วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

สรุปองค์ความรู้จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช ปีการศึกษา 2559


แนวปฏิบัติสู่ความสำเร็จในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัย

 

1. การร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการดำเนินการวิจัย เพื่อตอบโจทย์การวิจัยของประเทศ โดยอาจแบ่งกลุ่มย่อยในการดำเนินการวิจัยโครงการย่อยๆ

2. การเผยแพร่แหล่งทุนวิจัยภายนอก ให้กับอาจารย์ทุกท่านรับทราบ โดยการรวบรวมข้อมูลต่างๆตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้อาจารย์เตรียมตัวและวางแผนในการเตรียมโครงร่างการวิจัยให้ทันตามที่หน่วยสนับสนุนทุนวิจัยกำหนดไว้

3. การสนับสนุนงบประมาณเพื่อการผลิตผลงานวิจัยของหน่วยงานภายในเอง โดยต้องกำหนดกติกาในการรับทุนให้ชัดเจน เช่น ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัยให้เสร็จสิ้น ถ้าผิดสัญญาจะดำเนินการอย่างไร เป็นต้น เพื่อกำกับให้มีผลงานวิจัยตามที่กำหนดไว้ และการเปิดเวลาในการขอรับทุนทั้งปีนับเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาดำเนินการต่อไป

4. การสนับสนุนด้านฐานข้อมูลในกรณีที่อาจารย์ต้องการข้อมูลที่ไม่มีในฐานข้อมูลของวิทยาลัย ควรมีหน่วยสนับสนุนในส่วนนี้

5. การจัดสรรภาระงานด้านการสอนให้เท่าเทียมกัน เพื่อให้ทุกคนมีเวลาในการผลิตผลงานวิจัยเท่าเทียมกัน

6. การสร้างแรงจูงใจในการผลิตผลงานวิจัย เช่น การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย ทั้งนี้ต้องมีหลักฐานการเบิกจ่ายที่ชัดเจน เพื่อป้องกันการเบิกซ้ำซ้อน

7. ต้องมีการถ่ายทอดภาระความรับผิดชอบในการผลิตผลงานวิจัยมาตามลำดับขั้น เช่น กำหนดไว้ให้ชัดเจนว่าวิทยาลัยต้องการผลงานวิจัยกี่เรื่อง ในแต่ละภาควิชาควรรับไปภาควิชาละกี่เรื่อง และในภาควิชาต้องมาตกลงกันว่าใครจะรับผิดชอบดำเนินการ มีใครในทีมบ้าง ถ้าเป็นอาจารย์ใหม่ต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพในการทำวิจัย โดยระบบพี่เลี้ยง  ในส่วนของอาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมาพิจารณาผลงานของอาจารย์ทุกคนเพื่อให้หลักสูตรได้รับการรับรอง รวมทั้งการขอตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ต้องพิจารณาทุกปี และสุดท้ายคือการนำผลงานวิจัยเป็น PA ในการประเมินผลงานประจำปี

          8. การดำเนินโครงการวิจัยควรเป็นชุดโครงการวิจัยที่มีขนาดใหญ่

          9. การสร้างเครือข่ายในการทำวิจัย โดยไม่ต้องกังวลกับสัดส่วนในการทำวิจัย แต่ควรหวังผลเรื่องการเพิ่มศักยภาพของตนเองในการทำวิจัย

10. การเข้าร่วมอบรมการพัฒนาศักยภาพในการวิจัยกับหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานวิจัยแห่งชาติ ซึ่งจะได้ทั้งความรู้และเครือข่ายในการวิจัย 11. อย่าละเลยบางประเด็นในหัวข้อของโครงร่างการวิจัย เช่น ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ผู้วิจัยที่จะขอทุนต้องเขียนให้ชัดเจนว่าจะนำไปใช้อย่างไร ใครได้ประโยชน์จากงานวิจัย และที่สำคัญในปัจจุบันการทำโครงร่างการวิจัยใหญ่ๆ นักการศึกษาจะทำแบบเดี่ยวๆไม่ได้ แต่ควรมีคนในพื้นที่ร่วมทีมด้วย เพราะผู้ให้ทุนวิจัยจะมองเห็นการนำไปใช้ประโยชน์จริงจากงานวิจัยนั้นๆ

หมายเลขบันทึก: 635839เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2017 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กันยายน 2017 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยน้อยอาจต้องมีผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยมากเป็นที่ปรึกษาหรือชี้แนะแนวทาง

วิจัยกับคำว่า 'นักวิชาการ' มาด้วยกัน 

ทำเพื่อเรียนรู้ ตอบโจทย์ พัฒนาแก้ปัญหางานที่ทำ


ควรเผยแพร่แหล่งสนับสนุนภายนอกทั้งในประเทศและค่างประเทศให้อาจารย์เพื่อเป็นแรงกระตุ้น 

อาจารย์แต่ละท่านนำเสนอผลงาน ทำให้เรามีแรงกระตุ้นในการทำงานวิจัย

เป็นแรงบันดาลใจในการผลิตผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิชาการทุกคนควรพัฒนาตนเองไปเรื่อยๆ ขอบคุณเวทีที่สร้างแรงบันดาลใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท