ตามเก็บวันเวลา : สนุกกับหนังสือ “ศาสตร์และศิลป์ของการสอน” : หนังสือเดินทางถึงมืออาจารย์วิจารณ์


ภาพนี้เป็นหนึ่งในภาพ portrait ของอาจารย์วิจารณ์ที่ดีที่สุดภาพหนึ่งที่ฉันได้ถ่ายไว้ ในขณะที่พูดคุยแลกแนวคิดกันในวันนั้น

ห่างหายจากการเข้ามาเขียนบันทึกใน gotoknow ไปพักใหญ่ เพราะมีอะไรที่ล้วนแล้วแต่ "ด่วน" และ "สำคัญ" ให้ทำมากมาย และแล้ววันนี้ก็ได้เวลาย้อนกลับมาตามเก็บวันเวลากับครึ่งปีที่ผ่าน

................................


วันที่ ๒๐ มิ.ย.๖๐ 

ฉันได้เรียนเสนอแนวคิดที่ตกผลึกในรอบแรก พร้อมทั้งแบบปกที่โรงพิมพ์ออกแบบให้ และรับเอาความต้องการของจากทั้งอาจารย์และพี่เปาไปพัฒนาต่อ 

ในวันนั้นอาจารย์เสนอให้เพิ่มตัวอย่างเรื่องเล่าของการปฏิบัติจริงที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนของของโรงเรียนเพลินพัฒนาเข้าไปในตัวเล่มด้วย หนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือเล่มแรกที่ฉันได้รับความไว้วางใจจากอาจารย์ให้เป็นผู้ดูแลต้นฉบับ และเป็นผู้แต่งร่วมกับอาจารย์ด้วย

ภาพนี้เป็นหนึ่งในภาพ portrait ของอาจารย์วิจารณ์ที่ดีที่สุดภาพหนึ่งที่ฉันได้ถ่ายไว้ ในขณะที่พูดคุยแลกแนวคิดกันในวันนั้น

หนึ่งในแบบปกที่โรงพิมพ์ทำมานำเสนอ และอาจารย์ติงว่าอยากให้สีสันสดใสกว่านี้ 


ต่อมาฉันได้เรียนเสนอความคืบหน้าของทั้งการพัฒนาตัวต้นฉบับและการจัดรูปเล่มให้อาจารย์และพี่เปาเป็นระยะๆ ผ่านทางอีเมล และการคุยกันก่อนการประชุมในวงประชุมที่มีอาจารย์ร่วมอยู่ด้วย

นำผลงานของนักเรียนชั้น ๖ ไปให้อาจารย์พิจารณา ในการประชุมที่โรงแรมสุโกศล


วันที่ ๑๒ พ.ย. ๖๐

เรียนเสนอแบบปกหนังสือที่มีการปรับปรุงสีให้สดใส ตามความประสงค์ของอาจารย์



วันที่ ๑๕ พ.ย. ๖๐

โรงพิมพ์ได้ทำการสรุปจำนวนหน้าที่พิมพ์จริง และสร้าง mock up มาให้ดู

 

เมื่อเห็นขนาดจริงของหนังสือก็พบว่าขนาดของภาพนาฬิกาทรายที่ปกมีขนาดใหญ่เกินไป  ฉันจึงขออนุญาตอาจารย์เพิ่มเติมรูปดอกไม้ฝีมือนักเรียนชั้นประถม ๑ ลงไปใต้ภาพ  เพื่อแก้ปัญหาเรื่องขนาดของภาพนาฬิกาทรายให้มีความสวยงามพอเหมาะพอดีกับพื้นที่หน้าปก  


และได้ใช้พื้นที่อีก ๑ หน้ากระดาษเขียนถึง เรื่องจากปก เอาไว้ดังนี้


 "หนังสือเล่มนี้ถอดความและตีความมาจากต้นฉบับที่มีชื่อว่า The New Art and Science of Teaching ในฉบับภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้เขียนขึ้นต้นด้วยศิลป์แล้วจึงต่อด้วยศาสตร์ ในขณะที่ผู้ถอดความใช้ชื่อเป็นภาษาไทยว่า ศาสตร์และศิลป์ของการสอน คือใช้ศาสตร์นำศิลป์ ซึ่งหากพิจารณาจากตามนัยนี้จะเห็นได้ว่า ทั้ง “ศาสตร์” และ “ศิลป์” นั้นเป็นของคู่กัน และต้องใช้อย่างผสมผสานกันในสัดส่วนที่ลงตัวจึงจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ในการขับเคลื่อนตัวผู้เรียน ตลอดจนผู้สอนไปสู่การเรียนรู้ที่แท้ได้

ในการออกแบบปกหนังสือเล่มนี้ จึงได้ใช้รูปลักษณ์ของนาฬิกาทรายมาเป็นสื่อสะท้อนให้เห็นรูปธรรมของความกลมกลืนที่เกิดจากการถ่ายเทกันไปมาระหว่างศาสตร์กับศิลป์ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นภายใต้เงื่อนไขของเวลาที่มีอยู่

นาฬิกาทรายที่วางตัวอยู่บนพื้นสีที่สดใส จึงสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไปที่เกิดขึ้นในช่วงวันเวลาของการเรียนรู้ที่สดชื่น เปี่ยมไปด้วยพลังชีวิตของทั้งครูผู้สอนและผู้เรียนนั่นเอง"

 


วันที่ ๓๐ พ.ย.๖๐ 

หนังสือสำเร็จเป็นรูปเล่มสวยงาม ฉันผูกโบว์หนังสือเล่มแรก เพื่อเตรียมนำไปมอบให้กับอาจารย์วิจารณ์




วันที่ ๑ ธ.ค.๖๐ 

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเล่มแรกของอาจารย์ที่มีการแทรก QR Code ให้ผู้อ่านได้เข้าไปดูคลิปต่างๆ เพิ่มเติมได้ด้วย พี่เปาเป็นผู้นำเสนอแนวคิดนี้ระหว่างการประชุมหารือครั้งที่สาม

ในการประชุมผู้เชี่ยวชาญโครงการ DHS KM วันนั้นมี ผศ.ดร.วัลลา ตันตโยทัย ผู้ประสานงานเครือข่ายจัดการความรู้การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน  มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย อาจารย์จึงคือผู้ที่ได้รับหนังสือศาสตร์และศิลป์จากอาจารย์วิจารณ์เป็นเล่มแรก

หมายเลขบันทึก: 648650เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2018 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กรกฎาคม 2018 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท