JJ2019V11_1 ไม่มีวันโน้น ก็ไม่มีวันนี้


เรื่องราวในอดีต

หลายหลายโอกาส ที่เรามักลืมอดีต

บางครั้งน่าเรียนรู้

บางครั้งน่าประทับใจ

บางครั้งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างในการดำรงชีวิต

118 ปี ที่ผ่านไป มีเรื่องราวที่ ชาวรังสีวิทยาสมาคม ทั้งรังสีแพทย์ ฟิสิกส์การแพทย์ และ รังสีเทคนิค ต้อง ระลึกถึง

ในบ่ายวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 เรินต์เกนตั้งใจแน่วแน่ว่าจะทดสอบความคิดนี้ เขาได้บรรจงทำแผ่นกระดาษแข็งอย่างระมัดระวังให้เหมือนกับที่ใช้กับหลอดของเลนาร์ด โดยปิดหลอดฮิททอร์ฟ-ครูกส์ด้วยกระดาษแข็งแล้วต่อขั้วจากขดลวดเหนี่ยวนำของรุห์มคอร์ฟเพื่อสร้างประจุไฟฟ้าสถิตย์ แต่ก่อนที่เรินต์เกนจะตั้งจอที่ทาด้วยแบเรียมปลาติโนไซยาไนด์เพื่อทดสอบความคิด เขาได้ปิดม่านปิดไฟให้ห้องมืดลงเพื่อดูว่าแผ่นกระดาษแข็งปิดแสงได้มิดหรือไม่ ในขณะที่ปล่อยกระแสจากขดลวดเหนี่ยวนำขยับกระดาษแข็งให้แน่นแล้วหันไปเตรียมการขั้นถัดไป เรินต์เกนได้พบว่า ณ จุดนี้เองที่เกิดมีแสงเรืองๆ ขนาดอ่อนๆ ปรากฏที่ปลายโต๊ะที่ห่างออกไป 1 เมตร เพื่อให้แน่ใจ เรินต์เกนได้ปล่อยกระแสจากขดลวดเหนี่ยวนำอีกหลายครั้ง แสงเรืองๆ ก็ยังเกิดขึ้นเหมือนเดิม เขาจุดไม้ขีดไฟดูจึงได้เห็นสิ่งที่อยู่ปลายโต๊ะนั้นแท้จริงก็คือแผ่นกระดาษแข็งทาสารแบเรียมฯ ที่เตรียมไว้สำหรับการทดลองขั้นต่อไปมั่นเอง

เรินต์เกนคาดเดาว่าสิ่งนี้อาจเกิดจากแสงชนิดใหม่ก็ได้ วันที่ 8 พฤศจิกายน เป็นวันศุกร์ เขาจึงถือโอกาสใช้วันหยุดสุดสัปดาห์ทำการทดลองซ้ำและทำการบันทึกครั้งแรกไว้ ในหลายสัปดาห์ต่อมา เรินต์เกนกินและนอนในห้องทดลองเพื่อทดสอบคุณสมบัติต่างๆ ของแสงชนิดใหม่ที่ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร เขาจึงเรียกชื่อลำลองไปก่อนว่า "รังสี X" เนื่องจากต้องใช้สูตรคณิตศาสตร์กับสิ่งที่ยังไม่รู้จักมาก่อน แม้ว่าจะมีผู้เรียกชื่อรังสีนี้ว่า "รังสีเรินต์เกน" เพื่อเป็นเกียรติ แต่ตังเรินต์เกนเองกลับจงใจใช้ชื่อว่า "รังสีเอกซ์" เรื่อยมา

การค้นพบรังสีเอกซ์ของเรินต์เกนไม่ใช่อุบัติเหตุ หรือจากการทำงานตามลำพัง ในการเสาะแสวงหาคำตอบ เรินต์เกนและผู้คิดค้นในงานประเภทนี้ในหลายประเทศก็ได้ช่วยกันทำอยู่ การค้นพบเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดอย่างเห็นๆ กันอยู่แล้ว ความจริงแล้ว รังสีเอกซ์ได้ถูกสร้างขึ้นและเกิดรูปในฟิล์มแล้วที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย 2 ปีก่อนหน้านั้น เพียงแต่ว่าคนที่ทดลองทำไม่ได้ตระหนักว่าตนเองได้ค้นพบสิ่งที่ยิ่งใหญ่เข้าแล้ว จึงเก็บฟิล์มเข้าแฟ้มสำหรับใช้อ้างอิงในการทดลองอื่นๆ ในอนาคต ทำให้พลาดในการได้ชื่อว่าตนเป็นผู้ค้นพบสิ่งสำคัญที่สุดทางฟิสิกส์ ( ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)

ตัวอย่าง ประโยชน์ จากการถ่าย Xray ได้ภาพรังสีทรวงอก ของผู้ป่วย ที่มาตรวจร่างกายประจำปี พบก้อนในทรวงอกด้านซ้าย

ในโอกาสวันดีเช่นนี้ รังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย หรือ รสท ขอแสดงความ ระลึกถึง ท่าน ศาสตราจารย์ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน 

จิต จะ Learn 08/11/2562

หมายเลขบันทึก: 672963เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2019 08:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2019 08:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ได้ความรู้มากครับ ผมส่งต่อให้เจ้าต้นไม้อ่านเลยครับ

คิดถีง ครับ ต้องหาเวลา มาทานข้าวด้วยแน่นอนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท