เรื่องที่ 3 สิ่งแวดล้อมกับการค้าระหว่างประเทศ


การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นสิ่งที่จำเป็กว่าการแก้ไขอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมกับการค้าระหว่างประเทศที่มีการถกเถียงไม่แพ้มาตรฐานแรงงาน จะดีกว่าหรือไม่หากจัดให้เป็นเวทีเจราเพื่อฟังความคิดเห็นจากนานาประเทศโดยมีองค์การระหว่างประเทศอื่นที่ชัดเจนทำหน้าที่แยกต่างหากจาก WTO
เรื่องที่ 3 สิ่งแวดล้อมกับการค้าระหว่างประเทศ

           แม้ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมาว่าควรนำมาเชื่อมโยงกับการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ แต่ ปัจจุบันนี้คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าสิ่งแวดล้อมกับการค้าเป็นสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน อันเนื่องมาจากหลักการพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์เรื่องวัตถุดิบที่จะนำไปใช้ในการประกอบการของประเทศต่างๆ ย่อมต้องเกี่ยวพันกับสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเกิดการขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศ ทำให้เกิดการแข่งขันในทุกทางเพื่อให้ตนเองได้เปรียบและเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และจากพื้นฐานทางความคิดที่แตกต่างระหว่างประเทศพัฒนาแล้วที่คิดว่า การค้าที่ขยายตัวแสดงให้เห็นว่าคนบริโภคมากขึ้นและการผลิตสินค้าก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ดังนั้นเพื่อรักษาทรัพยากรที่จะนำไปเป็นวัตถุดิบหรือเป็นปัจจัยในการผลิตให้คงอยู่นานๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำ ดิน อากาศ และ ป่าไม้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาไม่ให้เสื่อมโทรม ดังนั้นรัฐควรให้ความสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อมก่อนการค้าระหว่างประเทศ

             ส่วนอีกแนวคิดอีกประการหนึ่ง ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่เห็นว่ากาค้าเป็นการหารายได้เพื่อพัฒนาประเทศที่สำคัญ ดังนั้นหากกิจกรรมทางการค้าจะทำลายสิ่งแวดล้อมไปบ้างก็ยอมรับได้ แล้วจึงหาทางแก้ไข เช่น การทำประมงที่ใช้แหอวนตาถี่ในการจับสัตว์น้ำ ทำให้สัตว์ทะเลตัวเล็ก เช่น ลูกปลา ลูกปลาหมึก เป็นต้น ที่ยังไม่โตเต็มที่ติดมากับแหอวนด้วย รวมทั้งสัตว์ทะเลที่เป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น เต่าทะเล โลมา เป็นต้น ต้องตายติดในแหอวนขณะถูกชักลาก เป็นต้น

          

แม้ว่าองค์การการค้าโลกจะมีบทบัญญัติอันเป็นข้อยกเว้นทั่วไปตามArticle XX GATT วางหลักว่าอาจใช้มาตรการใดๆ ขัดกับหลักการพื้นฐานของ WTO เพื่อคุ้มครองมนุษย์ สัตว์ และพืชได้ โดยการใช้มาตรการนั้นต้องไม่เป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่เป็นการตามอำเภอใจและไม่มีการกีดกันทางการค้าแบบแอบแฝง ซึ่งเกิดคำถามที่ตามมาว่า WTO มีมาตรการรองรับและเป็นหลักประกันแก่ประเทศสมาชิกชัดเจนเพียงไรเพื่อให้เกิดผลกระทบในทางลบกับทุกประเทศน้อยที่สุด อีกทั้งปัญหาของ Panel ในการใช้และการตีความArticle XX ดังกล่าว เนื่องจากต้องตีความอย่างเคร่งครัด ซึ่งส่วนนี้ข้าพเจ้าก็เห็นด้วยกับการใช้บทบัญญัติดังกล่าวอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการใช้ข้อยกเว้นอย่างหลักทั่วไป จึงต้องพิจารณาเป็นกรณีไป

นอกจากกรอบการเจรจาพหุภาคี WTO แล้วยังมีความพยายามจัดตั้ง องค์การสิ่งแวดล้อมโลก(Global Environmental Organization : GEO)เพื่อให้มีอำนาจในการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างเด็ดขาดในประเด็นการค้ากับสิ่งแวดล้อม  โดยให้มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบและคานอำนาจกับWTO อย่างไรก็ตามบางประเทศเกิดความกังวลว่า แม้ว่า GEO จะถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมโลกร่วมกัน และ ลดความตึงเครียดในการแข่งขันทางการค้าโดยใช้นโยบายทางสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือ  แต่ ประเทศที่จะเข้าเป็นภาคีต่างกลัวว่าตนจะเสียอำนาจอธิไตย หรือการดำเนินงานขององค์การมีความโปร่งใสอย่างเพียงพอหรือไม่ และน่วยงานจะทับซ้อนกับหน่วยงานที่มีอยู่หรือไม่ เช่ น UNEP(United Nations Environment Programe) เป็นต้น

           จากแนวคิดดังกล่าวนั้นดิฉันเห็นว่าการที่จะมองว่าสิ่งแวดล้อมเกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ นั้นต้องทราบก่อนว่า มาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่จะนำมาใช้นั้นคืออะไร และที่สำคัญมาตรการดังกล่าวต้องไม่ใช่มาตรการกีดกันทางการค้ากับประเทศอีกประเทศหนึ่ง        

บทวิจารณ์                                     

           การนำเรื่องสิ่งแวดล้อมมาเชื่อมโยงกับการค้าระหว่างประเทศนั้น แม้ว่าเราไม่อาจที่จะปฏิเสธได้ว่าสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับทรัพยากรธรรมชาติที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต แต่ดิฉันคิดว่าทางออกที่ดีที่สุดที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาว่ามาตรการสิ่งแวดล้อมเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าของประเทศผู้นำเข้า โดยกำหนดมาตรฐานเรื่องสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะด้วยการติดฉลาก หรือการกำหนดให้มีอุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงที่ต้องซื้อจากประเทศผู้นำเข้า(สหรัฐอเมริกา) ในการแยกสัตว์น้ำที่จะจับไปเพื่อบริโภคกับสัตว์น้ำที่ใกล้สูญพันธุ์ ทำให้ประเทศผู้ส่งออกต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งค่าอุปกรณ์  ดังนั้นทางออกร่วมกันคือการเจรจาระหว่างประเทศ หารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น และแจกแจงผลกระทบที่ตนจะได้รับจากการออกมาตรการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และร่วมกันกำหนดคำนิยามของคำว่า มาตรฐานสิ่งแวดล้อม ให้ชัดเจน เพื่อมิให้ประเทศใดประเทศหนึ่งนำไปใช้เพือกีดกันทางการค้าได้ และที่สำคัญที่สุดว่าประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วที่แสดงท่าทีว่าตนต้องรักษาสิ่งแวดล้อมก่อนการค้าระหว่างประเทศ มีความจริงใจและจริงจังเพียงใดในการรักษาสิ่งแวดล้อมที่แท้จริง เนื่องจากประเทศดังกล่าวเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรื่อนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยายกาศ ซึ่งไปทำลายชั้นโอโซน ทำให้โลกร้อนขึ้น และบางประเทศก็ไม่ได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาที่เกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สิ่งนี้คงยังไม่อาจบ่งบอกได้ว่าประเทศกำลังพัฒนาให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมกอนการค้าได้ 

            การจะก่อให้เกิดการรักษาสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศอย่างแท้จริง ด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรให้ความสำคัญก่อนเป็นอันดับแรก แม้ว่าผู้เขียนจะได้เสนอแนะแนวทางที่จะเชื่อมโยงสิ่งแวดล้อมกับการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ WTO หากไม่อาจให้คำนิยามที่ชัดแจ้งของคำว่า"มาตรฐานสิ่งแวดล้อม" คืออะไร ก็คงไม่อาจจะถือได้ว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับการนำมาเชื่อมโยงการค้าระหว่างประเทศ

            อย่างไรก็ตามดิฉันคิดว่าควรที่ทำให้เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ ไม่ใช่ประเทศใดประเทศหนึ่งเพี่ยงประเทศเดี่ยวที่จะมาแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ ดังน้น การรวมตัวกันโดยก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศมีหน้าที่หลักเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง รวมทั้งสิ่งแวดล้อมกับการค้าด้วย เพื่อสร้างความชัดเจนและการให้ความเด็ดในการใช้อำนาจหน้าที่อย่างเป็นเอกภาพ  ดังนั้น หากประเทศต่างๆ ในฐานะเอยู่ในประชาคมโลกเดียวกัน ควรที่จะหันเข้าหาความร่วมมือในการรักษาสิ่งแวดล้อมโลกเพื่อให้มีทรัพยากรให้คนรุ่นหลังได้ใช้ต่อไป

บรรณานุกรม       

ทัชชมัย ฤกษะสุต,ผช,ศ.ประเด็นใหม่องค์การการค้าโลก.พิมพ์ครั้งแรก: 2543 สำนักพิมพ์นิติธรรม

                                         . แกตต์และองค์การการค้าโลก.พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2547

สำนักพิมพ์วิญญูชน

สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล.การเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮา. เอกสารข้อมูลหมายเลข 4 (พ.ศ. 2547) โครงการWTO Watch (จับกระแสองค์การการค้าโลก).

John H. Jackson. The World Trading System . Second Edition 1999, The MIT Press ,page 154-155 and 244-245.

John H. Jackson. The Jurisprudence of GATT and the WTO Insights on treaty law and economic relations. First published 2000,  Cambridge University Press, page 449-454.

 Mitsuo Matsushita. The World Trade Organization Law, Practice, and Policy , pp 589-594, 599,and 602-604. Oxford University  Press Inc: 2003.

หมายเลขบันทึก: 64538เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2006 23:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
น่าจะมีให้มากกว่านี้นะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะสำหรับคำแนะนำ
  • สนใจข้อมูลเพิ่มเติมแนะนำพี่บล็อกนี้ค่ะ

http://gotoknow.org/blog/GATT-WTO

ขอชื่นชมกับความคิดริเริ่มดีๆ ในการ discourse ความเชื่มโยงระหว่าง trade values กับ non-trade values ในระเบียบการค้าโลก ผมเองมีความสนใจ ประเด็น domestic regulation โดยตั้งคำถามว่า จริงๆ แล้ว กฎเกณฑ์ ระเบียบการค้าโลก เป็นอุปสรรค ต่อ อำนาจรัฐในการออกกฎหมายภายในเพื่อป้องกัน ผลประโยชน์ส่วนรวมอื่นๆ เช่น สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม (GATT XX ไม่ได้พูดถึง environment โดยตรง) หรือ การกระจายความเป็นธรรมในสังคมหรือไม่ และ ถ้าใช่ บทบาทของรัฐภาคี ทั้ที่พัฒนาแล้วและ กำลังพัฒนาควรมีอย่างไรเพื่อกำหนดทิศทาง ในการสร้าง “กฎเกณฑ์” ของระบอบการค้า

ผมว่าคงมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความเห็นทางวิชาการกันครับ

(ผมกำลังศึกษา (เขียนหนังสือ) เรื่อง สิ่งแวดล้อมกับกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท