คำว่า#ศักดินา# ในสมัยก่อนนั้นคือฉันใด


           

   อาจารย์วิษณุ  เครืองาม ได้อธิบายคำว่า "ศักดินา" ไว้อย่างชัดเจน ในหนังสือ "ชีวิตของประเทศ" เล่ม 2 ความตอนหนึ่งว่า

"ศักดินาไม่ใช่หลวงท่านแจกที่นา  ถ้าขืนศักดินาคือนาที่แจก  แผ่นดินเห็นจะไม่พอแจกแน่  ความจริงคำว่า "ศักดินา" คือค่าตัวของคน ครั้นจะวัดเป็นอัฐฬสพดด้วงฤาชั่งตวงวัดก็ไม่เหมาะ  จึงต้องกำหนดสมมุติเป็นจำนวนนาเท่านั้นไร่ เท่านี้ไร่  เจ้านายก็มีค่าตัว  ศักดินาสูงกว่าคนธรรมดา ขุนนางก็มีค่าตัว หมายถึงสมเด็จเจ้าพระยา ศักดินา 30,000 ไร่ ถ้าเป็นเจ้าพระยาก็ถึง 10,000 ไร่ลางทีแค่พระยาบางตำแหน่ง ก็มีศักดินา 10,000 ไร่  เรียกกันว่า "พระยานาหมื่น"

  นอกนั้นก็มี ขุนนางศักดินา 5,000 ไร่ 3,000 ไร่ลดหลั่นลงมาจนถึง 400 ไร่  ศักดินาเหล่านี้กำหนดไว้ในกฎหมายชื่อพระไอยการนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง  เว้นแต่จะทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานเพิ่มพิเศษ  ค่าตัวที่เป็นศักดินาเหล่านี้เอาไว้ปรับโทษเวลาพวกมีศักดินาไปทำผิดฤาโทษยามมีคนมาประทุษร้ายต่อผู้มีศักดินา  ถ้าเขามีศักดินาสูงค่าปรับพินัยหลวงก็สูง  ศักดินาต่ำโทษปรับพินัยหลวงก็ต่ำ คนธรรมดามีศักดินา 25 ไร่  ทาสมี 5 ไร่  ทุกคนมีศักดินาเป็นเครื่องวัด  ตั้งแต่ ทาส ไพร่ ขุนนาง เจ้านาย ไม่ทรงกรม ฤาทรงกรม จนถึงสมเด็จพระมหาอุปราช  เว้นแต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ไม่ทรงมีศักดินา เพราะไม่มีอะไรจะต้องไปปรับโทษ"

   

หมายเลขบันทึก: 671584เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2019 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2019 12:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท