พฤตินิสัยปรับได้จริงหรือ? ... นักกิจกรรมบำบัดทำอย่างไร?


ขอบพระคุณกรณีศึกษาคุณแม่ที่มีภาวะซึมเศร้าและกำลังดูแลลูกวัย 12 ปีที่มีภาวะสมาธิสั้น ที่แนะนำให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากอ.เดียร์ด้วยความขอบพระคุณในโอกาสฝึกเทคนิคการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม

ผมประทับใจคุณหมอกัมปนาทกับบทความนี้  ทำให้ผมย้อนกลับมานึกถึงเรื่องราวที่ได้คุยกับกรณีศึกษาท่านหนึ่ง ลองอ่านบทสนทนาโดยสรุปประเด็นสำคัญจาก 2 ชม. เหลือเป็นการประยุกต์เทคนิคการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy หรือ CBT) กับบทบาทนักกิจกรรมบำบัดเพียง 20 นาที 

คุณแม่: [กำลังเล่าเรื่องยาววนไปวนมาเรื่อย ๆ จนผมฟังด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์กว่า 30 นาที ก็รู้สึกตัดบทยาก] ...แม่อยากจะปิดมือถือ แต่ก็ทำไม่ได้ ห่วงลูก ... แม่ชีก็บอกให้ปิด เพราะกำลังจะเริ่มฝึกสมาธิ ... รู้ว่าต้องคุมจิตตัวเอง แม่สู้นะ แต่ยากจังเลย ทำไม่ได้...รู้ว่านิ่งขึ้น แต่กลับมาบ้านก็เหมือนเดิม ... หมอก็บอกว่าหยุดคิดอดีต หยุดยาซึมเศร้าที่ได้มาจากหลายหมอ ให้ทำหน้าที่แม่ ... แต่ยากจังเลย ก็ฝึกสมาธิได้ ทำไปทำไมไม่รู้หรอก แต่โกรธสามีที่นอกใจ โกรธพ่อเราที่บังคับเรา เหนื่อยเศร้าไปหมด ... เล่าให้เพื่อนฟัง [ย้อนวนกลับไปเรื่องปัญหาการสื่อสารระหว่างคุณแม่กับคุณลูก]...เพื่อนก็บอกให้ไปฝึกสมาธิ 3 วัน ทำได้ก็กลับมาทะเลาะกับลูก...เพื่อนอีกคนก็ห่วงให้เลิกกับสามีเลย ดูแลลูกเอง แต่ก็กังวลเรื่องโรงเรียนของลูก ห่วงเรื่องค่าใช้จ่าย ... ก็นัดหมอคนนี้ดี อีกคนเลิกกินยาไปแล้ว ยาเยอะ ง่วง คุมสติไม่อยู่ ... ฯลฯ 

อ.ป๊อป: เอาหละ คุณแม่ ผมฟังคุณแม่มา 30 นาที ขอสรุปประเด็น [วาดด้วยสีเมจิก สีน้ำเงิน สีม่วง สีแดง บนกระดาษแนวนอน A3] เพื่อชวนคุณแม่ตั้งใจฝึกแก้ปัญหากัน คุณแม่กำลังมีปัญหา 1. คุมอารมณ์ตัวเอง 2. ไม่เข้าใจลูก 3. ไม่รู้ทางออกเมื่อคุยกับเพื่อนสนิท ถูกต้องไหมครับ

คุณแม่: ไม่เข้าใจอะค่ะ เดี๋ยวขอเล่าต่อ กำลังจะจบเรื่องที่อยากเล่าแล้ว ครูลองฟังแม่ก่อน

อ.ป๊อป: ยินดีครับ ขอฟังว่า "คุณแม่อยากให้ผมช่วยอะไรจริงๆ นะครับ"

คุณแม่: [เล่าเรื่องต่อไปอีกวนไปวนมา] ก็อยากจะคุยกับลูกดีๆ แต่คิดเร็วไปอะครู บอกลูกว่า ทานผักกับแฮมขนมปังอันที่แม่ทำให้ซิ มีประโยชน์ ลูกบอกว่า "ไม่เอา ไม่อยากทาน" แม่ก็น้อยใจบอกว่า "งั้นแม่ทำกินเองคนเดียว...เบี่ยงเบนไป ลูกเค้าจะได้ไม่โมโหแม่ แม่ว่าแม่ทำถูกนะ แต่ก็เศร้าเลย ลูกไม่ทำตามที่แม่บอก เดี๋ยวนี้พูดจาก้าวร้าว คิดลบ วุ่นวายมากขึ้น ไม่รู้จะทำยังงัยดีครู ... ว่าจะเล่าให้ครูฟังเรื่องโรงเรียนลูกที่เคยเล่าไปแล้วอีกที จะได้คิดว่าจะคุยกับลูกอย่างไรดี ...[ผมขออนุญาตตัดบทในนาทีที่ 10]

อ.ป๊อป: คุณแม่ดูนะครับ [ผมวาดเป็นวงกลม 3 วงสีแดง คือ แม่ ลูก พ่อ เพื่อนคนแรก เพื่อนคนที่สอง] ใครคือคนที่มีปัญหาที่สุด 

คุณแม่: ก็แม่งัย มันไม่นิ่งอะครู ทำยังงัยหล่ะ ลูกก็พูดไม่ดีเลย พ่อก็ไม่รักลูก 

อ.ป๊อป: ฟังเรื่องคุณแม่ ผมชอบอยู่คำหนึ่ง คุณแม่จำได้มั้ยว่า "แม่จะ หนี หรือ สู้ กับปัญหานี้" 

คุณแม่: แม่ใช้ความจำนะ ขอโทษ แม่ไม่เข้าใจครู 

อ.ป๊อป: "แม่จะ หนี หรือ สู้ กับปัญหานี้"

คุณแม่: ต้องสู้ซิ แต่ยากจังเลย ทำไม่ได้ 

อ.ป๊อป: "คุณแม่กำลังจะสู้กับปัญหานี้เพราะอะไร"

คุณแม่: ไม่รู้ ทำไม่ได้แน่เลย แม่ลองมาหลายวิธีแล้ว [กำลังจะเริ่มเล่ายาวเรื่องเดิม...ผมเงียบแล้วใช้ปากกาเมจิสีน้ำเงินชี้ไปที่วงกลมรอบคุณแม่บนกระดาษ ต่อด้วยการเขียนไปว่า รักลูกไหม แล้วสบตาพูดถามด้วยน้ำเสียงทุ่มดัง]

อ.ป๊อป: [ใช้น้ำเสียงแหลมเร็ว เงียบ สลับน้ำเสียงเย็นช้า] คุณแม่รักลูก ลูกกำลังเลียนแบบอารมณ์ลบ ๆ ของคุณแม่ ไหนลองแสดงบทบาทการชวนลูกทานผักกับอ.เดียร์ซิครับ]

คุณแม่: ไม่เอา ทำไม่ได้ สบตา ครูเดียร์แล้วไม่ใช่ลูกอะ ... สบตาครูป๊อปก็ได้ ไหน ๆ ทำอะไร แม่จำไม่ได้

อ.ป๊อป: [ใช้น้ำเสียงมั่นใจและอ่อนโยน สบตาชี้นำ สาธิตคำพูดชี้แนะ] คุณแม่สบตาลูก รักลูกมาก ๆ แม่จะทำอย่างไรให้อารมณ์บวก

คุณแม่: [หลังแสดงบทบาทสลับแม่ลูกกับอ.เดียร์ นิ่งเงียบสักพักก็คว้าปากกาเมจิสีน้ำเงินมาวาดเส้นปะบนกระดาษ ทำการโยงเส้นปะระหว่างรูปวงกลมของตัวคุณแม่ไปที่วงวงกลมรูปเพื่อน ๆ] แม่ว่า แม่เอาไปทำแบบนี้กับเพื่อน ๆ แล้วแต่เรื่อง มีหลายเรื่องที่จะขอเล่าให้ครูป๊อปฟังก่อน 

อ.ป๊อป: ผมขอเวลาไม่นาน ให้คุณแม่คิดคำตอบผมก่อน ฟังนะ "คุณแม่รักลูก คุณแม่จะทำอะไรให้ลูก ถ้าลูกบอกไม่เอา ไม่อยากทาน"

คุณแม่: [เงียบคิดสัก 10 วินาที] "แม่จะไม่สนใจดีไหมอะครู"

อ.ป๊อป:  "คุณแม่รักลูก คุณแม่จะทำอะไรให้ลูก" แม่จะสู้ด้วยความรักนะ

คุณแม่: "แม่จะทำอาหารให้ลูก แม่จะขอโทษที่แม่บังคับลูก"

อ.ป๊อป: "วันนี้คุณแม่เรียนรู้แล้ว ว่าจะขอโทษ ต่อด้วยขออภัย ที่ใช้อารมณ์ลบกับลูก ลองไปฝึกดูนะครับ" [ผมยิ้มและประสานมือสองข้างโอบจับมือที่พนมมือไว้แล้วพูดเน้นอีก 1 ประโยค] "คุณแม่กำลังฝึกสติ รักลูกก็คิดดี พูดดี ทำดี กับลูก ไม่คาดหวัง ไม่จมอดีต ตั้งใจนะครับ"

บทเรียนนี้ยังคงต้องฝึกประสบการณ์ต่อไป ทำให้ผมกำลังเรียนรู้กระบวนการโค้ชชิ่งนำพากิจกรรมบำบัดสร้างความสุขได้แง่คิดอย่างเป็บระบบ เชิญคลิกเรียนรู้ที่นี่ครับผม




  

หมายเลขบันทึก: 673484เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2019 12:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ธันวาคม 2019 12:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท