โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 (ช่วงที่ 5: ระหว่างวันที่ 9-11 สิงหาคม 2560)


สวัสดีครับชาวบล๊อก

ขอต้อนรับเข้าสู่โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 (ช่วงที่ 5: ระหว่างวันที่ 9-11 สิงหาคม 2560)

ผมและทีมงานต้องขอขอบคุณผู้บริหารและคณะทำงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ไว้วางใจพวกเรา และทุกท่านสามารถติดตามบรรยากาศและความรู้ต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ผมขอฝาก Blog นี้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้พวกเราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

หลักสูตร พัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (รุ่นที่ 3)

(ระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน – 9 กันยายน 2560)

 

วันที่ 9 สิงหาคม 2560

(สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

 

วิชาที่ 30    ศึกษาดูงานที่ ณ มูลนิธิชัยพัฒนา

เรียนรู้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช     และศาสตร์ของพระองค์ท่านเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตและการทำงาน

บรรยายโดย      หม่อมหลวงจิรพันธุ์ ทวีวงศ์

กรรมการและรองเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

 

วีดีโอ มูลนิธิชัยพัฒนา

งานของมูลนิธิชัยพัฒนา ต้องทำเร็ว แก้ไขปัญหาเร็ว ไม่สามารถดำเนินตามระบบราชการเนื่องจากจะไม่ทันการณ์ มูลนิธิฯ จึงได้ทำเป็นแบบอย่างก่อน

          1. ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ของเกษตรกร เช่น ขาดแคลนที่ดินทำกิน เศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาหนี้สิน

          - มูลนิธิฯ ได้นำเกษตรทฤษฎีใหม่ มุ่งทำการเกษตรแก้ปัญหาที่ดินและน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เกษตรสามารถพึ่งตนเองได้ เริ่มที่ วัดมงคลชัยพัฒนาที่จังหวัดสระบุรี

          - เกษตรแบบผสมผสาน เป็นแปลงพัฒนาเกษตร โดยคำนึงถึงลักษณะพื้นที่บริเวณนั้น เพื่อศึกษาหาความรู้

          - โรงเรียน กาสรกสิวิทย์ สระแก้ว เป็นโรงเรียนฝึกกระบือและใช้กระบือไถนา เพื่อทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

          2. ปัญหาความเสื่อมโทรมสิ่งแวดล้อม

          - กังหันน้ำชัยพัฒนา เครื่องกลเดินอากาศ บำบัดน้ำเสีย ให้กรมชลประทานศึกษาวิจัยให้ประชาชนผลิตและใช้เอง ในประเทศ ที่เบลเยี่ยมนำไปใช้เช่นกัน

          - เครื่องกลเดินอากาศ ในกรณีที่ไม่สามารถใช้กังหันน้ำชัยพัฒนาได้

          - โครงการวิจัยสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย บำบัดน้ำเสียใน 4 วิธี

          3. การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

          - สระเก็บน้ำพระราม 9 ช่วยป้องกันน้ำท่วม และให้ประชาชนมีน้ำใช้

          4. ความไม่สมดุลของเมือง

          - วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเกิดประโยชน์ส่วนรวมใน บวร

          - โครงการพัฒนาอัมพวาชัยนุรักษ์ อนุรักษ์วิถีชุมชนให้เรียบง่ายและมีความสุข น้อมนำหลักการพัฒนาด้านภูมิสังคม เศรษฐกิจพอเพียงเป็นพลังสำคัญ

          5. การขาดแคลนพลังงาน

          - การจัดสร้างโรงงานต้นแบบผลิตปาล์มน้ำมันขนาดเล็ก และไบโอดีเซลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานวิจัยไบโอดีเซลที่ได้มาตรฐาน

          - ศูนย์ศึกษาพิกุลทอง จ.นราธิวาส

          6. การช่วยเหลือโครงการพื้นฐานที่จำเป็นในระยะแรก การพัฒนาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม 

          - โครงการชัยพัฒนาช่วยเหลือประเทศไทย

          7. ความร่วมมือกับต่างประเทศ

          - ร่วมมือด้านการพัฒนากับ ม.จำปาสัก สปป.ลาว

          - ร่วมมือด้านการพัฒนากับ สาธารณรัฐประชาชนจีน อาทิ ชาน้ำมัน พืชเมืองหนาว

          สรุป ได้ยึดหลักวิชาการตามแนวพระราชดำริ ยึดหลัก เรียบง่าย สอดคล้องกับประชาชน เพื่อให้มีความสุขอย่างยั่งยืน ก่อให้เกิดความมั่นคงในประเทศชาติในที่สุด

          ชัยชนะของประเทศนี้คือความสงบของเมืองไทยที่มีความเจริญก้าวหน้าจนเป็นชัยชนะของการพัฒนา

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ขอขอบคุณมูลนิธิชัยพัฒนาที่ให้โอกาสมาดูงานเนื่องจากบุคคลเหล่านี้เป็น Young PhD. ที่จะบริหารมหาวิทยาลัยในอนาคต

          ตอนสุดท้ายอาจให้มีโครงการที่ทำร่วมกันระหว่าง มูลนิธิชัยพัฒนาและ ม.อ. ซึ่งมีอยู่บ้างแล้ว  มหาวิทยาลัยมีความรู้ทางวิชาการจึงน่าจะคิดที่ทำอะไรต่อเนื่อง

          การดูงานแต่ละครั้ง ให้คิดดูว่าได้อะไรกลับไปพัฒนา สิ่งใดที่จะเป็นการเพิ่มมูลค่า

 

ผศ.วศิน สุวรรณรักษ์

          หลักสูตรหนึ่งในการดูงานคือที่มูลนิธิชัยพัฒนา เป็นหนึ่งในที่คนไทยอยากจะมาเนื่องจากเป็นที่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงจัดตั้งขึ้นมา เป็นที่ที่จะนำสู่การพัฒนาในอนาคต และเน้นการร่วมกันในการทำความร่วมมือ

 

หม่อมหลวงจิรพันธุ์ ทวีวงศ์

            อาคารนี้เดิมเป็นโรงเหล้าบางยี่ขัน สำนักงาน กปร. เมื่อปีพ.ศ. 2524  พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในขณะนั้นมีการคิดว่า การทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่มีการเสด็จแปรพระราชฐานไปทรงงานในที่ต่าง ๆ ใน 1 ปีจะทรงงานในพื้นที่ต่างจังหวัดเป็นเวลา 7 – 8 เดือนอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 เริ่มจากภาคอีสาน ไปภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคต่าง ๆ ของประเทศ ทำให้ทราบว่า คนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นเกษตรกร และปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือสุขภาพ การคมนาคมมีความยากลำบาก มีการชมและเข้าใจการทรงงานในช่วงนั้น ซึ่งช่วงนั้นมีความขัดแย้งทางความคิดในระบบเวียดนาม ลาว กัมพูชา เป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงของระบบคอมมิวนิสต์ มีแนวคิดที่มองว่าระบบคอมมิวนิสต์จะเป็นระบบโดมิโนหรือไม่ และคาดว่าที่ประเทศไทยจะเป็นเป้าหมายต่อไป มีนักข่าวถามพระองค์ท่านว่าสู้กับคอมมิวนิสต์หรือไม่ พระองค์ท่านทรงตอบว่าสู้กับความยากจน ดังพระราชปณิธานเบื้องต้นในพระปฐมพระบรมราชโองการว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม

          ครอง – คือการครองตน รวมถึงทุกอย่าง

          ธรรม – คือการทำหน้าที่ด้วยธรรมเพื่อความสุขของทุกคน

          พระองค์ท่านทรงศึกษาเพื่อเข้าใจปัญหาภูมิภาคในด้านต่าง ๆ แล้วจึงได้ทำการพัฒนา ในเบื้องต้นเป็นเรื่องสาธารณสุขจำนวนมาก มีเรือพระราชทาน มีหน่วยแพทย์ทันกรรม และหน่วยแพทย์พระราชทาน โดยเน้นพื้นที่ธุรกันดาร พระองค์ท่านมีหน้าที่หนึ่งคือสนับสนุนรัฐบาลในสิ่งที่รัฐบาลไปไม่ถึงในพื้นที่ห่างไกล สิ่งที่พระองค์ท่านทำคือการช่วยเหลือประชาชน

          สำนักงาน กปร.ก็อยู่ในตึกมูลนิธิชัยพัฒนาเช่นเดียวกันแต่อยู่อีกฝั่งหนึ่ง หน้าที่คือตามเสด็จเพื่อบันทึกสิ่งที่พระองค์ท่านเสด็จไปที่ต่าง ๆ แล้วขยายไปที่หน่วยงานราชการต่าง ๆ ประมาณ 4,000 กว่าโครงการฯ หน่วยราชการที่รับผิดชอบก็พิจารณาการทำโครงการเพื่อความเหมาะสม และเสนอไปที่หน่วยงานรัฐบาลเพื่อทำงบกลาง ที่ต้องมี กปร. เนื่องจากเป็นการรวบรวมโครงการพระราชดำริ ทุกเรื่อง อีกเรื่องคือเรื่องงบประมาณจำปี  ดังนั้น สำนักงาน กปร. ก็มีงบกลางให้ดำเนินการได้ทันที อาทิ ยกตัวอย่างถ้ามีพระราชดำริวันนี้ ถ้างบประมาณปกติจะได้อีกในปีพ.ศ. 2562 ดังนั้นการมี กปร.ทำให้งบประมาณเร็วมากขึ้น แต่พระองค์ท่านทรงบอกว่าอาจไม่เร็วพอที่จะแก้ปัญหาแม้มี กปร.แล้ว จึงมีพระราชดำรัสตั้งมูลนิธิชัยพัฒนาเกิดขึ้นทำแบบ NGOs. ซึ่งมีระบบการบริหารจัดการที่รวดเร็วกว่าระบบราชการ

          สิ่งที่น่าสนใจอีกส่วนคือโครงการส่วนพระองค์ในวังจิตรลดา ที่เป็นงานวิจัยที่ในหลวงทรงทำเอง มีเรื่องโคนม การเลี้ยงปลา การทรงการวิจัยของพระองค์ท่านเอง ประเด็นต่าง ๆ ที่ช่วยเหลือ อาทิเรื่อง นม มีเรื่องโปรตีนช่วยสุขภาพอนามัย ปลานิล ก็เป็นอาหารที่นิยม ราคาถูก สร้างภูมิคุ้มกัน สุขภาพอนามัย

          นอกจากนี้มีโครงการฯ ที่ช่วยเหลือตามภูมิภาคสังคม เช่น ศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพาน ศูนย์ศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน  ป่าชายเลน การประมง ศูนย์ศึกษาพัฒนาพิกุลทอง ฯลฯ

          ดูปัญหาในเรื่องของดิน ดินเค็ม ดินเปรี้ยวที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ดินควรมีแร่ธาตุอะไรประกอบด้วย มีเรื่องดินเปรี้ยว ดินดาน ดินทราย ดินเค็ม เน้นเรื่องการพัฒนาดิน และการพัฒนาป่าไม้ที่ถูกทำลายเป็นเขาหัวโล้นที่เกิดปัญหาการชะล้าง ทรงมองว่าดินใช้ประโยชน์ไม่ได้ แต่มองว่าจะใช้ประโยชน์อย่างไร

          การแก้ปัญหาทั้ง 6 ศูนย์พัฒนาฯ

          1. จัดหาน้ำ

          2. ปรับปรุงดิน อาทิ ใช้หญ้าแฝก พืชปกคลุม

          3. หากิจกรรมเกษตร ทั้งเรื่องพืช สัตว์ ปลาต่าง ๆ

          ในศูนย์ศึกษาจะมีลักษณะแบบ one stop service คือให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ เกษตรกรเมื่อมีปัญหาสามารถปรึกษาได้ภายในที่เดียว เป็นตัวอย่างของการบูรณาการในปัจจุบันที่เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ข้าราชการสามารถมาศึกษา และไปตามแผนร่วมกัน

          ยกตัวอย่างดินเปรี้ยว ใช้ประโยชน์ไม่ได้ พระองค์ท่านทรงใช้โครงการแกล้งดินจนนำดินไปสร้างประโยชน์ได้

          ศูนย์การศึกษาคือการให้ความรู้ที่ต้องพัฒนาต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่พระองค์ท่านทรงพระราชทานไว้ให้พวกเรา

หลักการทรงงาน

          - มีขั้นตอนการดำเนินงาน แก้ปัญหา ทำงานวิจัยหาทางแก้ มีการวิจัยส่วนต่าง ๆ มีการมองเรื่องดิน เรื่องน้ำ

          - ที่ผ่านมาหลายเดือนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเกิดขึ้นมา

          - หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนคือประหยัดและเรียบง่าย

          - การจัดการน้ำเป็นการมองภาพรวม

การบริหารจัดการน้ำได้มองตั้งแต่ท้องฟ้า ถึงทะเล มีโครงการฝนหลวงเกิดขึ้นมา เริ่มจากที่พระองค์ท่านทรงเสด็จไปที่ภาคอีสาน เห็นเมฆอยู่ พระองค์ท่านทรงทดลองให้ทำ ซึ่งปัจจุบันได้ขยายไปที่จอร์แดนแล้ว มีการเก็บน้ำไว้ที่ตอนบนได้แก่เก็บโดยป่า เก็บที่อ่างเก็บน้ำ เพื่อควบคุมไม่ให้น้ำมากเกินไป และสามารถนำไปใช้ได้ในช่วงฤดูแล้ง มีการบริหารทางเดินน้ำ มีเขื่อนคันกั้นน้ำต่าง ๆ  อาทิ ปี 2526 ที่ กรุงเทพฯ น้ำท่วม ที่รามคำแหงท่วมเป็นเดือน มีการทำโครงการคันกั้นน้ำพระราชดำริโดยใช้ถนน มีการปรับปรุงฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองใน กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2554 ที่กรุงเทพฯ น้ำท่วมเนื่องจากไม่ได้ไประบายในทางออก มีเขื่อนป่าสักเก็บน้ำ และเขื่อนพระราม 6 มาทุ่งรังสิต มีการแบ่งน้ำมา มีคลองชัยทะเลเป็นแก้มลิง รับน้ำเหนือใต้ ที่บอกแก้มลิงคือเอาน้ำมาเก็บไว้ที่คลองชัยทะเล น้ำสูงก็ระบายน้ำออก ทางตะวันตกก็มีคลองสนามชัย เป็นต้น

การบริหารจัดการน้ำจึงเป็นเรื่องของเวลาด้วย

          การจัดการน้ำเสีย ได้พัฒนากังหันชัยพัฒนา เป็นเครื่องกลเติมอากาศ มีการเติมออกซิเจนในน้ำ มีโครงการหลักร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนา มีการแก้ปัญหาน้ำเปรี้ยว น้ำเค็ม ที่ทำให้ปลาตาย เนื่องจากน้ำเป็นกรดทำให้ปลาในกระชังตาย มีแนวทางในการปล่อยน้ำอย่างไร มีวิธีการจัดการในการแก้ปัญหา พระองค์ท่านทรงมีพระอัจฉริยภาพมาก และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมประมง

          พระองค์ท่านทรงทำในที่ที่มีปัญหาเนื่องจากพระองค์ท่านมองว่าที่ไม่มีปัญหาเกษตรกรก็ทำได้แล้ว อาทิ ที่ที่ดินมีปัญหา พระองค์ท่านทรงนำโครงการแกล้งดินมาช่วยปรับปรุง และการปลูกหญ้าแฝก มีเอกสารจาก World Bank ที่บอกว่าหญ้าชนิดนี้มีรากยาว สามารถนำไปใช้ประโยชน์แก้ปัญหาดินได้ เป็นตัวแก้ปัญหาที่ต้นทุนไม่สูง

เรื่องทฤษฎีใหม่

          ทฤษฎีใหม่เป็นการปฏิบัติในการจัดการบริหารพื้นที่ที่แท้จริง ใช้พื้นที่ 15 ไร่ เนื่องจากเป็นพื้นที่โดยเฉลี่ยของเกษตรกรไทย ได้มีการแบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วน

1. สระน้ำ  30>#span###มีการคำนวณน้ำที่ใช้ และใช้ในตอนฝนทิ้งช่วง

2. นาข้าว  30% มีการทำเรื่องนาข้าวที่ให้เกษตรกรมีข้าวพอเพียงสามารถเลี้ยงตนเองได้

          3. ปลูกพืช 30>#span###  มีการปลูกพืชสวน พืชไร่ที่ปลูกไว้กิน

          4. ที่อยู่อาศัย 10%

          สรุป ทฤษฎีใหม่เป็นการกระจายการผลิตไม่ได้ขายสินค้าอย่างเดียว ลดค่าใช้จ่ายในการทำอาหาร ลดความเสี่ยง มีความพอเพียง สามารถพึ่งตนเองได้ ต้นแบบอยู่ที่วัดมงคลชัยพัฒนาที่จังหวัดสระบุรี

          ทฤษฎีใหม่จึงมีเรื่องการพึ่งพาตนเองได้ และการรวมกลุ่ม มีกลุ่มสินค้าเกษตร กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มอาชีพ    เป้าหมายคือสหกรณ์ มีการรวมซื้อรวมขาย คือรวมซื้อมากราคาถูก รวมขายได้ราคาดีขึ้น มีการรวมสวัสดิการและทุนต่าง ๆ ดีขึ้น ยกตัวอย่าง ธกส. มีชุมชนตัวอย่าง 14 แห่งทั่วประเทศ มีความเข้มแข็งมาก มีการเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน มีการส่งสินค้าไปยังหน่วยภาคเอกชนต่าง ๆ

          กปร. เริ่มหาตัวอย่างในปีพ.ศ. 2550 -2551 มีเรื่องเกษตรกร ภาคธุรกิจ เรื่องปูน อย่างปัญหาเรื่อง SCG ที่เกิดขึ้นคือมีเครือมาก ได้กลับมาดูว่าในสิ่งที่ตัวเองทำไม่เก่งก็เลิกทำ

          อย่างไรก็ตามภาคธุรกิจสิ่งที่สำคัญคือ รู้จักประเมินตนเอง เศรษฐกิจพอเพียงคือการดูว่าจะลงทุนได้ขนาดไหน  เรื่องการกู้เงินต้องดูว่าอันไหนสร้างรายได้ หรืออันไหนก่อหนี้

เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เกษตร แต่เป็นภูมิคุ้มกันใน 4 ด้านคือ

          1. ด้าน เศรษฐกิจ มีทรัพย์สิน มีเงินออม มีการทำบัญชีเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน มีการมีวินัยทางการเงิน และการคลัง

          2. ด้านสังคม ได้แก่การศึกษา สาธารณสุขต่าง ๆ อาทิ กินอาหารที่ดี และออกกำลังกายจะเป็นภูมิคุ้มกันด้านการป้องกันการเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นเรื่องการดูแลสุขภาพ

          3. ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ น้ำท่วม ดินฟ้าอากาศ ในช่วงฝนทิ้งช่วย การมีอ่างเก็บน้ำ

          4. ด้านสังคมวัฒนธรรม มีงานต่าง ๆ เช่น ศิลปาชีพ การดำรงด้านศิลปวัฒนธรรม

โครงการหลวง

          1. ฝิ่น เรื่องฝิ่นเป็นวัฒนธรรมของชาวเขา เป็นยาที่สามารถบำรุงสุขภาพ การแก้ปัญหาการปลูกฝิ่น จึงต้องหาพืชที่มีราคาเข้าไป เป็นเรื่องความมั่นคง เรื่องอิทธิพลต่าง ๆ ให้เขาอยู่ดีมีสุข ปัญหาต่าง ๆ จะได้ลดน้อยลง จึงเกิดดอยคำเกิดขึ้น

          2. เรื่องข้าว ที่ปราจีนบุรี มีการเลี้ยงกุ้ง กับนาข้าว  ที่อำเภอตากใบ นราธิวาส ที่ศูนย์ศึกษาแกล้งดินทำสำเร็จคือการปลูกข้าวในดินเปรี้ยวที่อำเภอโคกอิฐ โคกใน อำเภอตากใบ ซึ่งเป็นโครงการที่ทำสำเร็จ ใช้ชื่อโครงการว่าถ่ายทอดเทคโนโลยี

          3. ปลูกป่าในใจคน คือปลูกโดยไม่ต้องปลูก ได้มีโครงการฟื้นฟูที่เขาชะมุ้ง เป็นดินลูกรัง หาที่เก็บน้ำไว้บนยอดแล้วปล่อยน้ำมา อย่างที่ห้วยฮ่องไคร้มีทั้งปลูกและไม่ปลูกใช้ฝายชะลอความชุ่มชื้น จะพบว่ามีป่าฟื้นขึ้นมาจากพื้นที่ที่เป็นหินเป็นกรวด ที่น่าน เช่นมูลนิธิปิดทองหลังพระ โครงการสร้างป่าสร้างรายได้

          4. อธรรมปราบอธรรม ใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย เอาระบบน้ำขึ้นน้ำลงเข้ามาใช้ เมื่อน้ำเจือจางก็ไปปล่อยลงเจ้าพระยา

          5. กังหันชัยพัฒนา

          6. แหลมผักเบี้ย เป็นโครงการบำบัดน้ำเสียที่จังหวัดเพชรบุรี ใช้บ่อธรรมชาติ แล้วกรองโดยพืช

มีพื้นที่ป่าโกงกางในการปล่อยน้ำเกิดขึ้น

          7. ไบโอดีเซล

          8. ศูนย์ศึกษาที่น่าสนใจคือที่ศูนย์ศึกษาพัฒนาเขาหินซ้อน ศูนย์ศึกษาพัฒนาพิกุลทอง เรื่องดินเปรี้ยว ที่ศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ และศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพาน เรื่องจัดการน้ำ ที่อ่าวคุ้งกระเบนเรื่องประมง และศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยทรายทำเรื่องตชด. สิ่งที่น่าสนใจคือการเลือกคนมาทำงานในส่วนที่รับผิดชอบ

          9. พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ

          10. โครงการพระดาบส

          11. โครงการอาหารกลางวัน ไม่ได้ทำให้อิ่มท้องอย่างเดียว แต่สอนเรื่องเกษตร ปรับปรุงดิน จัดการน้ำ ให้ความรู้ด้านโภชนาการ และให้ความรู้เรื่องสหกรณ์ มีการทำบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาชุมชนต่าง ๆ


เรื่องโภชนาการ ในโครงการของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มีการทำเรื่องเด็กขาดสารอาหาร มีการช่างน้ำหนักเด็ก และชี้วัด มีการเข้าไปแก้ไข มีการให้นม ให้วัคซีน ตั้งศูนย์เด็กเล็กโดยโครงการพัฒนาชุมชนทำ เป็นเรื่องที่เกิดจากเด็กขาดสารอาหารโดยการชั่งน้ำหนักเด็ก เข้าสู่นโยบายรัฐบาล และไปที่ อบต.

 

           

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. สนใจโครงการฯทั้งหมดประมาณ 4,000 กว่าโครงการ ได้มีการนำไปพล๊อตจุดในแผนที่หรือไม่ ถ้าไม่มียินดีทำให้ จะได้อาสาลงไปในจุดที่พระองค์ท่านไม่ได้ไปถึงเป็นการสานต่องานพระองค์ท่านด้วย

          ดร.จีระ เสริม ถ้ามีมาตรฐานแบบพระองค์ท่าน สิ่งนี้น่าจะมีอิทธิพลต่อนโยบายของประเทศในด้านการเกษตร พระองค์ท่านทรงมองไปที่เกษตรกร แต่มองเรื่องด้านอื่นมากกว่า และไม่ทำต่อเนื่อง ดังนั้นการทำโครงการของ ม.อ. ถ้าทำอย่างต่อเนื่องผลที่ได้จะชัดเจนมากขึ้น

          โอกาสที่โครงการหลวงจะไปมีอิทธิพลต่อโครงสร้างใหญ่ของกระทรวงเกษตรฯ อุปสรรคอยู่ที่ไหน

          ตอบ ระบบ GIS ของคอมพิวเตอร์มีการร่วมมือกับ กปร. และ Loxley ส่วนเรื่องโครงการพระราชดำริฯ มีส่วนกับกระทรวงเกษตรฯ คือพระองค์ท่านทรงสอนข้าราชการทำงานร่วมกัน  ปัญหาของราชการคือมองเป็นเรื่องของใครของใครมากกว่า มีขอบข่ายเป็น Function ถ้าทำในเรื่องบูรณาการ และทำตามแนวพระราชดำริได้จะดีมาก ในปัจจุบันชาวบ้านมีการทำไกลและเยอะมากแล้ว  ทุกอย่างความสำเร็จของการนำแนวทางพระราชดำริไป สิ่งที่สำคัญคือคน และผู้นำ

          ดร.จีระ เสริมว่า เรื่องคน อุปสรรคคือคนคิดถึงตนเอง เป้าหมายขององค์กรกับเป้าหมายส่วนตัวไม่ไปด้วยกัน ในที่สุดจะขัดแย้งกัน ถ้ามีตัวอย่างที่ดีและเป็นที่ยอมรับของโลกจะเป็นประโยชน์มาก อย่าง UNDP ใช้แนวทางเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและความยั่งยืน ถ้าหลักสูตรเหล่านี้เข้าไปช่วยตอนเขาอายุยังน้อยอยู่ก็เสมือนเป็นการละลาย Silo  เรื่อง Social Science กับ Science ต้องไปด้วยกัน

 

2. โครงการฟื้นฟูป่าชายเลนที่สิงหนคร สมเด็จพระเทพฯ เคยเสด็จไปฟื้นฟูกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พื้นที่ตรงนี้ใกล้ ม.อ. มาก มีปัญหาทับซ้อนมาก และเป็นพื้นที่มุสลิม เสมือนเป็นโครงการจุดพลุให้คนเข้ามาพัฒนาในพื้นที่ โครงการพระราชดำริ เกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง แต่ที่สำคัญคือความต่อเนื่อง  ม.อ.เคยเข้าไปช่วงหนึ่งแล้วหายไป ถ้ามีการติดตาม ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และเพิ่มผลผลิต เป็นสิ่งที่ม.อ.ควรเข้าไป ส่วนอีกโครงการคือโครงการพัฒนาลุ่มน้ำที่ปากพนัง ยังไม่มีโครงการที่เป็นความร่วมมือต่อเนื่องที่จะส่งเสริม ชาวบ้านยินดีร่วมมือ แต่มีปัญหาของคนที่อยู่ในน้ำจืดและน้ำเค็ม มีปัญหาเรื่องนาข้าวและการเกษตร ส่วนตอนบนและตอนใต้จะมีประโยชน์มาก แต่คนที่อยู่น้ำกร่อยจะมีปัญหาอยู่ที่ชาวบ้านสะท้อนปัญหาเหล่านั้น สิ่งที่อยากทำคือการทำความร่วมมือในระยะยาวระหว่าง โครงการพระราชดำริฯ กับ ม.อ. จะมีความร่วมมือต่อกันได้อย่างไรบ้าง

          ตอบ โครงการแรกบ้านหัวเขา หายไปตามที่ว่า ในที่สุดหัวใจคือชุมชนต้องเข้มแข็งถึงมีความยั่งยืน ถ้ารัฐบาลเปลี่ยน ก็จะทำให้นโยบายอาจเปลี่ยนไป ส่วนโครงการที่ปากพนังต้องมีการรวบรวมผลงาน อย่างที่พูดเสมอว่าเมื่อวิจัยแล้วเก็บให้นำวิจัยมาเป็นผลที่ใช้ประโยชน์ได้ ในเรื่องของทั้ง 2 โครงการ แล้วแต่มหาวิทยาลัย มีสำนักงาน กปร.ดูแลอยู่ มีเรื่องการพัฒนาอาชีพ ดูแลเรื่องลุ่มน้ำ แต่อย่างไร ความต่อเนื่องเกิดเมื่อชุมชนเข้มแข็งและเป็นที่ประจักษ์

          ดร.จีระ เสริมว่า ความต่อเนื่องบางครั้งต้องมีตัวเชื่อม อาจต้องหาตัวละคร อย่าง ดร.จีระใช้ เชคสเปียร์โมเดลคือมีตัวละครในการเชื่อม ใช้ความฉลาดของ Intelligence ข้างนอกที่จะกลายมาเป็น Benefit ของ ม.อ.ในการทำงานในอนาคต คิดว่าจะเป็นประโยชน์มหาศาล แต่ปัญหาคือการบริหารจัดการเป็นระบบราชการเปลี่ยนผู้บริหารอาจทำให้การทำโครงการไม่ต่อเนื่อง สิ่งที่ควรทำคือคิดว่าเราขาดอะไรแล้วให้เติมจากข้างนอกแต่อย่ามองที่ข้างในอย่างเดียวจะกลายเป็นการมองจุดเล็ก ๆ มากเกินไป บางครั้ง ม.อ.อาจขาด Flagship คือต้องทำให้เกิด Tipping Point คือคนภายนอกมองออกว่า ม.อ. เก่งอะไร ประเด็นคือต้องใส่ Input ให้พอดี ถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้เบลอได้ ให้ Turn Activity into Strategy เราต้องเปลี่ยนกิจกรรมเป็นยุทธศาสตร์ให้ได้

 

3. มูลนิธิชัยพัฒนาเน้นความยั่งยืนของชุมชนที่มิติไหนบ้าง ที่ผ่านมาเห็นว่าเกี่ยวกับทางเกษตรจำนวนมาก มีบางอาจารย์หลายท่านทำร่วมอยู่แต่กลายเป็นส่วนตัวไป ในกรณี 3 จังหวัดชายแดนใต้เป็นปัญหา และคิดว่าในอนาคตคิดว่าจะเป็นปัญหาอยู่ ไม่ใช่แค่เรื่องปากท้องอย่างเดียว แต่คิดว่ามีเรื่องอื่นด้วย ทำอย่างไร ม.อ.ถึงจะร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนา ม.อ.ได้ปลูกฝังคนรุ่นใหม่ โดยการจัดชุดวิชาโดยใช้ศาสตร์พระราชาเป็นพื้นฐานอาจเป็นส่วนช่วยในการนำไปใช้ได้จริง ไม่มั่นใจว่าทำได้มากน้อยแค่ไหน

          ตอบ เรื่องการศึกษาที่สตูล ที่ยะลา เป็นโครงการฯ ของสมเด็จพระเทพฯ ทำมานานแล้ว อีกโครงการที่โรงเรียนปอเนาะที่ภาคใต้ ไม่ได้สอนวิชาสามัญอย่างเดียว แต่ได้เติมหลักสูตรวิชาชีพได้ ได้มีการพัฒนาเป็นจุด ๆ เป็นโครงการที่ไปเสริมรัฐบาลส่วนหนึ่ง ดังนั้น ถ้าเป็นแผนขนาดนั้น ต้องมีการทำ อย่างระยะยาวต้องมีการแก้ปัญหาของคน มูลนิธิชัยพัฒนามีเรื่องการพัฒนาการสื่อสารด้วย

 

4. ได้มีโอกาสร่วมกับ ศอ.บต. ในการทำเรื่องฮาลาล ปัญหาที่เจออย่างหนึ่งคือบุคลากรค่อนข้างขาดผู้เชี่ยวชาญ และอีกเรื่องคือโครงการของมูลนิธิฯ ไม่ได้เห็นโครงการชัดเจนที่เกี่ยวข้องกับมูลนิธิฯ อยากทราบว่ามีโครงการไหนที่มูลนิธิฯไปช่วยแนะนำกับ ศอ.บต.

          ตอบ มูลนิธิฯ ทำในส่วนรับผิดชอบตัวเองเป็นส่วนขยายกรอบมากกว่า ศอ.บต.ก็มีการดูแลและประสานงานอยู่ในส่วนที่ทำ ผู้เชี่ยวชาญโดยแท้จริงหาได้ แต่เพราะเหตุใด มูลนิธิฯ ไม่ได้มีหน้าที่ในการชี้นำส่วนราชการ แต่มูลนิธิมีหน้าที่ในการทำในส่วนที่รับผิดชอบ

 

5. สิ่งที่พระองค์ท่านทรงทำ เพราะเหตุใดเราถึงไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างจริงจังในการพัฒนาประเทศ ในฐานะเป็นอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาจะทำอย่างไร

          ตอบ 4,000 กว่าโครงการ คือ 4,000 บทเรียน สิ่งที่ควรทำคือดูความต้องการด้วย ไม่ใช่บังคับให้ทำ คำพูดนี้ไม่ใช่โครงการพระราชดำริเท่านั้น ตัวอย่างความสำเร็จมีเยอะมาก ให้ไปดูตัวอย่างความสำเร็จจะเข้าใจได้ง่ายกว่า พระองค์ท่านเริ่มจากจุดเล็ก ๆ แล้วจะขยายไปเอง การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องเป็นการพัฒนารุ่นสู่รุ่น ขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนของตัวเขา และปัจจัยภายนอกด้วย

 

6. เรื่องความสมดุล ทุนนิยมกำลังรุกเร้าสู่วิถีชีวิตชาวบ้าน เช่นเมล็ดผัก ปลูกซ้ำได้ บางครั้งปลูกได้ครั้งเดียว จะอยู่ให้สมดุลได้อย่างไร วิถีชาวบ้านจะอยู่ได้อย่างไร เมล็ดพันธ์เป็นตัวอย่าง

          ตอบ เมล็ดพันธุ์เป็นตัวอย่าง เป็นลูกผสมเปิดใช้ซ้ำได้ เป็นโครงการของ สมเด็จพระเทพฯ ศูนย์จักรพันธ์ ชาวบ้านรอบ ๆ เป็นผู้ผลิตด้วย มีความรู้ เหมือนข้าว เก็บเมล็ดพันธ์มาปลูก ถ้ากลับมาสู่ความพอเพียงและสมดุล สร้างการพึ่งพาตัวเองได้ จะมีประโยชน์มาก ในเรื่องความสมดุล มีหลายสมดุลขึ้นกับอยู่สมดุลไหน

 

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

          สิ่งที่ฝากคือ

          1. สำรวจว่า ม.อ. กับ มูลนิธิชัยพัฒนา และ กปร.มีโครงการไหนบ้างที่ทำอยู่แล้ว

          2. โครงการไหนดี และทำต่อเนื่อง ให้มาวิเคราะห์ดู

          3. โครงการฯไหนที่เป็นประโยชน์

          การมีวิชาที่เกิดขึ้นไม่ใช่รู้อย่างเดียว ต้องรู้ในเชิงความจริง และตรงประเด็น และนำไปใช้ได้ เมื่อพบอุปสรรคอย่ายอมแพ้ ต้องเดินไปข้างหน้า เป็นทางเดินในอนาคต ดังนั้นความพยายามในการคิดโครงการฯ ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ถ้าเราทำทางด้าน Supply Side โดยไม่ดู Demand Side โครงการจะเกิด Impact ไม่มาก เราจึงต้องดูที่ Customer ด้วย และต้องเพิ่มความร่วมมือกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามอยู่ที่ Passion ของ ม.อ.รุ่นที่ 3 นี้ด้วย โดยเฉพาะท่านมาจากหลายวิทยาเขตจะต้องมีความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกันด้วย


วิชาที่ 31    ศึกษาดูงานที่ ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย    

เรียนรู้เศรษฐกิจระดับโลกและระดับประเทศที่มีผลกระทบกับด้านการศึกษาของประเทศไทย

บรรยายโดย      คุณณัฐิกานต์ วรสง่าศิลป์

วิทยากรประจำธนาคารแห่งประเทศไทย    

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          นักการศึกษาในมหาวิทยาลัยจะอยู่รอดในอนาคตได้หรือไม่ เงินที่ได้มาต้องเป็นเงินที่ใช้คุ้มค่า ทางเศรษฐศาสตร์ไม่ได้อยู่ที่แพงหรือถูก อยู่ที่ว่าใช้ไปแล้ว 1 บาทแต่รีเทิร์นเกิน 1 บาทหรือไม่

 

คุณณัฐิกานต์ วรสง่าศิลป์

           ค่าของทรัพยากรสูญเปล่าไม่ได้ ทุกท่านมี Contribution สูงมาก สิ่งที่พูดในวันนี้จึงอยากให้คุ้มมาก การพูดในวันนี้จะพูดในฐานะลูกค้า (ลูกที่เรียนมหาวิทยาลัย) ในมุมภาคประชาชน ในคนที่อยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน

          ม.อ.มี 5 วิทยาเขตที่มาในวันนี้ ขาดวิทยาเขตตรังที่ไม่ได้มา

หัวข้อที่พูดในวันนี้

1. โลกที่ไม่เหมือนเดิม

2. ไทยท่ามกลางความท้าทายที่หลากหลาย

3. ปัญหาของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน

4. บทบาทมหาวิททยาลัยในโลกที่ไม่เหมือนเดิม

 

1. โลกที่ไม่เหมือนเดิม

โลกที่ซับซ้อนมากขึ้น

          เมื่อ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1991 เจอปัญหาสงครามเย็นระหว่าง 2 ขั้วอำนาจ มิคาเอล กอร์บาชอบ ต้องการให้ประเทศ 12 ประเทศแตกออกมา เป็นการกระสายขั้วอำนาจในรัสเซีย ขั้วหนึ่งหายไป ขั้วสหรัฐฯ เกิดอะไรในวิกฤติการเงินโลก

          เมื่อไหร่ก็ตามที่มีผู้นำที่เข้มแข็ง เราจะรู้ว่าทิศทางโลกไปทางไหน ในวันนี้รู้หรือไม่ทิศทางโลกเป็นอย่างไร ใครตอบได้บ้าง

          ในวันนี้เรื่องการก่อการร้ายต่าง ๆ ได้เกิดจาก 2 ขั้วอำนาจนี้ เกิดพังทลายของ 2 ขั้วอำนาจ โลกมีความซับซ้อนขึ้น ธรรมชาติของสัตว์โลกต้องการเป็นที่ 1 อย่างทรัมป์ที่ขึ้นมาก็ต้องการเป็นที่ 1

          ตอนที่ทรัมป์ขึ้นมาเสมือนเป็นการหักปากกาเซียน  ปูตินมาสนับสนุนทรัมป์ให้ข่าวจากฝั่งฮิลลารี่ ทรัมป์จับมือกับปูติน สิ่งที่ทรัมป์ทำคือผูกสัมพันธ์กับปูตินไว้ ไม่ทางใดทางหนึ่ง แต่วุฒิสมาชิกของสหรัฐได้ลงคะแนนเสียงที่จะคว่ำบาตรรัสเซีย แต่ทรัมป์ก็ยื้อเวลาอยู่ ระหว่างนี้ทรัมป์ได้เปิดศึกไปทั่วโลก เช่น ห้ามวีซ่ามุสลิม ยิงขีปนาวุธไปซีเรีย สิ่งที่ตามมาคือฝั่งพันธมิตร คือกลุ่มคนที่เข้าข้างสหรัฐ แล้วมีฝั่งสีแดงอิหร่านกับรัสเซียไม่เห็นด้วยที่มาถล่มซีเรียอย่างนี้ และต่อมาทรัมป์ก็ไปสร้างเรื่องกับเวเนซูเอล่าอีกที

          สิ่งที่ตามมาคือเศรษฐกิจดีขึ้นระยะหนึ่ง แต่สิ่งที่ตามมาคือทรัมป์ไม่สามารถอยู่ได้ครบเทอม เพราะแม้เศรษฐกิจสหรัฐจะดีแต่ค่าเงินของสหรัฐอ่อน ซึ่งทำให้คนอาจไม่ลงทุน หมายถึงเรื่องเศรษฐกิจและการเมืองแยกขาดจากกันไม่ได้ แสดงถึงโลกในปัจจุบันนี้มีความระส่ำระสายอยู่ 

          สหรัฐฯ ได้ส่งเครื่องบินลาดตระเวนไปที่คาบสมุทรเกาหลี  คนที่หนุนหลังเกาหลีเหนือคือรัสเซียที่หนุนด้านอาวุธ จีนหนุนหลังด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากจีนทำการค้ากับเกาหลีเหนือถึง 90% ดังนั้นสิ่งที่ถามในวันนี้คือต่างคนต่างมีของ ก็ยื้อกันอยู่ สิ่งที่ตามมาคือทุกพื้นที่ร้อนระอุ อย่างที่อ่าวเปอร์เซีย การ์ต้าโดนสหรัฐคว่ำบาตร การ์ต้าคือผู้นำประเทศเขาให้ความช่วยเหลือผู้ก่อการร้าย

          ซาอุดิอาระเบียเป็นพันธมิตรกับอเมริกา ประเทศ UAE ต่าง ๆ ให้เงินสนับสนุนผู้ก่อการร้าย ดังนั้นสหรัฐจึงทำการคว่ำบาตร ทำให้การเมืองโลกด้านมุสลิมระอุอีกครั้งหนึ่ง

          ซีเรีย มีความสำคัญอย่างไร ในวันที่สหรัฐฯ ยิงขีปนาวุธเข้ามา รัสเซียโกรธมาก ทะเลสาบรัสเซีย มีฐานทัพอยู่ที่อิหร่านด้วย รัสเซียถือว่าสหรัฐฯหยามมาก

          คนที่มีความพร้อมมากที่สุดในโลกในอีก 10 ปีข้างหน้าคือ จีน ความพร้อมนี้มาจาก คนเยอะ มีคุณภาพ และได้กระจายไปทั่วโลก ในขณะเดียวกัน จีนมีประเทศที่ไม่อยากเป็นพันธมิตรกับเขา แต่เขาอยากเป็นพันธมิตรด้วย

          สีจิ้นผิงกร้าว ลั่นปราบอะริ คือไต้หวัน และฮ่องกง ที่จีนอยากเป็นพันธมิตรด้วย แม้ไต้หวัน และฮ่องกงไม่อยากเป็นพันธมิตร จีนบอกว่ากล่องดวงใจของจีนคือไต้หวัน เนื่องจากอยู่ใกล้          ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม มีอเมริกาหนุนหลังอยู่  แต่นักธุรกิจไต้หวันไม่อยากได้จีน จึงไปลงทุนที่อื่น สิ่งที่จีนอยากได้ไต้หวันเพราะมีเส้นทางลำเลียงน้ำมัน มีแก๊ซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก แหล่งพลังงานเช่นนี้จึงไม่มีใครไม่อยากได้

          นอกจากจีนขยายอำนาจตรงนี้ ล่าสุดจีน

          จิบูติ ทุกประเทศเวลาจะเป็นใหญ่ต้องมีการวางผังอำนาจและตรึงกำลัง ช่องแคบยิบลอนตาคือชัยภูมิที่ตรึงกำลังสำคัญที่สุดที่เมดิเตอเรเนียน แม้อังกฤษให้อิสรภาพทุกคนแต่ไม่ไว้ใจใคร

          จีนบอกว่าจะทำ one belt one road แบงค์ชาติที่ทำคือต้องไปเจริญสัมพันธไมตรี

เหตุผลที่จีนขยาย One belt one road เนื่องจากประเทศจีนมีประวัติศาสตร์ยาวนาน แต่เหมือนถูกคำสาปที่บอกว่าไม่ว่าจะมีกี่ราชวงศ์ จะทำให้จีนโตแล้วแตก แต่ความจริงแล้วความแตกของเมืองจีนมีอย่างเดียวคือความเหลื่อมล้ำ ไม่เช่นนั้นคงไม่มีอากง อาม่า โล้สำเภามา ชีวิตเมืองจีนมีทะเลทรายโกบีอยู่ตรงกลาง ด้านตะวันออกเป็นที่ราบสูง มีความแห้งแล้งอย่างหนัก ความอดอยากมากขึ้นจึงทำให้ประชาชนลุกฮือแล้วกองกำลังทหารสู้ไม่ได้จะเกิดสังคมนิยม จีนจึงพยายามหาทางออกโดยเปิดพื้นที่ฝั่งตะวันตกหาทางออกทางทะเล 2.หาทางเชื่อมคุนหมิงไทย ตรงกลาง แล้วพยายามคุมพื้นที่ตรงนี้ ตอนนี้จีนเข้าคุมแอฟริกาแล้ว เส้นทางสายไหมเส้นใหม่ต้องผ่านซีเรีย จึงเป็นเหตุผลที่จีนผูกมิตรกับซีเรีย เพราะเป็นเส้นทางออกเมดิเตอร์เรเนี่ยนที่สั้นที่สุด แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่กล้าขัดแย้งกับสหรัฐ มีการตั้งฐานทัพใหญ่ที่จิบูติ จึงเสมือนเป็นทำเลยุทธศาสตร์ที่จีนต้องตั้งไว้ ไม่ต่างอะไรที่แนวคิดที่ตั้งยิบรอต้า

          ค่ายตะวันออกกลาง มีกลุ่มไอเอส และมีกลุ่มหนึ่งที่มาสนับสนุนเหตุการณ์ภาคใต้ในไทย กลุ่มไอเอสเป็นเสมือนกลุ่มกบฏที่เข้ามาที่ฟิลิปปินส์ มีอินโดนีเซีย มาเลเซีย เกาะที่มีปัญหามากที่สุดคือเกาะที่มินดาเนา

          โลกปัจจุบันการรวบอำนาจต้องมีการรวบเบ็ดเสร็จ มีความต้องการเด่นในที่ยืน และต้องมีรายได้ มีการฟอร์มคนที่จะเป็นนายกฯ

          สรุป บนความที่โลกซับซ้อน เราจะยืนอยู่อย่างไร

 

โลกท่ามกลางระบบการเงินที่เชื่อมโยงกันมาก

          มี Player ที่มาเล่นในตลาดการเงินไม่มาก นับหัวได้ แต่เครือข่ายมีความแน่นหนา และมีการเชื่อมโยงในระดับสูง  จึงไม่น่าแปลกใจที่ตอนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกแทบจะหารากไม่เจอ  และจะไม่มีใครเห็นวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และจะไม่เห็นถ้าโดมิโนตัวที่หนึ่งเปิดออกมา หมายถึงอยู่ในโลกที่ระบบการเงินเชื่อมโยงกันมาก และจะเชื่อมโยงไปอีกเนื่องจาก FinTech

 

โลกท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศ

          แผนทางการเมืองเปลี่ยนแปลงไป

 

โลกท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในอัตราเร่ง

          ในส่วนของมหาวิทยาลัยจะทำอย่างไรให้สมกับเกียรติภูมิทางด้านนี้ ชีวิตในโลกสมัยใหม่นี้ไม่ง่าย สำหรับเราอาจง่ายในการใช้เทคโนโลยีจากมือถือ แต่ในมุมมองผู้ประกอบการไม่ง่าย เพราะต้องมีปัญหาในการพัฒนา  SMEs อาจไม่มีเงินทุนในการพัฒนา หรือรายใหญ่อาจไม่มีทุนที่รัฐมาช่วย เพราะรัฐต้องปรับตัวเช่นกัน ทุกคนต้องช่วยตัวเองให้ได้ก่อน ดังนั้นมหาวิทยาลัย จึงต้องมีการปรับตัวอย่างยิ่ง อย่างเรื่องรถยนต์ Finance ก็ได้มีการเกิด Digital Disruption ในทุกบทบาท

          ในมหาวิทยาลัยเจอคู่แข่งมาตลอด สมัยก่อน มีเกมส์ ต่อมามี Google เจอการตัดแป๊ะกันมากขึ้น ต่อมาทุกอย่างเป็น Open Source ทุกอย่างที่เกิดมาเป็นเรื่องความอยู่รอดของสถาบัน ความอยู่รอดของประชาชนด้วย

 

โลกที่กำลังเผชิญปัญหา Cyber Attacks

          ทีผ่านมาพบเจอไวรัสที่เข้ามาทำลายระบบจำนวนมาก จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าไวรัสมาร์แวย์เรียกค่าไถ่ทำให้ข้อมูลหายไป สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความเสี่ยงอันดับต้น ๆ และอีกไม่นานการก่อการร้ายในระบบไซเบอร์จะขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่ง

          ตัวอย่างประเทศที่พบการโจมตีมากที่สุดคือสหรัฐ กลุ่มที่โดนมากที่สุดคือกลุ่มพลังงาน อย่างกระทรวงกลาโหม สหรัฐฯ เป็นกลุ่มทางทหารที่สำคัญ และกลุ่ม Financial Service  สหรัฐฯ ได้ใช้งบประมาณในอัตราเร่งมากในการดูแลด้าน Cyber Attacks

          ศาสตร์นี้จึงเป็นศาสตร์ที่สำคัญมากในการเรียนในมหาวิทยาลัย ดังนั้นการสอนไม่ใช่แค่วิชาการ แต่ต้องเน้นด้านคุณธรรม จริยธรรมในการสอนด้วย เนื่องจากโลกมีความซับซ้อนมากขึ้น เราต้อง Monitor ต้องดูภาวะการเปลี่ยนแปลงมรดกโลกในทุกมิติ ต้องดูเกมส์ของโลกว่าคืออะไร โลกที่ซับซ้อนเป็นไปไม่ได้ที่หน่วยงานเดียวแก้ไขได้ เราต้องเชื่อมสัมพันธ์กับส่วนอื่น ๆ ในข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน จะทำแค่แบงค์ชาติโดด ๆ หรือมหาวิทยาลัยโดด ๆ ทำไม่ได้ เราจึงทำอย่างไรอยู่ได้ในโลกปัจจุบัน

 

2. ไทยท่ามกลางความท้าทายที่หลากหลาย

          ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ฉากในชีวิตเราเร็วมากขึ้น โลกปัจจุบันเป็นโลกแบบ Butterfly effects ทุกคนอยากมีส่วนร่วม แล้วไม่นานก็หายไป ดังนั้นการสร้างภูมิต้านทานให้กับเด็ก และเราจึงมีความสำคัญ หน้าบางอยู่ยาก ดังนั้นไทยในท่ามกลางความท้าทายที่หลากหลายคือ

          ประเทศไทยมีแผนพัฒนาประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 จนถึงปัจจุบัน พบว่าความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยอยู่ในอันดับต้น ๆ อย่างคุณเจริญ มีที่ที่เพชรบุรี 40,000 ไร่ คนรวย

          ศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง

          เรามีการแผ้วถางป่า เราแลกทรัพยากรของประเทศในการเติบโตด้วยอะไรบ้าง

          การแลก Growth ทางเศรษฐกิจ เรามักใช้ Public Goods คือของฟรี เราแลก Growth ด้วยธรรมชาติรอบตัวเรา ทำให้สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศแย่ เราแลกกับความเครียดของคน ซึ่งบางครั้งไม่ใช่เรื่องที่คุ้มกัน เพราะชีวิตคือ Quality เช่นเดียวกัน เช่นเราแลกเงินเดือนของเรากับ Quality of Life ดังนั้นเราต้องวางแผนชีวิตว่าเราสร้าง Quantity หรือ Quality เราไม่ได้สร้างความสมดุลได้แค่วันเดียว ชีวิตเราไม่ง่าย

ความสามารถในการแข่งขันดีขึ้นแต่การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานยังน่ากังวล

          บางครั้ง Growth ไม่ได้เป้าหมายสูงสุด แต่อยู่ที่ว่าเราทำได้ดีกว่านี้ได้หรือไม่

          คำถามคือ ม.อ.ในเชิงสถาบันจะทำอะไร

          จุดแข็งของประเทศไทย ภาพรวมเศรษฐกิจมหภาคดี  แบงค์ชาติได้พยายามดูแลด้านความมีเสถียรภาพ แต่ไม่ได้ปล่อยโดยไม่ควบคุม  แต่ Government  Efficiency  ไม่ค่อยดี ส่วนที่แย่และแย่ต่อเนื่องคือเรื่องการลงทุน อย่าง Private Investment ลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะบรรยากาศต่างจังหวัด สาเหตุให้ดูว่าคนลงทุนปกติจะลงทุนเพราะอะไร กล้าลงทุนเพราะอะไร ส่วนหนึ่งเพราะเศรษฐกิจต้องคึกคัก

          GDP ของไทยอยู่ที่ 14ล้านล้านบาท มีเงินลงทุนของไทยในต่างประเทศเท่าไหร่ แม้ว่าบรรยากาศในประเทศดูอึมครึม แต่ธุรกิจหยุดนิ่งไม่ได้จึงต้องไปลงทุนที่ต่างประเทศในอัตรา 6 ล้านล้านบาท ล่าสุดมีกฎหมายเข้ากฤษฎีกา ใน Exim Bank กฎหมายได้มีการขยายฐานไปลงทุนในต่างประเทศได้ เพราะในประเทศค่อนข้างนิ่ง แต่เรายังคงมีหวังกับ Infrastructure

          ปัญหาอีกเรื่องของไทยคือคุณภาพการศึกษา อย่างเช่นคะแนนปิซ่าพบว่าคะแนนประเทศไทยน้อยมาก และแพ้กัมพูชาแล้ว  การมองการศึกษาในภาพรวมพบว่าประเทศไทยแย่จริง คะแนนต่ำจริง และสะท้อนว่าประเทศอื่นวิ่งขึ้น แต่ไทยแย่ลง

          อย่างไรก็ตาม บนความแย่มีความเกาะกลุ่ม ขึ้นอยู่กับว่าเราได้กะทิระดับไหน แยกเป็น 10 % แรกอยู่ในอันดับโลก และ 10% อันดับอยู่ในอันดับล่าง

          เช่นกลุ่มมหิดลวิทยานุสรณ์ มีความเก่งทางด้านวิทยาศาสตร์สูงมากกว่าสิงคโปร์ พบว่าเด็กไทยเก่ง ได้รับรางวัลโอลิมปิคมาก แต่ตกการทำงานเป็นทีม

          กลุ่มเด็กสาธิตก็ยังสร้างความภาคภูมิใจ

          กลุ่มโรงเรียนรัฐบาล เช่น สตรีวิทย์ สวนกุหลาบ ฯลฯ

          กลุ่มโรงเรียนเอกชน

          กลุ่มโรงเรียนเทศบาล ประชาบาล

          กลุ่มโรงเรียนสังกัดกรุงเทพฯ พบว่าโรงเรียนคนจนในเมืองเป็นกลุ่มที่น่าสงสารที่สุด พ่อแม่มาจากต่างจังหวัด

          แบงค์ชาติทำการดูแลเงินเฟ้อ ไม่ให้ค่าเงินด้อยค่า เมื่อเงินเฟ้อสูงมากคนจนไม่สามารถปกป้องตัวเองได้ คนรวยมี LTF ที่ไปซื้อที่ แต่พวกคนจนที่รอ 300 บาทไม่ใช่ แย่ที่สุดคือคนจนในเมืองเพราะไม่สามารถหาของกินในพื้นที่ได้เหมือนต่างจังหวัด อยู่กทม.ต้องใช้เงินซื้อ คนจนมีปัญหาเรื่องเงินเฟ้อที่มาโจมตีแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องการศึกษาที่สูงมาก ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำให้การศึกษาของไทยอยู่ที่อันดับที่ 54  โดยที่อาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ สิ่งนี้แสดงถึงเด็กที่อยู่ในกลุ่มเปอร์เซ็นต่ำ คือเด็กรายได้น้อย และใฝ่รู้สู้สิ่งยากคือเครื่องมือเดียวที่ทำให้พ้นจากความยากจน

          ประเทศไทยในวันนี้ เด็กที่เป็นคนจนมีเพียง 18% ที่ใฝ่รู้สู่สิ่งยากจนได้ระดับ Top ส่วนเวียดนามจะมีเด็กที่เป็นคนจนที่ใฝ่รู้สู้สิ่งยาก 25% หมายถึง โอกาสที่เด็กเวียดนามหลุดจากความยากจนมีมากกว่าไทย

          ถ้าไม่รู้อย่าชี้ มี 2 ประเด็นคือ เด็กเรียนไม่รู้เรื่อง หรืออาจารย์สอนผิด ส่งผลให้การศึกษาไทยลดลงอย่างต่อเนือง

ไทยกำลังก้าวสู่สังคมสูงอายุ

          ไทยจะอยู่ในฐานะแก่ก่อนรวย คาดว่าจะแก่ก่อนประเทศอื่น 20 ปี ปัญหาที่ตามมาคือคนไข้ล้นเตียง หมอเครียด เบื่องาน ลาออก ปัญหาคือจะแก้ปัญหานี้อย่างไร

          แสดงความคิดเห็น ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ระบบสาธารณสุขไทยเป็นความเหลื่อมล้ำเช่นกัน มีที่ใช้งานได้ 30,000 กว่าคน และครึ่งหนึ่งอยู่ในกรุงเทพฯและเมืองหลวง ที่ขาดคือต่างจังหวัดและเป็นปัญหาเหลื่อมล้ำเช่นเดียวกัน สิ่งที่ต้องแก้คือต้องแก้ที่ระบบสาธารณสุขของประเทศไทย

          เรื่องประชากร ที่บอกว่าคนไทยมีลูกน้อย แต่ถ้าไปดูที่คลินิกวัยใส จะมีปัญหาการเจริญพันธุ์ก่อนวัย พบเด็กที่ท้องในวัยเรียนเยอะมาก จึงเป็นปัญหาเรื่องการศึกษา กลุ่มที่อยากท้องไม่ท้อง แต่ไปท้องในอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งส่งผลต่อการศึกษาของไทย

          ปัญหาที่ประเทศไทยขาดหมอ ได้ไปบอกที่กระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีการตั้งโรงเรียนแพทย์เพิ่มขึ้นแต่ผลคือได้แต่ปริมาณ แต่ไม่ได้คุณภาพ มีกลุ่มราชภัฏตกกับแพทย์สภาเรื่องมาตรฐาน Facility และจำนวนคนที่ผลิตหมอได้ 1 คน 

          สรุปคือ การคิดเหมือนเดิม และทำแบบกระทรวงฯเดียวจะไม่สามารถทำได้ สิ่งนี้เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ คือทำให้หมอลดลง หมอไปเล่นหุ้นมากขึ้นอาจด้วยระบบที่บีบหมอ เวลาหมอไม่สบาย หมอไม่สามารถไปนอนเตียงคนไข้ได้ แต่ต้องฟุบอยู่ที่โต๊ะ  คุณภาพบุคลากรทางการแพทย์ของไทยไม่ค่อยดี

          ที่สิงคโปร์คิดค่าแพทย์ตามนาที เช่น 10 นาทีแรก 50 เหรียญ แต่ถ้าหาได้มากกว่านั้น ระบบโรงพยาบาลจะมีการจัดสรรเหมือนห้างสรรพสินค้า แต่ระบบจะไม่ยุ่งกับเรื่องแพทย์ แค่จัดสรรล็อก พื้นที่ที่ได้ประโยชน์ แพทย์ซึ่งเป็น Outsource มาดูแล แพทย์ต้องเช่าคลินิกในโรงพยาบาล เช่าสำหรับห้องแพทย์ คลินิกโรงพยาบาล มีการแบ่งคอร์สอะไรที่ชัดเจน  โลกที่ทันสมัยจะเอื้ออาทรน้อย แต่ในไทยเอื้ออาทรมากแม้คนไข้ทะลักก็นอนหน้าลิฟต์ ดังนั้นในระบบราชการจะเกิด Conflict ที่ว่าทำไมระบบไม่เป๊ะ เมืองไทยอยู่อย่างอะลุ้มอล่วย จึงทำให้เป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอยู่ในขั้นรุนแรง

          โลกซับซ้อน เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญในระบบโครงสร้างเยอะ ผู้ว่าการ ธปท. บอกว่าประเทศไทยจะยั่งยืนไม่ได้ถ้าเราไม่ได้แก้ไขปัญหาเหล่านี้ อัตรา GDP สำคัญน้อยกว่าการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง

ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอยู่ในขั้นรุนแรง

          โลกซับซ้อน เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญในระบบโครงสร้างเยอะ ผู้ว่าการ ธปท. บอกว่าประเทศไทยจะยั่งยืนไม่ได้ถ้าเราไม่ได้แก้ไขปัญหาเหล่านี้ อัตรา GDP สำคัญน้อยกว่าการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง

ปัญหาของมหาวิทยาลัย

1. ปัญหาคุณภาพบัณฑิตไทย มีการมองจากภายนอกที่มองถึงนักศึกษาในมหาวิทยาลัยพบว่า

- ผู้เรียนไม่ค่อยสนใจรับความรู้ในมหาวิทยาลัย

- มหาวิทยาลัยมุ่งหาประโยชน์จ่ายครบจบแน่

- เน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติ

- ระบบการศึกษาไม่มีคุณภาพ

- นโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยเน้นความอยู่รอด

- อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งไม่มีคุณภาพ

- ฯลฯ

สรุป มีปัญหา 5 เรื่องคือ ผู้เรียน หลักสูตร ระบบการศึกษา มหาวิทยาลัย และอาจารย์

ผู้เรียนไม่ค่อยสนใจ สังคมก้มหน้า อยากเรียนลัด การที่มีอาจารย์ในห้องสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราไม่รู้ว่าสิ่งที่เราคิดถูกหรือไม่ เพราะ Youtube บอกไม่ได้ การเสริมวิจารณญาณของอาจารย์ให้ลูกศิษย์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สิ่งนี้คือหัวใจของการเป็นครู และที่สำคัญ ผู้เรียนเป็นอะไรบ้าง ผู้เรียนมีมุมมองระยะสั้น เห็นประโยชน์ระยะสั้น ทำงานรวยเร็วอยากทำ ถ้าให้รอคอยผลประโยชน์อีก 20 ปีอาจยาก สิ่งนี้คือวิธีคิดคนรุ่นใหม่

หลักสูตร เป็นแบบนี้

ระบบการศึกษา เป็นลักษณะง่ายตรวจเร็ว

          มหาวิทยาลัย เป็นแบบจ่ายครบจบแน่  ทำให้สังคมมองมีปัญหามาก

          อาจารย์ มีคุณภาพเป็นที่สงสัย

          การแก้ปัญหา ได้นำ ม.44 มาเป็นการแก้ปัญหา แต่สิ่งที่ถามคือเป็นวิธีที่แก้ปัญหาที่ยั่งยืนหรือไม่ เราจึงต้องยืนอยู่บนขาตัวเอง การอยู่ในประเทศเรา เรารู้จักคนของเรา เราจะยอมให้เขามาชนะเราได้หรือ เราต้องวาง Position ตัวเองว่าเราจะเป็นอย่างไร ถ้าเป็นกระต่ายต้องเป็นกระต่ายที่วิ่งเร็วที่สุด แต่เป็นThe best ของกระต่าย ไม่ใช่เสือชีตาร์ การอยู่รอดต้องแข่งกับใคร จะสู้ได้แบบไหน ไม่ใช่ไปเป็นแบบคนอื่น ทุกคนจะมีคุณค่าของตัวเองให้หา Value ตรงนั้น บทบาทของมหาวิทยาลัยที่ไม่เหมือนเดิม คนเป็น Score ของทั่วโลก ได้พยายามเปรียบเทียบมหาวิทยาลัย A,B,C แต่อย่างไรก็ตามไม่สามารถเปรียบเทียบได้สมบูรณ์ เพราะแต่ละคนมีจุดอ่อน จุดแข็งต่างกัน เราต้องเข้าใจระบบการประเมินผล ไม่สามารถใช้ไม้บรรทัดอันเดียววัดได้หมด ยกตัวอย่างสิงคโปร์เป็นประเทศเล็ก ไม่ได้มีทรัพยากรที่หลากหลาย เลยเลือกลงทุนทางการศึกษาอย่างเดียว  แต่คนไทยมีความหลากหลาย อะลุ่มอล่วย  คนไทยมีความว้าว ให้ดูว่าอะไรที่เป็นคุณค่าของเราดีที่สุดให้นึกถึงคุณค่าของเรา เราต้องเข้าใจให้เห็นถึงปัญหา

          บทบาทของมหาวิทยาลัย ชาร์ล ดาร์วินบอกว่าคนที่อยู่รอดไม่ใช่คนที่แข็งแกร่งที่สุด แต่เป็นคนที่ปรับตัว เราจะรองบประมาณภาครัฐ หรือทำของเราเอง ถ้าช่วยกัน มีหัวใจเดียวกน ขับเคลื่อนประเทศใช้คนไม่เยอะ ต้องร่วมพลังจริง ๆ ข้าราชการแข็งแกร่งคนเดียวไม่เพียงพอ  อยากให้มีกำลังใจในการปรับตัว

ปรับตัวอย่างไร

          ผู้เรียน – คนที่มีความคิดเราให้เรามาเป็นอาจารย์ในวันนี้ ไม่ได้เกิดจากการจ้ำจี้จ้ำไชในการให้เป็นอาจารย์ แต่เกิดจากสปิริต ในการคิดของตัวเองที่จะสร้าง Contribution ให้กับสังคม

          สิ่งที่อยู่ในมือเราคือ หลักสูตร อาจารย์ มหาวิทยาลัย

          Mission คือ ต้องสร้างคน สร้างองค์ความรู้ สร้างจิตสำนึกให้สังคม

ความรวยไม่ใช่การอิ่ม แต่การอิ่มคือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ สิ่งนี้คือหน้าที่ในมหาวิทยาลัย

          ในหลวง ร.9 ให้ทุนอานันทมหิดล ตอนจบปริญญาตรีเนื่องจากให้เด็กมีเวลารับรู้ถึงปัญหาของประเทศก่อนว่าปัญหาของประเทศคืออะไร เป็นสัญญาใจให้ผู้ที่ได้รับทุนกลับมาทำประโยชน์ให้กับประเทศ ให้เวลา 2 ชั่วโมงในการฟอร์มความคิด และให้องคมนตรีเกษม ติดตามเด็กที่ได้รับทุน สิ่งนี้เป็นการปลูกการสร้างจิตสำนึกให้กับเด็ก

          1. สร้างคน – ต้องสร้างให้เป็น Active Class  และเป็น Life Long Learning  ยกตัวอย่าง ให้นักศึกษาไปค้นคว้าความรู้นอกห้อง มีการสร้างเกมส์ คิดโปรแกรมทีอยากเรียน แล้วให้มีการติดตามและให้ Feedback ควบคุม Outcome ตามคุณภาพที่ให้ไว้

          พบว่า คนส่วนใหญ่อ่านหนังสือแล้วลืม จึงคิดวิธีคือ อ่านหนังสือแล้วเล่าต่อ การทำให้เด็กติดตราตรึงคือให้เล่าหรือเขียน เพราะการอ่านการฟังคือ Passive แต่การพูดหรือการเขียนคือ Active เพราะเมื่อไหร่เด็กได้ถ่ายทอดคือตัวเขา บางเรื่องไม่ใช่เรื่อง Content แต่เป็นเรื่องที่เป็นประสบการณ์ที่ทำให้เด็กเกิดประสบการณ์ไม่มีวันลืม สิ่งเหล่านี้จะสามารถนำไปใช้ได้ชั่วชีวิต ยกตัวอย่างที่เดนมาร์ก โรงเรียนที่ดีที่สุดคือโรงเรียนใกล้บ้าน ดังนั้นการคัดเลือกอาจารย์จึงเป็นสิ่งที่ยากมาก และต้องคัดครูที่เก่งมาก เป็นลักษณะการเรียนจากของจริง อย่างที่สิงคโปร์ ต้องมีครูจริง เรียนจริง ต้องอยากเรียนจริง ครูต้องรู้จริง นำคนที่ปฎิบัติมาก่อน ส่วนของไทยต้องเป็นการพยายามให้รู้มากกว่าเรียน เช่น ดรุณสิกขาลัย ได้มีการให้เด็กไปเรียนข้างนอกแล้วมาเล่าในห้องเรียน สิ่งที่พบคือจะทำให้เด็กโตเร็ว

          สรุปคือ ในเรื่อง Active นี้เป็น Skill อย่างไอน์สไตล์คิดเหมือนกันว่าถ้าหยุดการเรียนรู้เสมือนตายไปแล้ว

          ทักษะ เด็กรุ่นใหม่ต้องมีทักษะอะไรบ้าง มีการทำวิจัยพบว่าในศตวรรษหน้าว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ

-  Communication เรื่องการสื่อสาร

          -  Collaboration ต้องรู้วิชาชีวิต วิชาคุณธรรม จริยธรรม เด็กต้องหนากับสื่อแต่ต้องบางกว่าคุณธรรม ความรู้ที่ดีต้องมีคุณธรรมคุมเสมอ ถ้าคุมไม่ได้ ความรู้นั้นจะเป็นสิ่งที่ร้ายกาจเสมอ ความคิดที่ดี ความรู้ที่ดีจึงต้องมีคุณธรรมกำกับถึงไม่ให้เกิดการทำลาย

          - Critical Thinking

          - Creativity  = Experience + Commitment เราต้องรู้วิธีดึงคุณค่านั้นออกมาให้ได้ Commitment คือสิ่งที่เราวางเป้าหมายว่าจะทำ เป็นประสบการณ์และความมุ่งมั่น เป็นฝันที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง เราต้องมี Commitment ทีใหญ่ หมายถึงเรามี Commitment กับอะไรบ้าง อย่างเด็กต้องมี Commitment สิ่งนี้คือคุณค่า ชีวิตเราต้อง Set ตัวเอง ถ้าไม่มีการมุ่งมั่นหรือ Set ตัวเองจะยาก

          Commitment is what transforms a promise into reality

          การเป็นครูไม่สามารถบอกได้ว่าต้องทำอย่างไร A,B,C แต่เราต้องกระตุ้น เช่นเดียวกันเราต้องมีครูประจำใจคือความอยากให้ เป็นฐานของจิตที่ดี ที่สร้างให้เกิดประโยชน์ได้ และเด็กที่ค้นหาตัวเองเจอแล้วให้ปล่อยเขาได้เลย สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องการใส่ Input เท่าไหร่ แล้วได้ Output เท่านั้น แต่เป็นเรื่องการตกตะกอน วิเคราะห์ เราไม่รู้ว่าสิ่งที่ให้เด็กไปเขาได้อะไร การเป็นครูที่ดีคือการให้ Process กับเด็กแล้วให้เขาไปพัฒนาให้เขาเป็น AI ด้วยตัวเขาเอง

          ท่านอาจารย์ประยุตต์ ปยุตโต กล่าวว่า ถ้าสอนเด็กให้ใฝ่รู้สู้สิ่งยาก ซื่อสัตย์ รักในงานที่ทำ เราต้องสร้าง Software ให้แก่เด็ก สร้างองค์ความรู้  ในโลกปัจจุบันการออกแบบหลักสูตรส่วนใหญ่มองในมุม ๆ เดียว แต่โลกในปัจจุบันเราต้องหา Partnership ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้มี Option มากขึ้น ชาวบ้านหลาย ๆ คนเป็นปราชญ์ อาจารย์หมอประเวศกล่าวว่า สิ่งที่กั้นเจ้าชายสิทธิถัตถะในการตรัสรู้คือกำแพงวัง สิ่งที่ทำให้ตรัสรู้คือการออกนอกกำแพงวัง เช่นเดียวกับการให้เด็กสัมผัสกับโลกภายนอก จะทำให้เด็กติดตราตรึงใจในการสัมผัสกับโลกภายนอก เป็นแรงบันดาลใจที่จะให้เด็กทำอยากทำอะไร

การสร้างองค์ความรู้

1. Transdisciplinary – ยกตัวอย่างที่ Duck ให้อาจารย์สอนระหว่างคณะแล้วให้ชุมชนสะท้อนสิ่งที่เด็กทำ เพื่อต้องการให้เด็กเข้าใจจริง ๆ ว่าสิ่งที่เด็กทำมีผลกระทบอะไรกับสังคม สิ่งที่คิดต้องใช้สิ่งที่เด็กเรียน เราวาง Positioning อย่างไร เราต้องวางให้ Serve Goal อย่างนั้น แล้วสถาบันจะเป็นตัวสร้างความเข้าใจกับชุมชนเหล่านั้น

          อย่างไรก็ตามการเป็นนักวิทยาศาสตร์จะดีไม่ได้ ถ้าไม่เข้าใจประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ จิตวิทยา เพราะเป็นการเข้าใจซึ่งกันและกัน การขับเคลื่อนจะเป็นการขับเคลื่อนที่ยากที่สุด ยิ่งองค์กรไหนฝังรากลึกนานยิ่งยาก การเปลี่ยนคนต้องใช้ระยะเวลา 1 Generation ยกตัวอย่างว่าทำไมรามาธิบดีตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าศิริราช ส่วนหนึ่งเพราะอายุน้อยกว่าศิริราช

          ทำไมเมืองจีน Alibaba ถึงให้สินเชื่อ SMEs ได้เร็ว สามารถใช้ Transaction ต่าง ๆ วิเคราะห์สินเชื่อ เราพัฒนามาก่อนประเทศจีน แต่การพัฒนามาก่อนทำให้เรา Move ช้า สิ่งนี้เป็น Infrastructure ที่ Move ยาก และพอมีผู้นำที่ Active จะทำให้ Move เร็ว Alibaba จึงตอบโจทย์

2. Interdisciplinary

3. Multidisciplinary

4. Disciplinary

 

คำถาม

          สังคมที่เกิดก่อนแต่สังคมจะดำรงอยู่จะทำให้สังคมนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงเร็ว

          ตอบ ทุกประเทศเก่งสร้าง ไม่เก่งยุบ เสมือนเป็นโครงสร้างหนึ่ง แม้อายุมากอย่างไร แต่ทุกครั้งของประเทศหรือองค์กรจะมี Young Blood ที่จะคอยกระแทกให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่พลังเหล่านั้นเพียงพอหรือไม่ ต้องอาศัยความอดทน อย่างเรื่องการศึกษาพูดมาหลายร้อยปี แต่ถ้าไม่หยุดที่จะเปลี่ยนหรืออดทนอาจเปลี่ยนได้แต่อาจไม่ได้ในยุค Generation เราก็ได้

          ยกตัวอย่าง ในหลวงรัชกาลที่ 9  ตรัสว่าท่านทราบว่าคนไทยมีปัญหาคือ Silo เป็นสรณะ สำคัญที่สุดคือหัดทำใจให้กว้าง หนักแน่นในเป้าหมาย รู้จักฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ รับฟังอย่างชาญฉลาด เพราะการรับฟังอย่างชาญฉลาดคือการนำมาพัฒนาปรับปรุงให้งานสำเร็จ เช่นภาคเกษตร นั้นรวมหลายศาสตร์ ต้องเผชิญความหลากหลาย ทั้งเรื่องธรรมชาติที่ควบคุมไม่ได้ เรื่องชาวบ้าน เรื่องคนรู้ที่รู้น้อยมีการฝังหัวมาก การทำงานหมายถึงว่าท่านต้องรู้จักชีวิตของแต่ละคน ท่านต้องออกไปสำรวจด้วยตัวเอง สมัยก่อนลูกศิษย์น้อยอาจารย์มาก อาจารย์ใส่ใจเด็ก รู้ว่าใครลูกใคร เป็นความใกล้ชิด แต่สมัยนี้อาจเปลี่ยนไปมาก ดังนั้นการเป็นมหาวิทยาลัยต่างจังหวัดมีจุดแข็งของเรา ไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร และจะสร้างคุณค่าอะไรให้กับสังคม ม.อ.อยู่ในจุดที่ Powerful ที่สุดที่ไม่มีอะไรสร้างได้เท่าการศึกษาอีกแล้ว สิ่งนี้คือสปิริตของอาจารย์

          ตลอดหลายพันปี สถาบันที่อยู่ยงคงกระพันมากที่สุดคือศาสนา ตามมาด้วยมหาวิทยาลัย เนื่องจากมหาวิทยาลัยเป็นสถาบันที่รวมผู้รู้มากที่สุด ในประวัติศาสตร์ ทุกมหาวิทยาลัยคนที่เป็นครูอาจารย์จะอ่านหนังสือก่อนคนอื่น รู้การเปลี่ยนแปลงก่อนคนอื่น แต่ในปัจจุบันมีเรื่องการแข่งขัน เราต้องการได้กะทิน้ำหนึ่งมา เราสามารถฟูมฟักเด็กที่เป็นกะทิน้ำสอง น้ำสามเป็นกะทิที่มีคุณค่าได้ จะเป็นไปได้อย่างไรที่มหาวิทยาลัยจ่ายครบจบแน่มาแข่งกับมหาวิทยาลัยที่มีแบรนด์ เราต้องวาง Positioning แค่ไหน เราเชื่อว่ามีมหาวิทยาลัยที่ไป แต่แน่ใจว่าไม่ใช่ ม.อ.

          ประเทศไทยมีปัญหามากมายให้เลือกว่าจะทำจุดไหน เช่นเรื่องมาตรฐาน  ความเหลื่อมล้ำ ผู้สูงอายุ ความไม่สงบในภาคใต้ ฯลฯ แต่สิ่งที่ม.อ.ทำเรื่อง Competitiveness อาจล้าหลังคนอื่นเขา เช่น ม.อ.วางเรื่องตัวเชือมสร้างความสงบ มีปัญหาชุมชนของเราทำให้ดี เราไม่จำเป็นต้องผลิตเด็กมาเป็นราชการ แต่ต้องผลิตเด็กให้มี Software มีเมล็ดพันธุ์ที่ดี สามารถเลือกเส้นทางของตัวเอง มี AI ของตัวเอง และสิ่งเหล่านี้จะสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน ที่พบคือ ม.อ.เดินมาถูกทางมาก อย่างเรื่องการให้ความสำคัญในการช่วยสิ่งแวดล้อมในกระบี่ การวางความสำคัญเรื่องท่องเที่ยว เรื่อง Green จะทำอย่างไรให้ด้ามขวานทองอยู่ได้อย่างสิ่งที่เป็นดังพระราชปณิธานของพระบรมมหาราชชนก ดังนั้นการสร้าง Trust จะทำอย่างไรให้คนในชุมชนเชือมั่นและสร้างความต่อเนื่อง สิ่งนี้ต้องอาศัยความสม่ำเสมอ เน้นการทำให้มีผลต่อประชาชนทั่วไป และสุดท้ายจะทำให้คนไม่ลืม ม.อ. แต่อย่างไรก็ตามสิ่งนี้จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อผู้นำมี Leadership และอาจารย์ต้องมีภาวะผู้นำ เปิดรับสิ่งใหม่ ๆ หวังดีกับเด็ก ๆ มี Commitment ในการทำให้ ม.อ.ก้าวไปข้างหน้า

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          Session นี้ต้องกระทบต่อการศึกษาที่เป็น Relevance ของ ม.อ. การใช้ปัญญาต้องปะทะกันทางปัญญา

          สิ่งที่ดูงานในครั้งนี้ต้องมาสังเคราะห์ว่าคืออะไรให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน  ให้รู้ว่าขั้นต่อไปจะทำอะไร ให้หาประเด็นที่ร่วมกัน ม.อ.ในอนาคตที่เปลี่ยนไปจะเป็นอย่างไร

          6 Thinking Hats ถ้ามีชีวิตต่อไปอีก 10 ปี โอกาสที่มาสอนจะเป็นอย่างไร คนที่มีปัญหาจริง ๆ ไม่เคยแสดงความคิดเห็นในการแก้ปัญหา ทั้ง ๆ ที่มีคนหวังดีต่อ กทม.จำนวนมาก

          Peter Drucker บอกว่าเป็น Aspiration ไม่ใช่ Inspiration คือ อยากรู้ว่าจะทำอะไร เช่นเดียวกับการเรียนถ้า Relate กับ Reality จะไม่น่าเบื่อ เพราะเป็นการนำไปใช้จริง ถ้าเรารักการอ่านหนังสือจะทำให้เขาอยากเรียน แต่ปัญหาของเด็กปัจจุบัน อาจารย์ต้องถามก่อนว่า Aspiration คืออะไร สาขาวิชาใดที่เขาอยากทำ

 


<p>การร่วมแสดงความคิดเห็น </p>

1. ในมุมมองของประเทศไทยที่ยังไม่เจริญสักที มีสาเหตุอะไรที่สำคัญ

          ตอบ 1. ประเทศไทยไม่อยู่ในวัฒนธรรมการใฝ่รู้สู้สิ่งยาก 2. ทุกคนมาแล้วไป เช่นนายกรัฐมนตรี พรรคการเมืองมาแล้วไป ทำให้ไม่มี Commitment ทุกคนมอง Incentive เป็นที่ตั้ง เช่นถ้า Incentive มาล่อคนออกจาก Commitment เราอยากเจริญแค่ไหนขึ้นอยู่กับตัวเรา ไม่ต้องรอคนอื่น ให้หลายท่านกลับไปคิดว่าอยากมีชีวิตหลังเกษียณอย่างไร เราจะภูมิใจอย่างไร จะตอบลูกหลานอย่างไร ให้ตอบโจทย์ใหญ่ในชีวิตของคนเรา ชีวิตสุดท้ายก่อนที่เราจะตายคืออะไร ให้มองจุดนั้นแล้วเชื่อมโยงกับเรา

          เมื่อโลกซับซ้อน องค์กรซับซ้อน เราทำงานคนเดียวไม่ได้ ทุกอย่างมีความเกี่ยวเนื่องกัน เรามองแบบแยกส่วนไม่ได้ เป็นตัวอย่างที่ประเทศในโลกว่าเขาคิดอย่างไร ม.อ. จะวาง Positioning อย่างไรที่ไป Serve เป้าหมายที่เราต้องการ จะมียุทธศาสตร์อย่างไร

 

2. ใน Positioning ของแบงค์ชาติที่จะวาง Positioning Thailand 4.0 คืออะไร

          ตอบ คำว่า 4.0 เป็นเสมือน Gimmick ที่ต้องยอมรับความเป็นเลิศในสิ่งนี้ ต้องการพัฒนาให้เป็น The Best อย่างไรทุกคนมี Beauty ที่เป็น X.O เท่านั้น

 

3. ได้รับประสบการณ์และแนวคิดในการศึกษาอย่างมาก

          ตอบ รู้อยู่บ้างว่า มหาวิทยาลัยมีปัญหาของมหาวิทยาลัย หลายอย่างเป็นสิ่งที่อาจารย์ทราบอยู่แล้ว

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          เห็นการเตรียมตัวของวิทยากรดีมาก มีการอ่านหนังสือและฟังเยอะมากและสามารถมาคัดกรองในการเล่าให้ฟัง สามารถดึงมาใช้ได้

          ทำไมฟังสถานการณ์โลกแล้วไม่เบื่อ เพราะเล่าอย่างสนุก และวิธีการถ่ายทอดที่ดี

          การก้าวข้ามอุปสรรค มีการวางแผน วางภาพดี ทำให้การบรรยายง่าย

          การเล่าแบบนิเวศวิทยา คือมีชัยภูมิ สมรภูมิ คน สิ่งแวดล้อม


วันที่ 10 สิงหาคม 2560


วิชาที่ 32   ศึกษาดูงานที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 

ศึกษาดูงาน ณ อาคารเคเอกซ์ 


ชมวีดิทัศน์เกี่ยวกับอาคาร KX

อาคาร KX เริ่มก่อตั้งเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา เกิดจากการตั้งคำถามว่า การเรียนรู้นั้นมีความจำเป็นหรือไม่ที่ต้องเรียนรู้ภายในห้องเรียน  ในบ้านเรา ยังขาดพื้นที่ที่สามารถจะทำให้คนมีความหลากหลาย Professional และความคิดที่แตกต่างกันได้มีโอกาสมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิด เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการสร้างอาคารสำนักงานแล้วเปิดให้ผู้เช่าเข้ามาเช่าทำธุรกิจ แต่อาคารนี้มีหน้าที่รวบรวมองค์ความรู้จากคนหลากหลายวิชาชีพให้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น

ทาง Knowledge Exchange for Innovation Center ได้เล็งเห็นว่า กิจการ SMEs ที่เป็นฐานรากที่สำคัญของเศรษฐกิจทางด้านการผลิตและการจ้างงานของประเทศมีปัญหาและข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งความรู้ เทคโนโลยีและการพัฒนาสมรรถนะเพื่อให้สามารถแข่งขันและสร้างนวัตกรรมได้ จึงได้เสนอให้ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันวิชาการ รวมทั้งกิจการขนาดใหญ่ทั้งในและต่างประเทศและ SMEs มาทำงานร่วมกันที่KMUTT Knowledge Exchange for Innovation Center เพื่อให้ความรู้และพัฒนาสมรรถนะให้สามารถสร้างนวัตกรรม และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

KX มีหลัก 3 เสาสำหรับการพัฒนา ประกอบด้วย ภาควิชาการ ภาคธุรกิจเอกชน และภาครัฐมาทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศ ที่ KX รวม 3 สิ่งนี้เข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างยั่งยืน

KX ต้องการต่อยอดงานบริการทางวิชาการและงานวิจัยของมจธ.เพื่อให้เกิดประสิทธิผลต่อการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีสำหรับภาคการผลิตของประเทศอย่างสูงสุด ทั้งยังเป็นศูนย์กลางให้ทุกภาคส่วนได้มาพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สร้างองค์ความรู้ ต่อยอดองค์ความรู้และร่วมกันคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

พื้นที่ 20 ไร่ของอาคาร KX ประกอบด้วย

1.Maker Space สำหรับการพัฒนาอาชีพใหม่

2.Co-working space สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ที่ต้องการพัฒนากิจการของตนเอง

3.ห้องประชุมสำหรับ SMEs พบปะพูดคุยกัน

4.กิจการเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการออกแบบ

5.สำนักงานหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน SMEs

6.พื้นที่นำเสนอและจัดแสดงผลงานด้านนวัตกรรม

7.สำนักงานสถาบันวิจัยนโยบายและยุทธศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม

อาคาร KX ต้องการให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นของตนเอง โดยมีเป้าหมายส่งเสริม SMEs ทั้งรายเก่าและรายใหม่ให้มีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีที่ทัดเทียมและแข่งขันได้ สามารถสร้างนวัตกรรมที่เป็นของตนเอง สร้างผลผลิตที่มีมูลค่าสูง สามารถต่อยอดและพัฒนาธุรกิจของตนเองให้แข็งแรงและเติบโตอย่างมั่นคง ส่งผลให้ประเทศพ้นภาวะความเปราะบางของความเป็นประเทศรายได้ปานกลาง

บรรยาย โดย อาจารย์วรรณภพ กล่อมเกลี้ยง ผู้บริหารอาคารเคเอกซ์

ม.อ.ก็คุ้นเคยมจธ. อาจารย์วรรณภพ กล่อมเกลี้ยง เคยทำงานด้านอุตสาหกรรม และได้รู้จักผศ.คำรณ พิทักษ์ แล้วมจธ.ก็คณะที่ไปที่ม.อ.เรื่อยๆ

มจธ.ตั้งใจสร้างอาคารนี้เพื่อช่วยสร้างความเข้มแข็งให้ประเทศ

อาคาร KX มี 3 ส่วนคือ

1.ส่วนกายภาพ คือ อาคาร

2.Staff ทำงานอย่างไรในอาคาร

3.กิจกรรมที่เกิดขึ้นในอาคาร

อาคาร KX มีจุดประสงค์จะให้เป็น Platform สถานที่ หรือชานชาลา เพราะติดสถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ อาคาร KX เป็น Platform ที่นำความรู้ในมหาวิทยาลัยมาทำประโยชน์สร้างอุตสาหกรรมให้แข็งแรง

ความรู้นี้ยังรวมถึงความรู้ที่มาจากมหาวิทยาลัยอื่นที่เป็นพันธมิตรกับมจธ.ด้วย

อาคาร KX ไม่มีตรามหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยต่างๆ มาทำงานร่วมกันได้

ตั้งแต่แรกเริ่ม มจธ. มีแนวคิดในการก่อตั้งอาคาร KX เป็นอาคารเรียน เนื่องจาก มจธ.อยู่เข้าไปลึกตรงถนนประชาอุทิศ จึงต้องการสร้างอาคารในเมืองเพื่อเรียนและสอน แล้วแนวคิดเปลี่ยนตามความเปลี่ยนแปลง

รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดีมจธ. เห็นว่า มจธ.มีอาคารเรียนแล้ว จึงไม่ควรทำเป็นอาคารเรียน แต่ควรทำให้อาคาร KX เป็นพื้นที่ให้คนนอกเช่น ภาคเอกชนเข้ามานำความรู้ไปใช้พัฒนาขีดความสามารถ

ในการสร้างอาคาร KX ต้องสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem)  เพื่อให้เอื้อให้เกิดนวัตกรรม ซึ่งสิ่งใหม่ๆจะทำให้เกิดธุรกิจใหม่ได้

เมื่อมีแนวคิดนี้ ก็ต้องมีภาคอุตสาหกรรมมาอยู่ในอาคาร ปัจจุบัน ก็มีบริษัทใหญ่ เช่น เบทาโกร SCG มิตรผลมาร่วมทำงานด้วย มีบริษัทเล็กและกลาง รวมถึงบริษัทเกิดใหม่มาทำงานด้วย นอกจากนี้ ก็มีนักลงทุนมาลงทุนในบริษัทเหล่านี้ด้วย ก็จะมีที่ทำงานในนี้ด้วย ทำงานโดยส่งต่อกัน ในอาคาร มีงานด้าน Design ด้วย มีคนทำ design เพราะมีนวัตกรรม อาคารต้องหาผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเอกชน ขาดภาครัฐไม่ได้ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และกระทรวงศึกษาธิการเพราะต้องมาช่วย SMEs

KX ตั้งใจทำ 3 เรื่องต่อไปนี้

1.SMEs แข็งแรง เก่งขึ้น โตขึ้น สร้างคนมากขึ้น มีคนจ่ายภาษีมากขึ้น ประเทศรวยขึ้น

2.Start-up มจธ.มีงานวิจัยและนำองค์ความรู้มาสร้างนวัตกรรม

3.Maker Space สร้างนักประดิษฐ์ มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้สร้างผลงาน

อาคาร KX มี 20 ชั้น มีสถานที่จัดนิทรรศการ ห้องประชุมใหญ่สำหรับจัดงาน Event ใหญ่

ชั้น 6 เป็นสถานที่จัดนิทรรศการ จะมีงาน Trade Fair ให้ผู้ประกอบการมาซื้อสินค้า

ชั้น 7 เป็น Hall ใหญ่จัดงาน จุคนได้ 400 คน

ชั้น 8 เป็นสถานที่จัด Event

ชั้น 9 เป็น Canteen และ Banquet

ชั้น 10 มีห้องประชุม Meeting ใหญ่ จุได้ 200 คน และขนาดห้องแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน

ชั้น 12-14 มีพื้นที่ Co-working Space และ Office สำหรับ Startup และ Spin off อยู่

พื้นที่ใน KX ต้องการให้เกิด Exchanging Space

Startup ที่มีอยู่แบ่งเป็น Social Startup และ Tech Startup มจธ.ทำเรื่อง Tech Startup แต่ก็มี Social Startup ด้วย ถ้ามีพื้นที่ที่เอื้อให้ Social Startup และ Tech Startup รวมถึงธุรกิจอื่นเข้ามาหารือร่วมกันก็จะดี เช่น กรณีโรงพยาบาลโรคไตมีปัญหาการทิ้งถุงน้ำเกลือซึ่งมีปริมาณมาก แต่ฝั่ง Social Startup อาจเสนอวิธีการจัดการถุงน้ำเกลือทิ้งแต่ไม่รู้เทคโนโลยี อาจจะมีภาคธุรกิจสนใจทำเป็น Product ได้

ชั้น 12 มี Startup ต่างชาติอยู่ KX มีทั้ง Startup ไทยและต่างชาติจึงต้องการให้มี connection เชื่อมโยงกัน เช่น

Cinnamon Bridge ทำด้านอาหาร สามารถทำการตลาดอาหารไทยไปต่างประเทศ

FOMM เป็นบริษัทรถไฟฟ้าของญี่ปุ่น ต้องการอาศัยความสามารถไทยที่มีผู้ประกอบการเป็น Suppliers เพื่อมาตั้งฐานการผลิตในไทย

มีมหาวิทยาลัยญี่ปุ่น 3 แห่งมาทำงานร่วมด้วยในการแบ่งปันความรู้ต่างๆเกี่ยวกับ SMEs

บริษัท KCE ซึ่งมีบริษัทใหญ่ คือ เบทาโกร SCG มิตรผล และ ปตท. ร่วมหุ้นกันตั้งเพื่อทำงานช่วยภาคเอกชนด้าน Productivity

ชั้น 13 มี Hatch ซึ่งเป็นโปรแกรมของมจธเพื่อสร้างผู้ประกอบการที่เป็นนักศึกษา ค้นหา คัดเลือกนักศึกษาแล้วพัฒนาเป็นทีม Hatch กลายเป็น Startup

ชั้น 13 ยังมีสมาคมฟินเทคประเทศไทยก่อตั้งโดย นายกรณ์ จาติกวณิช คนสนใจทำธุรกิจสามารถมาปรึกษาสมาคมนี้ได้ สมาคมนี้มี  Sandbox ถ้าต้องการสร้างแอพซื้อขายบ้านออนไลน์ ต้องมีการเชื่อมต่อกับระบบธนาคารต่างๆ ก่อนที่มี Sandbox ต้องมีการเสียเงินไปทดสอบระบบ ทำให้ Startup โตยาก จึงตั้ง Sandbox ขึ้นมาโดยความร่วมมือ 6 ธนาคาร สมาชิก Sandbox สามารถใช้โดยไม่เสียเงิน เมื่อเป็นธุรกิจแล้ว ก้ต้องมีการชำระเงิน ตอนนี้มี 3 ทีมเข้ามาแล้ว

ชั้น 14 เป็น Spin off, Co-working space มีศูนย์ Big data รวบรวม data มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทำนาย เช่น ธุรกิจอาหาร มีอาหารบน Facebook คนกินถ่ายรูปแล้วแสดงความเห็น นำมาสังเคราะห์เป็นข้อมูลจากผู้บริโภค เหมือนเวลาเปิด Facebook มีโฆษณา ถ้าคลิกเรื่องหนึ่ง จะมีเรื่องนั้นขึ้นมาอีกในครั้งต่อไป เป็นการระบุความชอบ แล้วจะมีสินค้าตามความชอบปรากฏขึ้นมา

นอกจากนี้ชั้น 14 ยังมีเบทาโกร  มี Krista เป็นบริษัทซื้อสารสกัดที่มาจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมาทำเครื่องสำอาง บริษัท Delta เครื่องไฟฟ้า

ชั้น 15 มี Design Hub  มี Redex ทำ product design และ branding และบริษัท Jacob Jensen สัญชาติเดนมาร์ก ร่วมมือกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์พัฒนานักศึกษา

ชั้น 17-18 เป็น SMEs Community มีโปรแกรมให้ผู้ประกอบการนำความรู้ออกไปใช้โดยผ่านกิจกรรมและ Social Media

ชั้น Basement มี lab ซึ่งเป็นความร่วมมือกับสถาบันไฟฟ้าอิเลคทรอนิกส์

KX มี Accelerator Program ที่นำโมเดลบริษัทต่างๆ มาพัฒนา Startup นอกจากนี้ก็มี SMEs Market สำหรับนำผลงานไปขาย

ช่วงถาม-ตอบ

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

1.นักศึกษารวมกลุ่มเป็น Startup แล้วเงินทุนมาจากที่ใด เชื่อมโยงการศึกษาอย่างไร

2.งานวิจัยที่เกิดขึ้นเป็นของใคร ถ้าขายได้แบ่งเงินกันอย่างไร

3.มีการติดตามงานวิจัยอย่างไร

ตอบ

ข้อมูลใน Social Media อยู่ในอากาศ มีทั้งข้อมูลที่ใช้ได้และใช้ไม่ได้ บางเรื่องเป็นของส่วนตัวก็ใช้ไม่ได้ มีการรักษาความปลอดภัยอยู่ในระบบด้วย

ถ้าอาจารย์มจธ.ทำงานกับภาคเอกชน แล้วมีงานวิจัยเกิดขึ้น มหาวิทยาลัยมีหน่วยดูแลเรื่องนี้ ถ้ามีความรู้เกิดจากอาจารย์ 100% บริษัททำหน้าที่แค่อำนวยความสะดวกและให้ทุน ดังนั้นทรัพย์สินทางปัญญาจะเป็นของมหาวิทยาลัยแต่ให้สิทธิเอกชนในการใช้ได้

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

ที่สวีเดน มีข้อกำหนดว่า งานวิจัยเป็นของอาจารย์ กฎของมจธ.เป็นอย่างไร

ตอบ

ถ้าอาจารย์ทำผลงาน ผลงานนั้นจะเป็นของมหาวิทยาลัย ถ้าผลงานสามารถออกไปทำเป็นเชิงธุรกิจได้ มีกฎในการแบ่งรายได้ให้อาจารย์ประมาณ 60%

ส่วน Startup มหาวิทยาลัยไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่มหาวิทยาลัยขอมีหุ้น 15% เมื่อธุรกิจโต ก็แบ่งกำไรให้มหาวิทยาลัย ถ้ามีการใช้ lab มหาวิทยาลัยก็อุดหนุนให้ด้วย มหาวิทยาลัยอาจไม่ได้ให้ทุนโดยตรง แต่ก็อนุญาตให้ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา หรือนำอาจารย์ไปช่วยทำงานได้ มหาวิทยาลัยก็นำกลุ่ม Startup เหล่านี้ไปพบหน่วยงานที่งบประมาณไปนำเสนอเพื่อนำทุนมาพัฒนา

ถาม

จากการฟังอาจารย์พงษ์ชัย และวันนี้จะได้เชื่อมโยง มองว่า นวัตกรรมที่เป็นองค์ประกอบด้านสังคม การศึกษา การสื่อสารสันติภาพความขัดแย้ง ควรมีรูปแบบใด วัฒนธรรมไทยอาจลำบากในการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม มีวิธีการจัดการพัฒนาคนเพื่อรองรับเรื่องพวกนี้อย่างไร

ตอบ

สร้างออกซิเจนทีมมี staff 18 คนประกอบด้วยวิศวะ วิทยาศาสตร์และการตลาด เป็นทีมที่ช่วยให้ไฟติด ทำให้คนต่างๆมาทำงานร่วมกันได้แล้วส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม พยายามเชื่อมมหาวิทยาลัยกับธุรกิจ

อาคาร KX เปิดมาเป็นเวลาปีกว่า ทยอยเปิดทีละชั้น ทีมพวกนี้ต้องถูกฝึกหลายอย่าง  ทีมต้องได้รับการฝึก soft skill ด้วย เช่น convince จับประเด็นได้ เมื่อปีที่แล้วมีภาคธุรกิจมาทำงานหลายธุรกิจ มีออกซิเจนทีมดูแล port ว่าแต่ละหน่วยต้องการอะไร ออกซิเจนทีมทำหน้าที่ทำให้สองฝ่ายมาพบกันทั้งตั้งใจและบังเอิญ จึงตั้งเป็นบริษัทใหม่ ประกอบด้วยบริษัท อาหาร automation และ paper sheet นอกจากนี้ทีมก็ไป site visit ตรวจสุขภาพบริษัทแล้วจ่ายยาให้ โดยนำอาจารย์แต่ละด้านไปช่วยรักษา กลายเป็นโครงการ มีการนำอาจารย์และนักศึกษาไปทำงาน มีทุนจากภาครัฐ มหาวิทยาลัยดูกฎแล้วนำทุนไปช่วย SMEs

 

ถาม

กระบวนการน่าสนใจ KX มีการบูรณาการอาจารย์และนักวิจัยในมหาวิทยาลัย KX ทำให้เกิด startup อาจเป็นกลไกหนึ่งที่นำไปสู่ Worldclass หรือไม่

ตอบ

เมื่อมหาวิทยาลัยทำเรื่องนี้ ranking ขยับ

กลไกนี้ มหาวิทยาลัยก็พยายามชักชวนอาจารย์และนักศึกษาไปทำงานให้ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น

 

ถาม

กลไกติดตาม Startup เป็นอย่างไร KX จะเติมพลังให้ถึงเป้าหมายอย่างไร

ตอบ

จะดูว่า ใน 2 ปี ถ้าไม่โต ก็จะให้ออก แล้วจะให้รายใหม่เข้ามา เมื่อโต ก็ขึ้นไปชั้น 17-18

มีกลไกไปดู เช่น ขายของได้มากขึ้น และจ้างงานมากขึ้นหรือไม่

 

ถาม

ถ้าเป็น startup อยากเริ่มธุรกิจ จะแบ่งค่าใช้จ่ายอย่างไร

ตอบ

SMEs เข้ามารับบริการได้เลยแบบไม่มีค่าใช้จ่าย

 

ถาม

ตอนที่เลือก startup เข้าระบบ มีส่วนน้อยสำเร็จ แต่ที่เหลือไม่สำเร็จ จะทำอย่างไรกับพวกที่ยังไม่สำเร็จ

ตอบ

Startup มี 2 แบบ ที่กล่าวถึงคือ พวกที่เป็น SMEs แล้ว ที่โตแล้วแต่อยากทำสิ่งที่ไม่ใช่ธุรกิจเดิม มีความสำเร็จสูงมาก แต่ต้องการเทคโนโลยีใหม่

อีกแบบคือ พวกที่มาจากเด็ก มีความคิดแต่ขาดสิ่งต่างๆ พวกนี้ต้องให้ทีมทำ อาจดึงมหาวิทยาลัยมาร่วมทำงานด้วย

 

ถาม

ทรัพยากรบุคคลจากข้างนอกเข้ามารับบริการ มีผู้เชี่ยวชาญเพียงพอมาช่วยหรือไม่

ตอบ

มีทำ database ใช้ความรู้จาก big data มีเว็บไซต์ของ KX ถ้ามีเอกชนเข้ามา ก็มีผู้เชี่ยวชาญมาช่วย

พยายามหาบริษัทที่มีปัญหาคล้ายกันมารวมกลุ่มกันแล้วใช้ผู้เชี่ยวชาญคนเดียวช่วย ก็ทำ social media ออกไป ก็ให้ติดต่อมาได้ ส่วนระบบ one on one ทำได้ไม่มาก ปีหนึ่งทำได้หลายโครงการ


ถาม

ในการทำ spin off สิ่งที่ยากคือการทำงานของอาจารย์ ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เวลาเจ้าหน้าที่คุยกับอาจารย์ อาจารย์มีอัตตามาก มจธ.มีวิธีสร้างแรงจูงใจอาจารย์หรือไม่

ตอบ

มจธ.อาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวรุ่นพี่รุ่นน้อง

สัปดาห์ที่แล้วไปคณะทรัพยากรชีวภาพ ก็ไปเล่าให้ฟังถึงความต้องการในอุตสาหกรรม โดยชวนอาจารย์เหล่านั้นไปช่วยแก้ปัญหา มีออกซิเจนทีมไปช่วยดูแลอาจารย์ มีการให้การสนับสนุนอำนวยความสะดวกทุกด้าน 


ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอขอบคุณอาจารย์พงษ์ชัยที่ทำให้มีโอกาสได้มาเยี่ยมที่นี่ เคยพาคนไปดูงานกับท่านพารณ

การที่มจธ.มีผู้บริหาร เข้าไปอยู่ในสถาบันวิทยาศาสตร์ เป็นการสนับสนุนงานพวกนี้อย่างไร

อยากเห็นโครงการ อยากสร้างแรงบันดาลใจให้มองม.อ.ไปในอนาคต และจะแนะนำอะไรในการสร้างความร่วมมือกันระหว่าง มจธ.กับม.อ. มจธ.อาจมองม.อ.ด้านทรัพยากรธรรมชาติ สังคมศาสตร์ Food

เมื่อร่วมมือกันต้องปรับตัวเข้าหากัน ใช้ปัญญาจากภายนอก

อาจารย์วรรณภพ กล่อมเกลี้ยง

การที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยไปอยู่หน่วยต่างๆในภาครัฐ ก็ช่วยในเรื่องนโยบาย ทำให้เกิดการปรับตัว เวลาทำงานต้องมีเพื่อน ถ้ารู้ทิศทาง ก็ทำให้ได้ผล

ความร่วมมือก็น่าสนใจมาก ดีใจที่คณะของม.อ.มาเยี่ยมชม เดิมมีความร่วมมือกับอาจารย์คำรณที่ม.อ.อยู่แล้ว แต่ก็ทำตามโอกาส

สิ่งที่ทำได้เลยคือ knowledge sharing อาจารย์ที่มีความรู้เป็นประโยชน์ก็มาช่วยได้ อาจใช้เทคโนโลยี VDO conference มจธ.ก็สนใจความเชี่ยวชาญม.อ.ด้วย

ในอนาคต อาจจะทำ casual discussion กลุ่มย่อย ใช้เทคโนโลยีพูดคุยซักถาม และอาจจะส่งไปให้ม.อ.ดู

อาจจะทำ Trade Fair เป็น supermarket นำงานวิจัยอาจารย์มาต่อยอด

ถ้าอาจารย์มีองค์ความรู้ แต่โจทย์อยู่ที่ภาคใต้ ก็จะไปถ่ายทอดองค์ความรู้แล้ว อาจารย์ม.อ.ก็ดูแลโครงการให้

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

วันนี้มาต้อนรับ แต่ให้ผู้บริหารตอบ

ในฐานะส่วนตัวที่ไปม.อ. พบว่า ม.อ.ก็มีทุกอย่างที่มจธ.มี

มจธ.มี 4 พื้นที่การศึกษา

บางขุนเทียนเป็นโรงงานต้นแบบ shop ใหญ่เหมาะกลุ่มอุตสาหกรรมหนึ่ง

ที่ราชบุรี ฟูมฟักนักศึกษาใหม่ปี 1-2 ให้เป็น sci-tech มีความสามารถ multiple skill ไปอยู่หอพักฟรี

KX เป็นแผน 2020  วิเคราะห์ว่า มจธ.ตอนนั้นยังไม่มี city campus แต่ทำต่างจากที่อื่น เมื่อทำไปแล้วเป็น Knowledge Exchange คนที่มาแลกเปลี่ยนไม่จำเป็นต้องเป็นคนมจธ. คล้ายกับการเกิดนวัตกรรมต้องเกิดจากหลายฝ่าย แต่ขั้นต้นต้องใช้คนในมากหน่อย

บางมด เป็นทัพใหญ่ บุคลากรที่มีความสามารถอยู่ที่บางมด ในอนาคตมหาวิทยาลัยต้องเป็นที่พึ่งของสังคม เอกชนต้องนำคนไปใช้ ถ้ามี linkage ก็พัฒนาอื่นๆได้

เป้าหมาย Startup เป็นแค่วิธีการทำให้นักศึกษามีความเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น

อาจจะทำเป็น project, program หรือ strategic partner

ม.อ.ก็มี platform อย่างนี้มาก แต่กระจุกตัวบางอุตสาหกรรม

แต่มจธ.มีโรงงานหลากหลายรูปแบบ อาจจะมีการแลกเปลี่ยนการใช้ platform ซึ่งกันและกัน

มจธ.อาจมีวิธีคิดที่ต่างไป ไม่นำเงินเป็นตัวตั้ง

KX เป็น investment ในอนาคต ก็เดินได้เอง

การศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี                             

ต้อนรับคณะและรับฟังการบรรยาย

เรื่อง    “การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีสู่ความเป็นเลิศ”

โดย     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ  คันธมานนท์     

รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร/

ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 

มจธ.มี Focus เป็น Science, Technology and Engineering จึงประกาศนโยบายเปิดสอนเฉพาะวิชาที่เกี่ยวข้องกับ Science, Technology and Engineering

มจธ.มีพื้นที่การศึกษาหลายแห่ง เพราะถ้าแบ่งเป็นวิทยาเขตจะควบคุมลำบาก จึงเป็นนโยบายให้ทุคณะทำงานทุกพื้นที่การศึกษา โดยแต่ละพื้นที่การศึกษาก็มี Focus ดังนี้

1.พื้นที่การศึกษาบางมด สร้างทุกอย่างจากธรรมชาติของมจธ. เน้น “Practical Excellence” ใช้มหาวิทยาลัยเป็นห้องทดลอง เมื่อทำเสร็จแล้ว จะนำไปขายที่ใดก็ได้เป็น “Academic Service”

2.พื้นที่การศึกษาบางขุนเทียน มี Focus ชัดเจนคือ Science and Industrial Park มุ่งทำงานเกี่ยวกับ Science and Industrial Park มีโรงงานผลิตยาชีวมวลต้นแบบให้ผู้ประกอบการมาตั้งเป็น Lab Scale เป็น Sharing Infrastructure มี Pilot Camp ความสามารถอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นของมจธ.คือความสามารถในการ Scale Up สิ่งที่เกิดใน lab นั้นสามารถจะนำมาขยาย Scale เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมได้ ซึ่งความสามารถนี้มาจาก Engineering Skill ตัวอย่างเช่น โรงงานผลิตยาชีวมวลต้นแบบ มจธ.ไม่มีคณะแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์ แต่มี Engineering Skill จึงใช้ความสามารถนี้สร้างโรงงานผลิตยาชีวมวลต้นแบบขึ้นมา ทำให้ได้โรงงานมาตรฐานที่หน่วยงานอื่นมาใช้ได้ในงาน Pilot Scale

อาจารย์ที่มจธ.เคยสอนว่า เวลาทำงาน อย่ามองแค่รั้วมจธ. แต่จงมองข้ามรั้วมจธ.แล้วไปถึงประเทศได้อะไร ถือเป็นมรดกตกทอดที่มจธ.พยายามปลูกฝังแก่คนรุ่นใหม่ว่า งานมจธ.ไม่ใช่แค่ขอบรั้วมหาวิทยาลัย แต่กว้างกว่าขอบรั้วมหาวิทยาลัย แม้ว่าโรงงานต่างๆจะดูเหมือนไม่เกี่ยวกับมจธ. แต่เกี่ยวข้องตรงที่ว่า ใช้ความสามารถด้าน Science and Technology ที่มีเพื่อทำให้เกิดขึ้นเพื่อไปเติมเต็มช่องว่างให้กับประเทศ โรงงานผลิตยาชีวมวลต้นแบบเป็นพันธมิตรกับโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทางมจธ.ก็มีความสามารถเรื่องนี้จึงไปช่วยคนที่ไม่สามารถทำเรื่องนี้ได้ เพราะมีสิ่งที่ต้องใช้เพื่อทำการทดลองต่อไป

พื้นที่การศึกษาทั้ง 2 แห่งนี้ต้องการเน้น Focus ด้าน High Impact Research

3.พื้นที่การศึกษาราชบุรี มจธ.มองว่า การสอน Engineering แบบเดิมที่เน้นทฤษฎีในห้องเรียนแต่ไม่มีการฝึกปฏิบัติอาจไม่ใช่การสอนในอนาคตอีกต่อไป มจธ.จึงนำนักศึกษาส่วนหนึ่งไปเรียนที่พื้นที่การศึกษาราชบุรี แล้วสอนเป็น Residential College นักศึกษาเรียนรู้อยู่ที่มหาวิทยาลัยและอยู่ร่วมกันกับชุมชน มีการนำ Liberal Arts เข้าไปผสมผสาน มีการทำงานกับชุมชนมากขึ้น ผ่านไปได้ 4 ปีแล้ว ได้บทเรียนมาก ปีหน้ากำลังจะปรับโมเดลใหม่

4.อาคาร KX เนื่องจากตอนนี้ SMEs อ่อนแอ มีผลกระทบต่อบริษัทใหญ่ที่มี SMEs เหล่านี้เป็น Supply Chain บริษัทเหล่านี้จึงมาหารือกับมจธ.เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของ SMEs พบว่า มีความรู้มากมายเรียกว่า Knowledge Providers ม.อ.ก็เป็นพันธมิตรของมจธ.ทำงานร่วมกันในเรื่องนี้ ส่วน SMEs เป็น Knowledge Consumers มจธ.จึงทำให้ Knowledge Providers และ Knowledge Consumers มาพบกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ค้นหาว่าคนเก่งอยู่ที่ใด แล้วไปทำต่อ KX เป็นหน่วยงานส่วนหน้าของมจธ.ที่เอื้อมมือเข้าไปให้ถึงอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรากหญ้า  

            เมื่อเป็นสมาชิก KX ก็จะได้รับโอกาสในการเข้าถึงเครื่องมือและความรู้ของมจธ. เป็นการสร้างผู้ประกอบการายใหม่และเศรษฐกิจใหม่ให้กับประเทศ หลายองค์กรชอบความคิดนี้ KX จะกลายเป็น Sandbox ให้ธุรกิจใหม่ที่ล่อแหลมต่อกฎหมาย เช่น สมาคมฟินเทคสามารถนำระบบมาทดลองก่อนนำไปใช้จริงได้

          มีคนนอกบริจาคเงินสร้าง Holding Company และมูลนิธิให้มจธ. ถ้ามีรายได้จาก Startup ผู้บริหารไม่สามารถจะอ้างสิทธิ์จากการเติบโตของ Startup แต่จะต้องส่งรายได้เข้ากองทุนวิจัยของมหาวิทยาลัย

          วิวัฒนาการของมจธ.

ช่วงแรก “วิทยาลัย เทคนิคธนบุรี” (พ.ศ. 2503-2514) วิทยาลัยเทคนิคแห่งแรก ในประเทศที่ผลิตช่างเทคนิคจากผู้จบชั้นสูงสุดสายสามัญ เป็นช่างเทคนิคที่มี Hands-on skill

ช่วงที่สอง “สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี” (พ.ศ. 2514-2529) ที่ได้รวมวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี กับวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ และวิทยาลัยเทคนิคโทรคมนาคม สู่การเป็นสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นกรมในทบวงมหาวิทยาลัย

เป็นช่วงที่เริ่มเป็น Implementer แบบ Multidisciplinary ในศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับวิศวกรรมศาสตร์ เริ่มมีการลงทุน Human Capital ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร เริ่มให้มีการวางแผนกำลังคนครั้งแรก มีการกำหนดจำนวนบุคลากรในแต่ละสาขาเพื่อส่งไปเรียนต่างประเทศ โดยเน้นสาขาที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ บางครั้งสาขาที่เกิดขึ้นเกิดจาก by design คือโดยการวางแผนกำลังคนว่ามหาวิทยาลัยต้องการเก่งเรื่องใดแล้วส่งคนไปเรียนในสาขานั้น

ช่วงที่สาม“สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี” (พ.ศ. 2529-2541) เป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นกรมในทบวงมหาวิทยาลัย เป็น System Integrator รวมเทคโนโลยีต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน โรงงานผลิตยาชีวมวลเป็นระบบที่ประกอบด้วย  System Engineer, Safety Management มีการทำงานข้ามสาขา (Interdisciplinary) เป็น Full System ที่สามารถเป็นห้องเรียนให้กับนักศึกษาได้ ถือเป็นจุดแข็งของมจธ.

ทำให้เกิดหลักสูตรข้ามสาขาคือ Bio-Informatic ที่เกิดจากการข้ามสาขาระหว่างสาขาคอมพิวเตอร์กับคณะทรัพยากรชีวภาพ

ช่วงที่สี่ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี” (พ.ศ. 2541-ปัจจุบัน) การปรับสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล ซึ่งถือเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง ไม่เพียงแต่ภายใน มจธ. เท่านั้น แต่ยังเป็นประวัติศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงในอุดมศึกษาไทย

ยุคต่อไป มจธ.จะเป็น Innovative Challenger ท้าทายตนเองในการทำงานที่มีนวัตกรรม สร้างระบบให้เกิด Innovator, Start-up

Keyword ของการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับคือ ต้องใช้การเปลี่ยนแปลงให้เป็นประโยชน์ ก็ต้องเข้าใจสิทธิ์ที่ได้จากการเปลี่ยนแปลง

ความสำเร็จต่างๆของมจธ.เกิดจากการสั่งสมมาตั้งแต่อดีต

ในการทำ Branding ต้องมี Values จึงมีการวิเคราะห์ DNA มจธ. ได้ข้อสรุปดังนี้

1. Entrepreneurial University คิดนอกกรอบแล้วลองทำ ทำผิดแล้วก็ลองทำใหม่ได้

2. Knowledge Server of Society ทำให้เกิดอาคาร KX มจธ.จะเป็น Knowledge Server ให้คนในประเทศรวมถึงพันธมิตรด้วย

3. Innovator of Societal Impacts เป็นองค์กรที่มีนวัตกรรมที่สร้างผลกระทบต่อโครงสร้างของสังคม

Brand Attribute ของมจธ. ประกอบด้วย

1. Professional

2. Integrity

3. Pioneering

4. Collective Impact สิ่งที่ทั้งมหาวิทยาลัยทำร่วมกันสามารถสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ได้

คนนอกมอง มจธ. เห็นว่า มจธ.ทำวิจัยให้ภาคอุตสาหกรรมมาก (High Impact Research) บางครั้งมจธ.ก็มีนวัตกรรมที่มีความรับผิดชอบ (Responsible Innovation)  ในอนาคต คนของมจธ.จะต้องเข้าใจเรื่องความยั่งยืนของโลก เป็นการเริ่มต้นนำเป้าหมายของ SCG 2030 มาฝังอยู่ในกระบวนการที่มจธ.ต้องทำ

รวมถึงในตัวคนของมจธ.ด้วย แล้วจะไปสู่ Sustainable University ได้ มจธ.จึงให้ความสำคัญ Sustainable University โดยเน้น Green Heart ซึ่งต้องมี Voluntary at Mind หัวใจสำคัญของมจธ.คือ การเป็น Social Change Agent

การสร้าง Social Change Agent ต้องทำงานแบบมี Pioneer Research ถือเป็น Top View อาจจะมีการไปทำ Technical Service คือ บริการทางวิชาการมากมาย แล้วพยายามปรับกระบวนการการเรียนการสอนไปสู่การสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็น Social Change Agent ในการพัฒนาคนในมจธ.ก็ต้องมีแนวคิด Social Change Agent ด้วย

มจธ.มีวิสัยทัศน์ 5 มุ่ง

1.มุ่งมั่นเป็นมหาวิทยาลัยที่ใฝ่เรียนรู้

2.มุ่งสู่ความเป็นเลิศในเทคโนโลยีและการวิจัย

3.มุ่งธำรงปณิธานในการสร้างบัณฑิตที่เก่งและดี

4.มุ่งสร้างชื่อเสียงและเกียรติภูมิให้เป็นที่ภูมิใจของประชาคม

5.มุ่งก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นในระดับโลก มีการกล่าวถึงเรื่องนี้เมื่อปี 2541 ซึ่งเป็นช่วงแรกเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก ก็นำ NTU มาเป็น Benchmark มีคณะกรรมการ Change Management  มีหน้าที่รับความกดดันต่างๆ ก่อนไปถึงอธิการบดี นำข้อมูลคำวิจารณ์มาเป็นประเด็นหารือในการบริหารการเปลี่ยนแปลง จากนั้นนำมจธ.ไปเปรียบเทียบกับ NTU เพื่อหา Gaps

          ในการทำงานตามวิสัยทัศน์ มีการถอดรหัสวิสัยทัศน์ 6+1 Flagships ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่จะพยายามหาวิธีการให้ไปสู่วิสัยทัศน์ ทำได้โดยมี Flagships เรื่องต่างๆคือ

1.Learning Organization

2.e-university

3.Research University

4.Science Strengthening ทำให้คนในมจธ.มีความคิดอย่างเป็นวิทยาศาสตร์

5.Management Strengthening ทำให้คนในมจธ.มี Management Competency ที่ดีขึ้นในการบริหารมหาวิทยาลัย

6.Revenue Driven & Cost Conscious การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับจะพึ่งพางบประมาณแผ่นดินอย่างเดียวไม่ได้ ต้องรู้จักหารายได้เองด้วย มจธ.ทำโดยเปลี่ยนระบบการจ่ายเงิน เดิมผู้ค้ากับมจธ.จะได้เงินหลังจากวางบิลแล้ว 3 เดือน ผลคือมจธ.ซื้อของแพงเพราะมีต้นทุน คิดราคาเงินเชื่อ มจธ.จึงให้กองคลังกำหนดวันที่ออกเช็คให้ชัดเจน เป็นภายใน 7 วันหลังจากที่กองคลังได้รับเรื่อง ทำให้ลดต้นทุนในการซื้อของ ในแต่ละปี มจธ.ซื้อของ 500-600 ล้านบาท ระบบนี้ทำให้มจธ.ประหยัดงบไปได้ 30 ล้านบาทต่อปี วิธีนี้เป็นการใช้การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับมาช่วย

          ทั้งหมดที่มจธ.ทำต้องส่งเสริมให้เกิดการผลิตคน อย่างน้อยเป็นบัณฑิตที่ดีที่มีคุณภาพ The Best & The Brightest อย่างไรก็ตาม มจธ.ก็ยังคงต้องการ Research Excellence, High Impact Research, Practical Service ถ้าอาจารย์ไม่เก่งหรือไม่เข้าใจ ก็จะไปสร้างบัณฑิตที่เก่งและดีได้ยาก

มจธ.มี Roadmap 2020 ทำโดย

1.New Approach to Learning มีการผลักดัน Outcome-based education และ Residential College

2.S&T Core Capability and Clustering สร้างแนวคิดการทำงานให้เป็น Clustering

เพื่อไม่ให้ความเป็นเลิศอยู่ขึ้นอยู่กับบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น

3.Humanization ถ้ามี Green Heart ก็จะมี Humanization มากขึ้น

4.Good Governance & Modern Management วิธีการบริหารต่างๆที่เกิดขึ้นมาจากการทดลองในมจธ.

5.Networking & Resource Utilization มจธ.ทำงานกับหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ

6.Internationalization เพื่อไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก

          Flagships ทำงานโดยแต่ละเป้า แตกออกมาเป็นแต่ละกลุ่มคนของมจธ.มีการทำ Workshop ปีละประมาณ 2-3 ครั้ง นำคนคณะต่างมาประชุมร่วมกันภายนอกมหาวิทยาลัย เมื่อลงทุนใน Workshop นี้ครั้งละประมาณ 100,000-200,000 บาท แล้วคนในมหาวิทยาลัยมี Connection กันมากขึ้น เริ่มเกิดกระบวนการการประสานงานกันได้มากขึ้น ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและรับรู้

          มจธ.สามารถทำงานอย่างต่อเนื่องมาภายใต้อธิการบดี 5 ท่าน อธิการบดีแต่ละท่านมีนโยบาย

อธิการบดี รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตนส่งเสริมให้ทำงานแบบมี Quality, Relevant Excellence ทำแล้วเกิดประโยชน์ มี Productivity และ Good Governance ทั้ง 4 ข้อนี้ได้บรรจุอยู่ใน Roadmap แล้วออกมาเป็นเป้าหมายของมหาวิทยาลัยตาม Roadmap

แผนกลยุทธ์ ฉบับที่ 11 ของมจธ.เน้นพัฒนาคน ส่วนแผนกลยุทธ์ ฉบับที่ 12 มจธ.จะเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยต้องสร้างระบบให้ยั่งยืนก่อน อันดับโลก (World Ranking) ไม่ใช่ Focus แรก แต่คุณภาพของมหาวิทยาลัยเป็น Focus แรก เพราะหลายข้อของ World Ranking ไม่ได้สะท้อนคุณภาพมหาวิทยาลัย

ด้วยนโยบายของอธิการบดีมจธ.คนปัจจุบันจึงเกิดเป็นเป้าประสงค์หลัก 6 ด้าน

1.ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ “Social Change Agent”เป็นเป้าหมายอันดับหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยน นอกจากเก่งในสาขาที่เรียนแล้ว ต้องมี Green Heart

2.ผลิตงานวิจัย “High Impacts”การมี Citation ที่ดีก็ถือเป็น High Impact Research อย่างหนึ่ง

3.พัฒนาบัณฑิตและบุคลากรให้มี “Competency and Good Citizenship”

4.พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสู่การเป็น “High Performance and Sustainability Organization”

5.แสวงหาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน “Alliances/Partnerships & Resource Utilization”มีสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นได้คือโรงงานผลิตยาต้นแบบ ไม่ใช้ชื่อของมจธ. จึงกลายเป็น “แห่งชาติ” อาคาร KX ไม่มีตรามจธ. ทำให้เป็นสถานที่ที่หลายๆหน่วยงานมาทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง

6.พัฒนา มจธ. ให้มี “Internationalization”

มจธ.กำลังพัฒนาสู่ความเป็น Sustainable University โดยใช้ EdPex เป็นแนวทางบริหาร

ถ้าผลิตบัณฑิตเป็น Social Change Agent ก็ต้องมีบุคลากรที่เป็น Social Change Agent ก่อน นอกจากนี้ ก็ต้องกำหนดปริมาณการผลิตบัณฑิตเป็น Social Change Agent มีการใช้วิธี normalization ตั้งเป้าผลิตบัณฑิตที่มี Impact ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยนับจากจำนวนคนที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ กระบวนการเรียนการสอนต้องสามารถผลิตคนแบบนี้ได้โดยต้องเปลี่ยนเป็น Action Learning มีหลักสูตรที่วางแผนไปเป็น Action Learning ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน

เป้าหมายคือ Integrated Management System เป็นเรื่องกลไกการทำงาน ต้องดูว่า ลูกค้าคือใคร แต่ละคนเป็นลูกค้าต่อกันมาเรื่อยๆเป็น Supply Chain ต้องมีการหารือว่า ลูกค้าต้องการอะไร ทำให้มีการบูรณาการการเรียนการสอนร่วมกัน

มจธ.เคยส่งอาจารย์ไปฝังตัวดูงานที่มหาวิทยาลัยโอลินเป็นเดือน พบว่า อาจารย์ Material Science ทำงานคู่กับอาจารย์ประวัติศาสตร์ โดยอาจารย์ประวัติศาสตร์บอกว่า สิ่งใดใช้ในประเทศใดในยุคใด แล้ว Material Science รู้ว่า สินค้าใดเหมาะกับประเทศใด

มจธ.ใช้ EdPex ในการบริหารงานและ Integration ลูกค้า ทำให้เข้าใจความต้องการลูกค้าในแต่ละ Chain

ต้องมีการ Engage Workforce ต้องรวมถึง Staff ด้วย ต้องทำให้เกิดการมีส่วนร่วม ต้องหาให้ได้ว่า Reward ที่สำคัญของ Workforce แต่ละฝ่ายคืออะไร บางครั้งอาจจะไม่ใช่เงินเดือน แต่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง ต้องเปลี่ยน Compensation Model จะทำให้ทำงานข้ามหน่วยงานและเป็น Cluster ได้ง่ายขึ้น มจธ.ใช้พ.ร.บที่เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับให้เป็นประโยชน์จึงทำได้ มหาวิทยาลัยมีการใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น ถ้าใช้ไม่หมด ก็ต้องคืนงบทั้งหมด เมื่อมจธ.เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินให้หมด จึงวางแผนการใช้เงินให้จำเป็นเพื่อให้เกิดคุณภาพ ถ้าคณะใช้เหลือ ก็เป็นเงินสะสมของคณะ ที่คณะมียอดเงิน แต่มหาวิทยาลัยเป็นผู้ถือบัญชีและเป็นผู้เก็บรักษาเงิน ปี 2541- ปัจจุบัน มจธ.มีเงินสะสม 4-5 พันล้านบาท ครึ่งหนึ่งเป็นของคณะ อีกครึ่งหนึ่งเป็นมหาวิทยาลัย เงินสะสมใช้ลงทุนพัฒนามหาวิทยาลัย เดิมในเรื่องระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง ในเงิน 5 แสนบาท คนมจธ.สามารถไปซื้อของที่มีป้ายราคาชัดเจน ยินยอมให้มีการนำใบโฆษณามาเป็นใบเสนอราคาเบิก แต่ระบบนี้ถูกยึดคืนด้วยพ.ร.บ. ในการจัดซื้อจัดจ้าง ต้องไม่หยุดไม่ว่าจะเป็นสิ้นปีงบประมาณก็ตาม  คณะกรรมการทรัพย์สินมจธ.จึงเข้าไปขอสภาให้ทำงบแบบหนึ่งบวกสอง วางแผนงบประมาณ 2 ปี กรณีงบคร่อมปี ก็ยังซื้อได้  ทำให้ไม่มีการกันงบประมาณ

มจธ.มีการปรับโครงสร้างค่าตอบแทนโดยดูว่าแข่งกับใคร แล้วนำรายงานการสำรวจเงินเดือนมาดูและนำไป recruit คน ในระหว่างมหาวิทยาลัยก็มีการแข่งกับมหาวิทยาลัยอื่น ก็ต้องทราบเงินเดือนของมหาวิทยาลัยอื่นด้วย ในบางสาขา โครงสร้างเงินเดือนแข่งขันไม่ได้ จึงเปิดโอกาสให้บางคณะมีเงิน Top-up PBBS ถ้าคณะทำเรื่องที่ต้องทำ เช่น สอน มีโครงการมีรายได้ มจธ.ยินยอมให้นำเงินรายได้หลังจากหักสิ่งที่ต้องใช้หมด 30###/span#< ไป Top up เงินเดือนเพื่อประกันเงินเดือนแข่งขันกับตลาดได้ มจธ.มีการวางภาระงาน มีระบบแต้ม บุคลากรแต่ละระดับมีโครงสร้างภาระงานไม่เท่ากัน คนระดับว. 5 ขึ้นไปต้องมีภาระงานในการช่วยมหาวิทยาลัยหาทรัพยากร เช่น หางบ ทำวิจัย

มจธ.ทำได้โดยต้องมีการสร้างจิตสำนึกการพึ่งตนเองอย่างมีความรับผิดชอบ

Change Management Committee เป็นกลไกสำคัญให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมให้มีความคิดต่าง แต่ต้องอยู่ในระเบียบ บางเรื่องเป็นแค่ framework ไม่ใช่กฎ เช่น ในเรื่องวิจัย มหาวิทยาลัยลดหย่อนให้คณะศิลปศาสตร์ไม่ต้องทำวิจัยกี่ปีจนจะมีความพร้อม

มจธ.มีรองอธิการบดีอาวุโส เดิมมีแค่ 2 คน มีหลักคิดคือ

1.ปลดปล่อยอธิการมีเวลาอิสระในการเจรจาเรื่องทุนและความร่วมมือภายนอก

2.มี Initiatives มากมายในมหาวิทยาลัยที่ต้องผลักดัน อธิการจำเป็นต้องระดมสมองกับหลายฝ่ายแล้วมาทำงานนี้ให้มหาวิทยาลัย

รองอธิการบดีอาวุโสมีหน้าที่จัดการเรื่องราวให้ยุติที่รองอธิการบดีอาวุโส นอกจากนี้มีหน้าที่จัดการงานที่ซ้ำซ้อนหรือไม่มีคนทำให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบที่ชัดเจน โดยการบูรณาการข้ามสายงาน

เรื่องวิจัยและการบริหารจัดการแนวร่วมเป็นเรื่องสำคัญของมจธ.เพราะเป็นแหล่งงบประมาณที่สำคัญ เมื่อมีภาระงานมากขึ้น จึงมีรองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิจัย

มจธ.มุ่งสู่การบริหารที่เป็นเลิศโดย EdPex

ด้านยุทธศาสตร์ อยู่ใต้รองอธิการบดีอาวุโสบริหาร

การสร้างระบบผู้นำ อยู่ใต้รองอธิการบดีอาวุโสบริหาร

การดูแลลูกค้า ด้านการเรียนการสอนและด้านบริการวิชาการ  อยู่ใต้รองอธิการบดีอาวุโสบริหารและรองอธิการบดีอาวุโสวิจัย

เรื่อง operation อยู่ใต้รองอธิการบดีอาวุโส 2 คน

Workforce อยู่ใต้รองอธิการบดีอาวุโสบริหาร

ระบบผู้นำต้องช่วยวางยุทธศาสตร์ อธิการจะคุยกับคณบดีทีละคนเกี่ยวกับ ยุทธศาสตร์ ทุกปี คณะ คณบดีและอธิการ ต้องมาหารือกันเกี่ยวกับการทำงานและต้องการให้มหาวิทยาลัยช่วยอะไร อธิการบดีทำหน้าที่เป็นโค้ชคณบดีทีละคณะ

ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร กล่าวว่า ต้องเข้าใจว่า มหาวิทยาลัยไม่ใช่องค์กรแสวงหากำไรในทางการค้าแต่ต้องมีกำไรเพื่อการพัฒนาและความมั่นคงระยะยาว  จะทำได้ต้องรู้จักตนเอง เพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย

แผนดำเนินงานและงบประมาณแบบ 1+2 (Rolling Plans)

ได้มาจากการไปดูงาน University of Toronto ซึ่งให้คณบดีทำแผนแบบนี้เพื่อประเมินความอยู่รอดของคณะ รวมถึงกำหนดแผนได้เหมาะสม ทำให้เห็นภาพระยะกลาง เวลาที่ทำแผนนี้ ต้องมีบทวิเคราะห์ผลกระทบจากสภาพแวดล้อม

มจธ. กำหนดว่า ให้จ่ายเงิน top up ก้อนเดียวแทนค่าสอนพิเศษต่างๆ ในกรณีที่เงินเหลือ

ในการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นที่เรียนรู้ มจธ.ปรับการเรียนรู้ไม่ให้อยู่ในห้องเรียนต่อไป จึงสร้าง KX นำความรู้ออกไปข้างนอก และมี learning exchange ทำ learning garden ใช้ทุกส่วนของมหาวิทยาลัยเพื่อการเรียนรู้

มหาวิทยาลัยสามารถเจรจาเรื่องลงทุนเพื่อ

1.ใช้

2.วิจัย

3.เป็นต้นแบบให้นักศึกษา

4.เป็น demonstration site ให้คนนอก

KMUTT-Educational Reform คือ เรียนได้ทุกที่และเรียนได้จากทุกคน (Everyone is educator)

Staff ทำงานอย่างเป็นมืออาชีพแล้วก็จะเป็นบทเรียนให้นักศึกษาได้ ต้องเปลี่ยนกิจกรรมนักศึกษาเป็น front activity แล้วบูรณาการกับการเรียนการสอน

มจธ.กำลังปรับยุทธศาสตร์ในการบริหารงานวิจัย มีการจ้าง JAMAC มาทบทวนยุทธศาสตร์ ได้รับการท้าทายตลอด ใช้ความท้าทายในการสร้างมหาวิทยาลัย

Success factors คือ

1.โอกาส

2.Change Management ช่วยลดระดับความร้ายแรงของแต่ละเรื่องลงก่อนถึงผู้บริหาร

3.Good Governance

มจธ.จะเปลี่ยนให้เน้นระบบแทนที่จะยึดตัวบุคคล คนที่จะบริหารมหาวิทยาลัยต้องเข้าใจว่า อำนาจไม่ยั่งยืน ไม่ใช่จะใช้อย่างไรก็ได้

ปัญหาของมหาวิทยาลัยมาแบบ random และทางแก้ก็ random บางครั้งก็มีความรู้สึกเข้าเกี่ยวข้อง บางครั้งต้องรอเวลาที่เหมาะสมในการดำเนินการ

ถ้าต้องการให้มหาวิทยาลัยก้าวหน้า ผู้บริหารต้องเข้าใจว่าไม่ได้บริหารด้วยอำนาจแต่บริหารด้วยหลักการที่ถูกต้อง

ต้องสร้างความตระหนักของการเป็นผู้นำ คือรู้จักบทบาท มีความรับผิดชอบ คิดนอกกรอบ แต่ไม่ฝ่าฝืนระเบียบ มจธ.ยอมแก้กฎถ้าความคิดนั้นทำให้มหาวิทยาลัยดีขึ้น การแก้กฎเพื่อการพัฒนานั้นสามารถทำได้

สิ่งสำคัญคือ ผู้นำต้องสร้างระบบเพื่อสร้างผู้นำรุ่นต่อไป

ปัญหาในการบริหารคนในมหาวิทยาลัย

นักวิชาการมี contract ว่า ต้องทำอะไร แต่มักยก Academic Freedom มาก่อน ต้องหาสมดุลระหว่าง 2 สิ่งนี้

มจธ.ใช้ Enforcement คือระเบียบ และใช้ Development สร้าง Reward, Accreditation ตอบแทนคนที่มีผลงานที่เกิดประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย เช่น พิสูจน์ว่า งานวิจัยมี impact ต่อภาคอุตสาหกรรมที่แท้จริง

ภาวะผู้นำกับการบริหารงานบุคคล

มจธ.กำลังวิเคราะห์วางแผนกำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญที่จะสูญไปและสาขาวิชาที่จะหายไป

โครงสร้างเงินเดือนมจธ. มีโครงสร้างสำหรับคนที่ชอบความท้าทาย เช่น คนที่หางบให้มหาวิทยาลัยได้ ก็จะได้ขึ้นเป็น ว.พิเศษ

มจธ.สร้าง pool of leaders แล้วให้ผู้บริหารเลือกคนขึ้นเป็นผู้นำเอง

สิ่งสำคัญคือ ต้องตอบคำถามให้ได้ว่า ทำงานนั้นแล้วมหาวิทยาลัยและประเทศได้อะไร แล้วมหาวิทยาลัยจะยอมลงทุน

การบริหารอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายแต่เป้าหมายไม่เปลี่ยน การพัฒนาอย่างต่อเนื่องจึงมีความหมาย

ช่วงคำถาม

ถาม

จากที่ฟังแล้วตื่นเต้น แล้วกลับไปดู มจธ.ตอนนี้เป็นรองแค่มหิดล แปลกใจมาก พระจอมเกล้ามี 3 สถาบัน สิ่งที่อยากให้เล่าคือ อะไรที่ 3 แห่งเหมือนและแตกต่างที่ทำให้มจธ.เป็นผู้นำ

ตอบ

สิ่งเหมือนคือ science tech

แต่สิ่งที่แตกต่างคือที่อื่นจะมี health science

มจธ.เชื่อว่า นวัตกรรมเกิดขึ้นภายใต้แรงกดดัน พระนครเหนือมีเยอรมนีสนับสนุน ลาดกระบังมีญี่ปุ่นสนับสนุน

มจธ.ไม่มีประเทศใดในการสนับสนุนเป็นพิเศษ เคยมียูเนสโกมาสนับสนุนโดยผ่านประเทศสมาชิก มจธ.อัตคัดที่สุดในบรรดาทั้งสามมหาวิทยาลัย ตอนนี้ก็หาสารพัดวิธีให้มีเครื่องมือทดลอง ความลำบากทำให้ใช้สมอง ใช้คนหารือกัน ทรัพยากรต้องเกิดจากการออกไปหาข้างนอก ก็ต้องหาเพื่อน เวลาทำงาน ต้องทำให้คนอื่นได้ 3 แล้วมจธ.ได้ 1 ส่วน 

มจธ.กำลังอยู่ใน Comfort Zone กำลังสร้างความกดดัน ทำให้ต้องทำงานข้ามหน่วยงานให้ได้ก่อน

ถาม

มีความสุขที่ได้เรียนรู้

การจัดการศิษย์เก่าในอนาคต มีแนวคิดอย่างไร จะได้ร่วมพัฒนา

ตอบ

เมื่อเข้ามาเป็นบัณฑิตมจธ. ก็เป็นครอบครัวเรา จบแล้วก็ใช้ Infrastructure ได้

มีผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิษย์เก่าสัมพันธ์ เมื่อเดือนที่แล้ว เชิญศิษย์เก่ามาพบกัน เป็นการสร้าง Connection  มีทีมมหาวิทยาลัยไปร่วมยินดีกับศิษย์เก่า ทำให้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย

ถาม

ขอบคุณที่ให้โอกาสมาดูงาน สัมผัสได้ที่อาจารย์พูด อาจารย์มีความสุขที่ได้เล่าประวัติศาสตร์ เมื่อมจธ.ประสบความสำเร็จ ตอนนี้มีโอกาสเลือกคนเก่งเข้ามา ศิษย์เก่าก็กลับมาพัฒนาด้วย การบริหารจัดการ talent มีความท้าทาย เพราะเขามีความเป็นตัวตนอยู่ พวกเราเป็นตัวแทน talent  อยากให้แนะนำว่า เราควรทำตัวอย่างไรให้เปลี่ยนโฉมมหาวิทยาลัยและได้รับการยอมรับจากผู้บริหาร

ตอบ

จะบริหารให้มีความสุขต้องคิดว่า ความอยู่รอดขององค์กรคือความอยู่รอดของเรา มหาวิทยาลัยไทยอยู่ได้ด้วยความผูกพัน เมื่อมีความคิดนี้แล้ว ต้องช่วยกันคิดเพื่อพัฒนาให้ยั่งยืน ปัญหาและอุปสรรคคือสิ่งท้าทายความสามารถของผู้มีปัญญา

บอกรุ่นน้องว่า สิ่งที่ออกผลในปัจจุบัน เกิดจากการวางแผนในอดีต ถ้าต้องการให้อนาคตดีต้องเริ่มวางแผนตั้งแต่แรกเริ่ม

การบริหารงานบุคคลต้องเริ่มจากการบริหารตนเอง

ถาม

ชอบประเด็น ความยั่งยืนมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึง

ในเรื่องความคุกคามภายนอกและภายใน ในอีก 10 ปีข้างหน้ามีเรื่องอะไรบ้าง

ตอบ

เป็นความโชคดีที่มจธ.ส่งออกคนไปทำงานภายนอกมาก แล้วคนเหล่านี้ได้รวบรวมข้อมูลที่สัมผัสแล้วกลับมาวางนโยบายมหาวิทยาลัย

ภัยคุกคามของมหาวิทยาลัยคือ จะมีนักศึกษาน้อยลง แต่มีที่ว่างสำหรับนักศึกษามากกว่านั้น

คาดว่า บางหลักสูตรจะหายไป ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไม่ให้หลักสูตรสูญพันธุ์เพื่อดึงดูดคนมาเรียน

คนเรียนปริญญาโทอายุน้อยลงเรื่อยๆ จนเหมือนเป็นหลักสูตรธรรมดา

ต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการการเรียนการสอนตอบโจทย์ว่า คนรุ่นใหม่เรียนแล้วได้อะไร

บางครั้งชื่อไม่น่าสนใจ คนจึงไม่เลือกเรียนหลักสูตรนั้น

วิจัยและบริการวิชาการถือเป็นโอกาส ควรทำให้เป็นที่ยอมรับ ตอบแบบ EdPex ว่า ที่ทำนั้นตอบเป้าและ gap ได้ ใครเป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

มหาวิทยาลัยต่างประเทศก็เข้ามาแข่งพร้อม AEC

อาจารย์ก็มี Generation Gap ต้องหา Reward ในชีวิตเขาแล้วจะ Engage ได้

Reward ของ Professor ญี่ปุ่นคือ เวลาในการทำวิจัย แต่คนไทยไม่ใช่

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

มจธ.มี 3 แห่ง ม.อ.ก็มีหลายวิทยาเขต มีบทเรียนเรื่องใดให้บ้าง

ตอบ

มจธ.ไม่มีวิทยาเขต แต่เรียกว่า เป็นพื้นที่การศึกษา การมีวิทยาเขตทำให้มหาวิทยาลัยแยกส่วน มจธ.มีคณะเดียวแต่ทำงานทุกพื้นที่การศึกษา เรามีบทเรียนจากหลายมหาวิทยาลัย ได้ปริญญาใบเดียวกัน แต่คุณภาพแต่ละวิทยาเขตไม่เท่ากัน

มจธ.มองว่า การมีภาควิชาเป็น boundary ในการทำงาน คณะใหม่เน้น school concept ไม่มีภาควิชา เน้นการทำงานแบบ product-based ใช้คนข้ามภาควิชาการ ข้ามกลุ่มได้

มจธ.กำลังคุยกับหลายคณะเพื่อ reengineering ไม่ให้มีภาควิชาการ

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

อาจารย์กล่าวถึงความเป็นมืออาชีพและความยั่งยืนของ staff วัดอย่างไร

บริหารจัดการความเป็นมืออาชีพและความยั่งยืน อย่างไร

ตอบ

เวลาบริการมี service mind หรือไม่ เป็น educator ในการทำงาน นักศึกษาเห็นการทำงานที่เป็นมืออาชีพ

ตอนนี้ต้องให้บุคลากรทำนโยบายแล้วประกาศนโยบาย

บางครั้งธรรมาภิบาลไม่เกิดเพราะนโยบายไม่ชัด

Everyone is educator by working professionally.

 

วันที่ 11 สิงหาคม 2560

(สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

 

 

วิชาที่ 33  บริษัท ยูนิลีเวอร์เน็ตเวิร์คฯ

การบริหารเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเอกชน : กรณีศึกษา Project Omni Connect ของ บริษัทยูนิลีเวอร์”  เนื่องจาก บริษัทยูนิลีเวอร์ เป็นองค์กรธุรกิจชั้นนำที่มีธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ และมีการปรับตัวในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

หัวข้อการบรรยาย  การเปลี่ยนแปลงด้วยวิสัยทัศน์ โปรเจค Omni Connect จากไทยขยายทั่วโลก

บรรยายโดย      คุณจิรชีพ เฮง

ผจก.ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ยูนิลีเวอร์เน็ตเวอร์คประเทศไทย

คุณวชิระวัจน์  รุจิวรพัฒน์

GEBA  ผู้บริหารสโมสร 5 ล้าน Omni Connect ทำอย่างไรให้สำเร็จ AEC

                             คุณวิสูตร เดชะภัทรวสุ

ผู้บริหารสโมสร 50 ล้าน NEBA รหัสที...ของโลก

คุณศิริวรรณ วุ่นทางบุญ

 

 

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

         กล่าวถึงหน้าที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผู้บริหารขอ งม.อ.ต้องเน้นเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ในอนาคต ผู้อบรมรุ่นนี้เป็นเป็นกลุ่ม Young Generation และ Future Leader  ของประเทศไทยและ ม.อ.

         สิ่งที่ ม.อ. ควรเน้นคือ

         1. เรื่อง Customer + Branding

         2. การวางแผนระยะยาว ต้อง Gloom Future Leader ให้ได้

         3. คาดว่าในอนาคตรุ่นนี้จะมีบทบาท 100 % ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า

 

คุณศิริวรรณ วุ่นทางบุญ

         แนวคิดของธุรกิจ Unilever จะเติบโตในอัตรา 2 เท่า โดยลดมลภาวะจากเดิม 50%   Uniliever จึงได้เน้นเรื่องการพัฒนาผู้นำ ควบคู่กับสร้างสิ่งที่มีประโยชน์เพื่อสังคม เน้นการพัฒนาตัวเองและพัฒนาข้างนอก

กิจกรรม

         การเปิด Online เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ

         กิจกรรมเพื่อสังคม สอนเด็กในคุก ในสถานพินิจฯ

 

 

คุณจิรชีพ เฮง

          กลุ่ม Unilever มีกลุ่ม Young Executive เช่นเดียวกัน ได้มีการนำเอา CEO ของแต่ละประเทศมาพัฒนาเป็น CEO ในอนาคต เป็นกลุ่มที่คิดงานในอนาคต 10 ปีข้างหน้า

สิ่งที่เปลี่ยนแปลง ได้มีผลการวิจัยพบว่าในปี ค.ศ. 2020 เด็กนักเรียนจะเขียนหนังสือไม่เป็น เนื่องจากปัจจุบันเขียนหนังสือบนสมาร์ทโฟน จึงได้ตั้งกลุ่มขึ้นมาดูเรื่องการกลับมาเขียนหนังสือมากขึ้น

จุดแข็ง

1. การตลาด

          Unilever ติดอันดับ Top 3 ของประเทศไทย แบรนด์ด้านสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นเบอร์ 1 ของประเทศไทยและการวิจัยพบว่า ในทุกครัวเรือนจะมีสินค้าของ Unilever อย่างน้อย 3 ชิ้น

2. Thailand 4.0

          โมเดล 1.0  คือ ภาคเกษตรกรรม กับดักคือความสมดุล

          โมเดล 2.0  คือ อุตสาหกรรมและการทดแทน กับดักคือความเหลื่อมล้ำทางสังคม

          โมเดล 3.0 คือ อุตสาหกรรมหนัก และ Globalization  มีโรงงานมากขึ้น มีชั้นชั้นกลางมากขึ้น กับดักคือ รายได้ในระดับปานกลาง ข้อดีคือ เปลี่ยนคุณภาพชีวิต แต่คนข้างล่างคุณภาพชีวิตยังไม่ได้พัฒนา

          โมเดล 4.0 คือ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ทุกกลุ่มมีความเท่าเทียมกัน  เน้นเรื่อง Creative Thinking + Innovation

สิ่งที่ตามมาคือ

1. การใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น

2. การมีเทคโนโลยีมาทดแทน ทำให้สิ่งที่เป็นของเดิมที่หายไป

Innovation มาทดแทนสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาทิ Kodak เป็นธุรกิจชั้นนำด้านการผลิตกล้องต้องหายไปเนื่องจากมีกล้องดิจิตอลมาทดแทน ทั้ง ๆ ที่เป็นผู้คิดค้นดิจิตอลรายแรกแต่ไม่ทำ บริษัทที่ทำคือ Fuji

สิ่งสำคัญคือ การลงมือทำ ทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และทำให้ Platform แตกต่าง

ถ้ารุ่นคุณพ่อแม่คิดแบบเดิม เกษตรกรก็เป็นแบบเดิม  ปัจจุบันได้มีหนุ่มสาวลาออกจากงานเพื่อไปทำเกษตรกรรมสมัยใหม่ มีการใช้เทคโนโลยีมาช่วย เช่น ใช้ Drone หว่านปุ๋ย แต่อย่างไรก็ตาม เกษตรกรสมัยใหม่ = เทคโนโลยี + เงินทุน สามารถเข้ามาช่วยในระบบเรื่องการขาดแคลนน้ำ อย่างสหรัฐฯ จะพบว่าการเกษตรพัฒนามาก ประเทศไทยเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมีการใช้ Application ช่วยได้มาก

          สิ่งที่ตามมาคือ Start up Business จะมีมากขึ้น

          - Platform Online > Office

          - ด้าน Service มีมูลค่าสูงขึ้น

          - แรงงานมีความรู้ดีมากขึ้น และเหมาะกับชนิดงานมากขึ้น

Unilever

- ทำด้าน SMEs มากขึ้น มีการดำเนินธุรกิจผ่านตัวแทนจำหน่ายและร้านค้า

          - Start up Business จะเริ่มต้นอย่างไร กับคู่ค้า และ Partner        

          - สร้างด้วยความรักและเอาใจใส่กับคู่ค้า พบว่าในทุกครัวเรือนจะมีสินค้า Unilever อย่างน้อย 3 ชิ้น 

          - ผู้บริโภคจากทั่วโลกมีจำนวน 2 พันล้านคน คิดเป็นยอดขายปีละ 2 ล้านล้านบาท      

          - มีสาขากว่า 190 สาขาทั่วโลกจากประเทศ 230 ประเทศ

          - มีชื่ออยู่ในตลาดหลักทรัพย์อเมริกา ดาวโจนส์

          - มีพนักงานอัตราจ้าง 500,000 คน

          - Unilever Global สามารถไปทำงานในต่างประเทศได้ โดยดูจากตำแหน่งที่เหมาะสมในประเทศนั้น ๆ

          - สถานที่ตั้งจะมีอาคารเป็นรูปสบู่ลักซ์

นวัตกรรม

          - สินค้าตัวแรกเริ่มต้นจากสบู่ซันไลต์ ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นน้ำยาล้างจาน แต่ยังคงสบู่ไว้เป็นทางเลือกในช่วงแรก ๆ สำหรับกลุ่มคนที่ติดสบู่อยู่

          - ยาสระผมตัวแรกเป็นผง ต่อมาได้ซัลซิลได้เปลี่ยนจากผงเป็นน้ำ

          - Unilever ได้คิดค้นนวัตกรรมมาโดยตลอดเพื่อทดแทนสินค้าเดิมที่ใช้อยู่ พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นเพื่อเหมาะสมกับผู้บริโภคมากขึ้น ได้มีการปรับเปลี่ยน Packaging เพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้ผู้บริโภค จากเดิมอาจเปลี่ยนทุก 2-3 ปี ปัจจุบันอาจเร็วขึ้น เช่น  6 - 9 เดือน

          - รูปแบบการจ่ายเงินเปลี่ยนจากเงินสดเป็นใช้บัตรพลาสติก มากขึ้น

          - มี 5 กลุ่มสินค้า

วิสัยทัศน์

          มีวิสัยทัศน์ที่ต้องการเติบโตทางธุรกิจโดยลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้นผลิตภัณฑ์ หรือ แพ็คเกจจิ้งจะเลือกที่กระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เช่นการใช้กระดาษแทนพลาสติก ฯลฯ

          “Insight” คือการเอาใจผู้บริโภคมานั่งในใจเรา ได้มีการทำวิจัยกับผู้บริโภคโดยตลอด มีการทดสอบผลิตภัณฑ์ในแต่ละกลุ่มที่ใช้จริง ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย

          “The Future Consumer” เป็นกลุ่มใหญ่ในอนาคต

- Generation “S” Baby Boom เน้นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น

การสร้างรูปแบบธุรกิจให้เป็นทียอมรับ โดยเน้นกลุ่ม S ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร

          การสร้าง Platform เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร Online เนื่องจากพบว่าคนไทยได้มีการใช้สื่อ Social Media มากขึ้น จากคนไทย 67 ล้านคน พบว่าใช้  Facebook 40 ล้านคน Line 34 ล้านคน Youtube 28 ล้านคน  Instagram 9 ล้านคน และ Twitter 6 ล้านคน

          ดังนั้น การทำ Platform จึงต้องเข้าถึงง่าย และใช้ได้ง่าย

          - Generation “Z” Millennium

          ต้องเข้าใจว่าบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไม่สามารถต่อต้านได้ พฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มนี้เปลี่ยนไป อย่างพบว่าจะอยู่กับ Smartphone มากขึ้น สื่อสารผ่านทาง Smartphone แทนการคุยกัน ดังนั้น เราจึงมีหน้าที่ในการขับเคลื่อนและพัฒนาให้ดีขึ้น

          Facebook ได้เข้ามาช่วยในการทำ Start up Business เนื่องจากเป็น Platform ที่ง่ายและคนเข้าถึงง่ายใช้สะดวก  ได้มีการพัฒนา Application สำหรับธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการเช่น Uber หรือ Airbnb

          เทคโนโลยีได้มาสร้างมูลค่าการบริการที่สูงขึ้นเป็น Platform Online  เช่นการับจ้าง Shopping สินค้าโดยคิดค่าบริการ  หรือการสั่งอาหารออนไลน์อย่าง Line man, Lalamove, Wongnai

นวัตกรรมได้เข้ามาทดแทนเวลา และความคุ้มค่า

          - Innovation + Creative สร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างจุดแข็ง การใช้ Offline และ Online จะมีบทบาทมากขึ้น

          ตัวอย่าง 7-Eleven ได้มีการจ่ายเงินผ่าน BioPay ชำระเงินโดยใช้ส่วนของร่างกายเช่น Hand Pay และให้ AI เป็น Cashier อัตโนมัติ  มีกล้อง CCTV  ใช้แรงงานน้อยลง แต่เป็นแรงงานที่มีคุณภาพมากขึ้น

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. จากนี้ไปอีก 5 ปี เทคโนโลยีที่เห็นมีความเสี่ยงอะไรบ้างถ้าคนไม่ปรับตัว และถ้าแบ่งกลุ่มตาม Generation กลุ่มไหนมีความเสี่ยงสูงสุด และการร่วมมือในอนาคตกับทาง ม.อ.จะมีการร่วมมือทางไหนได้บ้าง

ตอบ     มีการวิเคราะห์จากอิสราเอลว่า Robotic Artificial Intelligence ถ้าทำให้มี feeling ใน Robot อาจทำให้ Robot ฆ่าคนได้

2R’s คือ Reality และ Relevance จะมี Impact ต่อตัวเราและสังคมอย่างไร มี Choice ให้ Relevance ต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

เทคโนโลยีอยู่ขึ้นอยู่กับว่าเราว่าจะใช้ในทางดีหรือไม่ดี เทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ดี เพียงแค่มา Serve ตรงจุดไหนของผู้บริโภค อย่าง AI ช่วยดูแลผู้สูงวัยได้ ทำให้เรียนรู้เร็วขึ้นกว่าเดิม สามารถพบเกษตรกรที่เป็นปราชญ์มากขึ้น ทำให้เขามีตัวตนมากขึ้น  ซึ่งถ้ามีการผสมความรู้เดิม + เทคโนโลยี + ปราชญ์ ด้วยกันจะทำให้ไปไกลมาก และเด็กสมัยใหม่จะได้เรียนรู้เร็วมากขึ้น  ส่วนเรื่องความเสี่ยงมีประเด็นคือการนำไปใช้ผิดวิธี

ความร่วมมือ กับ ม.อ. มีความยินดีอย่างยิ่งเนื่องจากต้องการ ความรู้ และ Knowhow เพื่อมาเติมเต็มให้พนักงานเช่นเดียวกัน สามารถร่วมกันเพื่อสร้างความรู้ไปพัฒนาประเทศต่อ

2. การแสวงหาความร่วมมือ นึกถึงเรื่อง Entrepreneurship ในมหาวิทยาลัย  Unilever มีแนวคิดร่วมกันอย่างไร

ตอบ  นับว่าเป็นเรื่องที่ดีมากถ้าเริ่มต้นตั้งแต่เป็นนักศึกษา ปัจจุบันได้มีความร่วมมือกับ ม.ธรรมศาสตร์ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องผู้ประกอบการกับนักศึกษา  และเชื่อว่า Unilever ก็ต้องการองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยด้วยเช่นกัน

3. แนวคิดเรื่อง Love Unilever Forever จากการมีสินค้าจำนวนมากได้มีการ Monitoring อย่างไรเพื่อพัฒนาเรื่องคุณภาพ

ตอบ สิ่งที่ต้องการคือการอยู่คู่กับคนไทยตราบนานเท่านาน เริ่มต้นจากใส่ใจในคน ทำงานผ่านผู้บริโภคโดยมีตัวแทนที่ทำด้าน Research เพื่อปรับตามพฤติกรรมของผู้บริโภคว่ากลุ่มไหนเหมาะกับผลิตภัณฑ์แบบใด และได้มีการเปลี่ยน Packaging ตลอดเวลาภายใน 6-9 เดือน เพื่อไม่ให้ผู้บริโภครู้สึกเบื่อ เป็นเพราะกลุ่มผู้บริโภคต้องการให้พัฒนาสินค้าตลอดเวลา

 

คุณวชิระวัจน์  รุจิวรพัฒน์

          กล่าวถึงโครงการ Omni Connect ที่ทำให้ Unilever ขยายไปที่ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย 

          เริ่มต้นจากแนวคิดในการสร้าง Platform ที่มีเครือข่ายกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ได้ทำ Omni Connect กระจายไปทั่วโลก มี Aviance Shop มา 6 เดือนแล้ว ปัจจุบันมี 29 สาขาทั่วประเทศ มีแผนการตลาดที่จ่ายให้สูงสุด เชื่อมกับเครือข่ายทั่วโลก สร้างโอกาสใหม่ในการทำธุรกิจ ทำง่าย และรวดเร็ว แบ่งเป็นนักช้อป นักแชร์ และนักธุรกิจ มีสะสมให้เที่ยวประเทศทุกปี

 

คุณวิสูตร เดชะภัทรวสุ

ทำอย่างไรถึงได้รู้ว่าธุรกิจดี 

          - การทำวิจัยด้วยงบประมาณ 65,000 ล้านบาท เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เรื่อย ๆ และได้มีการจดสิทธิบัตรเกือบทุกวัน

          - สินค้าดี และมีความเชื่อถือได้

          - Brand ดี

          - Person Leverage โครงการสร้าง Successor

งานวิจัยสอบถามว่าคนรวยต้องมีอะไรบ้าง

          1. เงิน

          2. วิสัยทัศน์

          3. องค์กรขนาดใหญ่ หมายถึง การทวีค่าส่วนบุคคล คือมีคนอื่นทำงานแทน Person Leverage ซึ่งสิ่งที่สอนได้ดีที่สุดคือการลงมือทำ และการสอนทีมงาน

          ธุรกิจสำคัญที่วิธีคิด Mindset คือวิธีการสำคัญแต่ไม่ใช่สำคัญที่สุด ต้องพัฒนาทักษะ ความเป็นผู้นำ และคุณลักษณะ

          อย่างไรก็ตาม การรวยอย่างเดียวก็ไม่เกิดประโยชน์ต้องสร้างคุณค่าด้วย

          รวย + มีคุณค่า คือการช่วยเหลือคนเพื่อ

          - Freedom Life  อิสรภาพ

          - Personal Leverage  มีคนช่วยผ่อนแรง

          - Team success is our success

          Omni Connect ได้เกิดการเชื่อมเป็น Online เมื่อ 2 ปีที่แล้ว

 

คุณจิรชีพ เฮง

          Unilever ใช้ Platform พัฒนาคน

          ได้ทำการขายสินค้าผ่านทาง Mass Product  + Retail จำหน่ายเป็นตัวแทนของเรา ผ่านทาง Social Network ต้องอาศัย Networker ให้ธุรกิจพาไป ใช้สินค้าดีแล้วบอกต่อ

          องค์ความรู้ ให้ความสำคัญมากกับรุ่นพี่ และศิษย์เก่าที่ทำงานร่วมกัน เช่นเดียวกัน ม.อ. ควรมีการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยแนวหน้าและชั้นนำ  มีการรวมกันของศิษย์เก่า คณาจารย์ ที่สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. กระบวนการพัฒนา Staff และผู้ร่วมธุรกิจ และการให้ความรู้กับผู้บริโภคทำอย่างไร

ตอบ     ด้านการพัฒนาพนักงาน ตอนเริ่มเข้าทำงานจะมีหลักสูตร 7 Habits ที่ทุกคนต้องผ่านการเรียนรู้เพื่อสร้างภาวะผู้นำระดับต้น โดยทุกตำแหน่งจะมีโอกาสได้ผู้นำที่ดีเพื่อมาพัฒนาตั้งแต่ระดับต้น

          ด้านคู่ค้า ได้มีการทำ Roadmap พัฒนาหลักสูตร โดยใช้ Third Party ในการจัดการ ทำอย่างไรที่จะจัดการบุคลากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด 

          ด้านลูกค้า ใช้วิธีการสอนผ่านตัวแทน มีข้อมูลให้เรียนรู้บน Online และ Offline มีศูนย์ฝึกอบรมทีมงานที่ใช้ความรู้ในการสอนต่อ เป็นการพัฒนาผู้นำ สู่ธุรกิจ สู่ทีมงาน และผู้บริโภค

          ด้านการ Motivation ให้มีแรงจูงใจในการทำงานเครือข่าย ได้แก่ 1. ความมั่นคงของรายได้ 2. ผลิตภัณฑ์ที่ได้ผล 3.แผนค่าตอบแทน (Compensation Plan)  โดยมีแผนการตลาดที่เน้นการรวยด้วยการช่วยเหลือคนอื่นแล้วตัวเราได้ด้วยเช่นกัน ได้รับการยกย่องจากที่เขารู้สึกเอง สร้าง Idol ในการทำงานโดยร่วมมือกับบริษัทที่ดีที่สุด เน้นการเป็น Partner และ Feedback

          ความสำเร็จ เกิดจาก 1. บริษัทและวัฒนธรรมองค์กร 2. ผลิตภัณฑ์ 3. แผนการตลาด 4. ทีมงาน (Teamwork)

          สร้าง Dream Destination คือ ถ้าเราละจากโลกแล้ว อยากให้คนข้างหลังพูดว่าอย่างไร

2. มีเทคนิคอย่างไรในการแชร์ต่อ และจะทราบได้อย่างไรว่าสำเร็จ

ตอบ การแชร์รัว ๆ จะมีขั้นตอนให้อย่างการเพิ่มเพื่อนใน Facebook  มีขั้นตอนการทำงาน ซึ่งถ้าสนใจอาจเข้ามาเรียนเพิ่มเติม ส่วนข้อมูลที่ให้แชร์เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ไม่น่ากลัว เน้นภาพลักษณ์ที่ดี ให้ความใส่ใจใน Content Awareness ที่ดูแลด้านสุขภาพและความงาม เมื่อคนสั่งซื้อสินค้าจะมีโค้ดเข้าบริษัท และจะมี Get Link เข้ารหัสของคนแชร์ ถือเป็นนวัตกรรมอีกรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นการวาง Platform ที่ Unilever ทำได้มีการพัฒนาให้ดีขึ้น มีการลงมือทำ พบปัญหาและแก้ไข  เน้นความเป็นไปได้ในการทำงานง่าย สามารถพัฒนาให้ผู้อื่นทำได้เช่นกัน

         




#PSUfutureleaders3


หมายเลขบันทึก: 632925เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2017 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2017 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Summary of what has been learned and what will be applied to the work

9-August-17

Subject 29:

  • The Chaipattana Foundation was a vision by His Majesty King Bhumibol Adulyadej as the quicker way to response to the people problems than the government systematic and bureaucratic solutions. The foundation was established in 1988.
  • ML. Jirapan Taweewong, Deputy Secretary General, Office of the Royal Development Projects Board, the Chai Pattana Foundation gave the overview and examples of key royal projects.
  • For sustainable development,  cost effectiveness is emphasized instead of cost benefit.

Subject 30:

  • Talk at the Bank of Thailand consisting of 4 parts.
  • The world is not the same after World War II. Players are mainly US, Russia, China, North Korea. Seria, Qatar, and Taiwan are the strategic locations.
  • Disruptive technologies, gap in learning opportunities, education management, aging society and corruption are the challenges in this century.
  • Quality of graduates are getting poorer as well as teachers. The learning methods have to change. Reading and listening are the form of passive learning, while speaking and writing are the form of active learning.
  • What graduates needed for this century are 4C: Communication, Collaboration, Critical thinking and Creativity.

10-August-17

Subject 31:

  • KX is the knowledge exchange building that aims to support innovation platform for industry development.
  • Their services are innovation capability building program, productivities improvement program, HR development activities, accelerator program, co-working space, maker's space / fabrication lab, business plus, and technology market.
  • KMUTT was founded in 1960. In 2011, it was the 9th national research university. Today the university has 4 educational areas.
  • Roadmap 2020: 1) new approach to learning 2) S & T core capability and clustering 3) humanization 4) KMUTT policies 5) good governance & modern management 6) networking & resource utilization 7) internationalization
  • Accumulated income raised from 200 millions in 1998 to 5000 millions in 2017. KMUTT financial system does not stop in Aug - Sept. The residual budget can be kept. Procurement documents can use the advertised brochures. 

11-August-17

Subject 32:

  • Unilever has been with Thai people for 84 years with 4,000 employees, 8 factories and an R&D center.
  • Omni Connect is a new Unilever networking project using internet and digital platform to connect clients and business partners.
  • PSU should create the platform to learn and connect to prospective students using social media or similar means. Students are still the key clients for PSU. 

วันที่ 9 สิงหาคม 60

            ในช่วงแรกเป็นการศึกษาดูงานที่มูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงเล็งเห็นปัญหาของหน่วยงานราชการที่มักจะมีความล่าช้าในการดำเนินงานที่เกิดมาจากการทำงานที่มีขั้นตอน จึงไม่เหมาะกับการดำเนินงานบางอย่างที่ต้องการการปฏิบัติอย่างทันท่วงที  ดังนั้นมูลนิธิชัยพัฒนาจึงได้ถือกำเนิดขึ้น  นอกจากนี้ยังได้ทราบและเรียนรู้หลักการทรงงานของพระองค์ท่าน ที่ทรงเป็นแบบอย่างของการดำเนินงาน แก้ปัญหา อย่างมีขั้นตอน  ยึดหลักการพัฒนาอย่างประหยัด เรียบง่าย และยั่งยืน

            ในช่วงที่สองเป็นศึกษาดูงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย  โดยได้ฟังการบรรยายเกี่ยวกับการเรียนรู้เศรษฐกิจระดับโลกและระดับประเทศที่มีผลกระทบกับด้านการศึกษาของประเทศไทย โดยมีหัวข้อบรรยายคือ โลกที่ไม่เหมือนเดิม ไทยท่ามกลางความท้าทายที่หลากหลาย ปัญหาของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน และบทบาทของมหาวิทยาลัยในโลกที่ไม่เหมือนเดิม ซึ่งในปัจจุบันมหาวิทยาลัยของไทยประสบกับปัญหาคุณภาพของบัณฑิต ซึ่งมีสาเหตุมาจากผู้เรียน อาจารย์ หลักสูตร มหาวิทยาลัย และระบบการศึกษา  ทั้งนี้บทบาทของมหาวิทยาลัยในโลกที่ไม่เหมือนเดิมนี้จะต้องเน้นไปในทางด้านการสร้างคน สร้างองค์ความรู้ และสร้างจิตสำนึกในการช่วยเหลือแก้ปัญหาสังคม นอกจากนี้ยังต้องเสริมสร้าง skill หลักที่จำเป็นสำหรับยุค 21st century หรือ 4 C’s ได้แก่ communication, collaborator, critical thinking และ creativity ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องมีจริยธรรมเป็นตัวกำกับเสมอ

 

วันที่ 10 สิงหาคม 60

            ในช่วงแรกเป็นการเข้าเยี่ยมชมอาคาร KX (Knowledge Exchange) ซึ่งเป็นอาคารที่เปิดเป็นพื้นที่ในการทำงานแลกเปลี่ยนความรู้และให้ข้อมูลเกี่ยวกับ startups และ SMEs โดยในแต่ละชั้นจะถูกกำหนดพื้นที่การใช้งานที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของงาน   KX มีลักษณะเป็น one-stop-service คือมีส่วนที่ช่วย boost startups ให้เติบโตขึ้นไปจนไปอยู่ในระดับที่อยู่ได้ด้วยตนเอง  ภายใน KX มีทีมงานที่ช่วยพัฒนา hard+soft skills มีการจัด site visit โดยมีการติดต่อผู้ทรงคุณวุฒิที่เหมาะสมกับงานไปทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาแนะนำ

            ในช่วงที่สองเป็นการเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยได้ฟังการบรรยายจาก ผศ. ดร. ประเสริฐ คันธมานนท์ ซึ่งได้บรรยายการบริหารของ มจธ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยกำกับมหาวิทยาลัยแรก ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการใช้งบประมาณ ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนระบบการใช้เงินของแต่ละคณะให้หมดในแต่ละรอบงบประมาณให้เป็นระบบเงินสะสมของคณะ แต่ยังอยู่ในการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย  การจัดซื้อจัดจ้างต้องต่อเนื่อง และไม่ขึ้นกับปีงบประมาณ การบริหารองค์กรเป็นไปในทิศทางที่ให้องค์กรรู้จักตนเอง และอยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืน การทำให้มหาวิทยาลัยเป็นห้องเรียนรู้ มีการให้นักศึกษาได้ทำงานในสภาวะจริง ผู้บริหารต้องบริหารด้วยหลักการที่ถูกต้องและตระหนักถึงการเป็น leadership

 

วันที่ 11 สิงหาคม 60

            ได้เข้าเยี่ยมชมบริษัท Unilever Network ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ทางด้านการตลาดและเป็นอันดับ 1 ในด้านสินค้าอุปโภคและบริโภค  Unilever มีการเน้นเรื่อง startup business โดยมีการ research กลุ่มผู้บริโภค มีการใช้ creativity + technology มาสร้างมูลค่าเพิ่ม และเสริมสร้างจุดแข็ง  นอกจากนี้ยังมีการให้ความสำคัญของการสร้างเครือข่าย โดยมีการใช้ online platform ภายใต้ชื่อ project omni connect

จิรยุทธ์ จันทนพันธ์

สิ่งที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงานครั้งนี้ ได้บันทึกไว้ใน share.psu.ac.th ซึ่งเป็น plateform สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากร ม.อ. ตาม links ด้านล่าง


บันทึกสิ่งที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน

ทั้งนี้ขอสรุปสั้น ๆ ว่า "หน้าที่ของมหาวิทยาลัย คือ การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เศรษฐกิจ ความรู้ และความคิด"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท