โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 (ช่วงที่ 1: ระหว่างวันที่ 15-17 มิถุนายน 2560)


สวัสดีครับชาวบล๊อก

หลังจบหลักสูตรที่ทำร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์และพันธมิตร ซึ่งผ่านไปด้วยดี ผมก็ได้รับเกียรติให้ผมมาดูแลหลักสูตรต่อเนื่อง โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 ซึ่งเริ่มโครงการช่วงที่ 1 ในระหว่างวันที่ 15-17 มิถุนายน 2560

ผมและทีมงานต้องขอขอบคุณผู้บริหารและคณะทำงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ไว้วางใจพวกเรา และทุกท่านสามารถติดตามบรรยากาศและความรู้ต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ผมขอฝาก Blog นี้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้พวกเราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

หลักสูตร พัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (รุ่นที่ 3)


(ระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน – 9 กันยายน 2560)



วันที่ 15 มิถุนายน 2560

(สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

พิธีเปิดหลักสูตร

กล่าวต้อนรับและรายงานความเป็นมา

นางเมตตา ชมอินทร์

หัวหน้างานพัฒนาและฝึกอบรมกองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร ได้กำหนดจัดโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้มอบหมายให้ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษ์ระหว่างประเทศร่วมกับ Chira Academy ในฐานะหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ เป็นผู้จัดทำโครงการฯ ดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. เพื่อพัฒนาผู้บริหารของมหาวิทยาลัยฯ ให้มีวิสัยทัศน์ มีภาวะผู้นำ ความรู้ ทักษะพร้อมที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

2. เพื่อถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้แก้ปัญหา และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นการปลูกฝังวัฒนธรรมในการเรียนรู้

3. เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้ได้รับความรู้ แนวคิดและกรณีศึกษาที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์จากผู้ทรงคุณวุฒิผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่เป็นที่ยอมรับ

4. เพื่อพัฒนาเครือข่ายการทำงานระหว่างกัน

ผู้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ประกอบด้วยกิจกรรมเชื่อมโยงกัน ได้แก่

1. กิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบห้องเรียนผู้นำ

2. กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการศึกษาดูงาน

3. กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาสุขภาพกายและใจ

4. Self- Learning

3 วันนี้ เป็นการเรียนรู้ในช่วงที่ 1 จะได้ร่วมกันรับทราบทฟษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และการตั้งเป้าหมายของการเรียนรู้ร่วมกันกับท่าน ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นายแพทย์สุธรรม ปิ่นเจริญ จากคณะแพทยศาสตร์และทีมวิทยากรที่มีชื่อเสียง

กล่าวเปิด

อาจารย์พิชิต เรืองแสงวัฒนา

รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีที่เป็นประธานเปิดโครงการ จาก 4 วิทยาเขต 30 คณะหน่วยงาน หลักสูตรนี้ต่อเนื่องมาเป็นรุ่นที่ 3 และรุ่นที่ 1 มหาวิทยาลัยได้รับเกียรติจากอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ที่ได้พัฒนาหลักสูตร 20 วัน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน – กันยายน 2560 ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณที่เข้าร่วม และขอให้สมาชิกทุกคนตั้งใจ ไม่โดดร่ม ไม่ขาดเรียน

กลุ่มนี้เป็นกลุ่มรุ่นใหม่ คณบดี หรือดาวรุ่งที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารแต่ในอนาคตจะทำงานด้านการบริหาร

สิ่งที่อยากฝากไว้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่คือ จะมุ่งเน้นอนาคตอย่างไร ในอนาคตจะตั้งเป้าในสายอาชีพของเราอย่างไร และระหว่างเดินไปอาจมีบางจังหวะเวลาที่ต้องช่วยหน่วยงานด้านการบริหาร และทำให้มีบางคนไปไม่ถึงศาสตราจารย์เนื่องจากทำงานด้านบริหารด้วย และเราก็ไม่ควรทอดทิ้งการได้มาซึ่งตำแหน่งวิชาการด้วย ควรมีการกำกับเพื่อให้สมกับฐานะเพื่อเป็นตัวบอกว่ามีผลงานอะไรบ้าง ทางมหาวิทยาลัยคาดหวังว่าบุคลากรสามารถทำทั้งสองอ่างได้ในสัดส่วนที่เหมาะสม

ในกลุ่มนี้มหาวิทยาลัยคาดว่ากลุ่มนี้จะก้าวสู่การเป็นผู้บริหารของมหาวิทยาลัยในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งการเตรียมคนให้โอกาสกลุ่มบุคคลได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเป็นเรื่องเป็นราวจะดีมาก สมัยก่อนจะเป็นการลักษณะศึกษาจากสไตล์การบริหารของแต่ละคนแล้วค่อย ๆ พัฒนา ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสอันดี ที่ได้รวบรวมทีมวิทยากรมาช่วยนำความรู้และประสบการณ์เพื่อการเป็นผู้นำในอนาคต ตั้งแต่การพัฒนาภาวะผู้นำ การมีทัศนคติที่ดี ภาวะองค์กรและการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายการอยู่ร่วมกันในอนาคตได้ มีโจทย์การบ้านที่ช่วยแก้ไขปัญหากรณีศึกษา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการมาร่วมในครั้งนี้จะทำให้รู้จักเพื่อนมากขึ้น เป็นผู้นำของมหาวิทยาลัยในอนาคต

ทฤษฎีการสร้างผู้นำมีหลายตำรา แต่ที่สำคัญคือการอบรมครั้งนี้จะมีประสบการณ์ในการเดินตามเส้นทางนี้ คือทำอย่างไรถึงจะสำเร็จ และให้เล่าถึงประสบการณ์ล้มเหลวที่เราไม่ต้องไปเดินตามรอยและบ่อยครั้งที่เรามีจินตนาการมีความคิดที่นำพาการเปลี่ยนแปลงองค์กร เราจะไปถึงตรงนั้นได้อย่างไร

เรื่องการไปสู่ความเปลี่ยนแปลงนั้นมีขวากหนามแน่ เพราะหลายคนอยู่ใน comfort zone แต่การจะเปลี่ยนคือเรามองเห็นเป้า แต่เราจะเดินไปกับหลาย ๆ คนได้อย่างไร ดังนั้นทักษะเรื่องกลไกในการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบต้องใช้ระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลง

ม.อ.ที่มีอยู่มา 50 ปี มีวัฒนธรรมองค์กรอะไรบ้าง จากที่ผ่านมาได้พบว่ามีการหล่อหลอมกันมาพื่อประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง เพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นกิจที่สอง ลักษณะเหล่านี้เกิดจากคุณค่าและการหล่อหลอม ที่เกิดจากการทำงานร่วมกัน หล่อหลอมเป็นสภาวะทีทำงานร่วมกัน

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าวัฒนธรรมองค์กรเช่นนี้จะออกมาในการทำงานเชิงบวก เพราะการทำงานเชิงลบจะไม่จำเป็นอยู่แล้ว

ม.อ.จะไม่เหมือนกับ มหาวิทยาลัยอื่นเนื่องจากมี 5 วิทยาเขตจะเป็นลักษณะ Multi Campus System แต่ละที่มีจุดแข็ง จุดอ่อน การเผชิญโอกาสและภัยคุกคามไม่เหมือนกัน แต่ต้องขับเคลื่อนไปด้วยกัน เราต้องมีทัศนคติที่ดีเชิงบวกต่อมหาวิทยาลัย ต้องการเห็นความรัก ความเจริญร่วมกัน และต้องไปด้วยกันด้วย ความพร้อม ศักยภาพและทรัพยากรที่มีอยู่ไม่เหมือนกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องจูงมือไปด้วยกัน และในอนาคตการทำงานเป็นเครือข่าย ต้องเน้นการขับเคลื่อนว่าปัจจุบันจะมีการตอบสนองอะไรบ้าง ต้องคำนึงถึงมิติและบริบททางสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจที่กระทบทั้งหมด ทำให้เห็นภาพการบูรณาการเชื่อมโยง ที่ต้องคำนึงถึงศาสตร์ที่ต้องเชื่อมโยงกัน รวมถึงสำนักและสถาบันต่าง ๆ ด้วย

ขอแสดงความยินดีกับพวกเราที่ได้เข้าร่วมในครั้งนี้ สำหรับมหาวิทยาลัยถือเป็นโอกาสที่เตรียมความสำคัญกับคนรุ่นใหม่ และขอบคุณทีมงานที่ช่วยประสานความร่วมมือจนเกิดการพัฒนาผู้นำนักบริหารมหาวิทยาลัย ขอบคุณทุกท่านที่สละมาเรียนและหวังว่าจะได้ประโยชน์

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ก่อนจะทำได้มีการหารือกันอย่างใกล้ชิด และถ้ามีความสำเร็จถือว่าเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับทีม ดร.จีระเอง

หลักสูตรนี้จะสร้าง Transactional ในช่วงเช้าวันนี้การบ้านที่จะทำ

เราต้องเน้นการ Glooming Yong Leader การมีเด็กรุ่นใหม่เข้ามา ถ้าได้รับอิทธิพลบางอย่าง อย่างเช่น Mojo คือทฤษฎีโป๊ะเช๊ะ หรือกระเด้งที่ให้เกิดพลังขึ้นมา ซึ่งพลังเหล่านี้จะทำให้เราหลุดจาก Comfort Zone

พื้นที่มหาวิทยาลัยในสังคมไทยไม่เหมือนพื้นที่เดิม

Unknown คือปัญญาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เราต้องเป็น Co-Creator ที่จะสร้างหลักสูตรนี้ให้ดีที่สุด


วิชาที่ 1 “ปฐมนิเทศและแนะนำทฤษฎีสำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา”


โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์


รศ.นพ. สุธรรม ปิ่นเจริญ


คณะแพทยศาสตร์ ม.อ.


นพ.บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา


รองอธิการบดีฝ่ายบุคคลและประกันคุณภาพ ม.อ.


อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หลักสูตรนี้ขึ้นอยู่กับว่าค่าเสียโอกาสที่เรียนแล้วคุ้มหรือไม่ เราต้องรวมพลังกันที่ทำอะไรที่ใหญ่ขึ้น หลักสูตรนี้ต้องเน้นทางด้าน Demand sideทำไมหลักสูตรนี้ถึงอยู่รอด

อยากเล่าให้ฟังว่าการร่วมงานกับรุ่น 3 นี้มีการเปิดกว้างและยอมรับความจริง เนื่องจากมีความรู้ที่ลึก ในโลกปัจจุบันต้องรู้ลึกและรู้กว้างด้วย ต้องขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ในหลักสูตรนี้จะทำหน้าที่เป็นครูใหญ่ เป็นผู้ประสานงาน ใช้ให้เต็มที่

รศ.นพ. สุธรรม ปิ่นเจริญ

มีความเชื่อมั่นในหลักสูตรนี้มาก พวกเราในห้องนี้ถูกเลือกมาก่อนเนื่องจากมีคนเห็นความสามารถและศักยภาพที่ผู้บริหารมองเห็นว่ามีความเป็นผู้นำที่ถ้าได้พัฒนาต่อจะเป็นผู้นำองค์กรและผู้นำของมหาวิทยาลัย

ซึ่งถ้าไม่อยากทำสายวิชาการ จะทำสายบริหารควบคู่กับสายวิชาการจะดีมาก การติดอาวุธทางปัญญาจะทำให้การทำงานมหาวิทยาลัยดีขึ้นแน่นอน เชื่อมั่นว่าผู้ผ่านการอบรมจะสามารถ Get Leader Things done

การเป็นมหาวิทยาลัยหมายถึงการเป็นพลังปัญญาในการนำไปสู่อนาคตที่ดีกว่าเพื่อไปสู่ความก้าวหน้าของประเทศ

อาจารย์มหาวิทยาลัย หลายครั้งที่ไม่เหมือนที่อื่นเพราะกลัวผิดพลาด

ในส่วนของหลักสูตร กลไกการ Learn – Share – Care เป็นพลวัตรที่เสริมกัน

สิ่งที่อยากฝากไว้คือ การมี Network หรือมีเพื่อนสำคัญมากกับการทำงานของเรา ทำให้เราทำงานได้ดีขึ้น ได้กว้างขึ้น เป็นโอกาสที่คนเก่งมาอยู่ร่วมกัน โอกาสที่สร้าง Network และสร้างเพื่อนมีโอกาสสำคัญมาก จึงทำให้เราควรค้นหาว่าการค้นหาตัวเองและสร้างเพื่อนมีความสำคัญและก่อให้เกิดศักยภาพเพียงใด

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เราต้องทำงานเป็น Process สิ่งที่อยากจะฝากคือ ถ้าเรามี Process ดังต่อไปนี้น่าจะเป็นประโยชน์

1. การค้นหาตัวเอง

- ยกตัวอย่าง Anthony Robbins เป็นคนหนึ่งที่สามารถทำให้คนลุยไฟได้ เป็นคนที่มี Motivation สูงมาก

- สิ่งที่เราควรนึกถึงมหาวิทยาลัยคือต้องรู้ว่า Where are we? สถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร Where do we want to go? เราจะไปไหน อย่าทำอะไรที่ใหญ่เกินไป อาจทำอะไรที่ไม่ต้องใหญ่นักเป็น Transactional แล้วจะนำไปสู่ความยิ่งใหญ่ในอนาคต How to do it? มียุทธวิธีที่เอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น How to do it successfully? แล้วอย่าทำคนเดียว Get things done ให้ working as a team ให้เอางานที่ทำเป็นการบ้านในห้องนี้

- เหตุผลสำคัญคือเราเป็น Victim ของระบบราชการ ทำให้เรา Set up ระบบเองไม่เป็น

- สิ่งสำคัญคืออยากให้มองอะไรที่เป็น Big Picture อย่าทำเพราะคิดคนเดียว ให้คิดร่วมกัน และในเวลา 3 เดือนให้เริ่มคิดโครงการฯ ตั้งแต่วันแรก ไม่ต้องรอให้คนมาพูด

อะไรก็ตามที่ Relevance ในห้องนี้เราต้องทำ ให้มีการปะทะกันทางปัญญา

นพ.บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา

การมีโอกาสมาเจอกันไม่ใช่เรื่องบังเอิญ การเจอกันหวังว่าจะมีสิ่งที่ดีเกิดขึ้น แต่ยังไม่รู้ว่าสิ่งดี ๆ คืออะไร

ประโยชน์ไม่ได้อยู่ที่หลักสูตรอย่างเดียว บางครั้งได้ Inspiration ในการกลับมาทำงาน เชื่อว่าพวกเรามีความสามารถอยู่แล้ว หรือมีพลังอัดแน่นในตัวเรา แต่เราไม่รู้ว่ามีสิ่งนี้อยู่

ให้ลองประมวลความรู้ความเห็นทิศทางของผู้มีความรู้ความสามารถมาเล่าให้ฟัง แล้วให้เรามาย่อยต่อ สร้างความรู้ใหม่ในสาขางานวิจัย และให้บริการทางด้านวิชาการ คาดว่าในโอกาสข้างหน้าที่ได้เจอจะเปิดโอกาสให้เราแลกเปลี่ยนกัน

การมองตัวเองต้องมองว่าเรามีดีพอสมควร แล้วเราสามารถทำอะไรได้หรือไม่ สิ่งที่ควรคือการทำในสถานะหรือบทบาท ให้เราช่วยกันสร้างภาพ ต่อจิ๊กซอว์ ผลิตบัณฑิตคุณภาพดีต่อประเทศ ไม่เฉพาะในวิทยาเขตเท่านั้น

Spectrum ความสามารถของพวกเราจะไปได้ถ้ามีโอกาสให้ทำ ซึ่งถ้าไม่มีโอกาสเราต้องสร้างโอกาสให้เกิด เราต้องทำให้เกิดแล้วโอกาสจะเกิด ในส่วนตัวใช้ 2 เรื่องในการทำงานคือ 1. Passion ในการอยากทำ ซึ่งถ้าเราอยากทำ เอาเงินมาแลกก็ไม่ยอม แต่ Passion ไม่ได้เกิดขึ้นในวันนี้พรุ่งนี้

เราสู้ได้ ไปได้ เราจะทำอย่างไรในการรวมพลังคน ม.อ. ประเด็นที่จะคุยคือ 20 ปีม.อ.ข้างหน้า ม.อ.จะเป็นอย่างไร มีบทบาทอย่างไรในสถาบันการศึกษาข้างหน้าที่มีส่วนในการพัฒนาประเทศ เราไม่รู้ว่า 20 ปีข้างหน้าจะมีอะไร แต่เราต้องคาดเดาให้ได้ เราไม่สามารถเตรียมคนของเรา แต่เราจะสร้างคนของเราให้อยู่ในอนาคตได้ สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ต้องมีทิศทางในการทำงานร่วมกันใน Cluster ได้มากขึ้น การสอนนักศึกษามีมากกว่านั้น เราจะทำอย่างไรในด้านการสอน การวิจัย แล้วม.อ.จะไปอย่างไรใน 20 ปี

การตั้งเป้าหมายไว้ว่า ม.อ.จะเป็น 1 ใน 5 ของอาเซียน ในประเทศไทยอยู่ที่ 6 มี 3 สถาบัน แม้ว่า Ranking ไม่สำคัญที่สุด แต่เป็นตัวเปรียบเทียบกับคนอื่นว่าจะอยู่ตรงไหน เราทุกคนมีส่วนในการทำในสิ่งเหล่านี้ เป็นภารกิจร่วมกันในการทำให้มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด การเดินไปให้ไกลต้องเดินไปด้วยกัน แต่อย่าคาดหวังผลเลิศแล้วนั่งรอดู ให้คาดหวังผลเลิศแล้วทำให้เกิดเป็นจริง สร้างให้ ม.อ.มีคุณค่าอย่างที่เราอยากจะเห็น ไม่ได้คาดหวังว่าทุกท่านจะได้ตำแหน่งใหญ่โตแต่ถ้าเป็นได้ก็ดี ไม่ได้ต้องการผู้นำในลักษณะผู้บริหารแต่ต้องการผู้นำที่มีภาวะ Leadership คืออยู่ที่ไหนก็ทำงานได้ดี ช่วยได้ดี เป็นดาวที่อยู่ในอาเซียน แล้วจะไปด้วยกัน สู้กับสิ่งเหล่านี้ เชื่อว่าเป้าหมายทุกคนเป็นเป้าหมายเดียวกัน แม้วิธีการต่างกันบ้าง แต่เราจะปรับเข้าหากัน

การอยู่ต่างจังหวัดจะทำให้คนกรุงเทพรู้จัก การโผล่ให้พ้นน้ำต้องโผล่ให้สูงกว่ากรุงเทพฯ แล้วคนอื่นจะเห็น เราต้องออกแรงเยอะกว่า ทำเยอะกว่า แต่เราต้องทำ เรามีดีพอสมควร แต่สิ่งสำคัญคือเราทุกคนต้องช่วยกัน สิ่งสำคัญคือภารกิจที่เราจะทำ ขอให้บรรลุเป้าหมาย คาดหวังสิ่งที่จะเกิดขึ้นมี Impact ตลอดชีวิตการทำงานของแต่ละคน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ทุกคำที่ฟังตั้งแต่เช้า ทุกท่านพูดเรื่องเดียวกันคือพันธกิจของผู้นำนักบริหารรุ่นใหม่ที่ต้องทำสอดคล้องกันไป แต่อาจคนระยะเวลาคือ 1.งานวิชาการที่ต้องเดินไปถึงศาสตราจารย์ แต่ระหว่างทางจะเก็บเกี่ยวอย่างไร ต้องดูนักศึกษา ดูงานวิจัยด้วย 2.สายบริหาร ในชีวิตต้องใช้การจัดการมาก ถึงแม้ว่าเป็นนักวิชาการที่เก่งกาจในการเอาการบริหารจัดการไปใช้อย่างในงานเอกชนจะรับคนที่มีประสบการณ์เข้าไปร่วมด้วยในการผลักดันงานวิชาการให้เก่ง เช่น ม.หอการค้าไทยฝึกเด็กด้วยการเรียนรู้ด้วย ทำอาชีพด้วย

การบริหารจัดการอย่างเดียวโดยไม่มีความรู้ในการผลักดันและทำให้สำเร็จจะไปได้ไม่ถึงไหน สิ่งที่ถูกปลูกในตัวแต่ละท่านจะเป็นอย่างไร มีการเรียนรู้ กรอบแนวคิดในทฤษฎีสำคัญ บางท่านอาจแน่นมาก บางท่านอาจยังรวนอยู่ อย่างไรก็ตาม การทำวิจัยต้องมีกรอบแนวคิดขึ้นก่อน ดังนั้นกรอบแนวคิดที่ดร.จีระมีจะทำให้เราเห็นว่าทำไมต้องเรียนเรื่องทุนมนุษย์เรื่องคนก่อน

ทุนมนุษย์ หมายถึง ถูกใช้จ่าย ถูกสร้าง ถูกลงทุนมาแล้วระยะหนึ่ง เป็นทุนที่ถูกสร้างมาแล้วจะกลายเป็นของสงขลานครินทร์ และหลังจากผ่าน Class นี้แล้วจะมีกระบวนการที่เรียนรู้ไป เปรียบเสมือนคอนกรีตที่เสริมแรง จะช่วยสร้างให้แข็งแรงขึ้น ที่สำคัญที่สุดคือการเรียนรู้ร่วมกัน ผลิตผลจากการคิดร่วมกันจะเป็นสิ่งวิเศษ สิ่งที่ดีคือต้อง Change แบบ Transformation มีการเคลื่อนซึ่งบางอย่างเราเคลื่อนได้เอง มหาวิทยาลัยมีระบบที่สนับสนุนอยู่แล้ว ถ้าจะให้สรุปงานทั้ง 4 ท่าน วิชาแรกคือทำให้เห็นพันกิจของท่าน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. การจัดทำโครงการฯ

- การจับกลุ่ม 3-4 คน ให้เป็นงานที่เกี่ยวกับเราทำอยู่ และต่อยอดวิทยาเขตทั้ง 4 แห่งอย่างไร

- โครงการฯรวมของห้องให้ทำเป็นคลิปที่ทันสมัยและเป็น Animation อยากให้สร้างแบรนด์ขึ้นมา

- จัดการนำเสนอโครงการเป็น Exhibition แล้วเชิญท่านอธิการฯ รองอธิการมาร่วมฟัง

2. ทุกท่านต้องมีท่าทีในการรองรับคนข้างนอก มีสัมพันธภาพที่ดีกับข้างนอกด้วย

- การรวมตัวกันจะมีโอกาสทำให้ ม.อ.เปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งถ้าไม่ทำร่วมกันเป็นทีมจะทำให้การทำงานลำบาก

3. สร้าง Connection กับวิทยากร ให้มีการคุยกันแลกเปลี่ยนกัน

4. แต่ละหัวข้อมีประโยชน์อย่างไรให้มีการแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น

5. ม.อ.ต้องมีบทบาทในประเทศมากขึ้นโดยเฉพาะดูงเรื่องความสงบในภาคใต้ด้วย

Chira Way

1. 4L’s

  • Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี
  • คิดแบบ Reality , Relevance
  • ให้มี Happiness at work
  • ให้มีการปะทะกันทางปัญญา ถ้าทำบ่อย ๆ ปัญญาจะเกิด
  • เมื่อจบหลักสูตรอย่าหยุดการเรียนรู้ให้เกิด Habit ในการเรียนรู้เป็น Life Long Learning

2.Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

3.Learning Opportunities สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้

4.Learning Communities สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

สรุปคือ 1. ใช้ 2 R’s เป็นหลักคือเกี่ยวข้องอย่างไรและเป็นความจริงในเรื่องใด

2. ความสำเร็จของหลักสูตรขึ้นอยู่กับตัวของแต่ละคนที่มี Passion มี Determinative หรือไม่ ให้ค้นหาตัวเองและ Break on the rule ดึงศักยภาพที่ซ่อนเร้นออกมา

หลักสูตรนี้แนะนำใช้แนวนี้

1. 3 เดือน อาจจะต่อเนื่องในระดับหนึ่ง แต่ก็คงสำเร็จไม่มากขึ้นอยู่กับท่านและการทำงานเป็นทีม

2. ค้นหาตัวเอง…จุดแข็งของตัวเอง…หลักสูตรนี้จะช่วยได้บ้างตั้งแต่ศักยภาพที่ซ่อนอยู่ข้างในออกมา

3. ทำงานเป็นทีมโดยเฉพาะข้ามวิทยาเขตทั้ง 5 แห่ง และข้ามคณะหรือภาควิชา

4. ชนะเล็ก ๆ ชนะแล้วอย่าหยุด ทำต่อไปเรื่อย ๆ มีความสุขกับความสำเร็จที่ทำให้เราภูมิใจ

5. ปัญหาอย่าแก้เรื่องใหญ่ ให้แก้ปัญหาเป็นจุด ๆ

6. Create Value (3V’s) – Value Added , Value Creation, Value Diversity

7. อย่ายอมแพ้อย่าทำงานภายในกรอบ คิดและทำนอกกรอบ

8. อย่ารู้เยอะอย่างเดียว รู้แล้วต้องทำ Turn ideas into actions

9. ทำงานกับ Stakeholders ข้างนอกมาก ๆ เช่นอย่ารองบประมาณจากคณะหรือมหาวิทยาลัยเท่านั้น รู้จักคนมากขึ้น เก่งนอกแข็งใน

10. สนใจเรื่อง Leadership ที่ไม่ใช่มาจากตำแหน่งหรือผู้บังคับบัญชา ถ้ามีโอกาสก็ใช้ภาวะผู้นำให้ได้ผลสูงสุด

11. ปรับ Mindset เพื่อให้องค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ

หลักสูตรนี้เกี่ยวกับ Intangible แก่นคือทั้ง 11 ข้อคือสิ่งที่เป็น Impact ต่อแต่ละคน อย่าคิดเรื่องปริญญาโท ตรีที่ลดลงอย่างเดียว แต่ให้คิดถึงต่างประเทศด้วย

นพ.บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา

เราติดนิสัยราชการและจะเปลี่ยนให้เป็นแบบเอกชนคิด การเปลี่ยนให้ก้าวกระโดด เปลี่ยนยาก สิ่งที่ทำได้ต้องเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนใหม่เช่นถ้าของบประมาณไปไม่ให้ทำแต่ถ้าเราทำเป็นต้องทำก็จะดี เราจะทำถ้าเชื่อว่าดีและเป็นประโยชน์ต่อสังคมเราจะทำ เราต้องฝันโดยมีความจริงว่าอยากเห็นอะไรเกิดขึ้น

อย่างโครงการรุ่น 1 และรุ่น 2 ทำให้นำสิ่งเหล่านี้มาปรับใช้ อย่าคิดว่าไม่มีคนทำต่อ ถ้าไม่ทำต่อก็ให้พวกท่านทำต่อ สิ่งเหล่านี้รวมในวิธีการคิดและพัฒนา ไม่ต้องกลัวว่าความคิดไม่ดี เพราะความคิดจะผ่านการตกแต่งไม่ต้องกังวล ไม่ต้องกลัวเสียหน้า ไม่มีฟอร์ม

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันนี้ในมหาวิทยาลัยคือความมีส่วนร่วม การปรับ Mindset ต้องใช้ระยะเวลาอย่ารอสั่งการจากข้างบน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

นพ.บุญประสิทธิ์กล่าวว่า คนส่วนใหญ่คนส่วนใหญ่ชอบมองสนามบ้านคนอื่นว่าเขียวแล้วชอบ แต่อาจไม่ได้มองในสิ่งที่ตัวเองมี สิ่งที่อยากฝากคือการเปลี่ยนการปลูกหญ้า แล้วไปเสริมด้วยต้นไม้สูง ไม้ใหญ่ขึ้นก็เกิดจากกระบวนการ Transformation ที่ต้องรอ คิดแต่ละส่วนให้ง่าย ต้องเกี่ยวกับการปลูกและการพัฒนา ให้มีการเก็บเกี่ยว แล้วจะทำอย่างไร เราต้องก้าวไปสู่เศรษฐกิจที่พ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง

การทำให้สำเร็จ การไปได้ดีต้องเกี่ยวกับนวัตกรรมกรรมคือทำสิ่งใหม่ให้เกิดประโยชน์ หรือทำสิ่งใหม่มาเกี่ยวกับนวัตกรรม สมัยก่อนคิดใหม่คือวิธีการจับแมลงคือทำเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

Value Based Economy ที่สร้างมูลค่าแบบ 3 V’s

1. Value Added

2. Value Creation ให้โอกาสคนที่อยู่ในการบริหารจัดการนวัตกรรม ให้สร้างนวัตกรรมให้เรา

3. Value Diversity คือการเชื่อคุณค่าจากความหลากหลาย การร่วมกันคิดกันทำจะเกิดประโยชน์จากคุณค่าใหม่

สรุป 11 ข้อ คือปรับความคิดชีวิตเปลี่ยน การคิดอะไรแบบเรื่องเดิม ๆ คือ การที่เราเป็นแบบ Fixed Mindset เชื่อว่าเราพัฒนาไม่ได้ ไม่เก่ง เป็นแบบเดิม แต่ถ้าเราปรับสู่การพัฒนาแบบ Growth Mindset การปรับเปลี่ยนแนวคิดจะทำให้พัฒนาได้ และเมื่อทุกท่านคิดตรงนี้ได้จะทำให้ล้ำไป และค้นพบศักยภาพบางอย่างที่ไม่เคยค้นพบศักยภาพมาก่อน ใน 11 ข้อสำคัญทุกข้อแต่ถ้าทำข้อ 11 ได้ทุกอย่างได้หมด

รศ.นพ. สุธรรม ปิ่นเจริญ

เรื่องกรอบแนวคิด การจะพัฒนาลูกศิษย์อย่างไร บัณฑิตประเมินอย่างไร สิ่งที่ทำคืองานตรงกับกรอบและสาระที่เรียนหรือไม่ ถ้าเราทำแบบเดิมที่ไม่พ้นกรอบ บัณฑิตได้อะไร สังคมได้อะไร เป็นสิ่งที่สังคมต้องคิด สหประชาชาติเขียนว่า Quality Education เป็นสิ่งที่ทั่วโลกต้องการอย่างมาก นอกเหนือจากอาหาร ความยากจน

Quality Education

- อ่านออกเขียนได้

- ให้คนเข้าถึงการศึกษาได้

- Life Long Learning ถ้ามหาวิทยาลัยไม่สามารถทำได้ ความรู้ที่ฝึกออกไปจะล้าสมัยไม่สามารถนำไปประกอบการได้ มหาวิทยาลัยต้องเล่นกับ Life Long Learning ได้ ต้องให้มหาวิทยาลัยเป็น Life Long Learning Organization

- ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ การลงทุน เป็นเท่าไหร่ อย่างหลายหลักสูตร ม.อ. ถ้าประเมินจริง ๆ อาจมีเรื่องความคุ้มทุนหรือไม่ มีคุณค่าในการพัฒนาศาสตร์ต่าง ๆอย่างจริงจัง

สรุปคือ ถ้ามหาวิทยาลัยติดกับหลักสูตรแบบเก่ามหาวิทยาลัยจะไปไม่รอด ต้องปรับแสดงความคิดเห็น

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. คุณอรัญ หลังจากที่อบรมแล้วต้องมี Theme ใหญ่ รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 3 ร่วมกับรุ่นที่ 4 ทุกครั้งที่ได้เข้าร่วมได้ประโยชน์ทุกประเด็นที่นำไปใช้ในการทำงานทั้งหลาย เรื่องด้านนี้เป็นการพัฒนาบุคลากรทีไม่ได้ไปในสายวิชาชีพของบุคลากรเป็นมิติที่ 3 ที่จะพัฒนาบุคลากรทำอย่างไรให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ความคาดหวังคืออยากให้มหาวิทยาลัย Change ในเรื่องวิทยากร ถ้าจะเปลี่ยนทันทีทันใดการนำคนออกครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นการอบรมทั้ง 3 รุ่น ถ้าได้ Theme ใหญ่ของการ Change บุคลากร การเปลี่ยน Mindset จากเดิมที่ออกนอกกะลาจะทำกันไหม มหาวิทยาลัยน่าจะมี Theme หนึ่งจากมหาวิทยาลัยทั้ง 3 รุ่น จะนำแต่ละเรื่องเข้าสู่จุดที่ทำได้ก่อนทำไปซึ่งไม่เหมือนกัน มหาวิทยาลัยมองอย่างไร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เมื่อไม่นานมานี้รุ่น 1,2 เจอกันและในอนาคตอาจจัดรุ่น 3 เจอกันด้วย ซึ่งถ้ามหาวิทยาลัยคิดว่าถ้าทั้ง 3 กลุ่มผนึกกำลังกันได้จะเป็นประโยชน์ จะทำให้เกิด 3 ต.คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง

ไม่มีความสำเร็จอันไหนโดยไม่มีปัญหา No Pain, No Gain / Learning from Pain เป็นเรื่องสำคัญมาก อย่าตะบะแตก ต้องหาทางออกให้ได้ ดังนั้นการควบคุมสติเป็นเรื่องที่สำคัญ

การเป็นผู้นำได้ต้องมีการควบคุมอารมณ์อย่างมหาศาล ให้ไปศึกษา 8K’s และ 5K’s

นพ.บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา

การบริหารมหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยน แต่จะเปลี่ยนอย่างไรให้ดีกว่าเดิม ไม่ใช่เปลี่ยนแล้วแย่กว่าเดิม ประเด็นคือเราจะปรับโครงสร้างการบริหารงานอย่างไร HRD จะพัฒนาคนทุกระดับอย่างไร และ HRM จะดูแลคนทำอย่างไร

Input ใหญ่คือพวกเราไม่ค่อยว่าง ไม่ค่อยได้คุยกัน

การแก้ปัญหาแก้ทีเทียว ตูมเดียว แก้ภาพใหญ่ไม่ได้ สิ่งที่จะเจอในการเปลี่ยน ต้องมีคนไม่เห็นด้วยกับเราแน่ ๆ คนเห็นต่างไม่ใช่ศัตรูเรา แต่ต้องแลกเปลี่ยน แต่ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนแบบชี้หน้าด่า แต่เป็นการแลกเปลี่ยนที่เห็นต่างกัน ส่วนใหญ่ผู้บริหารโดนด่าทุกรุ่น แต่สิ่งนี้คือสิ่งที่ยอมรับ รู้ ไม่ใช่หาศัตรู เห็นต่างก็เห็นต่าง

2. การมองจุดแข็งของตัวเองมากกว่าจุดอ่อนเพื่อดึงศักยภาพพัฒนาและค้นหาตัวเอง สิ่งที่ฟังคือเห็นจุดอ่อนของตัวเองมากขึ้นคือรู้ไม่รอบ และไม่รอบรู้ และจากจุดหนึ่งทำให้เกิดจุดที่ 2 คือ IMF คือ Internal Motivative Force

การปรบมือของอาจารย์จีระดังมากเสมือนเป็นการ Encourage คนฟังและให้เกียรติคนที่พูด คิดจะนำหลักสูตรไปพัฒนาศัยกภาพของตนเองและองค์กรอย่างยั่งยืน

สิ่งที่อยากถามคือเรื่องการ Rest Fund ทำอย่างไรให้ได้เงินมาจากที่อื่นที่เราไม่ต้องออกเงินเอง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เมื่อ 30 ปีที่แล้วเป็นรองอธิการบดีที่ ม.ธรรมศาสตร์ เรื่องการบริจาคที่ดินทำมหาวิทยาลัยที่พัทยา ได้ไปเจรจาต่อรองกับผู้ใหญ่เรื่องที่ดิน คนที่ได้เป็นเจ้าของโครงการฯของสยามกลกาล มหาวิทยาลัยมีที่ดินกว่า 600 ไร่ คนที่ทำในภาคใต้ก็มีเงินมากแต่ไม่รู้จักเขา สิ่งที่ดร.จีระภูมิใจคือ ครั้งหนึ่งมีการประชุม World Class ที่ต่างประเทศพูดเรื่องเศรษฐกิจประเทศไทย วันนั้นญี่ปุ่นพูด แล้ว ดร.จีระได้ออกความเห็น แสดงถึงว่า ดร.จีระได้นำเสนอความคิดเห็นได้ แต่ไม่ทำให้คนอื่นเสียหน้า เห็นศักยภาพทำให้ได้เงินจากมิซาซาว่ามาทำงานวิจัยเกี่ยวกับทางเวียดนามในวันต่อมา

การพูดภาษาอังกฤษ ประเด็นอยู่ที่ว่าประเด็นเหล่านั้นเขาเข้าใจหรือไม่

เรื่อง Rest Fund เป็นสิ่งที่พูดกันมาก ยกตัวอย่างในต่างประเทศพบว่าทรัพย์สินทางปัญญามาจากงานทางด้านวิจัย ROI ต่อทุนมนุษย์มี PhD. พันกว่าคน คนเหล่านี้มีศักยภาพอยู่แล้วแต่ถ้ารวมพลังกันได้จะเป็นประโยชน์มาก อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับท่าทีของเราจะดำรงชีวิตแบบไหน ต้องเสียสละ ต้องมีเครือข่าย และออกงานสังคมมากขึ้น


วิชาที่ 2 ภาวะผู้นำ และการสร้างผู้นำนักบริหาร..ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์


อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

Workshop

  • วิเคราะห์คุณลักษณะและบทบาทของผู้นำ ม.อ.ที่พึงปรารถนาที่สุดในอนาคต 5 ข้อ พร้อมทั้งเหตุผล และยกตัวอย่างผู้นำระดับโลก และประเทศ 3 ท่านที่เป็น Role Model ของ ม.อ. อธิบายและยกตัวอย่างคุณสมบัติเหล่านั้นที่จำเป็นช่วงออกนอกระบบ
  • เสนอแนะแนวทาง/วิธีการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ของ ม.อ. ที่ได้ผล 3 แนวทาง พร้อมทั้งอธิบายเหตุผล

2.วิเคราะห์ภาวะผู้นำแนวของปีเตอร์ ดรักเกอร์ กับ จีระ หงส์ลดารมภ์ เหมือนกันและแตกต่างกันอย่างไร และเรื่องใดที่ควรจะเป็นแนวปฏิบัติสำหรับผู้นำรุ่นใหม่ของ ม.อ.

3.วิเคราะห์เรื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนา ม.อ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน 3 เรื่องที่สำคัญที่สุด และผู้นำ ม.อ. จะต้องใช้กลยุทธ์โดยเน้นการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบ fast – uncertainty and unpredictable ในบริบทของ ม.อ.

4.เสนอแนะการปรับ Mindset ให้เกิดความสำเร็จใน ม.อ. ให้เปลี่ยนจาก Fixed มาเป็น Growth mindset จะเกิดได้อย่างไร? หลักสูตรนี้ช่วยอย่างไร?

Quotation


“Managing is doing things right , Leadership is doing the right things.”

Peter Drucker

“Don’t tell people how to do, tell them what to do and let them surprise with results.”

George S. Patton

“Leadership is an art of getting someone else to do something you want because he wants to do it.”

Dwight D. Eisenhower

34th President of the United States

“Leadership is a dealer of hope”

Napoleon

“ผู้นำส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์ แต่สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ และสามารถฝึกฝนได้”

จีระ หงส์ลดารมภ์

“The key to successful leadership is influence not authority”

K. Blanchard.

“The world is changing very fast and unpredictable”

Michael Hammer

“Comparative advantage of countries or economies depend on the quality of human resources.”

Michael Porter

“Low labor productivity preventsThailand’s strong competitiveness”

Michael Porter

“คน คือ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร”

พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

“ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน ไม่ใช่เงิน สิ่งของหรือเครื่องจักร

แต่เป็นคน เช่น สิงคโปร์ หรืออิสราเอล”

จีระหงส์ลดารมภ์

“People have unlimited Potential”

Antony Robbins

“Cultivation is necessary but harvesting is more important”

Chira Hongladarom

ปลูกพืชล้มลุก..3-4 เดือน

ปลูกพืชยืนต้น..3-4 ปี

ปลูกพืชคน..ทั้งชีวิต

สุภาษิตจีน

“การมองภาพทรัพยากรมนุษย์

จาก Macro สู่ Micro”

จีระหงส์ลดารมภ์

ผู้นำกับผู้จัดการ

เรากำลังลดช่องว่างของผู้นำและผู้จัดการ สิ่งที่สำคัญคือผู้นำจะอยู่ตรงจุดไหน

ผู้นำ

  • เน้นที่คน
  • Change

-Trust

-ระยะยาว

-What , Why

-มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์

-เน้นนวัตกรรม

ผู้บริหาร

  • เน้นระบบ
  • Static

-ควบคุม

-ระยะสั้น

-When , How

-กำไร/ขาดทุน ทุก 3 เดือน

-จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ

ชนิดของผู้นำ

1. Trust / Authority Leadership สร้างศรัทธาในความเป็นผู้นำขององค์กร

2. Charisma Leadership

3. Situational Leadership

4. Quiet Leader Leadership

5. Transformational Leadership

6. Transactional Leadership

7. Authenticity Leadership

คุณสมบัติของผู้นำตามแนวทางของ Mandela

1. กล้าหาญ

2. ต้องรุกได้ แต่ต้องตั้งรับและไม่ประมาท

3. การนำอยู่ข้างหลังจะต้องแน่ใจว่าคนที่เรายกย่องให้มีบทบาทอยู่ข้างหน้าต้องให้เขามีความรู้สึกว่า เขาได้นำอย่างน่าภูมิใจและสมศักดิ์ศรี

4. ถ้าจะจัดการบริหารศัตรู ต้องรู้จักศัตรูให้ดี

5. การจะอยู่อย่างผู้นำควรใกล้ชิดกับเพื่อน แต่กับคู่แข่งหรือคนที่เราไม่ชอบต้องใกล้ชิดมากกว่า

6. มีภาพลักษณ์ที่ดี ต้องปรากฎตัวตามที่ต่าง ๆ อย่างมีเกียรติและสง่างามเสมอ

7. ไม่เน้นถูกหรือผิดแบบ 100 % หรือขาวหรือดำ 100% มีการประนีประนอมที่เหมาะสม แต่รักษาหลักการไว้ และหาทางตกลงกันได้แบบ Win-Win

8. รู้ว่าจังหวะไหนจะ “พอ” หรือ จะ “ถอย”

8 Rules of Leadership (Obama)

  • สร้างศรัทธาและความมั่นใจ Trust และ Confidence แก่ผู้ร่วมงานและแนวร่วม
  • สร้างขวัญกำลังใจให้แก่เพื่อนร่วมงานทุกคน (Motivation and inspiration)

2.เป็นผู้นำต้องรู้ว่า จะพาประเทศไปทางไหนโดยสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (Communicate your Vision Effectively)

3.สร้างให้คนส่วนใหญ่ เข้าถึงประวัติ ความสำเร็จ ความสามารถที่สะสมมาในอดีต สร้างชื่อเสียง (Build Strong Reputation)

4.สร้าง Networks ในทุกๆ แห่ง โดยเฉพาะในจุดที่ตัวเองอาจจะไม่มีโอกาสได้สัมพันธ์มาก่อน (Make Friends in Unusual Places)

5.ทุกคนที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ใช่มีแค่ High performance ของความสำเร็จของบางกลุ่ม แต่ต้อง All hands คือการให้ทุกๆ คนมีส่วนได้ส่วนเสีย ก็คือการสร้างทีมงานที่ทุกคนทำงานร่วมกัน

6.สร้างความหลากหลายให้เป็นมูลค่าเพิ่ม (Diversity to value added)

7.ใช้ Technology ให้เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน เช่นการสร้าง Social Network ก็ให้คน 2 ล้านคน ช่วยสนับสนุนการเงินในช่วงหาเสียง

คุณสมบัติของผู้นำของฮิลลารี คลินตัน

  • เรียนรู้ตลอดชีวิต

-อย่าพอใจกับปริญญาเท่านั้น

-อย่าพอใจกับการเรียนในห้อง (Formal Learning)

-สนุกกับการคิดนอกกรอบ

-สนุกกับการคิดข้ามศาสตร์

-ถึงจะเก่งอย่างไร? ก็ต้องรับฟังคนอื่น

6 of the Dalai Lama's Leadership Principles

-อย่าสั่งการ ต้องเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน

  • ถ้าต้องการเรียนรู้อะไรบางอย่าง ต้องฟัง และค้นคว้าหาข้อมูล
  • มีความรับผิดชอบ

-อย่าคิดว่าตัวเราคิดถูกทุกเรื่อง หากมีคนที่คิดไม่เหมือนเราซึ่งคุณคิดว่าไม่ถูกต้อง..ต้องควบคุมอารมณ์ให้ได้

-มีอารมณ์ขัน อย่าโกรธง่าย รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

-สอนให้คนรู้จักคิด หาคำตอบได้ด้วยตัวเอง อย่าบอกคำตอบหรือหาทางออกให้ทุกเรื่องทุกเรื่อง

คุณสมบัติของผู้นำของนายกฯอภิสิทธิ์

  • มีวิสัยทัศน์
  • ไฝ่รู้

-บริหารวิกฤตได้ดี

-เรียนรู้จากความเจ็บปวด

-อดทน เข้มแข็ง

-ตั้งมั่นในสติ

-ซื่อสัตย์สุจริต มีธรรมาภิบาล

-กล้าหาญ

-ปรับตัว

คุณสมบัติของผู้นำของท่านผู้ว่าฯ เกษม จาติกวณิช หรือ “Super K”

1. ผู้นำต้องมีความรู้

2. ผู้นำต้องทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารักและเคารพ

3. ผู้นำต้องสร้างจิตวิญญาณในการทำงานเป็นทีม

4. ผู้นำต้องรู้จักมอบหมายงาน

5. ผู้นำต้องฟังความเห็นผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับ

6. ผู้นำต้องรู้จักให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่โอ้อวดและยกตนข่ม

7. ผู้นำต้องมีความเมตตา โอบอ้อมอารีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

4 E’s Leadership ( Jack Welch )

  • Energy มีพลัง
  • Execution ลงมือทำให้เกิดความสำเร็จ

2.Energize สามารถกระตุ้นให้คนอื่นมีพลัง

3.Edge เด็ดขาด กล้าตัดสินใจ

4 Roles of Leadership (Stephen Covey)

  • Path finding การค้นหาเส้นทางความก้าวหน้า/การพัฒนา
  • Role Model การเป็นแบบอย่างที่ดี

2.Aligning กำหนดทิศทางไปในแนวทางเดียวกัน

3.Empowering การมอบอำนาจ

ทฤษฎีล่าสุดของJack Welch

Leader / Teacher

Leadership Roles (Chira Hongladarom’s style)

1. Crisis management การจัดการภาวะวิกฤต

2. Anticipate change คาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงได้

3. Motivate others to be excellent การกระตุ้นผู้คนสู่ความยอดเยี่ยม

4. Conflict resolution การแก้ไขความขัดแย้ง

5 Explore opportunities การสร้างโอกาสแก่ผู้อื่น

6. Rhythm & Speed รู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็ว

7. Edge ( Decisiveness ) กล้าตัดสินใจ

8. Teamwork ทำงานเป็นทีม

9. Uncertainty Management การบริหารความไม่แน่นอน

ภาวะผู้นำของ PeterDrucker

1. Ask what needs to be done

ถามตัวเองว่าเราต้องทำอะไรให้สำเร็จ

2. Ask what’s right for enterprise

ถามว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้องที่ต้องลงมือทำ

3. Develop action plans

พัฒนาแผนปฏิบัติการ

4. Take responsibility for decision

รับผิดชอบต่อการตัดสินใจ

5. Take responsibility for communicating

รับผิดชอบต่อการสื่อสาร

6. Focus on opportunities not problems

มุ่งที่โอกาสไม่ใช่ปัญหา

7. Run productive meetings

จัดให้มีการประชุมที่สร้างให้เกิดผลผลิต

8. Think and say We not I

คิดและพูดด้วยคำว่า “เรา” ไม่ใช่ “ฉัน”

การมอง ม.อ.ใน 20 ปีข้างหน้า

1. บทบาทผู้นำในอนาคตจะเป็นอย่างไร

2. บทบาทผู้นำจีน 5 รุ่น

กรณีศึกษาผู้นำจีน 5 รุ่น

รุ่นที่ 1 (1949 - 1976)

เป็นผู้นำรุ่นบุกเบิกมี เมาเซตุง (Mao Tse-tung) หรือ โจว เอ็นไล (Zhou En lai) เป็นหลัก รุ่นนี้ คือ

  • รุ่นเปลี่ยนแปลงการปกครอง ชนะการปฏิวัติมา เป็นผู้บุกเบิก
  • ต้องสร้างระบบให้แน่น เพราะระบบเดิมยกเลิกหมด เช่นทรัพย์สินทุกอย่างเป็นของรัฐไม่ใช่ของบุคคลเศรษฐกิจ คือ รัฐเป็นคนกำหนด

-ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างจะมาก

รุ่นที่ 2 (1976 - 1992)

คือ เติ้ง เสี่ยว ผิง (Deng Xiaoping)

เป็นช่วงที่การเมืองนิ่งแล้ว แต่ระบบเศรษฐกิจแบบรัฐเป็นผู้กำหนด จะไม่สามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในชาติได้ เพราะประชากรมาก – คาดหวังสูง จึงต้องมีเติ้งเสี่ยวผิงมาเป็นผู้นำ

เน้นทฤษฎีไปสู่ Practical เป็นผู้ที่พูดว่า “แมวสีอะไรก็ได้ขอให้จับหนูเป็น” คือ เป็น 1 ประเทศ 2 ระบบ นำเอาทุนนิยมเข้ามา – เชิญต่างประเทศเข้ามาลงทุน ทำให้จีนขยายตัวทางเศรษฐกิจเร็ว เพราะคนจีนขยันและเคยทำการค้ามาก่อน วันนี้จีนเติบโตมากกลายเป็นมหาอำนาจ

รุ่นที่ 3 (1992 - 2003)

คือ เจียง ซี มิน (Jiang Zemin)

เป็นผู้นำประเทศสู่โลกภายนอก

เศรษฐกิจแข็งแรงขึ้น แต่ต้องมีบทบาทในโลก

จัดประชุม APEC 2003 ในจีน

นำจีนเข้า WTO

เปิดประเทศทางเศรษฐกิจมากขึ้น

ส่งความช่วยเหลือไป Africaและประเทศด้อยพัฒนา

รุ่นที่ 4 (2003 – 2013)

คือ หู จิ่นเทา (Hu Jintao)

เห็นความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจจีนเป็นอันดับ 2 ของโลก จีนมีอิทธิพลต่อโลกมากขึ้นทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ

แต่เริ่มมีปัญหาเสรีภาพในประเทศ และความเหลื่อมล้ำ

รุ่นที่ 5 (2013 – 2023)

คือ สิ จินผิง (Xi Jinping)

ผู้นำรุ่น 5 จะต้องเก่งเรื่องประชาธิปไตยเปิดแบบจีนที่โลกยอมรับ มีสิทธิมนุษยชนมากขึ้น และดูแลการกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปทุกกลุ่มและทุกภูมิภาคของจีนไม่ให้เหลื่อมล้ำ ให้เศรษฐกิจจีนสมดุลกับโลกภายนอก โดยเฉพาะค่าเงินหยวน

Xi jinping

  • พื้นฐานดี เรียนวิศวะ แล้วจึงมาเป็นผู้นำ คือ มีระบบความคิดเป็นวิทยาศาสตร์ ไม่เหมือนผู้นำไทยส่วนใหญ่คิดไม่เป็นระบบ
  • ซึ่งผิดกับคนไทย ตกทั้ง 2 ด้าน ที่ไม่เน้นปัญญาและไม่เน้นการเรียนเพื่อมืออาชีพ

-ชีวิตช่วงวัยรุ่น เจ็บปวด เพราะ มีปัญหาทางการเมืองในจีนจึงถูกส่งไปฝึกงานในชนบท คลุกคลีกับชาวบ้าน คือ ติดดิน เห็นความจริงของสังคม เปรียบเทียบกับอดีตนายกอภิสิทธิ์เป็นคนดี แต่ไม่รอบรู้สังคมและวิถีชีวิตไทยอย่างลึกซึ้ง

-เป็นคนมีหลักการ มีวิธีการที่ปฏิบัติดีที่ทำให้หลักการไปสู่ความสำเร็จ คือ หลักการไม่เคยเปลี่ยน คือ จีนเป็นสังคมนิยม กระจายรายได้เสมอภาคไม่ใช่รวยอย่างเดียว ต่างกับอุดมการณ์ของระบอบทักษิณ มีวิธีการอย่างเดียวคือรวย แต่ได้มาอย่างไรก็ได้

-ยกย่องเติ้งเสี่ยวผิงที่ให้ประเทศจีนมี 2 ระบบการเมืองและดึงทุนนิยมเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจของโลก

-เน้นคุณธรรมจริยธรรมก่อน ความรวย หนังสือของเขาชื่อ The Governance of China แปลว่าเป็นประเทศจีนโปร่งใส ไม่ยอมให้เกิดการโกงขึ้นในประเทศ จึงเป็นผู้นำที่น่ายกย่อง ยุคเขาจัดการผู้นำจีนใหญ่ๆหลายคนเข้าคุก ดำเนินคดีเป็นตัวอย่างโดยไม่กลัวอิทธิพลใดๆ

-และที่ถูกใจผมมาก คือ เรื่องทุนมนุษย์ สรุปว่าเขาเน้น 2 อย่าง

-ทุนมนุษย์พื้นฐานคือ จริยธรรมต้องมาก่อนคล้ายๆ 8K’s

-ต้องพัฒนาทุนมนุษย์ให้เป็นมืออาชีพ มีมาตรฐานเป็นเลิศ

ดร.จีระไม่เคยเขียนเรื่อง Trust มาก่อน แต่ดูจากหนังสือ 2 เล่มก็พบว่า สิ่งที่ผมทำอยู่ก็น่าจะสร้างศรัทธาโดยเน้นทุนมนุษย์ได้ระดับหนึ่งซึ่งมี 7 ข้อ หรืออาจจะเรียกว่า “Chira Way 7 ข้อเรื่อง Trust” เป็นแนวคิดเพิ่มเติม คือ

  • ทำอย่างต่อเนื่อง กัดไม่ปล่อย 3 ต. เพราะทำเรื่องทุนมนุษย์เกือบ 40 ปีแล้ว
  • และสุดท้ายคือ Networking คือ ทำงานเป็นทีมและสร้างเครือข่าย

2.เน้นนับถือ (Respect) และ ศักดิ์ศรี (Dignity)

3.ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

4.ตรงประเด็น และเน้นความจริง 2 R’s

5.มองประโยชน์ระยะยาว

6.สร้างพลังในการทำงาน (Passion)

ผู้นำจะสร้างอย่างไร



ทฤษฎี 5 E’s**

1. Example คือ เป็น/สร้างตัวอย่างที่ดี

2. Experience คือ สะสม/ถ่ายทอดประสบการณ์

3. Education คือ ให้การศึกษา ให้ความรู้

4. Environment คือ สร้างบรรยากาศที่ดี

5. Evaluation คือ มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

การวิเคราะห์ของอาจารย์ที่ University of Washington ผู้นำจะต้องมี 4 วิธี

1. Character หรือ คุณลักษณะ

ที่พึงปรารถนา เช่น

- ชอบเรียนรู้

- มีทัศนคติเป็นบวก

- การมีคุณธรรม จริยธรรม

2.มี Leadership skill ที่สำคัญ

คือ- การตัดสินใจ

- การเจรจาต่อรอง

- การทำงานเป็นทีม

- Get things done

3. เรียกว่า Leadership process

คือ การมี Vision และมองอนาคตให้ออก

4. คือ Leadership value

สำคัญที่สุดคือ Trust ความศรัทธาในผู้นำนั้น ๆ

John Kotter ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Leading Change พูดถึง กลยุทธ์ในการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง 8 ขั้นตอน โดยถือเป็นภาระของผู้นำที่จะต้องกระตุ้นองค์การให้เปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • สร้างความรู้สึกถึงตระหนักถึงความจำเป็น สร้างความรู้สึกกระตือรือร้น และเร่งด่วนที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร (Establishing a sense of urgency)
  • ปลูกฝังวิธีใหม่ในองค์การให้คงอยู่ (Institutionalizing new approaches)

2.การรวมกลุ่มที่มีพลังมากพอที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (Forming a powerful guiding coalition)

3.สร้างวิสัยทัศน์ (Creating a vision)

4.การสื่อสารและถ่ายทอดวิสัยทัศน์ (Communicating the vision)

5.การให้อำนาจและทำให้คนในองค์กรดำเนินการตามวิสัยทัศน์ (Empowering others to act on the vision)

6.การวางแผนเพื่อให้เกิดความสำเร็จในระยะสั้น (Planning for and creating short-term wins)

7.ประมวลการปรับปรุงเหล่านี้ให้ครบถ้วน (Consolidating Improvements and Producing still more Change)

การเปลี่ยนแปลงมี 3 ชนิด

1. เร็วคืออะไร ที่เรียกว่าเร็ว

2. ไม่แน่นอนคืออะไร และต้องใช้ผู้นำประเภทไหน

3. คาดไม่ถึงคืออะไร และต้องใช้ผู้นำประเภทไหน

กฎเกณฑ์ 7 Change

1. Complexity

2. Clarity

3. Confidence

4. Creativity

5. Commitment

6. Consolidation

7. Change

Principle 5 ข้อของ Leaders กับ Change

  • แต่ละคนมีความรู้สึกเรื่อง Change แตกต่างกัน
  • ต้องบริหาร Fear หรือความกลัวให้ได้

2.ต้องศึกษาความต้องการของแต่ละคนเกี่ยวกับ Change

3.Change กับ Loss ไปด้วยกัน ศึกษาให้ดีว่าจะต้องจัดการกับ loss อย่างไร

4.การคาดหวัง Expectation ต้องบริหารให้ดี

กฎ 9 ข้อ Chira - Change Theory

1. Confidence มั่นใจ

2. Understanding Future มีความเข้าใจอนาคต

3. Learning Culture มีวัฒนธรรมในการเรียนรู้

4. Creativity มีความคิดสร้างสรรค์

5. Networking มีเครือข่าย

6. Win step by step ชนะเล็กๆ

7. Keep doing and continuous improving ทำต่อเนื่อง 3 ต.

8. Share benefits ผลประโยชน์ต้องกระจายทุกกลุ่ม

9. Teamwork in diversity สร้างทีมเวิร์คที่มีความหลากหลาย

หลักที่สำคัญ 4 ข้อ เพื่อทำให้เกิด Growth Mindset กับทีม

Emotional Intelligence Mindset

Connection Mindset

Growth Mindset

Performance Mindset

หลักที่สำคัญ 4 ข้อ เพื่อทำให้เกิด Growth Mindset กับทีม

Emotional Intelligence Mindset

มีความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง พฤติกรรมที่ทำให้ทีมมีความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ แล้วจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นในระดับองค์กร และนำไปสู่การแสดงความสามารถในการทำงานของพนักงาน ถ้าผู้นำมี Emotional Intelligence Mindset จะนำไปสู่ Performance โดยเฉพาะเรื่องของ Loyalty และความเชื่อมั่นในองค์กร

Connection Mindset

หมายความว่า ผู้นำต้องสามารถถ่ายทอดประสบการณ์และสิ่งที่องค์กรคาดหวังไปสู่พนักงานเพื่อให้เข้าใจตรงกัน เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าใจเป้าหมายและทำให้เกิด Connection ไม่ใช่ Communicationคำว่า Connect มีความลึกซึ้งมากกว่าการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร แต่รวมถึง Emotion ผู้นำต้องสร้างความรู้สึกพร้อมถ่ายทอดเป้าหมายต่างๆ

Growth Mindset

ผู้นำควรมี Growth Mindset และต้องทำหน้าที่เป็น Mentor เป็นโค้ชเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันกับทีม ตอนหลังองค์กรเน้น Self-coaching เป็นการสร้าง Growth Mindset ตรงไปยังตัวพนักงาน

Performance Mindset

สร้าง Performance ให้กับเพื่อนร่วมทีม ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ภาวะผู้นำไม่มี Pattern ที่แท้จริง ให้ดึงสิ่งที่ดีที่เหมาะสมกับตัวเราแล้วปรับไป

Workshop

กลุ่มที่ 1 วิเคราะห์คุณลักษณะและบทบาทของผู้นำ ม.อ.ที่พึงปรารถนาที่สุดในอนาคต 5 ข้อ พร้อมทั้งเหตุผล และยกตัวอย่างผู้นำระดับโลก และประเทศ 3 ท่านที่เป็น Role Model ของ ม.อ. อธิบายและยกตัวอย่างคุณสมบัติเหล่านั้นที่จำเป็นช่วงออกนอกระบบ

5 H Head Heart Hand Habit Health มีสมองพื้นฐานปัญญา วิจัย และฐานสุขภาวะทั้งหมด

  • Head – Planning Organization, Imagination , Creativity
  • Heart – Service mind , Humanity
  • Hand – Innovation , Sustainability
  • Habit – Mindset, Attitude, Believe
  • Health – สุขภาพรวมทั้งหมด (ดร.เสนอว่าให้ใช้คำว่า Holistic)

ยกตัวอย่าง Nelson Mandela และการมี Networking แบบ Mark Zuckerberg

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

แปลความหมายได้ดี จับประเด็นได้ดี เสนอว่าใช้คำว่า Health เป็น Holistic ดีกว่า

กลุ่มที่ 2 วิเคราะห์ภาวะผู้นำแนวของปีเตอร์ ดรักเกอร์ กับ จีระ หงส์ลดารมภ์ เหมือนกันและแตกต่างกันอย่างไร และเรื่องใดที่ควรจะเป็นแนวปฏิบัติสำหรับผู้นำรุ่นใหม่ของ ม.อ.

สิ่งที่เหมือนกัน คือ

1. Teamwork แต่ตอนเหมือนกันไม่เหมือนกันหมด ปีเตอร์เน้นประเด็นคิดและพูด ดร.จีระ เน้นการทำงานเป็นทีม เน้นเชิงบริหารจัดการ แก้ไขปัญหา

2. Opportunities ปีเตอร์มุ่งที่โอกาสไม่ใช่ปัญหา ดร.จีระ มุ่งที่สร้างโอกาสให้ผู้อื่น

3. Communication ปีเตอร์เน้นเรื่องความรับผิดชอบการสื่อสาร ดร.จีระ เน้นเรื่องการแก้ไขความขัดแย้ง

สิ่งที่แตกต่าง คือ

1. ภาพรวมปีเตอร์มองในเรื่องด้านบริหาร เน้นผลผลิตไม่เยอะ ดร.จีระ เน้นวิสัยทัศน์การเป็นผู้นำ มองปัญหา

2. รายละเอียดดร.จีระมองเรื่องคาดการณ์ปัญหาก่อนเพื่อป้องกัน

3. การกระตุ้นผู้คนสู่ความยอดเยี่ยม

4. รู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็ว

5. การบริหารความไม่แน่นอน

การเลือกของทั้ง 2 ท่านมาปรับใช้ใน ม.อ.

ปีเตอร์ ดรัคเกอร์

1. Goal ดูว่าจะทำอะไรให้สำเร็จ

2. What’s right for enterprise อะไรเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

3. มุ่งที่โอกาสไม่ใช่ปัญหา

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1.คาดการณ์การเปลี่ยนแปลง เช่น จำนวนนักศึกษาลด

2. กระตุ้นผู้คนสู่ความยอดเยี่ยม

3. แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

4. ความเท่าเทียม

สุดท้าย ทางกลุ่มขอเพิ่มเรื่องธรรมาภิบาลขึ้นมา

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Timing ของ ปีเตอร์ ดรัคเกอร์ และ ดร.จีระ อยู่ในช่วงเวลาแตกต่างกัน ของปีเตอร์อยู่ในมุมองของ Manager สู่การเป็นผู้นำ ปีเตอร์ ดรัคเกอร์เหมือน Stageที่ 1 และ ดร.จีระ มาต่อ Stageที่ 2

บทความปีเตอร์เขียนในช่วงการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการมองพื้นฐานเป็นจำนวนมาก ส่วนดร.จีระ การเขียนอยู่ในช่วงวิกฤติ

กลุ่มที่ 3 วิเคราะห์เรื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนา ม.อ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน 3 เรื่องที่สำคัญที่สุด และผู้นำ ม.อ. จะต้องใช้กลยุทธ์โดยเน้นการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบ fast – uncertainty and unpredictable ในบริบทของ ม.อ.

การเปลี่ยนแปลงเรื่องการออกนอกระบบจะรู้ว่าปัจจัยเรื่องเงินมีผลกระทบรุนแรงมาก แต่สิ่งสำคัญคือควรมาดูสิ่งที่สำคัญก่อน

1. บุคลากร ต้องดูว่าบุคลากรทุกคนใน ม.อ.มีความพร้อมเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบหรือไม่ จะพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพพร้อมเปลี่ยนแปลงอย่างไร ระบบการประเมิน TOR ปั่นป่วน เป็นที่บั่นทอนจิตใจมาก แต่ละคนแต่ละบริบทแตกต่างกัน ในเรื่องสายสนับสนุนต้องมองดูว่าในสมัยนี้หรืออีก 20 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร บุคลากรดีเงินจะมาเอง

2. การวิจัย ม.อ.เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย งานวิจัยได้เกิดผลลัพธ์หรือผลผลิตจากการวิจัยด้านไหนบ้าน อย่างในอันดับ 5 เสือ 1 ใน 5 ของ Ranking จะเป็นอย่างไร งานวิจัยมีตัว Innovation หรือไม่ บริบทของมหาวิทยาลัยสร้างคนเพื่อพัฒนาชุมชน ดังนั้นต้องดูงานวิจัยที่ตอบโจทย์สังคม ปัญหาคือ ม.อ.ไม่เข้าถึงชุมชน ดังนั้นงานวิจัยควรมอง 3 ด้าน 1.Ranking 2.Innovation 3.Society ดังนั้นที่เสนอให้กับมหาวิทยาลัยคือให้หาเวทีช่วยเขาในการทำวิจัยให้เหมาะสม ถ้าอยากเป็นระดับ Inter ให้นำทุนวิจัยมาช่วยได้หรือไม่ หรือไปขอเงินกู้แล้วมาลงให้กับ ม.อ. ทำอะไรบ้าง ให้ทุนอาจารย์ทำวิจัย มีทุนการศึกษาให้เด็ก ซื้อครุภัณฑ์ต่าง ๆ

3. การเรียนการสอน คุณภาพของผู้เรียนและผู้สอนต้องสอดคล้องกัน คุณภาพของเด็กต้องมองว่าถูกกระทบด้วย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องยอมรับความจริงว่าเด็กดี ๆ ไม่ได้อยู่ที่ม.อ. แต่จะทำให้เด็กดี ๆ อยู่ได้อย่างไร คุณภาพการเรียนการสอนเป็นสิ่งสำคัญ อาจารย์พร้อมสอนหลักสูตรนานาชาติหรือไม่ เด็กมีความสามารถขนาดไหน รวมถึงภาษาอื่น ๆ หลักสูตรมีความพร้อมหรือไม่ ระบบ IT ของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างไร ผู้สอนจะสอดคล้องและตอบรับอย่างไร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อยากให้ดูโจทย์ว่าการเปลี่ยนแปลงอะไรที่รวดเร็ว อะไรที่ไม่แน่นอน และอะไรที่คาดการณ์ไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตามที่เสนอมาทั้งหมดตรงประเด็น ที่เหลือคือกลุ่มนี้จะรวมพลังกันจัดการอย่างไรอยากให้รุ่นนี้รวมตัวกันอย่างนี้ต่อไปและรักกันจริง ๆ แก้ไข ทำต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

ปัญหาของเราคือขาด Resource Pool จึงเสนอให้หาพันธมิตรข้างนอก การเสนอแนะให้เสนอสิ่งที่ทำอยู่แล้ว และเรื่อง Resource ให้หาให้เร็วขึ้น เพราะขณะนี้ ม.อ.ติดที่เรื่อง Finance เป็นปัญหา Critical มาก

4. เสนอแนะการปรับ Mindset ให้เกิดความสำเร็จใน ม.อ. ให้เปลี่ยนจาก Fixed มาเป็น Growth mindset จะเกิดได้อย่างไร? หลักสูตรนี้ช่วยอย่างไร?

เราจะปรับคนที่มอง Passive Learning ให้มาใช้ Active Learning มีกระบวนการอย่างไรบ้าง

หาผู้นำที่เป็น Role Model และสร้างแรงจูงใจ Inspiration ทำอย่างไรให้เห็นประโยชน์จากการนำไปใช้ และให้ Empowerment ว่าทำได้ การสร้างผู้นำหรือ Role Model จะทำให้เขาเชื่อผู้นำว่า

สร้างแรงบันดาลใจและให้โอกาสคนที่เป็น Fixed Mindset และระหว่างที่ทำคนนั้นจะสามารถแก้จุดบกพร่องให้เกิดการเรียนรู้ได้

วิธีการ

1. ชัดเจนในโจทย์ ต้องจัดการภาวะวิกฤติให้เกิดขึ้นทำให้เห็นโจทย์ชัดเจน

2. ความเชื่อที่ว่าโจทย์ทุกโจทย์เปลี่ยนแปลงได้

3. กระบวนการหรือ Process ทำอย่างไร เน้นการกระตุ้น แก้ไข ให้โอกาส ให้มีอะไรก็ได้ที่ทำให้เขาเจิดจรัสได้ สร้าง Inspiration เน้นการกระตุ้น แก้ไข และให้โอกาส

4. กลยุทธ์คือ

- รู้จังหวะ และความรวดเร็ว

- การตัดสินใจจะทำอย่างไรให้เกิดการร่วมตัดสิตใจเป็นการทำงานทางบวก

- การทำงานเป็นทีม มองแบบองคาพยพที่จะ Balance อย่างไร สถานการณ์จะตั้งรับและเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เสริมเรื่อง Mindset ที่มี Impact ต่อ ม.อ. ยกตัวอย่างเรื่องการศึกษาที่ฟินแลนด์ บางครั้งคนที่สอนแบบเดิมไม่มีคนไป Pressure เขา ถ้าทำเรื่องนี้จริงจังจะเป็นประโยชน์

หาช่องไปสู่ความสำเร็จได้ คนในห้องนี้ต้องเน้นเรื่องศักยภาพที่ร่วมกัน

เน้นการกระตุ้นทางลบให้เกิดเป็น Positive Approach อยากให้เป็นลักษณะการบวก หรือเสริมแรงทางบวก คือการให้โอกาสเขา

5. เสนอแนะแนวทาง/วิธีการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ของ ม.อ. ที่ได้ผล 3 แนวทาง พร้อมทั้งอธิบายเหตุผล

มีทฤษฎีใหม่ 3 I

1. Identifying Person หากระบวนการคัดเลือกบุคลากรที่มีภาวะอยู่ในตัวและรู้ตัว ม.อ.ต้องสร้างกระบวนการที่หาตัวบุคคลให้เขาแสดงตัวตนออกมา

- สร้างระบบประเมินผู้นำแบบ 360 องศา ประเมินแบบ Cross Check ซึ่งกันและกัน

2. Injection Skill เพิ่ม Skill ที่ทำให้เขาพัฒนาหรือไม่พัฒนา

- Leadership Skill ปูลักษณะพื้นฐานที่ผู้นำควรมี

- Professional Skill เป็นการลงลึกในการทำงาน ให้ผู้นำเรียนรู้ว่าวัฒนธรรมองค์กรแต่ละที่มีรูปแบบการทำงานไม่เหมือนกัน ทำให้ผู้นำเห็นจุดแข็งและจุดอ่อนที่มีอยู่

- Interpersonal Skill คือให้ทักษะการเป็นผู้นำแบบพุ่งเป้า แรงผลักดันไม่ค่อยมี มีการผลักดันตามกลุ่ม ผู้นำบางคนไม่กล้าปะทะ ให้นำองค์กรคิดแบบเชิงรุก คิดแบบนักธุรกิจทำไว คิดไว ฃ

- Communication Skill เน้นเรื่องการสื่อสาร

- Rational Skill

3. Incharging of Duty สร้างเวทีให้เขาฉายแสง คือให้เขาแสดงเวทีผู้นำในตัวออกมา โดยทักษะที่แสดงออกมาต้องเป็นทักษะรอบด้านคือสมอง ความรู้ อารมณ์และอื่น ๆ

ทั้ง 3 I คิดว่า ม.อ.ควรทำต่อเนื่อง I2 I3 ควรมีลักษณะการหมุนวง และให้เรียนรู้จากเงาคือ Learning from Shining จะทำให้เห็นแนวคิดในการตัดสินใจเพื่อสร้างคุณค่าให้มากขึ้น

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ต้องพยายามประคับประคองและ Accommodate คนต่าง ๆ ดังนั้นการมีผู้นำคือ Identify และ Skill แล้วขอให้เขายั่งยืน

เราควรใช้ Anticipate ในวันนี้ ยุคต่อไปต้องเป็นยุคการเปลี่ยนแปลงระดับใหญ่ ในอดีตเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบ Incremental

แทนที่จะทำงานคนเดียว ถ้าไม่จับมือกันการเปลี่ยนแปลงจะไม่เกิด

ประเด็นสำคัญในวันนี้อย่ามี Box Thinking อย่าขีดวงตัวเอง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การสร้างผู้นำ ผู้บริหาร ความเป็นเวทีไม่ใช้วิชาเดียว

กลุ่ม 1 มีความสร้างสรรค์สูง แต่สอดใส่วิชาการไปในรูปเดียว

กลุ่ม 2 เป็นผู้นำนักบริหารจัดการคือมีความเหมือน ความแตกต่าง วางถูกและนำไปใช้ได้ และเป็นกลุ่มที่จัดลำดับได้ดี มองเรื่องการประกอบการกระตุ้นRhythm & Speed

กลุ่ม 3 เป็นนักยุทธศาสตร์วางแผน แต่ปัญหากลุ่มนี้คือไม่ค่อยคม แต่มีการวิเคราะห์ทำงานแบบขั้นตอน มองยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจและการเรียนการสอน

กลุ่ม 4 เป็นเรื่องยาก ลักษณะเป็นแบบ Mentor & Coach เลือกประเด็นมาอธิบายเป็นเรื่องที่ง่ายและเข้าใจ Rhythm & Speed คือศิลปะ ต้องดูคนอื่นด้วย มี Harmony ด้วยต้องรู้จักการรอคอย คนเดียวไม่ได้ต้องร่วมมือร่วมใจกัน

กลุ่ม 5 เป็นผู้นำนักประกอบการรุ่นใหม่ ทำในสิ่งที่ได้ 3 แนวทาง สำคัญที่สุดที่อยากฝากไว้คือ ถ้าคมและชัดได้แค่นี้จะเก่งมาก คือจับประเด็นได้

สรุปคือ ผู้นำเป็นแบบเดียวไม่ได้ ให้ยึดโยงด้วยค่านิยมจะเป็นผู้นำแบบไหนขึ้นกับสถานการณ์ที่นำไปใช้



วิชาที่ 3 Public Speaking (Ice Breaking Activity)


โดย อาจารย์รณกฤต สิทธิพรหม

สิ่งที่สนใจคือผลลัพธ์และผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร สิ่งที่ทำจะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นอย่างไร สิ่งที่จะแสดงให้โลกนี้รู้คืออะไร

วิธีการ

1. วิธีคิด Mindset

2. เทคนิค Content - กระบวนการความคิดนอกจาก Content ต้องทำให้เกิดสิ่งใหม่เกิดขึ้น

3. ทักษะ

4. ฝึก

อะไรก็ตามที่เราใช้เวลากับสิ่งนั้นอยู่เยอะเราจะเป็นอย่างนั้น

การพูดต่อสาธารณชนดีอย่างไร

1. เปิดโอกาสความสำเร็จให้มากขึ้น สร้างการรับรู้ต่อผู้คนก่อน

2. ผู้นำต้องทำ

3. ให้ปัญญากับผู้อื่นได้มากขึ้น

ภาวะแห่ง Zen

1. สว่างตื่นรู้

ทฤษฎี Theory U สู่การก้าวผ่านตัวกู ของกู

การเดินทางเริ่มต้นจากการ Download ก่อน และจะไปเกิดความคิดใหม่ แต่ก่อนไปเกิดความคิดใหม่จะเกิด 3 ตัวกูคือ

Your Enemy

1. VOJ- Voice of Judgment ตัดสินว่าทำได้ ไม่ได้ ไม่ชอบ

2. VOC- Voice of Cynicism อิน ไม่ได้เรียนรู้อะไร

3. VOF - Voice of fear กลัว

วิธีแก้คือ Let it go คือปล่อยไป แล้วทำไปซะ การปล่อยผ่านได้ต้อง Relax จะเกิดตกผลึกแล้วทำให้เกิดเป็น Innovative ขึ้นมา

หลักการ คือทำอะไรให้คนจำต้องทำให้เหมาะสม อยากให้เขาจำเทคนิคอะไรต้องขยี้เทคนิคนั้นบ่อย ๆ แต่อย่าทำบ่อยเกิน

2. นอกกรอบ (Out of the box)

กิจกรรม วางดินสอเอาไว้บนโต๊ะ และทำอย่างไรก็ได้ให้มาอยู่ในมือ โดยห้ามเอามือแตะ

วิธีการคือ ถ่ายรูปและถ่ายวีดิโอ

เริ่มคิดได้ คิดกระบวนการ ลงมือทำ โชว์ผลลัพธ์ และทำให้ประสิทธิภาพการเรียนการสอน ต้องสร้างกิจกรรมบางอย่างที่ทำให้เห็นภาพอย่างแท้จริง

3. เปิดกว้าง (Open Mind)

Cloud Funding คือเป็นการระดมทุน แล้วให้ลองเอา Project ของแต่ละคนไปขายดู เพราะมี Venture Capital คือคนมีเงินแล้วอยากลงทุนก็ต้องการหาคนที่จะนำเงินไปลงทุนในโครงการที่น่าสนใจ

4. ความสมดุลย์

ขึ้นอยู่กับว่าความรู้ที่ใช้ นำไปวางไว้ตรงไหน ทักษะอยู่ที่ว่านำไปใช้ตรงไหนที่ทำให้สมดุลย์

เช่นเดียวกับการวางโครงสร้างในการ Present ต้องมีการวางทุกอย่างให้สมดุลไม่ราบเรียบ มี Design ให้น่าสนใจ

5. เรียบง่าย

ความเรียบง่ายคือหลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เทคนิคสไลด์อ่านง่าย อุปมาอุปไมย (เช่น) เข้าใจ

ดูเรียบง่ายทำให้คนอื่นเข้าใจง่าย แต่ไม่มักง่าย

อะไรไม่จำเป็นให้เอาออก

ส่วนใหญ่คนต้องการความเรียบง่ายเพื่อต้องการไปศึกษาต่อ

6. ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

การปฏิบัติไม่ต่อเนื่องจะไม่เกิดผลลัพธ์

การสร้างสไลด์พรีเซนเทชั่น

1.ทักษะและเทคนิคการนำเสนอ- ต้องดูว่าให้อะไรกับผู้คน

- รวบรวมความคิด

อยากคุยเรื่องอะไร จะให้คนอื่นมาช่วยหรือไม่

วิธีคิด เทคนิค ทักษะ ฝึก แล้ววางแผนมาดูว่าเป็นอย่างไรบ้าง

- ทักษะและความคิด

การสร้างสไลด์

เรียบง่าย ,สื่อด้วยภาพ สมดุล ระยะห่างที่เหมาะสม สร้างสไตล์ของตัวเอง

7 วิธีสร้างแบรนด์ความแตกต่าง

ตัวอย่าง การประสบความสำเร็จคือสิ่งที่คุณต้องเดินทางออกไปหาเอง – ให้แรงบันดาลใจ

แหล่งรูปฟรี

Google , Pixabay, freedownload, freepik ,free vector, icon

ทักษะและเทคนิคการนำเสนอ

1. สร้างหัวข้อให้ได้ประโยชน์กับคนฟัง

เช่น การทำงานวิจัยที่มีประโยชน์ต้องทำอะไร

1. หัวเรื่องให้ประโยชน์กับผู้ฟัง เช่น 7 ความลับในการสร้างแบรนด์ให้ปัง พูดอย่างไรให้คนฟังตามหลัก “ล้าน” วิธีชะลอวัยให้แลดูอ่อนเยาว์ลง 30 ปี

- คนทำอะไรคนได้ก็ต่อเมื่อมีประโยชน์กับเขา

Quotation

หลายครั้งที่คนไม่รู้ว่าต้องการอะไรจนกว่าจะไปเสนอเขา

สตีฟ จอบส์

สิ่งที่ทำให้มหาวิทยาลัยน่าเรียนขึ้นอยู่กับการสร้าง Context หรือบริบทให้น่าสนใจมากน้อยแค่ไหน

2. การนำเสนอตนเองให้น่าสนใจ

ชื่อ ตำแหน่ง ทำงานที่ ประสบการณ์ ความสำเร็จ และล้มเหลว

3. สร้างความสนิทสนมกับผู้ฟังด้วย CIA เทคนิค

เทคนิคในการเปิดใจ

Matching – การเป็นพวก ต้องรู้ว่าเขาสนใจอะไรให้คุยเรื่องนั้น ไปให้ถึงเขา

Smile – ยิ้ม

Encourage – ชื่นชม

หมายเหตุ : ให้ทำทุกอย่างด้วยความจริงใจ

4. วิชาโปรแกรมจิต

1. บ่อย ๆ

2. ภาพ

3. เหตุการณ์ – มีวิธีการสาธิตให้เขาจำได้ และทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่ให้ทำไม่ใช่เรื่องงี่เง่า แต่เป็นการ Break through บางอย่าง

4. ความสนใจ

5. ความเชื่อ – ต้องพูดด้วยความมั่นใจ

6. อารมณ์ – พูดด้วยภาษากายและใจที่ชัดเจน จะทำให้เกิดการเห็นภาพ

7. สมาธิ

ข้อแนะนำ : ให้ทำชื่อให้กด Google ให้เจอ การสร้าง Context ใหม่ ๆ ต้องสื่อสารให้ดี

5. การใช้เวที

เลือกใช้การยืนให้เหมาะสมกับการให้ความรู้สึกของคน

6. คำพูด สามารถทำให้เกิดความรู้สึกได้

เช่น พูดเก่งจะทำให้รู้สึกดี พูดเบื่อจะทำให้รู้สึกเหนื่อยด้วย

ดังนั้น ถ้าพูดกับตัวเองบ่อย ๆ จะส่งผลให้ตัวเองเป็นแบบนั้นในอนาคต และจะส่งต่อให้คนอื่นคิดด้วย

ดังนั้นคำพูดจะส่งต่อถึงภาษากาย เช่น ยอดเยี่ยมมาก ขอบคุณที่ส่งพลัง ใช้คำพูดที่สร้างพลัง

Positive ใช้เพื่อเพิ่มพลังงานให้กับคำพูด

Negative ใช้เพื่อทำให้เห็นปัญหา

Workhop

สร้างหัวข้อที่โลกต้องฟังคุณ 3 นาที

1. แนะนำตัว พร้อมเรื่องราว

2. ชื่อโปรเจค

3. ปัญหา

4. ประโยชน์

5. Call to Action


วันที่ 16 มิถุนายน 2560

วิชาที่ 4 Passion & Engagement


Mr. Bruce Hancock

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ในทฤษฎีทุนมนุษย์ดร.จีระคิดทฤษฎี 8K’s 5K’s เกิดขึ้นจากแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ Gary Becker เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมาที่ชิคาโก ที่ได้ทำ Equation สัดส่วนความสัมพันธ์จากระยะเวลาในการศึกษากับรายได้ พบว่ายิ่งการมีการศึกษามากขึ้นจะทำให้มีรายได้มากขึ้น แต่หลังจาก 50 ปี พบว่าตัวแปรด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ด้านการศึกษาไม่ได้มีปัจจัยเดียวที่ทำให้มนุษย์มีรายได้สำเร็จ แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ความคิดสร้างสรรค์ และการคิดนอกกรอบ ฯลฯ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์

ดร.จีระ พบว่ายังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้มนุษย์ประสบความสำเร็จและมีรายได้จากตัวแปรอื่นด้วย จึงได้คิดทฤษฏี 8K’s ซึ่งเป็นทฤษฎีการพัฒนาทุนมนุษย์ขึ้นพื้นฐาน และ5K’s เป็นทฤษฎีการพัฒนาทุนมนุษย์ยุคใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์

ทุนทางความสุข

Happiness at work คือการทำงานที่ Enjoy work

สร้าง Happiness at work and Happiness Capital เพื่อการพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุข

- Passion เป็นส่วนหนึ่งของความสุข

- Passion เป็นส่วนหนึ่งของการสร้าง Engagement ในองค์กร

การมีเป้าหมายในชีวิตก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เช่นเดียวกับการมีความสุข

Passion & Engagement to create high performance

Mr. Bruce Hancock

-ความจำเป็นในฐานะผู้นำที่จะต้องคำนึงถึงการสร้างความผูกพันในองค์กร

สิ่งที่พูดในวันนี้

  • Alignment: True Alignment
  • Employee Engagement & Passionate Employees?
  • Personality...What is it, why does it matter
  • Purpose and Meaning…Ingredients to Passionate Engagement
  • Blockers of Passionate Engagement: What can stop us
  • The Engaging Leader?

2.Collaboration: Connect and Create, Collaborate

5.Psychometric Assessments: The You, You think You Know

High purpose , high meaning

ความแตกต่างระหว่างผู้นำที่สร้างความผูกพันในองค์กรกับผู้นำที่ไม่สร้างความผูกพันในองค์กร

MY INVOLVMENT WITH LEADERS

  • Psychometric Assessments
  • Build Collaboration Throughout
  • แนะนำให้อาจารย์หญิงที่แลกเปลี่ยนให้วางแผนตัวเองสู่การประชุมระดับโลก World Congress เนื่องจากพูดภาษาอังกฤษชัดและเข้าใจง่าย ซึ่งมีหลายคนที่พูดอังกฤษแต่เข้าใจยาก
  • แนะนำให้ทุกคนพูดภาษาอังกฤษ และก้าวสู่เวทีระดับโลก
  • เมื่อมีโอกาสมาให้ทำอย่างเต็มที่และดีที่สุดเพราะเมื่อโอกาสมาอาจไม่ได้มาหลาย ๆ ครั้ง และเมื่อเป็นวันหนุ่มสาวให้พยายามหาโอกาสให้มากขึ้น และหาทางแก้ไขปัญหา

-Feedback

-Coaching and Support

-Development Plan Creation

-Integrating New Behaviors

-Aligning Business Outcomes



Brain “consolidation” occurs as we sleep, moving newly acquired information into long-term memory. Your learning continues while you sleep!

Cocktail Party

Take 3 minute each to share three things that have inspired you during your career.

Meet up with one person, listen to each other, then move to someone else.

5 Minutes

ให้แต่ละคนมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึง 3 สิ่งที่เป็นแรงจูงใจ และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนกัน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Starbuck’s Howard Schultz

Passion is,and always will be, a necessary ingredient.

Even the world’s best business plan won’t produce any return if it is not backed with passion and integrity.”

The Body Shop’s Anita Roddick

“To succeed,you have to believe in something with such passion that it becomes a reality.”

The Business Case

Passion/Engagement account for…

  • 43% improved performance and innovation [CorporateLeadership Council]
  • Double digit greater growth [Hewitt Assoc.]

-3 times more ROI than avg. employees [Watson Wyatt]




กิจกรรม ให้ยืนฝั่งละ 7 คน ยื่นนิ้วชี้มาคนละ 2 นิ้วใต้แท่งเหล็กในระดับเดียวกัน อย่าให้นิ้วแตะกัน อย่าให้นิ้วแตะตรงข้อต่อ เริ่มปล่อยแท่งเหล็กจากข้างบน และค่อย ๆ เลื่อนลงมาข้างล่างพร้อมกันจนถึงพื้นโดยห้ามข้อต่อหลุด

สิ่งที่ได้รู้ 1. เมื่อมีการต่อว่าเกิดขึ้นทีมจะรู้สึกเหนื่อย ควรเน้นการเคารพซึ่งกันและกัน

2. ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า 5 นาทีว่าจะทำอย่างไร

3. เมื่อมีการแข่งขันสูงมากเกินไปจะมีผลต่อการทำงานเป็นทีม เพราะปัจจัยความสำเร็จไม่ใช่การต่อว่าใครคนใดคนหนึ่งแต่เป็นการแสดงความเคารพซึ่งกันและกัน

4. Collaboration ความร่วมมือกัน

5 ผู้นำไม่ได้มีหน้าที่บอกให้คนอื่นทำตาม แต่ต้องสร้างให้คนทำงานร่วมกันได้อย่างมีคุณค่า

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

สิ่งนี้คือ Talent ของคน ม.อ. ที่ต้องมีความเคารพซึ่งกันและกัน ปัญหาที่ผ่านมาคือการทำงานแบบ Bureaucracy

นักศึกษายุคปัจจุบันจะเรียนด้วยตนเอง และมีนักศึกษาจากต่างชาติมาจำนวนมาก อาจารย์สอนภาษาอังกฤษ และมีความสามารถในการฝึกภาษาอังกฤษ ควรให้มีการผสมผสานระหว่างการพูดภาษาอังกฤษและภาษาไทย อย่ากลัวทุกสิ่งเป็นการฝึก

หลักสูตรเหล่านี้ควรพาไปต่างประเทศและพบกับคนต่างชาติ

เน้นการทำงานแบบ Passion และให้คิดถึง International Research Project

อาจารย์มีหน้าที่สร้างคน สร้างนักศึกษาที่ดี และเก่งให้ไปช่วยสังคม

การให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ต้องรู้จักให้เกียรติกัน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากคนทำงานร่วมกัน

1. เรื่องการสื่อสาร

2. การรับฟังซึ่งกันและกัน

ดูวีดิโอ

The way of Improvisation

1. Play

2. Let yourself fail – (Learn and start again.)

3. Listening is the willing to change

4. Say yes.... (and create something else.)

5. Play the game ทำให้เกิดความประทับใจ (Impression)

6. Relax and have fun.

ทำกิจกรรม : ว่าสิ่งที่ดูจากวีดิโอสามารถนำมาเชื่อมกับสิ่งที่ทำงานและสิ่งที่เป็นอย่างไร ให้ทะลายกำแพงระหว่างกันในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Passion is dynamic concept.

- ความหมายในไทยคือหลงใหล บ้าคลั่ง

- คือความต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

- ไม่ใช่สถิติ

- มหาวิทยาลัยควรมุ่งที่ Demand Side ไม่ใช่ Supply Side

Bruce’s Passionate

1. Engage people

2. Enjoy Learning

3. Connect with great people, great mind, Happy in relationship

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

  • กล่าวเรื่อง Happiness at work กับ Happiness at home ไว้แยกกันว่าทั้ง 2 ที่ควรมีการ Balance ซึ่งกันและคิดว่าถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • ทุกคนมีแบรนด์ของตัวเอง จะทำสิ่งที่ชอบให้เกิดมูลค่าอย่างไร
  • อาจารย์ที่ Harvard ชื่อ คริส เจนสัน กล่าวว่าคนที่จบ Harvard ในช่วง 10 ปีแรกได้ทำงานในตำแหน่งที่ดีแต่ปัญหาที่พบคือหลังจาก 10 ปีนั้นมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว การมีความสุข ฯลฯ Passion isn’t lasting forever , when change environment passion has go down, what’s passion sustainable.
  • ความรักในสิ่งใดก็ตาม ต้องมีความสามารถในสิ่งนั้นด้วยถึงจะทำให้สำเร็จได้

ดร.จีระ’s Passionate

1. เข้า ม.ธรรมศาสตร์ เนื่องจากเชื่อในแบรนด์รู้จัก คุณปรีดี พนมยงค์ คุณสัญญา ธรรมศักดิ์ และดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ซึ่งดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ขอจากคุณพ่ออาจารย์จีระ คุณสุนทร หงส์ลดารมภ์เพื่อให้อาจารย์จีระไปช่วยเป็นอาจารย์สอนที่ ม.ธรรมศาสตร์

2. ดร.จีระได้ทุนร็อกกี้เฟลเลอร์ ชอบเพราะได้ไปเรียนรู้ และ Enjoy ใน High standard

3. ชอบเรียนรู้จากนักเรียน ไม่หยุดการเรียนรู้

สิ่งที่อยากฝากไว้คือ ได้เขียน Concept ที่เกี่ยวกับแต่ละคนเรียนรู้ อย่างเช่น ดร.จีระ เขียนเรื่อง 8K’s 5K’s

Bruce Hancock

Passion

Need align to work with you , Driven by something , show value.

Organization culture creative from work.

Leader need to understand Personality, Passion, Exciting for you , what is purposeful, what is meaningful ,What is the purpose for you in definitely

กิจกรรม ให้แต่ละกลุ่มคุยกันเขียนว่า อะไรคือ Passion , Meaning , Purpose

What’s exciting you, Why make you different? - introvert person, extrovert person.


Passionate Engagement at Work

I am most passionate at work when I am…

I am least passionate at work when I am…


Meaning: First Driver

Meaning can come from many sources : ยกตัวอย่าง

“The purpose or mission of the company makes my job here important.”

Caryn, Teaching gender equality to soldiers in South Sudan “I feel grateful for this opportunity to make a difference.”

“I am able to be true to my personal values at work.”

Mary, Archivist in Bermuda: “I love to organize and when my CEO needs a document, it’s very satisfying to put my finger right on it!”

“I work on a great team with people who support and challenge me.”

Sue, Child Care Worker, Canada: “My team means everything to me! I was offered a job that paid more but I couldn’t bring myself to leave. They are like family!”

Progress can come from many sources.

“I am able to learn and grow from my mistakes.”

Ivy, USA: “We focus on how to make things right and we try not to indulge ourselves inthe blame-game. We want to learn.”


กิจกรรม ให้แต่ละกลุ่มคุยกันเขียนว่า อะไรคือ Passion , Meaning , Purpose

What’s exciting you, Why make you different? - ยก ต.ย.introvert person, extrovert person.

กลุ่ม 1

1. Passion (t)

Do what you love , Love what you do.

The meaning of T

Time – Go together , combine together

Basic knowledge skills, Capibility +…

Exicited Situation – interest ,combine with the energy and move on going.

f (Purpose)

1. Benefit others

2. Satisfy our own demand – Challenged problems, situation events, individual interest.

f (Meaning)

Community & Society to organize to ourselves

What we do for

1. Know what we want to do.

2. Create something new , innovation

3. Satisfy other

4. Happy to improve their life

Progress

- do again and again and improve yourself

- Know the purpose what I should do and motivate myself

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การทำงานใด ๆ ก็ตามให้สร้าง Impact เพื่อสังคม ให้ไปพูดที่ข้างนอกและสาธารณชนมากขึ้น

กลุ่มที่ 2

Exciting

1. เริ่มต้นด้วยความสุข และเมื่อทุกข์ให้ทำอีกครั้งและอีกครั้ง ทำสิ่งที่รัก สิ่งที่ดีเยี่ยมสำหรับคน และความยั่งยืน

2. ความสงบสุขในชีวิต และสิ่งแวดล้อม

3. อิสระในการทำงานอะไรก็ตาม อิสระจากกฎ เจ้านาย ฯลฯ

4. Joining & Fun

Passion

1. Challenge (Nothing is impossible)

2. Self Esteem

3. Respectation

4. Fun

5. Benefit for mankind


กลุ่มที่ 3

Our Passion

1. Recognition from the executive team

Positive Thinking when life and love something

- Why we work there. Why we have to come to PSU today.

2. Progress in career.

- PSU give career, good opportunities to show what I love.

3. Got Challenged work and can solve.

Challenging at work, Problem facing , how to solve the problem

- Passion Ajarn Pichit select …. To be the vice dean

4. Love to teach and solve students’ problem

กลุ่ม 4

Passion

1. Exciting

- Transfer knowledge

- Solve problem

2. Purpose

– Benefit for other and communities

- Being respected

- Security

3. Meaning

- Improve ownself

- Share with other

- Happiness

กลุ่ม 5

1. Exciting

- Challenge

- Success

- Happiness

- Family

2. Purpose

- Growth & Development

- Sustainability

3. Meaning

- ValueRecognition

Common being – Passion of Achievement

- Create something different

- Excellent driver to be success

- do something success.

Meaningful

- respect ,recognition, make the benefit for all mankind

Dr.chira

- What are the purpose area , what are the meaning?

- Great achievement of PSU

- Put forward more and keep walking

- Proud of this University.

Bruce

- Coaching is the key how can you teach student.


วิชาที่ 5 การพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม


โดยดร.พยัต วุฒิรงค์


ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนานวัตกรรมแห่งเอเชีย

ตัวอย่าง กระทรวงการคลังได้มีการ Change องค์กรสู่นวัตกรรม

1. Change Leader ระดับผู้นำองค์กร ซี 8-9

- จะ Forecast ไป 20 ปี ว่าจะทำอะไรที่กระทรวงการคลัง

1. Downsizing – ลดขนาดองค์กร

2. Digital – เอาเทคโนโลยีมาใช้หมด

3. เป็นองค์กรเชิงรุก

2. Change Agent ระดับผู้อำนวยการกองซี 7 – 8

1. เอาโปรเจคมาตั้ง แล้วมาดูกระบวนการให้เขาคิด

3. Change Star กลุ่มคนรุ่นใหม่อายุน้อย

1. เขียนแผนแล้วทำเลย เป็น Innovation Project

โดย 3 กลุ่มนี้จะถูกเรียง แล้วจะนำเสนอเป็นประเด็น ดูว่าเป็นทางเดียวกันหรือไม่

กระทรวงการคลัง มีปัญหาเหมือนหน่วยงานอื่นที่ HR ไม่ยอมทำ

สิ่งที่จะพูดในวันนี้ 3 อย่าง

1. ปรับแนวคิดว่านวัตกรรมคืออะไร อะไรที่จับต้องได้

2. เล่าให้ฟังว่าตัวอย่างตั้งแต่ระดับ International Asia และไทยทำนวัตกรรมอย่างไร

3. วิเคราะห์องค์กรว่ามีกี่มุมมอง แล้วจะให้ Workshop อย่างไร

ยกตัวอย่างที่ ทำงานที่มหาวิทยาลัยมหิดล

องค์การนวัตกรรม ผลงานทุกอย่างส่งให้รองอธิการบดีวิจัยในการนำเสนอ งานทุกอย่างต้องดูที่เป้าหมายของโครงการนวัตกรรม

1. ตอบโจทย์นโยบายสาธารณะ

2. ดูนโยบายทางวิชาการ

3. ดูปฏิสัมพันธ์

4. ดูเรื่อง Commercialization

KPI สิ่งที่ส่งเสริมผิดที่ว่าอาจารย์ต้องเป็น ผศ. รศ. ศ. แต่ไม่มีใครบอกว่าถ้านำงานวิจัยไปให้สังคมใช้จะเก่งมาก ๆ เลย แต่ที่ผ่านมางานวิจัยจดสิทธิบัตรได้ แต่ไม่ได้ส่งผลให้เกิด Impact ต่อสังคมเท่าที่ควร และอาจเป็นการใช้เงินลงทุนทางด้านวิจัยที่ไม่คุ้มค่า

องค์กรรัฐวิสาหกิจถูกกำหนดว่าต้องมี KPI นวัตกรรม มีการประกวดแล้วมีคนชนะ แล้วอย่างไรต่อ ทุกรัฐวิสาหกิจ ทำนวัตกรรมแต่ปรากฏว่านวัตกรรมแล้วไม่ได้งาน ทำให้เสียเวลาและไม่รู้ว่าทำไปทำไม

ทำโครงการนวัตกรรมออกมา แต่ไม่สามารถไปใช้เองได้

KPI ต้องเปลี่ยนคือไม่ใช่ประกวดแล้วจบ แต่ต้องนำไปทำต่อ

การทำนวัตกรรมสิ่งที่ต้องเรียนรู้

Environment & Context

1. Big PictureTotal Innovation Management

Innovative Leadership

I – Strategy

I – Knowledge

I – People

I – Result

2. Small Picture – Innovation Process

สรุป Context ของบริบทแต่ละที่ไม่เหมือนกัน ไม่ควรทำเหมือนกัน

ทิศทางนวัตกรรม

1. West to East

นวัตกรรมย้ายจากตะวันตกมาตะวันออก ย้ายจากอเมริกา มาจีน

2. Big to Small

ทั้งโลกต้องการทำอะไรที่เล็กลง

3. Business to Consumer

4. Mass to Niche

5. Volume to Value

New Trend + VUCA World (Volatile, Uncertain, Complex, Ambiguity)

Value + New + Implementation สู่

Innovation + Management

ยกตัวอย่าง

Game Changing เช่น

1. สายการบินราคาถูกมีมากขึ้น

จากอดีตที่สายการบินราคาแพง แต่ปัจจุบันมีสายการบินราคาต่ำเกิดขึ้นโดยใช้แนวคิดว่าใคร ๆ ก็บินได้ ทำได้โดยขายของ โดย ไม่ต้องเก็บเงินลูกค้าทำงานสั้นลงเร็วขึ้น ลดต้นทุนในสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น ลดต้นทุนโดยไม่แจกอาหาร

2.กดเงินจากมือถือ

ปัจจุบันทำได้แล้ว เช่นซื้อของผ่าน 7-eleven จ่ายเงินมือถือ

สรุป นักวิจัยทำได้ทุกคน แต่การมีความคิดสร้างสรรค์หรือ Idea Innovation ไม่สามารถสอนได้แต่ทำให้เขารู้สึกและเปลี่ยนแปลงเองได้

3. Alibaba ของจีน ตั้งมา 20 ปี มูลค่าตอนนี้มากกว่า 1 ล้านล้านบาท

วิธีการคือ เป็นรูปแบบการสร้างระบบขึ้นมาแล้วไปเปลี่ยนโลก การไปหา Supplier ไม่มีหน้าร้าน ไม่มีสต็อก ลูกค้ามาลงทะเบียนในระบบไว้ และโปรโมทว่า Alibaba เป็นร้านค้าปลีก ค้าส่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใช้เวลา 1 วันในการส่งของ

4. ทุกอย่างเปลี่ยนจากการทำอะไรหนึ่งอย่างไม่สามารถ Implement ทั้งหมดได้

ผลการสำรวจ Global Survey เรื่องนวัตกรรม

1. ความเชื่อเดิม : นวัตกรรมคือการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ

ความเป็นจริงนวัตกรรมไม่ใช่แค่ Product กับ Service แต่มากกว่านั้นเพราะนวัตกรรมอยู่ทุกที่

2. ความเชื่อเดิม : นวัตกรรมจะเกิดวิกฤติถ้าเกี่ยวข้องกับภายนอก

นวัตกรรมมีความจำเป็นที่ต้องใช้การสร้างความร่วมมือกับภายนอก

3. ความเชื่อเดิม : นวัตกรรมควรมอบให้ตัวแทนรับผิดชอบ

นวัตกรรมควรเริ่มต้นจากระดับบน

แหล่งที่มาของนวัตกรรม

นวัตกรรมมาจากคนทุกคน ต้องสนับสนุนให้คนทุกคนคิดได้ เราไม่ได้สนใจว่ามีเงินได้ขนาดไหน แต่นวัตกรรมต้องเปลี่ยนได้ทุกคน

ปัญหาคือ วัฒนธรรมองค์กร ตามด้วยการหาทุน และกระบวนการ ฯลฯ

นวัตกรรมคือการ สร้างคุณค่า โดยการทำผลิตภัณฑ์ บริการ รูปแบบ การจัดการ การพัฒนาการวิจัยฯลฯ

การสร้างนวัตกรรม

นวัตกรรม 1.0 คือทำแบบโปรเจค

นวัตกรรม 2.0 คือทำเป็นโปรแกรมที่ทุกคนสามารถทำนวัตกรรมได้

นวัตกรรม 3.0 คือ ทำอย่างไรให้ชุมชนรักเรา ลูกค้าและชุมชนยอมร่วมมือกับเรา

ยกตัวอย่าง นวัตกรรม 3 M

1. การจัดการ Management

- สร้างวัฒนธรรมภายในองค์กรพนักงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรมที่มีต่อผลประกอบการของบริษัท

- สร้างเงื่อนไขเพื่อก่อให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมใหม่

- ลดเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนานวัตกรรมของพนักงาน

2. Innovation Strategy

Technology Competency + Product Development Capacity

ผู้บริหารระดับสูงกระตุ้นให้พนักงานเกิดการคิดค้นนวัตกรรม (Leadership)

- กำหนดเป้าหมายสัดส่วนรายได้สินค้าใหม่ต่อรายได้ของบริษัทให้ชัดเจน

- จัดสรรทรัพยากรภายในบริษัทให้แก่พนักงานเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรม เช่น เงินทุน เครื่องจักร เทคโนโลยี องค์ความรู้

- สนับสนุนให้พนักงานนวัตกรรมในชั่วโมงการทำงาน (15% Rule) โดยอนุญาตให้ใช้เวลาร้อยละ 15 ของเวลางานมาใช้ในการจัดทำนวัตกรรม

- จัดการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการเป็นเกณฑ์ในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อนำไปสู่การผลิตขายได้จริง

3. Innovation Development Process

- มีการจัดการภายในองค์กรเพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างฝ่ายเทคโนโลยีและฝ่ายการตลาดในทุกขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม

- นวัตกรรมที่สร้างขึ้นต้องสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างแท้จริง

- ใช้โมเดล Stage-gate เป็นแนวทางในการพัฒนาสินค้าใหม่

4. Organization Culture

- มอบรางวัลให้แก่พนักงาน โดยเน้นที่ความพยายามในการสร้างนวัตกรรมมากกว่าผลสำเร็จในการสร้างนวัตกรรม

- สนับสนุนให้พนักงานเล็งเห็นถึงความสำคัญของนวัตกรรมที่มีต่อบริษัท

- สนับสนุนให้พนักงานในแผนกต่าง ๆให้มีการพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน

- อดทนในช่วงระหว่างการพัฒนาสินค้าใหม่ซึ่งอาจใช้เวลาหลายปี

- ยอมรับความผิดพลาดและรับความเสี่ยงในการพัฒนาสินค้าใหม่

- จัดหาพนักงานที่มีความสนใจในด้านนวัตกรรมให้เข้ามาร่วมงาน

5. Networking

- การทำงานร่วมกันของพนักงานระหว่างแผนก

- สนับสนุนให้พนักงานสร้างเครือข่ายและความเชื่อมโยงกับภายนอกบริษัท

- สนับสนุนให้มีการพบปะสังสรรค์ระหว่างบุคคลากรต่างแผนกเพื่อกดให้เกิดการสร้างความสัมพันธ์และการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในอนาคต

- คัดเลือกอาสาสมัครเข้ามาเป็นหนึ่งในทีมงานพัฒนาสินค้าใหม่เพื่อก่อให้เกิดการผสมผสานแนวความคิดใหม่ ๆ


Panasonic

อยู่เพื่อพัฒนาสังคม สร้างคนและองค์กร

ให้พนักงานเขียน Job Description ว่าจะมี Value อย่างไรต่อองค์กร และอยู่ได้ด้วยเพราะอะไร

ประเด็นคือ

ค่านิยมปัจจุบันเป็นอย่างไร และเราคาดหวังจะเห็นอะไรใน 10 ปีข้างหน้า

คนที่ดีจะสร้างผลงานที่ดี และแต่ละช่วงเวลาทำอะไรบ้าง แล้วจะทำอะไรต่อไป

ตัวอย่างมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งพยายามเปลี่ยนหลักสูตรใหม่ ๆ เจ๋ง ๆ แต่กระบวนการข้างในไม่ได้ถูกเปลี่ยน เช่น Brochure และห้องเรียนเก่ามาก

SCG

ทำไมต้องมาเน้นเรื่องนวัตกรรมในเมื่อวันนี้ธุรกิจเราก็ประสบความสำเร็จและเป็นผู้นำอยู่แล้ว

“ก็เพราะความเป็นผู้นำนี่แหละ ที่ทำให้เราต้องมีนวัตกรรม เพราะผู้นำจะคอยตามคนอื่นอยู่ไม่ได้ เราต้องสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างสรรค์และปรับเปลี่ยนตัวเราเองให้รวดเร็ว ต้องทำตลอดเวลา...ให้อยู่ในสายเลือด ไม่อย่างนั้นเราอาจกลายเป็นผู้ตามใครโดยไม่รู้ตัวก็ได้

กานต์ ตระกูลฮุน

ตัวอย่างการ Change ช่วงแรก

- เปลี่ยนชุดซาฟารี ให้คุณชุมพล อดีตประธานคนเก่า ถือปืนถ่ายรูป ทั้ง ๆ ที่ไม่ค่อยพูด และ

สรุปคือเราต้องคิดได้ว่า :

1. อยู่เพื่ออะไร

2. อยากไปไหน

3. หา Leader ให้ Leader สร้าง Culture

4. กลยุทธ์จะไปสู่ความจริงได้อย่างไร

คนกล้า 5 ประการ

1. กล้าพูดกล้าทำ

2. กล้าเปิดใจรับฟัง

3. กล้าคิดนอกกรอบ

4. กล้าเสี่ยงกล้าริเริ่ม

5. กล้าเรียนใฝ่รู้

ผู้นำ 3 ประการ

1. เป็นผู้สนับสนุนการเปลี่ยน

2. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

3. เป็นผู้บริหารการเปลี่ยนแปลงด้วยการทำเป็นแบบอย่าง

WORKSHOP & Presentation

แผนปฏิบัติการพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ดร.พยัต วุฒิรงค์

Workshop

1.) แต่ละกลุ่มให้ยกตัวอย่างโครงการเชิงนวัตกรรมใน ม.อ.ที่ทำได้สำเร็จ 1 โครงการ และที่ล้มเหลว1 โครงการ โดยวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ และความล้มเหลว ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

1.1) ผู้บริหาร และวัฒนธรรมองค์กร เพื่อการพัฒนาองค์กรนวัตกรรม เป็นอย่างไร? ในความสำเร็จและล้มเหลวของโครงการนั้น (Leadership)

1.2) ค่านิยม คุณค่า และกลยุทธ์ ที่จะนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมของม.อ.เป็นอย่างไร?(Strategy)

1.3) สภาพแวดล้อม บรรยากาศ และระบบนิเวศน์ภายในองค์กรของม.อ. ที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม เป็นอย่างไร?(Innovation Ecology)

1.4) ระบบการบริหารและพัฒนาคน ในทุกระดับและทุกกลุ่ม เพื่อนำไปสู่องค์กรนวัตกรรม เป็นอย่างไร? (Human Resouse/People)

1.5) กระบวนการพัฒนานวัตกรรมให้นำไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เป็นอย่างไร? (Business)

2.) สิ่งที่อยากเห็นในการพัฒนา ม.อ.ให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม โดยวิเคราะห์จาก 5 ประเด็นข้างต้น

3.) ทำไมต้องมี ม.อ. อยู่ในโลกใบนี้?

กลุ่ม 5

1.) แต่ละกลุ่มให้ยกตัวอย่างโครงการเชิงนวัตกรรมใน ม.อ.ที่ทำได้สำเร็จ 1 โครงการ และที่ล้มเหลว1 โครงการ โดยวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ และความล้มเหลว ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

ความสำเร็จ

1. นวัตกรรมเรื่องการประเมิน TOR online ซึ่งเมื่อก่อนเปลืองทรัพยากรมาก ผู้บริหารจึงมีนโยบายใช้เทคโนโลยีใช้เครื่องมือระบบสารสนเทศ Online มาใช้ เพื่อลดเวลา ลดขั้นตอน ลดกระดาษ

2. ใช้ระบบการประกันคุณภาพมาใช้ มีการพัฒนาบางคณะ TQA บางคณะ EdPEX ทำอย่างไรให้ผู้รับบริการได้ความพอใจเพื่อตอบสนองในส่วนของ Strategy และการใช้ Tool ทางการศึกษา

3. สภาพแวดล้อมบรรยากาศในองค์กรที่เอื้อด้านนี้คือ มหาวิทยาลัยประกาศว่าเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ทำอย่างไรให้อาจารย์ทำ Paper Work น้อยที่สุด

4. การบริหารและพัฒนาคนทุกระดับ มหาวิทยาลัยออกนอกระบบมาใช้ การเจ้าหน้าที่ต้องพัฒนาคนให้เข้าใจถ่องแท้ก่อน ถึงนำมาถ่ายทอดและใช้ในการพัฒนาคณะ

5. เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยอื่นซื้อโปรแกรม

ความล้มเหลว

1. ออกโปรแกรมพัฒนาระบบ TOR Online อาจไม่ได้เอื้อต่อผู้ใช้ได้ทั้งหมด เช่น เมื่อกรอกแล้วไม่สามารถไปปรับแก้ไขได้ และการประเมินรอบสุดท้ายอาจมีปัญหาในการปรับแก้การเลื่อนขั้นเงินเดือน

2. ระบบอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยล่ม

3. เกณฑ์การประเมินไม่ยืดหยุ่น ปัจจุบันมีวิธีการประเมินมีช่างน้ำหนักได้ว่าสอนเท่าไหร่ วิจัยเท่าไหร่

4. ระบบการบริหารทำจากข้างบนลงข้างล่างโดยไม่ได้ถามผู้ใช้ซึ่งอยู่ข้างล่าง ต้องดูประเด็นจากข้างล่างด้วย

2.) สิ่งที่อยากเห็นในการพัฒนา ม.อ.ให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม โดยวิเคราะห์จาก 5 ประเด็นข้างต้น

ในการออกนโยบายหรือคิดค้นสิ่งใหม่อยากให้เริ่มต้นการสร้างโดยดูจากความต้องการลูกค้าว่าต้องการอะไรและโดยธรรมชาติอะไรเหมาะสมกับเขา อยากให้ออกแบบสอบถามบ่อย และเมื่อคนใช้มีความสุขเขาจะมีความภาคภูมิใจในการสร้างนวัตกรรมขึ้นมา

3.) ทำไมต้องมี ม.อ. อยู่ในโลกใบนี้?

ม.อ.มีจุดเด่นในแง่การทำงานวิชาการควบคู่กับการบริการวิชาการที่ตอบโจทย์ภายใต้บริบทภาคใต้ เรื่องยางพารา ปาล์มน้ำมัน อาหารฮาลาล เป็นต้น อย่างเรื่องยางพารา นายกฯ ได้พยายามระดมสมองด้านงานวิจัยเพื่อผลักดันให้ยางพารามีคุณภาพ

องค์กรที่เป็นหนึ่งในระดับประเทศที่ส่งเสริมชุมชน ส่งเสริมเกษตรกรในการสร้างนวัตกรรมและมูลค่า

กลุ่ม 4

1.) แต่ละกลุ่มให้ยกตัวอย่างโครงการเชิงนวัตกรรมใน ม.อ.ที่ทำได้สำเร็จ 1 โครงการ และที่ล้มเหลว1 โครงการ โดยวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ และความล้มเหลว ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

ความสำเร็จ

  • นวัตกรรมเอไนฟว์ คือมีดผ่าตัดนิ้วล็อก ผู้นำมีการสื่อสารไปสู่ยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่ยอมรับรับรู้นโยบายเหล่านี้ แล้วมากำหนดเป็นกลยุทธ์ อาจารย์ที่ทำคืออาจารย์สิทธิโชค คณะแพทย์ศาสตร์
  • ที่สำเร็จได้เพราะมีทีมตอบรับและมีแหล่งทุนของ ม.อ.ในภาคใหญ่ และมีแหล่งสนับสนุนอื่น และได้มีการร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์
  • สภาพแวดล้อมของ ม.อ. Relax ไม่สร้างความเครียดเหมือนในเมือง
  • มี RDO ของมหาวิทยาลัยที่จะขับเคลื่อนให้อาจารย์ทำงานวิจัย แต่ไม่เห็นผลมากนักในการขับเคลื่อนว่า Effective หรือไม่
  • การพัฒนา Application หมอประจำตัว ของ ผศ.เถกิง ที่หาดใหญ่ เพื่อตรวจสุขภาพของทหารใน 3 จังหวัดภาคใต้ที่อยู่ในภาวะกดดันและเครียด อาจไม่ทันการณ์ กว่าจะรู้ผล ทหารจะเกิดภาวะเครียด น่าจะประสบความสำเร็จและมีการนำไปใช้งานได้จริงแล้ว คิดว่าเป็นโครงการฯที่ Impact และเกิดประโยชน์ได้จริง
  • ส่วนผู้บริหารเป็นคความร่วมมือเองและองค์กรภายนอกที่สามารถต่อยอดได้ เป็นนวัตกรรมเพื่อสังคมที่สามารถนำไปต่อยอดได้ ใช้ในด้านความรู้เชิงวิชาการ ข้อมูลได้จากในพื้นที่ที่ทำงานจริง ดังนั้นต้องมีหลายกลุ่มที่ทำร่วมกัน
  • ผู้ร่วมพัฒนาน่าจะมีความภูมิใจที่ใช้ได้จริง ตอนนี้เป็นของทหาร แต่ต่อไปน่าจะนำไปประยุกต์ใช้กับโครงการอื่นได้อย่างดี

5. เข้าศูนย์บ่มเพาะอุทยานวิทยาศาสตร์ และไอโทเนียในการร่วมขายสิ่งเหล่านี้

ความล้มเหลว

1. ระบบออนไลน์เป็นระบบที่ล้มเหลวเนื่องจากว่าในส่วนผู้บริหาร เรื่อง Mindset และความคิดผู้บริหาร Negative เล็กน้อย เอาสายวิชาการมาวัดในเกณฑ์เดียวกัน เพราะแต่ละที่ไม่สามารถวัดในเกณฑ์เดียวกันมาวัดได้

2. ผู้บริหารไม่มองเรื่องความเป็นจริงว่าการแบ่งบุคลากรในสายการสอนและวิจัยมีมากกว่านั้น มีปริญญาโท ปริญญาเอก ใน 5 วิทยาเขต ที่มี ป.โท และป.เอกอยู่ที่หาดใหญ่ แต่ที่อื่นอาจมีงานวิจัยมากกว่า

ค่านิยม พยายามสร้างให้เป็นนักวิจัย แต่ระบบ TOR Online ไม่ได้สอดคล้องกับอาจารย์แต่ละศาสตร์

ระบบนิเวศน์ ระบบ TOR พัฒนาโดยผู้บริหาร 1 ท่านและเจ้าหน้าที่ศูนย์คอมฯ ร่วมพัฒนาออกมา ทำให้เกิดข้อจำกัดในดึงความมีส่วนร่วม

4. ระบบการบริหารและพัฒนาคน ระบบไม่ได้สนใจว่าคนจะพัฒนาอย่างไร สนใจแค่ตัววัดว่าถูกกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ ทำให้ระบบถูกต่อต้านมาก

5. กระบวนการพัฒนานวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ ระบบนี้ถูกประกาศใช้งานล่วงหน้าแค่ไม่กี่วัน ทั้งที่จริงระบบประเมินควรทราบก่อนดำเนินงานเพื่อวางแผนการทำงานได้ว่าจะทำงานอย่างไรให้สำเร็จตามแผนที่วางไว้ แต่การวัดผลบอกไม่กี่วันก่อนประเมิน ที่แก้ไขไม่ได้แล้ว ปัญหาคือทำให้เกิดความไม่จริงใจกับคนทำงาน คนท้อถอยและขาดกำลังใจได้

2.) สิ่งที่อยากเห็นในการพัฒนา ม.อ.ให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม โดยวิเคราะห์จาก 5 ประเด็นข้างต้น

การเปลี่ยน Mindset จากผู้บริหารให้เปลี่ยน Fixed Mindset ไป Growth Mindset อยากให้ผู้บริหารร่วมกับ Challenge และทำงานร่วมกัน ซึ่งถ้าผู้บริหารเปลี่ยนแล้วจะทำให้เกิดกระบวนการในการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรม

นวัตกรรมต้องมี Idea Generation เปิดโอกาสให้นำเสนอแล้วมาแลกเปลี่ยนถกเถียงกันเกิดการพัฒนาให้เหมาะกับวัฒนธรรมของ PSU การเปลี่ยนต้องมองว่าผู้บริหารต้องมี Mindset ที่เปลี่ยนด้วย

3.) ทำไมต้องมี ม.อ. อยู่ในโลกใบนี้?

วันนึงถ้ามนุษย์ไม่ต้องการ Higher Education มนุษย์จะต้องการอะไร จุดเด่นม.อ.คือ จะไม่ทิ้งคนในภาคใต้ แต่ถ้ามองไปร้อย ๆ ปีอาจไม่มีมหาวิทยาลัยได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ออกมาแบบนี้ไม่ผิด เพียงแค่วัฒนธรรมของ ม.อ. เป็นลักษณะแบบอธิบดี ความจริงแล้วไม่ควรมีนาย มีลูกน้อง และถ้าอนาคตไม่เปลี่ยน เราก็อยู่ไม่ได้

ผู้นำระดับ 5 ยิ่งใหญ่ ยิ่งต้องถ่อมตัว ยิ่งใหญ่ยิ่งต้อง Simple ยิ่งใหญ่ ยิ่งต้องทำตัวสมถะ คนเป็นผู้นำจริง ๆ เขาจะยิ่งทำตัวเล็ก

การเป็นคนที่สำคัญกับประเทศจริงๆ เป็นคนสำคัญไม่ได้ ต้องเป็นลักษณะ Servant Leadershipอย่างมหาวิทยาลัยต้องอาศัยความร่วมมือกับหลายคน

เป้าหมายคือประโยชน์ส่วนตัว ไม่ใช่บ้าอำนาจ แต่มารับใช้ประเทศ

กลุ่ม 3

1.) แต่ละกลุ่มให้ยกตัวอย่างโครงการเชิงนวัตกรรมใน ม.อ.ที่ทำได้สำเร็จ 1 โครงการ และที่ล้มเหลว1 โครงการ โดยวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ และความล้มเหลว ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

ความสำเร็จ

1. ยางเพื่อจับโจทย์ เป็นงานที่ผลิตทำร่วมกับตำรวจ เป็นงานวิจัยที่มีส่วนร่วมกับข้างนอก และเป็นการค้าแล้ว

2. ทำถุงทวารเทียม เป็นการทำร่วมกับคณะแพทย์ศาสตร์ กับคณะวิทย์ฯ

3. กระบวนการพัฒนานวัตกรรมมีทุกอย่าง

ความล้มเหลว

1. ผิวหนังเทียม ในช่วงแรกทำได้ดีมาก แต่คนแรกทำไม่ได้ทำต่อมีคนมาสานต่อเลยทำให้คนล้มเลิก

2. การสื่อสารจากมหาวิทยาลัยระดับสูงสู่คนทำงาน

3. เน้นงานวิจัยด้านนวัตกรรม เรื่องคุณค่ามีหน่วยทรัพย์สินทางปัญญา มีการจดสิทธิบัตร มีการนำชิ้นงานไปหาคนข้างนอก

4. Leadership มีการสอบถามว่าผู้บริหารระดับสูงทำได้หรือไม Role Model คือ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ผลักดัน สภาพแวดล้อมบรรยากาศดี มีการเกื้อหนุน มีศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ เพียงแค่หาเงินไปทำ

5. การบริหารคนเป็นจุดอ่อน

6. กระบวนการพัฒนานวัตกรรม คนล้มเหลว มีคนทำคนเดียวไม่ได้ทำเป็นทีม สิ่งที่ควรพัฒนาคือควรพัฒนาในการทำเป็นทีมวิจัยสิ่งที่ทำไม่ได้คิดเอง แต่เป็นโจทย์จากข้างนอก คำถามคือเราจะ Recruit คนเก่ง ๆ ได้อย่างไร

2.) สิ่งที่อยากเห็นในการพัฒนา ม.อ.ให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม โดยวิเคราะห์จาก 5 ประเด็นข้างต้น

หาคนเก่ง พัฒนาเป็นทีม หน้าที่ผู้บริหารระดับสูงที่ควรทำต้องสนับสนุนสิ่งที่กล่าวข้างต้น ห้ามนำนวัตกรรมมาประเมินตามหลักเกณฑ์การประเมินใน TOR เพราะไม่ใช่วิธีการที่เหมาะสม เพราะคนทุกคนไม่ได้นวัตกรรมได้ ทำไมต้องนำมาผูกติดกัน

ในภาพรวมคือมีกระบวนการที่ดีแต่ขาดการสื่อสารให้กับอาจารย์ทั้งคณะและภาควิชา ถ้าอาจารย์อยู่ในสิ่งแวดล้อม ไม่มีการทำวิจัยเลยภาควิชาจะเหมือนกัน ดังนั้นควรมีการกระตุ้นการทำวิจัย

3.) ทำไมต้องมี ม.อ. อยู่ในโลกใบนี้?

ม.อ.เก่งเรื่องยาง และการนำส่งยาง เวลาพูดถึงลูกพระบิดาคิดถึง ม.อ. ไม่มีใครมาแทนได้ บัณฑิตทุกคนจะถูกปลูกฝังตรงนี้คือบัณฑิต มีความซื่อสัตย์ อดทน ทำงานซื่อสัตย์ สุจริต ฯลฯ เรามีส่วนดี ที่เราต้องรักษาไว้ มีสังคมไทย-พุทธ-มุสลิม ที่ต้องรักษาเป็นจุดเด่นของเรา

กลุ่ม 2

1.) แต่ละกลุ่มให้ยกตัวอย่างโครงการเชิงนวัตกรรมใน ม.อ.ที่ทำได้สำเร็จ 1 โครงการ และที่ล้มเหลว1 โครงการ โดยวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ และความล้มเหลว ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

ความสำเร็จ

ความล้มเหลว

1. การจ่ายเงินค่าตอบแทนที่บรรจุในมหาวิทยาลัยครั้งแรก แล้วมาบรรจุวุฒิปริญญาเอก เป็นรุ่นสุดท้ายที่ได้งบในปี 2555

2. ผู้บริหาร โครงการนี้ได้จากการเพิ่ม KPI ในวุฒิปริญญาเอก แต่ผู้บริหารมองแค่ระยะสั้นอยู่ได้ ไม่ได้มองระยะกลางและระยะยาว ที่คนจะอยู่ในองค์กร ไม่ได้สร้างให้คนเห็นคุณค่าว่าอยู่แล้วดีอย่างไร สร้างความแปลกแยกในองค์กรได้ คนที่จบปริญญาเอก เขาอาจเรียนมาหนัก หมอเรียนหนักแต่ไม่ได้อาจสร้างความแตกแยกได้

3. สิ่งแวดล้อมเป็นระบบที่ยุ่งยาก การมาอยู่แล้วมีเงื่อนไขในการประเมินศักยภาพอาจารย์ที่เลื่อนขั้นไม่ค่อยสมเหตุสมผล สภาพความเป็นอยู่ไม่มีความสุขเลยไปที่อื่นดีกว่า

4. ขาดการพัฒนาคนในระยะยาว ต้องมีแผนชัดเจนเพื่อมองตนเองเห็น

5. ไม่สามารถนำใช้ในเชิงธุรกิจได้ อาจต้องเพิ่มโมเดลระยะกลาง ระยะยาวคืออะไร

2.) สิ่งที่อยากเห็นในการพัฒนา ม.อ.ให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม โดยวิเคราะห์จาก 5 ประเด็นข้างต้น

1. การดูแลและพัฒนาคนในองค์กร

2. ระบบมีความยืดหยุ่น และให้เอื้อต่อการทำงานใน ม.อ.เอง

3. Mindset และนโยบายผู้บริหาร ถ้าผู้บริหารเปลี่ยนแปลงแนวคิดเอื้อต่อบุคลากรมากขึ้นจะได้บรรยากาศดีขึ้น และทุกคนอยู่ร่วมกันม.อ.ต่อไป

4. การพัฒนาผู้บริหาร

5. โครงการฯที่เกิดขึ้นขาดสิ่งที่บุคลากรต่อต้านคือไม่ได้มีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพราะเมื่อเปิดเวทีการรับฟังความคิดเห็นจะเกิดแรงกระแทกมาก

6. อยากให้ ม.อ.เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ แต่ไม่แน่ใจว่าเมื่อออกนอกระบบจะเป็นอย่างไร

3.) ทำไมต้องมี ม.อ. อยู่ในโลกใบนี้?

ถ้าถามทุกคน เรามองตัวเองว่าเรามองตัวเองดีเสมอ แต่ต้องให้สังคมตอบ อย่างตอนมีเหตุการณ์วิกฤติต่าง ๆ ม.อ.จะเป็นตัวเลือกแรกในการเรียกเข้าไปช่วยเหลือ แต่เมื่อไรก็ตามที่พอมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นแล้วเขาไม่เรียกหาเรา เราอาจถึงเวลาที่คิดแล้วว่าเราต้องอยู่หรือไม่

กลุ่ม 1

1.) แต่ละกลุ่มให้ยกตัวอย่างโครงการเชิงนวัตกรรมใน ม.อ.ที่ทำได้สำเร็จ 1 โครงการ และที่ล้มเหลว1 โครงการ โดยวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ และความล้มเหลว ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

1. ระบบในการ Monitor ความเข้มของมหาวิทยาลัย

มีหลอดไฟในการ Monitor ผู้บริหาร กลยุทธิ์ สภาพแวดล้อม คน และธุรกิจ โดยแบตเตอรี่เหล่านี้มาต่อเป็นอนุกรม ข้อพิเศษคือถ้าแบตเตอรี่ก้อนใดดับจะกระโดดข้ามได้

ระบบการส่ง แบตแต่ละก้อนมีศักยภาพแตกต่างกันขึ้นกับผู้บริหาร โดยหลอดไฟสว่างตั้งแต่ 12-60 โวลต์ สว่าง 100 %

ความสำเร็จ

1.พืชเศรษฐกิจคือข้าว หรือยางพารา โครงการจอกยางพารา

เรื่องในภาคใต้ คณะวิทย์ฯ มีอาจารย์สังกัดใน Center of Excellent ผลิตดอกยางพารามาจากวัสุดนาโน ปัจจุบันใช้กะลามะพร้าว หาง่าย แต่สูญเสียมาก ดังนั้นจะทำอย่างไรให้คุ้มค่าสุด สิ่งสำคัญสุดคือกำลังใจจากเกษตรกร ซื้อ Knowhow ไป

องค์ประกอบ การสนับสนุนเกิดได้จาก 1.กำหนด KPI 2. สนับสนุนอย่างคณะวิทยาศาสตร์ เป็นเมล็ดพันธุ์ให้มีต้นทุนเริ่มงานวิจัย และของานวิจัยต่อไป สนับสนุนให้ความรู้ เป็นแหล่งทุนวิจัยภายนอก

3. ระบบนิเวศน์เกิดการแข่งขันให้ตัวเองพัฒนาและพยายามสร้างนวัตกรรมให้ดีขึ้น

4. การสนับสนุนการแข่งขัน

5. การพัฒนาบุคคล นโยบายไม่ควรเปลี่ยนเมื่อถูกเปลี่ยนมือ ต้องมีการสนับสนุนที่มาหรือ How to ที่ต้องทำอะไรเพื่อได้มา วางคนให้ถูกงานสนับสนุนที่มี

6. โครงการวิจัยอีกอย่างหนึ่งที่มีคือข้าว พบว่าพื้นที่ไหนที่ข้าวขาดสังกะสีข้าวจะแคระแกรนไม่โต วิธีการแก้ไขคือให้ตัวสังกะสีลงไป

ความล้มเหลว

ใกล้เคียงกับระบบออนไลน์แต่ขอเน้นที่วัฒนธรรมการเรียนการสอน เพราะบางท่านยังไม่เข้าใจว่าคืออะไร จะทำให้ข้อมูลยากมาก

ความล้มเหลวของมหาวิทยาลัย มองว่าโครงการนี้มาจากข้างบนคือ From the top ผู้บริหารไม่ได้เป็น Empower ทำให้คนทำไม่อยากทำ ผู้บริหารไม่สมารถหากลยุทธ์ทำตรงส่วนนี้ มีการอธิภายว่าการเรียน การสอนคืออะไร

เมื่อไม่มีใจรักที่จะทำงานก็ไม่สามารถออกมาดีได้

การบริหารและพัฒนาคน ผู้บริหารต้องวางแผนถึงไปได้

เรื่องธุรกิจถ้าผลิตมาได้จะเป็นแหล่งนวัตกรรม 2,000 ชิ้นที่มีมูลค่ามหาศาล

2.) สิ่งที่อยากเห็นในการพัฒนา ม.อ.ให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม โดยวิเคราะห์จาก 5 ประเด็นข้างต้น

ควรมี Young PhD. Network ที่สำคัญเป็นสมองของ PSU ของเรา เรื่องความร่วมมือกับสังคม ผู้ซื้อผู้ขาย ผู้สนับสนุนเป็นอย่างไร ต้องมีเครือข่ายเป็นพลังในการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อขับเคลื่อน Innovation ที่ต้องการ วัฒนธรรมจะกลืนกินวัฒนธรรมของผู้นำแต่ละรุ่น การเป็น Head ได้ต้องมีฝ่ายแผนหรือวิจัยขึ้นมารอง แล้ว Yong PhD.จะนั่งดูแล้วไปได้เรื่อยหรือไม่

สิ่งที่อยากเห็นเพิ่มเติมคือ ยังไม่เข้าใจเลยว่าอะไรคือนวัตกรรม อาจเป็นเพราะส่วนหนึ่งในแต่ละสาขามีนวัตกรรมที่แตกต่างกันหรือไม่ อย่างสายสังคมศาสตร์อะไรคือนวัตกรรม ในรูปแบบที่ศึกษาเปรียบเทียบทั้งในประเทศและต่างประเทศยังไม่ได้เห็นนวัตกรรมในเชิงนิติศาสตร์ ซึ่งเป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่อยากเห็น

อีกเรื่องคือ ในม.อ. ยังไม่รู้สึกว่านวัตกรรมของม.อ.เป็นของ ม.อ. แต่รู้สึกว่าเป็นคณะของใครของมันไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยทั้ง ๆ ที่อยู่ใน ม.อ.

3.) ทำไมต้องมี ม.อ. อยู่ในโลกใบนี้?

มอง ม.อ.ในลักษณะเป็นคนนอกในขณะนี้ มอง ม.อ.ว่าเป็นอะไรที่อยู่คู่กับภาคใต้ในความเป็นส่วนควบหรือสาระความเป็นอยู่หรือองคาพยพที่เกิดไม่ได้ ม.อ.เป็นเหมือนทุกอย่างของภาคใต้ เป็นภาพของคนใต้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษา สุขภาพ 99.9 % นักศึกษามาจากภาคใต้

ด้านภูมิศาสตร์ไม่หลุดในภาคใต้อยู่แล้ว บนโลกใบนี้จะทำอย่างไรให้โลกนึกถึงงานวิจัยของ ม.อ.

เรามีความจำเป็นที่ต้องมี ม.อ.อยู่บนโลกใบนี้ ให้ทุกคนหลับตานึกถึง ม.อ. ม.อ.เป็นพื้นที่ที่ชุ่มไปด้วยประชากรที่มีสิ่งมีชีวิตมาก ทางการแพทย์และพยาบาล มีต่างประเทศบินมาที่นี่

ม.อ.สามารถเปลี่ยนโลกใบนี้ได้หรือไม่ ด้วยขีดความสามารถที่แบ่งแบตเตอรี่ทั้ง 5 ข้อ Innovation จะสว่างแค่ไหน ถ้าเปลี่ยนพื้นที่ ม.อ.เป็น Knowledge Hub สร้างองค์ความรู้ให้พื้นที่นี้ สร้างให้เกิด Validity ได้หรือไม่ แล้วเราจะยอมรับ ม.อ.อยู่ในแผนที่โลกใบนี้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องทำอะไรใหม่ ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ และมีความรู้

นวัตกรรม ไม่ได้อยู่ที่องค์กรเท่านั้น แต่อยู่ทีองคาพยพของประเทศ อยู่ที่ System อยู่ที่สื่อ

1. ต้องมีมุมบวก กลุ่ม Young PhD. อยากทำ และมีไฟในการทำ

2. ต้องปรับองค์กร

  • I-Imagination
  • C-Creativity
  • I-Innovation
  • E-Entrepreneurship

อยากเสริมเรื่องตัว S คือ Sustainability

ในความเห็นอยากให้วันนี้เป็นวันของการรวมพลังของคนในห้องนี้ สาระไม่สำคัญ ปัญหาอยู่ที่ Leadership จะรวมตัวกันหรือไม่

สิ่งที่กลัวคือ คนเก่ง และดีใน ม.อ.จะไม่อยู่กับ ม.อ. ระวังเรื่องสมองไหลให้ดี แต่ละคนมีประสบการณ์ทีดี ถ้าไม่ทำเป็นทีมสิ่งที่ดีจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

ดร.พยัต วุฒิรงค์

สิ่งที่ได้ในวันนี้มีมาก ได้หลายมุมมองใหม่ ๆ ที่เกิดการเรียนรู้เยอะมาก ถ้า Top ไม่เปลี่ยนจะโดน Blog ถ้าที่ ม.อ. ไม่ทำจะหาองค์กรที่ยอมทำและทำได้

ม.อ. อยู่ตรงไหนของโลก สิ่งที่อยากรู้คือ What’s next ? คือเราจะทำให้ ม.อ.โดดขึ้นมาได้อย่างไร สิ่งนี้คือ Value ที่มีอยู่ ทำอย่างไรให้โดดเด่นขึ้นมา ซึ่งโดดเด่นคือการ Add Value คือ Innovation เราเพิ่ม Value ให้กับอะไรก็ได้แล้วมีประโยชน์ สิ่งนี้มีคุณค่า ทำอย่างไรให้ตัดสินใจคนผิดคือคนผิด คนถูกคือคนถูก ทำอย่างไรให้การตัดสินใจเร็วกว่านี้ แต่เป็นการเพิ่ม Value ให้กับชุมชน สังคม และคนได้ประโยชน์ตรงนั้น

สรุปคือ

1. นวัตกรรมเป็นเรื่องที่บังคับใครให้ทำไม่ได้ ถ้าเขาอยากทำเขาถึงจะทำ และเมื่อเขาอยากทำเขาเห็นประโยชน์ว่าเขามีความสุข ทำแล้วได้ประโยชน์เขาจะทำ

2. นวัตกรรมสนใจที่เป้าหมายไม่ใช่วิธีการ เพราะวิธีการมีหลายวิธีการจะใช้วิธีการไหนก็ได้ที่ทำให้ดี

3. นวัตกรรมยิ่งทำต้องยิ่งง่าย ยิ่งทำต้องง่ายที่สุด

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

นวัตกรรมคือสิ่งที่คิดขึ้นมาแล้วมีมูลค่า

1. เป็นของใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น ทวารเทียม

2. เป็นของเก่าเล่าใหม่ เช่น เอไนฟว์

จะไม่เป็นนวัตกรรมถ้าไม่เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคม

นวัตกรรมคือ Product , Process

สรุปคือ 1. ถ้าไม่ใช่นวัตกร อย่าไปฆ่านวัตกร สิ่งนี้คือความร่วมมือที่เกิดขึ้น

2.. Marketing method เป็นวิธีการใหม่ ๆ ในการขายของ คือ ลูกค้ามีความต้องการ

3. Management method มี 3 วิทยาเขตที่ทำเรื่องยาง สิ่งที่ถามคือใครโดดเด่นที่สุด เราต้องเลือกเป็นต้นไม้ที่สูงเพื่อให้คนมองเห็น

4. จะมีรูปแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้น

ตัวอย่าง กฎหมายการค้าชายแดนยังไม่มีใน ม.อ.

การแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

1. ปัญหา คือผู้บริหารยังไม่เคลียร์ว่าในแต่ละคณะนวัตกรรมจะเป็นอย่างไรแน่ เพราะถ้ายังไม่เคลียร์ปัญหามา แต่ละคณะจะคิดไม่ออกว่าเป็นอย่างไรกันแน่

2. ปัญหาด้านนวัตกรรมเป็นเรื่องติดในกระบวนการ โดยเฉพาะภาครัฐอาจทำยาก

3. กลุ่มนี้จะเติบโตด้านภาวะผู้นำในการเพาะเมล็ดพันธ์เพื่อพัฒนา ม.อ.อย่างไร


วิชาที่ 7 PROBLEM - BASED LEARNING WORKSHOP การบริหารคนเก่งและการบริหารคนต่าง Gen

คำสำคัญ

  • Mindfulness is BEING in the here and now, being present, being mindful. It is NOT being lost in thought distracted, or overwhelmedby difficult emotions. Andy Puddicombe
  • สมาธิ (Tranquil Meditation) หมายถึง ความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อให้จิตพักโดยว่างจากความคิดทั้งปวง เพราะโดยทั่วไปจิตจะมีความคิดอยู่เสมอ เมื่อสะสมความคิดที่ไม่ถูกใจก็จะกลายเป็นความว้าวุ่น อารมณ์และความเครียดในที่สุด
  • ตระหนักรู้ หมายถึง รู้ประจักษ์ชัด รู้ชัดแจ้ง.
  • Aware refers to a consciousness of internal or external events or experiences, that is thought by some to separate human and non-human animals.
  • Self-awareness: Popular ideas about consciousness suggest the phenomenon describes a condition of being aware of one's awareness or, self-awareness. Efforts to describe consciousness in neurological terms have focused on describing networks in the brain that develop awareness of other networks.
  • Value, used in the plural form values describe the ways in which human values in the sense selecting for certain attitudes, goals, and preferences that in turn guide concrete actions. Values, such as equality, friendship, or courage, and they not only are directed at specific objects (as attitudes are), behaviors (as norms are), or states of reality (as beliefs are) but also represent very general, and at times vague, end states.

- Paying attention in a particular way, on purpose, in the present moment, and non-judgmentally. Jon Kabat-Zinn, 1994, p.4

- เป็นการฝึกสติทำให้จิตที่เราฟุ้งหยุด เราจะผูกพันกับอริยบท

- คือการจดจ่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ๆ

- ถ้าเราตั้งใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วมันไม่สุด เราจะทำอย่างไร

- สิ่งที่ทำให้ค่าแล้วเป็นคุณด้วย เช่น ความสุข ความซื่อสัตย์ ปัญญา น้ำใจ ความเข้าใจ (Mutual Understanding) กตัญญู

- เมื่อเราให้ค่าแล้วค่าเป็นคุณด้วย

- การผ่าน Conscious ต้องมี Cognitive เป็นพฤติกรรมอัตโนมัติ

7. A goal is a desired result or possible outcome that a person or a system envisions, plans and commits to achieve: a personal or organizational desired end-point in some sort of assumed development.

- รู้ได้อย่างไรว่าถึงเป้า แล้วเราจะรู้สึกภูมิใจหรือไม่

- เป้าจะมีความรุนแรงเมื่อมีอารมณ์มาประกอบ

- สังเกตได้ว่าเราจะจำได้ในสิ่งที่มีอารมณ์ (ความรู้สึกที่เหนือหรือต่ำกว่าปกติ)

8. ความรู้สึก(Feeling) เป็นภาวะที่พุ่งเข้าภายในตน เกิดอะไรขึ้นก็เก็บรวบรวมข้อมูลทีละเล็กทีละน้อย ถ้าเป็นเรื่อง ทั่ว ๆ ไปไม่ใหญ่โต แต่ถ้าเป็นเรื่องใหญ่โต เมื่อพุ่งหาตนแล้ว ก็พร้อมที่จะกลายเป็นอารมณ์ พุ่งออกไปยังภายนอกได้ทันที. ความรู้สึกนั้นถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ ทั้งระดับจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก

- อย่างใครเรียนสมาธิให้หยุดที่ความรู้สึก ไม่มีอารมณ์

- ความรู้สึกได้มาจากผัสสะทั้ง 6 ตัว ไม่แสดงให้คนเห็น

9. อารมณ์(Emotion) เป็นสภาวะที่พุ่งออกไปสู่ภายนอกตนเป็นกลุ่มก้อนของความรู้สึกที่รวมตัวกัน จนไม่สมารถเก็บไว้ภายในได้จึงต้องแสดงออกมาภายนอกให้คนอื่นรับรู้ อารมณ์มักเป็นพลังขับดันเบื้องหลังพฤติกรรมไม่ว่าเชิงบวกหรือเชิงลบ มุมมองที่สำคัญของอารมณ์ก็คือการรับรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตีความหมายของสิ่งที่เกิด

- อารมณ์ใช้ระยะเวลามากกว่าความรู้สึก สะสมเป็นพลังงานแสดงออกมาให้คนเห็นผ่านทางสื่อทางร่างกาย

- การตัดอารมณ์จะต้องรู้แล้วเดินออก ไม่ต้องใส่ใจ มองเหมือนไม่มีตัวตน

- การผูกอารมณ์กับเหตุการณ์ จะเกิดความรู้สึกนั้นขึ้นมาโดยไม่ต้องกำหนด ดังนั้นเราต้องไม่ผูกอารมณ์วิกฤตินั้นกับเหตุการณ์นั้น ๆ แล้ว

10. ทักษะการเข้าใจผู้อื่น (Empathy) เป็นความสามารถในการเข้าใจความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างบุคคล ในด้านความสามารถ เพศ วัย ระดับการศึกษา ศาสนา ความเชื่อ สีผิว อาชีพ ฯลฯ ช่วยให้สามารถยอมรับบุคคลอื่นที่ต่างจากเรา เกิดการช่วยเหลือบุคคลอื่นที่ด้อยกว่า หรือได้รับความเดือดร้อน

- ปากเป็นเอกเลขเป็นโท

- มีความรู้กับตัวกลัวอะไร

11. การกำหนดรู้เฉยๆ (Bare attention) การกำหนดรู้เฉยๆ หรือการกำหนดสักแต่ว่ารู้ (bare attention) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับอัตตาที่กำลัง สังเกตดู (observing ego)

- การไม่ให้ค่ากับอะไร ก็จะรู้สึกเฉย ๆ

12. Disassociation หรือ Free association คือ การแยกตัวระหว่างจิตกับอารมณ์

13. การขจัดการวางเงื่อนไข (De-conditioning) คือ การคลายตนจาก โลกธรรม 8 อย่างส่วนที่ชอบคือ ลาภ ยศ สรรเสริญ และสุข หรือข้อจำกัดด้านความสามารถ และอื่นๆ ที่ทำให้เราทำอะไรได้ยากลำบาก

14. การเรียนรู้ใหม่ (New learning) คือการรื้อฟื้นเหตุการณ์ในอดีต ในระหว่างที่เราอยู่ในสภาวะจิตนิ่งๆ จนเกิดการเรียนรู้ใหม่ การวนซ้ำของเหตุการณ์เก่า แล้วลดอารมณ์ลง จะเกิดปัญญา และการเรียนรู้ เป็นประสบการณ์ทางจิตที่งอกงามขึ้น

- การลดอารมณ์ลด อคติลง เราจะเรียนรู้ได้มากขึ้น

15. การพิจารณาซ้ำเพื่อแก้ปัญหา Working-through คือการระลึกถึงปัญหาที่กำลังประสบอยู่ ในระหว่างที่เราอยู่ในสภาวะจิตนิ่งๆ พิจารณาเหตุและผล รวมถึงความคาดหวัง จนเห็นกระบวนการแก้ปัญหา ในจิตของเรา

16. การแผ่เมตตากรุณาและการอุทิศส่วนกุศล คือการมอบความรักและความหวังดีให้กับทุกคนแม้แต่ศัตรูของเรา ในระหว่างที่เราอยู่ในสภาวะจิตนิ่งๆ ให้เรามอบความรักกับศัตรู และสมมุติว่า ถ้าศัตรูมายืนตรงหน้า แล้วเราจะพูดและรู้สึกอย่างไรต่อเขา ทำซ้ำๆจนเรารู้สึกดี เขาไม่เป็นศัตรูกับเราอีก

- เราต้องแผ่ด้วยใจอย่างแท้จริง

17. Self-determination is a combination of skills, knowledge, and beliefs that enable a person to engage in goal-directed, self-regulated, autonomous behavior. ความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จเป็นผลจากความเชื่อ ทักษะและความรู้ผสมผสานกันจนทำให้บุคคลนั้น กัดไม่ปล่อย (engage in goal directed) ในเป้าหมาย ความตั้งใจและพฤติกรรมที่ทำจนเป็นธรรมชาติ (อัตโนมัติ)

18. การตัดสินใจ (decision)หมายถึงการเลือกกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดจากทางเลือกที่มีอยู่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์อย่างที่ตนเองมุ่งหวังให้เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ได้ทั้งผลของงานและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

19. ความจำ เหตุการณ์ ต่างๆ (Episodic memory) ที่เกิดขึ้นเมื่อหลายชั่วโมงก่อน หลายวันก่อน หรือหลายปีก่อน ชื่อของเพื่อนสนิทความจำระยะยาวแบบนี้เป็น "ความจำอาศัยเหตุการณ์" เป็นความจำที่เราสามารถระลึกถึงเหตุการณ์เฉพาะต่างๆ เช่น งานเลี้ยงวันเกิดหรืองานแต่งงาน

20. ความจำ ความหมาย (Semantic memory) เช่น ความหมายของ สีต่างๆ รวมถึงการตีความของเหตุการณ์ ความชอบ ความเกลียด อารมณ์ เป็นต้น ที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์

- หน่วยความจำทั้ง 2 มีตำแหน่งคนละที่กันในสมองเพราะเนื้อเซลและระบบประสาทมีความต่างกัน (แต่อยู่ใกล้กันมาก)

21. Repetitive Compulsion พฤติกรรม (ไม่) สำเร็จ ที่รอวันเกิดซ้ำ

- ถ้าทำพฤติกรรมซ้ำ แล้วไม่สำเร็จ ก็ไม่สำเร็จอยู่ร่ำไป

22. Mental Rehearsal การเตรียมพร้อมสมองเพื่อความสำเร็จ

กิจกรรม

ประเด็น.............................................

As isTo Be

BehaviorBehaviors

Outputs and MistakesOutputs

ValuesValues

EmotionEmotion

Values…………………. (มีค่า และอยากมีคุณคืออะไร)

ชีวิตงาน

ครอบครัวเพื่อนร่วมงาน

งานคนใกล้ตัว

Values…………………………………….

ชีวิตสุขภาพกายครอบครัวสังคมงาน

ตัวอย่างคุณค่าต่องาน

คุณค่าที่ท่านให้ในงานและชีวิตของท่าน

  • คุณค่าที่ท่านให้ในงานและชีวิตของท่านคืออะไรครับ ตอบ 5 คุณค่า
  • คาดหวังกับคนอื่นให้เป็นแบบเขาไหม

-กรุณาเรียงลำดับความสำคัญ

-กรุณายกตัวอย่างจริง เป็นพฤติกรรม ที่ท่านใช้ในคุณค่าเรื่อง ……..

-เมื่อท่านลาออก/โยกย้าย จากงานเดิม ท่านให้คุณค่ากับ เรื่องใด มากที่สุด

-ท่านเคยต้องผ่อนปรน คุณค่าที่ท่านให้กับ ครอบครัวหรือชีวิตส่วนตัวกับการทำงานหรือไม่ อย่างไร

-ความสำเร็จในชีวิตของท่าน วัดจากอะไร

-คุณค่าใดที่ท่านเชื่อมั่นในตัวเองว่าท่านดีแล้ว

-คุณค่าใดที่ท่านไม่ได้แล้วท่านขาดความสุข

-ท่านบอบบาง/สะเทือนใจที่สุดเมื่อคนตำหนิท่านเรื่องอะไร

-ท่านเคยต้องลำบากใจกับ คุณค่า ไหนบ้างครับ กรุณาเล่ารายละเอียดให้ฟัง

Behavior

ลักษณะเฉพาะ ที่ต้องเจาะลึก คำพูด - คุณค่าที่ท่านให้ในงานและชีวิตของท่าน

  • คุณค่าที่ท่านให้ในงานและชีวิตของท่านคืออะไรครับ ตอบ 5 คุณค่า (คุณค่าที่ดีต้องไม่ให้ทุกแก่เรา...ไม่ได้หวังผลต่อ...ต้องถูกต้อง)
  • ท่านเคยต้องผ่อนปรนกับคุณค่าใด กรุณาเล่ารายละเอียดให้ฟัง

-กรุณาเรียงลำดับความสำคัญ

-กรุณายกตัวอย่างจริง เป็นพฤติกรรม ที่ท่านใช้ในคุณค่าเรื่อง ……..

-ท่านเคยต้องลำบากใจกับ คุณค่า ไหนบ้างครับ กรุณาเล่ารายละเอียดให้ฟัง

กลุ่ม 3

Values ต้องการ ทำงานได้ดี ได้รับการยอมรับในเรื่องงานและครอบครัว

- ชีวิตเรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ

- ครอบครัว มั่นคง สนับสนุน

- งาน ต้องยุติธรรม

- สังคม เป็นจิตอาสา ช่วยเหลือ

- สุขภาพ แข็งแรง

ดร.ทายาท ศรีปลั่ง

- ชีวิตที่ขึ้นอยู่กับการคาดหวังคนอื่นยอมรับ จะสิ้นสุดเมื่อบางอย่างสิ้นสุด

- เป้าที่ทำให้คนสำเร็จจะไม่ตั้งเป้าเป็นเงิน แต่เป็นเป้าที่ช่วยให้คนอื่น ทำประโยชน์ให้กับโลก เงินเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ความแตกต่างระหว่าง Talent กับ Successor

Talent คือพนักงานที่มีศักยภาพและความสามารถสูง

- เราหา Talent มาแต่ไม่ใช่ทุก Talent เป็น Successor

- คนเป็น Successor เป็นการไปแทนตำแหน่งที่สำคัญ ๆ

- การมอง Successor จะมองทุกมิติ

9 Grid เป็น Talent Matrix

แกนบน เป็น Performance Results จะเชื่อมโยงกับระบบประเมินผล

เรื่องงาน HR ทุกองค์กรจะมี Vision , Mission, Strategy และมี Value และเมื่อเรามีองค์กรตรงนี้องค์กรจะมากำหนด Structure

- มีโครงสร้างงานอะไรบ้าง

- เกิด Job Description

- ใน Structure จะพูดเรื่อง Functional Role แล้วมี Job Description

- เนื้องานจะอยู่ในตำแหน่งระดับใด เรียกว่า Position Level มีพนักงานระดับปฏิบัติการที่อยู่ใน Position Class

- จะได้เรื่องเงินค่าตอบแทน แล้วมากำหนดตัว Salary Structure ดังนั้นเงินเดือนที่จ่ายพนักงาน มีหลักการในการประเมินค่างาน พิจารณาจากความรู้ที่มาใช้ในงานคือเรื่อง

1. Knowledge,

2. Decision Making และเมื่อระดับสูงขึ้น คะแนนจะสูงขึ้น เนื่องจากมีผลทั้ง Internal และ External

3. การสื่อสาร ทั้งวงแคบ วงกว้าง ผลกระทบการสื่อสาร

4. จำนวนคนที่ดูแล ในทีมมีคนดูแลมากหรือน้อย

จะมีหลักการในการหาค่างานเกิดเป็น Salary Structure คือ Minimum, Middle, Maximum ตัวอย่างในบริษัทเอกชน ถ้าเงินเดือนติด Maximum เงินเดือนจะไม่ขยายจนกระทั่งตลาดโต ในทุกปีจะมีการประเมินผลการทำงานปกติ ให้เงินเดือนขึ้นแต่เป็น One time payment

งาน HR ที่สำคัญในองค์กรจะมี Yearly Planning อาจมีการทำ Scorecard เป็นแผนการทำงานที่ต้อง Deploy ออกมา ในองค์กรจะเป็น 3-5 ปี ในแต่ละปีจะซอยย่อยออกมา

ระบบการบริหารพนักงานในองค์กร ใน Performance Management จะมีการตั้งประเมินผล Objective คือ KPI มีการทำงานที่ต้องมีการทำการประเมินคือ Performance Evaluation ปกติทำ 2 ครั้งต่อปี แล้วมาถึงการให้รางวัล และค่าตอบแทน อย่างไรก็ตามถ้าระบบไม่สะท้อนข้อเท็จจริงในการทำงานจะไม่สะท้อนปรัชญาในการทำงาน จะกลายเป็น Pay for middle part ดังนั้น Performance ที่มาพิจารณาต้องอย่างน้อย 3 ปี ถึงจะเห็นภาพออกมา

ความสำคัญส่วนผสมที่สำคัญของระบบนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ Coaching & Impact หัวหน้างานต้องให้มีการ Coach & Feedback เสมอ หัวหน้างานในช่วงนี้จึงมุ่งทำ IDP ซึ่งคนที่มีผลการทำงานที่ไม่ดีจะไม่ปล่อยไปถึงช่วงปลายปี แต่ต้องมีการ Monitor ตลอด เป็นลักษณะ Two-way communication ดังนั้นปรัชญาของระบบนี้คือการพัฒนาคนให้มีความรู้ ความสามารถทำตาม Objective ที่ได้มีการวิจัย

สิ่งที่ต้องทำคือ หัวหน้ากับลูกน้องต้องมีบทสนทนาที่บ่อยครึง และถ้าทำได้ดีผลจะเกิดขึ้น

ไทยใช้ Competency Base องค์กรจะมี Core Competency

JD จะสกัดมาเป็น Functional Competency

- ภาครัฐจะใช้ Managerial

- ภาคเอกชนจะใช้ Leadership

Competency ถ้าค้นหาคนที่เป็น Challenge จะใช้ Leadership Competency มาประเมิน

จะได้ส่วนที่เป็นคะแนนของ Performance และ Managerial ในทั้ง 9 กล่องจะมีความหมายหมดเลย

ตัวอย่าง

- High Potential คือสูงสุดทั้ง Performance และ Managerial ดีสุด โดยส่วนใหญ่จะถูกวางตัวเป็น Successor จะเป็น Ready now Candidate

- กลุ่มที่อ่อนแอคือ ต่ำทั้ง Performance และ Managerial การพัฒนาต้องมีการเลือกก่อนว่าไปตรงไหนก่อน เพราะไม่สามารถพัฒนารอบเดียวแล้วอยู่ตรงกลางได้เลย

- กลุ่มที่ High Potential ดี แต่ Managerial ไม่ดี คือผลงานดีแต่ไม่มีภาวะผู้นำ ต้องมีการพัฒนาภาวะผู้นำ วิธีการคือให้ไปนั่งในกลุ่ม CEO ฝึก Size small size

- กลุ่มที่ High Potential ไม่ดี แต่ Managerial ดี อาจหมายถึงกลุ่มนี้เริ่มหมดไฟ

สรุปคือการ หา Talent Successor จะมีที่มาของการพิจารณา แล้วผ่านกระบวนการทดสอบ มีการสัมภาษณ์เชิงลึก และ Psycho Matrix Test สามารถวัดระดับการตัดสินใจ ภาวะผู้นำดังนั้นระบบนี้จะน่าเชื่อถือเมื่อการประเมินผลมีประสิทธิภาพ ผลงานในทีมอาจไม่ได้ตามนั้น แต่ Individual เก่งหมดแล้ว ดังนั้นต้องเข้าใจว่าระบบนี้เพื่ออะไร และวิธีการนำไปเสนอกับองค์กรนั้นเป็นวิธีไหน ต้องฝึกให้สามารถเขียน Smart Objective ให้ได้ ดังนั้นในเวลา 2 ปีต้องคุยกันเรื่อง Objective เยอะมาก

วิธีการประเมินผล หน่วยงาน HR เป็นหน่วยงานที่สำคัญ เอา Tool มาให้ใช้ แต่คนใช้จริงคือคนทำงาน แต่สิ่งที่พบคือกลัว Rating ของ Performance หมด ยกตัวอย่างการให้คะแนนระบบถ้าให้คะแนน 5 แล้วคนไม่ใช่ 5 จริง ๆ จะให้ลบ 1 เพื่อให้ Realistic

สรุปคือ ถ้าเราทำงานแล้วมีบทบาทหน้าที่ และมีสติอยู่กับงาน เราจะกัดไม่ปล่อย แสดงว่าคุณได้ทำแล้วและทำอย่างเต็มที่แล้ว ให้ทำไว้และเมื่อวันหนึ่งที่หัวหน้าอยากเห็นจะมีทุกอย่างพร้อม

ระบบ Performance System และ Competency Base จะใหญ่มาก จะนำสู่ Learning Development ทำให้ได้ Salary กับ Welfare ที่เหมาะสม และอยู่ในส่วนของ Learning ได้ดีจะรู้ว่าการ Retain คืออะไร

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. เทคนิคหรือกระบวนการ Rotate งาน ในองค์กร ณ ปัจจุบันคนน้อยลง เราจะปรับเปลี่ยนให้คนรู้อย่างน้อยมากกว่า 1 งานทำอย่างไรให้คนยอมรับ

ตอบ Job Rotation ต้องทำให้ดี คำถามคือ Rotate จะได้กลับมาที่เดิมหรือไม่ แล้ว Performance เป็นอย่างไร เงินเดือนเป็นอย่างไร การที่จะ Rotate ส่วนใหญ่จะใช้กับกลุ่ม Talent เพื่อให้เรียนรู้งานมากที่สุดเพื่อขึ้นมาเป็นผู้บริหาร แต่ต้องดูว่าตำแหน่งที่ย้ายไปมีผลกระทบอย่างไร และจะไปอยู่โครงสร้างไหน ต้องดูให้เหมาะสมว่าควรหรือไม่ และถ้าพูดในแผนกเดียวกันอาจแก้ได้ด้วยการมุ่งหวังให้คนอยู่ในสายงาน HR รู้จักกันและเรียนรู้กัน ยกตัวอย่างการทำ Competency มีความเกี่ยงกันมาก ต้องเอาทั้งแผนกต่าง ๆ มารวมกันและใช้ทีมทำงาน และต้องให้ทุกคนรู้ว่าทำอะไร เพราะคนข้างนอกจะคาดหวังว่าเป็น HR ดังนั้นการทำงานให้ใช้คำว่าเรา อย่าเป็นคำว่าฉันกับเธอ ต้องคุยกับเจ้าของแผนกบ้างว่างานหลัก ๆ ทำอะไร Learning ต้องทำอะไร ดังนั้น ต้องทำพร้อมกันและทำเป็นทีมให้ทุกคนรู้ การทำ Workshop ต้องรู้ว่า IDP คืออะไร การพัฒนาคนต้องรู้ว่าพัฒนาคนเหล่านี้ไปทำอะไร

การ Rotate จากการไม่รู้ ต้องปรับใหม่ ให้ทำงานแบบ Project Base เรียนรู้ร่วมกันและเข้าใจร่วมกัน


#PSUfutureleaders3

#โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่3


โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/politic/columnist/30163

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน 2560 หน้า 5


http://www.thinkingradio.net/view/594621eae3f8e4d032374644

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน 2560 เวลา 6.00-6.30 น. ทาง FM 96.5 MHz.


http://www.thinkingradio.net/view/5958c0fbe3f8e4d0323755ce

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม 2560 เวลา 6.00-6.30 น. ทาง FM 96.5 MHz.


http://www.thinkingradio.net/view/596b4560e3f8e40af5bdaf7d

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม 2560 เวลา 6.00-6.30 น. ทาง FM 96.5 MHz.


หมายเลขบันทึก: 629722เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2017 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กรกฎาคม 2017 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

จากทุกวิชาในครั้งแรกนี้มีประโยชน์มากครับ ได้เรียนรู้เพิ่มเติมประสบการณ์หลายอย่างมากครับ

เนื้อหาข้างบนนี้สรุปไว้มีประโยชน์มากครับ

ด้วยมิตรภาพครับ

จากทุกวิชาในครั้งแรกนี้มีประโยชน์มากครับ ได้เรียนรู้เพิ่มเติมประสบการณ์หลายอย่างมากครับ

เนื้อหาข้างบนนี้สรุปไว้มีประโยชน์มากครับ

ด้วยมิตรภาพครับ

2">

….. อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/629722

จิรยุทธ์ จันทนพันธ์

ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณคณะผู้บริหารรุ่นปัจจุบันของมหาวิทยาลัยที่ได้ดำริให้มีโครงการอบรมเช่นนี้เกิดขึ้น รวมถึงการยินดีลงทุนในการพัฒนาทุนมนุษย์ของมหาวิทยาลัยด้วยการให้โอกาสกับผู้บริหารและอาจารย์รุ่นใหม่ได้เข้าร่วมในครั้งนี้ สิ่งที่ประทับใจมากส่วนหนึ่งมาจากแนวคิดที่ได้รับฟังจากผู้บริหารอาวุโสของมหาวิทยาลัย ที่แสดงให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ใช้หลักการ Learn Share Care ในการให้คุณค่าแก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริง

นอกจากนั้น คือ การสร้างเครือข่ายในการทำงานร่วมกันในระบบ PSU System ซึ่งการสร้างเครือข่ายนี้ นำมาซึ่งการ “ปะทะทางปัญญา” ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้ตามแบบ Chira’s Way อีกด้วย ดังที่ผู้บริหารที่มาร่วมการเสวนาได้กล่าวไว้ ดังนี้

อ.พิชิต เรืองแสงวัฒนา รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เราต้องมีทัศนคติที่ดีเชิงบวกต่อมหาวิทยาลัย ต้องการเห็นความรัก ความเจริญร่วมกัน และต้องไปด้วยกันด้วย ... ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องจูงมือไปด้วยกัน และในอนาคตการทำงานเป็นเครือข่าย … ทำให้เห็นภาพการบูรณาการเชื่อมโยง ที่ต้องคำนึงถึงศาสตร์ที่ต้องเชื่อมโยงกัน

รองศาสตราจารย์ นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ ที่กล่าวว่า

“สิ่งที่อยากฝากไว้คือ การมี Network หรือมีเพื่อนสำคัญมากกับการทำงานของเรา ทำเราทำงานได้ดีขึ้น ได้กว้างขึ้น”

นายแพทย์บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา รองอธิการบดีฝ่ายบุคคลและประกันคุณภาพ

“ให้เราช่วยกันสร้างภาพ ต่อจิ๊กซอว์ ผลิตบัณฑิตคุณภาพดีต่อประเทศ ไม่เฉพาะในวิทยาเขตเท่านั้น”

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ ช่วงที่ 1/7 ของการอบรมโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3

การอบรมผู้บริหารครั้งนี้มีความสำคัญกับคนรุ่นใหม่ในการพัฒนาเป็นผู้บริหาร ซึ่งผู้บริหารในหน่วยงานของสถานศึกษามีความจำเป็นที่จะต้องมีความก้าวหน้า 2 ด้าน คือ ด้านความก้าวหน้าในสายวิชาการ คือการทำตำแหน่งวิชาการ ด้านความก้าวหน้าในการบริหาร โดยทุกคนควรต้องมีทัศนคติที่ดีเชิงบวกต่อมหาวิทยาลัย ต้องการเห็นความรัก ความเจริญร่วมกัน และต้องพัฒนาองค์กรไปด้วยกัน โดยการมีความพร้อม ศักยภาพและใช้ทรัพยากรที่มีในการทำงานเป็นเครือข่าย โดยคำนึงถึงมิติและบริบททางสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ

         การบริหารที่ดีนั้นจะต้องมีการจัดการทุนมนุษย์ที่มีอยู่ โดยใช้กระบวนการคล้ายกระบวนการทางเกษตรกรรม นั่นคือ 1) กระบวนปลูก โดยบุคลากรทุกคนคือเมล็ดพันธุ์ที่ดีอยู่แล้วเราจะพัฒนาบุคลากรให้ดีได้อย่างไร   2) กระบวนการเก็บเกี่ยว เราจะเก็บเกี่ยว (บริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์) อย่างไรในเวลาที่เหมาะสม ด้วยกระบวนการที่เหมาะสม การพัฒนาทุนมนุษย์ โดยใช้หลัก 8K’s+5K’s  3) กระบวนการขาย ส่งออก แปรรูป เราจะปรับปรุงบุคลากรให้ดีขึ้นได้อย่างไร สร้างออกแบบเป็นนวัตกรรม ให้เกิดเป็นคุณค่า Value Based Economy ที่สร้างมูลค่าแบบ 3 V’s ใช้ Chira Way ในกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาคน

กระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลนั้น ประกอบด้วย structure system process และ practice  ในกระบวนการ HRD และ HRM ผู้บริหารมีบทบาทคือ ชี้แจงนโยบาย วิสัยทัศน์องค์กรแก่พนักงาน โดยจะต้องมีการชี้แจงในสิ่งที่จำเป็นได้แก่ กฎระเบียบ ภาระงาน สิ่งที่ต้องปฏิบัติตั้งแต่วันแรกของการทำงาน สร้างให้เกิดเครือข่ายระหว่างพนักงานใหม่ด้วยกัน โดยที่ผู้บริหารต้องเข้าร่วมด้วย ในระหว่างกระบวนการทำงาน จะต้องให้มี mentor ในการ coaching งานให้กับพนักงานใหม่ ในการบริหารทรัพยากรบุคคลสิ่งสำคัญคือการพูดคุย (conversation) ซึ่งมีประโยชน์มากกว่าการสื่อสาร (communication) และควรใช้การฟังอย่างตั้งใจ

ในการพัฒนาบริหารบุคคลและองค์กรนั้น ผู้นำมีความจำเป็นที่ต้องปรับผู้ที่มี fixed mindset เป็น growth mindset เพื่อให้องค์กรก้าวไปในทิศทางเดียวกัน โดยหาผู้นำที่เป็น Role Model (Emotional Intelligence Mindset) การสร้างผู้นำหรือ Role Model จะทำให้เขาเชื่อว่าผู้นำสามารถนำเค้าได้ และสร้างแรงจูงใจ Inspiration ทำอย่างไรให้เห็นประโยชน์จากการนำไปใช้ (Connection Mindset) และให้ Empowerment ว่าทำได้  ให้โอกาสคนที่เป็น Fixed Mindset ได้ลองปฏิบัติ (Performance Mindset)  โดยผู้นำมีหน้าที่เป็น mentor ช่วย coach ทำคนนั้นจะสามารถแก้จุดบกพร่องให้เกิดการเรียนรู้ได้

การดำเนินงานผู้บริหารหรือผู้นำนั้นมีความจำเป็นต้องพูดหรือนำเสนอต่อที่ชุมชน ซึ่งประโยชน์ของการพูดต่อสาธารณชน คือเปิดโอกาสความสำเร็จให้มากขึ้น สร้างการรับรู้ต่อผู้คนก่อน ผู้นำต้องทำ และเป็นการให้ปัญญากับผู้อื่นได้มากขึ้น โดยใช้หลักการของ ZEN ได้แก่ การสว่างตื่นรู้ การออกนอกกรอบ เรียบง่าย ความสมดุล และความสม่ำเสมอ ในการนำเสนอมีเทคนิค ดังนี้คือ

1. สร้างหัวข้อที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์กับผู้ฟัง

2. นำเสนอตัวเองให้น่าสนใจ

3. สร้างสัมพันธ์กับผู้ฟังแบบ CIA ด้วยการ matching smile และ encourage

4.ใช้ภาษากายที่ดี ใช้คำพูด positive

          การนำเสนอโดยใช้สไลด์ มีหลักการสร้างสไลด์ ได้แก่ เรียบง่าย ,สื่อด้วยภาพ สมดุล ระยะห่างที่เหมาะสม สร้างสไตล์ของตัวเอง

องค์กรจะสามารถอยู่รอดหรือไม่นั้นมีความจำเป็นต้องสร้างสรรค์นวัตกรรม องค์ความรู้ใหม่ๆเพื่อนให้เกิดความโดดเด่นขึ้นมา ปัญหาปัจจุบันที่ไม่สามารถพัฒนานวัตกรรมได้ คือ มีนักวิจัยสร้างผลงานออกมามากมายแต่ไม่สามารถเข้าสู่ commercial ได้ การตั้ง KPI ของมหาวิทยาลัยกำหนดให้อาจารย์ก้าวสู่ตำแหน่งวิชาการสูงสูด ตัวชี้วัดดังกล่าวจึงไม่ทำให้เกิดนวัตกรรม กระบวนการในการทำงานไม่ต่อเนื่อง นวัตกรรมไม่ได้กระจายไปใช้ในหน่วยงานอื่นๆ วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่กระตุ้นให้เกิดนวัตกร และเรื่องงบประมาณจะขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมได้นั้นเกิดจากการการวิเคราะห์และตอบคำถามดังนี้

1.        Reason for being

2.        Value and heritage

3.        Inspiration leader

4.        Customer centric

5.        Innovation ecology

ผู้บริหารสามารถขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างนวัตกรรมได้ดังนี้

1.      กระตุ้นพนักงาน

2.      กำหนดวิสัยทัศน์นโยบาย โดยสร้างเงื่อนไขให้อำนวย และลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรค

3.      จัดสรรทรัพยากร ได้แก่ เงิน เครื่องจักรกล องค์ความรู้

4.      ประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ

5.      สร้าง inspiration motivation และ empowerment

6.      กล้ารับความเสี่ยง ยอมรับความผิดพลาด

7.      สร้างเครือข่าย

8.      รู้จักการรอคอย




Summary of what has been learned and what will be applied to the work

“THINK OUTSIDE THE BOX”

15-June-17

Subject 1:

·      Learning your STRENGTHS, not weakness

·      Focus on small problems, not a big one

·      Develop emotional capital

·      HRDS (Happiness, Respect, Dignity, Sustainability)

Subject 2:

·      Leader should learn basics from Peter Drucker

·      For fast uncertainty and unpredictable world, Chira’s Way is suggested

·      Peter Drucker quoted that “Doing the right thing is more important than doing the thing right”

Subject 3:

My enemies are:

·      VOJ = Voice of Judgement

·      VOC = Voice of Cynicism

·      VOF = Voice of Fear

16-June-17

Subject 4:

·      Allow yourself to fail

·      Failing doesn’t make you a failure

·      Saying “yes” many times, saying “no” just one time can ruin it all

·      Blaming one another doesn’t strengthen the team

Subject 5:

Factors for a successful innovation are:

·      Leadership

·      Strategy

·      Innovation Ecology

·      Human Resource

·      Business


17-June-17

Subject 6:

·      Figure out what your values are

·      Prioritize them

Subject 7:

·      Managing units in PSU and human resources can adapt the following protocols:

o  Vision

o  Mission

o  Strategy

o  Culture and Value

o  Structure of Organization

o  Job Description (Competency, CORE, Functional, Managerial)

o  Action Plan (Short term, Long Term)

o  Performance Management System

o  Evaluation

o  Rewarding System

·      Talent Matrix with 3x3 cells can be used for HRD analysis

สะท้อนความรู้จากการเข้ารับการอบรมโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 ในครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 15-17 มิถุนายน 2560


“The world is changing very fast and unpredictable” by Michael Hammer


โลกในปัจจุบันเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว การศึกษาก็เช่นกัน ปัจจุบันการศึกษาโดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษาถูกท้าทาย ดังนั้น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ควรต้องปรับตัวรับความท้าทายเหล่านี้ โดยเฉพาะผู้นำ (Leader) ที่สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท เช่น 1. Trust / Authority Leadership 2. Charisma Leadership 3. Situational Leadership 4. Quiet Leader Leadership 5. Transformational Leadership 6. Transactional Leadership และ 7. Authenticity Leadership ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามแนวคิดของ PeterDrucker และของ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ แล้วจะพบว่า 

“PerterDrucker จะมองตรงบริบทของตัวผู้นำเป็นหลัก ว่าในตัวของผู้นำควรจะมีคุณสมบัติอย่างไร เช่น Ask what needs to be done หรือ Ask what’s right for enterprise แต่สำหรับของ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ แล้ว เป็นการพัฒนาต่อยอดขึ้นมาและมองในภาพรวมขององค์กร ทั้งในด้านการนำพาองค์กรให้บรรลุตามเป้าหมายหรือการแก้ปัญหาองค์กรเมื่อพบกับอุปสรรคต่างๆ”


นอกจากนี้ผู้นำเองจำเป็นต้องมองไปที่การพัฒนาคนในองค์กร ดังจะเห็นได้จากทฤษฏีเรื่องทุนมนุษย์ (8K’s 5K’s) ที่เกิดจากแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ชื่อ Gary Becker เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา ที่ได้ศึกษาสัดส่วนความสัมพันธ์จากระยะเวลาที่ศึกษากับรายได้ ซึ่งพบว่า หากมีการศึกษาที่มากขึ้น (สูงขึ้น) จะส่งผลให้รายได้มีมากขึ้น แต่ภายหลังพบว่า ตัวแปรในด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ด้านการศึกษาไม่ได้มีปัจจัยเดียวที่ทำให้ประสบความสำเร็จ แต่คุณภาพ ความคิดสร้างสรรค์ การคิดนอกกรอบ ฯลฯ ล้วนเป็นองค์ประกอบสู่ความสำเร็จทั้งสิ้น


นวัตกรรม (Innovation) เองก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ ประเด็นที่เป็นข้อคำถามกันมากก็คือ นวัตกรรม คืออะไร และมีกระบวนการในการได้มาซึ่ง นวัตกรรม อย่างไรบ้าง ซึ่งหากมหาวิทยาลัยผลักดันเป็น “องค์กรแห่งนวัตกรรม” ก็จำเป็นต้องปรับกระบวนการต่างๆ ทั้งในด้านของ คน ระบบ วิธีการทำงาน แนวคิดและแรงจูงใจ 

(I-Imagination, C-Creativity, I-Innovation, E-Entrepreneurship) ยกตัวอย่างของ 3M ซึ่งมีการใช้กระบวนการต่างๆ ที่ชัดเจน ในการเป็น องค์กรแห่งนวัตกรรม ได้แก่

1. Management

2. Innovation Strategy

3. Innovation Development Process

4. Organization Culture

5. Networking

หรืออย่างในกรณีศึกษาของ SCG ที่ผู้นำได้เปลี่ยนแปลงตั้งแต่เรื่องเล็กๆ ได้แก่ ชุดทำงาน ที่อนุรักษ์มามากกว่า 90 ปี มาเป็นแบบสากลและทันสมัย จนกระทั้งเป็นวิสัยทัศน์ของบริษัทในการเข้าสู่หมายเลข 1 ในอาเซียน ซึ่งทั้งหมดมาจากการกล้าคิด และเมื่อคิดแล้วกระบวนการในการเดินไปสู่เป้าหมายก็ต้องเป็นระบบ ที่จับต้องได้อีกด้วย


ดังนั้น หากจะประยุกต์กับการพัฒนาผู้นำและพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากความเห็นส่วนตัว จะประกอบด้วย

1. มหาวิทยาลัยควรจะต้องวางเป้าหมายในระยะยาว ซึ่งหากยกแนวทางของกระทรวงการคลังก็จะพบว่า แนวทางการพัฒนาก็ควรดำเนินไปในลักษณะเดียวกัน ทั้งการลดขนาดองค์กรลง นำเอาเทคโนโลยีมาใช้หรือการเป็นองค์กรเชิงรุก รวมถึงการเปลี่ยนแนวคิดของผู้บริหารควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ของมหาวิทยาลัย 

2. การปรับวัฒนธรรมในการทำงานของมหาวิทยาลัย สร้างให้มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ หากยกตัวอย่าง จากแนวทาง 4L’s ของ Chira way ก็จะสามารถมาเป็นแนวในการพัฒนาในเรื่องดังกล่าวได้ (1. Learning Methodology, 2. Learning Environment, 3. Learning Opportunities และ 4. Learning Communities) รวมถึง 3 V’s ซึ่งได้แก่ 0(1. Value Added, 2. Value Creation และ 3. Value Diversity)

3. ปลูกฝังค่านิยมและทัศนคติเชิงบวกให้กับบุคลากรทุกคน

4. ยึดถือแนวปฏิบัติตามปฏิธานของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ว่า “our soul is for the benefit of mankind”

กุลวดี ลิ่มอุสันโน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 (ช่วงที่ 1: ระหว่างวันที่ 15-17 มิถุนายน 2560)


  ก่อนอื่นต้องขอกราบขอบพระคุณท่านผู้บริหารของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนงบประมาณให้กับโครงการดีๆ เช่นนี้ ก่อนหน้านี้มองไม่ออกเลยว่า PSU Network ของเราจะเกิดขึ้นได้อย่างไรในเมื่อมีโอกาสน้อยมากที่อาจารย์ต่างวิทยาเขตจะได้มาพบเจอกันและทำกิจกรรมร่วมกัน ครั้งนี้เป็นโอกาสดีมากๆ ที่เราจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างต่างวิทยาเขตและต่างสาขาวิชา เวลาที่ผ่านไปแค่ 3 วันแรกที่เราเจอกัน ไม่น่าเชื่อว่า เราจะมี Line กลุ่มย่อยพูดคุยแลกเปลี่ยนและปรึกษางานกัน แชร์สิ่งดีๆ ให้แก่กัน รวมไปถึงการคิดที่จะทำวิจัยร่วมกันแบบต่างสาขาวิชาและต่างวิทยาเขต (ขณะนี้กำลังคิดหัวข้อร่วมกัน) สิ่งนี้น่าจะทำให้ PSU Network ของเราเข้าใกล้ความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น   

ขอกราบขอบพระคุณท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ท่านได้จัดหลักสูตรดีๆ แบบนี้เพื่อพัฒนาคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนได้เรียนเรื่อง Passion & Engagement to create high performance ท่านศ.ดร.จีระ ได้กล่าวว่า Happiness at work กับ Happiness at home ควรมีการ Balance ซึ่งกันไม่ควรขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้วันนั้นกลับไปนั่งคิดทบทวนว่าเราอาจจะให้เวลากับครอบครัวและการดูแลสุขภาพร่างกายที่น้อยเกินไป ต้องลงมือปรับ Balance ใหม่

ส่วนในหัวข้อที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจอีกเรื่อง คือ การพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ทำให้เข้าใจความหมายของคำว่า นวัตกรรมมากยิ่งขึ้น เมื่อก่อนมองแค่ว่า นวัตกรรมต้องมีผลิตภัณฑ์ออกมา แต่ตอนนี้เข้าใจว่า นวัตกรรมอาจจะเป็นกระบวนการทำงานหรือวิธีการใหม่ๆ ก็ได้ ที่สำคัญ นวัตกรรมต้อง Commercialization ได้ด้วย อันนี้น่าจะจริงเพราะที่ผ่านมาเรามีผลงานใหม่เพิ่มขึ้นมากมาย แต่ไม่เป็นประโยชน์ในทางการค้าและไม่เป็นที่ต้องการของสังคม ก็นวัตกรรมนั้นก็จะไม่เกิดประโยชน์ ที่สำคัญจบจาก Class วันนี้ ได้ Idea ต่อยอดการเสนอโครงการกับ สวทน.ทันทีสำหรับงบประมาณปี 2562 โดยใช้คำว่า นวัตพัฒนา (นวัตกรรม + พัฒนา) ต่อยอดงานด้านการบริหารจัดการ

ส่วนในหัวข้อ Problem-based Learning Workshop การบริหารคนเก่งและการบริหารคนต่าง Gen ได้เรียนรู้เรื่องของ Value และจากที่ได้ทำกิจกรรมกลุ่มทำให้เห็น Value ด้านต่างๆ ของเพื่อนๆ ใน Class ที่น่าสนใจ และสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองได้ และยังได้เรียนรู้ว่าการบริหารคนในองค์กรสิ่งสำคัญคือ หัวหน้าต้องมีบทสนทนาบ่อยๆ กับลูกน้อง ต้องมีการสื่อสารที่ชัดเจนและทั่วถึงทั้งองค์กร

  

สรุปการเรียนรู้จากการเข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รุ่นที่ 3 (ช่วงที่ 1: ระหว่างวันที่ 15-17 มิถุนายน 2560)


“Study the past if you would define the future.” 

                          ― Confucius


ก่อนอื่นผมขอขอบคุณความโชคดีที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มอบโอกาสอันพิเศษให้ผมได้เรียนรู้ในห้องเรียนแห่งความสุข คงหาโอกาสยากและคงมีไม่กี่ห้องเรียนที่ผู้เรียนได้เรียนรู้หนังสือดี ๆ หลายเล่มในเวลาไม่กี่วัน โดยเฉพาะตำราชีวิตที่ครูจีระ หงส์ลดารมภ์ได้สั่งสม กลั่นกรอง ประมวลความรู้ ประสบการณ์ และข้อคิดดี ๆ ภายใต้บรรยากาศอันอบอุ่่น เป็นมิตร มีบทเรียนหลายวิชาที่ผมได้เรียนรู้ และต่อยอดความคิด โดยขอสรุป เป็น concept คำว่า C- H- I- R- A ดังนี้


1. C = Connect the dots and Co-creator 

หลักสูตรผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปรียบเหมือนจุด ที่ค่อย ๆ ประกอบ และร้อยเรียงกันเป็นรูปร่างให้เห็นอนาคตและทิศทางของการร่วมสร้างมหาวิทยาลัยด้วยพลังของคนรุ่นใหม่ โดยเร่ิมต้นจากการเขย่าความคิดให้ตระหนักถึงบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ในฐานะ คน ม.อ. รวมทั้งเปิดมุมมอง เปิดความคิดให้ก้าวออกจากพื้นที่ปลอดภัย (Comfort zone) สู่พื้นที่แห่งการเรียนรู้ (Leaning space) 


สาระความรู้ที่ได้จากช่วงที่ 1 ทำให้เห็นภาพผู้นำนักบริหารคทั้งมิติภายในและภายนอก ทั้งทฤษฎีผู้นำประเภทต่าง ๆ ที่ทำให้เห็นว่า มนุษย์ที่ก้าวมาสู่การเป็นผู้นำล้วนมีเอกลักษณ์และความแตกต่าง ไม่มีผู้นำใดสมบูรณ์แบบ แต่เราเรียนรู้จากความไม่สมบูรณ์แบบเพื่อหาความสมดุลในแบบฉบับของเรา การเรียนรู้ทักษะทางสังคมของผู้นำทั้งการพูดต่อสาธารณชน การวางตัว บทเรียนผู้นำกับคุณค่า ความรัก และความหมายต่อส่ิงที่ทำ ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงที่สะท้อนการเตรียมตัวเตรียมพร้อมเพื่อก้าวทันกระแสด้วยใจที่สร้างสรรค์ และบทเรียนผู้นำที่ไม่ลืมคุณค่าของความเป็นมนุษย์และมิติการพัฒนาภายในที่งดงาม 


2. H = Happiness at work

กระบวนการสำคัญของการอบรมหลักสูตรนี้คือ Share -Care -Learn ผมมีความสุขทุกครั้งที่เกิดการ “ปะทะทางความคิด” ทำให้ผมเห็นพลังและศักยภาพของเพื่อนสมาชิกที่นำมาใช้อย่างสร้างสรรค์และมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ โจทย์ที่อาจารย์กำหนด เมื่อทุกคนเปิดใจเรียนรู้ ใส่ใจดูแลกัน และร่วมแบ่งปันอย่างไมตรี การทำงานร่วมกันย่อมก่อให้เกิดความสุข เกิดการปะทะอย่างสร้างสรรค์ และมีความสุขที่จะเดินทางเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นการขัดเกลาใจผมไปพร้อมกับให้ตระหนักที่จะ Care -Share-Learn มากกว่าการ Share จนลืมเรียนรู้ และลืมใส่ใจคนรอบข้าง


3. I = Inspiration and Internal Motivative Foce 

ผมชอบคำที่อาจารย์ใช้ คือ Glooming Young Leader ประโยคนี้จุดประกายทำให้ผมนึกภาพต้นไม้ใหญ่ที่แตกกิ่งก้านใบให้ร่มเงา เปรียบเหมือน ม.อ. แล้วย้อนมองตนเอง ในเวลานี้ผมเสมือนใบไม้ที่แตกยอดอ่อน โดยมีใบไม้สีเขียวเข้มและสีน้ำตาลซึ่งผ่านแดด ผ่านฝนคอยโอบอุ้มประคับประคอง จึงเกิดแรงกระเพื่อมในใจที่อยากจะ Transform ชุดความคิดให้เติบโต (Growth Mindset) ไปพร้อมกับกระบวนการเรียนรู้ 4L’s คือ การเรียนรู้กระบวนการ (Methodology) ที่ทันสมัย สดใหม่ มีการวิเคราะห์กรณีศึกษาตัวอย่าง เห็นคุณค่าของโอกาส (Opputurnity) ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในฐานะ Partnership ทางปัญญา การสร้างบรรยายกาศการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วม (Environment) และการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community) ที่เกื้อกูลกัน


4. R= Real and Relevance  

ผมมองว่า Real และ Relevance เป็นคำที่ทรงพลังที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยเน้น “เเก่น” ที่มีความหนักแน่น ชัดเจน (Real) และสามารถนำมาต่อยอดเชื่อมโยงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในบริบทของมหาวิทยาลัยและบริบทของสังคม (Relevace) บทเรียนทั้ง 7 วิชาหากพิจารณาแล้ว ผมคิดว่ามีความตรงและสอดคล้องกับบริบทที่ผู้นำนักบริหารต้องมีีตระหนัก และมีความตื่นตัว ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาทุนทางอารมณ์ (Emotion Capital) ของ Chira’s ways ประกอบด้วย บทเรียนวันที่ 1 ปฐมนิเทศ ภาวะผู้นำ และทักษะต่อสาธารณชน สอดคล้องกับคุณลักษณะความมุ่งมั่น ความกล้าหาญ (Courage) และ การติดต่อสัมพันธ์ (Communication) วันที่ 2 Passion and Engagement และ การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม สอดคล้องกับ การมองโลกที่ดี (Optimism) และความเอื้ออาทร (Caring) และวันที่ 3 กลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรบุคคล สอดคล้องกับประเด็น (Self Control) 


5. A = Awareness and Apply to Daily life 

สุดท้ายนี้การเรียนรู้ในช่่วงแรกทำให้ผมรู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น มีกระบวนทัศน์ในการมองโลกที่แตกต่างไปจากเดิม ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน และประยุกต์สู่โลกแห่งความเป็นจริง ผมคิดว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ประสบการณ์ บทเรียน ทฤษฎี และแนวคิดจากครูผู้เป็นนักคิดและนักปฎิบัติที่ผ่านโลกมาระยะหนึ่ง ซึ่งการเรียนรู้นี้เองที่ทำให้ผมเห็น ถนนที่ทอดยาวสู่ทางเดินชีวิตในอนาคตของผมเช่นกัน 

 ด้วยรัก

หริรักษ์ แกัวกับทอง

โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3

บันทึกการอบรมช่วงที่ 1 ณ ห้องแคทลียา ชั้น 3 สยามนครินทร์ คอมเพล็กซ์


สรรวภัทร พัฒโร


        ขอบพระคุณผู้บริหารมหาวิทยาลัยและศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เปิดโอกาสและช่วยเสริมสร้างพัฒนาการมีภาวะผู้นำและแนวทางพัฒนาตนและองค์กร

        ทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา ข้อคิดที่ได้จากเส้นทางเดินแบบ Chira’s Way ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ “ความสำคัญของมนุษย์ผู้ที่จะเป็นทุนเพื่อขับเคลื่อนสังคมหรือองค์กรไปข้างหน้า” โดยการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอาจมีสองลักษณะคือ การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่อาจจะไม่เกิดขึ้นได้โดยง่ายกับการเปลี่ยนแปลงที่ละส่วนอย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นความสำเร็จเล็ก ๆ ผู้นำที่ดีย่อมต้องมั่นศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ แนวคิดทฤษฎีไว้สามารถศึกษาได้จากระบบ 3C 8K 5K 4L 2R 2I 3V C&E C-U-V Learn-Share-Care HRDS การบริหารทุนมนุษย์ให้เป็นเลิศขึ้นอยู่กับการเก็บเกี่ยว ส่วนจะนำไปใช้ได้เพียงใดขึ้นอยู่กับปัจเจกบุคคลนั้น นอกจากนี้ยังได้รับฟังประสบการณ์จากนพ.บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา รองอธิการบดีฝ่ายบุคคลฯ และรศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ ทำให้ได้ข้อคิดสำคัญเรื่องการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำนักบริหารของม.อ. ข้อคิดที่ได้คือการมีภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำไม่ใช่เรื่องของพรสวรรค์เพียงอย่างเดียว เป็นการแสวงหาและพัฒนาตนให้พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อสอดรับกับอนาคต โดยเฉพาะผู้นำรุ่นใหม่ที่จะพัฒนาองค์กรไปข้างหน้าได้ต้องมีการหลายองค์ประกอบ พร้อมทั้งความรู้ การเชื่อมประสาน การทำงานเป็นทีม การใช้จังหวะเวลาและโอกาส และอื่น ๆ สำคัญคือการเริ่มเปลี่ยนแปลงจากภายในตนเอง Mindset วิชาที่ 3 Public Speaking เทคนิคการนำเสนอตนเอง และงานภายใต้รูปแบบความเรียบง่ายแบบเซน น่าดึงดูดด้วยการวางตัว ภาษาและท่าทีที่เร้าใจ และการรู้จักขจัดความกลัว ทำให้รู้จักตนเองมากขึ้นและการเตรียมตัวให้มีความพร้อม

        Passion & Engagement Mr.Bruce Hancock ข้อคิดที่ได้คือหัวใจที่มีความรักความหลงใหล กับความรักที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาตนเองและงาน ทำให้รู้จักทำงานอย่างมีความสุข โดยเฉพาะกิจกรรมเกมการสอนให้ฟังเพื่อนร่วมงานที่จะต้องทำงานร่วมกัน และทำงานเป็นทีม   

การพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ข้อคิดที่ได้คือม.อ.จะเดินไปข้างหน้าให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมได้อย่างไร ภายใต้กรอบคิดการทำงานเชิงรุก การลดขนาด การใช้เทคโนโลยี การส่งต่อความสำเร็จจากบนสู่ล่าง นวัตกรรมการจัดการ นวัตกรรมของภาวะผู้นำที่พร้อมด้วยกลยุทธ์ ความรู้ ทีมงาน และผลงาน โดยเฉพาะการทดลองสำรวจแผนปฏิบัติการพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม และทำไมต้องมีม.อ.อยู่ในโลกใบนี้ การตัดสินว่าทำไมต้องมีม.อ.เป็นเรื่องของสังคมจะตอบคำถาม ด้วยลักษณะหลวม ๆ สองประการคือ หนึ่ง ผู้คนยังนึกถึงม.อ.เสมอหรือไม่ เมื่อต้องการความช่วยเหลือในมิติต่าง ๆ สอง ทุก ๆ การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของสังคม ม.อ.ยังเป็นผู้ร่วมเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นผู้นำการเดินทาง หรือที่ปรึกษา หรือเข้าไปช่วยในมิติต่าง ๆ

        PSU and Human Resource Strategies ข้อคิดที่ได้คือการสอนให้คิดถึงทำไมต้องมีการบริหารจัดการทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ สอนวิเคราะห์ความหมาย แนวคิด ทฤษฎี HR และวิเคราะห์การพัฒนา HR อย่างวิถีม.อ. และการพัฒนาตนเองจากมิติภายในแบบวิถีพุทธ ผสมผสานทฤษฎีจิตวิทยาตะวันตก 

สวัสดี ทุกท่าน ครับ

 

ผมถือว่าตัวเองโชคดีที่ทางผู้บริหารของสถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่งและทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มอบโอกาสให้ผมได้เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้แม้ว่าตัวของผมเองเพิ่งจะเข้ามาเริ่มทำงานที่ ม.อ. แห่งนี้ได้ไม่นาน ในเบื้องต้นนั้นผมเองก็มีความสงสัยเป็นทุนเดิมอยู่แล้วว่าผมและผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่านจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับในตลอดสามเดือนต่อจากนี้มาร่วมพัฒนา ม.อ. ของเราให้ก้าวหน้าไปอย่างมีคุณภาพและยั่งยืนได้อย่างไร เพราะในความรู้สึกส่วนตัวของผมเองนั้น ผมคิดว่าเรามีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งมาก ซึ่งในบางครั้งผมเองมองว่าการที่เราอยากจะเริ่มให้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างในองค์กรนั้นอาจจะทำได้ไม่ง่ายนัก

 

แต่ ... หลังจากจบช่วงที่ 1 นั้น สิ่งที่ผมได้อย่างนึงจากการอบรม คือ ในฐานะผู้นำ ตัวเราเองจำเป็นจะต้องเปลี่ยน mindset ของตัวเราเอง โดยให้คิดว่าการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงรวดเดียวและต้องเกิดขึ้นทันทีเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นๆ อาจจะเกิดแบบช้าแต่มั่นคงก็ได้ ซึ่ในบางเรื่องงอาจจะเข้ากับบริบทและวัฒนธรรมองค์กรของ ม.อ. มากกว่า นอกจากนี้ตัว mindset เองก็ควรจะมีทั้ง fixed และ growth mindset เพื่อที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้ อีกทั้งอย่างน้อยเรายังมีทุกๆ คน ที่เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ ที่สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อที่จะทำให้เราเองสามารถบรรลุสิ่งที่เราตั้งความหวังไว้ได้

 

นอกจากในเรื่องของภาวะผู้นำที่ได้เรียนรู้แล้วนั้น ยังมีเรื่องของการนำองค์กรไปสู่องค์กรที่เป็นนวัตกรรม ซึ่งทำให้ผมเห็นว่าหากเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน มี mindset ที่ดี สามารถเพิ่ม value ให้กับงานที่ทำ มีแผนงานที่ชัดเจน ตอบโจทย์ความต้องการ ก็สามารถขับเคลื่อนให้ ม.อ. เข้าสู่งองค์กรนวัตกรรมได้ ซึ่งนวัตกรรมที่เกิดขึ้นนั้นไม่จำเป็นจะต้องออกมากในรูปของ product เพียงอย่างเดียว อาจจะเป็น process ก็ได้ ขอให้มีการพัฒนา

 

นอกจากนั้นตัวผมเองยังได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่างซึ่งผมเองไม่เคยมีความรู้มาก่อน โดยเฉพาะการบริหารบุคคล ซึ่งผมเองมองว่าการที่องค์กรจพัฒนาได้นั้น "คน" เป็นส่วนที่สำคัญมาก จากการเรียนทำให้เห็นว่าถ้าเรามีการพัฒนาคนได้อย่างถูกต้อง มี career path ที่เห็นได้ชัดเจน และมีการเปิดโอกาส สร้าง และสนับสนุนให้ "คน" มีการพัฒนาตาม career path ได้แล้วนั้น องค์กรก็จะเดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

 

ผมเองจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปปรับใช้กับตัวเองและองค์กร ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถทำได้ทั้งหมด แต่ก็จะทำให้ดีที่สุด

 

May the force be with you

พลชาติ โชติการ

     คุณค่าที่ได้จากการเรียนรู้ในช่วงที่ 1 จากโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3

   บรรจง เฉลิมวงค์

         ขอขอบพระคุณทีมวิทยากรเป็นอย่างสูงนะครับที่ตั้งใจถ่ายทอดทั้งวิธีการ กระบวนการ และเนื้อหาในการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดคุณค่าแก่ตัวผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

         สำหรับการเรียนรู้ในช่วงที่ 3 นั้นสิ่งที่ได้รับตั้งแต่วันแรกก็คือ คุณค่าและความสำคัญของการเรียนรู้เนื้อหาในหลักสูตรที่ทางมหาวิทยาลัยมีความตั้งใจอย่างเต็มที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคลกรของมหาวิทยาลัยเป็นต้นทุนมนุษย์ที่มีคุณค่า เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาหลักของภูมิภาคตั้งแต่หัวข้อทฤษฎีที่สำคัญในการเรียนรู้ สำหรับการพัฒนามหาวิทยาลัยแนวนโยบายต่างๆ ที่มีการคิดค้นเพื่อบริหารองค์กรและทางทีมวิทยากรโดยเฉพาะท่านอาจารย์ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้พยายามเน้นให้ผู้เรียนตระหนักถึงศักยภาพของตัวเองว่ามีคุณค่า มีศักยภาพ มีสมรรถนะ และมีความพร้อมอย่างยิ่งในการทำงานเพื่อช่วยเหลือองค์กรและสังคม ขอเพียงให้ทุกคนเกิดความมั่นใจและรู้จักการเสริมสร้างวุฒิภาวะในการนำและแสดงออกถึงความสามารถอย่างเต็มที่ใช้กำลังความสามารถให้เกิดประสิทธิภาพตลอดจน การกระตุ้นให้เรารู้สึกมีความรักและความผูกพันในภารกิจที่เราทำอยู่เสมอ รู้จักการหาความสุขด้วยการทำงานในหน้าที่และรู้สึกภาคภูมิใจทุกครั้งที่ทำภารกิจสำเร็จก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รู้สึกรักตัวเองรักองค์กรและรักเพื่อนร่วมงานก่อให้เกิดความรักและความสนุกในการทำงาน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพทั้งรายบุคคลและการทำงานเป็นทีม

        มีการเรียนรู้เกี่ยวกับการสำแดงศักยภาพของตนเองออกมา แม้ว่าจะเป็นเรื่องใหม่ๆ มีการสกัดวิธีการและกระบวนการในการทำงานเพื่อให้เกิดเป็นนวัตกรรมในองค์กรและเรียนรู้การเสริมสร้างความมั่นใจด้วยการกระตุ้นตัวเองแม้จะเป็นเรื่องที่ยากและไม่คุ้นชินก็ตาม

        ด้วยความขอบคุณและคารวะครูทุกท่านครับ

                                                                                บรรจง เฉลิมวงค์

                                                                    กองกิจการนักศึกษาวิทยาเขตปัตตานี

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 (ช่วงที่ 1 วันที่ 15-17 มิถุนายน 2560)


ก่อนอื่นต้องกราบขอบคุณคณะผู้บริหาร วิทยากร และผู้มีส่วนร่วมในการจัดโครงการนี้ขึ้นมาครับ เนื่องจากตัวผมเองเพิ่งบรรจุมาได้ไม่นาน จึงอาจยังไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจในส่วนของการบริหารเลย แต่การได้เข้าร่วมอบรมในโครงการนี้จะมีส่วนให้ผมได้เรียนรู้ในเรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ การได้เห็นจุดแข็งจุดด้อยขององค์กรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวมถึงการได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นกับคณาจารย์ท่านอื่นๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาสร้างเป็นเครือข่ายที่แข็งแรงต่อไป ในส่วนถัดไป ผมขอสรุปสิ่งที่ผมได้รับจากการอบรมในวันต่างๆดังนี้ครับ


วันที่ 15 มิถุนายน 2560

           ผมได้เรียนรู้เกี่ยบกับภาพรวมภาวะผู้นำที่ดีขององค์กรว่าควรจะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ซึ่งในทั่วโลก ก็จะมีบุคคลที่เราสามารถยึดเป็นแบบอย่างหรือ role model ได้ แม้ว่าในรายระเอียดของคุณลักษณะของผู้นำแต่ละท่านจะแตกต่างกัน แต่สิ่งที่ผมคิดและรู้สึกได้คือผู้นำที่ดีควรจะต้องอยู่ในพื้นฐานของจริยธรรม รับฟังความเห็นจากผู้ใต้บังคับบัญชาและต้องมีความกล้าที่จะยอมรับในความล้มเหลวเพื่อที่จะได้นำมาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาองค์กรต่อไป นอกจากนี้ ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะในด้าน public speaking ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้นำและผู้บริหารทั้งในด้านของบุคคิกภาพและสื่อที่ใช้ระหว่างการพูดในที่สาธารณะ เพื่อเป็นส่วนช่วยส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์สร้างเครือข่ายที่ดีแก่องค์กรต่อไป


วันที่ 16 มิถุนายน 2560

           ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้าง passion ในการทำงาน ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากที่จะมีส่วนช่วยกำหนดแนวทางในชีวิตการทำงานของเรา โดยที่การจะได้มาซึ่ง passion ในการทำงานนั้น ก็จะต้องมีพลังขับเคลื่อนหรือ driving force เพื่อผลักดันให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้   ในส่วนถัดมาเป็นเรื่องของการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ซึ่งในส่วนนี้ผมได้มีส่วนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและได้เรียนรู้ถึงความสำเร็จและความล้มเหลวที่เกิดขึ้นในองค์กรจากตัวอย่างของโครงการต่างๆในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งทำให้เห็นว่าโครงการต่างๆจะสำเร็จลุล่วงไปได้ก็ต้องประกอบจากกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความรู้ความเข้าใจ และร่วมทำงาน ศึกษาและแก้ปัญหาไปด้วยกัน


วันที่ 17 มิถุนายน 2560

           ผมได้เรียนรู้ในเรื่องของกลยุทธในการบริหารจัดการทรัพยากรณ์มนุษย์ขององค์กร โดยการเน้นในเรื่องของการพัฒนาบุคลากรมีทักษะและสมรรถภาพให้เหมาะกับตำแหน่งงานที่ได้รับมอบหมายและสอดคล้องกับ vision & mission ขององค์กรนั้นๆ นอกจากนี้ ขั้นตอนและกระบวนการในการคัดเลือกคนหรือผู้ที่จะมาสืบทอดตำแหน่งนั้นก็มีความสำคัญและจำเป็นต้องทำอย่างเป็นระบบเพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินไปตามแนวทางที่ถูกต้องได้  นอกจากนี้แล้ว การให้ความสำคัญของการค้นหาตัวตนที่แท้จริงของตัวเองก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้เราได้สามารถทำงานอยู่ได้อย่างมีความสุข และมีความสมดุลทั้งในด้านการงานและครอบครัว

 

ขอบคุณครับ          

พรสถิตย์ สุขชู

คณะอุตสาหกรรมเกษตร วิทยาเขตหาดใหญ่



วราภรณ์ ตันรัตนกุล

สวัสดีอาจารย์และเพื่อนๆทุกท่าน


         ดีใจที่ได้มาเข้าอบรมรุ่น 3 ได้พบกับน้องๆ คนรุ่นใหม่ และกลุ่มนักวิจัย ทำให้มีโอกาสรับรู้ความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่และผู้ที่ไม่ใช่ผู้บริหาร เปิดมุมมองอีกด้านหนึ่ง ... โชคดีจริงๆ ค่ะ

         ทุกวิชาที่เรียนมีประโยชน์มากค่ะ เพราะไม่เคยได้เรียนและหลายอย่างไม่เคยคิดมาก่อน อาจารย์ทุกท่านก็มีประสบการณ์สูงในด้านที่เชี่ยวชาญ เคยคิดว่าพูดเก่ง พูดดี (คิดเอง) แต่พอถึงเวลาที่ อาจารย์รณกฤต ให้ออกไปพูด .... เออ นะ พูดไม่เป็นภาษาเลย (ขำตัวเองค่ะ) .... อาจารย์ Bruce ช่วยทำให้ใช้สมองอีกซีกเยอะขึ้น เห็นความสำคัญของ “Passion” ซึ่งก็เป็นอารมณ์ความรู้สึกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ดังนั้น หน้าที่ของเราคือ ประคองไว้ไม่ให้ดับไป .... อาจารย์พยัต ให้ความรู้ใหม่เรื่องนวัตกรรม ควรมาจากเบื้องบน ถึงว่าสิ เคยสั่งให้ลูกน้องคิดงานนวัตกรรม กลายเป็นการพัฒนางานประจำไป เพิ่งจะมาเข้าใจกระจ่างชัดในชั่วโมงนี้เอง .... อาจารย์ทายาทและอาจารย์ศิริลักษณ์ มาเปิดกะลาเรื่อง HR สิ่งที่เรียนมาต้องเอามาใช้กับตัวเองก่อน พัฒนาตนเองก่อน .... งานกลุ่มสนุกดีค่ะ น่าประหลาดใจนะคะ ที่แต่ละกลุ่มจะมีเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม น่าจะเป็นฝีมือของผู้จัดกลุ่ม รึว่า เป็น “วาสนา” ของสมาชิกในกลุ่ม ที่จะต้องมาทำงานร่วมกัน (คริคริ) .... สุดท้ายในวันนี้ ต้องขอบคุณผู้จัดการ ที่ให้กลุ่ม 3 ได้อ่านเรื่อง Manage your energy, not your time สุดยอดมากค่ะ อ่านจบแล้วนำไปใช้ทันทีค่ะ  

สิ่งแรกที่ได้เรียนรู้คือเราได้เห็นถึงบรรยากาศของห้องเรียนที่มีลักษณะจำเพาะ คือ ห้องเรียนของกลุ่มผู้บริหาร ซึ่งแตกต่างไปจากห้องเรียนทางวิชาการอื่นๆทั่วไป รวมถึงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทัศนคติมุมมองจากผู้ใหญ่ในมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่ามากเพราะทำให้เรามีมุมมองที่กว้างขึ้น หรือมีประเด็นที่ไม่สามารถฉุกคิดได้หากนั่งทำงานคนเดียวใน office ไปวันๆ สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากจากเรื่องอื่นๆที่มีความสำคัญคือ “การเปลี่ยนแปลง” ซึ่งไม่ว่าเวลาจะผ่านไปแค่ไหนองค์กรหรือมหาวิทยาลัยจะต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาอย่างต่อเนื่องและไม่สิ้นสุด ซึ่งเราได้เตรียมพร้อมหรือไม่ในการรับมือการเปลี่ยนแปลงนั้น? การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะทำให้สิ่งต่างๆมันดีขึ้นมั้ย? แล้วเราจะจัดการกับความยากลำบากหรือแรงต้านในการเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างไร? หนึ่งในกุญแจที่สำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงประสบความสำเร็จได้คือ “ผู้นำ” ที่จะต้องคอยชี้นำให้องค์กรหรือหน่วยงานเดินไปในแนวทางที่ควรจะเป็น ซึ่งทฤษฎีการบริหารจัดการหรือภาวะผู้นำที่ควรมีก็เป็นดังรายละเอียดที่ได้ถูกพูดคุยและสอนในวันแรก อีกทั้งในเรื่องของการปรับ mindset และ การนำเสนอพูดคุยสู่สาธารณะ ที่เป็นปัจจัยสำคัญของการนำกลุ่มผู้คนในหน่วยงานของเรา

ในวันที่สองเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้าง passion, motivation หรือ driving force ในการทำงาน และการปรับเปลี่ยนองค์กรให้มีนวัตกรรมที่มากขึ้นเพื่อความอยู่รอดในอนาคต ซึ่งผู้นำก็เป็นปัจจัยที่สำคัญในการผลักดันให้เกิดสิ่งต่างๆขึ้นเพราะถ้าหากผู้นำไม่ลงมาลุยด้วยหรือเป็นแบบอย่างในการเปลี่ยนแปลงก็เป็นการยากที่ผู้ร่วมงานจะยอมทำตาม รวมถึงการเรียนรู้จากการทำ workshop ในช่วงเช้าที่ทุกคนช่วยกันนำโครงเหล็กเต๊นท์ลงพื้นได้อย่างปลอดภัย ซึ่งในมุมมองผมคิดว่าอย่างแรกคือเราต้องมองอะไรให้กว้างกว่า objective ที่อยู่ตรงหน้าเรา รวมถึงการฟังเสียงจากคนรอบข้างและการมีปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และที่สำคัญไม่จำเป็นต้องมีผู้นำเพียงคนเดียวเพราะในบ้างครั้งคนๆเดียวอาจจะพลาดหรือมองได้ไม่รอบในบางจุด การมีผู้นำอีกคนขึ้นมาคอยช่วยเสริมแรงหรือคอยอุดจุดรั่วและผลักดันให้หน่วยงานเดินไปถึงจุดหมายได้จึงเป็นอะไรที่สำคัญมาก

ในวันที่สามเราได่เรียนรู้ถึงความสำคัญ ความจำเป็นในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อความอยู่รอดขององค์กรและทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ รวมถึงที่มาที่ไปของการประเมินผลการทำงานของคนในองค์กรซึ่งได้เปิดโลกเกี่ยวกับฝ่าย HR เป็นอย่างมาก และในช่วงครึ่งบ่ายตอนแรกผมแปลกใจมากในหัวข้อนี้แต่ไปๆมาๆผมคิดว่าเป็นประเด็นที่สำคัญมากในการที่เราจะต้อง balance สิ่งต่างๆให้ดีในการทำงานทั้งเรื่องการงาน ครอบครัว สุขภาพ เพราะเท่าที่มองตอนนี้เราทำงานกันแบบหามรุ่งหามค่ำมาก ละเลยปัจจัยอื่นๆที่มีความสำคัญต่อชีวิตของเรา จึงเหมือนเป็นสวิตช์ที่คอยเตือนตัวเราเองและคนในหน่วยงานได้อย่างดีถึงความสำคัญในการ balance ชีวิตของเรา เพราะถ้าหาก balance ไม่ดีคนๆนั้นก็อาจจะหมดไฟในการทำงานหรือเกิดภาวะเจ็บป่วยต่างๆเนื่องจากการทำงานได้จนทำให้องค์กรต้องหยุดลง รวมถึงขาดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหลักสูตรที่ดีมาก ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความคิด เปิดมุมมองใหม่ๆ และได้เรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์จากการถ่ายทอดโดยวิทยากรที่มากความสามารถ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้จริง และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและบริหารองค์กรทั้งระดับหน่วยงานและระดับมหาวิทยาลัย ตลอดระยะเวลาการฝึกอบรม ได้เรียนรู้และเปิดมุมมองใหม่ๆ อย่างหลากหลาย เช่น


Network มีความสำคัญต่อการทำงาน มนุษย์ไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ การมีเครือข่ายจึงเป็นการสร้างโอกาสในการทำงานให้กว้างขึ้น ดังนั้นจึงควรสร้างเครือข่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเครือข่ายกับ stakeholders เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนองค์กร รวมทั้งกำหนดทิศทางขององค์กรในอนาคต เพื่อประโยชน์ขององค์กรและอนาคตของประเทศชาติ


คน คือทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร ดังนั้นผู้นำที่ดีต้องมีความสามารถในการบริหารทรัพยากรบุคคล การเป็นผู้นำสามารถฝึกฝนได้ ผู้นำที่ดีต้องมีความกล้าหาญ ไม่ประมาท บริหารจัดการองค์กรเป็น รู้ว่าจังหวะไหนควรรอ พอ หรือถอย และต้องรู้ว่าจะนำพาองค์กรไปในทิศทางใด ต้องสร้าง network ไปทุกแห่ง ใช้เทคโนโลยีเป็น และต้องกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจให้เป็น เช่น ผู้นำ เติ้ง เสี่ยว ผิง ที่เข้ามาบริหารประเทศในยุคที่การเมืองนิ่งแล้ว จึงเริ่มมีการพัฒนาเศรษฐกิจ สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่การจัดการทั่วไปค่อนข้างนิ่งแล้ว แต่ยังต้องการการพัฒนาในแง่ของการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด


การพูด หรือนำเสนอต่อหน้าสาธารณชนเป็นการเปิดโอกาสแห่งความสำเร็จให้มากขึ้น และเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้นำหรือผู้บริหารต้องทำ เพื่อนำพาองค์กรไปสู่ความก้าวหน้า โดยส่วนใหญ่ผู้นำเสนออาจขาดความมั่นใจ ทั้งนี้เนื่องจากมี VOJ, VOC และ VOF เป็นปราการด่านสำคัญ ทำให้ผู้นำเสนอไม่กล้า หรือกลัว วิธีแก้ที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อผู้นำเสนอคือ การ “Let it go” คือการปล่อยให้เป็นไป จะกลัวไปทำไม เมื่ออย่างไรก็ต้องทำ


ผู้นำที่ดีควรทำให้ทุกคนในองค์กร มี passion มี concept และทำงานอย่างมีความสุข ทั้ง happiness at work และ happiness work place ซึ่งมีส่วนช่วยให้ทุกคนในองค์กรบรรลุเป้าหมายในชีวิตได้ นอกจากนี้โอกาสในการทำงานไม่ได้มาบ่อยๆ ดังคำกล่าวที่ว่า Opportunity comes and never come again. So, please take that opportunity and do your best.


Innovation is about creating value นวัตกรรมส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในต่างประเทศ แต่มีการนำมาปรับให้ดีขึ้น/ถูกลง และส่วนนวัตกรรมที่คิดขึ้นเองนั้นมีค่อนข้างน้อย การพัฒนานวัตกรรมหรือการพัฒนาองค์กรเป็นองค์กรนวัตกรรมต้องพัฒนาในเชิงรุก โดยต้องลดแนวคิดแบบราชการ เช่น รอคำสั่งมาก่อน จะทำให้การทำงานล่าช้า และต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด


การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องทำอย่างมีเทคนิค เพื่อให้พนักงานมีความผูกพันธ์และรักองค์กร การบริหารพนักงานใหม่ต้องมี coach และ mentor ที่ดี มีองค์ความรู้ มีความมั่นใจ มีศาสตร์และศิลป์ในการพูดคุย เพื่อพัฒนาให้บุคคลนั้นกลายเป็น talent และ successor ที่จะสร้างคุณค่า และประโยชน์ และเป็นกำลังสำคัญให้กับองค์กรต่อไปในอนาคต

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันแรกของการอบรมโครงการผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของ ม.อ. รุ่นที่ 3 คือ การสร้างเครือข่าย การทำงานบริหาร ต้องมีเครือข่าย ทำงานเป็นทีม ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้าอบรมและวิทยากรในการวิเคราะห์คุณลักษณะและบทบาทของผู้นำ: ผู้นำต้องชอบเรียนรู้ คิดบวก มีคุณธรรม จริยธรรม มีวิสัยทัศน์ มองภาพองค์กรในอนาคตออก คิดนอกกรอบ และได้เรียนรู้การพูดในที่สาธารณะและการนำเสนอในรูปแบบ Zen

วันที่สองของการอบรม ได้เรียนรู้เรื่อง Passion and Engagement การสร้างความผูกพันในองค์กร ทำให้บุคลากรมีความสุขในการทำงาน ทุ่มเทให้กับองค์กร รักองค์กร โดยผู้นำต้องสื่อสาร และเห็นคุณค่าของทรัพยากรบุคคล ทำให้บุคลากรในองค์กรเห็นว่าตัวเค้ามีคุณค่าต่อองค์กร และในช่วงบ่ายเรียนวิชา การพัฒนา ม.อ. เป็นองค์กรนวัตกรรม คำว่า สิ่งที่เรียกว่า นวัตกรรม สิ่งนั้นต้องมีการแบ่งปัน (share) ให้นำไปใช้ แต่ถ้าสิ่งนั้นทำมาแล้วไม่ถูกนำไปใช้ถึงเป็นสิ่งใหม่ๆ  สิ่งนั้นก็ไม่เรียกว่านวัตกรรม นวัตกรรมอาจจะเป็น ผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการก็ได้  นวัตกรรมควรมีคุณค่าต่อสังคมหรือเศรษฐกิจ นวัตกรรมสนใจเป้าหมายไม่สนใจวิธีการ นวัตกรรมยิ่งทำต้องยิ่งง่าย

วันสุดท้ายของการอบรมช่วงที่ 1 พูดเกี่ยวกับการบริหารบุคคล ต้องมีแผนพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะและความสามารถให้เหมาะกับตำแหน่งงานที่ได้รับมอบหมาย มีระบบการประเมินตามผลสัมฤทธิ์ของงาน ถ้ามีระบบ HR ที่ดี จะทำให้ งานได้ผล คนเป็นสุข


สุดท้ายขอบคุณวิทยากรทุกท่านมากค่ะ


เยาวภา สุขพรมา



สวัสดีค่ะ ส่งงานเดี่ยวคนสุดท้ายรึเปล่าไม่แน่ใจ ^___^


ก่อนจะสรุปบทเรียนหรือการนำบทเรียนไปปรับใช้ อยากบอกว่ารู้สึกยินดีมากที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมในโครงการนี้ โดยเฉพาะรุ่นที่มีความพิเศษ รวมเอาผู้บริหาร และ Young PhD ไว้ด้วยกัน หลายท่านเคยรู้จักพูดคุยกันมาก่อน หลายท่านเพิ่งเจอเป็นครั้งแรก และอีกหลาย ๆ ท่าน ที่เคยเห็นผ่านตาไป แต่ไม่เคยได้พูดคุย ด้วยความไม่กล้า จากการเข้าอบรมช่วงที่ 1 ได้เรียนรู้หลาย ๆ เรื่อง ทุกวิชามีประโยชน์ วิทยากรมากฝีมือ และสามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งระดับบุคคล หรือองค์กร ได้ฟังทัศนคติมุมมองใหม่ ๆ จากคนหลากหลายระดับ ทั้งวิทยากร ผู้บริหาร และผู้เข้าร่วมอบรม มุมมองต่อสิ่งเดียวกันอาจแตกต่าง การทำงานเป็นทีมมีความสำคัญที่จะทำให้งานสำเร็จ และทุก ๆ คน ควรรู้หน้าที่ของตัวเอง ทุกๆ ส่วนมีความสำคัญ สิ่งแรกที่ได้เรียนรู้ในภาพรวม และสามารถนำไปปรับใช้กับตัวเองได้มากที่สุดคือ อย่าตัดสินคนแต่เพียงภายนอก อย่าอคติ เปิดใจ ต้องรู้จักวางแผน และบางครั้งเราก็ควรนำเสนอตัวเองให้คนอื่นได้รู้ว่าเราทำอะไร กล้าที่จะออกจาก  Comfort Zone ของตัวเอง ได้เห็นมุมมองการการจัดการห้องเรียนให้มีบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การปะทะทางปัญญา


ชอบลักษณะการสรุป และวิเคราะห์ประเด็นในแต่ละบทเรียน ของ อ.จิระ และ อ.พิชญ์ภูรี


ในแง่ของความรู้ที่ได้จากแต่ละบทเรียน และนำไปปรับใช้ในการทำงาน


วันแรก ในวิชาที่ 1 และ 2 ได้เข้าใจคำว่าภาวะผู้นำมากขึ้น และเข้าใจว่า ทรัพยากรมนุษย์ เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่จะต้องพัฒนาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาองค์กรให้มีความเป็นเลิศต่อไป สิ่งที่จะนำไปปรับใช้คือการปรับทัศนคติในการป็นผู้นำของตนเอง มองคนในองค์กร หาจุดเด่นเพื่อพัฒนา สนับสนุนและให้กำลังใจ ในวิชาที่ 3 ได้เรียนรู้เรือง Public Speaking ในอีกมุมมอง ซึ่งแตกต่างจากที่ทำอยู่ เคยคิดว่าสิ่งที่ทำอยู่ก็ดีแล้ว แต่กลับพบว่าสามารถทำให้ดีกว่าได้อีก  สามารถนำเอาเทคนิคต่าง ๆ ที่ได้จากวิทยากร ไม่ว่าจะเป็นสื่อการนำเสนอ และท่าทางภาษากายที่ยอดเยี่ยมที่จะทำให้ผู้ฟังอยู่กะสิ่งที่เราพูด ไปปรับใช้ในการเรียนการสอน และการนำเสนองานอื่น ๆ ในที่สาธารณะ ให้ดูดี ดูเป็นมืออาชีพได้อีก (แต่คงต้องพัฒนาอีกพักใหญ่)


วันที่สอง เสียดายมากที่ไม่ได้เข้าฟัง Passion & Engagement แต่วันนี้ก็ได้ประสบการณ์มากมาย ในวิชาที่ 5 โดยเฉพาะความชัดเจนในสิ่งที่หามานาน ในเรื่อง นวัตกรรม รู้สึกมีทางไปมากขึ้นในเรื่องนวัตกรรม ที่ไม่จำเป็นต้องเกิดชิ้นงาน  ^___^  บางครั้งนวัตกรรมเกิดขึ้นแล้วแต่ไม่รู้ว่าเป็นนวัฒกรรมเพราะผูกติดกับคำว่าชิ้นงาน มีกำลังใจมากขึ้นว่าน่าจะสามารถสร้างนวัฒกรรมได้


วันสุดท้าย เต็มที่กับความสำคัญของระบบ HR และเทคนิคการบริหารคนต่าง Gen ที่ดูเหมือนจะแตกต่างแต่ก็มีความลงตัวอยู่ ได้รู้จักตนเอง รู้จักการให้คุณค่ากับงานที่ทำและชีวิต ในวิชาที่ 6 และ 7 การปรับใช้ในประเด็นนี้ ส่วนตัวน่าจะอยู่ในวิชาที่ 7 เมื่อเราให้คุณค่า ให้น้ำหนักกับแต่ละสิ่งได้ ทำให้เราสามารถปล่อยวางบางสิ่งที่สำคัญน้อยกว่า ชีวิตก็จะสมดุลมากขึ้น


ขอบคุณเพื่อนร่วมรุ่นและเพื่อนร่วมกลุ่มที่สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่แฝงความสนุกไว้อย่างแนบเนียน

ขอบคุณวิทยากรทุกท่าน ที่ได้ให้แง่คิดมุมมองที่แตกต่าง 

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้จากการเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารของ ม.อ. รุ่นที่ 3 ช่วงที่ 1/7 (15-17 มิ.ย. 60)

จากการเข้าร่วมอบรมในโครงการนี้ ได้เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากท่านวิทยากรและเพื่อนอาจารย์ชาว ม.อ. มากมาย ทำให้ได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ของคนเก่งจากที่ต่างๆ และมีสิ่งที่ประทับใจที่ได้จากบทเรียนต่างๆ ดังนี้

วิชาที่ 1 : ทำให้เห็นความตั้งใจของผู้บริหารของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมให้ผู้บริหารและอาจารย์รุ่นใหม่มีทัศนคติและทักษะที่ดีในการก้าวเป็นผู้นำที่มีคุณภาพ การเรียนรู้จาก Role model เป็นสิ่งที่หนึ่งที่ทำให้เราเรียนรู้การทำงานให้ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ การเป็นคนรู้จักปรับตัว เปิดใจให้กว้าง การทำงานเป็นทีม และการปะทะทางปัญญา ทำให้เราเป็นคนที่เก่งและมีการสะสมประสบการณ์ที่มากขึ้น คำพูดที่ประทับใจจากวิชานี้ คือ “Learn how to learn และ Life long learning”

วิชาที่ 2: ได้เรียนรู้คุณสมบัติที่สำคัญของบุคคลที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงของโลก และของประเทศไทย ทำให้สามารถนำจุดนี้ไปปรับใช้กับตัวเองเพื่อพัฒนาให้ตัวเองไปยังความสำเร็จที่ตั้งใจไว้ แต่สิ่งสำคัญที่ได้อีกอย่างนึงของบทเรียนนี้ คือ การจะประสบความสำเร็จในชีวิต หรือการจะเป็นผู้นำที่ดี ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ทุกคนมีความแตกต่างกัน เราควรดึงเอาจุดแข็งของตัวเองออกมาและปรับใช้ให้เหมาะสม

วิชาที่ 3: เรียนทักษะการพูดที่ดี เพื่อให้สามารถดึงดูดใจ น่าประทับใจแก่คนฟัง การพูดเป็นทักษะที่สำคัญมากในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยเฉพาะการเป็นผู้นำ ที่จะต้องรู้จักการพูดเพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนอื่นคล้อยตาม หรือเชื่อมั่นในองค์กร เทคนิคง่ายๆ คือ การเปิดใจ สร้างความสนิท การยิ้ม และการชื่นชม ซึ่งทุกอย่างต้องทำให้เห็นถึงความจริงใจ

วิชาที่ 4:  ทำให้รู้ว่า การจะทำอะไรให้ประสบความสำเร็จและมีความสุข ต้องเริ่มมาจาก Passion คือ ทำให้สิ่งที่รัก และรักในสิ่งที่ทำ องค์กรจะเดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ถ้าเราสามารถทำให้คนเกิด Passion และ Engagement

วิชาที่ 5: รู้ความหมายและความสำคัญของนวัตกรรม การสร้างคุณค่าจากงานวิจัยต้องคำนึงถึงการต่อยอดไปสู่ผลงานนวัตกรรม ซึ่งจะสร้างมูลค่าทั้งทางการบริการชุมชมและทางเศรษฐกิจ

วิชาที่ 6: เรียนรู้เกี่ยวกับ Human Resource Development และ Human Resource Management ซึ่งสำคัญมากต่อการพัฒนาองค์กร การเลือกคนให้ตรงกับลักษณะงาน การมี Mentor สอนงาน และให้เข้าใจเกี่ยวกับระบบการทำงาน และมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร

วิชาที่ 7: ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการพัฒนาตนเอง (1) การตั้งเป้าหมายให้ตัวเอง เช่น ตั้งเป้าว่าหลังทำงานไป 100 วันจะมีผลงานอะไรให้หัวหน้าเห็น (2) Learn from mistakes การเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด (3) เราควรมีทักษะให้ครบ 3 อย่าง คือ Study skill, Teaching skill และ Research skill (4) การมีสติ (mindfulness) รู้พร้อม มีสมาธิ จะทำให้เราตั้งรับกับสิ่งต่างๆได้ดี สามารถอดทนต่อสิ่งต่างๆที่ทำให้เราเป็นทุกข์ หรือเกิดปัญหา 


ขอบคุณทุกท่านสำหรับความรู้และประสบการณ์ที่ดีค่ะ

นิตยา อัมรัตน์

ม.อ. วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

(คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม)


วราภรณ์ ตันรัตนกุล

สวัสดีค่ะอาจารย์และเพื่อนๆทุกท่าน


         ดีใจที่ได้มาเข้าอบรมรุ่น 3 ได้พบกับน้องๆ คนรุ่นใหม่ และกลุ่มนักวิจัย ทำให้มีโอกาสรับรู้ความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่และผู้ที่ไม่ใช่ผู้บริหาร เปิดมุมมองอีกด้านหนึ่ง ... โชคดีจริงๆ ค่ะ

         ทุกวิชาที่เรียนมีประโยชน์มากค่ะ เพราะไม่เคยได้เรียนและหลายอย่างไม่เคยคิดมาก่อน อาจารย์ทุกท่านก็มีประสบการณ์สูงในด้านที่เชี่ยวชาญ .... เคยคิดว่าตัวเองพูดเก่ง พูดดี แต่พอถึงเวลาที่อาจารย์รณกฤต ให้ออกไปพูด .... เออ นะ พูดไม่เป็นภาษาเลย (ขำตัวเองค่ะ) .... อาจารย์ Bruce ช่วยทำให้ใช้สมองอีกซีกเยอะขึ้น เห็นความสำคัญของ “Passion” ซึ่งก็เป็นอารมณ์ความรู้สึกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ดังนั้น หน้าที่ของเราคือ ประคองไว้ไม่ให้ดับไป .... อาจารย์พยัต ให้ความรู้ใหม่เรื่องนวัตกรรม ควรมาจากเบื้องบน ถึงว่าสิ เคยสั่งให้ลูกน้องคิดงานนวัตกรรม กลายเป็นการพัฒนางานประจำไป เพิ่งจะมาเข้าใจกระจ่างชัดในชั่วโมงนี้เอง .... อาจารย์ทายาทและอาจารย์ศิริลักษณ์ มาเปิดกะลาเรื่อง HR สิ่งที่เรียนมาต้องเอามาใช้กับตัวเองก่อน พัฒนาตนเองก่อน .... งานกลุ่มสนุกดีค่ะ น่าประหลาดใจนะคะ ที่แต่ละกลุ่มจะมีเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม น่าจะเป็นฝีมือของผู้จัดกลุ่ม รึว่า เป็น “วาสนา” ของสมาชิกในกลุ่ม ที่จะต้องมาทำงานร่วมกัน (คริคริ) .... สุดท้ายในวันนี้ ต้องขอบคุณผู้จัดการ ที่ให้กลุ่ม 3 ได้อ่านเรื่อง Manage your energy, not your time สุดยอดมากค่ะ อ่านจบแล้วนำไปใช้ทันทีค่ะ    

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 (ช่วงที่ 1 วันที่ 15-17 มิถุนายน 2560) .

-         ผู้นำของมหาวิทยาลัยจะต้องเรียนรู้การเปลี่ยนแปลง การสร้างความไว้ใจให้กับลูกน้อง รู้จักการทำงานเป็นทีม และมุ่งหวังความสำเร็จ

-         ผู้นำต้องรู้จักหาจุดแข็ง แล้วดึงจุดแข็งออกมา และนำมาปรับใช้กับองค์กร เพื่อให้องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงและมุ่งไปยังความสำเร็จที่ตั้งไว้

-         การพูดที่ดี จะต้องดึงดูดความสนใจ และสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟัง ผู้นำจะต้องรู้จักวิธีการพูดเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้อื่นเชื่อใจในการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

-         ผู้นำจะต้องรู้จักการสร้างนวัตกรรมและการต่อยอด เพื่อสร้างคุณค่าให้กับงานวิจัยและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนและสังคม

-         ในการพัฒนาคน จะต้องเรียนรู้การพัฒนา Human Resource Development ที่นำไปสู่การคัดเลือกคนให้เหมาะสมกับงาน โดยการสร้าง Mentor และ Coach คอยสอนและแนะนำการทำงาน .


( ปล. ขอโทษค่ะ ส่งช้า)


สรุปประเด็นจากการเรียนรู้ในช่วงวันที่ 29 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2560

-         ในการทำงานในมหาวิทยาลัย บุคคลากรทุกคนในจะต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมในการเป็นมหาลัยในกำกับ ทั้งในเรื่องของการสร้างจุดเด่น / อัตลักษณ์ ของมหาลัยให้ดีกว่าปัจจุบันและเป็นที่รู้จักในอนาคต

-         มหาวิทยาลัยต้องสร้างนวัตกรรมเพื่อมาพัฒนาองค์ เพื่อให้มหาลัยตอบโจทย์การเป็น ไทยแลนด์ 4.0 และเพื่อมหาลัยสงขลานครินทร์จะได้เป็น มหาวิทยาลัย 4.0 และสร้างคุณค่าให้กับมหาวิยาลัย

-         ถอดบทเรียนจากหนังสือ เล่ที่ 1 การจัดการตนเอง (On Management Yourself) จะทำให้เราสามารถวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดแข็ง จุดอ่อน ของตนเอง รู้จักการนำ Energy ภายในตัวเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และสามารถรู้จักการปรับปรุงและการพัฒนาตนเอง และเรียนรู้ผู้อื่น เพื่อนำไปสู่การหารูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานร่วมกัน

-         ในการจัดการ HPO จะต้องก้าวข้ามความเสี่ยงให้ได้ และจะต้องมี vision มีการสื่อสารกันในองค์กร การวางแผนเพื่อทำงาน ทุกคนที่ทำงานจะต้องมี skill ในการทำงานที่ตนเองถนัด มีการให้รางวัล ยกย่องคนที่ทำได้ดี และในการทำงานนั้น องค์กรจะต้องมีทรัพยากรและสิ่งสนับสนุนต่าง ๆ support ในการทำงาน เพื่อให้การทำงานของคนในองค์กรสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัว

-         คนที่เป็นผู้นำ ต้องรู้จักคุย และเข้าใจลูกน้อง ต้องทำให้ลูกน้องเชื่อใจ และสามารถที่จะทำให้ลูกน้องรู้สึกอยากคุยด้วย และสามารถเรียกหรือดึงความรู้สึกภายในของลูกน้องออกมาให้ได้    

... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/629722

สะท้อนความรู้จากการเข้ารับการอบรมโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 (ช่วงที่ 2 วันที่ 29-30 มิถุนายน และ 1 กรกฎาคม 2560)

 

Learning Forum หัวข้อ วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

วิทยากรได้กล่าวคำพูดจาก World Economic Forum ว่า วิธีการเรียนการสอนต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด เพราะในอนาคตเด็กสามารถที่จะเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นส่วนตัวของผมเองที่มองว่าการเรียนการสอนในปัจจุบันมีการใช้ MOOC ผสมผสานกับการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบ Flip Classroom โดย MOOC ที่ดังๆ ในปัจจุบัน เช่น EdX, Coursera แม้แต่ประเทศไทยเอง ได้แก่ ThaiMooc ดังนั้น มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในการแข่งขัน และการอยู่รอดเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ตอบโจทย์ของสังคม มหาวิทยาลัยควรจะปรับปรุงหลักสูตรที่ตอบสนองกับสังคม

               มหาวิทยาลัยควรปรับวิจัยต้องเปลี่ยนเป็น Applied Research การบูรณาการข้ามศาสตร์ และมีกระบวนการหรือมาตรการในการดึงคนเก่งเข้ามาทำงาน ให้อิสระในการทำงานโดยไม่อิงกับกรอบการทำงานแบบเดิมๆ ซึ่งไม่เอื้อต่อการทำงานของคณาจารย์

 

Learning Forum หัวข้อ Effective Management for High Performance Organization

ดร.บวรนันท์ ทองกัลยา

               Marshall Goldsmith กล่าวว่า “What got you here won’t get your there.”

               แจ๊ค หม่า ได้กล่าวถึงการพัฒนาขององค์กรไว้ว่า ความสำเร็จของธุรกิจขนาดเล็กอยู่ที่ความฉลาดของเถ้าแก่ แต่ธุรกิจขนาดกลางความสำเร็จอยู่ที่ระบบการจัดการ ธุรกิจขนาดใหญ่ความสำเร็จอยู่ที่การบริหารคน

               สำหรับ “ภาวะผู้นำของมิตรผล คือ BEST” ย่อมาจาก 

1. Building Strategic Alliance

2. Enhancing Organizational Talents

3. Sharpening Organizational strategy

4. Transform Knowledge Innovation

หนังสือ Good to Great และ Built to Last ได้กล่าวถึงคุณลักษณะ 7 ข้อทำให้ก้าวไปสู่องค์กรยอดเยี่ยม ไว้ว่า

1. ผู้นำเข้มแข็ง

2. เลือกคนเหมาะกับงาน

3. กล้าเผชิญหน้ากับความจริงที่โหดร้าย

4. แนวคิดแบบเม่นคือ ไม่กลัวอะไร สามารถเอาตัวรอดได้ เป็นบริษัทเล็ก เก่งไว บริษัทใหญ่ agility

5. วัฒนธรรมการมีวินัยองค์กรที่ประสบความสำเร็จ

6. ความสุดยอดคือผลลัพธ์

7. มีแบรนด์ที่ดี

               ดังนั้น ม.อ. ควรมีมาตรการในการพัฒนาคนและควรมีระบบในการพัฒนาคนที่ชัดเจน มี Outcome ที่ชัดเจนว่าจะพัฒนาบุคลากรของ ม.อ. ให้มุ่งไปในทางใดบ้าง

 

Learning Forum & Workshop  หัวข้อ The Inner Voice of Leader

โดย อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

               มุ่งเน้นในการสร้างความมีภาวะผู้นำฯ โดยเติมเต็มและตอบสนองด้านต่างๆ ดังนี้

1. ความเป็นตัวตนของเรา (Being)

2. ความเชื่อ (Beliefs)

3. ค่านิยม (Values)

4. ความต้องการหลักของมนุษย์ (Needs)

5. ก้าวข้ามความกลัวของตนเอง  (Fears)


โอภาส เกาไศยาภรณ์ กลุ่มที่ 2 

พรพรรณ ศรีพรสวรรค์


สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ช่วงที่ 1/7 โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่ 3

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณผู้บริหารและคณะทำงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาบุคคลากรและได้ให้โอกาสดิฉันมาร่วมการอบรมในโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่ 3

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมทั้ง 3 วันในช่วงที่ 1

ได้พาตัวเองออกจาก comfort zone การตัดสินใจเข้าอบรมในครั้งนี้หลายๆท่านถูกมอบหมายมาบางท่านสมัครใจมาเองสำหรับตัวเองเป็นในกรณีหลังและดีใจที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมการอบรมนี้ในวันแรกได้มีโอกาสพบผู้บริหารมหาวิทยาลัยและได้มีโอกาสเรียนรู้ทฤษฎีและหลักการเป็นผู้นำที่ดีที่ท่านอ.จีระได้กรุณาสรุปและนำข้อคิดต่างๆมาสอนรู้สึกคุ้มค่าคุ้มเวลาเพราะเพียงไม่กี่ชม.ที่ได้เรียนจากท่านอาจารย์จีระและอ.พิชญ์ภูรีก็เหมือนได้เรียนรู้ข้อคิดการเป็นผู้นำจากประสบการณ์ของอาจารย์และผู้นำที่สำคัญต่างๆในโลกเหมือนได้อ่านหนังสือหลายร้อยเล่มในเวลาวันเดียว

วันที่2   ได้เรียนรู้เรื่องpassion & engagement และเรื่องของhappiness at work กับ happy workplace ทำให้ได้รู้จักเข้าใจตนเองมากขึ้นว่าเหตุผลที่เรายังทำงานอยู่ในองค์กรนี้เป็นเพราะอะไรและได้เรียนรู้ว่า passion เป็นองค์ประกอบสำคัญในการจะสร้างงานดีๆขึ้นมาสักชิ้นนำไปปรับใช้กับการทำงาน เรียนรู้ในการจุดไฟในตัวเราขึ้นมาใหม่

วันที่3 ได้เรียนรู้เรื่องการบริหารบุคคลและ HR management โดยใช้Talent matrix  และvaluechain of higher education ซึ่งไม่เคยได้เรียนรู้เรื่องเหล่านี้มาก่อนการบริหารงานขององค์กรที่ดีต้องมีฝ่ายพัฒนาบุคคลากรที่เข้มแข็งเนื่องจากบุคคลากรถือเป็นฟันเฟืองหลักในการผลักดันให้องค์กรก้าวไปข้างหน้า

สิ่งที่สนับสนุนการเรียนรู้มาก คือ รูปแบบการเรียนการสอนที่อ.จีระเรียกว่า"การประทะทางปัญญา" ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่น่าสนใจและทำให้เกิดการต่อยอดของความรู้มากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท