โมเดลการสื่อสารของวิลเบอร์ ชแรมม์


แบบจำลองการสื่อสารของแชรมม์

       แบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของออสกูดและวิลเบอร์ ชแรมม์ คือ แบบจำลองการสื่อสารระหว่างบุคคลที่ออสกูดเป็นต้นคิด และวิลเบอร์ ชแรมม์นำมาขยายความและเป็นผู้เสนอไว้ในปี พ.ศ.2497 มีลักษณะเป็นวงกลม ที่เน้นให้เห็นว่าทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างกระทำหน้าที่อย่างเดียวกันในกระบวนการสื่อสาร นั้นคือ การเข้ารหัส(encoding) การถอดรหัส(decoding)และการตีความหมาย(interpreting)ซึ่งสามารถแสดงเป็นภาพได้ดังนี้

ที่มา : Schramm 1974 หน้า 62

       แชรมม์และออสกดู อธิบายว่า ในกระบวนการสื่อสารนั้น บุคคลทั้งสองฝ่ายมีลักษณะเท่าเทียมกัน คือ จะเป็นทั้งผู้เข้ารหัส (Encoder) และผู้ถอดรหัส (Decoder) นอกจากนั้นยังทำหน้าที่เป้นผู้ตีความหมาย (Interpreter) ด้วยคือ จะมีการถอดรหัส แล้วก็ตีความรหัส จากนั้นจึงเข้ารหัสเมื่อผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ผู้รับสารก็จะสื่อสารกลับ โดยเริ่มจากการถอดรหัส ตีความและเข้ารหัส นั่นเป้นการแสดงถึงการสื่อสารแบบสองทาง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดเรื่องปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ด้วย

ตัวอย่างเช่น การสนทนาระหว่าง คนภาคกลางกับภาคอีสาน ที่ต้องมีการถอดรหัสของเนื้อหาดังนี้

“คุณน้าแบกถุงนี้ไหวไหม ”

“ถงปุ๋ย ถงนี้ คือมาหนักคักแท้ แบกซ่อยกันส

องคนกะยังแบกบ่แกน”

จะทำให้คนภาคกลางนั้นต้องเข้ารหัสและถอดรหัสสื่อสารว่า “ถุงปุ๋ยถุงนี้ มันหนักเหลือเกิน ช่วยกันแบกสองคนยังไม่ไหว” จึงอาจตัดสินใจตอบกลับไปว่า “ถ้าอย่างนั้นผมช่วย”  

หมายเลขบันทึก: 674679เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2020 07:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2020 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท