บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต ม.รามคำแหง ประเด็นพิเศษด้านการบริหารจัดการ การพัฒนา – บริหารทุนมนุษย์ และภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน


สวัสดีครับชาว Blog,


วันนี้ผมได้รับเกียรติจากโครงการบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้เชิญผมมาเป็นวิทยากร บรรยายวิชา ประเด็นพิเศษด้านการบริหารจัดการ การพัฒนา – บริหารทุนมนุษย์ และภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน ให้กับนักศึกษาปริญญาเอก โครงการบริหารดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง รุ่นที่ 8 ณ ห้อง D.B.A. ชั้น 5 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง


ผมจึงขอเปิด Blog นี้ เป็นชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับนักศึกษา และผู้ที่สนใจแลกเปลี่ยนร่วมกันครับ


จีระ หงส์ลดารมภ์


สรุปการบรรยาย

วิชา ประเด็นพิเศษด้านการบริหารจัดการ การพัฒนา – บริหารทุนมนุษย์ และภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน 

วันที่ 1 กรกฎาคม 2560

(สรุปบรรยายโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

 

การเรียนรู้

- การเรียนหนังสือเพื่อเป็นเครื่องมือในการทำงาน

- เรียนรู้ที่จะปลูก เก็บเกี่ยว และเอาชนะอุปสรรค

- ให้ศึกษาและวางแผนหัวข้อที่จะทำวิทยานิพนธ์ให้ดี

สิ่งที่จะเรียนในวันนี้คือ

จะเป็นเรื่องการพัฒนาภาวะผู้นำ และกรณีศึกษา ให้นำไปปรับ Mindset เน้นการปะทะกันทางปัญญา และหาความรู้ร่วมกัน

- ศึกษาแนวคิดของอาจารย์

- กรณีศึกษาของการไฟฟ้า และสิ่งที่ทำเพื่อสังคม

วิธีการคือ

         ให้ทุกคนเน้นการเรียนรู้เรื่องการปรับตัว

         พูดเรื่องทุนมนุษย์กับกรณีศึกษา แล้วถ้าจะเขียนวิทยานิพนธ์จะเขียนเรื่องอะไร

ให้แต่ละคนแนะนำตัวเอง สิ่งที่คาดหวัง และจะเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องอะไร

R – Reality คือความจริง เทคโนโลยี พูดเรื่องข้อเท็จจริงของเรา ทั้งตนเอง และองค์กรที่ทำอยู่

R – Relevance คือตรงประเด็น อย่างดาวกระจาย

 

แนะนำตัว

1. นายโกว๋ฉาย โจว  ทำงานที่ Alibaba

         สิ่งที่ได้รับคือการมองความจริง (ดร.จีระเสริมเรื่องกระตุ้นให้คิด ไม่ได้ลอก)

         สิ่งที่คาดหวัง อยากเป็นเจ้านายของตนเอง Entrepreneur ผู้ประกอบการต้องสามารถรู้เรื่องในองค์รวมทั้งหมด ตรงไหนที่จำเป็นต้องสามารถทำได้ และทำได้หลายอย่าง

         ดร.จีระ เสริมว่า ผู้ประกอบการในทางเศรษฐศาสตร์

1. ควร Shift 2 ตัวคือ Shift Cost and Shift Demand 

         2. Blue Ocean คือคนที่สร้าง Demand ใหม่

         3. ผู้ประกอบการคือคนที่เสี่ยงแต่รอด

         วิทยานิพนธ์ จะเขียนเรื่องทำอย่างไรให้คนมี Emotional

         ดร.จีระ เสริมว่า ทุนที่สำคัญที่สุดของมนุษย์คือการควบคุมอารมณ์ ทำไมเราแตกต่างจากคนอื่น มองเรื่องการทำงาน

         อย่าทำให้คนไทยโกรธด้วยอารมณ์

 

2. นายอัฑฒ์คุณัชญ์ ชูประดิษฐ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ ให้เกียรติ เกรงใจ เก็บอาการ

ดร.จีระ เสริมว่า สิ่งเหล่านี้เป็น Intangible เป็นคุณสมบัติที่อยู่ข้างใน ปกติจะใช้คำว่า Respect & Dignity

สิ่งที่คาดหวัง คือ ปกติเดินเรืออยู่ในทะเล ต้องเข้ายาม นำเรือจากประเทศหนึ่งไปประเทศหนึ่ง เลยอยากมาเรียน

         เรื่องทุนมนุษย์ อยากทราบประสบการณ์ของอาจารย์ในพัฒนาลูกน้อง หรือคนให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น

         ดร.จีระ เสริมว่า คนมีความแตกต่าง ให้มองที่จุดแข็งของเขา อย่ามองที่จุดอ่อน

วิทยานิพนธ์ จะเน้นการพัฒนาอาจารย์เพื่อนำมาพัฒนาวิทยาลัย

         ดร.จีระ เสริมว่า วิทยานิพนธ์ต้องแคบ ๆ แล้วมี Hypothesis คือตั้งโจทย์ ซึ่งโจทย์อาจ Base on ทฤษฎี เช่น ทฤษฎีราคา ต้องเป็น Testable Hypothesis

 

3. นายเฉลิมชัย แสงสุข

         อาจารย์สอนอาชีวะ และเป็น Freelance ที่ Sale Motgate ทำที่ SCB

         ดร.จีระ เสริมว่า วิทยานิพนธ์ที่น่าสนใจคือ Work life Balance

 

         ในใจคิดเรื่องอัตราดอกเบี้ยรายย่อยชั้นดีกับการทำธุรกิจแนวราบ สงสัยเรื่องปัจจัยในการย้ายงานว่าทำไมถึงย้ายงานแต่อยู่ในธุรกิจแนวราบที่เดิม

         ดร.จีระเสริมว่า สุภาษิตจีนกล่าวว่า ปลูกแตงกว่า 3 เดือน ปลูกมะม่วง 3 ปี ปลูกมนุษย์ใช้เวลาชั่วชีวิต คนส่วนใหญ่ไม่อดทนเรื่องคน

         การจัดการกับคนในทาง Business ถึงต้องใช้คนที่ฉลาดมาก

 

4. นางพินพัสนีย์ โพธิน

         ทุนมนุษย์ช่วยรู้เรื่องพฤติกรรมของทุนมนุษย์ว่ามีพฤติกรรมอย่างไร แล้วไปสามารถอธิบายทางการตลาดได้

         สิ่งที่คาดหวัง คือนำวิธีการไปใช้พัฒนาบุคลากร หรือพัฒนาและบริหารให้เกิดศักยภาพ

ดร.จีระ เสริมว่า

ปลูกและเก็บเกี่ยว Motivation , Inspiration , Empowering ถ้ามีลูกน้องต้องพยายามให้ลูกน้องคิดเองก่อน ให้คิดก่อน

         ต้องรู้ประวัติการทำงานของแต่ละคนเป็นอย่างไร สิ่งที่ให้พูดคือจะได้รู้ว่าแต่ละคนเป็นใคร Business Economic คือต้องมี Supply and Demand

         วิทยานิพนธ์ ได้เข้าไปฟังเรื่องระเบียงเศรษฐกิจเห็นว่าเป็นจุดอ่อนด้านทรัพยากรมนุษย์ จึงอยากทำเรื่องสมรรถนะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

 

5. นายเอกลักษณ์ ชูพันธ์

         ทำงานที่ธนาคารทหารไทย

          ดร.จีระ เสริมว่า เรื่องคนเป็นเรื่องความจงรักภักดีองค์กร ความมี Passion ในการทำงาน และการมี Networking

         วิทยานิพนธ์ เรื่องภาวะผู้นำในโลกยุคเปลี่ยนแปลง

         สิ่งที่คาดหวัง ต้องการขึ้น Top Manager ดูว่าขาดอะไรที่ยังขึ้นไม่ได้ จึงมาเรียนเพิ่มเพื่อเติม

 

6. นายพสิษฐ ฐิติธนารัศมิ์

         ทำงานอยู่ที่นีเวีย

         มองว่าทุกบริษัทแข่งขันเรื่อง Marketing จะเป็นผู้นำ Market Share ต้องชนะ ณ จุดขายคือทำให้คนซื้อสินค้านั้นได้

         สิ่งที่คาดหวังคือ อยากนำความรู้เรื่องทุนมนุษย์ ซึ่งมีหลายอย่าง สิ่งที่สอดคล้องคือภาวะผู้นำ ส่งผลต่อการประกอบการในอนาคต

         ดร.จีระ เสริมว่า มี ในโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลง 2 อย่าง คือ Transformation (เปลี่ยนแปลงหมดเลย) กับ Transactional (ทำให้ดีขึ้น)

 

7. นายจินณวัฒน์ อัศวเรืองชัย

         ทำธุรกิจสีของครอบครัว

         สิ่งที่คาดหวังคือ ชอบฟังอาจารย์ที่มีประสบการณ์มากจึงอยากเก็บเกี่ยวด้านต่าง ๆ สามารถหยิบยกแนวคิดมาช่วยได้

         สิ่งที่สังเกตเห็นคือ ดร.จีระ มีลักษณะเป็น ดร. จริง ๆ คือมีวิธีคิด ศึกษามาก และมีปรัชญาของตนเอง

         ดร.จีระ เสริมว่า Peter Drucker คือสอนหนังสือไปแล้วได้เรียนไปด้วย ถามคำถามที่ยากแล้วไม่มีคำตอบ เหมือนผู้ใหญ่ที่ดีต้องมี Wisdom

         เรื่องวิทยานิพนธ์ต้องหาคนที่เข้าใจเป็น

 

8. นายดำรงค์ โคตะพันธ์

         ทำงานบริษัทที่ผลิตล้อแมกซ์ เอนไกไทย

         วิทยานิพนธ์ ตั้งใจทำเรื่อง Human Capital Management

         ดร.จีระ เสริมว่า แต่ก่อนมองเรื่องทุนมนุษย์เป็นเรื่องปริมาณ เรียนเยอะ มีเงินเยอะ แต่แนวคิดนี้เปลี่ยนไปแล้ว

 

9. นายปัณณทัต จอมจักร

         เป็นอาจารย์ ที่สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

         สิ่งที่คาดหวัง ตอนแรกไม่ได้คาดหวังอะไรเลย

         วิทยานิพนธ์ สนใจเรื่องการเปลี่ยนถ่ายทุนมนุษย์ที่สร้างสรรค์ เพื่อเปลี่ยนสายการบินที่ยั่งยืน

 

10. นายอนุชา บุญเกษม

         ทำงานที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง

         สิ่งที่คาดหวัง คือได้รับทุนมาเรียน 

วิทยานิพนธ์ คือ ต้องสร้างรูปแบบนักบัญชีภาครัฐให้ได้ โดยมีองค์ประกอบอะไร ต้องมาศึกษาให้ได้ภายใน 3 ปี แล้วเสนอเป็นดุษฎีนิพนธ์ เพื่อนำไปใช้ในภาครัฐในอนาคต

         ดร.จีระ เสริมว่า นักบัญชี ต้องมีทุนทางจริยธรรม คือ Honesty และ Flexibility เป็นนักบัญชีอย่างเดียวไม่พอ ต้องมี Finance คือมอง Finance ให้คุ้มค่า

 

11. นางอมรรัตน์ พรประเสริฐ

         ตั้งใจเรียนเพื่ออยากฟังประสบการณ์ทุกคน กระตุ้นให้ตัวเอง

         วิทยานิพนธ์ สร้างความหลากหลายในการทำงาน

         ดร.จีระ เสริมว่าน่าสนใจ คือ เรื่อง Gen

 

12. นายจงรัก ปริวัตรนานนท์

         วิศวกรเน้นเชิงเทคนิคส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจเรื่องการบริหารจัดการ เกิดธุรกิจวิศวกรรม ซึ่งมีสาขาน้อยในประเทศไทย มีที่ ม.ธรรมศาสตร์ และ ม.ศิลปากร

         ในวิทยานิพนธ์ ไม่มีส่วนของ Human เท่าที่ควร แต่อยู่ในสายของ Software สิ่งที่ Focus คือ Software ที่คนไทยผลิต ทำอย่างไรให้องค์กรอยู่ได้อย่างยั่งยืน ที่จะสู้ได้ อาจเป็นเพราะราชการสนับสนุน Entrepreneur ที่เป็นคนไทย

         เรื่องทรัพยากรมนุษย์ สนใจเรื่องการพัฒนาทุนทางจริยธรรม

         ดร.จีระ เสริมว่าถ้ำไม่มีทุนทางจริยธรรม จะไม่ตรงความจริง

 

13. นายชลนันท์ พันธ์พานิช

         ทำงานที่ ธนาคารทหารไทย เรียนจบแล้วทำสายธนาคารมาตลอด

         เรียนปริญญาเอกเพื่ออะไร คำตอบคือเพื่อตัวเอง เจอคำถามว่าจบแล้วเกษียณแล้วจะไปทำอะไร สิ่งที่อยากทำคืออยาก Rotate เพื่อรู้ทั้งหมดขององค์กร คือหลังจากเกษียณ อยากเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทั้งหมด เพื่อไปพัฒนาตัวเองเป็นผู้ประกอบการ สิ่งที่อยากรู้คือ คนไม่รู้ปัญหาอะไร

         ดร.จีระ เสริมว่า คน ปัญญาแตกต่างกับปริญญา เรียนรู้เมื่อประสบความสำเร็จแล้วมาแบ่งปัน

14. นางสาวเอมิกา เหมมินทร์

          ทำธุรกิจครอบครัว

         อยากเรียนปริญญาเอก เนื่องจากคู่แข่งมีมาก เราต้องอยู่รอดให้ได้ท่ามกลางคู่แข่งมาก ๆ การเรียนปริญญาเอก ทำให้มีแนวคิดปรัชญา เป็นระบบ นำความรู้ไปประกอบธุรกิจ มีแนวคิดหรือภาวะผู้นำที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

         วิทยานิพนธ์ คนเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ธุรกิจแตกต่างจากคนอื่น เป็นตัวแทนขององค์กร ต้องสร้างความประทับใจ

 

15. นางสาวปิ่นฤดี หนูบุตร

         มาเรียนเพราะโดยอาชีพต้องเรียน

         วิทยานิพนธ์ สนใจเรื่องนวัตกรรม จะสร้างนวัตกรรมอย่างไร แต่ยังไม่ลงตัวที่เป็นโปรดักส์หรือกระบวนการ

 

16. นางสาวสุวาณีย์ ขำเกื้อ

         บริษัทที่ปรึกษา

วิทยานิพนธ์ สนใจเรื่องการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร เนื่องจากเป็นธุรกิจสาขาจะทำอย่างไรให้รู้ถึงการทำงานด้วย

 

17. นายถนอม ดีสร้อย

         เขียนหนังสือ Best Seller และเป็นอาจารย์สอนคณะบริหารธุรกิจ และพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

         ความล้มเหลวเป็นตัวชูจุดขายด้วย

         สิ่งที่คาดหวัง ได้เยอะมาก

         ดร.จีระ เสริมว่า การเรียนในวันนี้เน้นการให้ประเด็นไม่มาก แล้วไปถกเถียงกัน การเรียน ไม่มีอะไรที่ 1+1 = 2

         ข้อแรกต้องผ่าน Crisis มาก่อน ทฤษฎี 3 L คือ Learn from Pain , Learn from Experience , Learn from listening

 

18. นางสาวทิพชญา พึ่งชาญชัยกุล

         เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีมุมมองที่ประสบการณ์ที่ทำมาถ่ายทอดให้นักศึกษา เรียนปริญญาเอกเนื่องจากคาดหวังว่าจะเสนอได้ดีมากขึ้น


Workshop 1 (ใช้เวลา 30 นาที)

1.     แนวคิดของ Becker กับ Chira 8K’s+5K’s เรื่องทุนมนุษย์แตกต่างกันอย่างไร? และมีอะไรที่เหมือนกัน?

2.     ทำไม 8K’s น่าจะใช้ว่า 1 K ใหญ่ และ 7 K เล็ก เพราะอะไร? จุดแข็งและจุดอ่อนของ 8K’s คืออะไร? และเชื่อมโยงกับประชารัฐอย่างไร?

3.     5 K’s มีจุดอ่อนและจุดแข็งอย่างไร และ 5K’s เกี่ยวกับ 8K’s อย่างไร และเชื่อมโยงกับประชารัฐอย่างไร?    

 

Workshop 2

1.     กรณีศึกษาของ EGAT กับ “ท่องเที่ยวชุมชน” เน้นตัวละคร 4 กลุ่ม เกี่ยวอะไรกับเศรษฐกิจ 4.0?

2.     จะนำโครงการท่องเที่ยวชุมชนมาเป็นแนวทางการทำงานของประชารัฐอย่างไร?

3.     กรณีศึกษาของ EGAT 13 ปี มีบทเรียนที่ดีอย่างไร และบทเรียนทางด้านล้มเหลว คือ อะไร? จะนำมาปรับใช้กับภาคเอกชนได้หรือไม่? อธิบาย

 

การบริหารจัดการ การพัฒนา – บริหารทุนมนุษย์ และภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน

Quotations

 

“The world is changing very fast and unpredictable”

                                              Michael Hammer

 

“Comparative advantage of countries or economies depend on the quality of human resources.”

Michael Porter

 

“Low labor productivity prevents Thailand’s strong competitiveness”

Michael Porter

 

“คน คือ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร”

พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

 

“ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน ไม่ใช่เงิน สิ่งของหรือเครื่องจักร 

แต่เป็นคน เช่น สิงคโปร์ หรืออิสราเอล”

จีระ หงส์ลดารมภ์

 

“People have unlimited Potential”

Antony Robbins

 

His philosophy of work is “curiosity and thirst for learning.”

Satya Nadella

 

 “Cultivation is necessary but harvesting is more important”        

 

ปลูกพืชล้มลุก.. 3-4 เดือน

 ปลูกพืชยืนต้น.. 3-4 ปี

 พัฒนาคน.. ทั้งชีวิต                                                                          

                         สุภาษิตจีน

 

“If we don’t change, we perish”

           Peter Drucker

 

“Change before you are forced to change”

Jack Welch

 

Learning how to learn : Chira’s Way

4L’s

 2R’s

 2I’s

 3V’s

 3L’s

 C & E

 C – U – V

 8K’s+5K’s

 3 Circles

 HRDS

 Learn – Share – Care

4L’s

1.     Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

2.     Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

3.     Learning Opportunities สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้

4.     Learning Communities สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

2R’s

         Reality - มองความจริง      

         Relevance - ตรงประเด็น  

2 I’s

Inspiration – จุดประกาย

 Imagination – สร้างแรงบันดาลใจ

ทฤษฎี 3 V

1.     Value Added สร้างมูลค่าเพิ่ม

2.     Value Creation สร้างคุณค่าใหม่

3.     Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

3 L’s

1.     Learning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด

2.     Learning from experiences เรียนรู้จากประสบการณ์

3.     Learning from listening เรียนรู้จากการรับฟัง

C&E Theory

1.     Connecting

2.     Engaging

C-U-V

1.     Copy

2.     Understanding

3.     Value Creation/Value added

 

 

 

ทุนคืออะไร?

ทุนก็คือสิ่งที่ต้องเสียแล้วถึงได้ คือจะไม่ได้มาง่าย ๆ หรือที่เราเรียกว่า Investment คือ ต้องลงทุนก่อน และหวังว่าผลตอบแทนจะคุ้มกับที่ลงทุนไป

ในโลกปัจจุบันมีทุนทางเศรษฐกิจและธุรกิจหลาย ๆ ตัว เช่น

-         ทุนที่มาจากธรรมชาติ – ที่ดิน

-         ทุนที่มาจากการเงิน

-         ทุนที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งอาจจะหมายถึงเทคโนโลยีหรือเครื่องจักร

-         และสุดท้ายก็คือ ทุนมนุษย์ ก็คือ คุณภาพของคนนั่นเอง

เพียงแต่คนนั้นจะแตกต่างจากทุนในด้านอื่น เพราะ

1.     คิดได้ มีอารมณ์อยากทำหรือไม่อยากทำก็ได้ และต้องศึกษามนุษย์มากกว่าวัตถุ

2.     ทุนมนุษย์มีความสัมพันธ์กับทุนอื่น ๆ มาก เพราะจะเกี่ยวข้องกัน และหากทุนการเงินไม่มีทุนมนุษย์ก็จะไม่เกิดผลผลิตขึ้นมา จึงเป็นทุนที่สำคัญมาก ๆ และในการทำกิจการทางเศรษฐกิจหรือธุรกิจจึงขาดไม่ได้ ถึงแม้ว่าตอนหลังตอนหลังจะมีการทดแทนด้วยเทคโนโลยี เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ ATM แต่ก็ต้องมีอาชีพใหม่ ทุนมนุษย์ที่มีความสามารถมากขึ้นในระบบธนาคาร เช่น จะต้องเป็นนักการตลาด เป็นนักวิเคราะห์ เป็นต้น

ในด้านวรรณกรรม มีใครในโลกทางเศรษฐศาสตร์เขียนเกี่ยวกับทุนมนุษย์ไว้บ้าง ที่เด่น ๆ มากก็คือ

Adam Smith ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์รุ่นเก่ามาก ๆ สมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบันอาจจะพูดได้ว่าเป็นผู้ริเริ่ม คำว่า “ทุนมนุษย์” แต่ในช่วงแรกไม่ได้เรียกว่าทุนมนุษย์โดยตรง Adam Smith ยกตัวอย่างว่า.. ค่าจ้างของแรงงาน 2 คน ไม่เท่ากัน และก็ถามว่าทำไม? ส่วนหนึ่งก็มาจากบุคคลหนึ่งอาจจะมีความรู้ ทักษะมากกว่าอีกคนหนึ่ง

ต่อมาอีกคนหนึ่งที่ University of Chicago คือ Prof. Gary Becker ก็ได้วิเคราะห์ว่า ถ้าแรงงานมีการลงทุนด้านการศึกษาไม่เท่ากัน แค่วัดจากปีที่เรียนก็พอว่ารายได้ก็ไม่เท่ากัน จึงเป็นการค้นพบว่า การศึกษา คือ การลงทุนที่สำคัญของทุนมนุษย์ ใครมีการศึกษามากกว่าคนนั้นก็จะมีรายได้มากกว่า หรือมีทุนมนุษย์มากกว่า

E = α0 + α1Y1 + α2Y2 +

E= รายได้, Y= Education

α1คือ ถ้า Y เพิ่ม E เพิ่มเท่าไหร่? ซึ่งได้มีการวิจัยว่า α1มีนัยยะสำคัญทางสถิติและเป็น+

ซึ่งการวิเคราะห์ของ Becker ก็เป็นที่มาของรางวัล Nobel ทางเศรษฐศาสตร์

ส่วนอีกท่านหนึ่ง คือ P. Schultz จาก University of Chicago ก็ทำวิจัยใช้หลักของ Becker พบว่า ชาวนาในสหรัฐ ถ้าคนไหนมีความรู้หรือปัญญามาก.. ผลผลิตของสินค้าเกษตรหรือ Labor Productivity ของเขาก็เพิ่มขึ้น       

ปัจจุบันปี 2556 การวิเคราะห์ทุนมนุษย์ก็ได้เปลี่ยนไปมาก ซึ่งก็คือประเด็นที่เราจะพูดกันในวันนี้

Hypothesis แรกก็คือ ปริมาณหรือการมองการศึกษาแบบเป็นทางการว่าจบอะไร ปริญญาตรีต้องดีกว่า ม.6 ก็ยังสำคัญอยู่ แต่จะสำคัญน้อยลง เพราะพบว่าคนเรียนน้อยก็อาจจะมีคุณภาพดีเท่ากับหรือมากกว่าคนเรียนมากก็ได้หรือที่มีคำว่า“ปัญญาอาจจะไม่ใช่ปริญญา”บุคคลที่เป็นตัวอย่างในเรื่องนี้คือ “Bill Gates”

ดังนั้น ตัวผมเองก็เลยได้วิเคราะห์ตัวเองซึ่งถือว่าได้ลงทุนในด้านทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์มามากพอควร แต่จบปริญญาเอกก็คงไม่ได้ดีกว่าคนจบปริญญาตรีอีกต่อไป อยู่ที่ว่าจบมาแล้วมีคุณสมบัติอย่างไร? ..จึงเป็นที่มาของทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s (ใหม่)      ที่ใช้ “K” แทนคำว่าทุนนั้นเพราะ “K” มาจากคำว่า “Kapital” เป็นภาษาเยอรมัน แปลว่า “ทุน” หมายถึงทุนทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่ง Karl Mark ได้เขียนทฤษฎี “The Kapital” ไว้กว่าร้อยปีแล้ว ใน 8 K’s ผมเริ่มด้วย Human Capital แต่ Human Capital ไม่ใช่วัดจากปริมาณมากแต่ต้องเน้นคุณภาพจึง

เป็นที่มาของทุนที่สำคัญอีก 7ทุน

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital                ทุนมนุษย์

Intellectual Capital        ทุนทางปัญญา

Ethical Capital               ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital          ทุนแห่งความสุข อยู่ที่การดำรงชีวิต และเสียสละ

Social Capital                  ทุนทางสังคม

Sustainability Capital       ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital                  ทุนทาง IT

Talented Capital            ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

        Creativity Capital            ทุนแห่งการสร้างสรรค์

        Knowledge Capital         ทุนทางความรู้

        Innovation Capital          ทุนทางนวัตกรรม

        Emotional Capital          ทุนทางอารมณ์

        Cultural Capital             ทุนทางวัฒนธรรม

แต่ 8K’s+5K’s คือ การปลูก และเก็บเกี่ยว ก็คือ ต้องสร้างแรงจูงใจให้เกิดการทำงานที่มีคุณค่า

 

 

 

ทฤษฎี HRDS

1.     Happiness

2.     Respect                

3.     Dignity

4.     Sustainability

การทำงานที่มีความสุขประกอบด้วย 3 อย่าง

1. Passion – มี Exciting

2. Purpose

3. Meaning

            Happy Workplace เก็บจากองค์กร

            Happy at Work เก็บจากตัวบุคคล

            Happiness Capital กับ Sustainability Capital เป็นวิธีการไปสู่ความเป็นเลิศด้วย

            แต่เราต้องถามว่า Happiness เกิดขึ้นได้อย่างไร

 

 

Workshop 1 (ใช้เวลา 30 นาที)

1. แนวคิดของ Becker กับ Chira 8K’s+5K’s เรื่องทุนมนุษย์แตกต่างกันอย่างไร? และมีอะไรที่เหมือนกัน?

2. ทำไม 8K’s น่าจะใช้ว่า 1 K ใหญ่ และ 7 K เล็ก เพราะอะไร? จุดแข็งและจุดอ่อนของ 8K’s คืออะไร? และเชื่อมโยงกับประชารัฐอย่างไร?

3. 5 K’s มีจุดอ่อนและจุดแข็งอย่างไร และ 5K’s เกี่ยวกับ 8K’s อย่างไร และเชื่อมโยงกับประชารัฐอย่างไร? 

 

 

กลุ่มที่ 1

1. แนวคิดของ Becker กับ Chira 8K’s+5K’s เรื่องทุนมนุษย์แตกต่างกันอย่างไร? และมีอะไรที่เหมือนกัน?

โลกมีทุนหลายตัวทั้งทุนธรรมชาติ เทคโนโลยีเครื่องจักร และทุนทางมนุษย์

Becker มีการวิเคราะห์ว่า มนุษย์ถ้ามีการลงทุนจะมีการลงทุนที่การศึกษาจะทำให้รายได้เพิ่มขึ้น

เรื่องที่เหมือนมาจากความเชื่อและแนวคิดที่สำคัญที่สุดคือทุนมนุษย์

ความแตกต่างคือ ดร.จีระ ได้ต่อยอดจากข้อจำกัดเรื่องทุนมนุษย์ให้ครอบคลุมและเห็นองค์ประกอบชัดเจนและเหมาะสม

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

มองในเรื่อง Scope ที่กว้างกว่า มองต่อยอดว่าเรื่องทุนมนุษย์ยังต่อยอดได้อีกใน 8K’s และได้คิดต่อในเรื่องทุนที่เปลี่ยนแปลงไปเพิ่มอีก 5K’s

ดร.จีระ เสริม Becker คิดเรื่องมองทุนมนุษย์คล้าย ๆ เครื่องจักร ได้พูดถึงเรื่องการศึกษา ครอบครัว โภชนาการที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

คิดทฤษฎีจากการพบว่าหลายคนไม่ได้จบปริญญามามาก แต่ทำไมคิดเป็นวิเคราะห์เป็น บางครั้งเกิดตั้งแต่เด็ก สมาธิเกิดจากช่วงเวลาที่ตัดสินใจ

Networking เป็นตัวอย่างที่โลกในอนาคตเชื่อมโยงกัน

เสนอเรื่องประสบการณ์ความล้มเหลวและการพัฒนา

ให้ดูว่า Can I contribute มีอะไรที่สร้างสรรค์ให้สังคม

การแสดงความคิดเห็น

1. ทฤษฎีเปลี่ยนตามยุคสมัย

2. เวลาทำงานแล้วมองเห็นความจริง ทำสิ่งที่ตรงประเด็น

 

กลุ่มที่ 2

2. ทำไม 8K’s น่าจะใช้ว่า 1 K ใหญ่ และ 7 K เล็ก เพราะอะไร? จุดแข็งและจุดอ่อนของ 8K’s คืออะไร? และเชื่อมโยงกับประชารัฐอย่างไร?

         ในองค์ประกอบทุนมนุษย์ 1 คนจะมีคุณภาพ ศักยภาพได้ต้องประกอบด้วยทุนมนุษย์ ทั้ง 1 K และ 7 K ที่เหลือ

         8K’s เกิดจากนักวิชาการไทย ใช้กับบริบท และสังคมไทย เป็นสิ่งที่จับต้องได้และใช้ได้จริง

ทำให้องค์กรลงไปสู่ในระดับ Macro ได้

การเชื่อมโยงกับประชารัฐ

         ทุนมนุษย์จะไม่มีประโยชน์ถ้าไม่สามารถเพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจตรงนั้นได้ มีการนำองค์ความรู้จากชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ เช่น ผ้าทอไทยลื้อ หรือท่าอากาศยาน ถ้าอุดหนุนชาวบ้านทำผลิตภัณฑ์ออแกนิกส์จะทำให้ภาคประชาชนเกิดการพัฒนาและต่อยอดไปได้เรื่อย ๆ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

         ยกตัวอย่างการเรียนเมืองนอก ต้องมีการควบคุมทางอารมณ์ด้วย ไม่ว่าจะ Comment อะไร ควรบอกว่าจะแก้ตามนั้น ถ้าเถียงไปบางครั้งเจอ Advisor ที่บ้าอำนาจอาจไม่ยอม

         ทุนมนุษย์หมายถึงการสร้างความมั่นใจให้แก่คน คือ Respect & Dignity ต้องปลูกก่อนเก็บเกี่ยว และเอาชนะอุปสรรค ต้อง 3 ต. คือต่อเนื่อง

         ให้มองที่ความเสมอภาค อย่ามองทุนมนุษย์ข้างบนเพราะจะเกิดความเหลื่อมล้ำ และจะน้อยเนื้อต่ำใจ

 

กลุ่มที่ 3

3. 5 K’s มีจุดอ่อนและจุดแข็งอย่างไร และ 5K’s เกี่ยวกับ 8K’s อย่างไร และเชื่อมโยงกับประชารัฐอย่างไร?        

         5K’s เป็นผลผลิตที่เชื่อมจาก 8K’s คือ 5K’s เป็นตัวพัฒนาเพิ่มจาก 8K’s เริ่มจากบริบทสังคมเปลี่ยนไป เพราะเป็นยุคโลกาภิวัตน์ต้องต่อยอดเพิ่ม ข้อดีคือทำเหตุการณ์ปัจจุบัน และตัวที่ปิด Gap ทั้งหมดคือตัว Emotional Capital คือถ้ามีความคิดบวก ทัศนคติที่ดี ตัว K ตัวอื่นจะดีตาม ซึ่งถ้าไม่มีพื้นฐาน 8K’s มาก่อนก็จะไม่เข้าใจในส่วน 5K’s

         8K’s เป็นเหมือนฐานของการสร้างความดี ถ้ามีตัว 8K’s จะเน้นเรื่องความสำเร็จและยั่งยืน เป็นเรื่องความเกี่ยวโยงของ 8K’s และ 5K’s

         ความเกี่ยวเนื่องกับตัวละคร 4 กลุ่มมีอะไรบ้าง เน้นในเรื่องของทุนต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องของทุนมนุษย์ทั้งหมด

         ในทุกภาคส่วนมีบทบาทสำคัญ สิ่งสำคัญคือสิ่งที่สร้างสรรค์ในทุนมนุษย์ก่อให้เกิดความเป็นไปได้ในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

         สิ่งที่ ดร.จีระ ทำอยู่เป็นการสวนกระแส ถ้าทำดี มีความคิดสร้างสรรค์ ในเมืองไทย ในมหาวิทยาลัย มีคณะวิศว ไอที การตลาด คณะในมหาวิทยาลัย จะอ่อนมากในเรื่องคน ต้องเน้นการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ แต่ต้องมาจากทุนทางจริยธรรมเป็นพื้นฐานด้วย ไม่เช่นนั้นจะเป็นนวัตกรรมที่ขี้โกง

         การมองเรื่องความประหยัดและศักยภาพของคน Venter Capital ทำให้ศักยภาพเกิด

         อยากให้ทุกคนได้ใช้ศักยภาพของตนเอง โดยใช้ 8K’s และ 5K’s เป็นหลัก Leader ไม่ใช่แค่คนบังคับบัญชา

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

         เลือกสิ่งที่เรานำเสนอการนำเสนออะไรให้สั้น คม ชัดแต่ตรงประเด็น เลือกสิ่งที่เราถนัดและรู้จริง ถ้ารู้บอกรู้ ไม่รู้บอกไม่รู้

         หัวใจหลักคือ Learn – Share – Care ให้มีการทำ Workshop และนำเสนอ


 

กรณีศึกษาการท่องเที่ยว และ กฟผ.

กรณีศึกษาด้านการทำวิจัยให้กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

แนวทางการพัฒนาศักยภาพองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน

            เสนอ 8 องค์ประกอบ และ 5 ยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อการพัฒนาศักยภาพองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน

            องค์ประกอบที่ 1 การสร้างความตระหนักและการพัฒนาองค์ความรู้ที่จำเป็น สำหรับการพัฒนาศักยภาพบุคลากร

            องค์ประกอบที่ 2 การสื่อสารและการเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย

            องค์ประกอบที่ 3 การแบ่งปันคุณค่าร่วมเพื่อประสานผลประโยชน์ร่วมกัน

            องค์ประกอบที่ 4 การพัฒนาโครงการความร่วมมือซึ่งกันและกันในการปฏิบัติ

องค์ประกอบที่ 5 การแบ่งปันความรู้และข่าวสารด้วยการสร้างศูนย์ข้อมูล   

องค์ประกอบที่ 6 การจัดกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการวิจัย      

องค์ประกอบที่ 7 การติดตามและการประเมินผล

            องค์ประกอบที่ 8 การขยายการพัฒนาด้านท่องเที่ยวและกีฬาไปสู่เครือข่ายอื่น

5 ยุทธศาสตร์หลักของทางการพัฒนาศักยภาพองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬา

ด้านการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน

            Relations : สร้างความสัมพันธ์อันดี

            Trust: สร้างศรัทธา

            Mutual Benefits: สร้างประโยชน์ซึ่งกันและกัน

            Synergy: ผนึกกำลังกัน เสริมแรงกัน

            Results Oriented -Turn networks ideas into action with 3V’s : มุ่งสู่ผลลัพธ์ – เปลี่ยนไอเดียในการพัฒนาเครือข่ายต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดคุณค่าและมูลค่า

           (อาจใช้แนวคิด 3 V คือ V1: การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added), V2: การสร้างมูลค่า/คุณค่าใหม่ และ V3: การสร้างมูลค่า/คุณค่าจากความหลากหลาย)

            ได้ “ผู้นำ” เป็นประธานของแต่ละกลุ่มการท่องเที่ยว.. กำลังสำคัญของการประสาน

และทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องได้ในอนาคต

 

กรณีศึกษาการพัฒนาผู้นำของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโดยสรุป...

1.  ความสำเร็จของการพัฒนาทุนมนุษย์และการสร้างผู้นำ คือ ความต่อเนื่อง ความมุ่งมั่น และการทำงานเป็นทีม

2.  ค้นหาตัวเอง..จุดแข็งของตัวเอง ดึงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ข้างในออกมา

3.  การสร้างพันธมิตรและเครือข่าย ผนึกกำลังกัน

4.  เริ่มจากชนะเล็ก ๆ ชนะแล้วอย่าหยุด ทำต่อไปเรื่อย ๆ มีความสุขกับความสำเร็จที่ทำให้เราภูมิใจ

5.  ปัญหาอย่าแก้เรื่องใหญ่ ให้แก้ปัญหาเป็นจุด ๆ

6.  Create Values (3V’s)

7.  อย่ายอมแพ้ อย่าทำงานภายในกรอบ คิดและทำนอกกรอบ

8.  อย่ารู้อย่างเดียว ต้องแล้วทำ Turn ideas into actions

9.  ทำงานกับ Stakeholders ข้างนอกมาก ๆ เช่นอย่ารองบประมาณเท่านั้น รู้จักคนมากขึ้น เก่งนอก แข็งใน

10.             สนใจเรื่อง Leadership ที่ไม่ใช่มากจากตำแหน่งหรือผู้บังคับบัญชา ถ้ามีโอกาสก็ใช้ภาวะผู้นำให้ได้ผลสูงสุด

11.             ปรับ Mindset เพื่อให้องค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ

 

            สรุป จากกรณีศึกษาการมีปริญญาเอกต้องเน้นการมีปรัชญาของชีวิต อย่าเน้นการสร้างความเหลื่อมล้ำให้เกิดในสังคม

            การท่องเที่ยวชุมชน เน้นการทำจากข้างล่างขึ้นข้างบน ส่วน กฟผ. เน้นการทำจากข้างบนลงข้างล่าง

            เน้นการพูดอะไรที่เป็นประเด็นที่เขาสนใจ

 

Workshop 2

1.กรณีศึกษาของ EGAT กับ “ท่องเที่ยวชุมชน” เน้นตัวละคร 4 กลุ่ม เกี่ยวอะไรกับเศรษฐกิจ 4.0?

2.จะนำโครงการท่องเที่ยวชุมชนมาเป็นแนวทางการทำงานของประชารัฐอย่างไร?

3.กรณีศึกษาของ EGAT 13 ปี มีบทเรียนที่ดีอย่างไร และบทเรียนทางด้านล้มเหลว คือ อะไร? จะนำมาปรับใช้กับภาคเอกชนได้หรือไม่? อธิบาย

 

กลุ่มที่ 3

1.กรณีศึกษาของ EGAT กับ “ท่องเที่ยวชุมชน” เน้นตัวละคร 4 กลุ่ม เกี่ยวอะไรกับเศรษฐกิจ 4.0?

            EGAT เกี่ยวกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต จากที่พูดมา ถนัด 3 เรื่อง คือการสร้าง ซ่อมแซม และสายส่ง แต่ถ้าไม่มีการสร้างโรงงานขึ้นก็ไม่สามารถทำสิ่งนี้ได้

            การทำให้เขายอมรับ EGAT อาจสร้างอาชีพ สร้างรายได้ โดยใช้การท่องเที่ยวไปเกี่ยวข้องจึงเป็นการท่องเที่ยวชุมชนของเขา สร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาชุมชน พัฒนาอาชีพ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

            ถ้าไม่ปรับตัวเพื่อให้ชุมชนรองรับ ทุนมนุษย์ที่มีอยู่จะเป็นศูนย์ ต้องทำใหญ่ ๆ ต้องปรับ Mindset ซึ่งคราวนี้จะสร้างโรงงานได้ ต้องเป็นมิตรกับชุมชน

            

กลุ่มที่ 2

2.จะนำโครงการท่องเที่ยวชุมชนมาเป็นแนวทางการทำงานของประชารัฐอย่างไร?

            ประชารัฐประกอบด้วย 4 ส่วนคือ รัฐ เอกชน ชุมชน วิชาการ แนวทางในการทำงานร่วมกัน จะเสริมการเป็นมิตรกับประชาชนได้อย่างไร

            1. การทำงานเป็นทีม อย่างรัฐจะให้ความรู้กับการท่องเที่ยวชุมชน ข้อมูล สิ่งที่ควรจะรู้เป็นอย่างไร สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน รัฐควรสนับสนุนอะไรบ้าง อะไรที่คนต้องการ และรัฐต้องรับผิดชอบอะไร วิชาการต้องสนับสนุนข้อมูลที่ชุมชนไม่ทราบ ในชุมชน ต้องดึงศักยภาพของชุมชน พัฒนาเอกลักษณ์ชุมชนขึ้นมา หาจุดแข็ง ให้ฝ่ายวิชาการสนับสนุน

            2. การสร้างพันธมิตรหรือเครือข่ายที่จะช่วยสนับสนุน สร้าง Network ให้ชุมชนรู้จัก

            3. เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม 3 V ทำอย่างไรให้ชุมชนมองว่าทำอะไรแล้วจับต้องได้ ให้สิ่งที่ทำเกิดคุณค่ากับชุมชน

            4. ผู้นำชุมชนจะสามารถช่วยบอกท้องถิ่นได้ว่าสิ่งที่ทำส่งผลอะไรกับชุมชนเรา

            5. Mindset ของภาครัฐและภาคเอกชน ต้องสร้างให้ทุกคนมีความสุขอย่างยั่งยืนในระยะยาว

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

            ดร.จีระ มองว่า ประชารัฐ จะมองไปที่ผู้ว่าฯ ประธานสภาอุตสาหกรรม แต่กลุ่มนี้อาจยังไม่ได้รู้จักชุมชนที่แท้จริง เราต้องทำเป็น Teamwork กัน แล้ววันหนึ่งที่เราได้ทำโครงการในชุมชน จะมีมูลค่ามหาศาล ดังนั้น ถ้ามีโอกาส เรื่องเกี่ยวกับประชารัฐ เกี่ยวกับชุมชน อย่าให้ผู้ว่าฯ ทำอย่างเดียว

            ท่องเที่ยวชุมชน ต้องเน้น Mutual Benefit Trust และความต่อเนื่อง และต้องมีผู้นำ ซึ่งผู้นำไม่ต้องเป็นผู้ว่าฯ ชุมชนก็สามารถเป็นผู้นำเองได้

            ประชารัฐเป็นของประชาชนทุกคน และถ้าทำท่องเที่ยวชุมชนนี้มีข้อมูลให้มาก อย่าทำอะไรที่ไม่มีคุณค่ามหาศาล

            ในห้องนี้อยากให้มีทั้งปริญญา และปัญญาด้วย ดังนั้นการเรียนใน Process ที่ผ่านมา ให้ทำแบบทีมออเคสตร้า  

            อนาคตท่องเที่ยวชุมชนต้องคิดถึงการท่องเที่ยวที่เป็นมาตรฐาน แต่มีบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ

            ในวันนี้เงินอยู่ในมือคนไทย แบ่งกันได้ แต่ต้องทำให้ความเหลื่อมล้ำลดลง ต้องทำให้การเงินลดความเหลื่อมล้ำด้วย ไม่เช่นนั้นจะมีเสื้อเหลือง เสื้อแดงตลอดเวลา

            ปริญญาเอก ต้องรวมตัวกันให้ประเทศไทยมีคุณภาพมากขึ้น ต้องช่วยกันเป็นประชาสังคม  คนเรียนปริญญาเอกมีข้อดีอย่างที่ ต้องมีแรงบันดาลใจที่สูงขึ้น  วิทยานิพนธ์เป็นเรื่องความยั่งยืนของทุกคน ให้ทุกคนจบให้หมด

            ความหลากหลายเป็นสิ่งที่ดี ถ้ารวมกันแล้วก็ดี ชุมชนดีอย่างคือการสร้างตัวละครให้เกิดขึ้นได้ และถ้าทำวิจัยเกี่ยวกับชุมชน ใช้ตัวละคร 4 กลุ่มได้ผล 100 %

            มีการเข้าไปฝึกพัฒนาผู้นำในการแก้ปัญหา

 

กลุ่มที่ 3

3.กรณีศึกษาของ EGAT 13 ปี มีบทเรียนที่ดีอย่างไร และบทเรียนทางด้านล้มเหลว คือ อะไร? จะนำมาปรับใช้กับภาคเอกชนได้หรือไม่? อธิบาย

            บทเรียนที่ดี เรื่องการพัฒนาความอยู่ดีกินดีของแต่ละชุมชน ให้การท่องเที่ยวชุมชนร่วมกัน เรื่องทุนมนุษย์ ได้นำ 8K’s 5K’s มาประกอบ สู่การพัฒนาทุนแห่งความยั่งยืน

            ให้มีการปรับทัศนคติให้ตรงกัน เพื่อให้มี Mindset ในการตรงกัน

            บทเรียนทางด้านล้มเหลว ความล้มเหลวเกิดจากขาดการให้ข่าวสารเรื่องความปลอดภัย ขาดการใช้ตัว K ต่าง ๆ ซึ่งถ้ามีวิธีการไหนไม่เกิดการใช้ตัว K เช่น Happiness Capital ถ้าไม่ได้สร้างให้คนมีความสุข คนจะรู้สึกต่อต้าน

            วิธีการที่นำไปปรับใช้กับภาคเอกชน หมายถึงการอยู่ดี กินดี และมีความสุข เพราะที่ผ่านมา เอกชนมีปัญหาเรื่อง CSR และจริยธรรม ที่ควรคิดเรื่องจริยธรรมที่อยู่ร่วมโลกได้

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

            เพื่อเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา คนจะเกิดขึ้น เกิดขึ้นบ่อย ๆ และเกิดความต่อเนื่อง ต้องมีหลักสูตรชุมชน เช่น Green

            ทุกคนในห้องนี้ต้องปรับตัวเองให้ได้ ให้ปรับพื้นฐานก่อนให้แน่นถึงจะกระเด้งได้   ดังทฤษฎีอันหนึ่งที่บอกว่า หนีจากที่ลุ่มมาสู่ที่ราบสูง

            ทุกคนในห้องนี้คือคนที่รัก เมื่อคนใด คนหนึ่งดีขึ้น และดีขึ้นอย่างจริงจัง ถือว่าคุ้ม เพราะการทำ Workshop ในวันนี้ไม่ได้แตกต่างกัน ถ้าชุ่ยจะไม่เห็นความแตกต่างของดร.จีระ แต่สิ่งที่ ดร.จีระ แทรกหมายถึงการปะทะกันทางปัญญา  ต่อไปต้องพูด 1,2,3 และให้ลูกศิษย์พูด 4,5,6 และอาจารย์ต้องมีความสามารถในการพูด 7,8,9 เพราะโลกในวันนี้เป็น Non Linear

            ถ้าเป็นคนรู้ไม่จริง ต้องพร้อมแสวงหาความรู้ตลอดเวลา แต่ถ้าคนไหนที่เป็น Comfort Zone จะเป็นปัญหาของ Human Capital ในเมืองไทย คือขึ้นไม่จริง ขึ้นแล้วหยุด และให้ขึ้นไปเรื่อย ๆ

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

            ประเด็นสำคัญในวันนี้ เสมือนเป็นการสร้างภาวะผู้นำ การสร้างความมั่นใจ ไม่มีเรื่องหน้าแตก ได้ฝึกเรื่อง Learn – Share – Care เชื่อว่าท่านเป็นผู้นำในองค์กรให้รู้วิธีการในการนำไปปรับใช้ เช่นอาจไปทำกลุ่มเล็ก ๆ แล้วโยนประเด็นลงไปให้เขาช่วยกันคิด อะไรที่ฝังใน DNA ของแต่ละท่าน เอาสิ่งที่ได้ไปบวกกับ Passive ที่ฝังอยู่ในตัวของแต่ละท่านได้อย่างไร

            บางเรื่องในสิ่งที่เราไม่ได้คิดแต่อาจเป็นประโยชน์ อย่าทิ้ง

            รากคือตัวของแต่ละคน ทฤษฎีคือกรอบที่เราจะไปตรงไหน ทำหัวข้อหนึ่งให้ตีโจทย์ให้แตกแล้วจะทำงานง่าย 

            ประเทศไทย 4.0

            ลดกับดักความเหลื่อมล้ำ และกับดักการพัฒนา  สู่ 4.0 ทำอะไรก็ตามที่สร้างมูลค่าขึ้นมา 1.0 2.0 3.0 ยังคงอยู่ แต่ทำอย่างไรให้สมดุลกันให้เกิด 4.0 ให้ได้ เป็นการเปลี่ยนสินค้าเชิงโภคภัณฑ์ เป็นสินค้าเชิงนวัตกรรม อย่าง กฟผ. จะทำเรื่องบ้านที่ใช้แบตเตอรี่แทนสายส่ง ท่องเที่ยวชุมชนที่พูดเดิมเป็น Community เกิดเป็นเชิงนวัตกรรม แล้วเปลี่ยนการขับเคลื่อนด้วยภาคอุตสาหกรรม ให้ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีสร้างสรรค์ และนวัตกรรม เปลี่ยนจากภาคการผลิตสินค้าไปสู่ภาคบริการ และบริการคุณภาพสูง เพิ่มคุณค่าได้ อย่างเช่นห้องละ 100 บาท เพิ่มเป็นห้องละ 2,000 บาท การเพิ่มกิจกรรม Activity เช่น บ้านแม่กำปอง เพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ เช่น ผ้าทอ

            สรุป คือ ดร.จีระ สอนเรื่องการปลูก สำคัญที่สุดคือ 2 R’s คือความจริง และตรงประเด็น และทำให้สำเร็จด้วยวิธีการเสริมแรง อย่าทำคนเดียว ใช้วิธีการ Learn-Share-Care และ Networking ทำให้สำเร็จด้วยภาวะผู้นำ

 

สรุปโดยผู้เรียนรู้

            สิ่งสำคัญที่สุดในวันนี้ที่ได้มีโอกาสคือ ได้ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่มีแนวความคิดที่ตั้งใจต่อประเทศชาติมาก หลายอย่างทำให้ประทับใจมาก การประสบความสำเร็จในระดับปริญญาเอก ต้องนำความรู้ แนวคิด ปรัชญา ที่นำไปใช้ให้ประเทศชาติเจริญ หมายถึงประชาชนคนไทยต้องมีความสุขทั้งหมด  

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

            ฝากแชร์สิ่งที่เรียนรู้สั้น ๆ เพื่อขยายความคิด เพราะแต่ละท่านจะมีการเรียนรู้ทั้งแนวดิ่งและแนวราบ อยากให้รู้ว่าหวังดี และคิดถูกที่ตัดสินใจมาวันนี้ ทุกคนที่มาวันนี้สำคัญหมดเป็นฟันเฟืองที่สำคัญ ในวันนี้ที่สำคัญคือโจทย์ต้อง Relevance

หมายเลขบันทึก: 630563เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2017 08:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2017 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท