ผลกระทบจากช้างป่า ความจริงที่ถูกมองข้าม


ภาพจาก <p></p>

<p class="text-center">ภาพจาก https://goo.gl/images/3wfxkX
</p><p>เมื่อสัปดาห์ก่อน ได้ไปเที่ยวสวนผลไม้ที่จันทบุรี ได้มีโอกาสคุยแลกเปลี่ยนทุกข์สุขกับเพื่อนที่อยู่ที่นั่น มีเรื่องหนึ่งที่อยากบันทึกไว้ เผื่อมีใครที่จะเพิ่มเติมหรือแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประเด็น “ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากช้าง”
ข่าวคราว “ช้างป่า” ออกจากป่ามาทำลายพืชผลของชาวสวน เห็นอยู่เนืองๆ ทั้งข่าวในโทรทัศน์ หรือ สื่อต่างๆ ส่วนใหญ่มุมมองของสังคม มักจะเอนไปทาง “การอนุรักษ์ช้าง” การอยู่ร่วมกันกับช้าง บางครั้งช้างได้รับผลจากการบุกรุกสวนผลไม้ ได้บาดเจ็บหรือตายจากการ ถูกยิง ถูกทำร้าย หรือถูกแนวป้องกันที่ชาวสวน ก็จะมีแสดงความเห็นเรียกร้องให้ช่วยกันป้องกันไม่ให้ทำร้ายช้าง และพยายามบอกว่า “ควรอยู่กับช้างอย่างปกติสุข” แต่ข้อมูลอีกด้านของชาวสวนที่ได้รับผลกระทบ เช่น สวนผลไม้ถูกทำลาย ชาวบ้านถูกช้างทำร้ายบาดเจ็บ บางรายถึงแก่ชีวิต ไม่ค่อยได้รับการเสนอ และ มีการให้ความช่วยเหลือ
เพื่อนที่ทำงานในอำเภอแก่งหางแมว จันทบุรี บอกว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากช้างมีจำนวนมากพอสมควร มีทั้งบาดเจ็บ พิการ หรือ เสียชีวิต เคยมีกลุ่มอนุรักษ์ช้างเข้าไปในพื้นที่ แล้วไปบอกชาวบ้าน “ให้อยู่ร่วมกันกับช้าง” แต่ความจริงมันเป็นไปได้ยาก เพราะช้างเป็นสัตว์ป่า ออกมาทำมาหากิน เมื่อถูกขัดขวางก็ทำร้ายตามสัญชาตญาณ มีชาวบ้านบอกนักอนุรักษ์กลุ่มนั้นว่า “ก็อยากให้มาอยู่กับช้าง มาจะยกที่ให้สักไร่ อยู่ให้ครบปีก็แล้วกัน ดูสิว่าจะอยู่ได้จริงหรือเปล่า”
ในพื้นที่มีความพยายามที่จะตั้งกองทุนเยียวยาผู้รับผลกระทบจากช้างป่า จัดตั้งโดยกลุ่มข้าราชการในอำเภอแก่งหางแมว มีทั้ง นายอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ ผู้กำกับการตำรวจ และเครือข่ายต่างๆในอำเภอ ใช้เงินในกองทุนฯในการเยียวยาสำหรับผู้รับกระทบจากช้างในรูปแบบต่างๆ แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของความพยายามให้สังคมได้ร่วมรับรู้และช่วยเหลือผู้รับผลกระทบ
สิ่งที่ต้องเรียนรู้จากการพูดคุยกับเพื่อนที่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนฯ ทำให้ต้องได้ทำความเข้าใจกับข้อมูลการอนุรักษ์ เพราะทุกอย่างย่อมมีมากกว่า 1 ด้านเสมอ</p>

หมายเลขบันทึก: 647919เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2018 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2018 11:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท