คุณธรรมภายในจิตคิดกิจกรรมบำบัด


ขอบพระคุณนศ.ก.บ.ปีหนึ่งที่มีความพยายามอดทน เปิดใจ และเรียนรู้ จากการบันทึกคลิปคิดพูดทำกิจกรรมอย่างมีเป้าหมายสู่มีความหมายตามกระบวนกิจกรรมบำบัดมากขึ้น

Model of Human Occupation แบบจำลองกิจกรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้นมีความหมายที่น่าสนใจและท้าทายต่อการเรียนรู้ของนักศึกษากิจกรรมบำบัดและนักกิจกรรมบำบัดทุกคน คลิกที่นี่เพื่อรำลึกถึงพระคุณของ Dr. Gary Kielhofner (1949-2010) ผู้พัฒนาแบบจำลองนี้ด้วยประสบการณ์ชีวิตตั้งแต่วัย 6 ปี ที่เรียนรู้และรับรู้สึกสุขภาวะจิตวิญญาณและสมรรถนะความมั่นใจในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้พิการ  จึงส่งเสริมทักษะชีวิตคิดบวก อารมณ์มั่นคง และสื่อสารอ่อนโยนด้วยความเห็นอกเห็นใจ (Sympathy) กันสู่ความเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy) พัฒนาคุณธรรมแห่งทักษะการแสดงออกถึงความรักความปรารถนาดีมีน้ำใจ เปิดใจ ใส่ใจ อดทน และปรับตัวปรับใจ ให้เรียนรู้ทักษะการดูแลผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายและจิตสังคมตลอดทุกช่วงวัยได้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ คลิกเรียนรู้ทักษะอ่อนโยนที่นี่

ต่อไปนี้เป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถตลอดหลายสัปดาห์ในรายวิชาหลักการพื้นฐานกิจกรรมบำบัด ที่ผมได้เรียนรู้ "แรงจูงใจ แรงบันดาลใจ และแรงผลักดันภายในของผู้เรียนที่เปลี่ยนบทบาทชีวิตจากบริบทห้องเรียนม.ปลายสู่ห้องเรียนกิจกรรมบำบัดศึกษา ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง"

ด้วยโจทย์ที่ท้าทายหลังจากเรียนแบบจำลองแนวกว้างทางกิจกรรมบำบัด เรียก PEOP ประกอบด้วยมุมมองรอบตัวที่สังเกต วิเคราะห์ และสังเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง Person กับ Environment ผ่านการวางแผนจดจ่อคิดพูดทำกิจกรรมที่มีเป้าหมายคือ "ทำงานเป็นทีมออกแบบคลิปส่งประกวดกิจกรรมบำบัดสร้างความสุขบนโต๊ะ MK หรือร้านสุกี้ที่เรารู้จักกัน" ภายใต้เวลาและทรัพยากรที่จำกัดมาก  

นักศึกษาหลายทีมสงสัย ซักถาม และพยายามส่งคลิปผ่านไลน์กลุ่มด้วยความท้าทาย ความเครียด และความกดดัน แต่ก็ทำได้สำเร็จเท่าที่จะระดมความรู้ความสามารถที่สะสมภายในผู้เรียนแต่ละท่าน 

ผู้สอนเริ่มถ่ายทอดประสบการณ์ที่เพิ่งได้รับโจทย์หัวข้อกิจกรรมที่ท้าทายเพื่อถ่ายคลิปสั้นๆ ในรายการหนึ่งด้วยโจทย์ "การส่งเสริมสุขภาพด้วยกิจกรรมบำบัดแก่ประชาชนไทย" จึงได้นำร่างการออกแบบกิจกรรมให้นักศึกษาได้ทำความเข้าใจเพิ่มเติม

ผู้สอนชักชวน ชี้นำ และชี้แนะ ผ่านกระบวนการสาธิตทำกิจกรรมวาดภาพความสุข พร้อมๆ กับให้นักศึกษาได้คุ้นชินกับบรรยาการการบันทึกเทปแนะนำกิจกรรมบำบัดศึกษาจากบริษัทรายการแห่งหนึ่งด้วย 

ประทับใจในความสำเร็จขั้นแรกของผู้เรียนที่มีความพยายามออกจากห้องเรียนไปลองทำกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ร้าน MK จริงๆ 

ประทับใจในความสำเร็จขั้นสองของผู้เรียนที่มีความสนใจออกแบบเมนูเป็นเกมส์บิงโกได้แปลกใหม่

ประทับใจในความสำเร็จขั้นสามของผู้เรียนที่มีความใส่ใจในทักษะการช่วยเหลือเพื่อนผ่านกิจกรรมคีบบะหมี่ 

ประทับใจในความสำเร็จขั้นสี่ของผู้เรียนที่สามารถปรับความคิดตัดสินใจแก้ปัญหาใน 44 นาที ด้วยการแสดงบทบาทแต่งเพลง แต่งสุนทรพจน์ แต่งกลอน แล้วถ่ายทอดได้อย่างน่าจดจำและชื่นชม

ประทับใจในความสำเร็จขั้นที่ห้าของผู้เรียนที่ทำความเข้าใจในการฝึกโยคะมือและแปลความรู้ถ่ายทอดผู้ชมให้เข้าถึงได้ง่ายทั้งมิติการเขียนเนื้อหาและการสนทนากึ่งละครสาธิต 

ดังนั้นเพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ใหม่ๆ ทางกิจกรรมบำบัดตามแนว MOHO ไม่ให้ "โมโห" ในความหมายเชิงนามธรรม จงตั้งคำถามขณะเรียนรู้กิจกรรมบำบัดให้เข้าใจแบบ สุ จิ ปุ ลิ ได้แก่ การรับฟังด้วยใจ ไม่คิดตัดสินเร็วเกินไป การคิดใคร่ครวญว่าจะตั้งคำถามอย่างไรให้ถามไปแล้วจะทำให้เกิดความคิดบวกและยืดหยุ่นในการแก้ปัญหาได้จริง จึงตั้งคำถามที่กระตุ้นการรู้คิดทั้งผู้ถามและผู้ตอบ ต่อด้วยการบันทึกความรู้ใหม่ที่นำพาให้เกิดการพัฒนาตนเองและผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง เป็นความจริงที่เราสามารถเปิดใจ ยอมรับ เกิดแรงบันดาลใจในการทำกิจกรรมบำบัดสร้างความสุขให้กับตัวเองและผู้อื่นอย่างมีคุณค่า มีความหมาย และมีเป้าหมายด้วยจิตสาธารณะ

ตัวอย่างคำถามที่น่าสนใจ ประกอบด้วย

  1. เจตจำนง (Volition) ของคุณมีผลให้คุณตั้งใจ หรือ มุ่งมั่น จะคิดด้วยแรงจูงใจ/มีเหตุมีผล (Motivation/Personal Causation) อย่างไร จะรับรู้สึกสนใจ/พอใจ (Interest/Satisfaction) อย่างไร หรือจะทำสิ่งที่สำคัญ/มีคุณค่า (Importance/Value) อย่างไร
  2. พฤตินิสัย (Habituation) ของคุณมีผลให้คุณมีนิสัยส่วนตัวที่จะปรับเปลี่ยนได้หรือไม่ได้อย่างไร (Habits) ทำให้เกิดการแสดงบทบาทชีวิตของคุณได้มากน้อยอย่างไร (Role)
  3. การแสดงความสามารถเต็มศักยภาพ (Performance Capacity) ของคุณมีผลให้คุณได้เกิดการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมอะไร แล้วเกิดการรับรู้สึกอะไร ที่บอก "ความเป็นตัวคุณจริง ๆ (Occupational Identity) ให้เกิดการปรับปรุง (เพิ่มหรือลดหรือคงไว้) กิจกรรมการดำเนินชีวิต (Occupational Adaptation) ที่มีความเป็นอยู่ดีขึ้นได้จริง ๆ (Occupational Being) อย่างเต็มศักยภาพ (Occupational Competence) ตลอดชีวิต"
  4. คุณใช้ชีวิตเพื่อทำงาน เล่น/ใช้เวลาว่าง ดูแลตนเองด้านกิจวัตรประจำวัน ตามบริบททางสังคมวัฒนธรรมของคุณหรือไม่ ตามความต้องการของคุณหรือไม่ ตามความจำเป็นหรือไม่ ในการเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น (Occupational Well-Being)  
  5. คุณสามารถวิเคราะห์และ/หรือสังเคราะห์ให้ตนเองมีรูปแบบกิจกรรมการดำเนินชีวิต (Occupation/Living Activities) หรือขั้นตอน (Tasks) การทำหนึ่งกิจกรรม (One Activity) เพื่อทำงาน เล่น/ใช้เวลาว่าง ดูแลตนเองด้านกิจวัตรประจำวัน ทำให้การใช้ชีวิตราบรื่นมีความสุข อย่างไร
  6. คุณมีความจำเป็นที่จะพัฒนา (Needs to Do) หรือมีความต้องการที่จะพัฒนา (Wants to Do) ในด้านทักษะการสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพ การรับรู้สึกเคลื่อนไหว และการบริหารจัดการความคิดความเข้าใจในการแก้ปัญหาชีวิต อย่างไร
  7. อะไรคือผลกระทบ/ผลประโยชน์ เมื่อคุณได้มีหรือไม่มีโอกาส (Opportunities) มีทรัพยากร (Resources) และมีความต้องการที่รอคอยให้ตอบสนอง (Demand) ที่จะกล้าแสดงความคิด อารมณ์ความรู้สึก และการกระทำ ด้วยความอิสระแต่ไม่เดือนร้อนผู้อื่น  

หมายเลขบันทึก: 673041เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2019 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2019 10:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท