อบูญาลีละฮ์
อบูญาลีละฮ์ ลี บินอับดุลฆอนีย์

จุดเริ่มต้น...สู่การ PR ของ “ทุเรียนสะเด็ดน้ำ”


จุดเริ่มต้น...สู่การ PR ของ “ทุเรียนสะเด็ดน้ำ”

โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา

ทุเรียนเป็นไม้ผลเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดยะลา มีพื้นที่ปลูกทุกอำเภอในจังหวัดยะลา รวมพื้นที่ปลูกทั้งจังหวัดประมาณ 51,717 ไร่ ย้อนหลังกลับไปตอนสมัยท่านอธิบดีโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรในสมัยนั้น ได้นำระบบส่งเสริมการเกษตรรูปแบบ MRCF มาใช้ในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรในระดับพื้นที่ โดยคำนึงถึง พื้นที่ คน สินค้า ส่งผลให้ท่าน ผอ.ไพศาล โรจน์สราญรมย์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จังหวัดสงขลาในสมัยนั้น (พ.ศ. 2557) ได้ขับเคลื่อนนโยบายงานวันนัดพบสื่อ (Meet the press and friends) ท่าน ผอ.ได้ให้สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลาขับเคลื่อนการดำเนินงานระบบส่งเสริมการเกษตรรูปแบบ MRCF ของจังหวัดยะลา โดยได้คัดเลือกสินค้าหลักคือ ทุเรียน พร้อมกันนี้ท่านได้ให้แนวทางว่าน่าจะเรียกทุเรียนจังหวัดยะลาว่า “ทุเรียนสะเด็ดน้ำ” ท่าน ผอ. บอกว่าเนื่องจากการปลูกทุเรียนในจังหวัดยะลา ส่วนใหญ่ปลูกบนพื้นที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและเป็นภูเขาที่มีความชัน ส่งผลให้การระบายน้ำของสวนทุเรียนเป็นไปได้ด้วยดีส่งผลให้ผลผลิตทุเรียนของจังหวัดยะลาเนื้อหนา เนื้อแห้ง ไม่แฉะ เนื้อเนียน ละเอียดเหนียวนุ่ม มีสีเหลืองทอง มีกลิ่นหอมละมุน รสชาติหวานมัน เมล็ดลีบ เปลือกบางนอกจากนี้ยังสามารถควบคุมความชื้นบริเวณทรงพุ่ม เพื่อลดการเกิดโรครากเน่าโคนเน่า จากเชื้อราสาเหตุไฟทอปธอรา (Phytophthora spp.) ที่สำคัญเป็นทุเรียนปลอดสารพิษ เพราะเน้นใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ยเคมี

สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา จึงได้นำแนวคิดของท่าน ผอ. ไพศาล โรจน์สราญรมย์ ไปดำเนินการโปรโมทประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้บริโภคทั้งในจังหวัดยะลาและต่างจังหวัดรู้จักทุเรียนยะลาในฉายา “ทุเรียนสะเด็ดน้ำ”

หมายเลขบันทึก: 659725เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2019 19:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2019 08:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท