เรียนรู้ อิทัปปัจจยตา ระหว่างการตรวจเอ็มอาร์ไอ


มีเกิด มีดับ ระหว่างการตรวจ MRI มีการกระตุ้นด้วยคลื่นวิทยุ สลับไปมาระหว่างการตรวจ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนั้นจึงดับ

กฎ อิทัปปัจจยตา

สอนให้รู้ว่า...
อิมัสมิง สติ, อิทัง โหติ; - เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี
อิมัสสะ อุปปาทา, อิทัง อุปปัชชติ; - เมื่อสิ่งนี้เกิด สิ่งนั้นจึงเกิด
อิมัสมิง อสติ, อิทัง นะ โหติ; - เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนั้นจึงไม่มี
อิมัสสะ นิโรธา, อิทัง นิรุชฌติ; - เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนั้นจึงดับ

มีเหตุ มีผล

มีเกิด มีดับ



ในระหว่างการตรวจ MRI

มี... การส่งคลื่นวิทยุเข้าไปกระตุ้นอะตอมไฮโดเจนในร่างกาย

ทำให้ อะตอมไฮโดเจน เกิดการเปลี่ยนแปลง 

เปลี่ยนมุมจากมุมปกติ ไปสู่มุมต่างๆ ที่เครื่องกำหนด

เมื่อ หยุด... การกระตุ้น 

อะตอมไฮโดเจน เกิดขบวนการผ่อนคลาย (relaxation) เปลี่ยนมุมกลับคืนสู่สภาพปกติ


เมื่อ มี...คลื่นวิทยุ มากระตุ้นอะตอม อะตอม มี...การเปลี่ยนแปลง

เมื่อ อะตอมรับพลังงานจากคลื่นวิทยุ เกิด... การสั่นพ้อง (Resonance)

เมื่อ หยุด(ไม่มี... คลื่นวิทยุ มากระตุ้น) 

อะตอม... กลับสู่สภาพปกติ (ไม่มีการเปลี่ยนแปลง)


มี...เกิด มี...ดับ ระหว่างการตรวจ MRI

มี... การกระตุ้นด้วยคลื่นวิทยุ สลับไปมาระหว่างการตรวจ

เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี 

เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนั้นจึงดับ


จริงแท้ แน่นอน

ชีวิต สั้นนัก

ชีวิต ไม่เที่ยงแท้ มีเกิดขึ้น คงอยู่ ดับไป

เร่งสร้างความดี เมื่อมีโอกาส 




1. ผู้ป่วยอยู่นอกพื้นที่สนามแม่เหล็ก ผลรวมแม่เหล็กในร่างกายมีการหมุนอย่างอิสระ

2. เมื่อผู้ป่วยเข้าไปอยู่ภายใต้สนามแม่เหล็กแรงสูง ผลรวมแม่เหล็กจะชี้ขนานกับทิศทางสนามแม่เหล็ก

3. Transmitter coil ทำที่หน้าส่งคลื่นวิทยุ (RF) กระตุ้นไฮโดรเจน ทำให้เกิดขบวนการสั่นพ้อง

4. เมื่อหยุดกระตุ้นด้วยคลื่นวิทยุ หยุดการสั่นพ้อง ไฮโดรเจนที่อยู่ในอวัยวะหรือสารชีวโมเลกุลต่างๆ เกิดพฤติกรรมการผ่อนคลาย โดยมี receiver coil ทำหน้าที่รับสัญญาณและส่งเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์

5. ระบบคอมพิวเตอร์นำข้อมูลที่ได้ไปประมวลผลข้อมูลและสร้างภาพ

6. ภาพที่เกิดขึ้นจากขบวนการตรวจ



ในการสร้างภาพด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอ (Magnetic Resonance Imaging ; MRI)


ในการตรวจอาศัยผลจากอันตรกิริยา (interaction) ด้วยการใช้ขดลวดส่งสัญญาณ (transmitter coil) ทำหน้าที่ส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 

ที่มีค่าความถี่ในย่านความถี่คลื่นวิทยุ โดยจะทำการส่งคลื่นวิทยุเป็นช่วงๆ (RF pulse sequence) เข้าไปกระตุ้นให้โปรตอนของไฮโดรเจน ทำให้เกิดขบวนการสั่นพ้อง (Resonance) 

โดยส่งคลื่นวิทยุที่มีค่าความถี่เท่ากับหรือใกล้เคียงกับค่าความถี่ลาร์เมอร์ของไฮโดรเจน จึงทำให้ไฮโดรเจนที่อยู่ตามส่วนต่างๆในบริเวณการตรวจการสั่นพ้อง 

เมื่อเกิดการสั่นพ้องจะทำให้โปรตอนของไฮโดรเจนเปลี่ยนพฤติกรรม หรือ การหมุนเชิงมุมที่อยู่ในสภาวะที่สมดุลภายใต้สนามแม่เหล็กแรงสูง เปลี่ยนพฤติกรรมการหมุนเชิงมุมไปสู่แนวแกนที่เครื่องกำหนด 

หลังจากที่หยุดการกระตุ้นด้วยคลื่นวิทยุแล้ว หยุดการสั่นพ้อง ผลของสนามแม่เหล็กแรงสูงจะทำให้ไฮโดรเจนเหล่านั้นเกิดพฤติกรรมที่เรียกว่า การผ่อนคลาย (relaxation) คือ การกลับคืนเข้าสู่สภาวะสมดุลอีกครั้ง โดยจะมีขดลวดรับสัญญาณ (receiver coil) ทำหน้าที่รับสัญญาณคลื่นวิทยุจากไฮโดรเจนที่ปลดปล่อยสัญญาณออกมา แล้วส่งต่อเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อทำหน้าที่ในการประมวลผลและสร้างออกมาเป็นภาพ





หมายเลขบันทึก: 658857เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2018 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ธันวาคม 2018 11:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทุกคนรู้ว่า มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่ลืมคิด กว่าจะคิดได้ บางคนไม่ได้เตรียมตัว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท