สรุป "ปฏิรูปการศึกษา ๒๕๖๐ โดย ประเวศ วะสี"


ผมเข้าใจว่าครูไม่มีเวลามากนักที่จะอ่านและทำความเข้าใจเอกสารเผยแพร่ที่ นพ.วิจารณ์ แชร์มาทางบันทึกนี้  จึงวาดเป็นรูปสรุปให้สั้น เพื่อแบ่งปันสิ่งสำคัญนี้ออกไป ท่านเขียนบอก ๓ ประเด็นว่า ๑) อะไรคือรากฐานของวิกฤตการศึกษา ๒) จะต้องปฏิรูปอะไร? และ ๓) จะปฏิรูปอย่างไร  ผมตีความเทียบกับ "ภูเขาไฟในมหาสมุทร" ดังรูป

ผมจับเอาคำในเอกสารที่ท่านเผยแพร่ พยายามตีความคำว่า "วิกฤตการศึกษา" ในความหมายของท่านหมายถึงอะไร ? ได้ความเป็นอักษรสีดำในรูป  และใช้ตัวอักษรสีน้ำเงินสื่อถึงส่วนที่เป็นกลางน้ำของปัญหาวิกฤตด้านการศึกษา และใช้ตัวอักษรสีแดง แสดงรากฐานของวิกฤตการศึกษา



ท่านบอกว่า รากฐานของวิกฤต คือ

๑) การไม่พึ่งตนเองด้านการศึกษา การศึกษาไทยที่เริ่มตั้งแต่สมัย ร.๕ แม้ว่าตอนนั้นจะจำเป็นและเหมาะสม แต่ตอนนี้ต้องปฏิรูป  ท่านอธิบายการศึกษาไทยสมัยนั้นว่า เป็นการต่อท่อความรู้จากยุโรปมาที่ประเทศไทย ผลคือทำให้เราค่อยลืมรากเหง้าภูมิปัญญาของตนเอง

(รูปจากเอกสารเผยแพร่ นพ.ประเวศ วะสี คลิกที่นี่

๒) ระบบการศึกษาปัจจุบันเป็นระบบควบคุมซึ่งขัดแย้งกับธรรมชาติของการศึกษา ที่เป็นความงอกงามอย่างหลากหลาย ไม่มีที่สิ้นสุด   ท่านบอกว่า ระบบราชการไทยมีกฎ ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ ประมาณ ๑๓๐,๐๐๐ ฉบับ ควบคุมอย่างหนาแน่น ทำให้ริเริ่มอะไรใหม่ ๆ ได้ยากยิ่ง



๓) โครงสร้างการศึกษาเป็นเหมือนแท่งไซโลที่แข็งเป็นหิน  ระบบราชการและงานที่ตีราคาเงินเดือนตามใบปริญญษ ทำให้คนในมหาวิทยาลัยมีแต่ผู้ต้องการใบปริญญา การศึกษาการเป็นการค้า  ผู้ปกครองยังผูกกับค่านิยม เรียนเป็น "เจ้าคนนายคน" ให้ได้ "นั่งกินนอนกิน" ทำให้ต้องติวเตรียมตัวสอบแข่งขันกันเข้าสู่ลู่ช่องที่น้องนักเรียนเองก็ไม่ถนัดและไม่ชอบ

(รูปจากเอกสารเผยแพร่ นพ.ประเวศ วะสี คลิกที่นี่

ปฏิรูปอะไร ? ปฏิรูปอย่างไร ? 



ท่านบอกว่า สิ่งที่ต้องปฏิรูปมี ๖ ประการ และบอกวิธีว่าจะต้องปฏิรูปอย่างไรไว้ ๙ ประการ ดังรูป

ผมอ่านเอกสารนี้แล้ว รู้สึกว่า สิ่งที่ท่านบอกทั้งหมด ชัดในหลักการ ส่วนวิธีการนั้นชัดเจนในระดับโครงสร้างนโยบายเท่านั้น  ซึ่งผมเข้าใจว่า ไม่มีใครสามารถบอกได้ในระดับหน้างานว่าจะให้ทำอย่างไร เพราะนั่นคือเหตุว่า ทำไมเราต้องมี PLC และขับเคลื่อนในพื้นที่ของตนเอง



ผมชอบที่ท่านเสนอหลักการด้วยรูป ๓ ห่วง ดังรูปด้านล่าง

(รูปจากเอกสารเผยแพร่ นพ.ประเวศ วะสี คลิกที่นี่)  

ท่านบอกว่า ให้ทลายแท่งทึงไซโลนั้นเสีย ให้ขยายฐานและการเชื่อมโยงช่องทางการเสริมหนุนจากรากฐานของประเทศ คือ ชุมชนและท้องถิ่น โดยทำอาชีวให้เข้มแข็ง และปฏิรูปการเรียนรู้ให้วิชการเข้มแข็ง โดยให้ยึดฐาน ๓ ด้าน ได้แก่ การเรียนรู้ฐานวัฒนธรรม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ จิตตปัญญาศึกษา ดังรูปด้านล่าง

(รูปจากเอกสารเผยแพร่ นพ.ประเวศ วะสี คลิกที่นี่

สุดท้ายของบันทึกนี้ ผมมีความเห็นว่า รูปแบบการปฏิรูปและพัฒนาการศึกษาที่ท่านเสนอนี้นั้น "ก็ดี" แต่หากจะมองในเชิงบูรณาการ กับงานที่รัฐบาลกำลังขับเคลื่อน ผมคิดว่า วิธีของท่านนั้น ไหลรวมลงได้ในรอยเท้าช้าง นั่นคือ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา (๒ เงื่อนไข ๓ ห่วง และ ๔ มิติ)

หมายเลขบันทึก: 637073เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2017 18:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2017 22:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I do think so too "...สิ่งที่ท่านบอกทั้งหมด ชัดในหลักการ ส่วนวิธีการนั้นชัดเจนในระดับโครงสร้างนโยบายเท่านั้น  ซึ่งผมเข้าใจว่า ไม่มีใครสามารถบอกได้ในระดับหน้างานว่าจะให้ทำอย่างไร เพราะนั่นคือเหตุว่า ทำไมเราต้องมี PLC และขับเคลื่อนในพื้นที่ของตนเอง...".

Isn't that what Prof. Praves tries to say 'we have to learn by ourselves' but 'ทุกภาคส่วนควรช่วยกันระดมความคิด'?

I also think that Prof. Praves is quite clear in pointing out that 'we should learn to use our brain to solve problems in real life' instead of learn 'theories' (abstractions or layers) of real world.

Melt the Iceberg theory!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท