กิจกรรมบำบัดเพื่อการพัฒนาเด็กและครูปฐมวัย


การพัฒนาเด็กปฐมวัยของ Unicef Thailand “เด็กอายุ 0-5 ปีทุกคนได้รับการดูแลที่เหมาะสมตามวัย ผ่านศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีคุณภาพ และสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูที่ได้รับความคุ้มครองจากครอบครัว...แต่ในประเทศไทยมีเด็กปฐมวัยจำนวนมากที่่ขาดการดูแลและการกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสม ผู้ปกครองจำนวนมาก โดยเฉพาะพ่อ ยังขาดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้กับลูกเล็ก”

นักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทอย่างไรในประเด็นนี้ ? คลิกเรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่ 

•เพิ่มความภาคภูมิใจในการทำกิจกรรมการดูแลตนเอง เช่น หัดแปรงฟันบ้วนปาก หัดแต่งตัวเอง หัดเช็ดก้นหลังอึ ช่วยผูกเชือก ช่วยติดกระดุมบนสุด ฯลฯ

•เพิ่มทักษะการเขียนผ่านการรับรู้สึกด้านการมองเห็นและการเคลื่อนไหวสหสัมพันธ์ของร่างกาย

•เพิ่มทักษะการเรียนรู้เพื่อแสดงอารมณ์สังคมให้สมวัยท่ามกลางการสื่อสารคิดบวกจากพ่อแม่ครู

Reskills แนวทางเพื่อเรียนรู้ทักษะทำอย่างไรในประเด็นนี้ ? คลิกเรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่ 

  1. ในเด็กโต 3-5 เราจะชวนผู้ปกครองประเมิน “ความพร้อมก่อนวัยเรียน” ได้แก่ ฝึกอึฉี่ที่สุขาได้เอง อยู่แยกจากพ่อแม่ได้ 2-3 ชม.โดยไม่วิตกกังวล เล่นกับเพื่อนได้บ้าง งีบพัก 2-3 ชม.ได้ สื่อความหมายได้เข้าใจกับครูและเพื่อนโดยไม่คับข้องใจ ฟังและทำตามคำแนะนำของครูได้บ้าง ถ้า “ยังไม่พร้อม” ปรึกษาคุณหมอและนักบำบัด
  2. ประโยชน์ของอนุบาลคือ เด็กได้เรียนรู้การเขียนชื่อและตัวอักษรเป็นระบบ (มีตารางเรียน มีระเบียบวินัย ทำตามคำแนะนำครู) บ่มเพาะทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เรียนรู้การทานของว่างกับเข้าสุขาเองโดยไม่มีพ่อแม่ช่วย มีกิจกรรมทางกายเป็นกิจวัตรประจำวันมากขึ้น
  3. ภาษาเปิดใจของลูกน้อย คือ ท่าทางผ่อนคลาย หายใจสบาย ไม่กอดอก แบมือ สบตา ไม่จ้องเขม็ง พยักหน้าเข้าใจได้ ยิ้มน่ารัก เอียงเข้าหา ขยับมือขณะพูด
  4. ภาษาเครียดลบของลูกน้อย คือ ตัวแข็ง ขมวดคิ้ว เขย่าตัว กุมมือบนโต๊ะ กอดอก มือแตะปาก มือเท้าคาง หมุนของในมือ หาว พูดแทรก สีหน้าเบื่อทนฟัง หันเหความสนใจง่าย เอียงตัวออกไปไกล ตาดูไม่เป็นประกาย ลูกตาหดตัวพร้อมเขย่าหัว หน้าบึ้ง หน้ามุ้ย
  5. ฝึกนอนหัวค่ำ 11 ชม. ตื่นเช้า 6-7 โมง + นอนกลางวัน 1 ชม. อาหารว่าง 1-2 มื้อ ในเด็ก 1-3 ปี เพิ่มความจำ คลายเครียด อารมณ์ดี กินดี พูดว่า “ถึงเวลาซ่อนตาดำแล้ว  ไม่บังคับว่า “นอนได้แล้ว” เพื่อหัดกฎระเบียบ
  6. เด็ก 3-5 ปี ต้องการความสงบผ่อนคลาย ชวนอิสระฟังผู้ใหญ่เล่านิทาน การเล่นละครนิทานมือสร้างได้ การฟังดนตรีเบาๆ เปิดเพลงนิทาน เล่นดนตรี ปั้นดิน วาดรูปเงียบๆ เล่นทราย เล่นน้ำพุ และเพลิดเพลินกับธรรมชาติ ปรับไฟปิดม่าน ให้เด็กเป็นคนเลือกระหว่างทำกิจกรรมกับการนอนอิสระ ค่อยๆ เพิ่มเวลาจาก 20 นาทีจนถึง 60 นาที
  7. สังเกตว่า “เด็กต้องการพักผ่อนเมื่อ บ่นไม่ยอมนอน...เอนตัวก็หลับ สมาธิน้อยลง เรื่องถนัดก็ทำไม่ได้ งัวเงีย งอแง หาว ขยี้ตา เบลอ ดูเหม่อลอย ร้องไห้ง่าย อาละวาด ทรงตัวยาก หกล้ม”
  8. หลังอาหาร ใช้เวลา 10 นาที พักผ่อนกำแพงสวนกินได้และสวนแนวตั้งในพื้นที่จำกัด ฟังดนตรีในสวนหย่อม
  9. การเปิดมุมระบายความในใจกับเพื่อนที่ไว้ใจ 1 คน ผลัดกันเล่าคนละ 5 นาที บอกขอบคุณ และพูดให้อภัยคนที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ (จะต่อหน้าหรือไม่ก็ได้)
  10. ชวนครูสร้างพื้นที่ทำความดีมีสุขกับเด็ก ๆ เช่น ช่วยกันปลูกต้นไม้คลายเครียด ช่วยกันทำอาหารสุขภาพ
  11. ปล่อยให้เด็กและครูวาดรูปและ/หรือเขียนอิสระบนกระดาษ/กระดานแผ่นใหญ่ อาทิตย์ละครั้ง
  12. ปล่อยให้เด็กและครูเล่นวางสิ่งต่าง ๆ บนกระบะทราย สร้างนิทานทำมือแล้วนำมาเล่าดังๆ อาทิตย์ละครั้ง
  13. อบรมอาชีพเสริมงานประจำและเรียนรู้การออมเงินเพื่อวางแผนสุขภาวะทางเศรษฐกิจครอบครัวระยะยาว
  14. เพิ่มกิจกรรมฝึกหายใจเข้า-ค้าง-ออกยาวๆ 4 รอบ ฝึกเกร็งคลายกล้ามเนื้อตามลำดับ ฝึกเคาะอารมณ์ ก่อนเลิกงานสัก 10 นาที
  15. การปล่อยร่างกายให้ได้นั่งเก้าอี้โยก การเล่นดนตรีร้องเพลงเบาๆ  การกอดเด็กทีละคนก่อนให้เด็กเข้าห้องเรียน การเดินวนรอบห้องช้า ๆ ขณะฟังเสียงเปียโน การได้นอนผ่อนพักตระหนักรู้รวมกันครูกับเด็ก
  16. คลิกเรียนรู้กิจกรรมบำบัดจัดการอารมณ์ตึงเครียดได้ที่ลิงค์นี้ 

Upskilling การเพิ่มทักษะทำอย่างไรในประเด็นนี้ ? คลิกเรียนรู้เพิ่มเติมที่แอพพลิเคชั่น theAsianparent Community

  1. ประเมินเด็กขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก มีระยะห่าง เราควรแนะนำตัวเองด้วยน้ำเสียงเบาช้า สัมผัสเบาๆจนคุ้น
  2. วัยเดินได้ เราควรคุยระดับเดียวกับเด็ก สบตา พูดด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน บอกล่วงหน้าว่าถ้าอุ้มเด็กๆ จะร้องจะไม่ทำให้คนอุ้มรู้สึกแย่ บอกว่า “ลูกไม่ต้องกลัว คนนี้แม่รู้จัก” ให้จับมือเล่น ยิ้มทักทาย ไม่อุ้มทันที
  3. ถ้าเด็กร้องไห้ไม่หยุด พาออกจากจุดนั้น ไม่ฝืน ไม่ปล่อย ไม่ดุ ยิ่งดุเด็ก ยิ่งทำให้เด็กกลัวไม่มั่นใจ
  4. ค่อยๆ ให้เด็กเผชิญความกลัวทีละเล็กทีละน้อย พาไปที่เห็นคนมากมาย ทำกิจกรรมที่ลูกชอบในพิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ และสนามเด็กเล่น
  5. พ่อแม่ครูอดทนรอคอยให้เวลากับลูก ๆ วัย 6-7 เดือนกลัวคนแปลกหน้า วัย 7-8 เดือนจะเริ่มสนใจสิ่งรอบตัวมากขึ้น แยกพ่อแม่กับคนไม่รู้จัก ร้องไห้หันหน้าหนี เกาะเข้าหาแม่ วิ่งหลบหลังแม่ ไม่สบตา ถือเป็นพัฒนาการสมวัย
  6. ถ้ามีวิตกกังวลคนแปลกหน้ามากขึ้น อาจเกิดจากพื้นอารมณ์ปรับตัวช้า และ/หรือ พันธุกรรมพ่อ/แม่พูดน้อยและขี้อาย เลี้ยงแบบปกป้องเกินไป ห้ามทำโน่นนี่ พ่อแม่แยกทางกัน อุบัติเหตุ/นอนรพ.นาน โดนขู่ในสิ่งที่กลัวบ่อย “ถ้าไม่กินข้าว จะให้หมอฉีดยา” 
  7. ประเมินดูว่าเด็กกลัวอะไร ไม่พูดไม่บังคับดุว่า “ทำไมถึงกลัว ไม่เห็นจะน่ากลัว พร้อมผลักห่างตัวไปสิ่งที่กลัว”
  8. ให้กอดหรืออุ้มก้าวเดินข้างๆ ห้ามพูดโกหก ห้ามพูดเบี่ยงเบนความสนใจ อธิบายลูกให้เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น 
    เช่น เวลาพาลูกไปหาหมอ บอกว่า “ฉีดยาจะเจ็บยังไง (อย่าบอกว่าไม่เจ็บ) แม่มั่นใจว่าลูกทำได้แน่นอน”
  9. พ่อแม่ครูควรหานิทานสอนการเผชิญความกลัวให้ลูกได้อ่าน อธิบายให้ลูกเข้าใจถึงวิธีต่อสู้กับความกลัวภายในจิตใจ
  10. หากลูกต้องเผชิญความกลัว ลองให้ลูกแก้ปัญหาด้วยตนเองโดยไม่บังคับลูก
  11. ให้เด็กได้ลองถือของไม่หนัก การข้ามถนนอย่างปลอดภัย การหยิบจับสิ่งของอย่างปลอดภัย
  12. ถามเด็กว่ามีความชอบหรือไม่ชอบในกิจวัตรประจำวัน ผู้ใหญ่สาธิตทำตามกฎกติกามารยาท มีวินัย รู้ผิดชอบชั่วดี ผู้ใหญ่เล่นพร้อมเด็ก เป็นต้นแบบความอดทนพยายามทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ เช่น เดินทางไกลรอบรร. ปลูกต้นไม้เล็ก ๆ มีเล่นปีนป่ายออกแรง สร้างสมดุลบ่มนิสัยพอใจระหว่าง “ยอมรับกติกาให้ความร่วมมือ” กับ “อิสระ”
  13. ผู้ใหญ่ควรขอร้องให้เด็กช่วยเหลือในสิ่งที่มีความสามารถ หัดบ้วนปากหลังทานนม หัดเช็ดก้นหลังอึฉี่ ฝึกผูกเชือก ฝึกแปรงฟัน แต่งตัวเอง หัดอาบน้ำ หัดติดกระดุม หัดทานปลา-ไข่-หมู-ถ้าเลือกกิน ให้ชดเชยนม-ถั่ว
  14. ถามเด็กให้มีเหตุผล ชวนทดลองฟัง ถาม สัมผัส ลองมือทำ คิดแก้ปัญหา ไม่ทำแทนทันที ให้เวลาวิ่งซน ปีนป่าย ออกแรง การฝึกทักษะการรับรู้ด้านการมองกับการใช้มือจับดินสอนเขียนเส้นรูปร่างต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
  15. ชวนเด็กให้ตั้งใจทำของเล่นด้วยตัวเองเสริมจินตนาการ ฝึกให้เด็กเข้าใจศัพท์นำมาเรียงประโยคอย่างง่าย ฝึกอ่านเขียนชื่อตัวเอง การใช้หนังสือภาพ








หมายเลขบันทึก: 674473เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2020 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มกราคม 2020 15:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท