864. "คู่มือคำถาม Appreciative Inquiry"


บทความนี้กะเขียนเป็นของขวัญปีใหม่ครับ เรียกว่าให้คนไทยเราได้มีเครื่องมือในการแก้ปัญหา พัฒนาตนเอง องค์กรอีกเครื่องมือ วันนี้มานำเสนอเรื่องการออกแบบคำถาม Appreciative Inquiry ครับ เรียกว่าเป็นคู่มือเลยก็ได้  มาพื้นฐานกันนิด Appreciative Inquiry (AI) คือศาสตร์การพัฒนาองค์กรแขนงใหม่ ที่เน้นการเชิญชวนคนในองค์กรให้สืบค้นประสบการณ์ดีๆ ไม่ว่าจะเป็นแง่มุมใดมาขยายผล ยกระดับองค์กร โดยเชื่อว่าคนทุกคนมีประสบการณ์ดีๆ ซ่อนเร้นรอการค้นพบอยู่ เพียงแต่ไปถามก็จะได้คำตอบ  

AI มีวงจรง่ายๆคือ Define เรื่องที่อยากทำ Discovery ร่วมกันค้นหาประสบการณ์เชิงบวก Dream สร้างวิสัยทัศน์ Design วางแผน Desitny ทำจริง หากแต่ขั้นตอนที่ยากที่สุดของ AI คือการออกแบบคำถามในช่วง Discovery ครับ พูดง่ายๆ คำถามคือกุญแจสู่ทุกอย่าง คำตอบอยู่ตรงนั้นแล้ว แต่ถามไม่ถูก ก็ไม่เจอ เรื่องการถามจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด  เรื่องนี้จึงเป็นศิลปะ ผมเองทำงานมามาก หลายองค์กร หลายโจทย์ เลยรวบรวมแนวคำถาม พร้อมแนวทางออกแบบ เพื่อหาคำตอบมาแก้ปัญหาองค์กรในมิติต่างๆ ดังนี้ครับ 

คำถาม Discovery มีอยู่ห้าแบบดังนี้ 

1.คำถามระดับวิสัยทัศน์ (Strategic Inquiry)  ปัญหาหลักๆ ในชีวิตคือคนเราทำสิ่งไม่อยากทำ ต้องหาก่อนครับ ว่าคุณต้องการอะไรในชีวิต เช่นจริงๆ คุณอยากเป็นวิศวะ และคุณดันไปเป็นหมอ หรือไม่องค์กรก็เจอการแข่งขันอย่างรุนแรง ประมาณย่ิงทำยิ่งเหนื่อย ยิ่งขาดทุน ...นี่ต้องหยุดมาคิดมาสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ หาทิศทางใหม่ๆ แล้ว  

    2.คำถามตามหลักวิชา (Principle-based Inquiry)  ในการพัฒนาองค์กร บางทีคุณจะเจอโจทย์ เช่น ที่นี่ไม่ค่อย Engage ครับอาจารย์ ผลการประเมินออกมาคนไม่ผูกพันธ์เลย ทำไงดี ... มันเป็นคำบ่นตามหลักวิชา ..นี่ก็จัดเลยครับ เราสามารถแปลงหลักวิชาพวกนี้มาทำ Appreciative Inquiry ได้ จะตอบโจทย์องค์กรได้อย่างตรงจุด 

    3.คำถามตามหลักทฤษฎี (Theory-based Inquiry) คล้ายๆ แบบที่สอง อันนี้เหมาะสำหรับการลงลึก ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งไปเลย เอาทฤษฎีมากาง แล้วถามแบบ AI ...มันคือการเปลี่ยนแปลงทฤษฎีที่จับต้องยาก มาสู่การปฏิบัติจริง คนที่เล่นอย่างที่สามนี้ มักเป็นคนทำวิจัย หรือคนที่ทำ Consulting เชิงลึก

    4. คำถามตามเหตุการณ์ (Moment-based Inquiry) นี่ไม่มีหลักอะไรรองรับ เจอเหตุการณ์อะไร อยากแก้ไขให้ดี ให้ใช้โครงสร้างการถามแบบ AI จะได้คำตอบดีๆ ตัวนี้เหมาะกับการใช้ AI ในการทำ Problem Solving ในชีวิตประจำวัน 

    5. คำถามแบบใคร่ครวญ (Reflective Inquiry) อันนี้เน้นมาประเมินว่าทำอะไรไป Work ไม่ Work... อะไรดีก็รักษาต่อยอด อะไรไม่ดีตัดออก หรือเห็นอะไรดี ก็เอามาผสมผสานปรับปรุงในสิ่งที่เราทำอยู่  ตัวหลังสุดนี้เอามาสร้าง พัฒนาต่อยอดกระบวนการทำงาน สร้างเครื่องมือใหม่ๆ 

    มาลงรายละเอียดกันเลยครับ 

    1.คำถามระดับวิสัยทัศน์ (Strategic Inquiry) เป็นคำถามที่ทำให้เห็นภาพใหญ่ๆ หา Reason to Exist ขององค์กร หรือตัวท่านเอง ..ประมาณกำหนดทิศทางใหญ่ในชีวิต  “อะไรคือส่ิงที่คุณภาคภูมิใจที่สุดในการทำงานของท่าน”  คำตอบที่ได้จากคำถามนี้เอาไปใช้สร้างชีวิต สร้างความแตกต่างให้ตนเอง ถ้าในองค์กร เป็นคำถามที่ใช้สร้างกลยุทธ์  เพราะอะไรครับ เพราะว่าอะไรที่ท่านภูมิใจนั้น ท่านได้พัฒนาวิธีการ ต้องแหกกฏ ซึ่งนั่นคือกลยุทธ์นั่นเอง ...คุณถามความภูมิใจของคนนับ 100 นั่นคือกลยุทธ์ 100 อย่าง บางอันเป็นนวัตกรรมใหม่เลย  อาจเจอนวัตกรรมนับ 100 ก็ได้  คำถามนี้เป็นคำถามหลัก คำถามเปลี่ยนชีวิต ควรเริ่มด้วยคำถามนี้ก่อน เพื่อกำหนดทิศทางหรือวิสัยทัศน์องค์กร  แต่ไม่พอครับ ควรถามต่อด้วย “คุณให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรมากที่สุด” เป็นการทบทวนตนเอง ต่อมาก็ถาม “หากมีไม้วิเศษเสกอะไรก็ได้ขึ้นมา คุณจะเสกอะไร”  เอาคำตอบมาหา Dream ว่าคุณฝันอยากให้เกิดอะไรขึ้นในชีิวิต จะวางแผนอย่างไร (Design) จากนั้นจะทำอะไรให้เกิดจริง (Destiny) และพอไปทำจริง (คุณต้องทำ) มันจะเกิด Challenge ตามมา ก็สามารถแก้ปัญหาด้วย Principle-based Question, Theoretical  Questions, Moment-based Question หรือ Reflective Inquiry 

      2. คำถามตามหลักวิชา (Principle-based Inquiry)  วิชาการทั้งหลายในโลก สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหามนุษย์  คุณสามารถตั้งคำถาม เพื่อค้นหาปรากฏการณ์ตามหลักวิชาต่างๆ ได้    เวลาออกแแบบคำถาม ให้ลองทำความเข้าใจ “แก่นวิชา” ของแต่ละวิชา หรือถ้ายากไปให้ดู “ผลของมัน” จะทำให้เราออกแบบได้ง่ายขึ้น คำถามกลุ่มนี้จะทำให้ท่านสามารถคิดกลยุทธ์ต่างๆได้ 

         2.1 Lean  ผลของ Lean คือทำแล้ว ระบบมันทำงานดีขึ้นผิดหูผิดตา ดังนั้นให้ตั้งคำถามว่า

       “ตั้งแต่ทำงานมา เห็นอะไรดีขึ้นผิดหูผิดตา ระบบนั้นคืออะไร อะไรที่เปลี่ยนไป แล้วอะไรเป็นสาเหตุ” 

         2.2 Innovation อยากให้มีนวัตกรรม ต้องหานิยามก่อนว่านวัตกรรมคืออะไร ..ผมใช้นิยามของ Edward de Bono นั่นคือ  “Simplicity is Innovation ความเรียบง่ายคือนวัตกรรม”  นี่คือแก่นวิชา เพราะฉะนั้นอยากให้เกิดนวัตกรรม ก็ไปถามว่า “ ตั้งแต่ทำงานมาเห็นอะไรในองค์กรที่มันง่ายขึ้น สิ่งนั่นคืออะไร มันง่ายขึ้นอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุ” 

        2.3 คุณภาพ (Quality) คุณภาพนี่ถ้าทางบริหารเราวัดจาก คนซื้อแล้วซื้อซ้ำครับ  ...เพราะแสดงว่าสิ่งที่คุณสัญญากับสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังนั้นมันตรงกัน ...เราใช้คำถามว่า “ให้นึกถึงสินค้า/บริการที่คณซื้อซ้ำ  อะไรคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้คุณต้องกลับไปซื้อซ้ำ”   

         2.4 คุณค่า (Value) ..คุณค่าเป็นอะไรที่ไปไกลกว่าคุณภาพ คุณภาพคือสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังกับส่ิงที่เรให้ตรงกัน ...แต่คุณค่าคือส่ิงที่เราให้เกินความคาดหวังของลูกค้า...เราวัดจากการบอกต่อครับ ...เพราะฉะนั้นเราจะถามว่า “ตั้งแต่ซื้อสินค้า/บริการมา เราบอกต่อตัวไหน ร้านไหน ...แล้วจุดเปลี่ยนที่เราเห็นว่าเราต้องบอกต่อนั้นเกิดขึ้นตอนไหน”  

         2.5 Cost (ต้นทุน) ตามหลักวิชาประกอบด้วยต้นทุนที่เป็นตัวเงิน ค่าของ ค่าแรงที่เป็นตัวเงิน (Cost)  +  คุณภาพ (Quality) + การส่งมอบ (Delivery) แล้วแต่ละเล่นมิติไหน    

      ต้นทุนเป็นตัวเงิน   ถ้าเป็นค่าแรง ก็ถามว่า “ให้นึกถึงคนที่ทำงานได้ดีที่สุดในแแผนก เขาคือใคร เขาใช้เทคนิกอะไร” นี่จะทำให้คุณเจอโอกาสยกระดับ Productivity 

      “แผนกไหนมี Waste น้อยสุด เขามีการทำงานไม่เหมือนใครตรงไหน” นี่ก็ได้ (Cost + Quality) 

      “แผนกไหนไม่มี Complain เลย เขาทำอย่างไร ไม่เหมือนใครตรงไหน” (ได้ Quality)

      “แผนกไหนทำสินค้าได้เสร็จก่อนคนอื่น เขาทำอะไรไม่เหมือนใครตรงไหน”  (ได้เรื่อง Delivery)

         2.6 ยอดขาย  นี่คือตรงไปตรงมา ดูได้หลายมุม แล้วแต่อยากพัฒนาตรงจุดไหน 

      “สินค้าตัวไหน ยอดขายสูงสุด สาเหตุคืออะไร”

      “พนักงานขายคนไทยสร้างยอดขายได้สูงที่สุด เขาทำไม่เหมือนใครตรงไหน”

      “ในช่วงเศรษฐกิจตก ตัวไหนยังขายดี เหตุเพราะอะไร”

      “สาขาไหนขายดีสุด เขาทำไม่เหมือนใครตรงไหน” 

      “ลูกค้าคนไหน เขารักเรามาที่สุด ไปทำอย่างไรให้เขารัก”

         2.7 Branding  เรื่องตราสินค้า ..ที่สุดของ Branding คือการนึกถึงเราเป็นคนแรก ...  ให้ดูลูกค้าที่ซื้อซ้ำ ซื้อประจำ บอกต่อ ..ไปถามเขาว่า “ชอบเราตรงไหน ร้านเรามีดีไม่เหมือนใครตรงไหน” หรือ ถ้าอยากเรียนรู้การสร้าง Brand ต้องไปถามคนจำนวนมากๆ มากกว่า 30 คน ว่าให้นึกถึงสินค้า/บริการที่มีการซื้อซ้ำ หรือซื้อประจำ หรือบอกต่อว่า “ช่วยบอกจุดเปลี่ยน หรือเหตุผลว่าอะไรทำให้คุณซื้อซ้ำ หรือซื้อประจำ หรือบอกต่อสินค้านั้นๆ”  

        2.8 ปัญหาเรื่องคน  คนมาคู่ปัญหา  “ให้นึกถึง Idol เรื่องการจัดการปัญหาเรื่องคน เขามีวิธีการไม่เหมือนใครตรงไหน” หรือ “ตัวคุณเองที่เคยจัดการเรื่องคน กรณีไหนภาคภูมิใจที่สุด”

         2.9 การพัฒนาคน  ให้ถามว่า 

      “ตอนท่านยกระดับขีดความสามารถตนเองได้ เอากรณีที่ท่านภูมิใจที่สุด ท่านทำอย่างไร ใช้กระบวนการอะไร”  

      “ใครเป็น Idol ของท่านเรื่องการพัฒนาคน เขาทำอย่างไร ไม่เหมือนใครตรงไหน”

         2.10 Leadership เรื่องภาวะผู้นำ ดูจากความศรัทธา

      “ท่านศรัทธาใครมากที่สุด เขาทำอะไรไม่เหมือนใครตรงไหน”

         2.11 การสื่อสาร (Communication)  ผลของการคือ “เปลี่ยนพฤติกรรม”  ให้ถามว่า

      “ให้นึกถึงคนที่พูดแล้วท่านทำตามเลยแบบเต็มใจ เขาคือใคร เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นตอนไหน มีที่มาที่ไปอย่างไร”

         2.12 ทัศนคติ (Attitude)

      “ให้นึกถึง Idol เรื่องการเปลี่ยนทัศนคติ คุณนึกถึงใคร เขามีวิธีการไม่เหมือนใครตอนไหน”

      “ตอนที่คุณเปลี่ยนทัศนคติบางอย่าง มันเกิดอะไรขึ้น สาเหตุคืออะไร”

         2.13 ความสุข (Happiness)

      “นึกถึงตอนที่คุณมีความสุขในการทำงาน ตอนนั้นเกิดอะไรขึ้น ที่มาที่ไปคืออะไร”

         2.14 การทำงานเป็นทีม  (Teamworking) 

      “ให้นึกถึงทีมที่คุณรักที่สุดในชีวิต ตอนนั้นทีมทำงานกันอย่างไร ไม่เหมือนทีมอื่นตรงไหน”

         2.15 Engagement ปัญหาเรื่องความผูกพันธ์  คนเราจะเริ่มไม่ทุ่มเทสุดชีวิต เพราะคุณเริ่มไม่ผูกพันธ์...ให้ถามว่า “ตอนที่คุณรู้สึกว่าได้ทุ่มเทให้กับการทำงานอย่างไม่คิดชีวิต ตอนนั้นเกิดอะไรขึ้น มันไม่เหมือนครั้งอื่นๆ ตรงไหน” 

         2.16 การประเมิน (Evaluation)

      แล้วแต่จะประเมินอะไร ใช้โครงสร้างคำถามตรงนี้ 

      ประเมินบริษัท  “บริษัทเราตรงไหนมากที่สุด เมื่อไหร ตอนไหน อย่างไร สาเหตุคืออะไร เวลาทำงานคุณให้ความสำคัญกับอะไรมากที่สุด”

      ประเมินตนเอง “ภูมิใจผลงานชั้นไหนมากที่สุด ที่มาของความภูมิใจคืออะไร”

      ประเมินเพื่อนร่วมงาน “ชอบเพื่อนร่วมงานคนไหนมากที่สุด เขาทำไงไม่เหมือนใครตรงไหน”

      ประเมินการฝึกอบรม “ชอบการอบรมเรื่องอะไรมากที่สุด ที่ชอบเพราะอะไร”

         2.17 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) …มันคือการดึงความรู้ฝังลึก (ประสบการณ์ หรือ Tacit Knowledge) มาจัดเก็บ แล้วเอาไปใช้... ตรงนี้วิชา Appreciative Inquiry โดยเฉพาะขั้นตอนการถามนี่เอาๆปจัดกิจกรรมแทนวิชา KM ไ้ด้ทุกประเภทคำถามเลย เพียงแต่เพิ่มการจัดเก็บ บันทึกเข้ามาเท่านั้น

         2.18  Learning Organisation นี่ขนาดอาจารย์ Peter Senge ก็ยังพูดถึง Appreciative Inquiry ครับ มันเสริมกันดีมากๆ เช่น Systems Thinking ก็เอามาเสริมได้ โดยเฉพาะการหา Fundamental Solution ลองดูบทความผมตอนนี้.... https://www.gotoknow.org/posts...

      3. คำถามจากทฤษฎี (Theory-based Inquiry)  เป็นคำถามที่จะทำให้ท่านสามารถเปลี่ยนทฤษฎีเจ๋งๆ ไปแก้ปัญหายากๆ ได้จริง เป็นรูปธรรม ลองดูตัวอย่างดังนี้ 

           3.1 Branding  ผมชอบทฤษฎี Loyalty Pyramids มากที่สุด ... ผมก็มาแตกดูว่ามีอะไรบ้าง เขาบอกว่าถ้าคุณอยากทำให้สินค้า บริการของของท่านไปไกล ท่านต้องทำให้คนไม่รู้จักมารู้จัก ...รู้จักแล้วมาสอบถาม ...สอบถามแล้วซื้อครั้งแรก ...แล้วซื้อซ้ำ ซื้อประจำ ...บอกต่อ ...   ถ้าทำให้บอกต่อได้คุณประสบความสำเร็จเลย ...ถ้าคุณชอบทฤษฎีนี้ คุณก็ไปหาเลยว่าลูกค้าของคุณที่เริ่มซื้อครั้งแรก “คุณรู้จักร้านเราได้อย่างไร จุดเปลี่ยนอะไรที่นำท่านมาซื้อของเรา”  “แล้วตอนซื้อซ้ำ เกิดอะไรขึ้น อะไรเป็นจุดเปลี่ยน”  “ตอนซื้อประจำนี่คิดอย่างไร อะไรทำให้ท่านตัดสินมาซื้อเราเป็นประจำ”  “ตอนท่านบอกต่อ ท่านคิดอย่างไร อะไรเป็นจุดเปลี่ยน”

         เท่านี้ครับ ท่านจะได้คำตอบ นำมาพัฒนาวิธีการสร้าง Brand ของคุณ..ลูกศิษย์ผมหลายคนเวลาสร้าง Startup ใช้ตัวนี้ครับ ผมก็ใช้ ดีมากๆ 

           3.2 การตลาดพื้นฐานก็ Product Price Place Promotion 

        ก็ลุยเลยครับ

           Product  “นึกถึงสินค้า/บริการที่ท่านชอบสุด ท่านชอบอะไร สิ่งที่ท่านชอบดีไม่เหมือนคนอื่นตรงไหน”  ถ้าทำร้านกาแฟก็ใส่กาแฟเข้าไปในคำถามได้เลย”

           Price  ราคาไม่ได้เน้ถูกอย่างเดียว ทาง MBA ราคาแปลว่า “คุ้มค่า”  คำถามเลยเป็น “นึกถึงการซื้อที่คุ่มค่าที่สุด ท่านนึกถึงการซื้อครั้งไหน สินค้าอะไร มันดียังไง ถึงคุ้ม” 

           Place ช่องทางการจัดจำหน่าย “นึกถึงการซื้อสินค้าของคุณ ช่องทางไหนการซื้อแบบไหนที่คุณชอบที่สุด อย่างไรครับ”

           Promotion ส่งเสริมการขาย “นึกถึงการซื้อครั้งล่าสุด การส่งเสริมการขายไม่ว่าจะเป็นโฆษณา หรือลดแลกแจกแถมอะไร ที่จุดเปลี่ยนที่ทำให้คุณตัดสินใจซื้อ”

           3.3 Happy Workplace ผมมักแนะนำให้ใช้กรอบแนวคิดของสสส. นั่นคือ Happy 8 คนเราจะมีความสุขก็ต้อง มี Happy 8 ประการ คือ          

              3.3.1 Happy Body  ให้ถามว่า “ตอนที่ท่านรู้สึกแข็งแรงตอนนั้น ท่านทำกิจกรรมอะไร” 

              3.3.2 Happy Mind ให้ถามว่า “ตอนที่ท่านรู้สึกว่าจิตใจแจ่มใส ตอนนั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เพราะอะไร”

              3.3.3 Happy Relax ให้ถามว่า “ตอนที่ท่านรู้สึกผ่อนคลายมากๆ ท่านทำกิจกรรมอะไร อย่างไร”

              3.3.4 Happy Brain ให้ถามว่า “ตอนที่ท่านฉลาดขึ้นในบางเรื่อง เรื่องนั้นคืออะไร อะไรเป็นสาเหตุ”

             3.3.5 Happy Society ให้ถามว่า “ให้นึกถึงสังคมที่ท่านอยู่ ตอนที่รู้สึกดีที่สุดเมื่อได้อยู่ร่วมกัน ตอนนั้นเกิดอะไรขึ้น”

            3.3.6 Happy Soul ให้ถามว่า “ตอนที่รู้สึกสุขสงบกับชีวิต ตอนนั้นเกิดอะไรขึ้น “

            3.3.7 Happy Family ให้ถามว่า “นึกถึงตอนที่มีความสุขกับครอบครัวมากที่สุด ตอนนั้นเป็นเหตุการณ์อะไร”

            3.3.8 Happy Money ให้ถามว่า  “ให้นึกถึงความสุขเรื่องการเงิน ตอนที่มีความสุขที่สุดตอนนั้นเกิดอะไรขึ้น มันไม่เหมือนเหตุการณ์อื่นๆตรงไหน”

        3.4  Motivation ผมชอบทฤษฎีของ Dan Pink ที่ว่าคนจะมีแรงบันดาลใจก็ต่อเมื่อเขามี Purpose (จุดหมายในชีวิต) Mastery (ความเชื่ยวชาญ) และอิสรภาพ (Autonomy)  ก็ถามเลยครับ

           Purpose ตั้งคำถาม “ใครเป็นแรงบันดาลใจในชีวิตของท่าน แล้วท่านอยากทำอะไรให้โลกใบนี้”    

           Matserly ตั้งคำถาม “ตอนที่ท่านเก่งขึ้นบางเรื่อง ท่านทำอย่างไร กระบวนการของท่านเป็นอย่างไร”

            Autonomy ตั้งคำถาม “ตอนที่ท่านรู้สึกมีอิสรภาพ ทำงานอย่างเต็มที่ ได้ผลสูง ตอนนั้นมันมีเงื่อนไขอะไร”

        สามคำถามจะได้เงื่อนไขมาพัฒนาแรงจูงใจของพนักงานแต่ละคน

        3.5 และอื่นๆ

        4. Moment-based Inquiry เป็นคำถามที่ไม่ต้องมีหลักการอะไรมารองรับ เกิดจากคนเผชิญปัญหาในชีวิตประจำวัน แล้วอยากหาคำตอบดีๆ  ก็ต้องตั้งคำถามดีๆ ก็จะเจอคำตอบไปคิดต่อ วิธีถามคือถามหาสิ่งที่เป็นตรงกันข้ามปัญหาที่กำลงัเผชิญอยู่ หรือถามหา Idol ของเขา 

           4.1ลูกไม่ชอบครู เราเลยอยากหา Style การสอนที่เหมาะกับลูก .. เลยถามลูกว่า “ลูกชอบครูคนไหนมากที่สุด ครูคนนั้นเวลาท่านสอน ท่านสอนไม่เหมือนคนอื่นตรงไหน”

           4.2 ภรรยาไม่มั่นใจ  อยากให้มั่นใจ  อยากให้มั่นใจเลยถามว่า “ตอนที่คุณมั่นใจที่สุด ตอนนั้นเกิดอะไรขึ้น ทำอย่างไร”

           4.3 ลูกศิษย์ทำงานแล้วลูกค้าหนี ก็ถามว่า “ตอนที่คุณได้ลูกค้าประจำ นึกถึงเหตุการณ์ไหน ทำอย่างไรลูกค้าถึงอยู่กับคุณ”

           4.4 คุยกับนายไม่รู้เรื่อง “ตอนที่คุยกับนายรู้เรื่องทำอย่างไร”  

           4.5 รู้สึกแย่ ... “ตอนรู้สึกดี มันเกิดอะไรขึ้น”

           4.6 ลูกไม่รู้จะเรียนอะไรดี... “หนูไม่ชอบอะไร ชอบแต่อะไรที่เกาหลี” ...งั๊นชอบหนังเรื่องอะไร.... “เรื่อง.... ชอบพระเอกคะ..พระเอกเขาเป็นอัยการ ...ชอบบทอัยการมาก” ...งั๊นหนูก็เรียนนิติสิ...ได้เรื่องครับ ตอนนี้อยากเรียนกฏหมายจริงๆ 

        Moment-based Inquiry นี่ไม่มีขีดจำกัดครับ  ไปได้เรื่อยเลย 

        5. Reflective Inquiry เกิดจากการทบทวนการทำงานของเรา ดึงเอาที่ไม่ดีออก รักษา/พัฒนาสิ่งที่ดี   ทำอย่างไรครับ ทำได้สองสามแนวทางดังนี้

           5.1 ทำ Appreciative Inquiry ก็จะเห็นปัญหา เช่นผมเคยสอนบางทีก็มีคนชอบ ไม่ชอบ เลยตั้งคำถามว่าอะไรที่ต่าง ค้นพบครับว่าก่อนสอน ถ้ามานั่งขีดเขียน ทำ Mind Map ว่าจะสอนอะไรจะดี จะพร้อมกว่า ทำให้ไปสอนจะราบรื่นกว่า เพราะฉะนั้นในตำราไม่มีขั้นตอนการเตรรยมการ แต่สำหรับผมการเขียน Mind Map ก่อนสอนจะดีมาก

            5.2  เห็นทฤษฎีที่น่าจะทำให้ Appreciative Inquiry ทรงพลังมากขึ้น ก็เอามาผสมซะเลย เช่นผมรู้สึกชอบแนวคิด the Tipping Point ผมก็เอาผสม โดยเฉพาะเรื่อง Influencers สามคน นั่นคือ Maven Connector Salesman ผมเอามาผสมกับ AI ทำให้ AI ได้ผลมากขึ้น เพราะฉะนั้น AI แนวผมคือ The Tipping-Point Appreciative Inquiry© ครับ 

            5.3 บางทีเราก็เอา AI ไปผสมศาสตร์อื่น เพราะระบบการถามของ AI มันดีมากๆ ก็สามารถเอาผสมศาสตร์อื่นได้ ผมเอาไปผสมศาสตร์อื่นๆ เป็นสูตรเฉพาะตัวของผมเช่น 

                5.3.1 Theory U ผมเอาไปผสมช่วงการ Reflection ทำให้ทำ Theory U ได้ง่ายขึ้น (ดูที่นี่https://www.gotoknow.org/posts/536169)

                5.3.1 Systems Thinking ผมเอาไปผสมช่วงการหา Fundamental Solution ก็จะง่ายขึ้น (ดูที่นี่ https://www.gotoknow.org/posts...)

        และอื่นๆ ครับ เดวผมจะเขียนมาเพิ่มเติมอีก  Reflective Inquiry นี่เราทำเดี่ยวหรือทำเป็นกลุ่มก็ได้ มันจะยกระดับงานของท่านไปไกลมาก

        สรุปแล้วคำถามมีห้าแบบ เน้นการค้นหาสิ่งดีๆ มาขยายผลครับ  วิธีการจะรู้ว่าเป็นคำถามที่ดีหรือเปล่าคือมันได้คำตอบดีๆ ที่เอาไปขยายผลได้เป็นรูปธรรมหรือไม่ ถ้าไม่ได้ คุณอาจถามไม่เป็นครับ ลองปรับเปลี่ยนใหม่

        วันนี้พอเท่านี้นะครับ จะเห็นว่าการถามนี้ไม่ง่ายเป็นศิลปะ แต่เชื่อว่าถ้าท่านดูสรุปข้างบน จะเห็นทางมากขึ้น ผมทำมาเป็นร้อยๆ โครงการถึงสรุปได้อย่างข้างบนครับ ตำราฝรั่งไม่ได้มีในมุมนี้ครับ เขียนยาวหน่อยสำหรับคนทำ Appreciative Inquiry ที่ค่อนข้าง Hardcore ไปแล้ว ไม่เหมาะกับคนยังไม่พื้นฐาน .. ลองศึกษากันดูครับ ผมเก็บไว้อ้างอิง

        สำหรับวันนี้ Merry Christmas ครับ 

        บทความโดย

        ดร.ภิญโญ รัตนาพันธ์ุ 

        www.aithailand.org

                    

        คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
        หมายเลขบันทึก: 658938เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2018 19:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ธันวาคม 2018 07:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


        ความเห็น (3)

        Thank you for the Present.I can really use this insightful tools for better inter-personal relations.=Happy New Year=

        [Though I have pondered over “the right questions’ for years, tried several ways to negotiate and to reach compromise [some will say win-win] options. Most times it’s one-sided. Now I will try setting AI mindset among parties first. Before getting on with the problems at hand.]

        ขอบคุณ อ.ค่ะ สำหรับบทความที่ดีขนาดนี้

        ขอให้อาจารย์เขียนบทความที่เป็นการสร้างแรงบันดานใจแบบนี้ต่อไปค่ะ เพราะโลกปัจจุบันภายใต้แรงกดดันของการทำงาน ได้ศึกษาบทความที่ดีเยี่ยมแบบนี้ทำให้ชีวิตคั้งสติได้ดีมากๆเลยค่ะ

        พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
        ClassStart
        ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
        ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
        ClassStart Books
        โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท