ตามเก็บวันเวลา : งาน "ชื่นใจ...ได้เรียนรู้ (ภาคครูเพลิน)" ครั้งที่ ๑๓ : เรียนรู้ทะลุ KM (Learning Through KM Reflection)


วันพุธที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑


๐๘.๐๐ - ๐๘.๓๐ น.                                   ลงทะเบียน

๐๘.๓๐ - ๐๙.๓๐ น.                                   เรียนรู้ทะลุ KM (Learning Through KM Reflection)

๐๙.๓๐ - ๑๐.๓๐ น.                                    มองปัจจัยความสำเร็จของโครงงาน 

                                                              “ดิน น้ำ ป่า อากาศ  ธรรมชาติแห่งสายธารของผู้ให้” 

                                                              แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะครู ชั้น ๓       

๑๐.๓๐ - ๑๐.๔๕ น.                                    พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๔๕ - ๑๒.๐๐ น.                                    จากดักแด้สู่ผีเสื้อ

๑๒.๐๐ - ๑๒.๔๕ น.                                   พักรับประทานอาหารกลางวัน  

๑๒.๔๕ - ๑๔.๔๕ น.                                  อ่านเรื่องเล่าเร้าพลัง OLE: From the Old to the New

๑๔.๔๕ - ๑๕.๐๐ น.                                   พักรับประทานอาหารว่าง

๑๕.๐๐ - ๑๖.๔๕ น.                                   ตกผลึกความรู้จากการอ่านเรื่องเล่า

หลังจากที่มาลงทะเบียนโดยพร้อมเพรียงกันแล้ว คุณครูดนตรี ช่วงชั้นที่ ๑ คือคุณครูตุ๊ก- ทิพยกฤตตา ได้นำคณะครูทั้งหมดร้องเพลงแมงมุมลาย 

ด้วยการทำแคนนอน สามไลน์ เพื่อสร้างความสดชื่นกระปรี่กระเปร่าให้กับทุกๆ คน 

แล้วก็ได้ผลจริงๆ เสียด้วย...เพราะเมื่อเพลงจบลง ทุกๆ คนก็หันหน้ามา "ทำตาลุกวาว" พร้อมด้วยรอยยิ้มนิดๆ ที่ริมแก้ม

ช่วงเวลา ๑ ชั่วโมงถัดจากนี้ เป็นช่วงเวลาของการเรียนรู้ทะลุ KM (Learning Through KM Reflection) ที่คุณอำนวยทุกคนรอคอย เพราะเตรียมการกันมาอย่างดี (อ่านการเตรียมตัวของ FA ได้ที่บันทึกนี้ http://www.gotoknow.org/posts/648938 )

สื่อชิ้นสำคัญของคุณครูภิญ - ภิญญาพัชญ์ คุณอำนวยของกลุ่มกระทิง ๒  คือ แผนการเรียนรู้ที่ขยายขนาดให้ใหญ่กว่าขนาดปกติอีกหนึ่งเท่าตัว และพิมพ์สีสวยงาม และวงกลม OLE ที่ยกระดับให้เห็นการซ้อนกันเป็นชั้นๆ ได้ด้วยการยืดออก

สื่อสองชิ้นนี้คุณอำนวยของทุกกลุ่มบอกว่าใช้งานได้ดีมาก ทำให้คุณครูสนใจและเกิดความเข้าใจได้มากทีเดียว 


กลุ่มกระทิง ๒

เริ่มจากการให้คุณครูแต่ละคนแนะนำเรื่องเล่าที่ตนเองนำมาเขียนสั้นๆ

  • คุณครูไอด้า เขียนเรื่องการสร้างเครื่องมือโดยใช้ความรู้สะสมเพื่อให้เด็กเกิดการเรยนรู้ เครื่องมือที่ใช้เกิดจากความรู้สะสม สามารถสะท้อนการเรียนรู้
  • คุณครูปุ้ย  การสร้างแรงบันดาลใจในห้องเรียน ทำให้ฟู้เรีนมีพลังในการเรียน เรียนเพื่อที่จะสะสมไอเท็มนักสืบ เพิ่มกจิกรรมเพื่อนหฟุ้เรียนเรยนรู้ด้วยตัวเองโดยกิจกรรมกลุม และมีการแชร์กัน
  • คุณครูเวนเดล  เด็กเรียนรู้อย่างไร สนใจอะไร ครูพยายามทำความเข้าใจเด็ก และใช้เครื่องมือต่างๆ มาช่วย
  • คุณครูณัฐรา  การพยายามทำความเข้าใจและความต้องการของเด็กและลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก 
  • คุณครูอ้น  การสร้างแรงจูงใจเพื่อเข้าสู่การเรียนกีฬาด้วยการละเล่นพื้นบ้าน ก่อนการเรียนรู้ในคาบเรียน  
  • คุณครูน้ำหวาน ตั้งเป้าหมายว่าจะทำอะไร ใช้สิ่งที่เด็กทำอยุ่ทุกวันคือการทำงานในสมุด จึงใช้สมุดเป็นชิ้นงานในการเรียนรู้ ทำให้ครูได้เห็นการเรียนรู้ของเด็ก ได้เห็นว่าเด็กเรียนรู้อะไร

คุณอำนวยตั้งคำถามว่าเรื่องที่แต่ละเขียนเป็น O  หรือ  L หรือ E 

เมื่อฟังทุกคนเล่าแล้วคุณครูภิญสรุปว่าเรื่องเล่าของคุณครูทุกคนในกลุ่มนี้ เน้นไปที่ L (Learning Experience) ซึ่งเป็นผลมาจาก E (Evaluate)ในเทอมก่อน จึงทำให้เรามีข้อมูลในการปรับเปลี่ยน O (Objective) ใหม่ แล้วก็ส่งผลมาที่การพัฒนา L ที่เป็นการยกระดับการเรียนรู้และทำงานในชั้นเรียนขึ้นไปอีก


เหตุผลที่ทำให้ครูอยากปรับพัฒนาแผนคืออะไร 

  • คุณครูไอด้า เนื่องจากปีที่แล้วพบปัญหาของภาษา เช่นคำว่า “มากกว่า” เช่น มากกว่า ๒๐ อยู่ ๒   แต่พอมีโจทย์ว่า ดินสอมากกว่า ยางลบอยู่เท่า ซึ่งโจทย์นี้ต้องเป็นการลบ แต่เด็กทำเป็นการบวก  คือให้เด็กทำสองอย่างเพื่อเช็คความเข้าใจโดยการให้ทำเป็นภาพก่อนแล้วค่อยทำเป็นสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ 
  • คุณครูปุ้ย  เดิมใช้การบรรยายแล้วเด็กแลกเปลี่ยน และเป็นแผนที่น่าเบื่อทั้งๆที่เป็นเรื่องงายและเรื่องใกล้ตัวเด็ก ปีนี้จึงปรับให้เป็นการทำกลุ่ม มีสื่อให้ ให้เด็กหาคำตอบเอง เน้นทักษะการสังเกต ใช้ทีมนักสืบ เห็นการเปลี่ยนแปลงว่าเมื่อโยนให้เป็นกลุ่มเชิงแข่งขันเล็กน้อย เด็กจะลุกขึ้นมาหาคำตอบแม้จะมีเสียงดังบ้างแต่ก็เป็นพฤติกรรมของเด็กที่กำลังเรียนรู้
  • คุณครูเวนเดล เวลาสอนเรื่องที่เด็กคุ้นเคยเด็กจะเบื่อ จึงหาวิธีที่ให้เด็กเกิดการมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นเพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้
  • คุณครูณัฐรา  สิ่งที่คิดว่าจะเกิดขึ้นจริงตามแผนที่สอนกับสิ่งที่เกิดในห้องเรียนแตกต่างกันมาก เป็นเพราะตอนเขียนแผนสร้างขึ้นจากความเข้าใจของครู ไม่ได้คิดบนฐานของเด็ก จึงคิดไปเรียนเด็กก่อน แล้วค่อยมาทำแผน จึงเป็นการสมานช่องว่างนั้นให้แคบลง ทำฝันให้เป็นจริงมากขึ้น
  • คุณครูอ้น เริ่มจากการทดสอบสมรรถภาพ ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ไม่ค่อยผ่าน  มาดูว่าแผนของเราไม่ได้ถึงความสามารถของเด็กออกมาอย่างเต็มที่หรือเปล่า แต่เวลาเด็กเล่นตอนเที่ยงเด็กไม่บ่นไม่เหนื่อยเลย จึงหาเกมการละเล่นมาสร้างความพร้อมเพื่อให้เด็กได้เล่น  วิชากีฬานี้พยายามให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วม ตั้งกฎกติกามากขึ้น เด็กก็มีการตั้งกติกาเอง มีส่วนร่วมกันมากขึ้น
  • คุณครูน้ำหวาน  อยากปรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องให้หลากหลาย และพยายามจะเขียนให้น้อย และให้เด็กเขียนความรู้ และการเรียนร็ของเขา โดยไม่ต้องลอกทั้งหมดในกระดาน ทำให้เด็กรู้สึกอยากเขียนมากขึ้น จึงอยากทำสิ่งนี้เป็นชิ้นงานในการเรียนรู้ของตัวเด็กเอง
  • คุณครูริชเชล  เปลี่ยนจากเดิมที่ให้เด็กทำเรื่องที่ไกลตัว ทักษะเด็กไม่ถึง ให้เป็นเรื่องใกล้ตัว และ เด็กทำได้

เรื่องที่ได้เรียนรู้และอยากจะนำไปปรับใช้คืออะไร

  • คุณครูไอด้า ประทับใจของครูณัฐรา ที่เรียนเด็กก่อนคิดแผน และคิดจะนำไปปรับใช้กับตัวเอง
  • คุณครูปุ้ย ครูเคยมองที่แผนอย่างเดียวและทำตามแผนทุกอย่าง คิดว่าเราต้องปรับให้เหมาะสมกับเด็กมากขึ้น
  • คุณครูณัฐรา ในวิชา ESL เราไม่มีสมุดให้เด็กจดตามกระดาน แต่เรามีเล่ม E-Pad ให้เด็กบันทึกการเรียนรู้ตามที่เราวางโครงไว้ แต่มีเด็กบางคนที่ชอบต่อเติมซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าเด็กนำความรู้ไปสร้างไอเดียของ E-Pad เห็นใจเด็กที่อยากจะไปต่อว่าอยากจะเรียนรู้
  • คุณครูอ้น การเขียนแผนมักตามใจคนเขียน ไม่ได้มองที่ตัวผู้เรียน เราต้องมองว่าสิ่งไหนที่เด็กจะเรียนรู้ได้ ให้เด็กได้มีส่วนร่วม
  • คุณครูน้ำหวาน การเรียนรู้ตามเป้าหมายของแผน ทุกครั้งที่ทำกิจกรรม ต้องมองไปถึงตัวเด็ก
  • คุณครูริชเชล แผนไม่สำเร็จก็จะหาไอเดียที่จะทำให้เหมาะกับผู้เรียน 
  • คุณรัตนา (ผู้สังเกตการณ์จากมูลนิธิสยามกัมมาจล) ได้ความคิดไปต่อยอดมากเลย ตอนนี้กำลังทำงานกับกลุ่มโรงเรียนประชารัฐ ได้เรียนรู้ว่าการออกแบบที่ละเอียดเป็นอย่างไร การเรียนการสอนต้องดูผู้เรียนไม่ใช่แค่ผุู้สอน ซึ่งแผนที่ดีสำหรับครูอาจไม่ใช่แผนที่ดีสำหรับผู้เรียน

หมายเลขบันทึก: 649021เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2018 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2018 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท