"บทเรียนสำเร็จรูป" กับ ผลแห่งความภาคภูมิใจระดับประเทศ ในการสอนนักศึกษาระดับ ป.บัณฑิตฯ


ระหว่างงานปัจฉิมนิเทศนักศึกษา ป.บัณฑิต ที่ฝึกสอนเสร็จสิ้นในวันนี้

มีนักศึกษา ป.บัณฑิต ห้อง ๐๔ เดินมาบอกผมว่า

"อาจารย์  หนูเอา บทเรียนสำเร็จรูป ไปประกวด
ได้รางวัลชนะเลิศระดับประเทศมา"

น่าภาคภูมิใจมากที่ลูกศิษย์เอาสิ่งที่ผมเคี่ยวเข็ญและพร่ำสอนไปใช้
จนประสบความสำเร็จระดับประเทศ

..

ชื่อผลงานวิจัย : การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขางานการบัญชี ระดับ ปวช.2 โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การบัญชีบันทึกให้ได้ แก้ไขให้เป็น

เป็นการประกวดแข่งขันการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมสื่อการสอนระดับประเทศของอาชีวศึกษา

จากสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแฟ่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

..

..

..

..

"บทเรียนสำเร็จรูป" เป็นนวัตกรรมหนึ่งที่ผมตัดสินใจ "สอนให้ทำจริง"
ในรายวิชา "นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา"
ในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู

เขาต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๓ เดือน จาก ๔ เดือนที่จะทำให้สำเร็จ
ซึ่งกว่าจะสำเร็จก็เลือดตาแทบกระเด็นทั้งครู ทั้งศิษย์

..

"บทเรียนสำเร็จรูป" เป็นจุดตั้งต้นของ "บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน"

"บทเรียนสำเร็จรูป" มีลักษณะเป็นรูปเล่มที่จะต้องออกแบบและใส่เนื้อหา
ไปทีละส่วน ๆ ที่เรียกว่า "กรอบ" (Frame)

"บทเรียนสำเร็จรูป" จะค่อย ๆ ดำเนินเนื้อหาไปตามที่ผู้จัดทำต้องการ
เริ่มตั้งแต่ ปก ส่วนนำต่าง ๆ การเสนอเนื้อหาทีละนิด ๆ แล้วตามด้วยกิจกรรม
หรือการถามความเข้าใจ แล้วเฉลย ดำเนินแบบนี้ไปทั้งเล่ม

"บทเรียนสำเร็จรูป" ต้องอาศัยทฤษฏีทางจิตวิทยาหลายทฤษฏีเข้ามาใช้ เช่น

ทฤษฎี Stimulus Response ของ Skinner 

  • เงื่อนไขการตอบสนอง
  • การเสริมกำลัง
  • การเสริมแรงทันทีทันใด

กฎการเรียนรู้ของ Thondike

  • กฏแห่งผล
  • กฎแห่งการฝึก
  • กฎแห่งความพร้อม

เป็นต้น

..

กว่าจะได้บทเรียนสำเร็จรูปสักเล่ม สักเรื่อง ไม่ง่ายนัก
ต้องอาศัยความรอบคอบ ความละเอียด แบบทุกตัวอักษร
พลาดไม่ได้เลย เพราะความผิดพลาดส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็ฏ

เนื้อหาค่อนข้างเยอะ ขอไม่อธิบายถึงรายละเอียด

อยากอธิบายให้เห็นภาพการใช้ว่า

เด็กจะเอาบทเรียนสำเร็จรูปไปเปิดเรียนคล้ายหนังสือเรียน
แต่เขาจะต้องทำกิจกรรมหรือตอบคำถามที่วางเอาไว้ภายในตัวเล่ม
ให้ครบถ้วน ก่อนหน้านั้นเขาต้องทำข้อสอบก่อนเรียน
และเมื่อจบจะต้องทำข้อสอบหลังเรียนเสมอ

แต่อย่างที่บอก ทุกการก้าวย่างในการใช้บทเรียนสำเร็จรูปนั้น
มันผ่านกระบวนการคิดของผู้ออกแบบทั้งหมดแล้ว
ยังจะนำประโยชน์ทำให้ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหาได้ดีขึ้นมาก

..

"บทเรี่ยนสำเร็จรูป" เป็นแค่นวัตกรรมที่รูปแบบเป็นกระดาษเป็นพื้นฐาน
หากหาค่าประสิทธิภาพแล้ว สามารถปรับรูปเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้

..

การสอนในรายวิชา "นวัตกรรมฯ" นั้น สาขาวิชามีอาจารย์สอนอยู่ ๖ คน
แต่ละคนจะมีความชำนาญในศาสตร์เทคโนโลยีการศึกษาไม่เหมือนกัน

เนื้อหาก็สอนเหมือน ๆ กัน แต่ต่างกันที่ตัวนวัตกรรมที่นักศึกษาต้องสร้างเท่านั้น

ผมเป็นคนเดียวที่เลือกใช้ "บทเรียนสำเร็จรูป" เป็นพื้นฐานการคิดและการเรียนรู้
เนื่องจากวิวัฒนาการที่แท้จริงของนวัตกรรมนั้น เริ่มต้นที่ ...

"เครื่องช่วยสอน" (Teaching Aids) นวัตกรรมโบราณที่มีการถามตอบด้วยระบบกลไก
ไฟฟ้าสมัยก่อนโน้น

ต่อมาจึงเป็น "บทเรียนสำเร็จรูป" (Programmed Instruction) ซึ่งมีหลายชื่อ เช่น
บทเรียนโมดูล บทเรียนโปรแกรม เป็นต้น

หลังจากนั้นจะพัฒนาการเป็น "บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน"
(Computer-Aided Instruction : CAI) บทเรียนที่ผุ้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนได้

เมื่อมีอินเทอร์เน็ต นักการศึกษาก็นำบทเรียนไปเรียนบนเว็บ 
เราเรียกว่า "บทเรียนบนเว็บ" (Web-Based Instruction)

เมื่อจำนวนบทเรียนบนเว็บมันเยอะขึ้น ก็จะนำมารวมกัน สร้างให้เป็นระบบการเรียน
เรียกว่า "ระบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์" (e-Learning) อย่างไรล่ะ

..

อย่างที่บอกว่า กว่าจะได้ "บทเรียนสำเร็จรูป" สักเล่มหนึ่ง
ต้องอาศัยความเพียรพยายามอย่างมาก ทั้งยุ่งยาก ทั้งซับซ้อน
ทั้งต้องบริหารเวลาให้ดี ๆ

อาจารย์คนอื่น (ซึ่งทำไม่ได้) ก็จะมาเพ่งเล็งว่า ผมสอนยากเกินไปไหม
ผมสอนเยอะเกินไปไหม หรือไม่ก็ดูถูกว่า มันเป็นแค่นวัตกรรมกระดาษ
ช่างไม่สมกับยุคสมัยจริง ๆ

แต่วันนี้ ผลมันออกมาแล้วยังไงล่ะ

นวัตกรรมกระดาษยังคงถูกใช้เพื่อการเรียนรู้ได้จริง

รางวัลของเด็กที่ส่ง "บทเรียนสำเร็จรูป" ประกวดนั้นเป็นเครื่องรับประกัน
ความตั้งใจจริงของผมที่จะมอบความรู้นั้นให้พวกเขา

..

..

..

..

"ถ้าไม่ได้เรียนกับอาจารย์คงไม่ได้รางวัลนี้"

..

..

ภูมิใจสุด ๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้น

..

เพราะในฐานะครูผู้สอน

ต้องเคี่ยวเข็ญ วางแผนงานทั้งหมดตลอดภาคเรียน
สอนให้เข้าใจในเนื้อหาที่เขาชำนาญ
แก้แล้วแก้อีกไม่รู้กี่รอบ อธิบายไม่รู้กี่รอบ
กว่าจะเข้าใจ ตรวจจนตาแฉะกับนักศึกษา ๓๐ คน/หมู่เรียน

..

ปรัชญาที่ใช้ประจำเวลาสอนอะไรที่ไม่เหมือนชาวบ้าน

"ใครไม่สอน ผมสอน"

..

หากเราเชื่อว่า สิ่งที่เราตั้งใจให้ความรู้แก่เขามันดี
ขอให้เราจงทำมันให้เต็มที่ ได้ผลหรือไม่ได้ผลไม่ใช่ปัญหา
อย่างน้อย เขาก็ได้ความรู้จากสิ่งที่เราตั้งใจไปแล้ว

..

นักศึกษา ๔ หมู่เรียน มีหมู่เรียนเดียวเท่านั้นที่ได้ความรู้เรื่องนี้
และทุกปีก็จะเป็นเช่นนี้เสมอ

บางทีกว่าเขาจะเข้าใจว่า นั่นคือสิ่งดี
ครูคงโดนนักศึกษาต่อว่ามาสารพัดแล้วล่ะ
โดยเฉพาะคนที่ไม่เข้าใจและขี้เกียจ

..

ตัวอย่างความสำเร็จในบันทึกนี้ เรียกว่า

"รางวัลของครู"

..

บุญรักษา ทุกท่านครับ ;)...

..

หมายเลขบันทึก: 656091เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2018 00:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2018 21:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สุดยอดการบ่มเพาะ. กล่อมเกลา. ค่อย ๆ สร้างครูคุณภาพค่ะคุณครูเงา … ดีใจกับพ่อครูและคุณครูที่ได้รางวัล. และหลานศิษย์ทุกคนที่ได้ประโยชน์จากการปั้นลูกศิษย์ครูของพ่อครูเงานะคะ. … (เกรงใจจะเรียกคุณตาครู ก็กระไร. ให้เกษียณก่อนนะคะ) ^_,^

ดูแก่ ๆ นะครับ คุณหมอธิ 555

แต่ก็ขอบคุณมากครับผม ;)…

-สวัสดีครับอาจารย์-อยากเรียนๆ ครับ-จะได้เอามาปรับใช้ที่บ้านไร่ FarmSchool เล็กๆ ของผมครับ..-ต้องเชิญอาจารย์มาหรือผมจะไปเรียนก็ได้ครับ 555-อยากเจอครูเงา….อิๆ

ขอบคุณครับ คุณเพชรฯ 555

ขอบูชาครูเพื่อศิษย์ครับ…

ขอบพระคุณครับ ท่าน อ.ต๋อย ;)…

ชื่นชมค่ะอาจารย์ทั้งครูและศิษย์ค่ะยอดเยี่ยมค่ะ

ขอบคุณมากครับ คุณถาวร ;)…

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท