หลัก3 ขา นำพาฝายมีชีวิตหลักคิด ดร.ดำรง โยธารักษ์


การเรียนรู้เรื่องฝายมีชีวิต ก็จะมีการเรียนรู้เรื่องปรองดองกับธรรมชาติของฝายมีชีวิต เช่นรู้ความหมายของระบบนิเวศน์ เรียนรู้เรื่อง ครอบครัวต้นไม้ เรียนรู้เรื่องไม้สร้างน้ำ เช่นต้นไทร (นักบุญแห่งผืนป่า นักฆ่าแห่งพงไพรคือไทร)

          หลังจากที่ ทีมทำงานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดพัทลุง  ที่นำทีมโดยคุณ สุวัฒน์ คงแป้นได้ไปปรึกษา หารือ เรียนรู้เรื่องฝายมีชีวิ

 ที่สถาบันการเรียนรู้เพื่อจัดการตนเอง ก็ได้รายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง นาย กู้เกียรติ วงศ์กระพันธ์ให้รับทราบ  ท่านผู้ว่าสนใจเพราะการ

ทำฝายมีชีวิตอยู่ในแผนยุทธศาสตร์พัฒนาสิ่งแวดล้อมของจังหวัด ท่านผู้ว่าฯจึงได้นัดหารือที่ศาลากลางจังหวัด ซึ่งภาคประชาสังคมและภาคีหน่วย

งานเข้าร่วมหารือหลายองค์กร

มีวุฒิอาสาธนาคารสมอง

ครูฝายมีชีวิต 

ตัวแทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด 

นักวิชาการมหาวิทยาลัย 

ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัด

สถาบันการเรียนรู้เพื่อจัดการตนเอง 

และคณะทำงานขบวนองค์กรจังหวัดพัทลุง ......

         หลังจากที่ผู้ว่าฯกล่าวต้อนรับและทักทายก็ได้บอกเล่าทิศทางการสร้างฝายมีชีวิตในของจังหวัด จากนั้น ดร.ดำรง กับอาจารย์ สมเดช จาก

สถาบันการเรียนรู้เพื่อจัดการตนเองก็ได้บอกกล่าวเล่าเรื่องการสร้างฝายมีชีวิต ด้วยคิดแห่งหลักการ 3 ขานำพาฝายมีชิตว่า....

       "ขาที่ 1 เริ่มต้นจากการทำเวที ประชาเข้าใจ 

ขาที่ 2 ต้องพึ่งตนเองก่อน ที่เหลื่อกว่าแรงค่อยขอความร่มมือจากภายนอก(ไม่มีค่าแรง ส่วนวัสดุอุปกรณ์มาจากความสมัครใจของทุกภาคส่วน)

(โบราณว่าถ้าเหลือกำลังลากให้ออกปากบอกแขกช่วยแบกหาม)

ขาที่ 3 คือธรรมนูญคลอง.....

     ขาที่1 .เวทีประชาเข้าใจ การทำฝายมีชีวิตต้องเริ่มต้นจากการทำเวทีประชาเข้าใจ ด้วยกระบวนการสร้างภาพฝันร่วมของคลองที่ชาวบ้านอยากเห็น

แล้วตามด้วยการทบทวนสัตว์ต่างๆ ต้นไม้ต่างๆที่เคยมีอยู่ในคลอง ข้างคลอง จนกระทั่งทุกคนยอมรับว่า  ถ้าจะให้สัตว์และต้นไม้ข้างคลองกลับคืน

มา สิ่งแรกที่ต้องการคือ"น้ำ"  หลังจากนั้นก็ช่วยกันค้นหาวิธีการที่จะทำให้น้ำเต็มคลอง เช่น เขื่อนปูน ฝายปูน ฝายแม้ว การขุดคลอง ฝายมีชีัวิต 

เป็นต้นในช่วงการเรียนรู้เรื่องฝายมีชีวิต ก็จะมีการเรียนรู้เรื่องปรองดองกับธรรมชาติของฝายมีชีวิต เช่นรู้ความหมายของระบบนิเวศน์ เรียนรู้เรื่อง

ครอบครัวต้นไม้  เรียนรู้เรื่องไม้สร้างน้ำ เช่นต้นไทร (นักบุญแห่งผืนป่า นักฆ่าแห่งพงไพรคือไทร)  สาคู เป็นต้น เรียนรู้เรื่องป่าต้นน้ำอยู่ที่ไหน 

เรียนรู้องค์ประกอบของฝายมีชีวิต  เรียนรู้ว่าทำไมฝายมีชีวิตไม่ใช้ปูนกับเหล็กเป็นองค์ประกอบ เรียนรู้ว่าฝายมีชิตแก้ปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม เพิ่มน้ำ

บาดาล  แก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งได้อย่างไร  เรียนรู้ว่าประโยชน์ที่เกิดจากจากฝายมีชีวิตมีอะไรบ้าง  เรียนรู้จนกระทั่งชาวบ้านตอบได้ว่า  ทำไม

ต้องสร้างฝายมีชีวิต จนกระทั่งชาวบ้านสามารถตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะสมกับเขา ถ้ายังตัดสินใจไม่ได้ก็ให้ใช้ตารางวิเคราะห์ทางเลือกแทนการ

โหวต และใช้บันได 5 ขั้นในกาารวางแผนการสร้างฝายมีชีวิต......   

     ขาที่ 2 การพึ่งตนเองก่อน กล่าวคือเมื่อชาวบ้านเข้าใจว่าทำไมต้องสร้างฝายมีชีวิตและไม่สามารถรอใครได้ ทางเดียวที่จะได้น้ำคือต้องพึ่งพา

ตนเองก่อน ดังนั้นวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่นไม้ไผ่  เชือก กระสอบ ทราย ขี้วัว ขุยมะพร้าว เป็นต้น  ก็จะได้จากเวทีประชาเข้าใจเป็นเบื้องต้นพร้อมด้วย

แรงงานมีจิตอาสา(ไม่มีค่าแรง)  แสดงว่าการทำฝายมีชีวิตไม่ได้เริ่มต้นด้วยงบประมาณ แต่เริ่มจากการนำข้อมูลคลองมาเรียนรู้ เชื่อมโยงเป็นความรู้

เรี่องฝายมีชีวิต แล้วนำมาปฎิบัติจนเกิดปัญญา กล่าวได้ว่าฝายมีชีวิตเริ่มจากปัญญาแล้วเงินตราจะมาเอง(จากหน่วยงานต่างๆก็เข้ามาสนับสนุน).....

ขาที่ 3 ธรรมนูญคลอง เป็นขั้นตอนจากตัวฝายมีชีวิตเสร็จแล้ว  เมื่อได้น้ำคืนสู่คลองสิ่งที่ตามมาก็คือ สัตว์ ต้นไม้ ความอุดมสมบูรณ์เป็นต้นสิ่งที่

สำคัญต่องจากนี้คือ เวทีจัดกระบวนการให้ชาวบ้านมีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาร่วมกันคิดต่อว่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มจากการมีน้ำได้อย่างไรและเพื่อสร้าง

กติกา กฎระเบียบ แนวทางปฎิบัติ บทลงโทษผู้ละเมิดกติกา  อีกทั้งยังต้องกำหนดว่าจะไปช่วยรักษาป่าต้นน้ำได้อย่างไร เช่นข้อตกลงร่วมกันของ

ชุมชนในการดูแลรักษาคลองของเขา เรียกว่าธรรมนูญคลอง......

(.ดร.ดำรง  โยธารักษ์ สถาบันการเรียนรู้เพื่อจัดการตนเอง")

ซึ่งการทำฝายมีชีวิตเป็น 1 ใน6ประเด็นยุทธศาสตร์ภาคประชานชน ที่ขบวนองค์กรชุมชน จังหวัดพัทลุงได้ผ่านการระดมความคิดเห็นเมื่อวันที่31 

พฤษภาคม 2562  ในแผนกิจกรรมประกอบข้อเสนอต่อประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดในด้านที่ 4 เรื่องการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

.....ฝายมีชีวิตคือการจัดการตนเองของภาคประชาชนในเรื่องการจัดการน้ำสู่ความยั่งยืน......

บ้านวอญ่า 22 กรกฎาคม 2562


 



ความเห็น (3)

เป็นการพัฒนาต่อยอดและประยุกต์หลักคิดแผนชุมชนของอาจารย์ประยูร รณรงค์ นักคิดภาคปรพชาชนผู้ยิ่งใหญ

เป็นการพัฒนาต่อยอดและประยุกต์หลักคิดแผนชุมชนของอาจารย์ประยูร รณรงค์ นักคิดภาคประชาชนผู้ยิ่งใหญ

เรียนอาจารย์จำรัส…….เกษตรยกกำลัง3 ตามที่อาจารย์ เสนอความเห็นคือการพัฒนาภาคเกษตรให้ยืนสู้กับราคาผลิตตกต่ำ ซึ่งแนวคิดนี้ต้องแนะให้ทำ นำให้ดู ต้องเปลี่ยนมายเซ็ท เกษตรกร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท