วัดหนองเงือก กับภาพจิตรกรรมฝาผนัง >ในคะตึก(หอธัมม์)


วัดหนองเงือก  อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน 

     อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอป่าซาง ประมาณไม่ถึง 5 กิโลเมตร
วัดนี้มีมีโบราณสถาน ที่ทรงคุณค่า และสวยงามหลายสิ่ง 
เช่น ซุ้มประตูวัด, พระเจดีย์ , และหอไตร

     แต่สิ่งที่สะดุดตาอันดับแรกของวัดนี้คือ ซุ้มประตูทางเข้า
เป็นปูนปั้นประดับลวดลายประดับพันธุ์พฤกษา
แบบลายคำแบบล้านนา และรูปเทวดา
 เป็นอิทธิพลศิลปกรมของพม่า สวยงามมาก 

    แต่ที่จะกล่าวถึงคือ หอไตร ที่เรียกว่า คะตึก(หอธัมม์) ของวัดนี้
เป็นอาคารสองชั้นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ก่ออิฐถือปูนทั้งหลัง
ชั้นล่างเป็นห้องโล่ง มีซุ้มประตูเป็นรูปซุ้มโค้ง   มีทั้งหมด 5 ประตู

      อาคารนี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบมอญผสมยุโรป และศิลปะพื้นเมือง 
ตามประวัติกล่าวว่าสร้างเมื่อ จุลศักราช 1268 (พ.ศ.2449)
เป็นที่เก็บหนังสือใบลาน พระไตรปิฎก  อัฏฐกถา   และคำสอนต่างๆในพุทธศาสนา 

   ส่วนด้านข้าง และด้านหลังทำเป็นประตูเหมือนด้านหน้า
แต่ไม่เจาะทะลุ  ถือปูนกันเป็นขอบเท่านั้น

    ช่องด้านซ้ายมือสุด บริเวณบันได จะก่อผนังทึบ
มีศิลปะปูนปั้นลงสีรูปเทวดาปูนปั้น 2 ยืนคู่กัน 
โดยยืนบนหลังสัตว์ (ไม่แน่ใจว่าเป็นตัว "มอม" สัตว์ในตำนานหรือเปล่า) องค์ละตัว

ลักษณะรูปทรง องค์ประกอบปูนปั้น สวยงามมาก คล้ายกับประดับทางขึ้นที่เป็นบันได

โดยบันไดที่ว่า มีสองด้าน คล้ายระเบียงรอบอาคารชั้นล่าง 

    กรอบหน้าต่างด้านบนเป็นสี่เหลี่ยม  มีลวดลายทองประดับ
เหนือขอบหน้าต่าง มีกรอบลายคั่น สลับกับโคมกลมกระจกสี 

     ภาพจิตรกรรมฝาผนัง จะเขียนไว้ที่โถงชั้นล่าง  ถ้าเดินเข้าทางด้านหน้าที่เป็นซุ้มประตูโค้ง 
(เดินเข้าไปแล้วประตูทางเข้าอยู่ด้านหลังเรา..จะอธิบายตำแหน่งภาพจิตรกรรมด้วยภาพแปลนประกอบ)
    ภาพเขียนจะมีอยู่ สามตำแหน่ง คือฝาผนังด้านซ้ายมือ , ฝาผนังด้านหน้าซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนมาก และ,ฝาผนังด้านขวามือ
เรื่มจาก..

    ผนังด้านซ้ายมือภาพ ...(ภาพแปลนช่อง1) ภาพเลอะเลือนไปมาก 
เป็นภาพเรือนซุ้มพระประธาน ใช้สีเหลืองมีสีน้ำเงินคราม เดินเส้นช่วย
พื้น เป็นสีเขียว  และมีฐานพระด้วย

   ผนังด้านหน้าซึ่งเป็นพื้นที่กว้างที่สุด ภาพจะมีเนื้อหาเป็น สองเรื่อง ทางซ้าย...(ภาพแปลนช่อง2) 
เขียนเรื่องราวขององค์พระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า
พร้อมพระอรหันต์เสด็จกลับลงมาจากไปแสดงพระธรรม เทศนาโปรดพุทธมารดา

  ส่วนทางขวา...(ภาพแปลนช่อง3)  เขียนเป็นภาพพระยานาค มารอรับเสด็จ พระพุทธองค์ ที่เมืองบาดาล

    ในมุมขวาสุด ...(ภาพแปลนช่อง4) เป็นภาพ ในปราสาท มีคนนั้งอยู่น่าจะเป็นวิธูรบัณฑิต 

...การใช้เส้นประณีตมาก  มีทั้งตัดเส้นด้วยสีดำ และสีน้ำตาล โดยเฉพาะใบหน้าของผู้ที่เด่นๆในเรื่อจะ
เน้นตัดเส้นประณีต เป็นพิเศษ 


 

ผนังด้านขวามือสุด...(ภาพแปลนช่อง5)  เขียนเป็นเรื่อง“พรหมจักรชาดก”เป็นนิทานชาดก 

....การจัดองค์ประกอบ เหมือนจิตรกรรมไทย จะไม่มีความลึกของภาพ แบบหลักทัศนียวิทยา (perspective)

แต่จะกำหนดระยะที่ ห่างออกไป ด้วยการใช้พื้นที่ และน้ำหนักของสี


...เรื่อง โครงสีของจิตรกรรมฝาผนังที่นี่จะใช้สีหลายหลายมาก บางสีเลือนไปบ้างแล้ว แต่มีที่ยังสีเด่นๆ ก็เป็นสีเหลือง ,สีเขียว
สีน้ำเงินคราม ,สีดำ, สีน้ำตาล  สีแดงพอมีบ้างแต่จางไปมากแล้ว


....ภาพเขียน จะมีลักษณะเป็นศิลปะพม่าชัดเจนมาก ในเรื่องเครื่องแต่งกายของผู้คน ,ซุ้มปราสาทต่างๆ ตลอดจนลวดลาย ประกอบ
แต่จะ มีภาษาอักขระล้านนา เขียนกำกับ


 ....ด้านล่างภาพแต่ละผนังจะมีการใช้กรอบสีเหลือง มีลวดลายสีเขียวกำหนด

การใช้โครงสีเหลือง และสีเขียวให้เด่นลักษณะนี้  ไม่ค่อยจะเห็นกันในจิตรกรรมฝาผนังของช่างไทย

     คะตึก(หอธัมม์)  แห่งนี้นับเป็นงานศิลปกรรมที่ผสมผสาน ชนชาติ  ทั้งตัวอาคารภายนอก 
และจิตรกรรมฝาผนังภายใน ได้อย่างลงตัว  ทรงคุณค่าทางโบราณคดี  และความงดงาม
เป็นแหล่งการเรียนรู้ ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ 

....
สถานที่
วัดหนองเงือก  หมู่บ้านหนองเงือก   ตำบลแม่แรง  
อำเภอป่าซาง   จังหวัดลำพูน 
พิกัด : 18.484404, 98.908382
........
วันที่บันทึกภาพ 
-29 พ.ค.2560 
-2 ธ.ค.2560
..........

หมายเลขบันทึก: 643049เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2017 08:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2020 06:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท