เทคนิคการจำไฟลัมสัตว์ด้วยบทกลอน


ลูกเรียน ป.5 ต้องท่องจำไฟลัมของสัตว์แล้วค่ะ เด็กสมัยนี้เรียนกันเร็ว จำได้ว่าสมัยเรากว่าจะเรียนเรื่องนี้ก็ในวิชาชีววิทยา ม.ปลาย

แน่นอนค่ะมันเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กๆ ป.5 ที่ยังมีคลังศัพท์ในสมองอยู่ไม่มาก แม่ก็เลยถือโอกาสนี้สอนให้ลูกรู้ว่า การเรียนหนังสือให้เก่งนั้น ไม่ใช่การตะบี้ตะบันเรียนจนเครียด เรียนหนักจนไม่มีเวลาพักผ่อน แต่เราต้องรู้จักเทคนิคการเรียนและเทคนิคการจำเนื้อหาในบทเรียน ซึ่งเป็นการเรียนรู้อย่างฉลาด เรียนอย่าง smart นั่นเอง

แม่สอนลูกว่าเทคนิคการจำเรื่องไฟลัมสัตว์นี้มีสองเทคนิค คือ หนึ่งต้องรู้รากศัพท์ และสองต้องจำให้คล้องจองกัน แล้วแม่กับลูกก็เริ่มค้นหาความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการจำไฟลัมสัตว์ด้วยกันค่ะ

กระบวนการตรงนี้สำคัญนะคะ อย่าทำงานแทนลูกค่ะ ช้าหน่อยไม่เป็นไร เพราะลูกยังเด็กอยู่ ค่อยๆ สอนวิธีการค้นหาความรู้กันไปค่ะ เป็น Knowledge seeking skills และ knowledge inquiry skills ค่ะ

ความรู้มีอยู่มากมายในโลกอินเทอร์เน็ตค่ะ สำหรับในเรื่องไฟลัมสัตว์นี้มีอยู่มากมายค่ะทั้งในรูปแบบบทกลอนหรือบทเพลง เด็กๆ เดี๋ยวนี้เก่งค่ะ แต่งกลอนแต่งเพลงมาเชื่อมโยงกับเนื้อหาความรู้ไว้เยอะแยะ ครูที่เป็นติวเตอร์ก็เก่งค่ะช่างสรรหาเทคนิคการจำมาสอนเด็กๆ

แล้วที่สำคัญคือไม่เก็บเอาไว้คนเดียวเก่งคนเดียว ความรู้ที่เขามีเขานำมาแบ่งปันค่ะ ในโลกอินเทอร์เน็ตความรู้หนึ่งๆ ไม่ได้ถูกสอนอยู่แค่นักเรียนกลุ่มเดียวค่ะ แต่สอนกันได้ทั้งประเทศ เป็นทานปัญญา อันนี้เป็น Knowledge sharing skills ค่ะ และสอนความเป็นพลเมืองของโลกค่ะ (Global citizenship)

ความเป็น Volunteer หรือจิตอาสานั้นมีได้ทุกเวลาและมีได้ทั่วโลกค่ะ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ อย่านิ่งดูดาย ลูกครับในอนาคตข้างหน้าสิ่งที่แม่เขียนไว้ใน GotoKnow วันนี้จะมีส่วนช่วยบ่มเพาะความรู้ให้เด็กๆ หมูป่า ณ ถ้ำหลวง ให้ได้รับความรู้เท่ากับเด็กๆ ในเมืองหลวงก็เป็นได้ค่ะ

บทกลอนไฟลัมสัตว์ทั้ง 9 ไฟลัม

ฟองน้ำ เพอริเฟอร์รา

ซีเล็นเทอราตา แมงกะพรุน

พยาธิในตัวคุณ พลาทีเฮลมินธิส

ตัวจี๊ด นีมาโทด้า

แอนนิลิดา ไส้เดือนดิน

แมลงบิน อาโธร์พอท

หอยหลอด มอลลัสกา

ปลาอยู่ฟ้า เอไคโน

คนตัวโต คอร์ดาตา

รากศัพท์

ถึงอย่างไรก็เป็นการยากในการจำของเด็กๆ ที่ไม่คุ้นเคยกับศัพท์ภาษาอังกฤษโบราณเหล่านี้ค่ะ แม่จึงต้องเพิ่มเติมต่อยอดความรู้เดิมเข้าไปด้วยการสอนไปถึงเรื่องรากศัพท์ด้วยค่ะ

คำว่า Porifera รากศัพท์คือ Pore = รู

คำว่า Coelenterata no root word

คำว่า Platyhelminthes รากศัพท์คือ Plate = แบน

คำว่า Nematoda รากศัพท์คือ Nema = เส้นด้าย

คำว่า Annelida รากศัพท์คือ Annual = วง, ครบวงจร

คำว่า Arthropoda รากศัพท์คือ Arth = ข้อ และ Pod = เท้า

คำว่า Mollusca รากศัพท์คือ Mol = นิ่ม

คำว่า Echinodermata รากศัพท์คือ Echino = หนาม และ Derma = ผิวหนัง

คำว่า Chordata รากศัพท์คือ Chord = แกน โครง

ดังนั้นสำหรับการจำเรื่องไฟลัมสัตว์จะต้องให้ลูกเข้าใจเรื่องรากศัพท์ไปด้วยพร้อมกับการท่องจำบทกลอนค่ะ ซึ่งข้อดีของการจำรากศัพท์คือเป็นการช่วยสร้างศัพท์ใหม่ๆ ได้เรื่อยๆ ค่ะ ในอนาคตเมื่อลูกเห็นคำศัพท์ที่มีรากศัพท์เหล่านี้ก็จะสามารถเดาความหมายของศัพท์ได้ดียิ่งขึ้นค่ะ

หมายเลขบันทึก: 648796เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2018 09:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2018 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียนมากไปใหมครับ

คิดว่ามากไปค่ะ แต่ครูคงสอนเพื่อเตรียมสอบ ม.1 หรือเปล่าก็ไม่แน่ใจค่ะ

โลกการศึกษาที่เปลี่ยนไป ;(

นึกถึงคำที่ อาจารย์ หมอเกษม วัฒนชัย เคย พูก ในการมา บรรยาย ที่ มข ท่านว่า เด็กไทย โดน De Genius เมื่อเริ่มเข้า อนุบาล

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท