ย้อนรอยอดีตปากพะยูน(เมืองป้องปุตร ป้องปุดตะระ ในอดีต)5 เมืองป้องปุตรถึงยุควิบัติ


เมืองป้องปุตรกลายเป็นเมืองตายหลังจากรับใช้ผู้คนในภูมภาคแถบนี้มาแล้วกว่า 1000 ปี แต่ก็ได้เกิดเมืองใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่ แทน คือเมืองสิงหนคร(อ่านว่า สิงหะนะคะระ) หรือเมืองสงขลาในปัจจุบัน..

        จากตอนที่ 1-4 ดังได้กล่าวมาแล้วว่าภูมิภาคแห่งนี้  ได้มีการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก และการยกตัวของเปลือกโลกอยู่

ตอดเวลา ทำให้ทะเลหน้าเมืองทางด้านทิศใต้ เกิดการตื้นเขิน เส้นทางเดินเรือจากเมืองป้องปุตร ถึงเมืองปะแลนดาก็หมดสภาพ

ยากแก่การเดินเรือได้ ซ้ำร้ายกว่านั้นธรรมชาติได้สร้างหาดทรายขึ้นในทะเลอ่าวไทย  เป็นหาดทรายที่มีความยาวหลายร้อย

กิโลเมตร  เริ่มจากอำเภอกาญจนดิษฐ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ลงไปทางใต้จนถึงอำเภอตากใบ  จังหวัดนราธิวาส เข้าไปยังแหลม

มลายู เป็นผลให้เกิดทะเลตอนในขึ้นมาเรียกว่าทะเลใน

      เป็นผลให้เมืองป้องปุตรไม่ได้เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมทะเลอ่าวไทยอีกต่อไป  การติดต่อค้าขายกับเมืองต่างๆ ในภูมิภาคนี้ก็ค่อย

ลดน้อยลงไป  ท้ายที่สุด เมืองป้องปุตรก็กลายเป็นเมืองตาย ผู้คนอพยพหลบหนีไปอู่ที่อิ่น

บัดนี้เมืองป้องปุตร เหลือเอาไว้เพียงก้อนอิฐไม่กี่ก้อน และกระดูกชาวเมืองที่ล้มตาย

  ก็ยังเป็นหลักฐานให้คนรุ่นหลังได้ศึกษากันต่อไป ที่บ้านป้องปุด และบ้านหารเปลวในพื้นที่ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูนจังหวัด

พัทลุง......

.เมืองป้องปุตรกลายเป็นเมืองตายหลังจากรับใช้ผู้คนในภูมภาคแถบนี้มาแล้วกว่า 1000 ปี แต่ก็ได้เกิดเมืองใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่

แทน คือเมืองสิงหนคร(อ่านว่า สิงหะนะคะระ) หรือเมืองสงขลาในปัจจุบัน......


หมายเลขบันทึก: 661382เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2019 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2019 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เมือกปากพะยูนความเป็นมาย้อนไปถึงโบราณคดี มีองค์ประกอบทางมานุษยวิทยาและธรณีวิทยา สถาบันการศึกษาในพื้นที่ควรมีโครงการในรูปคดีศึกษาที่เป็นรูปธรรม เพื่อเป็นชุดความรู้ที่ใช้ประโยชน์ในอนาคต

เรียนอาจารย์จำรัส สืบค้นเมืองเมืองป้องปุตร เห็นความเริญรุ่งเรือง แล้วก็กาลล่มสลาย ก็มีเมืองใหม่ ปากพะยูนเกิดมาทำหน้าที่เมืองท่าแทน ประวัติศาสตร์คือร่องรอย ที่คนรุ่นหลังจะได้เรียนรู้เรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อมาปรับใช้ในปัจจุบัน และวางแผนอนาคตแต่หากหลงไหลได้ปลื้มอยู่กับประวัติศาสตร์ แล้วไม่พัฒนาความคิดให้ทันกับกระแสของความเปลี่ยนแปลง เราก็จะถูกลืมเหมือนกับเครื่องมือสื่อสารต่างๆที่ผ่านมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท