ดุหยงระเริงชล.....คน ..วปช.


           คน วปช.(วิทยาลัยป้องกันชุมชน)แม้สูงวัยแต่ใจเกินร้อย ยังนิยมชมชอบเดินทางสัญจรใช้ชีวิตแบบ Slow Life แบ่งปันประสบการณ์ ตามพื้นที่ต่างๆ

 มาหลายปี มีเฒ่าตาปี อาจารย์ จำรัส เจริญเวช เฒ่าทะเลสาปพัทลุงนาม วอญ่า และเฒ่าหนุ้ย แห่งน้ำตกกะช่อง ตรัง รวมๆอายุทั้ง 3 เฒ่า ราว125 ปี  เมื่อ

มีคำเชิญชวนจากอาจารย์ ชัยพร มังกรทางความคิด แห่งตรัง 5 ดีให้พวกเรา มานอนแพ แลดาว เล่นเล ที่บ้านนำราบ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง  พวกเราจึง

ไม่ลังเล มุ่งหน้าไปยังที่นัดหมาย....เขตเล เสบ้าน งานอนุรักษ์ชายฝั่ง สมดังปราถนา.......

เขตเลเสบ้าน คุณ สุรัตน์ อัตตะได้ขยายความไว้ว่า....

เท่าที่ได้สัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาในวันนี้ ต้องยอมรับว่ามีความเข้มแข็งขึ้นมาก พวกเขาแปลงวิกฤติให้เป็นโอกาสได้อย่างน่าทึ่งทีเดียว บางพื้นที่มีการรวมกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น แต่ที่น่าทึ่งมากๆ คือชุมชนบ้านน้ำราบ ต.บางสัก อ.กันตัง ถือเป็นชุมชนต้นแบบเป็นตัวอย่างให้แก่ชุมชนอื่นได้ดีทีเดียว ภายใต้ผู้นำที่เข้มแข็งอย่าง บังเดีย หรือหลงเฟีย บางสัก ประธานชมรมประมงพื้นบ้าน ถือเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการรวมกลุ่มชาวบ้านผนึกกำลังปกป้องน่านน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งทำมาหากินของพวกเขาไว้อย่างเหนียวแน่น

 ไม่เฉพาะบ้านน้ำราบเท่านั้นที่มีความเป็นปึกแผ่น แต่ยังขยายพื้นที่ครอบคลุมหมู่บ้านใกล้เคียงถึง 4 หมู่บ้านที่จับมือผนึกกำลังร่วมกัน หรือที่รู้จักกันในนาม "เขตทะเลสี่หมู่บ้าน หรือเขตเลเสบ้าน" ประกอบไปด้วย บ้านน้ำราบ บ้านควนตุ้งมึง้ บ้างฉางหลาง และบ้านเกาะมุกด์ เพื่อปกป้องทรัพยากรชายฝั่ง ภายใต้โครงการแนวเขตเพาะพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนและป้องกันเครื่องมือประมงทำลายล้างให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเจตนารมณ์ร่วมกันในการจัดการทรัพยากรทางทะเลให้เกิดความยั่งยืน
 กฎเหล็ก 4 ข้อที่ชาวบ้านตกลงร่วมกันเป็นกติกาชุมชน ได้แก่ 1.ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ ห้ามทำการประมงด้วยเรืออวนลาก เรืออวนรุน อวนประกอบเครื่องมือกระทุ้งน้ำ อวนชักอวนทับตลิ่ง ระเบิด ยาเบื่อ เบ็ดราไว ลอบหรือไซปูขนาดตาอวนต่ำกว่า 2 นิ้ว การดำหอยโดยใช้เครื่องลม ยกเว้นกิจการเพื่อส่วนรวม 2.การจำกัดและห้ามทำประมงตามช่วงเวลา ตามฤดูกาลในบางพื้นที่ (ช่วงวางไข่ ช่วงระยะเติบโต) 3.ร่วมกันฟื้นฟูระบบนิเวศโดยรวม เช่น วางแนวปะการัง ปลูกป่าชายเลน ฯลฯ และ 4.ป่าชายเลนชุมชน การดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎระเบียบของแต่ละชุมชน

 โดยมีเป้าหมายหลักสำคัญเพื่อป้องกันการบุกรุกของเหล่าบรรดาอวนลาก อวนรุน และอวนตาเล็กทั้งหลายที่เข้ามาทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่ง งานนี้ชาวบ้านเขาคิดกันเอง ทำกันเอง โดยหน่วยงานภาครัฐทำหน้าที่คอยกำกับเป็นพี่เลี้ยงให้เท่านั้น แต่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน ชาวบ้านได้แหล่งทำมาหากินกลับมา ในขณะที่หน่วยภาครัฐก็มีผลงาน

 "เขตเลเสบ้าน" จึงนับเป็นตัวอย่างของชุมชนเข้มแข็งที่น่าศึกษาและควรนำไปเป็นแบบอย่างให้แก่ชุมชนอื่น เพราะสิ่งที่เห็นในวันนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเป็นผลพวงมาจากสึนามิที่ชาวบ้านแปลงวิกฤติเป็นโอกาสผ่านการช่วยเหลือเยียวยาจากมูลนิธีซิเมนต์ไทยและพันธมิตรในเครือข่ายนั่นเอง(เครดิตข้อมูลจาก คุณ สุรัตน์ อัตตะ)


ดักไซปู ริมหน้าท่า  ไม่ต้องไปหาไกลๆ

ลงแพ .......อาจารย์ ชัยพร บอกว่า เรามากันโดยไม่ได้นัดหมายล่วหน้า ไม่มีวาระ แต่ว่าเมื่อมาแล้ว คน วปช ในฐานะที่ยกระดับตัวเองเป็นนักวิชากร ประชาชน  ก่อนหนุกหนาน ก็เข้ากระบวนการสักหีด...ก่อนข้าวค่ำ     

บังหนุ้ย  ทิพย์ชื่น คน วปช เปิดประเด็น หลังจากเกิดอุบัติเหตุ ต้องนอนรักษาตัว ครึ่งปี ตอนนี้อาการดีขึ้น จึงมาร่วมวงเป็นครั้งแรก กับ วปช.ก็ยังมุ่งมั่นงานเกษตรครัวเรือน เกษตรประณีตจนมีเพื่อนบ้านเข้าร่วมขับเคลื่อนหลายครัวเรือน  เมื่อโครงการ 9101ลงมา ก็ได้รับงบประมาณมาทำเกษตรประณีต 500000บาทให้กับกลุ่ม ไปทำกิจกรรม บังหนุ้ยเล่าให้ฟังด้วยความภาคูมิใจ


คำสำคัญ (Tags): #เขตเลเสบ้าน
หมายเลขบันทึก: 637241เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2017 06:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2017 04:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ชอบใจกฏเหล็กของการอนุรักษ์ 4 ข้อ

กฎเหล็ก 4 ข้อที่ชาวบ้านตกลงร่วมกันเป็นกติกาชุมชน ได้แก่ 1.ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ ห้ามทำการประมงด้วยเรืออวนลาก เรืออวนรุน อวนประกอบเครื่องมือกระทุ้งน้ำ อวนชักอวนทับตลิ่ง ระเบิด ยาเบื่อ เบ็ดราไว ลอบหรือไซปูขนาดตาอวนต่ำกว่า 2 นิ้ว การดำหอยโดยใช้เครื่องลม ยกเว้นกิจการเพื่อส่วนรวม 2.การจำกัดและห้ามทำประมงตามช่วงเวลา ตามฤดูกาลในบางพื้นที่ (ช่วงวางไข่ ช่วงระยะเติบโต) 3.ร่วมกันฟื้นฟูระบบนิเวศโดยรวม เช่น วางแนวปะการัง ปลูกป่าชายเลน ฯลฯ และ 4.ป่าชายเลนชุมชน การดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎระเบียบของแต่ละชุมชน

เบ็ดราไว คือเบ็ดอะไรครับ

สวัสดีท่านอาจารย์ ขจิต วันนี้ทำค่ายที่ไหน

สำหรับคำว่า เบ็ดราไว ก็คือ เบ็ดราวไว ทางใต้พูดสั้น้ๆ เป็นเบ็ดราไว

ลักษณะทำลายล้าง เป็นเครื่องมือต้องห้าม

(แหล่งทำการประมง ที่ระดับน้ำลึก 4-20 เมตร
จังหวัดที่พบ ชุมพร ปัตตานี ภูเก็ต สตูล ตรัง
ระยะเวลาทำการประมง ทำได้ตลอดปี
ลักษณะการทำลายล้าง
- พบการทำลายล้างในเขตจังหวัดตรัง เพราะพื้นที่วางเบ็ดราวปลากระเบนเป็นบริเวณที่มีปลาพะยูน ปลาโลมา เต่าทะเล จระเข้อยู่ด้วยจึงเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำเหล่านั้น
ชาวบ้านบางแห่งพยายามหาทางออก โดยการเปลี่ยนจากการใช้เบ็ดราวไม่มีเหยื่อ มาเป็นเบ็ดแบบมีเหยื่อแทน ซึ่งจะผู้เบ็ดห่างกันตาละ 1 วา ทำให้ลดการทำลายล้างลงได้)

ข้อมูลจากกฎหมายประมง...

เคยเห็นแบบนี้แต่ในแม่น้ำลำแควแต่...ที่นี่เป็น" ริมเล" 

น่าสนใจ บรรยากาศดีอีกแบบหนึ่งนะจ๊ะ

คิดถึงลุงวอจ้ะ

-สวัสดีครับท่านวอญ่า

-ตามติดภารกิจของท่านวอญ่าครับ

-รับพลังกาย พลังใจ จากผู้ใหญ่ใจดี

-ขอบคุณครับ

การรวมพลังของชุมชนที่มีพื้นฐานมาจากได้รับผลกระทบร่วมกัน กิจกรรมมีเนื้อหาของเป้าหมายเป็นศูนย์กลางย่อมมีพลังอยู่ในตัว

สวัสดีน้องมะเดื่อ

บรรยากาศล่องแพท่าขะหยง คล้ายๆกับล่องเรือที่เขาแดง สามร้อยยอด

เรียนคุณ เพชร มีโอกาสมาภาคใต้ เรียนเชิญ บ้านลุงวอน่ะครับ

เรียนอาจารย์ จำรัส

ผลกระทบร่วม เป็นทุกข์ร่วมของคนเล 

จะหวังพึ่งหน่วยงานราชการมาแก้ไขก็ไม่ถูกจุด

ชุมชนจึงลุกขึ้นมาจัดการตนเองดูแลทรัพยากรชายฝั่งร่วมกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท