เพื่อนคู่คิดนิสิต มมส


จัดรายการวิทยุ วันที่ 27 พฤศจิกายน  2561 เวลา 16.00 -17.00 น.

ทาง FM 102.25 Mhz    สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

               ขอต้อนรับเข้าสู่รายการ “เพื่อนคู่คิด  นิสิต มมส.”ดำเนินรายการโดยกองกิจการนิสิต   ดิฉันนางสาวอนงค์ภาณุช  ปะนะทังถิรวิทย์  นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพชำนาญการ   วันนี้เป็นวันอังคารที่  4 ธันวาคม 2561 เวลา  16.00-17.00 น.  ณ สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  FM 102.25 Mhz    โดยมีวัตถุประสงค์อย่างไรบ้างคะ

     เพื่อประชาสัมพันธ์งานหรือกิจกรรมต่างๆ การสร้างเครือข่ายการทำงานของกองกิจการนิสิต และเป็นสื่อกลางระหว่างนิสิต บุคลากรและประชาชนทั่วไป  อีกทั้งการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกองกิจการนิสิต และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กับผู้ฟังรายการวิทยุของ  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เบอร์ 081-9656924  รถพยาบาลมหาวิทยาลัยมหาสารคามและ  รถสายตรวจเนี่ย เวลาที่เรามีปัญหาเสียงดัง เอะอะ ดื่มสุรา หรือเกิดปัญหาต่างๆเราสามารถเรียกได้ตลอดจะได้ไปเคลียร์ หรือตรวจตรา  081-9656925  เรียกได้ตลอด 24 ชั่วโมงค่ะ  hotline msu สายด่วนมมส.เบอร์โทรศัพท์ 085-0100043  และ 085-0104544

ช่วงแรก  กิจกรรม ที่ 1

วันนี้เป็นวันที่มหาวิทยาลัยมีงานพระราชทานปริญญาบัตร ปี 2560-2561 

มมส เปิดสอน 182 หลักสูตร ปริญญษตรี 90 หลักสูตร  ปริญญาโท  55 หลักสูตร  และหลักสูตรระดับปริญยาเอก  37 หลักสูตร มีนิสิตทั้งสิ้น 40,562  คน  ผู้เข้ารับ 7,939  คน

มองย้อนไปคะ

      สมัยจบปริญญาตรีใหม่ๆ ตอนนั้นคิดว่าไม่อยากรับปริญญาเพราะมองว่าสิ้นเปลืองและเราเองก็ไม่ค่อยมีเงินด้วย ไหนพ่อแม่ญาติพี่น้องต้องขึ้นมาอีก แต่สุดท้ายแม่บอกให้รับเพราะจะได้ภาคภูมิใจ เราก็รับนะพ่อแม่ก็ขึ้นมาร่วมยินดีกับเราด้วย

พอเวลาผ่านไปได้มานั่งมองรูปรับปริญญาย้อนหลังแล้วก็รู้สึกดีใจที่ตอนนั้นตัดสินใจรับ  เพราะมันทำให้เราเกิดความภาคภูมิใจและเป็นพลังในการทำงานได้ในยามที่เราท้อแท้ในรูปอาจมีเรื่องราวมเชื่อมโยงที่อาจทำให้เราได้นึกถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นแล้วเป็นแง่คิดให้กับเราได้ไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง

ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงเราว่าก็น่าจะรับนะคะ อย่างน้อยได้มีรูปของเพื่อน ๆ ที่ร่วมเรียนมาด้วยกัน พอวันเวลาผ่านไปเอามาดูแล้วก็จะมีความสุขและระลึกถึงกันได้อีกนาน ๆ ค่ะ

นิยามของคำว่าประสบความสำเร็จในชีวิตคืออะไร

เมื่อเป็นเด็ก  เราก็ฝันอยากเป็นผู้ใหญ่  จะได้ทำโน่นนี่นั่น ..อย่างอิสระเสรี  โดยไม่ถูกกำหนด บังคับ คาดหวังจากผู้ใหญ่มากเกินไป

คำถามใหญ่คือ  ชีวิตคืออะไร  ชีวิตต้องการอะไร  แล้วจึงไปสู่คำถามว่า  อะไรคือความสำเร็จของชีวิต

ความสำเร็จตามเกณฑ์สังคม ก็อย่างหนึ่ง   เช่น  มีบ้าน มีรถ  มีแฟน มีครอบครัวของตนเอง  มีเงินเก็บ มีความมั่นคงมั่งคั่ง ..

ความสำเร็จตามเกณฑ์สารัตถะของชีวิตเอง ก็อย่างหนึ่ง   เช่น  มีความสุข  ได้ใช้ทำในสิ่งที่ถนัด ชอบ  ได้ใช้ชีวิตอย่างสุขสงบสันติ  ไม่กังวล

บางที  สิ่งที่เรียกว่า ความสำเร็จ  อาจเป็นแค่รสนิยมการใช้ชีวิต อย่างหนึ่งก็ได้

                 สรุป  ชีวิต  ความสำเร็จ  เป็นเรื่องของ การให้ความหมาย  เป็นการเลือกกำหนดความความหมาย

เป็นเรื่องของการเรียนรู้และสรุปบทเรียนไปกำหนดความหมายใหม่  แล้วิวัตน์หรือพัฒนาการรู้ เข้าใจโลก ชีวิตไต่ระดับไปเรื่อยๆ

สิ่งที่เรียกว่า  ความสำเร็จของคนหนึ่งอาจไม่เหมือนกับอีกคนหนึ่ง   แล้วแต่พวกเขาอิงกลุ่มหรืออิงเกณฑ์(สากล)อะไร  อย่างไร?

ข้อเสียของคนไทยอย่างหนึ่ง  คือ ชอบทำอะไรเหมือนๆกัน   โหนกระแส เชื่อตามๆกัน  กลัวความแตกต่าง  ต้องการเป็นคนดีตามที่ถูกปลูกฝังมา

จึงค่อนข้างมีน้อยที่จะแสวงหา  ความสำเร็จที่กำหนดจากตัวเอง ที่อาจแตกต่างจากคนอื่น  ซึ่งโดยมากห้วงนี้ ก็จะอิงค่านิยมทุนบริโภคเป็นหลัก..

                   

ประเด็นสำคัญ

       เราติดกับดักคำว่า “ความสำเร็จ” โดยที่ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร ความสำเร็จแลกกับความล้มเหลวหลายอย่าง เช่น การเรียนดีแต่สุขภาพแย่ แต่องค์รวมของการประสบความสำเร็จไม่ได้มีแค่ด้านใดด้านหนึ่ง องค์ประกอบโดยรวมของความสำเร็จมีดังนี้

1. มีเป้าหมายในชีวิต ต้องรู้ตัวว่าเราจะไปทิศทางไหน Calling ของเราคืออะไร “อย่าให้ใครมาขโมยความฝันของเรา”

2. ต้นทุนชีวิต เป็นทรัพยากรที่เรามีอยู่ ต้นทุนมากไปได้เร็ว ต้นทุนดีไปได้แรง

 2.1 ความฝัน เราสร้างด้วยตัวเอง ฝันไกลทำให้มีพลัง

 2.2 ความรู้ ต้องสะสม ใครมีความรู้ มีโอกาสไปได้เร็ว แรง

 2.3 ความ Fit ด้านร่างกาย ร่างกายต้องแข็งแรง อย่างน้อยที่สุดอย่าทำลายร่างกาย

3. ทักษะชีวิต

  • ทักษะด้าน การพูด — การฟัง
  • ทักษะด้าน การเป็นผู้นำ — ผู้ตาม
  • ทักษะด้าน การศึกษา — การเรียนรู้ อย่ามุ่งแต่ห้องเรียน กาความรู้ให้เจอ
  • ทักษะ อยู่คนเดียวให้เป็น เห็นคุณค่าในตัวเอง — อยู่กับคนอื่นให้เป็น ปรับตัวเก่ง
  • ทักษะ หาเงิน — ใช้เงิน
  • ทักษะ เพิ่มเวลา อย่าให้อะไรมารบกวน เพิ่มเวลาที่มีคุณค่าได้ — ลดเวลาที่ไม่มีคุณค่าได้

4.ที่ปรึกษาชีวิต ที่ปรึกษาชีวิตที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง เด็กควรฟังผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่อาจมีความรู้ไม่เท่ากันแต่มีประสบการณ์มากกว่า และจะได้ไม่พลาดอย่างที่เขาเคยพลาด

ความสำเร็จในชีวิต ... อยู่ตรงไหน & เอาอะไรมาวัด

มาตรฐานในการวัด “ความสำเร็จในชีวิต”  ของแต่ละคนนั้นอยู่ตรงไหน  แล้วเอาอะไรมาวัด

เรามักได้ยินได้ฟังจากสื่ออยู่บ่อย ๆ ว่า  คนนั้นคนนี้ ประสบความสำเร็จในชีวิต  ด้วยการเอาผลของการแข่งขันในสังคมเป็นผู้ตัดสินหรือเป็นสิ่งกำหนด  ไม่ว่าจะเป็น  ด้านการเรียน  ด้านธุรกิจ  ด้านการแสดง  ด้านวรรณกรรม  ด้านการกีฬา  ด้านการเมือง  หรือด้านใดก็ตาม

หรือบางครั้งก็มักมองกันว่า  ต้องไต่เต้าในหน้าที่การงานไปจนถึงจุดสูงสุดของหน่วยงานนั้น  ถึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จ

มันใช่ความสำเร็จที่แท้จริงของมนุษย์เราหรือเปล่า

เพราะหากเอาสิ่งที่กล่าวแล้วข้างต้นเป็นมาตรฐานแล้วจะมีคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตในอัตราส่วนที่น้อยมาก  และบุคคลคนนั้นจะมีเวลาชื่นชมกับความสำเร็จได้สักกี่มากน้อยเมื่อเทียบกับห้วงเวลาทั้งชีวิตของเขา

                                                        ++++ ในมุมมองของดิฉันที่มี ดังนี้      

   

1.คิดว่าการเข้ารับปริญญามันเหมือนพูดถึงหรือยึดติด อยู่กับเหตุการณ์ในอตีต(เมื่อ4ปีที่แล้ว)ซึ่งมันผ่านไปแล้ว,แก้ไขอะไรไม่ได้ และไม่มีความสำคัญเมื่อเทียบกับเวลาในปัจจุบันสิ่งที่เราสามารถทำอะไรต่างๆได้ รวมถึงความภูมิใจของแต่ละคน,ความรู้ที่ได้รับ หลังจากที่ได้เรียนมา จะยังอยู่ในความคิด อยู่ในจิตใจของแต่ละคนอยู่แล้วไม่ได้หนีไปไหน (ถึงแม้จะไม่รับปริญญา)  จึงไม่จําเป็นต้องมาเข้าพิธีรับปริญญาซึ่งเหมือนกับเป็นการอุปโลกน์กับตัวเองว่า "พิธีนี้มันสำคัญกับคนที่เรียนจบมากๆเลยนะ"หรือ"เป็นโอกาสสำคัญที่มีอยู่ครั้งเดียวนะ"หรือ"คนอื่นที่เขาอยากรับแต่ไม่มีโอกาสได้รับนะ" เป็นต้น  และไม่ได้จำเป็นเลย ที่จะต้องทำตัวตามสิ่งแวดล้อม (คนอื่นๆที่ไม่ได้คิดเหมือนเรา)  ที่มันไม่มีความหมายกับตัวเราหรือคนรอบข้าง และที่สำคัญสิ่งที่เราคิด สิ่งที่เราทํา ไม่กระทบใคร

2. โอกาสที่ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร และได้รับฟังพระราโชวาท จะมีประโยชน์อะไรถ้าไม่ได้นำไปปฎิบัติใช้จริง มุมมอง   จะต่างอะไรถ้าจะรับฟังพระราโชวาทจากคลิปปีก่อนๆ(ที่บ้าน สบายๆ)ให้เข้าใจและนำมาใช้จริงจะยังมีประโยชน์กว่านั่งฟัง(นิ่งๆ ลุกไปไหนไม่ได้)แล้วไม่ได้นำพระราโชวาทไปใช้กับตัวเองอย่างที่ได้รับฟังในพิธี   (ความสำคัญอยู่ที่ความเข้าใจเเละนําไปใช้ ไม้ได้อยู่ที่สถานที่)

3. เวลาสิ่งที่เสียไป --- เนื่องจากบ้านที่อยู่ไกลจาก ม.หลายร้อยโล ค่านํ้ามัน-ค่าที่พักในการเดินทางมาฝึกซ้อม 2 ครั้ง(คนละเดือน) และพิธีรับจริงอีก ,ค่าตัดชุด ,เครื่องหมายต่างๆ ค่าใช้จ่ายที่ถือว่ามากสําหรับตัวเรา(ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์หลายอย่างเลยนะ ซึ่งอาจนำไปใช้จ่ายกับการเรียนสูงขึ้น การงานที่เรารับผิดชอบ(ต้องลางานไปรับ) เวลาอีกกี่วันที่ต้องเสียไป(เวลาที่หายไป นำไปใช้กิจกรรมที่อยากทําได้อีกเยอะ) คนหลายคนคิดว่ามันไม่คุ้มกับปริญญาบัตรที่เราไม่ได้ให้ความสําคัญเท่าความรู้และงานที่ได้ทํา ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว....(สุดท้ายแล้ว ใบปริญญาบัตรก็ส่งมาที่บ้านอยู่ดี)

4. พ่อ-แม่ --- ก่อนนี้ท่านก็อยากเห็นรับปริญญาตามที่คาดหวังไว้ แต่เมื่ออธิบายเหตุผลท่านก็เข้าใจ,เคารพในการตัดสินใจ และอยากให้ใช้เวลากับพัฒนาตัวเองในปัจจุบันดีกว่าไปเสียเวลาภูมิใจกับสิ่ง,เหตุการณ์ในอดีต (ไม่โดนว่า แต่กลับดีแฮะ!!)

        

      ***และเราคิดอีกอย่างหนึ่งว่า(กับเวลาที่มีอยู่)การพัฒนาตัวเองในปัจจุบันมันยังสำคัญกว่าอยู่กับเหตุการณ์ในอดีตที่มันผ่านไปแล้ว  ไม่ต้องไปทําพิธีรีตองให้ราวกับว่ามันสำคัญมากๆหรอก (เหตุการณ์ดีๆหรือเหตุการณ์ที่เราภูมิใจ มันอยู่ในจิตใจของเราอยู่แล้ว และความรู้ที่เราได้ศึกษา ได้นํามาใช้กับการงานของเรา มันก็ยังอยู่ในสมอง,อยู่ในความคิด,ความอ่านของเราอยู่แล้วเช่นกัน) การเรียนรู้มีอยู่ได้ตลอดเวลา ไม่ได้จบไปกับการเข้ารับปริญญาซะหน่อย..เป็นความคิดที่เกิดขึ้นเอง (ส่วนตัวแค่มุมมอง )  

                   

   กองกิจการนิสิต   ขอนำรายการลาท่านผู้ฟังไปก่อน แล้วพบกันใหม่ทุกวันอัะงคาร เวลา 16.00-17.00 น.  FM.102.25  Mhz  สวัสดีคะ   

อนงค์ภาณุช  ปะนะทังถิรวิทย์   

คำสำคัญ (Tags): #จัดรายการวิทยุ
หมายเลขบันทึก: 658678เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2018 06:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2018 06:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เมื่อเป็นเด็ก เราก็ฝันอยากเป็นผู้ใหญ่ จะได้ทำโน่นนี่นั่น ..อย่างอิสระเสรี โดยไม่ถูกกำหนด บังคับ คาดหวังจากผู้ใหญ่มากเกินไป…แต่ที่สุดแล้ว มนุษย์ ก็ยังเป็นสัตว์สังคมจึงมีบทบาทและหน้าที่มากำกับเสรีภาพไปในตัวและหน้าที่ หรือบทบาทสถานะที่ว่านั้นก็กลายเป็นความคาดหวัง และแบกหวังไปในตัวด้วยเช่นกัน

นั่นคือสิ่งที่ผมเข้าใจเสมอมา ครับขอบคุณครับ

ขอบคุณมากคะคุณแผ่นดิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท