National Meeting 2019 : Part I พิธีเปิด แนวทางการพัฒนาองคฺกร /การศึกษาภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นและวิธีการป้องกันและดูแล


เอเอฟเอสมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาโครงการฯ ต่างๆ โดยมุ่งเน้นประโยชน์ของการศึกษาเป็นหลัก ตระหนักถึงความสำคัญของผู้บริหารโรงเรียนที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้อาสาสมัครเอเอฟเอเอสดำเนินโครงการฯ ได้อย่างราบรื่นและประสบผลสำเร็จ นอกจากนั้นยังเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากร ทั้งในส่วนของคณะเจ้าหน้าที่เอเอฟเอส และอาสาสมัครทุกท่าน

เอเอฟเอสประเทศไทย จัดประชุมอาสาสมัครเอเอฟเอส ประจำปี 2562 และกิจกรรม CSR ที่ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางละมุง  รวมทั้งไปทัศนศึกษา ที่ The Legend Siam ระหว่างวันที่ 19 -21 ธันวาคม 2562 
โดยมีอาสาสมัครเข้าร่วมประชุม 200 ท่าน และไปทัศนศึกษาจำนวน 210 ท่าน
สรุปสาระสำคัญดังนี้
วันที่ 19 ธันวาคม 2562
การประชุมอาสาสมัครเอเอฟเอส ประเทศไทย
ผู้เข้าร่วมประชุม: ประกอบด้วย ประธานเอเอฟเอสเขต  ประธานศูนย์เอเอฟเอสฝ่ายอุปถัมภ์ ผู้ประสานงานเอเอฟเอสเขต   ผู้ประสานงานศูนย์เอเอฟเอสฝ่ายอุปถัมภ์ และอาสาสมัครเขต/ศูนย์ฯ ละ 1 คน

พิธีเปิด:
  คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการมูลนิธิเอเอฟเอส ประเทศไทยให้เกียรติ เป็นประธานเปิดการประชุมฯ และบรรยายพิเศษ ดังนี้


เอเอฟเอสประเทศไทย มีผลงานเป็นที่ยอมรับของ AFS International มาเกือบ 60 ปี ปัจจุบันเป็นยุค Digital World   เราต้องทันต่อการเปลี่ยนแปลง และรู้จักนำเครื่องมือเหล่านี้มาช่วยในการทำงาน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องพิจารณาผลกระทบในแง่ลบ เช่น Fake news ที่อาจไป bully คนอื่น     และรู้จักรักษามาตรฐานให้มีคุณภาพและพัฒนาไปข้างหน้า   ยุทธวิธีหนึ่งคือการ Review ในสิ่งที่ทำไปแล้ว แต่อาจยังไม่ประสบผลสำเร็จ  อาจมีการนำมาปรับ และหาวิธีการสานต่อให้สำเร็จผล
สมัยนี้ผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้นในแทบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง  ด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา  เรียกได้ว่า เป็น She’s world   มีการเปิดโอกาสให้เด็กรุ่นใหม่เข้ามาช่วยกันสร้างพลังให้เป็นปึกแผ่น   ปีหน้าเอเอฟเอสอาจมีการปรับโครงสร้างภายในองค์กร เพื่อพัฒนาองค์กร ให้เกิดประโยชน์ เกิดคุณค่ามากสุด 

ผู้อำนวยการใหญ่พบอาสาสมัคร

คุณจิรวัฒนา  จรูญภัทรพงษ์ ผู้อำนวยการใหญ่มูลนิธิเอเอฟเอสประเทศไทย
การประชุมอาสาสมัครเอเอฟเอส ระดับประเทศจะจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง
1.ช่วงต้นปี  ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน
  เน้นในเรื่องของการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการทุนแลกเปลี่ยนฯ ระยะเวลา 1 ปี  เป็นหลัก(การประชาสัมพันธ์โครงการฯ /การรับสมัคร / การดำเนินงานคัดเลือก / การแนะนำทำใบสมัครนานาชาติ)  รวมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน
2. ช่วงปลายปี ในเดือนธันวาคม  
   เป็นการประชุมเพื่อรับทราบนโยบายและแนวทางการพัฒนาองค์กรเอเอฟเอสฯ   การรับฟังข้อแนะนำ / ข้อคิดเห็น  จากอาสาสมัครทั่วประเทศ เพราะเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดและมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของเอเอฟเอสโดยตรง  เพื่อขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายด้วยกัน 

  ***  เอเอฟเอสมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาโครงการฯ ต่างๆ โดยมุ่งเน้นประโยชน์ของการศึกษาเป็นหลัก   ตระหนักถึงความสำคัญของผู้บริหารโรงเรียนที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้อาสาสมัครเอเอฟเอเอสดำเนินโครงการฯ ได้อย่างราบรื่นและประสบผลสำเร็จ       นอกจากนั้นยังเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากร ทั้งในส่วนของคณะเจ้าหน้าที่เอเอฟเอส และอาสาสมัครทุกท่าน จึงจัดโครงการฯ ให้ได้ไปทัศนศึกษา/ อบรม /เข้าร่วมประชุม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและได้เรียนรู้ / ได้รับประสบการณ์ตรง *** 

ผู้อำนวยการใหญ่ฯ /นายแพทย์ พนม  เกตุมาน และนายแพทย์สิชน  ลือฤทธิพงษ์ ถ่ายภาพร่วมกับคณะกรรมการมูลนิธิเอเอฟเอสประเทศไทย 

คณะกรรมการมูลนิธิเอเอฟเอสประเทศไทย ผู้อำนวยการใหญ่ฯ ถ่ายภาพร่วมกับประธานเอเอฟเอสเขต  ประธานศูนย์เอเอฟเอสฝ่ายอุปถัมภ์ 

 บรรยากาศช่วงเช้าของการลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมฯ 

ของที่ระลึกจากเอเอฟเอส จำนวนหลายรูปแบบที่อาสาสมัครนิยมซื้อไปใช้สอย

“ Depression in Adolescence – Get to know and learn the early detection " 

นายแพทย์ พนม  เกตุมาน และนายแพทย์สิชน  ลือฤทธิพงษ์ นร.เก่าเอเอฟเอส ประเทศสหรัฐอเมริกา รุ่นที่ 45

 “โรคซึมเศร้า” (Major depressive disorder)  เป็นโรคทางจิตเวช   ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติทางอารมณ์  ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีเซโรโทนิน ในสมองที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานในหลายๆส่วนของร่างกาย ในด้านการควบคุมอารมณ์มีปริมาณลดลง ส่งผลทำให้มีอาการป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ ผู้ป่วยจะรู้สึก หม่นหมอง สิ้นหวัง ไร้ค่า ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดที่มีอันตรายกระทบต่อชีวิต  นำความคิดไปสู่การทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า

สาเหตุของโรค สามารถปะทุจากสภาวะซึมเศร้าสู่โรคซึมเศร้าได้จาก
1.กรรมพันธุ์
2.พัฒนาการของจิตใจและสิ่งแวดล้อมมีแต่ความเครียดหนัก เช่น การเรียน การสอบ การพบเจอมรสุมชีวิต
3.เจ็บป่วยเรื้อรังจนหมดกำลังใจหรือพบกับความสูญเสียคนรัก ครอบครัว
4.ปัญหาเรื่องการเงิน ตกงาน
5.ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดไม่ราบรื่น ทั้งหมดทั้งมวลยิ่งบ่อยยิ่งเพิ่มโอกาสที่เป็นปัจจัยทางชีวภาพเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมองบางตัวส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้า

ปัจจุบัน คนไทยมีสภาวะโรคซึมเศร้า เป็นจำนวนมากกรมสุขภาพจิต เผยสถิติปี 2561 พบคนไทยป่วยโรคซึมเศร้า 1.5 ล้านคน ขณะที่ทั่วโลกมีผู้ป่วยกว่า 300 ล้านคน 
อัตราการเกิดโรคซึมเศร้า 
เด็กเล็ก 0.3  %

วัยเรียน 2     %
วัยรุ่น  5       %
ความชุกชั่วชีวิต 15-20 %

จากข้อมูลกรมสุขภาพจิต พบว่า ในแต่ละปีจะมีคนพยายามฆ่าตัวตายปีละ 53,000 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน โดยจะมีคนฆ่าตัวตายสำเร็จอยู่ที่ประมาณ 4,000 ราย ในปี 2561 อัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 6.11 เพิ่มขึ้นจากอัตรา 6.03 ในปี 2560 โดยเพศชายมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าเพศหญิงกว่า 4 เท่า ช่วงอายุที่มีจำนวนการฆ่าตัวตายสูงสุดของเพศชายอยู่ที่ช่วงอายุ 35-39 ปี ส่วนเพศหญิงจำนวนการฆ่าตัวตายสูงสุดอยู่ที่ช่วงอายุ 50-54 ปี

สำหรับกลุ่มเยาวชนอายุ 20-24 ปี แม้การฆ่าตัวตายจะไม่สูงมาก แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นจากอัตรา 4.94 ต่อประชากรแสนคนในปี 2560 เป็นอัตรา 5.33 ต่อประชากรแสนคนในปี 2561 ขณะที่กลุ่มเยาวชนอายุ 15-19 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 2.59 ต่อประชากรแสนคน และกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 0.5 ต่อประชากรแสนคน

แม้ในกลุ่มเยาวชนจะมีสัดส่วนของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าน้อยกว่าในกลุ่มวัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ แต่ถือว่าเป็นปัญหาที่ต้องให้ความสำคัญและรีบเร่งแก้ไขเนื่องจากเยาวชนเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าในการพัฒนาปรเทศในอนาคต  ยิ่งไปกว่านั้น  มีแนวโน้มว่าเยาวชนมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงมากขึ้น 

บุคลิกลักษณะของอาสาสมัครเอเฟเอสแต่ละท่าน ...ไม่น่าเข้าข่ายของอาการซึมเศร้า 

สำหรับสาเหตุของการเกิดภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเยาวชน เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งจากการศึกษาภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น นิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ โดย ผศ.ดร.ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ พบว่า ภาวะซึมเศร้าเกิดจากภาวะของการเสียศูนย์ ซึ่งแต่ละคนจะมีไม่เท่ากัน โดยตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดภาวะเสียศูนย์มาจาก 5 ปัจจัย คือ

(1) การถูกประเมิน เช่น ผลการสอบ
(2) เรื่องเศรษฐกิจ ภาวะการเงิน
(3) ความรัก ความสัมพันธ์กับเพื่อน การยอมรับจากเพื่อน
(4) ความรู้สึกผิดกับคนที่มีความสำคัญ
(5) ความสูญเสียอย่างฉับพลัน 

การวินิจฉัย
1.อารมณ์เศร้า หรือหงุดหงิด
2. หมดความสนใจหรือความสุขในการทำกิจกรรม
3. น้ำหนักลด หรือเบื่ออาหาร หรือกินมากเกินไป

4. นอนไม่หลับ หรือหลับมากเกินไป
5. กระวนกระวาย หรือเฉื่อยชา
6. รู้สึกอ่อนเพลีย หรือไม่มีแรง
7. รู้สึกไร้ค่า ผิด โทษตัวเอง
8. สมาธิและความสามารถในการคิดลดลง หรือไม่สามารถตัดสินใจได้
9.คิดอยากตายหรือคิดเรื่องที่เกี่ยวกับความตาย ซ้ำๆ 
การป้องกันภ่าวะซึมเศร้าในวัยรุ่น

ส่งเสริมทักษะชีวิตตั้งแต่วัยเด็ก 
1.การแก้ไขปัญหา

2.การจัดการอารมณ์และความเครียด
3.การสื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพ
4.มีเป้าหมายในชีวิต
5
.คุณค่าในตนเอง 

แนวทางการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า
ระบบป้องกัน 3 ระดับ
1 Primary  รู้จักรายบุคคล ส่งเสริม พัฒนา EQ , MQ , AQ Resilience 
2. Secondary   เฝ้าระวัง คัดกรอง ช่วยเหลือ รักษา  counseling ส่งต่อ
3. Tertiary รักษา ฟื้นฟู  ติดตาม


บทบาทของครูอาจารย์

  1. ทำความรู้จักนักเรียน มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ สร้างพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดี
  2. พัฒนาการบุคลิกภาพ ทักษะสังคม
  3. สนับสนุนทุน แนะแนว
  4. ช่วยเหลือเบื้องต้น
  5. ส่งต่อ
  6. ติดตาม ทำงาน ร่วมกับแพทย์ 

การช่วยเหลือเบื้องต้น

  1. สร้างความสัมพันธ์ที่ดี
  2. ฟัง  ฟัง  ฟัง
  3. พยายามเข้าใจ อย่าเพิ่งรีบแนะนำ
  4. ถามเรื่องฆ่าตัวตาย
  5. ให้กำลังใจ
  6. ให้ความรู้
  7. จูงใจให้พบแพทย์ 

แพทย์ชี้โรคซึมเศร้าเป็นการเจ็บป่วยทางจิตใจ แต่ไม่ใช่โรคจิตประสาท  รักษาหายได้   ผู้ดูแลควรเข้าใจภาวะโรคซึมเศร้า รับฟังเรื่องราวเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้ระบายความเครียด  มีความอดทนในการดูแล และช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเอง ความรัก + ความเข้าใจ และกำลังใจเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้หายเป็นปกติ   

วิธีการรักษา
1. พบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ และทำการรักษา   
      * การรับประทานยาปรับสารสื่อนำประสาท  - เพื่อจัดการความคิด และการปรับตัว เข้ากับสิ่งแวดล้อม 

      *  การรับประทานยาต้านเศร้าให้จนหาย 100 เปอร์เซ็นต์ /ให้ป้องกันต่อ อย่างน้อย 6-12 เดือนและลดยาช้าๆ(ตามที่หมอสั่ง)
         และไม่ควรหยุดยาเอง
      *  การรับประทานยารักษาอาการ  
2. จิตสังคม
* ออกกำลังกาย Aerobic Exercise  / เดิน / วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ  วันละ 30 นาที สะสมได้ อย่างน้อยวันเว้นวัน เหนื่อยพอพูดได้    ชีพจรขึ้น ร้อยละ 60-70 ของชีพจรสูงสุด ชีพจรสูงสุด = 220- อายุ 
* การนอน  Sleep hygiene 
* มองข้อดีและคุณค่าของตนเอง
* จัดการความเครียด และแก้ปัญหา
* ครอบครัว ดูแล - ใส่ใจ มีสัมพันธภาพที่ดี

  *** ... ขอขอบคุณผู้เข้ามาเยี่ยมชมทุกท่านค่ะ ...***  

หมายเลขบันทึก: 674032เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2019 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2020 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เอเอฟเอส ได้ยินมานานแล้วค่ะ ชื่นชมมาก

ขอบพระคุณนะคะ…เชื่อมั่นในระบบการดูแล และการพัฒนาฯโครงการที่นำหลักการ+ทฤษฎี +จิตวิทยา มาใช้ประกอบการดำเนินกิจกรรมฯ เพื่อเยาวชนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท