ถ้ำอชันตา


ถ้ำอชันตา. Ajanta cave .

สิ่งมหรรศจรรย์ ยิ่งใหญ่ ปรากฏต่อสายตา เมื่อเราเดินขึ้นจากบันไดสูงชันจากเชิงเขา จนไปถึงทางเดินเข้าสู่สถานปฏิบัติธรรมที่เก่าแก่ ที่สุดในโลก แห่งนี้

บนเทือกเขาที่สลับซับซ้อน ห่างไกลจากบ้านเรือนผู้คน  เราต้องนั่งรถจากเมืองออรังกาบาด  รัฐมหาราษฏระ. เกือบสามชั่วโมง. นับว่า เป็นพื้นที่ห่างไกล ที่ผู้คนในสมัยนั่น ได้สร้างสถานปฏิบัติธรรมกรรมฐานอันยิ่งใหญ่นี่

ภูเขาทั้งลูก ถูกเจาะขึ้น เพื่อเป็น กุฏิ. โบสถ์ และวิหาร. เรียงรายกันเป็นแนวตามความโค้งของภูเขา ที่เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวสุดลูกหูลูกตา เป็นความศรัทธาที่ยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนิกชนในเวลานั้น 

ประมาณ พศ 350 ถ้ำอชันตาได้ถูกสร้างขึ้น ด้วยพลังศรัทธา ของขาวพุทธ ในประเทศอินเดีย.

วัดถ้ำแห่งนี้มีทั้งหมด 30 ห้อง เรียงรายต่อเนื่องกันไป ตลอดเทือกเขา. ภายในมีงานศิลปกรรมอันงดงามล้ำค่า. เข่นงานแกะสลักหิน. งานจิตกรรมฝาผนังที่ยังมีความชัดเจน และงดงาม. แสดงเรื่องราวประวัติของพระพุทธศาสนา. ความเชื่อ. และแนวปฏิบัติ ของขาวพุทธ

มีกุฏิของพระสงฆ์ ที่เจาะ เป็นห้องๆที่ใช้เป็นที่อยู่ อาศัย. สนทนาธรรม. และปฏิบัติธรรม อย่างเรียบง่าย  ในแต่ละห้อง จะเป็นสถานที่สำหรับบูชา. มีหอสวดมนต์. ครบถ้วนสำหรับพิธีกรรมทางศาสนา น่าอัศจรรย์ใจ  ถ้ำวัดแห่งนี้ จะมีทั้งวัดของฝ่ายเถรวาท. และมหายาน ซึ่งมีความงดงาม แตกต่างกันไป ฝ่ายเถรวาทจะมีสถูปเจดีย์ สำหรับเป็นที่สักการบูชาแทนพระพุทธเจ้า  แบบเรียบง่าย

ถ้ำฝ่ายเถรวาทนี้เจริญรุ่งเรืองมาอีกราว200ปี

นักประวัติศาสตร์เล่าเรื่องราวให้ฟังว่า ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของพุทธศาสนา ในอินเดีย มีการเกิดขึ้นของพระพุทธรูป และฝ่ายมหายาน   วัดถ้ำอชันตา จึ่งได้มีการ เจาะและสร้างวัดในระยะต่อมา หลังจากระยะแรก. อีกราว 400ปี เป็นวัดถ้ำของฝ่ายมหายาน ที่มีพระพุทธรูป. และภาพวาดในห้องโถงที่สวยงาม มีเสาหิน ที่แกะสลักอย่างละเอียด ประณีตงดงามเป็นคู่ๆ. แต่ละคู่จะทีลวดลายแตกต่างกันออกไป ป็นประติมากรรมขั้นสูงมาก.

เฉพาะ ลวดลายบนเสาหินแกะสลัก นี้ก็สามารถศึกษาค้นคว้า หาความรู้ ในลักษณะการวิจัย ได้อย่างกว้างขวาง

เป็นความรู้และภูมิปัญญาของคนสมัยนั่น ที่มีทั่ง ความรู้ และความชำนาญในด้านนี้

เมื่อพิจารณา อย่างละเอียด เจาะลึก 

เราจะเห็นความตั้งใจ ตลอดจนความมุ่งมั่น ในการใช้เครื่องมือ อย่างใด อย่างหนึ่ง. เจาะภูเขาทั้งลูก ได้ออกมาเป็นศิลปะ. ชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย ได้งดงามถึงปานนี้

การไปเยี่ยมชมถ้ำนี้ เราเองต้องมีพลังศรัทธา และ ร่างกายที่สมบูรณ์. เพราะ เราต้องเดินตามระยะทาง ตามเส้นทาง บนเทือกเขาที่มีทางเดิน. และบันได ลดหลั่น ตามความสูง ไล่ระดับของภูเขารูปพระจันทร์เสี่ยว

ใครที่คิดว่า เดินไม่ไหว. จะมีบริการเสลี่ยง โดย ชายหนุ่ม หน้าตาคมเข้ม จำนวน สี่คน จะทำหน้าที่แบก มหารานี เดินขึ้นตามขั้นบันได

ดูแล้วเป็นที่น่าหวาดเสียวยิ่งนักเกรงว่า มหารานีที่นั่งบนคานเสลี่ยงอันโงนเงนไปมา  ท่านใดท่านหนึ่งจะพลัดตกลงมาเสียก่อน  หรือหัวจะไปโดนหินที่ย้อยมาจากเพดาน

แม้ว่าจะเหนื่อย ก็พยายาม เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของการนั่งเสลี่ยง เป็นมหารานีมี หนุ่มกำยำเดิน เร็วๆเพื่อหามเราไปสู่เป้าหมายปลายทาง.สักสิบนาที  กับการค่อยเดินแบบ เดินๆ. หยุดไป. พักไป. เอาแบบไหนดี. อันไหนจะดีกว่ากัน

ในที่สุด ก็ได้ข้อสรุปว่า เราจะ ไม่ยอมเป็น มหารานี ( ที่มีความเสี่ยง ) แต่ จะขอเดินไปเป็นชาวบ้านเดินไป ดูไปดีกว่า

ก็ลองคิดดู. คนที่มาเจาะ ภูเขาทั้งลูก เจาะด้วยความศรัทธา. ด้วยความเชื่อมั่น มีความอดทน มีความเพียนพยายาม

ในสมัยนั่น คงไม่มีเครื่องมือ. ที่ ทันสมัยเหมือนปัจจุบัน  ใช้เวลา หลายร้อยปี.

ส่วน เราใช้เวลาไม่ถึงวัน. ที่จะมา เรียนรู้. ความมหัศจรรย์. อันเกิดจากพลังใจของ. คนรุ่นก่อน  เหนื่อยเพียงสักครั้งเดียวจะเป็นอะไรไปเชียว คิดได้อย่างนั้น. ก็เพียรให้กำลังใจ ตนเองให้สามารถเดินไปชมความงามไป

พร้อมๆกับระลึกถึง พระคุณของสาธุชน ในยุคนั่น. ที่ ทำให้เราสามารถเห็นความรุ่งเรื่อง ของศาสนาพุทธ. ได้อย่างดีเยี่ยม

เมื่อค่อยๆ เดิน ตามไป สภาพสังขาร อันอ่อนแอ. แต่จิตใจมั่นคง. จึงทำให้การ เดินตั้งแต่ ต้นทางถึงปลายทาง สุดทางภูเขา

แล้วเดินย้อนกลับมาอีกรอบ เป็นไปอย่างราบรื่น  มีความปิติในใจที่ได้มีโอกาสเหยียบ ในสถานที่แห่งนี้

ข้างล่างถ้ำ. จะมีแม่น้ำสายหนึ่ง ที่ชื่อว่า แม่น้ำวโรกะ. ไหลคดเคี้ยว   ทางเดินของถ้ำสามารถ เดินลงไปได้

นับว่าเป็นสถานปฏิบัติธรรม. ที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ. ความสงบ. มีความเยือกเย็น เหมาะในการพิจารณา สิ่งต่างๆด้วยสติ. สมาธิ. และปัญญา.  และ เป็น ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ของขาวพุธในสมัยสอง พันกว่าปีที่ผ่านมา.

ขาวพุทธ ในสมัย พ. ศ . 2559 ได้มีโอกาส. ได้ไปนมัสการ. วัดของศาสนาพุธ. ของคน ในปี พ.ศ. 350 อย่างแม่ต้อย

จึงนับว่า เป็นความโชคดี อย่างที่สุด แล้ว

ถ้ำอชันตา. ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกอันล้ำค่าแห่งหนึ่ง ที่สมควรได้ไปสักครั้งหนึ่ง

ใครที่อ่านแล้ว อยากไป. ก็ขออนุโมทนาบุญด้วยนะคะ

หมายเลขบันทึก: 673363เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2019 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2019 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท