป้าหมายที่ต้องการในทุกด้านของชีวิต ด้วยการกระตุ้น และจุดประกายความคิด โดยใช้ทักษะและกระบวนการที่สร้างสรรค์ในหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้ได้รับการโค้ชตระหนักรู้ถึงศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง ด้วยตนเอง เข้าใจ และขจัดอุปสรรคที่อาจมีภายในตัวตน ตัดสินใจเลือกโดยอิสระ เพื่อนาเอาศักยภาพและความสามารถที่มีและอาจยังซ่อนอยู่ ออกมาใช้พาตนเองไปสู่เป้าหมายที่ต้องการอย่างสมดุล มีจริยธรรม มีความสุข และอิ่มเอม............” Jimi The Coach

Fulfill คืออะไร

  • ความเป็นตัวตนของเรา(Being)
  • ความเชื่อ(Beliefs)
  • ค่านิยม(Values)
  • ความต้องการหลักของมนุษย์(Needs)
  • ก้าวข้ามความกลัวของตนเอง(Fears)

การสังเกตคน

คนที่ถนัดขวา ถ้านึกถึงเรื่องที่จินตนาการตาจะไปทางขวา ถ้านึกถึงเรื่องอดีตตาจะมองไปทางซ้าย ส่วนคนที่ถนัดซ้ายจะตรงกันข้าม

- Visual Recall/ Construct(สายตามองด้านบน)

- Audio Recall / Construct (สายตามองด้านข้าง)

- Self Talk Recall/ Construct (สายตามองด้านล่าง)

โค้ชชิ่ง คือฝึกCoaching Skill ฝึกการสังเกตและถามเขา

ก่อนโค้ชลูกน้องต้อง Feedback ก่อน

TAPS Model(ASK-Problem-Tell-Solution)

Coaching ต่างกับ Counseling อย่างไร

1. Counseling (Ask Problem)

คือ คนที่มาปรึกษาอยู่ในฐานะที่ติดลบ Counselor คือคนที่ฟังเพื่อให้เขาเข้าใจตนเองว่าที่มาของปัญหาคืออะไร เสมือนเป็นการบำบัดทุก ใช้ปัญหาแก้ที่ปัญหา

2. Managing Consulting (Tell Problem)

ใช้ประสบการในการสั่งเลย

3. Teaching Mentoring(Tell Solution)

ต้องมีประสบการณ์ให้เขา

4. Coaching (Ask Solution)

ต้องใช้ได้กับคนที่มีประสบการณ์ และต้นทุนชีวิตพอสมควรที่จะพาไปไหนก็ได้ (อายุประมาณ 18 ขึ้นไปแล้ว)

What Make Coaching Culture?

1. Coaching Mindset

- เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพมากกว่าสิ่งที่เห็น มากกว่าสิ่งที่เขามี

2. Coaching Attitude (ถ้า Coaching Attitude ไม่ดีCoaching ไม่เกิด)

- ไม่ว่าคน ๆ นั้นทำพฤติกรรมแย่แค่ไหน เขาทำดีที่สุดเท่าที่มีขณะนั้น

- ให้เชื่อว่า ณ ขณะที่ทำแย่อย่างนั้น เขามีต้นทุนแค่นั้น สภาพแวดล้อมแค่นั้น

- เชื่อว่าเขาเปลี่ยนแปลงได้

- ในโลกนี้ไม่มีความล้มเหลวมีแต่ผลสะท้อนกลับ (There’s no failure, it’s only feedback)

3. Coaching Communication Style

ให้ดูว่าเราไปข้างหน้าหรือไปข้างหลัง

4. Coaching Leadership / Management Style

การเป็นโค้ชต้องเรียนทักษะอยู่ในความเงียบให้ได้

คนเป็นโค้ชต้องทำให้รู้สึกว่ามั่นคงและนิ่งภายใต้ความเงียบ เพราะในขณะที่เงียบอีกคนที่คุยอยู่เขากำลังใช้ความคิด และเมื่อคิดไปนาน ๆ จะมีสิ่งหนึ่งที่อยู่ในจิตใต้สำนึก
5. Manage on Coach of Direct Reports

เราต้องระวังการทำงานของสมองที่จูนกับความเชื่อของเรา คือสมองจะทำหน้าที่ BDG คือ Believe (ความเชื่อ) Distort(บิดเบือน) Generalization (เหมารวม)

6. C.i.g. (Coaching In Group) / Team Coaching / Classic One-to-One Coaching / Internal Coaches –External Coaches

7. Peer Coaching / Self Coaching (โค้ชเพื่อนร่วมงาน , โค้ชตัวเอง)

ถามคำถามบางอย่างที่ไม่กล้าถามตัวเอง

สรุปคือ เราทุกคนต้องเห็นด้วยทั้งหมดว่า Coaching ดี

กิจกรรม ไพ่ 1 สำรับ

เรามีทุกคนมีทุกอย่างเหมือนไพ่ 3 สำรับตั้งแต่เกิดมา คือมนุษย์มีทุกอย่างในตัวเราที่ทำให้เราอยู่รอดได้ในโลกนี้ และหลุดจากปัญหาทุกอย่างในตัวเรา

แต่เมื่อโตขึ้นสิ่งแวดล้อมทำให้เราเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เลือกเราทิ้งไพ่บางอย่างไป อะไรที่เราไม่ทิ้งเลย คือสิ่งทำให้เรามีเราเป็น (Who am I?) เป็นต้นแบบของเรา

สิ่งที่เราเกลียดคือตัวตนที่เราทิ้งไป แล้วมองว่าเราไม่อยากเป็นแบบนี้ เพราะมองว่าเป็นอย่างนี้ไม่รอดในโลกนี้แต่จริง ๆ แล้วอยากให้ทุกคนเก็บไพ่ทั้ง 3 สำรับมาได้หมด เพราะเป็นสิ่งที่เราเป็นตั้งแต่ต้น

เราต้องเชื่อว่าไพ่ 3 กองนี้เป็นของเรา และเราสามารถทำในสิ่งที่ไม่อยากทำได้

ให้สังเกตทุกคนที่เราเกลียดเพราะเขามีศักยภาพที่เราทิ้งไป หรือไม่ใช้มาก่อน จะมี 2 สิ่งว่าเขามีอะไรในตัวเขาที่เราไม่มี เพราะเป็นไพ่ที่เราทิ้งไป เกิดจาก หมายถึงว่าถ้าเราไม่มีคุณสมบัติแบบนี้ในตัวเรา เราจะไม่เห็นคุณสมบัติแบบนี้ในตัวคนอื่น

1. พฤติกรรมที่เราเกลียด คือพฤติกรรมที่เราเลือกทิ้งไป และมองว่าถ้าใครทำพฤติกรรมแบบนี้แล้วเราจะเกลียด

2. พฤติกรรมที่เราเทิดทูนบูชามาก แต่เราไม่สามารถเป็นเช่นนี้ได้ แต่ให้เชื่อว่าถ้าเราตัดสินใจเป็นแบบนี้เราก็จะเป็นได้

การชม

1. การชมใครจึงให้ชมไปที่ตัวตนของเขา ไม่ใช่ชมที่ภายนอกเท่านั้น

2. ขึ้นอยู่ว่าการมีความตั้งใจจริงหรือไม่ และชมเพื่ออะไร

การแสดงภาษารัก

1. Word of Affirmation เป็นการส่งภาษารักด้วยคำพูด

2. Present ไปไหนก็ซื้อของขวัญให้ เป็นสัญลักษณ์

3. Act of Service คือบริการให้

4. Quality Time คือให้เวลาที่มีคุณค่า

5. PersonalTouch คือการกอด จับมือ

ควรจะแสดงภาษารักทั้ง 5 ภาษา แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไปอาจเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นภาษารักของเราแต่ไม่ใช่ภาษารักของเขา ให้กลับไปสังเกตว่าภาษารักของเขาเป็นอย่างไรและเราแสดงให้ถูก

Performance = Potential-Interferences

งานเท่ากับศักยภาพลบสิ่งที่รบกวนไม่ให้ทำงานไม่ได้

จะพบว่า : มนุษย์ 1 คน พฤติกรรมที่แสดงออกไม่ใช่ตัวตนแท้จริงของเขา

วิธีที่ 1 ถ้าจะโค้ชคนที่จุดแข็งให้โค้ชที่จุดแข็งให้ทำงานเต็มศักยภาพมากขึ้น

วิธีที่ 2 ถ้าพบว่ามีปัญหาให้ปลดล็อกจุดที่เป็นปัญหา

การโค้ชคือการทำให้คนมีศักยภาพเพิ่มขึ้น ให้ก้าวหน้าไปจากจุดเดิมที่ยืนอยู่

ทักษะในการโค้ชมีอะไรบ้าง

1. Goal Setting (Performance Planning)

2. Coaching and Feedback

3. Evaluation & Rewarding (Official)

Mindset

ให้สังเกตว่าพฤติกรรมที่ต่อต้านเราขึ้นอยู่กับการสร้าง Trust ไม่ดีตั้งแต่ต้น ให้ไปแก้ไขที่การสร้าง Trust ใหม่

Why we do what we do ?

มาจากสิ่งที่ผลักดันอยู่ข้างใน นอกจากสังเกตเห็นเวลานั่งคุยอยู่ด้วยกัน แล้วแสดงเป็นพฤติกรรม ภาษา เรื่องราว บุคลิกภาพ ฯลฯ

Being คือสิ่งที่ติดตัวมาแต่เกิด คือ Potential

Beliefs คือความเชื่อ มาจากประสบการณ์ เช่น เชื่อว่าคนชั่วต้องถูกประหาร

Value มาจากประสบการณ์ หรือการถูกสั่งสอนมา

Needs คือความต้องการของมนุษย์

Fears มี 3 อย่างคือ Fear of not good enough , fear of not being love, fear of not belong too

1. แค่จับได้ว่าพฤติกรรมข้างนอกมาจากตัวผลักดันตัวไหนจะทำให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมได้

2. Higher Purpose จะเป็นตัวผลักดันให้ก้าวข้ามอุปสรรค

Success without the art of fulfillment is s failure

Fulfillment คือเราเป็นคนที่อิ่มใจที่เราเป็นหรือไม่

The Wheel of Life มี 8 เรื่องถ้าได้ทุกข้อเรียกว่าชีวิต Balance (ขึ้นอยู่กับคำจำกัดความที่เราให้ ตั้งเป้าหมายของชีวิต ถ้าบรรลุแล้วก็ตั้งไปเรื่อย ๆ)

1. การเงิน

2. สุขภาพ

3. ครอบครัวและเพื่อน

4. ความรัก

5. การเติบโตของตนเอง

6. การพักผ่อน/บันเทิง

7. สภาพแวดล้อม

8. งาน/ธุรกิจ

คนที่มีความสุขได้คือการได้เติมเต็มวงล้อทั้ง 8 วงล้อ ถ้ามีเวลาเหลือให้ลองกลับมาดูว่าเราทำอะไรได้อีกในชีวิต อะไรที่สำเร็จและเพียงพอ

การจะไปถึง Success & Fulfill ต้องเก็บไพ่ทุกสำรับที่ทิ้งให้ได้หมด

การตั้งเป้าหมาย

1. Know your outcome

ต้องมาดูการตั้งเป้าแบบ Smart Goal คือเป็นไปได้จริงหรือไม่ วัดผลได้จริงหรือไม่

2. Success & Fulfilled

ถ้าองค์กรไหนสามารถทำให้คนในองค์กรรู้สึก 2 อย่างนี้ได้ คนในองค์กรจะไม่ไปไหน

ถ้าเราไม่ Fulfilled อะไรให้เราลองกลับไปหาตัวตนที่อยู่ภายในของเรา การวิ่งหนีความกลัว ให้วิ่งหนีเพื่อทำในสิ่งทางบวก แต่ให้ระวังการวิ่งหนีในทางลบ

ธรรมชาติของมนุษย์จะชอบคนที่มีความเหมือนกัน เพราะจะรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน ดังนั้นการโค้ชต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และสร้างความเป็นพวกเดียวกันก่อน และเมื่อแสดงว่าให้โค้ชชี่เข้าใจว่าเราเข้าใจเขา และตอบรับ Yes ได้ 3 ข้อ จิตใต้สำนึกจะตอบรับว่า Yes แล้วถ้าเราจะ Lead เขาจะสามารถทำได้ดี

การเดินทางสู่ความสำเร็จที่มีความสุขในทุกก้าว (ตัวอย่าง Be-Do-Have model)

1. มนุษย์บางคนไม่มีเป้าหมาย ไม่รู้ว่าทำอะไร จึงทำให้คนท้อแท้ หมดหวัง หดหู่ เหนื่อยหน่าย

2. มีเป้าหมายแต่ใช้ระยะเวลานานกว่าไปถึง เนื่องจาก ตกเป็น Effect มี Limited Beliefs ไม่รู้ศักยภาพตนเอง ไม่รู้ว่าไปได้อย่างไร ขาดศักยภาพไปสู่เป้าหมายนั้น

3. รู้เป้าหมายเร็ว ต้องมีการเป็น การทำ และการมีอะไร

- Be – คุณสมบัติ ความเชื่อ ค่านิยม ความต้องการ ความกลัว

- Do

- Have

ไม่มีใครช่วยคุณได้ คุณต้องช่วยเหลือตนเอง และกลับมาเข้าใจตนเอง ต้องเชื่อว่าเราเป็นเรา จิตวิญญาณต้องการเป็นผู้ถูกเสมอ เราคิดอะไรทำให้ความคิดของเราถูก ให้ระวังความคิด เพราะความคิดเป็นที่มาของทุกอย่างของเรา ทุก ๆ Action อย่าให้ตายก่อนไปถึงเป้าหมาย

ทุก ๆ Action คือเส้นทางสู่ความสำเร็จของเรา แม้เรายังไม่ถึงเป้าหมายแต่อยู่บนเส้นทางที่เราจะสามารถ Fulfill

Life Coaching Competencies

1.สร้างความสัมพันธ์ (Rapport)

  • อยู่กับคนตรงหน้า100% (Be there)
  • มองแล้วเหมือน
  • อยู่ในจังหวะเดียวกัน
  • สังเกตรูปแบบสายตาV A K Ad
  • การปรับ Verbal, Vocal, Visual

2. ฟัง (Listen) – ฟังให้ได้ยินในสิ่งที่เขาไม่ได้พูด ให้ระวังความคิดเพราะความคิดทุกอย่างออกมาทางสายตา (ทำให้ตัวเองสดใสเหมือนที่เกิดจะทำให้เรากลับมาเป็นคนเดิมเหมือนที่ตัวเองเป็นได้ เป็นตัวของตัวเองโดยที่ไม่ต้องตัดสินใคร ถ้าเราดูแลตนเองดีที่เหลือดูแลได้หมด)

  • มุมมองชีวิต
  • ความเชื่อ
  • ค่านิยม
  • ความต้องการ
  • ความกลัว
  • รูปแบบพฤติกรรม
  • ความคาดหวังในเรื่องต่างๆ
  • ฯลฯ

3. ถาม (Ask) – เพื่อพยายามทำความเข้าใจเขา

  • หาความกระจ่าง
  • เข้าใจมุมมองชีวิต
  • สร้างทางเลือก
  • ช่วยให้เข้าใจตนเอง
  • ช่วยให้เห็นมุมมองใหม่
  • ช่วยให้หลุดจากกรอบเดิม
  • ฯลฯ

4. Mindset

1.สิ่งที่เห็นไม่ใช่ทั้งหมดที่เป็น

2.ทุกคนทาดีที่สุดแล้วด้วยทรัพยากรและข้อมูลที่มีอยู่ ณขณะนั้น

3.มีความยืดหยุ่นของพฤติกรรม

4.ไม่มีความล้มเหลว มีแต่เสียงสะท้อนกลับให้เราปรับปรุง

5. Personal Life

ถ้าเราไม่ Transform ตัวเองเราจะไม่สามารถก้าวหรือเปลี่ยนแนวคิด

  • E+R = O
  • Cause vs. Effect
  • 5 Principles for Success
  • Peak State
  • Vision of Success
  • Being
  • Beliefs / Values
  • Needs & Fears

ความลับในการ Engagement ของคนที่เป็น Talent

การให้ความรัก ให้ความเมตตา ต้องให้เข้าใจความเป็นตัวตน อุเบกขาคือต้องเข้าใจว่าโลกนี้เป็นเช่นนี้เอง ต้องลดอัตตา ลดความเป็นตัวตน ไม่เช่นนั้นจะเป็นศัตรูกับคนในโลกนี้หมด


วันที่9 มิถุนายน 2560

การนำเสนอผลงานการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรม
เพื่อการพัฒนางานขับเคลื่อน กฟผ
.4.0

ผลงานรุ่น Huai Had Start Up Model : Eco Tour

หมู่บ้านห้วยหาดจะทำ Project Start Up ประกอบด้วย 6 Model เป็นโมเดลธุรกิจเพื่อเสริมศักยภาพชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้ จะนำนวัตกรรมไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้ชุมชน จะช่วยการเพิ่มมูลค่าสินค้าบริการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

1. การนำนวัตกรรมด้านพลังงาน

2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์และหีบห่อ

3. ปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่

4. ส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชน

5. ส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์สินค้า

6. การสื่อสารของห้วยหาด

โมเดลที่ 1 การนำนวัตกรรมด้านพลังงาน

การมุ่งสร้างผลิตภัณฑ์ มองเรื่องนวัตกรรมอะไรที่ไม่ยุ่งยาก และมุ่งสู่การสร้างผลิตภัณฑ์หมู่บ้าน

- ตู้อบแห้งพลังแสงอาทิตย์ ผลิตถั่วดาวอินคา ชาวบ้านจะนำมาขายด้วย จากเดิมที่ทำแบบปกติ อาจเกิดปัญหาแมลงและเชื้อราได้ ดังนั้น จึงคิดนำผลิตภัณฑ์ตู้อบแห้งพลังแสงอาทิตย์ขนาด 1.5 ตารางเมตร มีตะแกรงกันแมลง และใช้แนวคิดปรากฏการเรือนกระจก มีอุณหภูมิ 70-80 องศา ช่วยให้การตากผลิตภัณฑ์เร็วขึ้นจากเดิม สามารถตากได้ 2 รอบ เพิ่มผลิตภัณฑ์เร็วขึ้น และเพื่อช่วยควบคุมคุณภาพและป้องกันเชื้อโรงให้กลุ่มชาวบ้านได้

- ไฟฟ้าแสงสว่างสำหรับพื้นที่ที่เข้าไม่ถึง เป็นพลังงานแบตเตอรี่ และราคาถูกมาก

- เตาประหยัดพลังงานที่ใช้สำหรับการคั่วถั่วดาวอินคา มีการใช้ความร้อนแปลงเป็นไฟ สามารถชาร์ตมือถือและเสียบโคมไฟเล็ก ๆ ได้ ราคาประมาณ 7,500 บาท มีการควบคุมปริมาณการปล่อยเชื้อเพลิง ฟืน ปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ควัน

- ถุงซีลผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นใบชา สมุนไพร ถั่วดาวอินคา มีท่อดูดอากาศ ใช้ความร้อนซีล

โมเดล 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์และหีบห่อ

เพื่อสร้างความดึงดูดใจในอันดับแรก สร้างมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นบ้าน ๆ สู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจ

นำผ้าในพื้นที่เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ เช่น บรรจุภัณฑ์ของไม้กวาด เอาเศษผ้าที่เหลือมาประดับในส่วนของผลิตภัณฑ์

โมเดล 3 การปรับปรุงภูมิทัศน์ของบ้านห้วยหาด

1. ความน่าจะเป็น ต้องพึ่งคนในพื้นที่

2. การเข้าถึงนักท่องเที่ยว เช่น

- อาคารต้อนรับ มีสัดส่วนให้นักท่องเที่ยวเข้าไปสู่ตำแหน่งใดได้บ้าง

- ห้องน้ำ

- ร้านค้าผลิตภัณฑ์ต้องมีความเด่นชัดมากขึ้น

- ภูมิทัศน์ ไม่แตะมากเนื่องจากนักท่องเที่ยวสามารถชื่นชมอยู่แล้ว

3. ความปลอดภัย

โมเดล 4 อัตลักษณ์และวัฒนธรรม

การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการส่งเสริมอัตลักษณ์และวัฒนธรรมชุมชน

1. การสนับสนุนเชิงวัฒนธรรม มีการประชาสัมพันธ์งานต่าง ๆ เช่น งานบวงสรวงพระเจ้าทันใจการบายศรีสู่ขวัญผู้มาเยือน กลองสะบัดชัย ซึ่งมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นส่วนดีการเลี้ยงผีขุนน้ำ ปลูกป่าต้นน้ำและสืบชะตาแม่น้ำ

2. การเที่ยวรอบหมู่บ้านเชิงอนุรักษ์ เช่นการดูแปลงปลูกต้นดาวอินคา จะไปพบหมู่บ้านทำไม้กวาด จากของที่มีอยู่แล้วในป่า การทำฝาย การเลี้ยงสุกร วิถีชีวิต

3. Welcome Drink & Break ใช้น้ำถั่วดาวอินคาที่อร่อยและดีต่อสุขภาพ โดยมีภาชนะที่ยกระดับมูลค่าเพิ่ม

4. อาหารว่างที่แสนอร่อย มีผลไม้ประจำฤดูกาล ถ้วยใส่ Welcome Drink

โมเดล 5 การส่งเสริมการตลาด

โมเดลยืดหยุ่น การตัดสินใจมีความคล่องตัว แต่มีข้อจำกัดที่เงินลงทุน และจะทำอย่างไรให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพในงบเวลาจำกัด

กลยุทธ์ 1 การทำการตลาดให้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย ให้มีผลลัพธ์ที่การขายเพื่อการต่อยอดทางธุรกิจ การประชาสัมพันธ์ใช้สื่อประชาสัมพันธ์ของ กฟผ.ช่วยประชาสัมพันธ์ จะได้สินค้าเพิ่มขึ้น

กลยุทธ์ที่ 2 การสร้างแบรนด์เรื่องราว นำผลิตภัณฑ์เขียนเป็นเรื่องราวว่าถั่วดาวอินคาดีอย่างไร

กลยุทธ์ที่ 3 การจัดกิจกรรมผ่วงสินค้าเชื่อมโยงกัน

กลยุทธ์ที่ 4 ลูกค้าที่ดีบอกต่อผลิตภัณฑ์

โมเดล 5 การสื่อสาร

1. Website เป็นแหล่งที่รวมข้อมูลองค์ความรู้ อัตลักษณ์ต่าง ๆ จะทำอย่างไรให้คนไปดูใน Website

2. Facebook เป็นการสื่อสารเชื่อม 2 ทางเป็นเครือข่ายชุมชน เยาวชน

3. กลุ่มในชุมชน ช่วยประชาสัมพันธ์

4. สื่อมวลชน อาศัยความสัมพันธ์เชิญสื่อมาเยี่ยมสนับสนุน

5. จัดกิจกรรมช่วยเหลือชุมชนได้ มีค่ายจิตอาสาพัฒนาชุมชน และใช้เครือข่ายต่าง ๆ

มีการสร้างเรื่องราวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ การจุดประกายการมีส่วนร่วมมาช่วยคนละไม้ละมือใน Website

สรุป ความเป็นไปได้ มีการใช้จิตอาสาจำนวนมาก ส่วนงบประมาณ มีเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยของบประมาณจากผู้บริหาร และเครือข่าย

ประโยชน์

1. รักษาป่าต้นน้ำ

2. สามารถนำโมเดลไปที่อื่นได้

3. หาเครือข่ายช่วยกันพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้น

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เป็นการนำเสนอที่ครอบคลุมในหลายมิติ

คุณสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการ กฟผ.

ในภาพรวมดูดีมากทั้ง 6 ด้าน แต่อยากฝากหรือเติมบางเรื่องเช่น เรื่องการส่งเสริมการตลาดและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ กฟผ.สามารถช่วยเข้าไปได้เช่น ตู้อบถั่วดาวอินคา การส่งเสริมการตลาด เรื่อง Story Brand ต้องไปพูดถึงว่าปลูกอย่างไร น่าสนใจอย่างไร อาจหาคนเก่ง ๆมาช่วยบ้าน

เรื่องการสื่อสาร คิดต่อเรื่อง E-Market ด้วยหรือไม่ในการส่งเสริมให้ชุมชนไปทำการตลาดต่อยอด

งาน CSR อยากให้เพิ่มว่าทำอย่างไรให้ยั่งยืน ซึ่งทาง UN บอกว่า เรื่อง Economy หลังจากไปช่วยชุมชน ได้ Monitor หรือไม่ว่าเศรษฐกิจชุมชนดีขึ้น ความเป็นอยู่ของชุมชนนั้นดีขึ้นอย่างไร เรื่องสิ่งแวดล้อมดีขึ้นหรือไม่ ควรสามารถทำเป็นเชิงตัวเลขให้ได้ เช่น CO2 ขยะลดลงหรือไม่ ความสัมพันธ์กับข้างนอกเป็นอย่างไร และเมื่อ กฟผ.ไปสนับสนุนแล้วดีขึ้น คงที่ หรือลดลงอย่างไร ฝากเรื่อง 2 E 1S

คุณภาวนา อังคณานุวัฒน์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ กฟผ.

เห็นความประทับใจในการนำเสนอรูปแบบใหม่ เป็นการนำเสนอเป็นชิ้นงานกลุ่มที่เห็นแล้วถูกใจ เห็นว่ากล้านำเสนอ กล้าคิดมากขึ้น ในวันนี้ กฟผ.เน้นปรับวิสัยทัศน์ เน้นนวัตกรรม ประเทศไทยบอกว่าถ้าไม่เน้นนวัตกรรมจะไม่สามารถก้าวผ่านกับดังรายได้ปานกลางไปได้ รู้สึกดีใจที่ได้เห็นสิ่งใหม่

ห้วยหาด Start up ความเห็นส่วนตัวคือถูกใจ อยากให้ EGAT มีโมเดลลักษณะนี้ที่ทำงานกับชุมชน อยากให้นำโมเดลไป Educate ชุมชนให้แข็งแรงขึ้นเราเอา Existing Product ไปขายในตลาด สิ่งที่ได้คือลดระยะเวลาในการตากผลิตภัณฑ์ สิ่งที่ทำช่วยชุมชนได้ และมีเรื่องการประหยัดพลังงาน ใช้เรื่อง BioLight

คิดครบวงจร ดูว่ามีเครื่องซีล และมาดูที่ Packaging มาสู่การปรับภูมิทัศน์ให้ท่องเที่ยวรอบหมู่บ้านเชิงอนุรักษ์ จะวางภาพอย่างไร

การตลาดให้ตรงกลุ่มเป็นเรื่องของ Segmentation ถ้าทำชัดและโยงไปหา Segmentation เลยจะได้ตรงเลย

การขายแบรนด์ ขาย Story ต้องสัมผัสไปที่ Feeling ที่นำเสนอเป็นลักษณะขายคุณสมบัติ ยังไม่ได้ Feeling เท่าไหร่

การตลาดเรื่อง Word of Mouth เป็นไปได้มากในการบอกต่อ

ถ้า EGAT ทำอย่างนี้เพื่อสังคม และชุมชน จะทำให้ EGAT ไปอยู่ในใจชุมชนได้เอง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บรรยากาศแบบนี้เห็นมาทุกครั้ง และคิดว่าทุกครั้งทำได้ดี อย่างในครั้งนี้เป็นนวัตกรรมทาง Process

โครงการฯ นี้ได้รับการยอมรับระดับสูง

1. Process ในการทำงานเป็นการทำงานร่วมกันของผู้บริหารระดับสูงและพวกเรา

2. การนำเสนอในวันนี้ครอบคลุมเหมือนเป็นแผนธุรกิจ

3. 4.0 ถ้าไม่ให้ข้างล่างเกิดจะทำให้เกิดปัญหาเช่นเดิมคือรวยกระจุกจนกระจาย และถ้าจะทำดิจิตอลให้ดีต้องลงล่าง อย่างการลงไปที่จังหวัดน่าน และให้กระเด้งไปที่ทุกจุดของชุมชน

งานชุมชนทุกอันควรมีคำว่า กฟผ. เน้นการสร้างพลังและให้เชื่อมโยงกัน คนจะได้รู้ว่าเป็น กฟผ.

สิ่งที่อยากฝากไว้คือ นวัตกรรมไม่ได้เขียนแผลขึ้นมา แต่กฟผ.สามารถเขียนได้ดีกว่า แต่บางครั้งการ Turn idea into Action ยังไม่ทันการ ดังนั้นต้องมี Speed

การทลาย Silo ต้องทำแบบ Informal

ทำงานอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่องและสุดท้ายเรื่อง Sustainability เป็นเรื่องสำคัญ การทำงานเมื่อเจออุปสรรค ต้องสามารถ Overcome Difficulty ได้ และเมื่อมีอุปสรรคแล้วอย่าถอย

หลักสูตรนี้ให้ทำอย่างต่อเนื่อง และขอมีส่วนเล็กๆ และถ้ามีอะไรที่รับใช้ได้จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

ประเทศไทย จะชอบพูดก่อนในการเป็น Hub แล้วกลายเป็น CSR หรืออย่างห้วยหาด ทำก่อนแล้วต่อไปจะเป็น Hub และ CSR

การทำโครงการฯ 6 โมเดล กฟผ.อาจไม่ต้องทำทั้งหมด แต่ต้องมีบางส่วนที่ให้เชื่อมโยงเครือข่ายอื่นด้วย งานที่พูดทั้งหมดไม่ได้พูดถึงไฟฟ้าแต่เป็นการเอาแรงใจไปให้ประชาชน ก่อนให้ความรู้เขาในเรื่องไฟฟ้า

เรื่อง Story อย่าสร้างเรื่องจากเรื่องเท็จ แต่ให้นำเรื่องจริงมาเล่าเป็นเรื่องราวอย่างไร

งานนี้จะต้องพูดเรื่อง Spiritual ที่โดดเข้าไป HR ต้องแข็งแรง และทำอย่างไรให้วัดผล จะแก้ไขและปรับปรุงอย่างไร

ต้องมีหน่วย R&D เล็ก ๆ ที่จ้องจับเรื่องต่าง ๆ ของโลก สรุปสิ่งที่ทำในวันนี้คือกึ๋นข้างใน ต้องมี Believe Habit Attitude และ Mindset ต้องคิดทั้งหมดมารวมกันแล้ว Mindset จะเปลี่ยน ให้นำ 4 ตัวมารวมกันแล้วปั้นใหม่

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

โครงการใหญ่ รุ่นนี้เป็นการนำเสนอโครงการที่ทำง่ายแต่นาน มีนวัตกรรมซ่อนอยู่ในทุกโมเดล และเป็นนวัตกรรมแบบเศรษฐกิจพอเพียง ราคาไม่แพง และเห็นว่าทำให้เกิดได้จริง

การทำงานนี้ขึ้นต้นด้วยตัว R จริง ๆ แต่การนำเสนออาจยังไม่คม อย่างเรื่อง VTR อาจด้วนไป อาจนำในเรื่องดาวอินคามาใส่ในตอนท้าย อาจน่าสนใจมากขึ้น

เป็นโครงการฯที่คิดครบทุกมิติ มีทั้งโครงการชีววิถี และประหยัดพลังงาน

ประเทศไทย 4.0 ต้องเดินไปที่เศรษฐกิจชุมชน

กลุ่มที่ 1 Financial Model โรงไฟฟ้าและเขื่อน

ในกลุ่มมีการร่วมกันระหว่างวิศวะ บัญชี การเงิน ประโยชน์ของเรื่องนี้คือเรื่องเขื่อนถ้าทำได้ ผู้บริหารระดับสูงจะมีเครื่องมือสำคัญในการบริหารกำไรขาดทุน ซึ่งในช่วงแรกดูงบกำไรขาดทุนก่อนจะแยกเรื่องสายผลิตออกมา และทำให้รองบัญชีได้เห็นว่า ถ้าทำพร้อมกันจริง ฝ่ายผู้บริหารจะและฝ่ายทำงานจะเห็นข้อมูลพร้อมกัน สามารถคลิ๊กหาข้อมูลได้ทันที เป็นการรวมทุกสายงานเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นการทำลาย Silo ผ่านกระบวนการทำงานแบบโครงการแบบนี้

คุณภาวนา อังคณานุวัฒน์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ กฟผ.

เปลี่ยนคำว่า Every เป็น Anytime Anywhere ดีกว่า

กลุ่มที่ 2 การนำนวัตกรรม UAV มาปรับใช้

สิ่งที่คิดเพื่อตอบสนองการทำงานโครงข่ายการไฟฟ้าให้ตามที่กำหนดไว้

กลุ่มที่ 3 HR Dashboard

สร้างการทำงานร่วมกันระหว่าง HRM และ HRD การนำข้อมูลจากแฟ้มมาสู่เวปไซต์ แต่ทำไมไม่มีข้อมูลอื่นที่น่าสนใจ อย่างประสบการณ์การเชี่ยวชาญ เลยคิดเปลี่ยนแปลง เวลาผู้บริหารดูไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูล จึงน่ามีข้อมูลในการรวมแบบที่เดียวโดยมีคาดการณ์ที่จะเชื่อมโยงกับโครงการต่างประเทศด้วย

กลุ่มที่ 4 Smart Energy at Home

กลุ่มที่ 5 Wind Power –Pumped Storage Hydropower Plant System

กลุ่มที่ 6 EGAT’s Line or Social Media Stickers

เป้าหมายคือ EGAT ยังไม่เป็นที่รู้จักของสังคม แต่ปรากฏว่าไม่มีใครเข้ามาหรือ Follow up น้อย จึงคิดวิธีการให้มีผู้ติดตามมากกว่านี้ คิดว่าจะเพิ่มช่องทางการสื่อสารมากกว่า

การแสดงความคิดเห็น

คุณสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการ กฟผ.

กลุ่ม 6 มีการถกเถียงกันในเรื่องนี้มานาน อยากฝากเรื่อง Impact ที่เข้าถึงประชาชนทุกวันถ้าคนที่ดาวน์โหลดไลน์สติกเกอร์แล้วจะรับข่าวสารอะไร

กลุ่ม 5 เป็นแนวคิดดีแต่วิธีการนำเสนอยังไม่ชัดเจน

กลุ่ม 4 เป็นสิ่งที่ตื่นเต้นในการทำในอนาคต แต่ต้องหาเครือข่าย ข้อดีคือสามารถทำบนมือถือได้ และสามารถขายสิทธิบัตรได้ เป็นเรื่องที่อยากได้ยิน และฝากต่อยอดไปเรื่องอื่น

กลุ่ม 3 ขอชื่นชมที่ทีม HRD และ HRM อยู่ด้วยกัน การทำงานคงต้องใช้เวลาอีกพักหนึ่ง แต่อยากให้เริ่มทำเลย และคิดว่าจะปรับปรุงไปเรื่อย ๆ

กลุ่ม 2 นวัตกรรมสายส่ง ไม่ทราบว่ามีอย่างอื่นอีกหรือไม่ กฟผ.ยังไม่สามารถเข้าในพื้นที่ได้ จึงใช้ท่าอากาศยานไร้คนขับไปสำรวจมาก่อน เรื่องเทคโนโลยีสามารถสำรวจได้ สิ่งเพิ่มเติมคือการไปทำความเข้าใจกับชาวบ้านว่าจะทำอย่างไร

กลุ่ม 1 เป็นแนวคิดที่ดีมากที่ผู้บริหารหรือใครก็ตามสามารถรู้ข้อมูลด้านการเงินทุกประเภทว่าคืออะไร อยากเพิ่มตัว Efficiency โรงไฟฟ้าด้วยจะทำให้การบริหารจัดการภาพรวมดีขึ้น

คุณภาวนา อังคณานุวัฒน์ผู้ช่วยผู้ว่าการ กฟผ.

กลุ่ม 1 ชื่นชมแนวคิดที่ควรทำ และต้องทำ และเรื่องการสลาย Silo ทั้ง กลุ่ม 1 และ กลุ่ม 3 มองสามารถตอบโจทย์องค์กรได้

กลุ่ม 2 เป็นเรื่องดี

กลุ่ม 4 เป็นเรื่องที่น่าสนใจและน่าสนับสนุน

กลุ่ม 6 เป็นหลักตัวหนึ่งที่ทำอย่างไรให้หาคนชอบและเป็นเพื่อนกับเรา เห็นด้วยกับสิ่งที่อยากทำ ในอดีตอาจไม่เห็นด้วยแต่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงความคิดนี้อาจขายและซื้อด้วย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ในอนาคตอยากให้มีคนมาแนะนำให้ทำคลิปให้โมเดิลและทันสมัย ซึ่งบางคลิปมาตรฐานสูงแล้ว

เรื่อง Content บางเรื่องเป็นภายใน แต่ที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงคือเรื่อง HR บางส่วนเข้าไปใน Software ทำงาน Routine และน่าจะมี Assessment เป็น Individual Development Plan และต้องรู้ศักยภาพคนเป็นอย่างไร

เรื่อง Smart Home แนวถูกแล้วแต่อยากทำคลิปให้ทันสมัย และยิงไปที่ตัวผู้บริโภคโดยตรงเลย

กลุ่มที่ 7 โครงการพัฒนา Software ERP

สอดคล้องกับการพัฒนานวัตกรรม

กลุ่มที่ 8 การบริหารสินทรัพย์ Asset Management

อยากให้ผู้บริหารดูสินทรัพย์ใดหมดความจำเป็นขอให้ขายเพื่อจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแล การซื้อสินทรัพย์ใหม่ขอให้ดูว่าเหมาะสมและสร้างรายได้ให้ในอนาคตหรือไม่อย่างไร

กลุ่มที่ 9 โครงการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลความปลอดภัย

ข้อมูลมีอยู่แล้วแต่ไม่ได้บูรณาการ ด้านการพัฒนาความปลอดภัยจะทำร่วมกับ อพบ.โดยใช้ระบบ E-learning และจะลดต้นทุน ค่าใช้จ่าย สร้าง Value Added ให้มาก

ความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญมาก ในปัจจุบันมีการเก็บข้อมูล และกระจายตามหน่วยงานต่าง ๆรวมถึงการวิเคราะห์และแสดงผลไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจึงคิดมีการรวบรวมข้อมูลและนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำข้อมูลทั่วไปก่อนยังฐานข้อมูลกลาง รูปแบบนำไปถึงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิเคราะห์ทำแผนลดความศูนย์เสีย และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ทำการรวมข้อมูลให้สำเร็จเป็นองค์กรด้านความปลอดภัย

กลุ่มที่ 10 การปรับปรุงข้อกำหนดทางเทคนิคของเอกสารประกวดราคา

ภาพรวมต้องทลายกำแพงของแต่ละหน่วยงานให้ได้

กลุ่มที่ 11 OSIP PDP

การนำข้อมูลมารวมกันเพื่อสลาย Silo เล็ก ๆ ให้ติดตามการบริหารอย่างรวดเร็ว

กลุ่มที่ 12 ภาพรวม CSR กฟผ.

อยากให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดีมีความรับผิดชอบต่อสังคม งาน CSR สามารถสะท้อนจากทุกท่านที่ปฏิบัติงานใน กฟผ. เป้าหมายคือชุมชน อยู่ ดี มี สุข เน้นเรื่องการสร้างการมีส่วนร่วมได้ดีที่สุดอย่างเช่น ห้วยหาดโมเดลทำเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยว

ในระดับสังคมการสร้างการมีส่วนร่วมสำคัญมาก สร้างได้จากการรณรงค์และการทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย โดยทั้งหมดต้องอาศัยการสื่อสารช่วย

การสื่อสารหรือ CSR in Process คือคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ปัจจุบันพบว่าสื่อออนไลน์สามารถตอบสนองสังคมได้หลายทิศทางผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและเว็บไซด์สามารถตอบสนองได้ทั่วโลก อีกเรื่องคือ Infographic เป็นการย่อข้อมูลและประเมินผล ผ่านทฤษฎีการสื่อสารคือ SMCR

การแสดงความคิดเห็น

คุณสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการ กฟผ.

กลุ่ม 12 การหาคำตอบที่ชัดยังไม่ได้ จะทำอย่างไรให้สังคมได้รับรู้อย่างต่อเนื่อง อย่าง 2E1S ต้องทำให้ชัดคือส่งผลกระทบต่อชุมชนดีขึ้นและยั่งยืนหรือไม่

กลุ่ม 10,11 ต้องการ Bridging the silo เพื่อสร้างสะพานทางเชื่อมและลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน

กลุ่ม 9 เป็นการรวบรวมข้อมูลความปลอดภัยในที่เดียวกันเพื่อบริหารจัดการง่าย และต้องการลด Lost ของ กฟผ. แต่ต้องสามารถจัดการได้อย่างเหมาะสม การสื่อสารต้องทำความเข้าใจให้มากขึ้น

กลุ่ม 8 การมี Asset มากแต่ถ้าบริหารไม่เป็นจะเป็นตัวถ่วงหรือหน่วยรั้งมากขึ้น ฝาก Asset ที่สามารถเป็นตัว Generate รายได้ด้วย

กลุ่ม 7 มีแนวคิดที่ดีคือแทนที่จะซื้อ Software แต่สามารถพัฒนาของ กฟผ.เอง แต่ต้องดูเรื่องการเจรจาลิขสิทธิ์เดิมด้วย

คุณภาวนา อังคณานุวัฒน์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ กฟผ.

กลุ่ม 7 ทฤษฎีใหม่คือสิ่งที่ทำทุกวันแล้วเกิดเป็น Asset ใหม่

กลุ่ม 8 มีหลักคิดอย่างไรในการซื้อ Asset อยากให้ปรับใน Behavior Base ขององค์กร

กลุ่ม 9 กำลังวางอยู่แล้ว และพยายามปรับว่าอะไรเป็น Digital จะปรับเป็น Digital

กลุ่ม 11 เป็นเรื่องของ LEAN ที่อยากเห็นในองค์กรเพราะช่วยลดต้นทุน

กลุ่ม 12 ควรเน้นการสื่อสารให้มากขึ้น เช่นบางจากบอกว่า กฟผ.การปลูกป่าทำก่อนคนอื่นแต่ไม่ได้บอก

HR in Process ได้มีการนำ Core มาสู่ HR ส่วน After Process ได้มีการขยายไปที่ Core Value เราจะทำอย่างไรที่สอนคนตกปลาแล้วเอาปลามาให้กินควรทำให้ชัดเจน และเรื่องไฟฟ้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและอยู่ดีมีสุขเห็นด้วย

ดร.จีระ หงส์ดารมภ์

วันนี้เป็นการนำเสนอ Presentation ที่ Unique คือการทำงานเชิงนวัตกรรมการมีกรณีศึกษา 3 คน บางเรื่องทำอยู่แล้วแต่ทำให้ดีขึ้น มีงานหลักงานประจำที่ต้อง Improve

Asset บางตัวมีมูลค่ามากจึงอยากให้ดูให้ดี ให้มีความระมัดระวังมากขึ้น

สุดท้ายคือ เราได้ยกตัวอย่างเรื่อง CSR ในรุ่นที่ 13 ว่า Trust มี 4 เรื่องคือ ตัวเอง ความสัมพันธ์กับคนอื่น องค์กร แต่ไปตกที่สังคม คนมองความไว้เนื้อเชื่อใจในระดับสังคมของ กฟผ.ยังไม่ดีนัก หลายคนควรนำไปปรับให้ดีขึ้น ในระดับ Social Trust เราต้องมีวิธีการวัดผลว่าปัญหาที่คนไม่เข้าใจคืออะไร

กลุ่มที่ 13 Smart Network Operation Center for Communication System

ปัจจุบันมีเครือข่ายทั้งระบบอยู่แล้ว แต่มีเฉพาะบางระบบที่เข้าถึง ในระบบนี้ จึงอยากทำให้อัจฉริยะมากขึ้นเน้นที่ PM และ SM มากขึ้น ไม่เน้นที่ CM เพิ่มความเชื่อมั่น และเชื่อถือให้กับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ

กลุ่มที่ 14 การขนถ่านหินนำเข้าจากต่างประเทศโดยทางรถไฟเพื่อโรงไฟฟ้าแม่เมาะ (1)

กลุ่มที่ 15 การขนถ่านหินนำเข้าจากต่างประเทศโดยทางรถไฟเพื่อโรงไฟฟ้าแม่เมาะ (2)

กลุ่มที่ 16 Power Plant Maintenance Solution Web Board

สนองนโยบายผู้ว่าการฯ มีโครงสร้างที่ชัดเจน มีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านจัดเก็บข้อมูล ทำWeb base Solution ติดต่อกับลูกค้าภายนอก มีเครื่องกล โยธา ไฟฟ้า เคมี พัฒนาความแข็งแกร่งเชิงนวัตกรรมให้ประเทศ

กลุ่มที่ 17 Smart Messenger Service Center

ใช้ความรู้ Logistic บวกกับ Application IT พบ Idol Time ในลักษณะการรอคอยงาน สามารถเชื่อมโยงผู้ให้บริการกับผู้รับบริการผ่าน Application ได้ สุดท้ายในข้อจำกัดและเงื่อนไขต้องมี Prototype ที่ทดสอบระบบแล้วขยายผลไปสู่ Area อื่น ๆ ต่อไป

กลุ่มที่ 18 Solar Power in Right of Way

สรุปคือการทำงานสายส่งยากมาก เลยคิดเรื่อง Solar Farm ว่าเราจะเป็นผู้ลงทุนหรือเชิญเจ้าของที่และผู้สนใจมาร่วมลงทุน สุดท้ายคือการทำงาน Reality มากและตรงประเด็นเรื่องการมีปัญหาในเรื่องนี้

กลุ่มที่ 19 การประยุกต์ใช้ Drone ในงาน กฟผ.

เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย และสามารถใช้ประยุกต์ในงานทุกสายได้ ได้คิดครอบคลุมทุกสายงานว่านำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างไร เช่น Wyler Stat สามารถใช้ Drone ในการตรวจสอบ และขนย้ายอุปกรณ์ การบำรุงรักษาสายส่ง งานของเหมือง

การแสดงความคิดเห็น

คุณสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการ กฟผ.

กลุ่ม19 อยากให้ทางกลุ่มช่วยรวบรวมและจัดเป็นหมวดหมู่ การเข้าขอพื้นที่เข้าไปได้และไม่ได้อย่างไร จะช่วยลดระยะเวลาทำงานของคนด้วย

กลุ่ม 18 มีหลายกลุ่มของ กฟผ.คิด อยากให้มุ่งถึงประโยชน์ของเจ้าของที่ดิน ทำอย่างไรให้เจ้าของที่ดินเกิดประโยชน์โดยแท้จริง จะตอบโจทย์ได้ชัดเจน และใน 1 กม. มีเจ้าของที่ดินจำนวนมาก

กลุ่ม 17 เป็นการเลือกนำ Web Application ใช้งานเหมือนเว็บแท็กซี่ Uber แต่อยากให้ดูพนักงาน ลูกจ้างว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นหรือไม่ และให้ลดการใช้งานผิดประเภทด้วย

กลุ่ม 16 เป็นการใช้ Web Application ได้ดีขึ้น สร้างช่องทางเข้าลูกค้ามากขึ้น ที่ไม่ชัดคือเรื่องการทำ Marketing สนับสนุนตรงให้ Information กับกลุ่มอื่นด้วย

กลุ่ม 13 เน้นในเรื่อง Communication เน้นเรื่องระบบควบคุม เน้นเป็น Performance Management ให้องค์กรให้ดูว่าจะทำให้กับลูกค้าที่เป็น Public ได้หรือไม่ ฝากต่อยอดให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

คุณภาวนา อังคณานุวัฒน์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ กฟผ.

อยากให้ทำ Clip สั้น ๆ ผลงานไม่เกิน 10 นาทีแล้วนำไปฉายเป็นชิ้นงาน กลุ่มที่โตแล้วน่าจะมีชิ้นงานเป็นที่ปรากฏ หลายมุมบางครั้งที่เราไม่สามารถมองรอบได้หมด หลายเวทีเพื่อไปการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจะมีคนมา Challenge เรา ให้มองว่าเป็นโอกาสในการปรับแก้ไขในเพื่อทำให้ดีขึ้น

หลายเรื่องที่นำเสนอเป็นการพยายามลด Silo มี Project อะไร ที่ลด LEANขยายสู่สังคม หรือเน้นเรื่อง Digital ก็จัดกลุ่มฉายภาพ

การนำเสนอกับบอร์ดเรื่องการปรับเปลี่ยน Mindset ในประเทศไทยได้มีการปรับเปลี่ยนเป็น Smart EGAT ตัวแรกที่เห็นคือการทำให้เป็น Silo less ทำให้เห็นภาพในการรวมกลุ่ม หลายเรื่องที่วางเป็นการลด Silo สามารถไปบอกบอร์ดได้

หลายเรื่องมีการคำนึงถึงสังคม เอาสังคมเป็นตัวตั้ง คนรอบตัวเป็นตัวตั้ง

โปรเจคตอบสนองเรื่อง SMART EGAT อาทิ LEAN , Risk Taking, Technology หมายถึงกำลังปรับ Mindset ของ EGAT ที่ตอบสนอง SMART EGAT อยากให้ทุกคนช่วยในการสร้าง เพราะ EGAT กำลังเดินไปถึง Smart Mindset

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

โดยสรุป อยากเพิ่มโปรเจคอะไรก็ได้ที่มี Application ทางด้านวิทยาศาสตร์ อย่าง มีฟิสิกส์ เคมีที่สามารถนำไป Apply ได้

โลกในอนาคต สิ จิ้น ผิงบอกว่า เร็ว ไม่แน่นอน และคาดเดาไม่ได้ แต่ความจริงแล้วมีมากว่านี้ จึงอยากฝากให้รุ่นนี้เรียนรู้จากงานเรา ฝากให้คิดแบบ Scientific Thinkingดังนั้นขอให้รุ่นนี้คิดต่อถึง EGAT Academy และให้ทำเป็น Online แล้วไปตอบโจทย์ 4.0

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

แยกเป็น Internal กับ External ใน 10 ปี มีการพูดเรื่อง SMART ในขณะนี้รู้ความเป็นไปทั้งหมดในชีวิต ในอดีตเปลี่ยนแปลงมาถึงปัจจุบันจนไล่ไม่ทัน สิ่งที่มองใน 10 ปีข้างหน้าเปลี่ยน และเปลี่ยนเร็วมากขึ้น ไม่ใช่ทุก ๆ ปี ที่มอง แต่เป็นทุก ๆ นาที อย่างเรื่องพลังงานที่ลดลง เรื่องสิทธิบัตร

สิ่งที่ต้องการคือ R&D Analysis ที่ต้องมองทุกมุมของประเทศ ไม่เฉพาะด้าน Scientific แต่เป็นการมองถึง Spiritual ด้วย อย่างเรื่อง HR แทนที่จัดคนไปที่แผนกงาน แต่ละแผนกงานควรส่งคนมาเรียนรู้แล้วยิงกลับ

นอกจากนี้ยังช่วยเรื่อง Aging Society ที่เป็นมาช่วยรัฐบาลและประเทศได้ ให้มองเรื่องผลประโยชน์ที่จะขอนำมาช่วยด้วย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การนำเสนอวันนี้เป็นการนำเสนอรูปแบบใหม่เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนทำงาน งานโครงการใหญ่ครั้งนี้เลือกงานที่เข้าถึงง่าย และไปแตะชีววิถี ได้ลงไปถึงชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ มีการพัฒนาที่กว้างขวางออกไป และไม่ลืมสิ่งแวดล้อม

งานโครงการกลุ่มเล็ก มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทันทีในโครงงาน และควรเรียนรู้เรื่องการนำเสนอที่ฝ่ายวิชาการควรนำไปปรับใช้ในครั้งหน้า


#EADP2017

#EADP13


โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ

สื่อสิ่งพิมพ์

http://www.naewna.com/politic/columnist/30163

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน 2560 หน้า 5

สื่อออนไลน์

http://www.gotoknow.org/posts/626196

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 20 มีนาคม – 3 เมษายน 2560

http://www.gotoknow.org/posts/626982

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 4-19 เมษายน 2560

รายการโทรทัศน์

https://youtu.be/3VH_EeuQI0k

ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”. ตอน : EADP 13..ห้องเรียนสัญจร ตอนที่ 1.. “น่าน” สืบสานการทำงานตามศาสตร์พระราชา ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน 2560 เวลา 21.00-21.30 น.ทางสถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks

https://youtu.be/5Htzfzcz7RU

ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”. ตอน : EADP 13..ห้องเรียนสัญจร ตอนที่ 2.. บทบาท “กฟผ.”กับการทำงานในระดับชุมชน..กรณีศึกษาจังหวัดน่าน ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2560 เวลา 21.00-21.30 น.ทางสถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks

https://youtu.be/kcXwZ8916zk

ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”. ตอน : EADP 13..ห้องเรียนสัญจร ตอนที่ 3..เรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองน่านเพื่อสืบสานงาน กฟผ. และรายงานพิเศษ : CNC GROUP กับการพัฒนาองค์กรธรรมาภิบาล ออกอากาศ : วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2560 ทางช่อง TGN ระหว่างเวลา 21.00-21.30 น.

หมายเลขบันทึก: 629342เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2017 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2017 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

ขอขอบคุณวิทยากรทุกท่านที่ให้ความรู้ ประสบการณ์ คำแนะนำในการสร้างผู้นำ และปรับแปลี่ยนองค์กรเพื่อให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน..ผมขอแสดงความคิดเห็นหนึ่งเรื่องเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นในห้องประชุมซึ่งผมคิดว่าน่าจะเหมือนๆกันทั้งหน่วยงานรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ(ที่ไม่ได้แปรรูป)คือผู้เข้าร่วมประชุมอยากแสดงความคิดเห็นแต่กลัวว่าจะไปขัดกับความเห็นของประธานการประชุมแล้วอาจมีผลลบในหน้าที่การงาน หรือผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นโดยใช้อารมณ์บ้าง กร้าวร้าวบ้าง...หรือประธานการประชุมไม่พร้อมที่จะรับความคิดเห็นที่ขัดแย้ง...ดังนั้นความจะมีการจัดหลักสูตรการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธผล รวมถึงมารยาทในการประชุมซึ่งช่วยให้ได้ความริดใหม่ๆ มุมมองใหม่ๆเกิดขึ้นในการประชุม

นัฐวุธ พิริยะจิตตะ ช.อบค-ว. กลุ่ม 3


สรุปประเด็นการเรียนรู้ ช่วงที่ 5 วันที่ 7-9 มิย. 2560

ฉากสุดท้าย EADP13 ที่ศุนย์ฝึกบางปะกง

จบลงด้วยดีที่ศูนย์ฝึกอบรมบางปะกง หลังจากที่อ่านหนังสือ ทำการบ้านใน Blog กิจกลุ่ม 3 คน กิจกรรมกลุ่ม 9 คน และ Project กลุ่ม 50 คน รับหมวกจาก ดร. จีระ กันเป็นที่เรียบร้อยโรงเรียนจีน

ชื่นมื่น Happy กันไปทั้งในรถขากลับ และในไลน์กลุ่ม ก็ร่ำลาอาลัยกันไป โอกาสหน้าพบกันใหม่

ฝากถึงความรักสามัคคีกลมเกลียว การใฝ่รู้ การมีพันธมิตรร่วมกัน การปะทะทางปัญญา การวิจารณ์หนังสือ การเสนอแนวคิดและความคิดเห็นต่างๆ กิจกรรมต่างๆ ที่น่าน วารีบำบัด บางปะกง

สำหรับ Blog สุดท้ายขอเขียนในเรื่อง Silo Busting การทะลายกำแพง ที่นำเสนอในการวิพากวิจารณ์หนังสือครับ

ภาพที่หนึ่งเป็นคนตัวใหญ่ยืนเต็มคับ Silo

ภาพนี้แสดงถึงฝ่ายต่างๆตัวใหญ่คับ Silo ทุกฝ่ายใหญ่กันหมดมีปัญหาในการติดต่อประสานงานการร่วมด้วยช่วยกันทำงานในภาพรวม เนื่องจากติดปัญหา หน้าที่รับผิดชอบในหน่วยงานตัวเองเท่านั้น นอก ขอบข่ายหรือเฉี่ยวๆ ก็ไม่รับ ไม่ตัดสินใจ ไม่สามารถดำเนินการได้

ภาพที่สองเป็นภาพแต่ละฝ่ายยืนคุยกันข้าง Silo ของแต่ละหน่วยงาน

ภาพนี้แสดงถึงแต่ละฝ่ายต่างคนต่างทำงาน การประสานงานข้ามฝ่ายแทบจะไม่มี ทุกฝ่ายทำงานได้ดีทั้งหมด แต่ในภาพรวมขององค์กรในการ Integrated เพื่อให้เป็น High Performance Organization แทบจะไม่สามารถทำได้เลย เนื่องจากแต่ละฝ่ายมีวินัยที่แตกต่าง มีพฤตกรรมการทำงานที่แตกต่าง มีกรอบการทำงานที่เฉพาะเจาะจง ไม่มองในภาพรวมในกระบวนการทำงานที่เป็น High Performance Organization

ภาพที่สามเป็นภาพคนยืนใน Silo โผล่มาแต่หน้า และมีคนหนึ่งมาขอความช่วยเหลือ แต่ถูกปฏิเสธหมด เนื่องจากมันไม่ใช่หน้าที่ของฉัน

แสดงถึงทุกหน่วยงานที่กรอบในการทำงาน ถ้าทำงานนอกเหนือ ต้องปรึกษาหัวหน้าก่อน หรือตอบปฏิเสธไปเลย

ภาพที่ สี่ เป็นภาพ คนเดินจาก Silo หนึ่งไปอีก Silo หนึ่งที่ชั้นสูงๆ แต่เดินไต่ลวด

ภาพนี้แสดงถึง การทำงานข้ามหน่วยงาน มีความเสี่ยงในการเข้าไปหา มีอุปสรรค ไม่ปลอดภัย

ภาพที่ห้า เป็นภาพที่ Silo กำลังล้ม

ภาพนี้มันบอกว่า เราจะเครื่องจักรมาทำลาย Silo หรืออาจจะเป็นว่า รอให้ Silo ล้มตัวเอง ณ วันที่มาถึง หมายถึงการ Restructuring และ Reorganization เพื่อให้องค์กรอยู่รอดและบริหารจัดการได้ มีที่ยืนในอุตสาหกรรมนั้นๆ

ภาพที่ห้า เป็นภาพที่นักธุรกิจทุบกำแพงออกไป เพื่อไปหาทางสว่างที่เป็นธุรกิจที่สดใส แข่งขันได้ มีที่ยืนในอุตสาหกรรมนั้นๆ

ภาพนี้มันบอกว่าพวกเราควรรีบทำลายกำแพงนั้นสะไม่ด้วยวิธีใดๆก็ตามเพื่อไปยืนในธุรกิจในวันข้างหน้า

ทั้งหมดทั้งปวงในภาพที่เห็นมันบ่งบอกว่า พวกเราต้องกลับไปคิด ทบทวนและต้องทำอะไรกันบ้าง

อธิบายถึง S-Curve ที่เป็น The Life Cycle of products, Organization, Industries and Nation

ณ วันนี้ กฟผ. พบสภาพการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมพลังงานอย่างรวดเร็ว คาดว่าอยู่ใน S-curve หัวตกแล้วครับ ไม่ใช่กำลังจะตก คำถามคือ

Where are we? ตรงไหนที่ตก พร้อมที่จะปรับตัว เปลี่ยนแปลง เยียวยากันได้หรือไม่

เราจะไปไหน

เราจะไปกันอย่างไร

เราจะพบอุปสรรคข้างหน้าอย่างไร

ประกอบกับ 2 สิ่งที่ต้องตระหนักเสมอคือ 2 R’s

การปรับตัวที่รวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรีบดำเนินการ


MR. Ranjai Gulati/ ใน Harvard Business review บอกว่า มี 4 C ทีต้องทำ เพื่อให้บริษัทหรือ หน่วยงานประสบความสำเร็จ

แต่ ก่อนหน้านั้นสิ่งที่ เรา ต้องทำก่อนคือ

  • ปรับ Mind set / Attitude/ สร้าง Believes / Habità พฤติกรรม และ ทฤษฏีตัวตน
  • ต้องมี Engagement คือมีความผูกพันธ์ ในองค์กร ความมุ่งมั่น ทุ่มเท
  • มี ทุนมนุษย์ , HR ที่แข็งแกร่ง ที่ดี และเพรียบพร้อม

ถึงจะเป็น High Performance Organization

4 C ที่กล่าวถึง ดังนี้

1 Coordination การประสานงาน เป็นเรื่องของการสร้างความแข็งแกร่ง ประกอบด้วย

  • Information Sharing
  • Division of labor
  • Decision Making

2 Cooperation ความร่วมมือ เป็นเรื่องของการสร้างความแข็งแกร่ง ประกอบด้วย

  • ต้องเป็น Customer-Centric Company
  • มีตัวชี้วัดความพึงพอใจชองลูกค้า หรือ มี ระบบ Measuring & Performance Indicator ครบทุกมิติในการดำเนินการเชิงธุรกิจ
  • มีหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานใกล้ชิดกับลูกค้า

3 Capability Development การพัฒนาขีดความสามารถ เป็นเรื่องของการสร้างความแข็งแกร่ง ประกอบด้วย

  • ต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ เชิงลึกตามที่ลูกค้าต้องการ คือคนดี คนเก่ง เป็น Expertise, GURU, Professional Party เป็นต้น
  • ต้องมีบุคลกรที่มีความรู้ความสามารถที่หลากหลาย คือรู้ทั้ง สัญญา กฏหมาย ซื้อจ้าง เทคนิค การเงิร บัญชี อยู่ในคนคนเดียวกัน

4 Connection เครือข่าย เป็นเรื่องของการพลังไปให้ถึงจุดหมาย ประกอบด้วย

  • ต้องผสมผสานระหว่าง บริษัทของเรา Partners หรือรวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ
  • มีพันธมิตร หลายระดับและรอบตัว

Note : ขออภัยด้วยครับ รูปไม่มี

ถ้าอย่างไรย้อนกลับไปดู Power Point ที่นำเสนอ ตอนนี้ก็จินตนาการกันก่อนเองครับ

สวัสดีครับ

ขอบคุณทุกๆท่าน ได้แก่ ผู้บริหาร กฟผ. ที่จัดหลักสูตรนี้ หน่วยงาน HR กฟผ. หน่วยงาน ดร. จีระ /ทีมงาน Chira Academy และ ผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่าน ที่ได้ ปะทะทางปัญญาด้วยกัน บูรณาการประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ร่วมกัน ช่วยเหลือเกือกูลกัน และความเป็นพันธมิตร เพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมคิดด้วยกันมาตลอดทั้ง 3 เดือนที่ผ่านมา

โชคดีมีชัยกันครับ

นิทัศน์ วรพนพิพัฒน์

สรุปประเด็นช่วงที่ 5 ระหว่างวันที่ 7-9 มิ.ย. 2560

หัวข้อ Creative & Innovative Thinking

Insanity is doing the same thing over and over again and expecting different results

"มีแต่คนเสียสติเท่านั้น ที่ทำสิ่งเดิมซ้ำๆ และคาดหวังผลลัพธ์ที่แตกต่าง"

หากต้องการผลลัพธ์ที่แตกต่างควรที่จะสร้างสรรค์วิธีการใหม่ๆ การที่จะสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ สามารถเริ่มได้จากการกำหนดเป้าหมายในสิ่งที่ต้องการ และทำการตั้งคำถามประเภท คงจะดีนะถ้าหาก...? อย่างเป็นอิสระ เมื่อได้กลุ่มคำถามที่มากแล้ว ให้กรองด้วย 3 คำถาม คือ 1.คำถามนั้นมีอิธิพลกับสิ่งที่เป็นเป้าหมายหรือไม่ (Influence) 2. คำถามนั้นติดขัดกฏระเบียบหรือไม่(Imaginative) 3. คำถามนั้นมีความสำคัญหรือไม่ (Important) เมื่อได้กลุ่มคำถามที่ผ่านการกรองแล้วให้ทำ Gap Analysis เพื่อหาความต่างระหว่าง Ideal กับ Actual จากนั้นให้ลูกน้องเติมเต็มช่องว่างจากการหาไอเดียใหม่ ๆ และผู้บริหารให้การสนับสนุนในการลงมือทำ

หัวข้อ Attitude-Mindset of EGAT Leaders

ผู้บริหารคือผู้จัดการเรื่องงาน ผู้บริหารสามารถจัดการงานได้ดี อาจไม่สามารถเป็นผู้นำได้ แต่การเป็นผู้นำที่ดีจะต้องเป็นผู้บริหารที่ดีได้ด้วยคนเป็นผู้นำควรมีความรู้ด้านงบประมาณ และสามารถการคาดการณ์ปัญหาของสังคมได้ล่วงหน้า เช่น ไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กลุ่มวัยรุ่นกำลังมีปัญหาเรื่องใดบ้าง สำหรับ Mindset ในอนาคตของคนไทยควรจะมี Mindset เรื่อง Conflict of Interest ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในอนาคต


Coaching

การ Coach จะพาคุณจากจุดที่คุณเป็นอยู่ ไปสู่จุดหมายของคุณ โดยการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ที่ถูก Coach โดยมีความเชื่อว่าคนทุกคนมีความดีงาม มีความสามารถ และมีศักยภาพ อยู่ในตนเองเสมือนมีไพ่ 52 ใบ มาตั้งแต่แกิด แต่ต่อมาเลือกทิ้งไปที่ละไป ตามภาวะแวดล้อม หรือสถานการณ์ที่ไม่เอื้อให้แสดงความสามารถนั้นๆ (ที่เคยถูกทิ้งไป) ออกมา


กิจกรรมวิจารณ์หนังสือ

เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่ามาก กิจกรรมนี้ทำให้ผู้นำเสนอ จะต้องมีความเข้าใจในเรื่องที่อ่าน ซึ่งเป็นหัวข้อที่เลือกมาแล้วว่าเกี่ยวข้องกับงานของผู้ที่จะเป็นผู้นำ เมื่อต้องนำเสนอ จะมีประเด็นที่จะต้อง Discuss ว่าจะสามารถประยุกต์กับ กฟผ. ได้อย่างไร ทำให้ขบวนการทางความคิด วิเคราะห์ครบถ้วน (2R’s) สำหรับผู้ฟังนั้น จะสามารถตั้งคำถามหรือ Discuss ได้นั้นจะต้องเข้าใจในประเด็นดังกล่าวและมีการคิดวิเคราะห์ จึงจะสามารถตั้งประเด็นคำถามหรือแสดงความคิดเห็นได้

สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณ Chira Academy เป็นอย่างสูงที่ได้มอบความรู้อันทรงคุณค่าและจำเป็นสำหรับผู้บริหารที่จะต้องเป็นผู้นำในอนาคต

นายพนม บวรวงศ์เสถียร ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายจัดการโรงไฟฟ้าแม่เมาะ-บริหาร EADP รุ่น13 กลุ่ม5

สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ในการทำงานเรื่อง Creative & Innovation Thinking

อัลเบริต์ ไอน์สไตน์ อัจฉริยะบุรุษโลก ได้กล่าวว่า

“ความฟั่นเฟือน คือการทำสิ่งเดิมๆซ้ำๆและคาดหวังว่าจะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างๆ”

- ดังนั้นในการแก้ปัญหาหากเราหวังผลลัพธ์ที่ต่างไปจากเดิมจึงไม่ควรคิดหรือใช้วิธีการแบบเดิมๆ

ความคิดสร้างสรรค์ Creative คือ คิดต่างไปจากเดิม

นวัตกรรม Innovation คือ เอาความคิดที่ต่างไปจากเดิมมาทำให้ได้ผลลัพธ์ตามที่คิด

ผู้บริหาร ควรทำหน้าที่หาธงที่ต่างไปจากเดิมอาจจะเริ่มจากคำว่า มันคงจะดีนะถ้า............ และให้ลูกน้องคิดหาวิธีทำ โดยต้องเปิดโอกาสให้คิดอย่างอิสระถึงแม้ว่าตนเองจะมีความคิดอยู่ในใจแล้วต้องเก็บไว้ก่อนปล่อยให้ลูกน้องคิดเสนอก่อน ในการเสนอความคิดทุกอย่างเป็น DIVERGENT THINKING เอามาทั้งหมดอย่าตัดทิ้ง แล้วผ่านกรอง 3 ตะแกรงคือ

1.Influence หมายถึง เรามีอิทธิพลต่อเรื่องนี้หรือไม่

2. Imaginative หมายถึงเรื่องที่ผ่านมาจากตระแกรงแรก เปิดโอกาสให้เราใช้จินตนาการใหม่ ๆ หรือไม่ เช่น กฎหมาย

3. Important หมายถึงเป็นเรื่องที่สำคัญหรือไม่

ให้คะแนนน้ำหนักความเป็น IDEAL และ ACTUAL แล้วนำมาพิจารณาสิ่งที่เป็น GAP ให้คิดวิธีทำและใช้เวลาให้เยอะ

สิ่งที่เรียนรู้และนำไปปรับใช้ในการทำงาน เรื่อง ATTITUDE & MINDSET ที่ อ. วิชา มหาคุณ และคุณหญิงทิพาวดี กรุณาเล่าประสบการณ์ของท่านถือเป็นเกียรติและเมตตาอย่างสูง ท่านให้ข้อคิดว่าระบบการทำงานต่อไปในโลกจะเป็นการทำงานด้วยจริยธรรม มโนสำนึกด้วยตัวเอง ไม่ใช่ข้อบังคับและ ต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างเป็น ROLE MODEL ที่ดี

ATTITUDE เป็นแนวทางท่าทีที่เรา APPROCHเป็นบวก เอาใจเราไปใส่ตัวเขามีเมตตามองโลกที่กว้าง

MINDSET เป็นความดีที่เป็น SET กรอบกระบวนความคิดไม่ได้เป็นชิ้นๆแบบ ATTITUDE

  • ผู้นำที่ดีต้องมีความกล้าหาญ ไม่ตามใจ ต้องกล้าถกเถียงเพื่อองค์กรด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง จริงใจและเป็นมืออาชีพ ต้องเคารพคุณค่าของความเป็นมนุษย์เท่ากันอย่างเสมอภาค กตัญญูรู้คุณผู้อื่นในที่ถูกต้อง รักษาเกียรติ เสียสละและให้อภัย ที่สำคัญ FORGIVE BUT NOT FORGET.

สิ่งที่ได้เรียนรู้ เรื่องการ COACHING จาก อ.พจนารถ ซีบังเกิด ถือว่าได้ความรู้อย่างที่ไม่เคยเรียนรู้มาก่อน ว่าการเป็น COACH ต้องทำอย่างไร COACH ที่ดีต้องมี MINDSET

  • 1.ต้องเชื่อว่าคนมีศักยภาพ
  • 2.สิ่งที่เห็นไม่ใช่ทั้งหมดที่เป็น
  • 3.คนทุกคนเปลี่ยนแปลงได้
  • 4.ในชีวิตไม่มีความล้มเหลวแต่มันคือการไม่ได้รับ FEEDBACK

ความกลัวมี 3 แบบ

  1. FEAR NOT GOOD ENOUGH
  2. FEAR NOT LOVE
  3. FEAR NOT BELONG TO

****Coach ต้องระวังสมองตัวเองที่พยายามมองคนอื่นเหมือนสิ่งที่เราเชื่อมาก่อนเกิดจากจิตใต้สำนึกที่เป็นลบ ต้องนิ่งและมั่นคงภายใต้ความเงียบให้ได้ “SUCESS WITHOUT FULLFILLMENT IS FAILURE”****

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเสนอโครงการของกลุ่ม

โจทย์ในวันนี้ของ กฟผ. คือ ทำอย่างไรจึงได้รับการยอมรับและเป็นที่เชื่อมั่นของสังคม ที่ ได้เห็นแนวคิดการนำเสนอ นวัตกรรม เพื่อให้ กฟผ. ก้าวไปข้างหน้า โครงการบ้าน ห้วยหาด START UP เป็นเรื่องที่ท้าทายเกี่ยวกับงาน CSR กฟผ. ในวันข้างหน้า

นายทิเดช เอี่ยมสาย กลุ่ม 6

สาระสำคัญในวันที่ 7 – 9 มิถุนายน 2560

จาก คำกล่าวของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตล์ ที่ว่า Insanity doing in the same thing over and over again and expecting different results. ความฟั่นเฟือนคือการทำสิ่งเดิมครั้งแล้วครั้งเล่าแต่หวังผลที่แตกต่างไปต่างจากเดิม

เป็นคำกล่าว ที่ผมได้พูดกับน้องๆ ในที่ทำงานเสมอ ถึงการเปลี่ยนแปลง ในตัวเองที่จะสร้างมูลค่าของตัวเอง ให้เพิ่มมากขึ้น การที่เราทุกคนจะทำงานในรูปแบบเดิม แล้วต้องการให้ผู้บริหารเห็น ความโดดเด่นของเราได้นั้น เราต้องมีความแตกต่างออกมาในวิธีการใหม่ด้วย

จากการเรียน Life Coach ของอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด ในหลักสูตรของอาจารย์ การเรียนรู้เข้าไปที่ตัวตนของตนเอง เพื่อให้เห็นธาตุแท้ ของตนเอง ที่อยู่ลึกลงไปในจิต ซึ่งธาตุเหล่านี้ จะส่งผลต่อ ความคาดหวัง ความรู้สึก และแสดงออกมาเป็นพฤติกรรม ถ้าเข้าใจตัวตนที่แท้จริงแล้ว สามารถปรับพฤติกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของตัวตนที่แท้จริงนั้นได้

แต่ถ้ามองในมุมของ พุทธศาสนา ที่มนุษย์เรานั้น ประกอบด้วย รูปธรรม (ได้แก่ ร่างกาย ที่ประกอบด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ หรือเรียกว่า รูปขันธ์) และนามธรรม (ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์) ที่พระพุทธองค์ สอนให้มีการเรียนรู้ ตัวเราเอง จนเกิดปัญญา ก็จะค้นพบ ว่าตัวตนที่แท้จริง ไม่มีตัวเรามาตั้งแต่ต้น

แต่ที่ยังมีเราอยู่ตลอดเวลา เพราะมีสัญญาขันธ์ ที่ยังวิปลาสอยู่ ว่าขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นตัวเรา เป็นของดี เป็นของวิเศษ ที่จะนำสุขมาให้ จึงยึดติดว่าเป็นตัวเรา ทำให้ความมีตัวตนเหล่านี้ จึงวนเวียนไม่รู้จักจบสิ้น

ดังนั้น การเริ่มการเรียนรู้ ตนเองน่าจะดีที่สุด เพื่อที่ดึงศักยภาพในการใช้ชีวิต ให้สูงมากขึ้น หรือถ้าเรียนรู้นั้นเกิดปัญญา ถึงขั้นหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้ก็ยิ่งดีใหญ่

ภักดี ปฏิทัศน์ EADP 13 กลุ่ม 4

ช่วงที่ 5 7-9 มิ.ย. 2560

1.Creative Thinkingกับการพัฒนางาน กฟผ.

  • อัลเบิร์ต ไอน์สไตล์ กล่าวว่า"ควานฟั่นเฟือน คือ การกระทำแบบเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่าแต่หวังจะได้ผลลัพท์ที่แตกต่างไปจากเดิม"ในความเป็นจริงการกระทำเเบบเดิมต้องได้ผลแบบเดิม ดังนั้นต้องเปลี่ยนวิธีทำใหม่เพื่อที่จะได้ผลที่แตกต่างออกไป
  • กิจกรรมที่ 1 การรู้จัคนในรูปแบบที่แตกต่างจากเดิม ผลที่ได้ ทำให้เราจำคนนั้นได้แม่นขึ้น ซึ่งเป็นการพิสูจน์หลักการของไอน์สไตล์ คือวิธีการใหม่จะได้ผลที่แตกต่าง
  • กิจกรรมที่ 2 การหาธงหรือเป้าหมายที่เป็นไปได้ ทำได้ โดยเริ่มจาก Brainstorming โดยไม่ตัดความคิดใดๆออกเลย แล้วใช้ตัวกรอง 3 สิ่งคือ

1.Influence เรามีอิทธิพลต่อเรื่องนี้หรือไม่

2.Imagination เปิดโอกาสให้ใช้จินตนาการใหม่ๆโดยไม่มีกฏระเบียบปิดกั้นหรือไม่

3.Important สำคัญหรือไม่

ต่อมาหาGap โดยให้คะแนน 2 ส่วนคือ Ideal(คะแนนมุ่งหวัง) Actual(คะแนนความจริงที่เป็นอยู่) นำIdeal-Actual จะได้Gap เป็นการจัดPriorityว่าธงไหนทำได้ยากง่ายต่างกันและธงไหนควรทำก่อน ผู้บริหารต้องกำหนดธงหรือเป้าหมาย แล้งให้ลูกน้องคิดหาวิธีเติมเต็ม Gap โดยผู้บริหารให้การสนับสนุน

2. Attitude-Mindset of EGAT Leaders

  • ศาสตราจารย์(พิเศษ) วิชา มหาคุณ : มีความคิดที่ว่า ควรให้โอกาสคนเสมอ โดยเฉพาะคนติดคุก ท่านคิดว่า คนทุกคนสามารถปรับเปลี่ยน Mindset ได้ ถ้าได้รับการชี้นำอย่างถูกต้อง
  • คุณหญิง ทิพาวดี เมฆสวรรค์ : Attitudeคือ การแสดงความคิดที่ออกเป็นท่าที ผู้นำต้องมีท่าทีที่ดีคือ Good Attitude มีเมตตาต่อคน มองให้กว้าง ส่วน Mindset เป็นกรอบของความคิด ซึ่งพัฒนาปรับเปลี่ยนได้

3. Life Coach for Happiness and Success

  • Coaching คือการพาคนจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ตามเป้าหมายที่ต้องการ การโค้ชผู้บริหารเพื่อต้องการ Performance แต่ Life Coach คือการFullfillชีวิตให้สมบูรณ์ขึ้น
  • ผู้ที่เป็นCoachจะต้องมีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพมากกว่าสิ่งที่เห็น สิ่งที่เป็น ต็องทำให้รู้สึกว่ามั่นคงภายใต้ความเงียบ ต้องเรียนรู้ด้านจิตวิทยา เช่น การสังเกตุสายตา มองด้านบนคือVisual Recall มองด้านข้างคือ Audio Recall มองด้านล่างคือ Self Talk(กำลังคิดโกหกอยู่) จะทำให้รู้ว่าผู้ที่คุยอยู่ด้วยมีสถานะอย่างไร ได้ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง
นายกนก ตั้งพูลผลวนิชย์ ช.อฟอ-ห. กลุ่มที่ 3

สรุปประเด็นช่วงที่ 5 ระหว่างวันที่ 7-9 มิ.ย. 2560

Creative & Innovative Thinking (ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม)

  • ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
  • อัลเบิร์ต ไอน์สไตล์ กล่าวว่า Insanity :doing in the same thing over and over again and expecting different results.
  • ความฟั่นเฟือนคือการทำสิ่งเดิมครั้งแล้วครั้งเล่าแต่หวังผลที่แตกต่างไปต่างจากเดิม
  • อยากเห็นผลลัพธ์แบบเดิมแต่ทำแบบเดิมเสมือนว่าฟั่นเฟือน ดังนั้นอยากให้ผลลัพธ์เปลี่ยนต้องเปลี่ยนวิธีการที่ต่างไปจากเดิม
  • สิ่งที่ได้เริ่มมาจากการที่เราทุกคนมีเป้าหมายที่อยากเห็นต่างไปจากเดิม
  • ความคิดสร้างสรรค์ คือการคิดต่างไปจากเดิม
  • นวัตกรรม คือการนำความคิดมาลงมือทำแล้วทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ต่างไปจากเดิม
  • การที่จะสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ สามารถเริ่มได้จากการกำหนดเป้าหมายในสิ่งที่ต้องการ และทำการตั้งคำถามประเภท คงจะดีนะถ้าหาก...? อย่างเป็นอิสระ เมื่อได้กลุ่มคำถามที่มากแล้ว ให้กรองด้วย 3 คำถาม คือ
  • 1.คำถามนั้นมีอิธิพลกับสิ่งที่เป็นเป้าหมายหรือไม่ (Influence) 2.คำถามนั้นติดขัดกฏระเบียบหรือไม่ (Imaginative) 3.คำถามนั้นมีความสำคัญหรือไม่ (Important) เมื่อได้กลุ่มคำถามที่ผ่านการกรองแล้วให้ทำ Gap Analysis เพื่อหาความต่างระหว่าง Ideal กับ Actual จากนั้นให้ลูกน้องเติมเต็มช่องว่างจากการหาไอเดียใหม่ ๆ และผู้บริหารให้การสนับสนุนในการลงมือทำ
  • Attitude-Mindset of EGAT Leaders
  • การบริหารแบบใหม่ การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ มีแผนงาน กำหนดเป้าหมาย การนำแผนไปปฏิบัติ เกิดการสร้างวัฒนธรรมใหม่
  • Attitude คือความคิดที่แสดงออกมาเป็นท่าที ซึ่งเป็นวิธีการที่ Approach ของแต่ละคนที่จะมีท่าทีที่บวกหรือลบขึ้นอยู่กับ Attitude ของคน
  • Mindset เป็นกรอบ หรือ Theory ของความคิด ดังนั้นในทฤษฎีการพัฒนาผู้นำจึงพูดว่าให้ทำ Mindset เป็น Growth Mindset คือ Mindset ที่พัฒนาไปเรื่อย ๆ แม้ว่ามีความเชื่ออะไรก็ตาม แต่ให้นำความคิดความเชื่อผสมไปสู่การเป็นนักพัฒนา แล้วความคิดจะพัฒนาขึ้นไป
  • Coaching
  • Coaching เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างโค้ชและผู้ได้รับการโค้ช เพื่อกระตุ้นและจุดประกายความคิดด้วยกระบวนการที่สร้างสรร เพื่อให้ผู้ได้รับการโค้ชเกิดแรงบันดาลใจในการที่จะนำเอาศักยภาพและความสามารถที่ถูกบดบังหรือซ่อนอยู่ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • The Wheel of Life “Success without the art of FULFILLMENT is s failure”
  • TAPS Model , Leader as Coach
  • กิจกรรมวิจารณ์หนังสือ ชุด On Collaboration
  • High Performance Organization ต้องมี 4 C ดังนี้
  • 1. Coordination การประสานงาน 2. Cooperation ความร่วมมือดำเนินงาน 3. Capability Development การพัฒนาขีดความสามารถ 4. Connection มีเครือข่าย
  • เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าและมีประโยชน์มาก ทำให้ทุกคนจะต้องอ่านทำเข้าใจในเรื่องที่อ่าน ซึ่งเป็นหัวข้อที่เลือกแล้วว่าเกี่ยวข้องการเป็นผู้นำ ให้มีการนำเสนอในประเด็นที่จะสามารถประยุกต์กับ กฟผ. ได้อย่างไร
  • EADP13 ดีใจมากที่ได้มาพบและรู้จักเพื่อน พี่และน้อง อบรมร่วมรุ่นเดียวกัน
  • ขอขอบคุณ อ.จิระ หงส์ลดารมภ์ และทีมงาน Chira Academy เป็นอย่างสูงที่ได้มอบความรู้อันทรงคุณค่า และจะนำไปปรับปรุงพัฒนางานหน่วยงานต่อไป


นายกัมปนาท แสงสุพรรณ EADP 13 กลุ่ม 1

ช่วงที่ 5, วันที่ 7 -9 มิถุนายน 2560 ณ ศูนย์ฝึกอบรมบางประกง

1. หัวข้อ Life coach for happiness and success

โดย อาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด

ผู้ก่อตั้ง Jimi the Coach และ Thailand CoachingAcademy

สรุปสาระสำคัญ :

การ Coach คือการหาสิ่งที่ตัวเองชอบ ดังนั้น คนที่เป็น Coach ต้องทำเพื่อคนอื่นและต้องค้นหาให้เขาเจอในพฤติกรรม , ความรู้สึก และคาดหวัง หรือกิเลส เพื่อให้พบตัวตนที่แท้จริง หรือ Happiness เพราะฉะนั้นอย่าตัดสินคนที่พฤติกรรมที่แสดงออกต้องค้นหาตัวตนที่อยู่ในจิตใต้สำนึกให้เจอ

What is coaching : คือการพาคนจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งที่เขาต้องการ โดยทำงานร่วมกันระหว่าง Coach กับผู้ได้รับการ Coach โดยการใช้ทักษะและการสร้างสรรหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้รับการโค้ชรู้ถึงศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง เริ่มจาก

Being ความเป็นตัวตน

Believe ความเชื่อ

Values ค่านิยม

Needs ค่าต้องการหลักของมนุษย์

Fear ความกลัวตนเอง

Coaching vs Counseling

  • Counseling คือ Ask and Problem
  • Managing Counseling คือ Tell and Problem
  • Teaching Mentoring คือ Tell and Solution
  • Coaching คือ Ask and Solution
  • วิธีสร้าง Coaching Coulture

    1. Coaching Mindset

    เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพมากกว่าที่เห็น

    2. Coaching Attitude

    เชื่อว่าเปลี่ยนแปลงได้

    3. Coaching communication style

    ไปข้างหน้า – ข้างหลัง

    4. Coaching leadership & management style

    ต้องมั่นคง , ส่งเสริมและมีวิญญาณของการเป็นโค้ช

    5. Team Coaching

    เปิดโอกาสคิดบวก

    6. Manage on coach of direct report

    ให้เกิดการประเมิน Coach

    2. หัวข้อ People Management and Engagement

    โดย อาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด

    สรุปสาระสำคัญ

    คนเราเคยละเลิกทิ้งพฤติกรรมบางอย่างและเก็บพฤติกรรมบางอย่าไว้ เพื่อค้นหา Who am I จากกิจกรรมไพ่ 1 สำรับ หากใครเหมือนเรา เราก็ชอบ ขณะที่หากต่างจากเรา เราอาจจะไม่ชอบ พฤติกรรมบางอย่างที่เคยทิ้งไปหันมาดู และหยิบขึ้นมาเพื่อใช้แก้ปัญหาได้มองหาสิ่งดีๆ ของคน บางครั้งต้องชมผู้คนบ้าง , แสดงภาษาที่น่ารักบ้าง

    Performance (งาน) = Potential(คน) – Interference(ตัวถ่วง)

    ปัญหาใหญ่ในการ Coaching ไม่ได้คือ การไม่ trust ต้องสร้างความไว้วางใจ หรือเป็น role model ให้คนอื่นดู

    กรณีสัมภาษณ์น้องใบเฟิร์นในรายการ the coach ชีวิตลิขิตได้ทางช่อง Now 26

    คนเราต้องมีเป้าหมายในชีวิต (Wheel of Life) เพื่อให้เกิด Success and Fulfilled เช่นการเงิน , สุขภาพ ,ความรัก , ครอบครัว ,เพื่อน , สภาพแวดล้อม เป็นต้น
  • Life Coaching Competencies

    1. สร้างความสัมพันธ์ (Rapport)

    2) ฟัง (Listen)

    3) ถาม (Ask)

    4) สิ่งที่อยู่ในใจ (Mindset)

    5) Personal Life

    สิ่งที่มาปรับใช้กับการทำงาน

    รู้จักการ Feedback ที่เป็นบวกกับผู้ฟัง และนำมาใช้กับการบริการคนการคิดในแง่บวก (Positive Thinking) การเป็น Coaching ที่ดีไม่ง่าย ต้องหมั่นฝึกฝนและเรียนรู้เทคนิคต่างๆอยู่ตลอดเวลา เข้าใจในพฤติกรรมที่แสดงออกอาจไม่ใช่ Attitude หรือ Mindset ของตัวเขาการรับฟังความคิดเห็นและสร้าง Trust เป็นเรื่องสำคัญก่อนการ Coaching

    3. หัวข้อ Creative & Innovation thinking กับการพัฒนางานของ กฟผ.

    โดย อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

    CLO (Chief Learning officer )

    บริษัท กบเหลาดินสอ จำกัด

    สรุปสาระสำคัญ

    ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม อาจเกิดจากความฟั่นเฟือนจนเกิดผลที่แตกต่างจากเดิม อยากให้ผลลัพธ์เปลี่ยนต้องเปลี่ยนวิธีการที่ต่างจากเดิม

    ดังนั้น ความคิดเชิงสร้างสรรค์ คือ การคิดต่างไปจากเดิม

    ส่วน นวัตกรรม คือ การนำความคิดมาลงมือทำให้เกิดอะไรที่แตกต่างจากเดิม เกิดจากเป้าหมายที่ตั้งใจให้แตกต่างจากเดิม

    Innovation Leader ต้องเปิดโอกาสให้ลูกน้องคิดค้นไอเดียใหม่ๆ โดยผสมผสานประสบการณ์ของตนมาพัฒนาไอเดียให้มากและดียิ่งขึ้น

    สรุปคือ ผู้บริหารต้องมีการกำหนดที่แตกต่างจากเดิม ทำต่างไปจากเดิม โดยเริ่มจากคิดแบบ Divergent คิดให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ , Convergent กรองออกมาผ่าน 3 ตระแกรง คือ

    1. Influence

    2. Imaginative

    3. Important

    พอได้ธงมาแล้วให้ลูกน้องคิดต่อเติมเต็มช่องว่างและสนับสนุนลงมือทำ ทุกกระบวนการแต่ละขั้นตอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ กฟผ. ได้ เพราะปัจจุบัน กฟผ. มีคนหลายรุ่น (Diversity genneration) ต้องหล่อหลอมกลมกลืนผ่านแนวคิด Creative and Innovation ให้ได้ก่อน

    4. หัวข้อ Attitude Mindset of EGAT leaders

    โดย ศาสตร์ตราจารย์ (พิเศษ) วิชา มหาคุณ

    คุณหญิงทิภาวดี เมฆสวรรค์

    สรุปสาระสำคัญ

    การบริหารแบบดั้งเดิมมีอุปสรรคมากในการทำงานเนื่องจากยังคงนำความคิดแบบดั่งเดิมมาใช้ เช่น ยึดมั่นในหลักการ ไม่ยอมคิดอย่างอื่น คิดนอกกรอบไม่เป็น เป็นระบบปิด เป็นต้น โดยที่ระบบการบริการราชการแผ่นดินยังคิดแบบเดิม ต้องมีการยกระดับการบริหาร / การทำงานเป็นทีม , โปร่งใส , ตรวจสอบได้ มีผู้นำต้นแบบ

    ระบบอุปถัมภ์เป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข เพราะเป็นปัญหาเรื้อรังมานาน ต้องให้คนเปลี่ยนทัศนคติมาร่วมมือกันสร้างทุนมนุษย์ให้มีทุนในเรื่องของความดีงามและสั่งสมเป็นความรู้ไว้ให้มาก

    Attitude and Mindset

    Attitude คือ ความคิดที่แสดงออกมาเป็นท่าที มีทั้งบวกและลบ

    Mindset คือ กรอบความคิดความเชื่อ โดยเฉพาะ Growth Mindset จะพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น ผู้นำต้องอยู่บนพื้นฐานของ Attitude and Mindset ที่มีอยู่ และต้องมีคุณลักษณะของผู้นำที่พึงปราถนา โดยเฉพาะต้องเก่งคน , ซื่อสัตย์ , กล้าหาญ , จริงใจและมีน้ำใจ , คิดทางบวก , ยุติธรรม , เคารพในความเป็นมนุษย์ เป็นต้น

    สิ่งที่นำมาปรับใช้กับการทำงาน

    ภาวะผู้นำเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของการบริหารงานทั้งเนื้อหา และบุคลากร ดังนั้นผู้นำต้องมีคุณลักษณะที่พึงปราถนาเป็นผู้นำที่ต้องเก่งคน เก่งงาน , มีความยุติธรรม , ซื่อสัตย์ และอีกหลายๆ เรื่อง เพื่อนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจไว้

    ในที่สุดนี้ต้องขอขอบคุณทีมงานของอ.จีระ และอาจารย์ทุกท่านที่มาประสิทธิ์ประสาทอาวุธด้านวิชาความรู้ให้กับพวกเราทุกคนได้เป็นอย่างดี และสามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานให้องค์กรเติบโตต่อไป

นายชัยโรจน์ ปานพรหมมินทร์

สรุปบทเรียนที่ได้เรียนรู้ วันที่ 7 8 9 มิ.ย. 2560

1. Creative & Innovation Thinking กับการพัฒนางานของ กฟผ.

บรรยายโดย อ. ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

สำหรับ สามคำของชื่อหลักสูตร สามารถประกันผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพได้แน่นอน กลวิธีที่จะค้นหาวัตถุประสงค์ที่สร้างสรรค์โดยใช้ ตะแกรง 3 I (Influence Imaginative and Important) และ Gap analysis เป็นแนวทางที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานใน กฟผ. สำหรับการมองหาธุระกิจใหม่ของแต่ละสายรองได้

- ถ้าต้องการผลลัพธ์ที่แตกต่างจากเดิมจะต้องใช้วิธีการที่ไม่เหมือนเดิม

- ความคิดที่สร้าสรรค์คือความคิดที่ต่างจากเดิม

- Divergent Think.

2. Attitude Mindset of EGAT Leaders.

บรรยายโดย ศ. วิชา มหาคุณ, คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

- ผู้นำต้องมีพื้นฐาน Attitude and Mindset ที่ดี ต้องกระตุ้นตัวเองตลอดเวลาเพื่อจะได้ไปกระตุ้นลูกน้องต่อไปอีก และ มีความรู้ความสามารถ ที่จะหยั่งรู้อนาคตได้พอควร

- วินัย คือการปลูกฝังให้ทำอะไรๆที่เหมือนกัน ซึ่งจะเป็นไปไม่ได้ทั้งหมด แต่การทำให้เกิดมโนสำนึกที่เหมือนกันจะสามารถผลักดันให้ทำอะไรที่เหมือนกันได้ทั้งหมด

- ความรู้สึกไม่ภาคภูมิใจจะสร้างปัญหาให้กับสังคม

- โปร่งใส เปิดเผย ตรวจสอบได้ ทำให้เกิดความรู้สึกสบายใจ

- เด็กหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีปัญหา ต้องคิดว่าเขาเป็นคนป่วยไม่ใช่ผู้ต้องหา จะต้องได้รับการรักษาหรือดูแลแก้ไข

3. Life coach for happiness and success.

บรรยายโดย อ. พจนารถ ซีบังเกิด

- ความสุข มีเมื่อเราเอาสิ่งที่เราแบกออกไป ดังนั้นเราจะต้องรู้ว่าสิ่งที่เราแบกอยู่คืออะไรก่อน จึงจะสามารถขจัดสิ่งที่เราแบกโดยไม่รู้ตัวออกไปได้

- Coaching คือการนำพาคนไปหาตัวตนที่แท้จริง ทำเกิดความสำเร็จที่อิ่มเอม (Success and Fulfill)

- Wheel of life ดุลภาพ 8 ประการสำหรับการดำเนินชีวิต การเงิน สุขภาพ ครอบครัวและเพื่อน ความรัก การเติบโตของตนเอง การพักผ่อนบันเทิง สภาพแวดล้อม งานและธุรกิจ

- Tell Ask Problem Solution (TAPS) 4 หลักการสำคัญของ Counseling, Managing Consulting, Teaching Mentoring and Coaching.

  หลักการ coaching ที่ได้เรียนรู้นับเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งสำหรับการทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้บริหาร ทุกระดับชั้น
พงษ์สิทธิ์ ศิริฤกษ์อุดมพร กลุ่ม 6

ช่วงที่ 5

วันที่ 7-9 มิถุนายน 2560

สรุปประเด็นสำคัญจากการเรียนรู้


1. หัวข้อ Creative & Innovative Thinking กับการพัฒนางานของ กฟผ . : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน

โดย อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

CLO (Chief Learning Officer) บริษัทกบเหลาดินสอ จำกัด

1.1 การพัฒนานวัตกรรม มีวิธีการ 3 ขั้นตอนหลักๆ คือ

- ตั้งเป้า(ปักธง) โดยการปักธงให้ชัดเจน การตั้งเป้าต้องต่างจากเดิม ดีกว่าเดิม พัฒนาขึ้นมากกว่าเดิม

- คิด(คิดต่าง) ต้องคิดให้ต่างจากเดิม หาไอเดียใหม่ๆที่ไม่เหมือนเดิม

- ปฏิบัติ(ทำต่าง) ต้องทำด้วยวิธีการใหม่ๆที่แตกต่างไปจากเดิม

1.2 การกรองสิ่งที่คิด ประกอบด้วย 3 I คือ Influence , Imaginative , Important

- Influence เรามีอิทธิพลต่อเรื่องนี้หรือไม่ เราเกี่ยวข้องและสามารถทำได้โดยตรงหรือไม่

- Imaginative จินตนาการ เปิดโอกาสให้เราใช้จินตนาการใหม่ ๆ หรือไม่

- Important สำคัญมากน้อยแค่ไหน


2. หัวข้อ Attitude-Mindset of EGAT Leaders

โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชา มหาคุณ

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

2.1 ศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชา มหาคุณ

2.1.1 การบริหารแบบดั้งเดิม

- ติดยึดแนวคิดเดิมๆ คือยึดเสถียรภาพ ยึดมั่นในหลักการ

- ไม่ยอมคิดอย่างอื่น

- คิดนอกกรอบไม่เป็น

- ทุกอย่างขึ้นอยู่กับผู้นำ รอผู้นำ ไม่ช่วยกันคิด

- รอการสั่งการ รอคำสั่ง

- เป็นระบบปิด ไม่เข้าถึงประชาชนในรูปแบบธรรมาภิบาล

2.1.2 การบริหารสมัยใหม่

- การปรับ Attitude&Mind Set

- มีการแข่งขัน , มีทางเลือก

- กำหนดมาตรฐาน การใช้จ่ายคุ้มค่าเงิน

- สุภาพอ่อนน้อม

- เต็มใจช่วยเหลือกัน

- การให้ข่าวสาร

- การบริหารจัดการเรื่องคุณภาพ (TQM)

2.2 คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ สรุปเรื่อผู้นำที่ดีไว้ดังนี้

1. ต้องเก่งงบประมาณ

2. เก่งบริหารคน

3. ซื่อสัตย์สุจริต

4. กล้าหาญ

5. รู้เขารู้เรา

6. ทำข้อจำกัดให้เป็นจุดแข็ง

7. ยุติธรรม

8. จริงใจ มีน้ำใจ

9. เคารพในความเป็นมนุษย์ทุกคน

10. เสียสละ

11. มั่นใจในตนเอง(รู้จักตนเอง และมีสติ)


3. หัวข้อLife Coach for happiness and success

โดย อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

ผู้ก่อตั้ง Jimi The Coach และ Thailand Coaching Academy

3.1 Coaching คือ การพาคนจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งในส่วนที่เขาต้องการ

การโค้ชเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างโค้ชและผู้ได้รับการโค้ช เพื่อกระตุ้น และจุดประกายความคิด ด้วยกระบวนการที่สร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้ได้รับการโค้ช เกิดแรงบันดาลใจในการที่จะนาเอาศักยภาพและความสามารถที่ถูกบดบังหรือซ่อนอยู่ ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3.2 Coaching เพื่อ 2 รูปแบบ

- Performance เป็นเรื่องาน เพื่อให้คนที่ถูก coach ค้นหาศักยภาพตัวเอง เพื่อให้งานสำเร็จลงได้

- Personal เป็นเรื่องส่วนบุคคล เพื่อให้คนที่ถูก coach ค้นพบตัวเองว่าตัวตนของตัวเองคืออะไร จุดอ่อนตัวเอง จุดแข็งตัวเอง เพื่อนำไปสู่การยอมรับตัวตน และการปรับตัวเอง

ถ้าเราค้นพบตัวตน(Personal)ที่แท้จริงได้ จะนำไปสู่การพัฒนางาน (Performance )ได้ไม่ยาก

3.3การนำไป Coachingปรับใช้ใน กฟผ .

- ผมยอมรับการได้เรียนรู้กับอาจารย์จิมมี่ เป็นวิชาที่ดีมากๆ เพิ่งรู้ความหมายที่แท้จริงของ Coaching ว่าไม่ใช่การสอนงาน แต่เป็นการสอนคนให้รู้จักตัวตน เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานในที่สุด ซึ่งคือแก่นแท้จริงของคำว่า Coaching

- กฟผ.ต้องให้ความรู้ที่แท้จริงเรื่อง Coaching ตามแนวของอาจารย์จิมมี่ ซึ่งอาจจะมีหลักสูตรนี้กับผู้บริหารระดับสูง โดยจ้างอาจารย์จิมมี่สอนโดยตรง โดยเน้นที่ระดับผู้อำนวยการฝายขึ้นไป

- กฟผ.กำหนดเส้นทางทาง วิธีการนำหลัก Coaching มาใช้มีตัววัดความสำเร็จให้ชัดเจนขึ้น

-------------------------------

สุธีร์ พร้อมพุทธางกูร กลุ่ม 6

การบ้าน 5 วันที่ 7-9 มิถุนายน 2560

Creative & Innovative Thinking กับการพัฒนางานของ กฟผ. : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน โดย อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ หากอยากได้ผลลัพธ์ต่างไปจากเดิม ก็ต้องหาวิธีการที่ต่างไปจากเดิม โดยการคิดหาวิธีการที่ไม่เหมือนเดิม แล้วลงมือทำ หากผลที่ได้ไม่เหมือนเดิม มีประโยชน์ มีมูลค่าเพิ่ม นั่นหมายถึงได้นวัตกรรมใหม่

การนำไปใช้กับการทำงาน แนะนำผู้ใต้บังคับบัญชา ให้มีความกล้าที่จะคิดต่างจากเดิม นำเสนอและทดลองทำ ในฐานะผู้บังคับบัญชาต้องคอยสนับสนุน แม้จะไม่สำเร็จบ้าง ก็ต้องให้โอกาส ไม่ยับยั้ง

Attitude– Mindset of EGAT Leaders

โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชา มหาคุณ,

สิ่งที่ได้เรียนรู้ การบริหารงานระบบเดิม คือ ทำตามคำสั่ง ขึ้นกับผู้นำ ไม่คิดนอกกรอบ เป็นปัญหามากในปัจจุบัน การทำงานเป็นทีมเป็นเรื่องสำคัญมาก คนไทยยังมีปัญหาในเรื่องนี้ การทำงานในปัจจุบันต้องเป็นระบบเปิด คือสามารถตรวจสอบได้ โดยเฉพาะผู้นำต้องทำตัวเป็นตัวอย่าง

การนำไปใช้กับการทำงาน ในการทำงานต้องพยายามคิดให้กว้าง โดยใช้ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นกำแพงพิง พยายามทำงานเป็นทีม และเป็นตัวอย่างที่ดีให้ผู้ต้บังคับบัญชา

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ ความคิดแสดงออกได้ทางหน้าตา ดังนั้นไม่ว่ากำลังคิดอะไร หากอยู่ต่อหน้าผู้อื่น ให้ยิ้มตลอดเวลา

ผู้นำที่ดี จะต้องมีความมั่นใจ ตื่นรู้ตลอดเวลา มีความรู้ทั้งเรื่องงานและงบประมาณ มองการณ์ไกลๆ ซื่อสัตย์ มีความกล้า มีความยุติธรรม มีน้ำใจ มีศักดิ์ศรี เคารพความเป็นมนุษย์ เสีสละ และรู้จักให้อภัย

การนำไปใช้กับการทำงาน การเป็นผู้นำที่ดี ต้องมีเกียรติ ต้องคิดบวก และพัฒนาตลอดเวลา

Life coach for happiness and success โดย อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

สิ่งที่ได้เรียนรู้ การ Coach ไม่ใช่การสอนให้ทำ แต่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง Coach กับ Coachee เพื่อกระตุ้นและจุดประกายความคิดอย่างสร้างสรรค์ ให้ Coachee สามารถนำเอาศักยภาพและความสามารถที่ถูกบดบังมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การนำไปใช้กับการทำงาน เราต้องมีความเชื่อในตัวบุคคลที่เราจะ Coach ก่อน แต่หากจะต้อง Coach ผู้ใต้บังคับบัญชาจริงๆ ความรู้ขณะนี้ยังไม่พอ ต้องอบรมเพิ่ม

นายอนุสรณ์ สุขศรี ช.อรม-2. กลุ่มที่ 5

Creative & Innovative Thinking กับการพัฒนางานของ กฟผ. : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน

โดย อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ

สิ่งที่ได้เรียนรู้Creativity คือ การคิดต่าง ไปจากเดิม Innovation คือการนำความคิดมาลงมือทำแล้วให้ผลลัพธ์ที่ต่างไปจากเดิมถ้าอยากเห็นผลลัพธ์ที่แตกต่างไปจากเดิม ต้องหาวิธีการทำใหม่

การเป็น Creativity Innovation Leader ต้องแฝงความยืดหยุ่น ยอมให้ลูกน้องคิดสร้างสรรค์ ดีกว่าคิดเองเพราะเค้าอยู่หน้างาน และใช้ประสบการณ์ของเราตัดสินหรือช่วยเหลือDivergent Thinking Into O.F โดยใช้แนวคิด ถ้าทำอย่างนั้น, มันจะดีกว่าไหม,มันจะดีถ้าหากว่าสร้างสรรค์ความคิดและใช้3I กรอง ( Influent,imagination. Important) เทคนิคการหาความสำคัญ Gap Anaysis โดยเทียบ Ideal&Actual

สามารถนำไป Create ความคิดใหม่ๆและจัดลำดับสิ่งที่ควรจะทำ ให้กับองค์กรในสภาวการณ์ต่างๆ


Attitude– Mindset of EGAT Leaders

โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชา มหาคุณ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ ศ.(พิเศษ) วิชา มหาคุณ การบริหารแบบเก่าและแบบใหม่ต่างกันอย่างไร ข้อดีและข้อเสียของการบริหารทั้งสองแบบ เช่นการบริหารแบบใหม่ มีการกระจายอำนาจในการตัดสินใจ มีประชาชนเป็นเจ้าของ บริการมีคุณภาพดีขึ้น ส่วนการบริหารแบบเก่า การตัดสินใจอยู่กับผู้นำ รัฐเป็นเจ้าของ ก่อให้เกิดความเครียดการบริหารแนวใหม่ต้อง กำหนดเป้าหมาย จัดทำแผน สร้างวัฒนธรรมใหม่ แสดงผลกระทบ การนำแผนไปปฏิบัติความสามารถเพื่อประสบความสำเร็จ ในการคิดสร้างสัมพันธ์ Attitude คือความคิดที่แสดงออกมาเป็นท่าทีโดยมี Mindset เป็นกรอบซึ่ง Mindset สามารถพัฒนาขึ้นได้เรื่อยๆคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ สิ่งที่ได้เรียนรู้ ความคิดแสดงออกได้ทางหน้าตา ดังนั้นไม่ว่ากำลังคิดอะไร หากอยู่ต่อหน้าผู้อื่น ให้ยิ้มตลอดเวลา ไม่อย่างนั้นจะเกิดความเข้าใจผิดได้การผู้นำที่ดี ต้องมีความมั่นใจ ตื่นรู้ตลอดเวลา รู้ทั้งเรื่องงานและงบประมาณ มองการณ์ไกลๆ มีความซื่อสัตย์ มีความกล้า มีความยุติธรรม มีน้ำใจ มีศักดิ์ศรี รู้จักให้อภัย

สามารถนำหลักการบริหารแบบใหม่ไปปรับใช้ในองค์กร และปรับเปลี่ยน Mindset ให้เพิ่มขึ้นเรื่อย การเป็นผู้นำที่ดี ต้องมีเกียรติ ต้องคิดบวก และพัฒนาตลอดเวลา


Life coach for happiness and success

อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

สิ่งที่ได้เรียนรู้ หน้าที่ Coach ทำเพื่อคนอื่นไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง

วิธีการ Coach ทำอย่างไร Coach ที่ดีจะต้องมีความ

สามารถด้านใดบ้าง เช่น มีภาษา Coach คาเทียร์โมเดลที่อธิบาย

การที่จิตสำนึกแสดงออกมาเป็นพฤติกรรม การชี้ให้เห็นตัวตนต้อง

การอะไรมาเลี้ยง, Top 5 Coaching Impact,Tab Model, Success Without Fulliness is Fail

สามารถนำไปใช้กับการทำงาน Coach เพื่อนร่วมงาน เพื่อแก้ปัญหา

พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเขา

Creative and Innovative Thinking

ทำแบบเดิมๆ แล้วคาดหวังว่าจะได้ผลลัพธืที่แตกต่าง "ฟั่นเฟือน" ผู้นำต้องแฝงความยืดหยุ่น และให้คำแนะนำการทำงานของ กฟผ ต้องฝึกการคิดแบบใหม่ และทำแบบใหม่ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ ที่แตกต่าง การคิดต้องเริ่มต้นจาก Divergent แล้วผ่านการกรองความคิด Influent รวมทั้งต้องมี Imaginative ก่อนที่จะไปคัดว่าเรื่องใดเป็นสิ่งที่สำคัญ Important เมื่อผ่านการคิดที่เป็นระบบ จะทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีคุณภาพ และเกิด Innovation Technology

Attitude Mindset of EGAT Leaders

Mindset ต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ให้นำ Trend ของโลกมาผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ดังนั้นการรณรงค์ให้คนมีความรู้เท่ากับเราเป็นสิ่งที่เราต้องทำ และอย่าดูถูกชาวบ้านต้องไม่กั๊กข้อมูล ไปพูดคุยกับเขา ทำความรู้จักกับเขา ไม่เช่นนั้นจะก่อให้เกิด Mindset ที่ค้านกัน และทำให้เขาไม่มั่นใจที่จะเชื่อเราหรือไม่ สร้างความเข้าใจที่ดี เชื่อว่าระบบ Trust จะเป็นระบบที่ดีที่สร้างความสมานฉันท์และเชื่อได้

สิ่งสำคัญคือ Mindset ของผู้บริหาร อย่ามองคนต่อต้านเป็นศัตรู เพราะเสมือนได้ที่ปรึกษาฟรีต้องขอบคุณเขา ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามต้องคิดรอบคอบ รอบด้าน อย่างคนรอบรู้ เป็นเรื่องป้องกันความเสี่ยง Risk Management ต้องปิดช่องว่างให้หมด เช่น เชิญ NGOs เข้ามาเรียนรู้ร่วมกัน เดินทางไปที่สถานที่ด้วยกัน

สรุปคือขึ้นอยู่กับ Mindset ที่เป็นนโยบายของประเทศต้องการอะไร ทุกอย่างมีคำตอบอยู่ เราต้องหาคำตอบให้เจอ

Life coach for happiness and success

Coaching คิอ ทักษะการใช้ชีวิต การนำคนจากจุดหนึ่งไปยังจุดที่เขาต้องการ คนเรามีศักยภาพที่ซ่อนตัวอยู่

mindset คนเราเปลี่ยนแปลงได้ คงเอาแนวทางนี้มาใช้ในการพัฒนาคนในหน่วยงานบางส่วนที่มีปัญหามาปรับ Mindset เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อตัวของเขาเองก่อน แล้วจะเกิดผลดีต่อหน่วยงานอย่างแน่นอน เพราะถ้าทุกคนมีเป้าหมายของชีวิตในการทำงานแล้วหากได้รับการ Coaching ก็จะสามารถผลักดันให้เกิดความสำเร็จทั้งต่อตนเอง และองค์กร

นายสรวิชญ์ หิมะมาน (กลุ่ม 3)

Creative & Innovative Thinking กับการพัฒนางานของ กฟผ.

หลักคิดสำหรับความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

การตั้งเป้าหมายให้ต่างจากเดิมโดยเริ่มจาก 1.ปักธงว่าผลลัพธ์ต่างจากเดิม 2.คิดหาไอเดียที่ต่างจากเดิม 3.ลงมือทำ เมื่อเทียบกับชีวิตจริงผู้บริหารปักธงแล้วมอบหมายให้ลูกน้องหาไอเดียใหม่ๆ(เพราะมีความสดกว่าอิสระกว่า) จากนั้นก็ลงมือปฏิบัติ

ในส่วนกิจกรรมระดมความคิดที่ให้ "คิดแหลกคิดไม่ยั้ง" ได้หลักคิดที่ว่าเราไม่ควรปิดกั้นความคิดของสมาชิกในทีมควรปล่อยให้ทุกคนระดมความคิดแล้วจึงมาใช้หลักการ 3 I คือInfluenceเรามีอิทธิพลหรือไม่ , Imaginativeคัดกับกฏระเบียบหรือไม่และสุดท้ายImportantมีความสำคัญมากขนาดไหนจากนั้นจึงทำGapAnalysisเพื่อสรุปช่องว่างระหว่างIdealกับActual

Attitude-Mindset of EGAT Leaders

หลักคิด 1. ความคิดของคนที่เจริญแล้วคือการให้โอกาสคนเสมอ (การให้อภัย)

2. ผู้นำที่ดีต้องมีAttitudeที่ดีให้มองเป็นบวกส่วนMindsetที่ดีสามารถพัฒนาได้ตลอด

3. หลักการเป็นผู้นำที่ดีรอบรู้มองอนาคตจัดระบบความคิดได้ซื่อสัตย์จริงใจเคารพความเป็นมนุษย์ยุติธรรมกตัญญูมีศักดิ์ศรีเสียสละให้อภัย

Life Coach for happiness and success

TheWheelofLife1. การเงิน2. สุขภาพ3. ครอบครัวและเพื่อน 4. ความรัก5. การเติบโตของตนเอง6. การพักผ่อน/บันเทิง7. สภาพแวดล้อม8. งาน/ธุรกิจ

HBR’s 10 Must Reads on Collaboration

  • การสร้างองค์กรแห่งความร่วมมือ (Collaborative Enterprise) : shared purpose / Ethic of Contribution / Instituting Interdependent process / Creating a Collaborative Infrastructure
  • ำไมต้องเป็นผู้นำแบบใช้ความร่วมมือ? 1.ต้องสามารถที่จะทำงานร่วมมือและประสานกับบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร 2. ต้องมีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ 3. ต้องรู้ว่าเมื่อใดควรใช้อิทธิพลโดยไม่ใช้อำนาจ
  • Silo busting : 4C ได้แก่ Coordination Co-orperation Capability development และ Connection
  • Communities of practice : ความแตกต่างระหว่าง Communities กับ Team ได้แก่ 1.ระยะยาว/งานต่องาน 2. ผู้ประสานงาน/ผู้ควบคุม 3. จำนวนสมาชิกขยายไปเรื่อยๆ/คงที่ 4. เก็บไปใช้ในอนาคต/ไม่มีการเก็บข้อมูล
  • ความร่วมมือในองค์กรการยอมรับและการบริหารจัดการความขัดแย้ง : แตกต่างได้แต่ไม่แตกแยก
  • ความร่วมมือแบบไหนที่เหมาะสมกับหน่วยงานของคุณ : แบบเปิดหรือปิดแบบแนวดิ่งหรือแนวราบสรุปดังนี้ Innovation mall / Innovation community / Elite circle / Consortium

ขอขอบคุณเหล่าอาจารย์ วิทยากรรับเชิญ พี่เลี้ยง ทีมงานและผู้ที่เกี่ยวข้องพี่ๆเพื่อนๆน้องๆหลักสูตร EADP 2017 (รุ่น 13) ทุกท่่านที่ผสมผสานทำให้เกิดสิ่งดีงามสิ่งหนึ่งในชีวิต ท้ายนี้ขอขอบคุณ กฟผ. สถาบันที่เราทุกคนยังคง "รักองค์การมุ่งงานเลิศเทิดคุณธรรม"ตลอดมาและตลอดไป

โสตถิพันธุ์ คมสัน ช.อสอ.-สผ. กลุ่ม 2

1. Creative & Innovation Thinking
วิธีที่จะค้นหาวัตถุประสงค์ที่สร้างสรรค์โดยใช้ตะแกรง 3 I (Influence, Imaginative and Important) เป็นแนวทางที่จะพัฒนางานของ กฟผ. ในการมองหาธุรกิจใหม่ๆ เพื่อให้เกิดความแตกต่างและโดดเด่น เป็นที่ยอมรับทั้งด้านนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และประสิทธิภาพ

2. Attitude Mindset of EGAT leaders
การเป็นผู้นำที่ดี ต้องมีพื้นฐานเกี่ยวกับ attitude and mindset มีความมุ่งมั่นสามารถชักจูงผู้ใต้บังคับบัญชาให้เกิดความตื่นตัว มีวินัย มีจรรยาบรรณและจิตสำนึกที่จะทำงานภายใต้กรอบความคิดด้านคุณธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ในทุกกระบวนการทำงาน มีทัศนคติที่ดี

3. Life coach for happiness and success
Coaching คือการนำพาคนไปหาตัวตนที่แท้จริง ทำให้เกิดความสำเร็จ (success and fulfill) Wheel of Life ดุลภาพ 8 ประการสำหรับการดำเนินชีวิต ได้แก่ การเงิน สุขภาพ ครอบครัวและเพื่อน ความรัก การเติบโตของตนเอง การพักผ่อนบันเทิง สภาพแวดล้อม งาน และธุรกิจ / Tell Ask Problem Solution (TAPS) คือ 4 หลักการสำคัญของ Counseling, Managing Consulting, Teaching, Mentoring and Coaching.

สุพัฒนพงศ์ สิกขาบัณฑิต ช.อจพ. กลุ่ม 2

Creative & Innovative Thinking กับการพัฒนางานของ กฟผ.

  • อยากได้ผลลัพธ์ต่างไปจากเดิม ก็ต้องหาวิธีการที่ต่างไปจากเดิม
  • ใช้ตะแกรง 3 I (Influence, Imaginative and Important)

Attitude– Mindset of EGAT Leaders

  • ได้เรียนรู้การบริหารแบบเก่าและแบบใหม่ ข้อดีและข้อเสียของการบริหารทั้งสองแบบ
  • Mindset ต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ให้นำ Trend ของโลกมาผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
  • สิ่งสำคัญคือ Mindset ของผู้บริหาร อย่ามองคนต่อต้านเป็นศัตรู

Life coach for happiness and success

  • Coaching คิอ ทักษะการใช้ชีวิต การนำคนจากจุดหนึ่งไปยังจุดที่เขาต้องการ คนเรามีศักยภาพซ่อนอยู่ในตัว
  • ได้เรียนรู้วิธีสังเกตผู้ถูก Coach ว่าพูดจริงหรือโกหก

HBR’s 10 Must Reads on Collaboration

  • การสร้างองค์กรแห่งความร่วมมือ (Collaborative Enterprise): สามารถลด Human Error ได้ โดยจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายร่วมกัน ทำงานเพื่อจุดมุ่งหมายร่วม และต้องสร้างกระบวนการทำงานร่วมกัน
  • ผู้นำแบบใช้ความร่วมมือ (Collaborative Leader): ต้องสามารถที่จะทำงานร่วมมือและประสานกับบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร/ ต้องมีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ / ต้องรู้ว่าเมื่อใดควรใช้อิทธิพลโดยไม่ใช้อำนาจ
  • Silo busting: ในกรณีที่ไม่สามารถทำลายไซโลได้ ก็ต้องหาวิธีเชื่อมไซโลเข้าหากัน
  • Communities of practice: ได้เรียนรู้ความแตกต่างระหว่าง CoP กับ Team
  • ความร่วมมือในองค์กรการยอมรับและการบริหารจัดการความขัดแย้ง : แตกต่างได้แต่ไม่แตกแยก
  • ความร่วมมือแบบไหนที่เหมาะสมกับหน่วยงานของคุณ: Innovation Mall / Elite Circle / Innovation Community / Consortium

กรรณิการ์ อนุสิฏฐกุล กลุ่ม 4

ช่วงที่ 5 7-9 มิถุนายน 2560

Creative & Innovative Thinking กับการพัฒนางานของ กฟผ. : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน

โดย อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ

สิ่งที่ได้เรียนรู้

Innovation เป็นการปักธงผลลัพธ์ที่ต่างไปจากเดิม การคิดวิธีการที่ต่างไปจากเดิม และลงมือทำเพื่อให้เกิด innovation

เรียนรู้เทคนิคในการหาธงที่ต่างไปจากเดิม คือ 1. Divergent thinking การคิดโดยเริ่มที่ว่า มันคงจะดีนะถ้า.......ซึ่งมีตัวช่วยอีกหลายตัวในการหาเช่น ปัญหาเล็กๆที่อาจลุกลาม อุปสรรคในการสื่อสาร เป้าหมายที่พลาดมาหลายครั้ง ประเด็นที่คนอื่นไม่กล้าพูด

สิ่งที่ทำให้เกิดความภูมิใจ จากนั้น 2.กรองสิ่งต่างๆที่คิดได้ด้วยตะแกรง 3ขั้น คือ Influent สิ่งที่ไม่อยู่ในอิทธิพลของเรา

Imaginative เช่นติดกฏระเบียบ และ important ความสำคัญ

สุดท้ายจะเหลือสิ่งที่เรานำมาลงมือทำ innovation

สามารถนำไปใช้กับการทำงาน

จากเดิมคิดแต่ว่า งาน office จะมี innovation ได้อย่างไร นอกจากการใช้ IT มาช่วยงาน คือเริ่มคิดจากงานเป็นตัวตั้งก่อนทำให้คิดไม่ค่อยได้

วิธีการที่เรียนรู้ เป็นเทคนิคที่ดีมาก ทำให้เราหาinnovation ได้


Attitude– Mindset of EGAT Leaders

โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชา มหาคุณ

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

สิ่งที่ได้เรียนรู้

การบริหารระบบใหม่ใช้จริยธรรมแทนวินัย

ผู้นำที่ดีต้อง ซื่อสัตย์สุจริต กล้าหาญ สุภาพและฉลาดในการเถียง จริงใจ มีน้ำใจ เคารพคุณค่าของคน ยุติธรรมในการมอบหมายงาน กตัญญูรู้คุณต่อคนที่ช่วยเหลือ รักษาเกียรติศักดิ์ศรี เสียสละ ให้อภัยแต่ไม่ลืม รู้จักตัวเอง มั่นใจในตัวเอง

สามารถนำไปใช้กับการทำงาน

พัฒนาตนเองในการเป็นผู้นำที่ดี


Life coach for happiness and success

อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

สิ่งที่ได้เรียนรู้

Coaching เป็นการสรางแรงบันดาลใจให้ผู้ถูกcoach เอาศักยภาพของตัวเองออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเติมเต็มความต้องการของบุคคล

สามารถนำไปใช้กับการทำงาน

การ Coach ผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อดึงศักยภาพ ออกมาใช้ในการทำงานอย่างมีความสุข เสียดายเวลาน้อยไป ไม่ได้ฝึกworkshop

ประสาท จันทร์เพ็ญ ช.อคภ.-ภ. กลุ่ม 5

สรุปบทเรียนช่วง 7-9 มิถุนายน 2560

หัวข้อ Creative + Innovative กับการพัฒนางาน กฟผ. วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็น เพราะการมองเป้าหมายร่วมกัน โดย อ.ศรัณย์จันทพลาบูรณ์

ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

ความคิดสร้างสรรค์ คือการคิดต่างไปจากเดิม

นวัตกรรม คือ การนำความคิดมาลงมือทำ หลังทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ต่างไปจากเดิม

หน้าที่ผู้บริหาร ต้องคิดเป้าหมายขึ้นมากำหนดธงที่ต่างไปจากเดิม และให้ทีมหาวิธีการที่ต่างไปจากเดิม (คิดแบบ Divergent) เพื่อผลลัพธ์จะต่างไปจากเดิม

Innovative Leader

  • ต้องให้ลูกน้องคิดไอเดียใหม่ ๆ
  • ผู้บริหารนำประสบการณ์มาผสมผสาน จะทำให้ไอเดียดีมากยิ่งขึ้น

หัวข้อ Attitude – Mindset of EGAT Leaders โดย ศ.(พิเศษ) วิชามหาคุณ,

คุณหญิงทิพาวดีเมฆสวรรค์

Attitude + Mindset

Attitude คือ ความคิดที่แสดงออกเป็นท่าทีของแต่ละคน บวกหรือลบขึ้นอยู่กับ Attitude ของคน

Mindset เป็นกรอบหรือทฤษฎีพัฒนาไปเรื่อย ๆ ของความคิด การพัฒนาผู้นำให้ทำ Mindset เป็น Growth

การเป็นผู้นำที่ดี

  • ตระหนักรู้ตื่นตัวรอบรู้ในตัวเอง
  • ต้องมองอนาคตเป็น

ผู้นำที่ดี

  • ซื่อสัตย์สุจริต
  • กล้าหาญ
  • จริงใจมีน้ำใจ
  • เคารพในความเป็นมนุษย์ทุกคน
  • ยุติธรรมในการมอบหมายงาน
  • กตัญญูรู้คุณต่อคนที่ช่วยเหลือเรา
  • รักเกียรติ และศักดิ์ศรี
  • คิดทางบวก
  • เสียสละและให้อภัย

หัวข้อ Life Coach for Happiness and Successโดย อาจารย์พจนารถตรีบังเกิด

Life Coach คือ การพยายามหาสิ่งที่ตัวเองชอบ และชอบแล้วต้องทำ ทำแล้วได้เงิน

การ Coach คือ การพาคนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ในส่วนที่เขาต้องการโค้ชเป็นการทำงานเสริมกัน ระหว่างโค้ชและผู้ได้รับการโค้ช เพื่อกระตุ้นและจุดประกายความคิดด้วยกระบวนการที่สร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้ได้รับการโค้ชเกิดแรงบันดาลใจในการที่จะอาศักยภาพและความสามารถที่ถูกบดบังหรือซ่อนอยู่ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โค้ชผู้บริหารเพื่อให้ Perform งาน

โค้ชชีวิต คือ จะทำให้รับการ Fulfill ได้ทั้ง Success และ Fulfill

Fulfill คือ

  • ความเป็นตัวตนของเรา (Being)
  • ความเชื่อ (Beliefs)
  • ค่านิยม (Values)
  • ความต้องการหลักของมนุษย์ (Needs)
  • ก้าวข้ามความกลัวของตนเอง (Fears)
  • Visual Recall / Construct (สายตามองด้านบน)
  • Audio Recall / Construct (สายตามองด้านข้าง)
  • Self Talk Recall / Construct (สายตามองด้านล่าง)

การสังเกตุคน

The Wheel of Life

  • การเงิน
  • สุขภาพ
  • ครอบครัวและเพื่อน
  • ความรัก
  • การเติบโตของตนเอง
  • การพักผ่อน/บันเทิง
  • สภาพแวดล้อม
  • งาน/ธุรกิจ
สมเกียรติ ย้อยเสริฐสุทธิ์ กลุ่ม 6

สรุปประเด็นช่วงที่ 5 ระหว่างวันที่ 7-9 มิ.ย. 2560

  1. หัวข้อ Creative & Innovative Thinking

"มีแต่คนเสียสติเท่านั้น ที่ทำสิ่งเดิมซ้ำๆ และคาดหวังผลลัพธ์ที่แตกต่าง"

คิดต่างไปจากเดิม ทำต่างไปจากเดิม แล้วผลลัพธ์จะต่างไปจากเดิม

ต้องสร้างบรรยากาศให้เกิดการคิดให้มากที่สุด แล้วค่อยใช้ตะแกรงคัด

  1. หัวข้อ Attitude-Mindset of EGAT Leaders

การบริหารแบบดั้งเดิมไม่สามารถไปได้ในโลกสมัยใหม่

ผู้นำต้องมีพื้นฐาน Attitude และ Mindset ที่ดี

  1. หัวข้อ Life Coach for Happiness and Success

Coaching คือการพาคนจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งในส่วนที่เขาต้องการ

“การโค้ชเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างโค้ชและผู้ได้รับการโค้ช เพื่อกระตุ้น และจุดประกายความคิด ด้วยกระบวนการที่สร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้ได้รับการโค้ช เกิดแรงบันดาลใจในการที่จะนำเอาศักยภาพและความสามารถที่ถูกบดบังหรือซ่อนอยู่ ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด”

ประจวบ ดอนคำมูล 475173 กลุ่มที่ 4

การเรียนรู้ในช่วงสุดท้ายเป็นเรื่องนวัตกรรมโดยเน้นการสร้างผลลัพท์ที่แตกต่างด้วยการใช้วิธีการที่ต่างจากเดิมรวมทั้งกระบวนการระดมสมองและคัดกรองเพื่อให้ได้สิ่งที่เป็นเป้าหมาย จากนั้นเป็นแนวคิดและประสบการณ์ของศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชา มหาคุณ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ซึ่งมีแนวทางและหลัการที่โดดเด่นชัดเจนสามารถยึดถือเป็นแบบอย่างในการทำงานได้อย่างแท้จริง และได้มีโอกาสเรียนรู้วิชาการ Coaching จากวิทยากรที่มีประสบการณ์อย่างแท้จริงสามารถใช้หลัการดังกล่าวมาใช้ในกาการบริหารคนในหน่วยงานและส่วนบุคคลได้

กระบวนการเรียนรู้ทั้งหมดขมวดมาเป็นการจัดทำโครงการกลุ่มตามโจทย์ที่คณะวิทยากรกำหนดทั้งกลุ่มรุ่นโครงการห้วยหาดและกลุ่ม3คนโดยใช้นวัตกรรมและเป็นการพัฒนางานในรูปแบบของคลิปและได้รับคำวิจารณ์จากผู้บริหารระดับสูงของ กฟผ.

งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกลา...แทบทุกคนยอมรับว่าวิธีการเรียนและสอนรูปแบบนี้สร้างความแตกต่างจากการฝึกอบรมแบบเดิมๆ ที่สำคัญท่าน ดร.จิระได้ให้ความสำคัญกับชั้นเรียนสูงมากท่านรับฟังและใส่ใจในทุกความคิดเห็นที่ท่านได้กระตุ้นให้พวกเราแสดงออกและแลกเปลี่ยนทำให้บรรยากาศในการเรียนรู้เป็นไปด้วยความเข้มข้นและได้มุมมองที่แตกต่างโดยไม่ชี้ถูกผิดทุกอย่างอยู่ที่เหตุผลและเจตนารมย์

ขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องจนการอบรมสำเร็จได้ด้วยดี

ช่วงที่ 5

วิชาที่ 20Creative & Innovative Thinking กับการพัฒนางานของ กฟผ. : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมอง

เป้าหมายร่วมกันโดย อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ

สิ่งที่ได้เรียนรู้

ได้เรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้Filter3 ขั้นตอน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลให้ได้ข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นในการดำเนินการคือ Influence , Imaginative , Important และการหาGap Analysis เมื่อได้เรื่องที่ผ่านแล้วให้มาดูที่คะแนน

สามารถนำไปใช้กับการทำงาน

สามารถประยุกต์การกรองข้อมูล 3 ขั้นตอน มาใช้ในงานประจำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิชาที่ 21Attitude– Mindset of EGAT Leadersโดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชา มหาคุณ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

สิ่งที่ได้เรียนรู้

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชา มหาคุณ

การบริหารด้วยระบบแบบดั้งเดิมมีอุปสรรคใหญ่มากในการทำงาน คือยึดเสถียรภาพ ยึดมั่นในหลักการ ไม่ยอมคิดอย่างอื่น คิดนอกกรอบไม่เป็นการทำงานของ กฟผ. เรื่องแนวทางการทำงานก็เป็นแบบเดียวกันคือขึ้นอยู่กับผู้นำ ยากที่จะปรับตัว ชินตามคำสั่ง เป็นระบบปิด ระบบที่สามารถทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงได้คือระบบที่ปรับได้ทุกรูปแบบโดยไม่เกาะติดที่คำสั่งหรือระเบียบข้อบังคับอย่างเดียว และในกระบวนการแก้ไขปัญหา สิ่งที่มีปัญหาเรื่อง ระบบคือการทำงานเป็นทีม ซึ่งโดยมากคนไทยมีน้อยที่จะทำงานเป็นทีมเนื่องจากถือตัวเป็นใหญ่ ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นโดยจะต้องมีกลยุทธ์ในการบริหารงานแบบใหม่

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

ได้เรียนรู้ การเป็นผู้นำที่ดี จะต้องประกอบด้วย ซื่อสัตย์สุจริต กล้าหาญ ต้องสุภาพและฉลาด จริงใจ มีน้ำใจ เคารพในความเป็นมนุษย์ทุกคน

ยุติธรรมในการมอบหมายงาน กตัญญูรู้คุณต่อคนช่วยเหลือเรา รักษาเกียรติ และศักดิ์ศรีคิดทางบวก เสียสละและให้อภัย (Forgive but never forget)

สามารถนำไปใช้กับการทำงาน

สามารถใช้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อการเป็นผู้นำที่ดี ตลอดจนการเป็นองค์กรธรรมาภิบาล

ตลอดจนการปรับ Mindset , Attitude ,Believe , และ Habit พัฒนาเพื่อตอบโจทย์ในอนาคต

วิชาที่ 22Life coach for happiness and successอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

สิ่งที่ได้เรียนรู้

Coaching คือการพาคนจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งในส่วนที่เขาต้องการ“การโค้ชเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างโค้ชและผู้ได้รับการโค้ช เพื่อกระตุ้น และจุดประกายความคิด ด้วยกระบวนการที่สร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้ได้รับการโค้ช เกิดแรงบันดาลใจในการที่จะนาเอาศักยภาพและความสามารถที่ถูกบดบังหรือซ่อนอยู่ ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด”

Life Coaching เป็นการทางานร่วมกันระหว่างโค้ชและผู้ได้รับการโค้ช เพื่อเป็นเพื่อร่วมเดินทางพาผู้ได้รับการโค้ชจากจุดที่อยู่ปัจจุบัน ไปบรรลุเป้าหมายที่ต้องการในทุกด้านของชีวิต ด้วยการกระตุ้น และจุดประกายความคิด โดยใช้ทักษะและกระบวนการที่สร้างสรรค์ในหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้ได้รับการโค้ชตระหนักรู้ถึงศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง ด้วยตนเอง เข้าใจ และขจัดอุปสรรคที่อาจมีภายในตัวตน ตัดสินใจเลือกโดยอิสระ เพื่อนาเอาศักยภาพและความสามารถที่มีและอาจยังซ่อนอยู่ ออกมาใช้พาตนเองไปสู่เป้าหมายที่ต้องการอย่างสมดุล มีจริยธรรม มีความสุข และอิ่มเอม............”

การสังเกตคน คนที่ถนัดขวา ถ้านึกถึงเรื่องที่จินตนาการตาจะไปทางขวา ถ้านึกถึงเรื่องอดีตตาจะมองไปทางซ้าย ส่วนคนที่ถนัดซ้ายจะตรงกันข้าม

- Visual Recall/ Construct(สายตามองด้านบน)

- Audio Recall / Construct (สายตามองด้านข้าง)

- Self Talk Recall/ Construct (สายตามองด้านล่าง)

4. Coaching ต่างกับ Counseling อย่างไร

1. Counseling (Ask Problem)

2. Managing Consulting (Tell Problem)

3. Teaching Mentoring(Tell Solution)

4. Coaching (Ask Solution)

5.การแสดงภาษารัก

1. Word of Affirmation เป็นการส่งภาษารักด้วยคำพูด

2. Present ไปไหนก็ซื้อของขวัญให้ เป็นสัญลักษณ์

3. Act of Service คือบริการให้

4. Quality Time คือให้เวลาที่มีคุณค่า

5. PersonalTouch คือการกอด จับมือ

6. Performance = Potential-Interferences

งานเท่ากับศักยภาพลบสิ่งที่รบกวนไม่ให้ทำงานไม่ได้

สามารถนำไปใช้กับการทำงาน

สามารถประยุกต์ การโค้ชซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างโค้ชและผู้ได้รับการโค้ช เพื่อกระตุ้น และจุดประกายความคิด ด้วยกระบวนการที่สร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้ได้รับการโค้ช เกิดแรงบันดาลใจในการที่จะนาเอาศักยภาพและความสามารถที่ถูกบดบังหรือซ่อนอยู่ ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตลอดจนการสังเกตคน และ การแสดงภาษารัก


วิชานี้ไม่สามารถวิจารณ์ได้เนื่องจากมันลึกซึ้งเกินความสามารถของผม แต่ขอชื่นชมอย่างสุดหัวใจว่า อาจารย์พจนารถเป็น coach ที่เก่งจริงๆสมกับเป็นแนวหน้าของประเทศไทย

ได้เรียนวิชานี้แล้วได้รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงคนนั้นต้องเปลี่ยนแปลงจากข้างในจิตใจ ซึ่งถ้าเราพยายามที่จะเข้าใจผู้ที่มารับการ coaching แล้ว ผลลัพธ์คือจะได้บุคลากรที่มีทรรศนคติที่ดี ถูกต้องมาร่วมกันพัฒนาองค์กรให้เติบโตต่อไปได้

นอกจากนี้การ coaching ยังสามารถช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้ที่กำลังมีความทุกข์ ปัญหาชีวิตให้กลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ด้วย

อลิสา จินตณวิชญ์ กลุ่ม2

Creative & Innovation Thinking

1. Creative & Innovation Thinking
การที่จะค้นหาวัตถุประสงค์ที่สร้างสรรค์ มีปัจจัยในการพิจารณา ได้แก่ Influence Imaginative และ Important และนำไปสู่นวัตกรรมที่เป็นความต่าง ซึ่งสามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนางานได้

2. Attitude Mindset of EGAT leaders
การเป็นผู้นำที่ดี ต้องมี attitude and mindset มีความมุ่งมั่น มีทัศนคติที่ดี ซึ่งเป็นหลักการบริหารของผู้นำสมัยใหม่

Life coach for happiness and success

Coaching เป็นการสรางแรงบันดาลใจให้ผู้ถูกcoach เอาศักยภาพของตัวเองออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเติมเต็มความสามารถและความต้องการของบุคคล

สามารถนำไปใช้กับการทำงาน

นำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานและการทำงาน

นายธานี โพธิ์เอี้ยง ช.อผม-บ. กลุ่มที่5

ช่วงที่5

ช่วงสุดท้ายนี้วิชาที่เรียน ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกัน แต่สรุปรวมก็มาลงที่ตัวผู้นำ/ผู้บริหาร กล่าวคือ

1.ต้องรู้และเข้าใจ ถึงเรื่องความคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมในองค์กร ว่ามีแนวคิด และวิธีปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้เกิดสิ่งนั้นในองค์กร

2.ต้องรู้และเข้าใจถึง เรื่องของAttitude และMindset ของทั้งตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชา ว่าจะมีผลต่องานอย่างไร ตลอดจนความสำคัญของการปรับ Attitude และMindset จะส่งผลอย่างไร

3.ต้องรู้และเข้าใจ วิธีการcoaching ผู้ใต้บังคับบัญชา และตนเอง เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการที่จะนำเอาศักยภาพและความสามารถที่ถูกบดบังหรือซ่อนอยู่ ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นุชนาฏ เกษทอง ช.อทบ-ป. กลุ่มที่ 1

1.หัวข้อ Creative & Innovative Thinking

ความคิดสร้างสรรค์ คือการคิดต่างไปจากเดิม

นวัตกรรม คือการนำความคิดมาลงมือทำแล้วทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ต่างไปจากเดิม

สิ่งที่เรียนรู้คือ

1.อยากได้ผลลัพธ์ต่างไปจากเดิม ก็ต้องหาวิธีการที่ต่างไปจากเดิม ทั้ง ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมต่างไปจากเดิมได้ เนื่องจากมีธงหรือเป้าหมายที่ต่างไปจากเดิม วิธีการจึงต่างไปจากเดิม แต่จุดเริ่มต้นคือ เป้าหมายที่ต่างไปจากเดิม ดังนั้นเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่ต้องคิดธงขึ้นมา แล้วบอกทีมงานให้หาวิธีการที่ต่างไปจากเดิม แล้วผลลัพธ์จะต่างไปจากเดิม

2.การกรอง  3 ขั้นตอน  (Influence, Imaginative and Important)   สามารถนำมาใช้วิเคราะห์ในการทำงานจริง


2.หัวข้อ Attitude-Mindset of EGAT Leaders

Attitude & Mindset

Attitude คือความคิดที่แสดงออกมาเป็นท่าที ซึ่งเป็นวิธีการที่ Approach ของแต่ละคนที่จะมีท่าทีที่บวกหรือลบขึ้นอยู่กับ Attitude ของคน ซึ่งการเป็นผู้นำที่ดีต้องอยู่ที่ Good Attitude

Mindset เป็นกรอบของความคิด ดังนั้นในทฤษฎีการพัฒนาผู้นำจึงพูดว่าให้ทำ Mindset เป็น Growth Mindset คือ Mindset ที่พัฒนาไปเรื่อย ๆ แม้ว่ามีความเชื่ออะไรก็ตาม แต่ให้นำความคิดความเชื่อผสมไปสู่การเป็นนักพัฒนา แล้วความคิดจะพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งนี้คือสิ่งที่ผู้นำต้องฝึก ดังนั้นการเป็นผู้นำอยู่ที่พื้นฐานของ Attitude & Mindset ที่มีอยู่

ลักษณะผู้นำที่ดี

1. ซื่อสัตย์สุจริต

2. กล้าหาญ

3. จริงใจ มีน้ำใจ

4. เคารพในความเป็นมนุษย์

5. ยุติธรรม

6. กตัญญูรู้คุณต่อคนช่วยเหลือเรา แต่ต้องไม่กตัญญูในทางที่ผิด

7. รักษาเกียรติ และศักดิ์ศรี

8. คิดทางบวก

9. เสียสละและให้อภัย


3. Life Coach

- Coaching คือการพาคนจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ตามเป้าหมายที่เขาต้องการ การโค้ชผู้บริหารเพื่อต้องการ Performance แต่ Life Coach คือการ Full fill ชีวิตให้สมบูรณ์ขึ้น

- Life Coaching  เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างโค้ชและผู้ได้รับการโค้ช เพื่อให้ผู้ได้รับการโค้ชบรรลุเป้าหมายของชีวิต ที่เขาต้องการโดยโค้ชเป็นผู้กระตุ้น จุดประกายความคิด โดยใช้ทักษะและกระบวนการสร้างสรรค์ในหลายรูปแบบ เช่น ใช้การตั้งคำถามเพื่อให้ผู้ได้รับการโค้ชเข้าใจตนเอง สามารถขจัดอุปสรรคที่มีภายในตัวเอง และพัฒนาศักยภาพ ความสามารถที่มีและอาจยังซ่อนอยู่ ออกมาใช้พาตนเองไปสู่เป้าหมายที่ต้องการอย่างสมดุล มีจริยธรรม มีความสุขในชีวิต

อาจารย์ยกตัวอย่างเรื่องไพ่ 1 สำรับ คนเราทุกคนมีทุกอย่างเหมือนไพ่ 1 สำรับตั้งแต่เกิดมา คือมนุษย์มีทุกอย่างในตัวเราที่ทำให้เราอยู่รอดได้ในโลกนี้ และหลุดจากปัญหาทุกอย่าง แต่เมื่อโตขึ้นสิ่งแวดล้อมทำให้เราเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เราต้องทิ้งไพ่บางอย่างไป  ไพ่ที่เราไม่ทิ้งเลยคือสิ่งทำให้เราเป็นเรา (Who am I?) เป็นต้นแบบของเรา ทำให้เกิดเป็นไพ่ 3 กอง เพราะเราเลือกทิ้งสิ่งที่เราไม่ชอบหรือพฤติกรรมที่เราเกลียดทิ้งไป แต่จริง ๆ แล้วอยากให้ทุกคนเก็บไพ่ทั้ง 3 กองมาให้หมด เพราะเป็นสิ่งที่เราเป็นตั้งแต่ต้น


นายธานี โพธิ์เอี้ยง ช.อผม-บ. กลุ่มที่5

Creative & Innovative Thinking กับการพัฒนางานของ กฟผ. : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน


สิ่งที่ได้เรียนรู้

การทำอะไรแบบเดิมๆไม่มีทางได้ผลลัพธ์แบบใหม่แน่ๆ ดังนั้นอยากให้ผลลัพธ์เปลี่ยนต้องเปลี่ยนวิธีการที่ต่างไปจากเดิม

ผู้บริหารเป็นคนสำคัญในการที่จะตั้งธงของผลลัพธ์ให้แตกต่างจากเดิม และให้ทีมงานไปหาวธีการที่ต่างจากเดิม

รู้วิธีการระดมสมองเพื่อหาสิ่งที่อยากให้เป็นและวิธีคัดกรองเรื่องที่สามารถทำได้ โดยใช้ 3 I คือ Influence , Imaginative , Important

 

Attitude– Mindset of EGAT Leaders

สิ่งที่ได้เรียนรู้

แนวคิดการบริหารงานแบบดั้งเดิม และแบบสมัยใหม่

Attitude คือความคิดที่แสดงออกมาเป็นท่าที ซึ่งเป็นวิธีการที่ Approach ของแต่ละคนที่จะมีท่าทีที่บวกหรือลบขึ้นอยู่กับ Attitude ของคน ซึ่งการเป็นผู้นำที่ดีต้องอยู่ที่ Good Attitude ต้องดูถึงอนาคตของเขา ไม่ใช่เอาความเห็นแก่ตัวไปใส่เขา

Attitude ที่บวก คือการมีเมตตาต่อคน มองไปให้กว้าง

Mindset เป็นกรอบ หรือ Theory ของความคิด ดังนั้นในทฤษฎีการพัฒนาผู้นำจึงพูดว่าให้ทำ Mindset เป็น Growth Mindset คือ Mindset ที่พัฒนาไปเรื่อย ๆ แม้ว่ามีความเชื่ออะไรก็ตาม แต่ให้นำความคิดความเชื่อผสมไปสู่การเป็นนักพัฒนา แล้วความคิดจะพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งนี้คือสิ่งที่ผู้นำต้องฝึก ดังนั้นการเป็นผู้นำอยู่ที่พื้นฐานของ Attitude & Mindset ที่มีอยู่


Life coach for happiness and success


สิ่งที่ได้เรียนรู้

รูปแบบของการให้คำปรึกษา เทคนิคของการทำ Coaching และเป้าหมายคือการพาคนจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งในส่วนที่เขาต้องการ

โค้ชชีวิตกับโค้ชผู้บริหารในองค์กรทำไม่เหมือนกัน โค้ชผู้บริหารเพื่อให้ Perform งานแต่โค้ชชีวิตคือจะทำให้ได้รับการ Fulfill ได้ทั้ง Success และ Fulfill แต่ถ้าเดินไปถึง Success แต่ไม่ได้ Fulfill จะเป็น Fail

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท