การพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นคุณ


2 วันนี้ อาจน้อยเกินไปสำหรับนักเรียนรู้ที่กระหายความรู้ จนยากที่จะจะช๊อปปิ้งได้หมด แต่อย่างไรก็ตาม ทุกๆห้อง แห่งการเรียนรู้นี้ ถ้าใครเข้าห้องด้วยความเต็มใจ ตั้งใจ ก็คงจะได้ความรู้หลากหลายเข้ากระเป๋าใบสวยแบบเต็มๆ
 มูลนิธิข้าวขวัญได้รับโอกาสจาก สคส. ให้เปิดห้องเรียนรู้จำนวน 1 ห้อง (220-221) และจัดบูทนิทรรศการอีก 1 จุด ในงานตลาดนัดความรู้ ครั้งที่ 3  ในวันที่ 1-2 ธันวาคม 2549  ทีมงานข้าวขวัญก็ได้ดำเนินการวางแผนรูปแบบกิจกรรมที่จะสื่อให้นักเรียนรู้ทั้งหลายได้เห็นถึงกระบวนการจัดการความรู้ที่ข้าวขวัญได้ปฏิบัติร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย นั่นคือ ชาวนา ในกิจกรรมที่คนทั่วไปรู้จักในชื่อ โรงเรียนชาวนา ซึ่งจะว่าไปแล้วสิ่งที่คุณอำนวยข้าวขวัญจะต้องวางแผนกันใหม่ เพื่อให้สมกับโอกาสที่ได้รับ ต้องมาขบคิดกันว่า เราจะนำเสนอกิจกรรมอย่างไรเพื่อให้นักเรียนรู้สนใจที่จะเข้าห้องของเรา และมีความเข้าใจในสิ่งที่เราทำ เท่าที่เวลา 2 วันจะเอื้ออำนวย และเราก็ได้สรุปว่า ในส่วนของบูทนิทรรศการกับห้องเรียนรู้เชิงปฏิบัติการนั้น เราจะทำให้สอดคล้องกัน เพราะเข้าใจว่า ก่อนที่จะมีนักเรียนรู้สนใจเข้าห้อง  ถ้ามีโอกาสได้เห็นนิทรรศการที่เราจัดด้านนอก ก็อาจจะสร้างแรงจูงใจให้เข้ามาเรียนรู้เชิงลึกภายในห้องได้  ดังนั้นนิทรรศการนอกห้อง นอกจากจะเป็นบอร์ดเรื่องรราวโรงเรียนชาวนาขนาดใหญ่ ที่ทาง สคส.กรุณาจัดทำให้อย่างสวยงาม พวกเราก็ไม่ลืมที่จะจัดนิทรรศการแบบสัมผัสได้ โดยอัญเชิญแม่โพสพที่ชาวบ้านช่วยกันทำจากฟาง  แบบจำลองการเก็บและการขยายเชื้อจุลินทรีย์ของจริง มาให้นักเรียนรู้ที่ผ่านไปมาได้สัมผัสกับมือตนเอง ซึ่งที่บูทนี้ ก็มีคุณธนรัช  ใกล้กลาง คุณบังอร  สุวรรณสูร และคุณบุญรอด สระทองดี ทำหน้าที่เป็นคุณอำนวยมืออาชีพคอยทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความรู้ทั้งวัน ส่วนในห้องย่อยที่ สคส.ได้ยกให้เราออกแบบอย่างเต็มที่นั้น  ได้ทีมงานช่วยสร้างให้ห้องมีบรรยากาศของกลิ่นไอท้องทุ่ง (เท่าที่จะทำได้)  และเปิดฐานการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ 3 ฐาน 3 มุม คือ 1 ฐานการเรียนรู้การจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี  ฐานนี้มีคุณเหรียญ  ใกล้กลาง + คุณพรชัย  ชูเลิศ + คุณอุไร แอบเพชร เป็นคุณอำนวย  2.ฐานการเรียนรู้การปรับปรุงบำรุงดินโดยชีววิธี  มีคุณณรงค์  อ่วมรัมย์ + คุณนคร  แก้วพิลา เป็นคุณอำนวย3.ฐานการเรียนรู้การปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าว มีคุณสุขสรรค์  กันตรี + คุณวนิดา  บุณยวิสาข์ +คุณจุมพต  โฉมงาม เป็นคุณอำนวยตามแผนกิจกรรมของห้องย่อยนี้ ในภาคเช้าจะเปิดความรู้ โดยคุณเดชา  ศิริภัทร ( ผู้อำนวยการมูลนิธิข้าวขวัญ )  ซึ่งจะพูดคุยในหัวข้อเรื่องการจัดการความรู้ ในกรณีศึกษาโรงเรียนชาวนา ก่อนที่จะให้คุณอำนวยในแต่ละฐานให้ความรู้และความเข้าใจในส่วนของเนื้อหากิจกรรมในภาคทฤษฎีทั้ง 3 หลักสูตร ให้เสร็จสิ้นในช่วงเช้าและนักเรียนรู้จะเข้าเรียนรู้เชิงปฎิบัติการจริงในภาคบ่าย โดยจะเรียนรู้แบบจัดแบ่งนักเรียนรู้เป็น 3 กลุ่ม หมุนเวียนกันให้ครบทั้ง 3 ฐาน แต่ในเบื้องต้นเราเองก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่า จะมีนักเรียนรู้สนใจลงทะเบียนเข้าเรียนรู้ห้องเรียนเรามากน้อยแค่ไหน แต่เราก็วางแผนกันว่า หากนักเรียนรู้มีน้อยอาจปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ขอแค่ได้รู้จำนวนผู้เข้าเรียนรู้เท่านั้นพอ  แต่ละหลักสูตรคุณอำนวยก็เตรียมทั้งข้อมูลและอุปกรณ์เพื่อการปฏิบัติจริงไว้อย่างเต็มที่ อย่างน้อยพวกเราก็มั่นใจว่า ถ้านักเรียนรู้อยู่ร่วมกับเราตลอดวัน ก็จะสามารถทำให้แต่ละคนซึมซับและเข้าใจถึงกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนี้ได้  และในวันงานจริง สิ่งที่เกิดขึ้น และเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เราต้องจัดปรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อความเหมาะสม ได้แก่1.ห้องย่อยที่เราได้รับนั้น  ทำให้เราจัดฐานการเรียนรู้ได้ 3 ฐานจริงอยู่ แต่ก็เป็นฐานที่อยู่ใกล้กันเกินไป จนไม่สามารถที่จะแบ่งกลุ่มนักเรียนรู้ได้ 3 กลุ่ม และหมุนเวียนเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน ทั้ง 3 ฐานได้ โดยเกรงว่า เสียงและการพูดคุยในแต่ละกลุ่ม จะรบกวนกันทำให้ไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ 2.นักเรียนรู้ มีจำนวนกะทัดรัด และแต่ละคนก็ไม่ได้มาเรียนรู้พร้อมกัน และหลายคนไม่ได้เรียนรู้ครบทุกหลักสูตร ความเข้าใจของนักเรียนรู้จึงไม่ต่อเนื่องและไม่เท่ากัน  ดังนั้น จึงได้จัดให้นักเรียนรู้นั่งที่พื้นรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ไม่มีการแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่มตามที่ได้วางแผนไว้ แต่ให้ทุกคนที่เข้ามาในขณะนั้นฟังคุณเดชาได้บอกเล่าเรื่องราวของกิจกรรมโรงเรียนชาวนา ก่อนที่จะเรียนรู้ทั้งทฤษฎีและภาคปฎิบัติไปพร้อมๆกันในแต่ละฐานตามอัธยาศัย ใครสงสัย ใครอยากถาม ใครอยากร่วมแสดงความคิดเห็นก็เปิดเวทีให้อย่างอิสระเต็มที่  ใครเข้า ใครออกตามแต่ความสะดวกใจ ไม่ว่าคนจะเพิ่มขึ้นหรือน้อยลงกว่าเดิม เราก็ยังเรียนรู้กันต่อไปทั้งวัน บรรยากาศแบบกันเองนี้ ต่างฝ่ายต่างได้รับจากกันและกัน ทำให้เราได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างสนุกสนาน  และจากในวันแรกเสียงสะท้อนของนักเรียนรู้หลายท่านที่เป็นสุภาพสตรีและนุ่งกระโปรงมา ทำให้เราปรับรูปแบบที่นั่งให้สะดวกโดยใช้เก้าอี้เข้ามาแทน ในวันต่อมาเป็นที่น่าดีใจ ส่วนหนึ่งหลายคนได้ร่วมเรียนรู้กับเราจนจบทั้ง 3 หลักสูตร และหอบของที่ระลึก ได้แก่กระถางข้าวกล้อง และของชำร่วยที่เป็นเมล็ดข้าวพันธุ์ดีติดตัวไปด้วย หลายคนที่เรียนรู้ในวันแรกแต่ไม่ครบหลักสูตร ยืนยันกับเราว่า  ในวันพรุ่งนี้จะตามมาเรียนรู้ในหลักสูตรที่เหลือ และมีไม่น้อยที่ให้ความสนใจกิจกรรมโรงเรียนชาวนาและแสดงความมุ่งมั่นว่าในวันหนึ่งจะแวะไปเยี่ยมถึงถิ่น  ห้องย่อยของเราเป็นเพียง 1 ในห้องตลาดนัดความรู้ แค่เพียงใครสักคนแวะเข้ามาทายทัก หยุดพักถ่ายภาพ หรือลุกออกจากห้องกลางคัน  หรือแม้บางคนเข้ามาหาเราในจุดลงทะเบียนเพียงเพราะสนใจของชำร่วยที่เป็นเมล็ดข้าวพันธุ์ดีที่จัดเตรียมไว้ บรรยากาศการเรียนรู้ต่างๆที่เกิดขึ้นในห้องหรือนอกห้อง ไม่ว่าอย่างไรก็ช่วยกระตุ้นให้พวกเรามีพลังใจมากมายก่ายกอง  จะด้วยเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดหรือของดีที่มีให้เลือกเยอะมากเกินไป ก็ตาม ยอมรับว่าใน 2 วันนี้ อาจน้อยเกินไปสำหรับนักเรียนรู้ที่กระหายความรู้ จนยากที่จะจะช๊อปปิ้งได้หมด แต่เสียงสะท้อนจากนักเรียนรู้ คือของดีมีเยอะมาก มากจนไม่รู้จะเลือกรับอะไรดี ประมาณว่ารักพี่เสียดายน้อง แต่อย่างไรก็ตาม ทุกๆห้อง แห่งการเรียนรู้นี้  ถ้าใครเข้าห้องด้วยความเต็มใจ ตั้งใจ ก็คงจะได้ความรู้หลากหลายเข้ากระเป๋าใบสวยแบบเต็มๆ   
คำสำคัญ (Tags): #ตลาดนัด
หมายเลขบันทึก: 66990เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2006 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  สวัสดีคร๊าบ พี่ป้าน้าอา มขข.และนักเรียนชาวนา ...งานนี้เอาไปเลยครับ..ชุดใหญ่..3 ยก..สุดยอดครับ..นับได้ว่า เป็นห้องย่อยที่ทุ่มสร้างมากที่สุดเลยครับ..ทั้งกำลังกาย กำลังใจ...อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย(จริงหรือป่าว) ...เอ..แต่ว่าหลังงานแล้วหายเงียบกันไปหมด สงสัยไปพักฟื้นกันหรือป่าว ครับ..

ขอบคุณที่ยังมีกำลังใจให้กันเสมอมาค่ะ ยอมรับว่าเหนื่อยค่ะ แต่ก็รู้สึกดี เพราะได้พบกัลยาณมิตรจากงานนี้ดีๆหลายท่าน พอเสร็จงานก็ไม่ได้เงียบหายไปหรอก แค่ไม่ได้นำเรื่องมาเล่าในบล๊อคเท่านั้นเอง ตอนนี้หลายคนมีโอกาสไปเติมพลังชีวิตกันมาค่ะ ทำกิจกรรมกับคนที่รักภายในครอบครัวบ้าง  เข้าพื้นที่ไปพบปะชาวนาตามปกติบ้าง ชีวิตของชาวข้าวขวัญ เราให้ความสำคัญกับงานในพื้นที่และความรักความอบอุ่นในครอบครัวเป็นอย่างมาก เพราะรู้ว่าสองสิ่งนี้มันเคลือ่นไปด้วยกันได้ในวิถีพวกเราแต่ไหนแต่ไรมา   ฉะนั้นไม่ว่าก่อน-หลังงาน พวกเรายังใช้ชีวิตปกติวิถีเหมือนเดิมค่ะ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง นอกจากความสุขใจที่มีเพิ่มขึ้นอีกโข โดยเฉพาะกัลยาณมิตรหลายคนที่ได้มีโอกาสพบเจอในงานตลาดนัดความรู้และให้เกียรติมาเยือนเราถึงถิ่นค่ะ

 

 

 ผมได้เข้าไปร่วมในช่วงเช้าของวันที่ ๑ ธ.ค.๔๙

ทุกคนที่ "ข้าวขวัญ" เก่งจริง ๆ ครับ เลยรูปมาฝากครับ

 

 

 

 

 อีกรูปหนึ่งครับ

ขอบคุณที่บันทึกมาแลกเปลี่ยนครับ

 

นคร(ปริ๊นซ์) ม.ธรรมศาสตร์
ยังคงชื่นชม มูลนิธิข้าวขวัญอยู่เสมอ และเป็นแบบอย่างในการคิดและดำรงชีวิตของผมด้วย เพราะความรู้ที่ข้าวขวัญมีและพร้อมให้กับผู้อื่นนั้น เป็นความรู้ที่มีชีวิต มีหน้าตาเป็นมนุษย์ เพราะใส่ใจต่อคนและวิถีชีวิตของคนที่ได้รับความรู้และเทคนิคของข้าวขวัญไปพร้อมๆกันไปกับการพัฒนาเทคนิคนั้นๆด้วย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ทำให้การทำงานของข้าวขวัญนั้นเป็นการปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง  มากกว่าการพัฒนาเป็นความรู้ที่มุ่งแต่เทคนิคให้ผลผลิตดีขึ้นแต่อย่างเดียวแต่ไม่เคยเห็นหัวคนอย่างการพัฒนาลูกผสมที่ปัจจุบันเอาเมล็ดพันธุ์ผักของเกษตรกรลงกระป๋องมาขายเกษตรกรให้ซื้อปัจจัยการผลิตแพงๆกันหมดแล้ว นอกจากนั้นในอนาคตยังพลัดพรากพันธุ์พืชที่ผูกพันดังแม่ให้ออกไปจากอ้อมอกของเกษตรกรอีก เพียงเพราะตัดแต่งพันธุกรรมนิดหน่อยก็บอกว่าพืชพันธุ์นี้เป็นของฉัน ของบริษัทที่ให้เงินฉันวิจัย บริษัทของฉันก็เอาไปจดสิทธิบัตรเป็นเจ้าของเพื่อนำไปผลิตมาขายเกษตรกรได้ พืชพันธุ์ที่เคยเป็นของเกษตรกรและชุมชนทั่วโลกก็ต้องถูกแปรสภาพกลายเป็นสินค้าที่กลับมาขูดรีดเลือดเนื้อและน้ำตาจากผู้ที่เคยปกปักรักษาและเคารพพันธุ์พืชเหล่านั้นดังแม่ที่รักเอาไว้ให้อยู่คู่ชีวิต 
     การที่ข้าวขวัญได้ทำเช่นนี้แสดงออกให้เห็นถึง การมีความรัก มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลแก่กัน ทำให้เห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่และการได้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เพราะข้าวขวัญไม่ได้ใส่ใจที่เทคนิคเกษตรแต่อย่างเดียว แต่ใส่ใจถึงการแบ่งปันความรู้เพื่อสร้างสรรค์ปัญญาอย่างทวีคูณ(synergy) เพราะความรู้ต่างๆที่ข้าวขวัญได้แบ่งปัน และชุมชนต่างๆที่เข้ามาร่วมเรียนรู้นั้น ได้ลงหลักฝังลึกในตัวคน งอกงามงอกเงยก่อเกิดเป็นปัญญาให้กับแต่ละคน เกิดการพัฒนาที่ไม่รู้จบต่อไปในอนาคต เกิดการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเองให้แผ่ไพศาลออกไปในทุกหย่อมหญ้า เพราะความรัก ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลที่มีให้แก่กันที่เป็น แก่นของการจัดการความรู้นี้ได้ฝังรากงอกงามไปทั่วทุกอณูของหัวใจของคนทุกคนที่ได้รู้จักข้าวขวัญและเพื่อนร่วมทางอื่นๆของข้าวขวัญแล้ว

     ขอให้รักษาและพัฒนาความสุขยิ่งๆขึ้นไปตลอดปีใหม่นี้ครับ

                                           

หวัดดีครับทีมมูลนิธิข้าวขวัญ....ผมได้มีโอกาสไปเรียนรู้โรงเรียนชาวนาทีมมูลนิธิเก่งจริงๆๆครับ

เป็นความรู้ที่สำคัญสำหรับชาวนาไทยที่จะไปรอดถ้าหันมาเปลี่ยนแนวคิดนิดเดี่ยวเองนะครับ..

ฝากความคิดถึงพี่ชมพู่เก่งมากๆๆเลย

  • มาร่วมชื่นชมมูลนิธิข้าวขวัญด้วยคนนะคะ
  • ตั้งใจจะขอไปดูงานที่มูลนิธิในเร็วๆ นี้ค่ะ  สนใจมานานแล้ว  แต่เนื่องด้วยงานค่อนข้างเยอะ ยุ่งๆ วุ่นๆ อยู่น่ะค่ะ  เลยยังไม่ได้มีโอกาสเข้าไปดูงานซะที
  • ชอบอ่านนะคะ  เขียนได้น่าอ่านมากๆ  แต่ถ้ามีการเว้นบรรทัด หรือเว้นวรรคบ้าง ผู้เฒ่าผู้แก่หูตาฝ้าฟางอย่างวิภา คงอ่านได้ง่ายกว่านี้ค่ะ  อีกอย่างที่อยากจะขอไว้เป็นพิเศษก็คือ อยากเห็นภาพประกอบบ้างจังค่ะ  เช่นภาพของผู้บันทึกหรือภาพกิจกรรมที่เล่าถึงก็ได้นะคะ ^___^ จะได้เห็นภาพกิจกรรมไปพร้อมๆ กัน 

 

ขอบคุณนะคะ สำหรับคุณคนเดินดิน อ๊ะ ยังจำกันได้ ขอให้มีพลังใจในการขับเคลื่อนงานนะคะ พี่จะเอาใจช่วย ส่วนคุณวิภา ก็ขอขอบคุณกับการแวะเข้ามาทักทาย ข้าวขวัญไม่มีวันตายค่ะ คุณวิภา จะมาเมื่อไหร่ เราก็ยังอยู่ที่เดิม และอยากให้มาเห็นของจริงมากว่านะคะ ไหนๆก็ตั้งใจจะมาแล้ว มาใช้อยาตนะของคุณให้ถึงที่เลยนะคะ จะรอค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท