สินรินทร์สเตชั่น
อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

แบบเสนอชื่อและผลงานเพื่อการคัดสรรครูศิลป์ของแผ่นดินของนายสมศักดิ์ มุตะโสภา (ช่างเครื่องเงิน เครื่องทอง) จากอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์


แบบเสนอชื่อและผลงานเพื่อการคัดสรรครูศิลป์ของแผ่นดิน ประจำ  ปี 2561

1.ประวัติส่วนตัว

ชื่อ-นามสกุล....นายสมศักดิ์   มุตะโสภา....อายุ.....๖๓.....ปี   วัน-เดือน-ปีเกิด....๑๕ สิงหาคม ๒๔๙๗...................

ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) .......Mr.Somsak  Mutasopa..................................................................................

การศึกษา.......จบชั้นประถมศึกษาปีที่  ๔................................................................................................................

ทำงานศิลปหัตถกรรมด้าน …เครื่องเงิน  เครื่องทอง ....... ระยะเวลาในการทำงาน.......๔๐............ปี

ชื่อกลุ่ม (ถ้ามี)..........................-...................................................................จำนวนสมาชิกภายในกลุ่ม...-....... คน

2. ที่อยู่ (ที่สามารถติดต่อได้)

บ้านเลขที่……๒๒……….หมู่....๖.......บ้านสดอ..........................................................................................................

ตำบล……เขวาสินรินทร์…………………………………..อำเภอ/เขต...........เขวาสินรินทร์...   จังหวัด..........สุรินทร์......รหัสไปรษณีย์........๓๒๐๐๐................โทรศัพท์ (บ้าน).........-..........................

โทรศัพท์มือถือ....๐๘๖๒๔๔๓๒๘๘..................E-mail.......................-.................................................................

ID : Line ……………………-……………”…….Facebook : ……ช่างสมศักดิ์    มุตะโสภา…………………………………

3. การทำงานหัตถกรรม                                                                                                           

    3.1 จุดเริ่มต้นการเรียนรู้ ฝึกฝนในงานศิลปหัตถกรรมประเภทนี้ ตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงปัจจุบัน (เป็นงานที่มีการสืบทอดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น  หรือจากบรรพบุรุษอย่างไร)

...ได้เริ่มต้นจากการเรียนรู้ผู้เป็นบิดา  คือ นายสวาส  มุตะโสภา  เมื่อปี.พ.ศ.๒๕๒๐  จากนั้นได้ทำเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

3.2 ระยะเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรม ตั้งแต่แรกเริ่ม จนถึงปัจจุบัน  ………๔๐…. ปี

3.3 การทำงานศิลปหัตถกรรมในปัจจุบัน 

       R  ยังทำงานศิลปหัตถกรรมแขนงนี้อยู่ด้วยตัวเองทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง

  [   ]  ไม่ได้ทำงานศิลปหัตถกรรมแขนงนี้ด้วยตัวเองแล้ว เนื่องจาก ..........................................................
  [   ]  ถ่ายทอดให้เครือข่ายชุมชน หรือทายาท (ลูกหลาน/ลูกศิษย์) เป็นผู้ทำแล้ว ตั้งแต่ปี ......................

      [   ]  ทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอด (สอน) แต่เพียงอย่างเดียว ตั้งแต่ปี .............................

      [   ]  อื่นๆ (ระบุเพิ่มเติม)

3.4  แนวความคิด/หลักปรัชญา ที่นำมาใช้ในการทำงานศิลปหัตถกรรมตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงปัจจุบัน

  • - การมีใจรักในสิ่งที่ทำ มุ่งมั่นใจเย็น  ทำเพื่อความประณีต กระบวนการทำงานทองคำกับเงินมีกระบวนการทำแบบเดียวกัน  แต่มีความประณีต  ละเอียดมากกว่า

3.5 แนวความคิด และความมุ่งหวัง ความตั้งใจ ในการสืบทอดภูมิปัญญาในงานศิลปหัตถกรรมแขนงนี้ ให้คงอยู่ และส่งต่อถึงคนรุ่นหลัง

- การเรียนรู้ช่างทองอย่างน้อย 6 เดือนซึ่งในความคิดอยากให้ลูกหลานสืบทอดช่างทองไว้  แต่มีกระบวนการสืบทอดหลายอย่าง  เมื่อสืบทอดแล้วหาช่องทางการจำหน่ายได้อย่างไร  ซึ่งเป็นกำลังใจของผู้สืบทอด  ถ้าคิดเรื่องของการอนุรักษ์เพื่อสืบทอดก็ต้องมีใจรักในสิ่งที่ทำ

3.6 ประสบการณ์ การดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญาสู่สังคม หรือชุมชน หรือคนรุ่นหลัง 

- ได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียน  นักศึกษา  ที่สนใจเดินทางมาศึกษาข้อมูล

- ได้ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ การเป็นช่างทอง ให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเลือกซื้อ

- เป็นภูมิปัญญาของชุมชนในด้านการเป็นช่างเงิน  ช่างทอง

- ถ่ายทอดความรู้ให้เยาวชน ช่างเงิน  ช่างทองที่สนใจเรียนรู้

อาศัยตามหลักการถ่ายทอดของครูช่าง

๑. บรรยาย  โดยบรรยายขั้นตอนการทำอย่างละเอียดและข้อห้าม  สิ่งที่ต้องระมัดระวังเวลาปฏิบัติจริง

๒. สาธิต  โดยสาธิตให้ดูทุกขั้นตอนจนมีความเข้าใจ

๓. ทดลอง  ให้ทดลองปฏิบัติทุกขั้นตอน

๔. ปฏิบัติจริง  เมื่อให้นักเรียนทดลองปฏิบัติจนแน่ใจแล้วว่าทำได้ จะให้ทำด้วยตนเอง

4. ผลงานศิลปหัตถกรรมที่แสดงถึงภูมิปัญญา ทักษะฝีมือ ความชำนาญเชิงช่าง ที่นำเสนอประกอบการพิจารณา   

   4.1 เอกลักษณ์ รูปแบบในงานศิลปหัตถกรรมแขนงนี้ ที่แสดงถึงภูมิปัญญาบรรพบุรุษ หรือภูมิปัญญาดั้งเดิมอยู่ส่วนใด เครื่องประดับทองถือเป็นงานหัตถศิลป์ชั้นสูง ที่อยู่กับแผ่นดินไทยมายาวนาน ซึ่งแต่ละยุคสมัยมีเอกลักษณ์การออกแบบรูปแบบ และความงดงามต่างกัน รวมถึงเทคนิคในการสร้างสรรค์ชิ้นงานอันล้ำค่าแต่ละชิ้นขึ้นมา ถือเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกความเจริญรุ่งเรือง มั่งคั่ง และความมีศิลปวัฒนธรรมของแต่ละยุคสมัย ควรคุณค่าแก่การอนุรักษ์สืบทอดไว้ และด้วยจิตใจที่อยากอนุรักษ์มรดกอันทรงคุณค่า

  4.2  เทคนิค วิธีการ ที่แสดงถึงทักษะฝีมือ ความชำนาญเชิงช่าง ของผู้ทำงานศิลปหัตถกรรมแขนงนี้ อยู่ส่วนใด

 - การทำงานช่างเงิน  ช่างทอง  นั้นอยู่ที่ผลงานที่ออกมาปราณีต สวยงาม คงความเป็นเอกลักษณ์  การเพิ่มรายละเอียดเหมือนกับการทำลายดอกทั้งที่เป็นลายปัจจุบันและลายโบราณ และลายปลึดของงานโบราณ3 ลายดอกพริก โดยการดึงเอาดอกพริก ซึ่งเป็นส่วนประกอบเกือบทุกลายให้มาเป็นลายของตัวเองความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เป็นเอกลักษณ์ที่เด่นชัดเอกลักษณ์เด่นเป็นช่างทองมาก่อน ซึ่งเป็นงานโบราณซึ่งจัดอยู่ในประเภทงานประณีตศิลป์ เมื่อมาทำเครื่องเงิน ความประณีต ความละเอียดเป็นในรูปแบบของงานทอง ซึ่งแตกต่างจากช่างเงินโดยกำเนิด โดยยึดตัวอย่างของโบราณที่ทำไว้แล้วดึงเอาจุดเด่น ส่วนประกอบของลายโบราณมาสร้างลายใหม่ขึ้น

  4.3 ผลงานสำคัญๆ ที่มีความโดดเด่นที่สร้างความภาคภูมิใจ(ระบุชื่อผลงาน และรายละเอียดความโดดเด่นของ

ผลงานนั้น)

  • -  ตะเกาทองลายดอกรังฮอ 

เป็นชิ้นงานที่ใช้วัสดุเป็นทอง ในงานทำ ประยุกต์ลายดอกจากธรรมชาติ  ซึ่งตะเกาสามารถนำไปใช้เป็นหัวแหวน  จี้

เข็มขัด ต่างหู  ฯลฯ  เพื่อความสวยงามของผู้สวมใส่

 “ตะเกา” ภาษาเขมร ใช้เรียก“ตุ้มหู” เป็นการขึ้นรูปด้วยการดัดเส้นลวดเงินไปมาในระยะความห่างที่เท่าๆกันจนได้รูปทรงที่ต้องการ และนำมาเชื่อมต่อซ้อนกันตามขนาดต่างๆ เป็นขั้นบันไดจากนั้นประดับด้วยเม็ดไข่ปลา  เป็นงานที่พิถีพิถันละเอียดเป็นที่สุด  ตามโบราณใช้เทคนิคการลนไฟให้เส้นเงินหลอมละลายจนขมวดตัวเป็นเม็ดกลมๆบนรางไม้ไผ่เรียกว่า “ไข่ปลา” ที่อาศัยผิวที่แตกร้าวของไม้ไผ่นั้นเป็นแผงยึดเกาะไม่ให้เม็ดเงินเล็กจิ๋วลื่นไหลหรือปลิวไป  และเทคนิคดั้งเดิมอีกอย่างก็คือ  การใช้ลูกเบง (ผลในฝักของไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง )  มาฝนกับน้ำ สำหรับเป็นตัวเกาะยึดไข่ปลาและชิ้นส่วนขนาดเล็กอื่นๆ ติดตัวชิ้นงานได้โดยง่าย โดยลวดลายตะเกาที่โดดเด่นเป็นที่รู้จักและสร้างชื่อแก่เครื่องเงินสุรินทร์ เช่น ตะเกาดอกรังหอก ตะเกาดอกระเวียง ตะเกาดอกตั้งโอ๋  ตะเกาไข่แมงดา  ฯลฯ

  • - ประเกือมเงินและทอง

ประเกือมเป็นงานขึ้นรูปจากการตีด้วยมือตามกระบวนการผลิต  อาจใช้วัสดุที่เป็นเงิน หรือเป็นทองก็ได้ จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนต่างๆ

เครื่องมือที่ใช้ผลิตเครื่องเงิน

1.  เบ้าหลอม เป็นเครื่องมือที่สร้างขึ้นจากภูมิปัญญาชาวบ้านโดยทำมาจากขี้เถ้าขึ้นเป็น รูปทรงกระบอกตัน ด้านบนมีเบ้าเหมือนกระทะใช้เป็นที่ในการหลอมเงินให้ละลาย

2.  เครื่องเป่าไฟ  เดิมใช้เครื่องถลุง  ปัจจุบันใช้เครื่องที่ประกอบขึ้นเอง  โดยดัดแปลงจากเพื่อใช้สำหรับเป่าไฟให้เงินหลอมละลาย  หรือให้เงินอ่อนเพื่อสะดวกในการขึ้นรูป

3.  รางเท  เป็นพิมพ์เหล็กรูปทรงสี่เหลี่ยม  ด้านบนเจาะเป็นช่องพิมพ์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  4  ช่อง  ใช้สำหรับเทเงินที่ผ่านการหลอมแล้วเข้ารางพิมพ์  เมื่อเงินเย็นแล้วจะได้รูปเงินเป็นแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามขนาดของแท่ง พิมพ์  เพื่อให้เกิดความสะดวกในการนำเข้าเครื่องรีด

4.  เครื่องรีดเงิน   เป็นเครื่องมือที่ใช้รีดเงินให้เป็นเส้นและเป็นแผ่นตามขนาดที่ต้องการ  เพื่อนำไปจัดทำเป็นองค์ประกอบในการขึ้นรูปเครื่องประดับเงิน

5.  แป้นดึงลวด  เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการดึงลวดให้เป็นเส้นตามขนาดที่ต้องการ  เพื่อนำไปใช้เป็นองค์ประกอบในการขึ้นรูปเครื่องประดับเงินเช่นกัน

6.  เขาควาย   เป็นเครื่องมือนำมาจากส่วนปลายแหลมของเขาควายจริงๆ สาเหตุที่ใช้เขาควายเพราะผิวเรียบลื่น  และมีความคงทนถาวร  ไม่แตกหักง่าย  เป็นเครื่องมือภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่นำมาใช้ในการดัดขนาดเงินให้เป็น รูปวงกลม

7.  ไม้ละบะ  หรือไม้ม้วนลวดเงิน  เป็นไม้ที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง  ตัวไม้ใช้หวายทำ  ด้านบนจะมีแท่นเหล็กเล็กๆ  ฝังอยู่เป็นระยะๆ โดยมีช่องไฟที่เหมาะสม  เหล็กที่ฝังอยู่นี้ใช้ประโยชน์ในการดัดลวดให้เป้นกลีบดอกสำหรับนำไปขึ้นรูป

8.  ท่อนไม้สำหรับรองดอก  เป็นท่อนไม้เนื้อแข็งที่ผ่านการเผาไฟมาแล้ว  เพื่อมิให้เกิดการเผาไหม้มีควันในขณะใช้เป็นฐานในการนำเงินมาเป่าไฟเพื่อดัด และขัดรูปทรงต่างๆ

9.  เลาไม้ไผ่  เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับพันเส้นลวดเงินให้เป็นเกลียวมีขนาดใหญ่

10.  เส้นลวดทองเหลือง  เป็นเครื่องมือที่ใช้ในสำหรับพันเส้นลวดเงินให้เป็นเกลียวเช่นกัน  แต่ใช้ในกรณีต้องการเกลียวเล็ก

11.  แหนบ  เป็นเครื่องมือที่หาซื้อได้ตามท้องตลาด  ที่ช่างนำมาใช้ประโยชน์ในการจับดัดตกแต่งรูปทรงเงินชิ้นเล็กๆ  ให้เป็นไปตามรูปร่างลักษณะที่ต้องการ

12.  คีมปากกลม  ปากแหลม  ปากนกแก้ว  ใช้สำหรับการจับดัดตกแต่งรูปทรงงานชิ้นใหญ่ๆ

13.  กรรไกร  ใช้เป็นเครื่องมือในการตัดเส้นเงิน

14.  ตุ๊ดตู่  ใช้เป็นเครื่องมือในการตัดแผ่นเงินให้เป็นแผ่นกลม

15.  ค้อน ใช้เป็นเครื่องมือในการตีเส้นลวดเงินตกแต่งให้ได้รูปทรง

16.  สว่านไฟฟ้า  ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการพันเส้นลวดเงินให้เป็นเกลียวขนาดเล็กๆ

17.  แปรงขัดเงิน ใช้เป็นเครื่องมือในการทำความสะอาดขัดเครื่องเงินให้สะอาดและมันวาว

วัสดุที่ใช้ในการผลิต

1.  เม็ดเงิน  ดิบ  1  กิโลกรัม  สามารถนำไปทำเข็มขัดได้  3  เส้นโดยทำดอกประกอบเข็มขัดได้ประมาณ  100  ดอก

2.  น้ำประสานเงิน  ใช้เป็นตัวประสานเงินให้ติดกัน เป็นการผสมกันระหว่างเครื่องเงิน ทองแดง ผงบอเเร็กซ์และน้ำ

3.  น้ำกรดผสมน้ำเปล่าใช้สำหรับการฟอกและกัดเครื่องประดับเงินตะเกาให้มีสีขาว

4.  น้ำแช่ลูกปะคำดีควายหรือแช่น้ำยาล้างจาน ใช้สำหรับขัดทำความสะอาดเครื่องประดับเงินตะเกาให้มันวาว

5.  บรรยาย กระบวนการทำงานศิลปหัตถกรรมแขนงนี้ที่สะท้อนให้เห็นถึงทักษะฝีมือ และการดำรงรักษาภูมิปัญญา   ดั้งเดิม (พอสังเขป)  

                  หมู่บ้านทำเครื่องเงินบ้านเขวาสินรินทร์ บ้านโชค บ้านสดอ ตั้งอยู่ที่ กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ ห่างจาก จังหวัด ประมาณ 18 กิโลเมตร ทั้ง 3 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้าน ที่มีการผลิตลูกประคำเงิน (ลูกประเกือม) นำไปทำเป็นเครื่อง ประดับสุภาพสตรี เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ตุ้มหู เข็มขัด มีเพียงแห่งเดียว ในประเทศไทย มีการทำสืบทอดกันมาหลายร้อยปี โดยผู้นำมาเป็นชาวเขมร ที่อพยพมาจาก ประเทศกัมพูชา มาอยู่ที่หมู่บ้านดังกล่าว  คำว่าประเกือม เป็นภาษาเขมร ซึ่งใกล้เคียงกับภาษาไทยว่า ประคำ ใช้เรียกเม็ดเงิน เม็ดทองชนิดกลม ที่นำมาร้อยเป็นเครื่องประดับ ประเกือม สุรินทร์ เป็นลูกกลมทำด้วยเงิน เช่นเดียวกับที่อื่นๆ แต่สิ่งที่แตกต่างคือ มีหลากหลายรูปแบบและลวดลาย เนื่องจากทำด้วยแผ่นเงินบางๆ ที่ตีเป็นรูปต่างๆ พร้อมกับอัดครั่งไว้ภายใน ทำให้สามารถแกะลายได้สะดวก ประเกือมมีตั้งแต่ขนาดเล็กที่สุดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งเซ็นติเมตร ไปจนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 2.5 – 3 เซ็นติเมตร มีหลายลวดลาย ได้แก่ ถุงเงิน หมอน แปดเหลี่ยม หกเหลี่ยม กรวย แมงดา กระดุม โอ่ง มะเฟือง ตะโพน ฟักทอง จารย์(ตะกรุด)  ส่วนใหญ่จำลองมาจากธรรมชาติ เช่น ลายตาราง ลายกลีบบัว ลายดอกพิกุล ลายดอกจันทร์ ลายพระอาทิตย์ ลายดอกทานตะวัน ลายตากบ ประเกือมส่วนใหญ่จะรมดำเพื่อให้ลายเด่นชัด ความสวยงามของประเกือมจึงอยู่ที่ลายที่แกะด้านนอก และความแวววาวของเนื้อโลหะเงิน เส้นทางสู่หมู่บ้านเครื่องเงิน หมู่บ้านโชค ต.เขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ นับเป็นหมู่บ้านแรกที่ทำประเกือมขึ้น เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว เชื่อว่าสืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่อพยพมาจากเขมร โดยสมัยก่อนมีการทำทั้งเครื่องเงิน และเครื่องทองด้วย ต่อมาความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้น การผลิตก็ขยายตัวเกือบทั่วทั้งตำบลเขวาสินรินทร์ ดินแดนวัฒนธรรมที่เก่าแก่ของสุรินทร์

                ชาวอำเภอเขวาสินรินทร์  จังหวัดสุรินทร์เป็นชุมชนรุ่นแรกๆ  ที่เป็นต้นแบบในการทอผ้าไหมลายเอกลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์  คือ  ผ้าโฮล  ผ้าอัลปรม  ก่อนที่จะนำแพร่หลายไปในชุมชนอื่นๆ  ซึ่งในปัจจุบันได้มีการรวมตัวเป็นเครือข่ายผู้ผลิต  โดยมีสมาชิกครอบคลุมทุกหมู่บ้าน  เกือบทุกหลังคาเรือน  มีผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับในเรื่องความงดงามและคุณภาพ  จนได้รับการยกระดับเป็นสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาว  สัญลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์  นอกจากช้างกับผ้าไหมแล้วปะเกือม หรือปะคำ ที่จากเงินและทอง ของอำเภอเขวาสินรินทร์นับเป็นศิลปหัตถกรรมที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว  เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น  ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษจากรุ่นต่อรุ่นมาหลายร้อยปี  โดยเริ่มจากการจารสลักเสลาลวดลายบนแท่งทองแท่งเงิน  จนกลายมาเป็นเครื่องประดับเงินที่มีความงดงาม  และสูงค่ายิ่ง  ทำให้อำเภอเขวาสินรินทร์เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายว่าเป็น “ หมู่บ้านหัตถกรรมเครื่องเงิน   ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับเงิน  เป็น OTOP สำคัญ  ที่สร้างงาน  สร้างรายได้  และสร้างชื่อเสียงให้กับอำเภอเขวาสินรินทร์    ซึ่งเป็นความพากเพียรของนายสมศักดิ์ มุตะโสภา ในอันที่สร้างสรรค์ศิลปหัตถกรรมให้คงอยู่สืบไปชั่วลูกชั่วหลานได้ถ่ายทอด วิธีการทำเครื่องเงินให้แก่สมาชิกในครอบครัวและคนในหมู่บ้าน  ซึ่งคนที่เคยมาเรียนการทำเครื่องเงินกับนายสวาส  มุตะโสภา ผู้เป็นบิดา  พอเรียนจบจนสามารถทำได้เอง  ก็แยกมาทำกันภายในครอบครัวหรือร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อพัฒนางานประดิษฐ์ เครื่องเงิน  เครื่องทองต่อไป

6. การพัฒนาสร้างสรรค์ ปรับประยุกต์ผลงาน (ถ้ามี)

   6.1 มีการพัฒนาสร้างสรรค์ การปรับประยุกต์ หรือ ต่อยอดงานศิลปหัตถกรรมแขนงนี้ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจาก

        เอกลักษณ์ / ลักษณะ / รูปแบบ ดั้งเดิมอย่างไร    

  • - การต่อยอดศิลปหัตถกรรมเครื่องเงินโบราณ ซึ่งจากเดิมวัสดุจะใช้เป็นทองในการทำ ต่อมาทองมีราคาแพง  ช่างทองจึงหันไปใช้วัสดุที่เป็นเงินแทน  แต่งานทองจะมีความประณีตมากกว่า  และตามความเชื่อโบราณผู้ที่สวมใส่เครื่องเงิน  เครื่องทอง จะป้องกันภัยอันตรายต่างๆ จากภูตผี ปีศาจ ซึ่งเมื่อเด็กแรกเกิดมา  จะนิยมนำผ้าด้ายแดงผู้กับเครื่องเงิน  เครื่องทองให้สวมใส่  หรือบางช่างอาจออกรูปแบบเป็นตตะกรุดและจาร  ต่อมาก็มีการประยุกต์ใช้เป็นเครื่องประดับที่สวมใส่กับชุดผ้าไหมที่เป็นแฟชั่น หรือใส่ทำงานในยุคปัจจุบัน

    6.2 แรงบันดาลใจที่ก่อให้เกิดการพัฒนา การปรับประยุกต์ หรือต่อยอดงานศิลปหัตถกรรมแขนงนี้

- เกิดจากที่มีใจรักในสิ่งที่ทำมาตั้งแต่เด็ก เพราะอยู่ในสายเลือดของช่างเงิน  ช่างทอง  ตั้งแต่รุ่นปู่ จึงทำให้นายสมศักดิ์ 

มุตะโสภา  ได้รู้เห็นและสัมผัสวิถีของครูช่าง  การสืบต่อที่เกิดจากใจรักอย่างแท้จริง  ซึ่งวันนี้นายสมศักดิ์  มุตะโสภายังยึดหลักการของการเป็นช่างเงิน  ช่างทอง เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้สืบต่อไป

7.เกียรติบัตร หรือรางวัลที่เคยได้รับ (ระบุผลงาน / รางวัลที่ได้รับ หรือสร้างชื่อเสียง)

 - ประกาศเกียรติคุณผู้ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมงานการศึกษานอกโรงเรียน

- ประกาศเชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอเขวาสินรินทร์  ในงานเทศกาล “นุ่งผ้าไหม ใส่ประเกือม  เรือมกันตรึม”

- เป็นตัวแทนช่างทองเพื่อถ่ายทอดศิลปกรรมต่างประเทศ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

- ลงประวัติเรื่องราวในสื่อของชุมชนและสื่อหนังสือพิมพ์ สื่อทีวี

8. ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่น หรือผู้เสนอ  (ในกรณีหน่วยงาน หรือบุคคลอื่นเป็นผู้เสนอ)

 นายสมศักดิ์  มุตะโสภา เป็นช่างเงิน  ช่างทอง ที่เป็นทายาทนายสวาส  มุตะโสภา ครูภูมิปัญญาที่มีชื่อเสียงในจังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันได้ถึงแก่กรรมแล้ว  ซึ่งความรู้ต่างๆนายสมศักดิ์  มุตะโสภาได้รับการสืบทอดต่อตั้งแต่เด็กๆ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ จากฝีมือและงานช่างเป็นงานประณีต มีความละเอียดสวยงาม ซึ่งเน้นการทำงานด้วยใจรักมากกว่าทำแบบธุรกิจ  จึงมีผลงานในแต่ละเดือนตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่ง  เป็นช่างที่มีความทุ่มเท เสียสละ ใจรักในสิ่งที่ทำด้วยจรรยาบรรณ ซึ่งผลงานต่างๆเสมือนผู้ปิดทองหลังพระ เพื่อชุมชน สังคมและประเทศชาติ

9. ผู้ติดต่อในกรณีสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ-สกุล...นายเสน  เหลี่ยมดี ...................................................................................................

โทรศัพท์......๐๘๕๓๐๘๒๙๘๔....................... โทรศัพท์มือถือ ...........๐๘๕๓๐๘๒๙๘๔............................................

ID : Line ……senatar………………….  E-mail ……[email protected]………………………………………………………

                   ลงชื่อผู้เสนอ.............................................................

                                                                                  (....นายเสน  เหลี่ยมดี..)

                                                                         วันที่..........๑๙  ธันวาคม  ๒๕๖๐..................

ข้อมูลผู้เสนอ : (ในกรณีหน่วยงาน หรือบุคคลอื่นเป็นผู้เสนอ)

ชื่อ-นามสกุล ........นายเสน  เหลี่ยมดี..................ตำแหน่ง .ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน.....

หน่วยงาน ...ศูนย์ดิจิทัลชุมชน กศน.เขวาสินรินทร์........

ที่อยู่.....ศูนย์การดิจิทัลชุมชน กศน.เขวาสินรินทร์   ตำบลเขวาสินรินทร์  อำเภอเขวาสินรินทร์  จังหวัดสุรินทร์

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปอำเภอเขวาสินรินทร์

ประวัติความเป็นมาอำเภอเขวาสินรินทร์

   อำเภอเขวาสินรินทร์เดิมอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองสุรินทร์ต่อมาสภาตำบลเขวาสินรินทร์

ตำบลปราสาททอง สภาตำบลตากูก สภาตำบลบึงและสภาตำบลบ้านแร่ ได้ประชุมและขอแยกการปกครองออกจากอำเภอเมืองสุรินทร์เพื่อจัดตั้งกิ่งอำเภอและกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์เมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม 2539 เป็นต้นไป ต่อมาได้เป็นเปลี่ยนเป็นอำเภอเขวาสินรินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2550 ท้องที่อำเภอเขวาสินรินทร์เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองสุรินทร์ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ต่อมาในวันที่ 24 สิงหาคม 2550ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอเขวาสินรินทร์ โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน

การปกครองส่วนภูมิภาค


อำเภอเขวาสินรินทร์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล55 หมู่บ้าน ได้แก่

1.

เขวาสินรินทร์

(KhwaoSinrin)

11 หมู่บ้าน

2.

บึง

(Bueng)

11 หมู่บ้าน

3.

ตากูก

(Ta Kuk)

10 หมู่บ้าน

4.

ปราสาททอง

(Prasat thong)

13 หมู่บ้าน

5.

บ้านแร่

(Ban  Rae)

10 หมู่บ้าน

อำเภอเขวาสินรินทร์เป็นสถานที่ท่องเที่ยว แหล่งผลิตหัตถกรรมเครื่องเงินโบราณและผ้าไหมที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุรินทร์ เป็นเมืองเก่าโดยมีขุนสินรินทร์ เป็นเจ้าเมืองคนแรก และชื่ออำเภอเขวาสินรินทร์ใช้ภาษาพูดเป็นภาษาท้องถิ่น คือ ภาษาเขมร ภาษาส่วย

คำขวัญประจำอำเภอ

เขวาสินรินทร์   ดินแดนหัตถกรรม

เลิศล้ำภูมิปัญญา ตระการตาผ้าไหม

ระบือไกลประคำสวย          ร่ำรวยประเพณี

มีปราสาทโบราณ                   สืบสานเพลงกันตรึม

ลักษณะทางกายภาพ

ตำแหน่งที่ตั้ง อำเภอเขวาสินรินทร์ ตั้งอยู่ทางทิศเหนืออำเภอเมืองสุรินทร์ บนถนนสายสุรินทร์-ร้อยเอ็ด ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ 18 กิโลเมตร

สภาพพื้นที่

อำเภอเขวาสินรินทร์มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอต่างๆ ดังนี้

ทิศเหนือ    ติดต่อกับอำเภอจอมพระ

         ทิศใต้          ติดต่อกับอำเภอเมืองสุรินทร์

             ทิศตะวันออก    ติดต่อกับอำเภอศีขรภูมิ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสุรินทร์

คำว่า "เขวา" อ่านว่า ขะ-หวาว เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ลักษณะลำต้นสูงอายุยืน นิยมใช้ทำเครื่องใช้ที่เป็นสิริมงคล เช่น อาสนสงฆ์ พานไม้ ถาดไม้

ส่วนคำว่า "สินรินทร์" เป็นชื่อของ "ขุนสินรินทร์บำรุง" ซึ่งเป็นกำนัน
คนแรกของตำบลเขวาสินรินทร์ จึงได้รวมชื่อเป็น "เขวาสินรินทร์"

ชุมชนโบราณสมัยขอมเรืองอำนาจ ซึ่งทางหลักฐานโบราณคดี สามารถสืบย้อนไปถึง 2,000 ปี และเมื่อมีการตั้งเมืองสุรินทร์แล้ว อำเภอเขวาสินรินทร์ ขึ้นอยู่กับการปกครองของอำเภอเมืองสุรินทร์เรื่อยมา จนกระทั้งวันที่ 15 กรกฎาคม 2539 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่การปกครองเป็น 5 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลเขวาสินรินทร์ ตำบลบึง ตำบลปราสาททอง ต.ตากูก และตำบลบ้านแร่ อำเภอเขวาสินรินทร์ รวมพื้นที่ 191.135 ตร.กม. ตั้งเป็นกิ่งอ.เขวาสินรินทร์ ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งจากกิ่งอำเภอ เป็น อำเภอเขวาสินรินทร์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2550 โดยแบ่งการปกครอง 5ตำบล 55 หมู่บ้าน 4อบต.1 เทศบาล โดยมีนายวันชัย  ศรีวงษ์ญาติดี ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเขวาสินรินทร์ คนปัจจุบัน

ชาวอำเภอเขวาสินรินทร์ยังเป็นชุมชนรุ่นแรกๆ ที่เป็นต้นแบบในการทอผ้าไหมลายเอกลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์ คือ ผ้าโฮล ผ้าอัลปรม ก่อนที่จะนำแพร่หลายไปในชุมชนอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการรวมตัวเป็นเครือข่ายผู้ผลิต โดยมีสมาชิกครอบคลุมทุกหมู่บ้าน เกือบทุกหลังคาเรือน มีผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับในเรื่องความงดงามและคุณภาพ จนได้รับการยกระดับเป็นสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาว สัญลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์ นอกจากช้างกับผ้าไหมแล้ว ปะเกือม หรือปะคำ ของอำเภอเขวาสินรินทร์นับเป็นศิลปหัตถกรรมที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษจากรุ่นต่อรุ่นมาหลายร้อยปี โดยเริ่มจากการจารสลักเสลาลวดลายบนแท่งทองแท่งเงิน จนกลายมาเป็นเครื่องประดับเงินที่มีความงดงาม และสูงค่ายิ่ง ทำให้อำเภอเขวาสินรินทร์เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายว่าเป็น “ หมู่บ้านหัตถกรรมเครื่องเงิน ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับเงิน เป็น OTOP สำคัญ ที่สร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างชื่อเสียงให้กับอำเภอเขวาสินรินทร์ ซึ่งปัจจุบันได้มีการต่อยอดภูมิปัญญาให้ทันสมัย โดยการประยุกต์ร้อยเครื่องประดับเงินผสมลูกปัดหินสี เป็นกำไล เข็มขัด สร้อยคอ ต่างหู ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในขณะนี้ เนื่องจากพื้นที่การทำนามีขนาดกว้างใหญ่ กว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ ทั้งอำเภอ แต่ลักษณะ ของดินยังขาดความอุดมสมบูรณ์ มีปัญหาภัยแล้ง ระบบโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ทั่วถึง การทำนาต้องพึ่งพาน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ประกอบกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำ ตลาดและช่องทางจำหน่ายสินค้า ยังไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร อำเภอเขวาสินรินทร์จึงได้ทำยุทธศาสตร์ในการ พัฒนาเพื่อให้สอดรับนโยบายรัฐบาล สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด และปัญหาความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งสะท้อนจากแผนชุมชน หมู่บ้าน กันและกัน ประกอบกิจกรรมประเพณี วัฒนธรรมทางสังคมร่วมกัน และดำเนินชีวิตตามวิถีชาวบ้าน แบบดั้งเดิม คู่ขนานกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อย่างกลมกลืน โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป

แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญของอำเภอเขวาสินรินทร์

หมู่บ้านหัตถกรรมผ้าไหมและเครื่องเงินเขวาสินรินทร์                                                       

         หมู่บ้านหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ ตั้งอยู่ทางเหนือของตัวเมืองสุรินทร์ ตามทางหลวงหมายเลข 214 (สายสุรินทร์-ร้อยเอ็ด)ประมาณ 14 กิโลเมตร แยกขวามือไปอีก 5 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการทอผ้าไหมพื้นเมืองและการผลิตลูกประคำเงิน ที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน เรียกกันว่า ลูกปะเกือม นำมาทำเป็นเครื่องประดับของสุภาพสตรีที่สวยงาม มีร้านค้าจำหน่ายสินค้าในบริเวณหมู่บ้าน

ผ้าไหมเขวาสินรินทร์และเครื่องเงินโบราณ  เป็นเครื่องประดับของชุมชนที่มีการสืบสานจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนเป็นที่ยอมรับได้ยกระดับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดสุรินทร์  และรู้จักไปทั่วโลก

ชุมชนโบราณบ้านพระปืด

            บ้านพระปืด  หมู่ ๒ ตำบลบ้านแร่  อำเภอเขวาสินรินทร์  จังหวัดสุรินทร์

เป็นหมู่บ้านที่มีลักษณะชุมชนโบราณ  ซึ่งสันนิษฐานว่า  สร้างแล้วร้างไปพร้อมกับเมืองสุรินทร์  ปัจจุบัน  เพราะมีลักษณะบริเวณที่คล้ายกัน  มีกำแพงดิน  และคูน้ำ ๒ ชั้นล้อมรอบ  และมีปราสาท ๒ หลัง  พระปืด (ตามภาษากวยแปลว่า พระองค์ใหญ่   มีสิ่งศักดิ์ที่อยู่คู่บ้านคู่เมือง คือ “หลวงพ่อประปืด” ตั้งอยู่ ณ วัดปราสาทแก้ว ซึ่งชาวบ้านจะให้ความเคารพนับถือ  นอกจากนี้ชาวบ้านใกล้เคียงและต่างจังหวัดต่างก็เดินทางมาสักการะอย่างต่อเนื่อง ชุมชนโบราณบ้านพระปืด  มีการขุดค้นพบวัตถุโบราณอยู่สม่ำเสมอ  ไม่ว่าจะเป็นแก้ว  แหวน  เงินทองที่ชาวบ้านขุดพบ  และโครงกระดูกมนุษย์ซึ่งฝังอยู่ในหม้อดิน เป็นจำนวนมาก  สร้างความฮือฮาแก่ผู้มาเที่ยวชม  เมื่อประมาณเดือนเมษายน  ๒๕๔๖ กศน.อำเภอเขวาสินรินทร์ได้นำภาพที่ชาวบ้านขุดพบ  พร้อมประมวลภาพต่างๆให้กับผู้ที่เดินทางไปชมอีกด้วย

แหล่งเรียนรู้เครื่องประดับทองเหลืองบ้านนาตัง

 เป็นหมู่บ้านที่ดำเนินวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม มีวัฒนธรรมการแต่งกายที่ผู้หญิงนุ่งผ้าไหม ใส่เครื่องเงิน มีการละเล่นเพลงกันตรึมโบราณ  เป็นหมู่บ้านที่มีภูมิปัญญาการทำผ้าไหมมัดหมี่โฮลมีชื่อเสียงมาช้านาน โดยเฉพาะเป็นแหล่งรับย้อมสีคราม ซึ่งเป็นสีธรรมชาติ ไม่มีที่ใดสามารถย้อมไหมได้ และนอกจากนี้ยังเป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับทองเหลืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดสุรินทร์ ส่งจำหน่ายทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านเช่นลาว กัมพูชา และพม่า  เป็นต้น

 ศาสนา  ประเพณีและวัฒนธรรมและสิ่งที่โดนเด่นในชุมชน

           ๑.   วัฒนธรรมที่โดดเด่นในชุมชน  คือ วัฒนธรรมทางภาษา  เช่น  ชุมชนส่วนใหญ่ใช้ภาษาท้องถิ่นในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน   เช่น  ชุมชนชาวเขมร  ใช้ภาษาเขมร และชุมชนชาวกูย  ใช้ภาษากูย

           ๒.   สิ่งที่โดดเด่นในชุมชน  คือ    เครื่องเงิน  และ ผ้าไหม

           ๓.     ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

         

 ๔. วัฒนธรรมและประเพณีที่โดดเด่นในชุมชนที่ปฏิบัติสืบกันมายาวนานทั้ง  ๑๒  เดือนที่สำคัญคือ  ทำบุญตักบาตรขึ้นปีใหม่  แซนโฎนตา  สงกรานต์  เข้าพรรษา  ออกพรรษา  บุญกฐิน  ลอยกระทง  ฯลฯ

‘งานเทศกาลประจำปีของอำเภอเขวาสินรินทร์ เทศกาล “นุ่งผ้าไหม ใส่ประเกือม เรือมกันตรึม” จัดขึ้นทุกปี

ตอนที่ ๒ 
ประวัติและผลงานของนายสมศักดิ์  มุตะโสภา

ผู้มีผลงานด้านหัตถกรรมช่างเครื่องเงิน เครื่องทอง

                     นายสมศักดิ์  มุตะโสภา  คลุกคลีอยู่กับการศิลปะการทำเครื่องประดับมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๒๐ เพราะสนใจอยากเป็นช่างเหมือนกับบิดา  จากนั้นเริ่มเรียนรู้ และได้รับการถ่ายทอดจากบิดาคือนายสวาส  มุตะโสภา ผู้เป็นช่างเครื่องเงิน เครื่องทองที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น โดยเฉพาะเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขา ทัศน์ศิลป์ (เครื่องเงิน)  จึงเป็นแรงบันดาลใจให้นายสมศักดิ์  มุตะโสภา เรียนจบและกลับมาสานต่ออาชีพจากบรรพบุรุษ  มีความมานะอดทน  ไม่ย่อท้อ  ต่อมาภายหลังผลงานเครื่องประดับเงินและทองที่เป็นฝีมือของนายสมศักดิ์   ได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วในเรื่องความสวยงาม  ประณีต ละเอียด  การวางรูปแบบสลับลายได้อย่างเหมาะสม สวยงามโดยเฉพาะรูปแบบลวดลายแบบดั้งเดิมอันบ่งบอกศิลปะนิยมแบบโบราณที่ได้อนุรักษ์ไว้อย่างสง่างามและทรงคุณค่าจากความสามารถที่โดดเด่นเฉพาะตัว  ทำให้สื่อมวลชนทั้งวิทยุ  โทรทัศน์  นิตยสาร รวมทั้งสื่อออนไลน์ลงข่าวไปทั่วโลก  ทำให้ชื่อเสียงของนายสมศักดิ์  มุตะโสภา รู้จักในวงกว้าง  นับเป็นผู้ที่สร้างผลงานปรากฏต่อสาธารณชนเป็นอย่างมาก และเป็นที่ยอมรับของสังคมทั่วไป

ปี พ.ศ.๒๕๒๐ -๒๕๒๒  เป็นยุคที่นายสมศักดิ์  มุตะโสภาเข้าสู่การเป็นช่างอย่างเต็มตัว  ที่ได้รับการฝึกฝนจากผู้เป็นบิดา   เป็นยุคสมัยที่งานฝีมือประเภทนี้ตกต่ำ  แต่นายสมศักดิ์ได้ตั้งปณิธานไว้ว่าจะพยายามประดิษฐ์เครื่องเงินและเครื่องทองเพื่อพัฒนาฝีมือให้ดีขึ้นเรื่อยๆ   จะได้ถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์เพื่อการอนุรักษ์และสืบทอดในโอกาสต่อไป    หลังจากปี พ.ศ.๒๕๒๒  งานอาชีพเกี่ยวกับการผลิตเครื่องเงิน  เครื่องทองได้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง  ทำให้ประชาชนมีงานทำ ไม่ต้องอพยพแรงงานไปต่างจังหวัด จึงทำให้คนในหมู่บ้านสดอมีฐานะดีขึ้น จนเรียกกันติดปากว่า เป็น “หมู่บ้านเครื่องประดับเงินและทอง”

                    นายสมศักดิ์  มุตะโสภา  ได้ศึกษาถึงรูปแบบการทำเครื่องเงิน  ซึ่งชาวบ้านแถบบริเวณจังหวัดสุรินทร์  และใกล้เคียงเรียกว่า “ประเกือม”  สืบทอดมาจากบรรพบุรุษและได้พัฒนาฝีมือจนเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป  ในภายหลังได้คิดสังสรรค์งานให้มีรูปลักษณ์ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของช่างเมืองสุรินทร์ที่มีความแตกต่างจากเครื่องเงินทางภาคอื่นๆ ในด้านของความประณีต  ความละเอียดของลวดลายจนปรากฏเห็นความงดงาม  และคงคุณค่าของศิลปะนิยมแบบชาวอีสานใต้อย่างโดดเด่นไม่ซ้ำแบบใคร  ทำให้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย  เมื่อกล่าวถึงเครื่องเงินเมืองสุรินทร์  หลายคนรู้จักอำเภอเขวาสินรินทร์ 

ผลงานที่นายสมศักดิ์  มุตะโสภาได้ทำขึ้นในชุมชน

๑.ประเกือม (ประคำ) เม็ดเงินและเม็ดทอง

๒.เข็มขัด เงินและทอง

๓.ตะเกา (ต่างหู)

๔.กำไลข้อมือ และกำไลข้อเท้า

  ๕.กระจอน

  ๖.กะเดาะ
  ๗.จาร

  ๘.สร้อยคอ

  ๙.ปิ่นปักผม

 ๑๐.แหวน 

  ฯลฯ

ผลงานดีเด่น

๑.การถ่ายทอดความรู้แก่เยาวชน  ในด้านกรรมวิธีการผลิต  ขั้นตอนการผลิต  และอื่นๆทำให้เยาวชนมีงานทำและช่วยส่งเสริมรายได้ให้ครอบครัว

๒.ให้ความร่วมมือกับสถาบันของรัฐและเอกชนในการสาธิตการทำเครื่องเงิน  เครื่องทองในโอกาสต่างๆ เพื่อเผยแพร่ผลงานให้ประชาชนได้รับความรู้และได้ชมอย่างใกล้ชิด

๓.สื่อมวลชนให้ความสนใจ และได้เขียนบทความยกย่องชมเชยความรู้ ความสามารถ ทั้งทางวิทยุ  โทรทัศน์  และนิตยสาร  สื่อออนไลน์ ทำให้ชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่น่าสนใจและยอมรับในฝีมือที่คิดประดิษฐ์ชิ้นงานอย่างเป็นรูปธรรม

๔.เคยนำผลงานออกแสดงและร่วมประชุม สัมมนาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ การทำเครื่องเงิน เครื่องทอง ดังนี้

 - ประชุมสัมมนา “ช่างสิบหมู่” ที่กระทรวงอุตสาหกรรม กรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ.๒๕๓๒

- สาธิตและแสดงผลงาน ณ สวนอัมพร  กรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ.๒๕๒๘ ,๒๕๒๙,๒๕๓๐,๒๕๓๔

- สาธิตและแสดงผลงาน ณ กองส่งเสริมอุตสาหกรรมกรุงเทพมหานคร  ปี ๒๕๓๑,๒๕๓๒,๒๕๓๔

- สาธิตและแสดงผลงาน ณ ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้  กรุงเทพมหานคร  ปี พ.ศ.๒๕๓๒,๒๕๓๓

-สาธิตและแสดงผลงาน ณ บึงแก่นนคร  จังหวัดขอนแก่น  ปี พ.ศ.๒๕๓๖

- ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี พ.ศ.๒๕๓๔

- ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา 

- สาธิตและแสดงผลงาน งานมหกรรมสินค้าชุมชน ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ผลงานและประกาศเกียรติคุณ

         - ประกาศเกียรติคุณผู้ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมงานการศึกษานอกโรงเรียน

- ประกาศเชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอเขวาสินรินทร์  ในงานเทศกาล “นุ่งผ้าไหม ใส่ประเกือม  เรือมกันตรึม”

- เป็นตัวแทนช่างทองเพื่อถ่ายทอดศิลปกรรมต่างประเทศ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

- ลงประวัติเรื่องราวในสื่อของชุมชนและสื่อหนังสือพิมพ์ สื่อทีวี

             ประวัติการเรียนรู้และการทำงานด้านภูมิปัญญามีการสืบทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญของครูครูภูมิปัญญาเชี่ยวชาญงานประดับเงิน ประดับทอง ลายโบราณ งานศิลปะขอม โดยมีงานหลัก 2 อย่าง คือ

1 ปะเกือม (ประคำ) เป็นงานแผ่น

1.1 โดยการหลอม เทรางตามขนาดแล้วตีแผ่จนได้เท่าขนาด นำมารีดให้บางจนได้ขนาดแล้ววัด ตัดตามขนาด เอาไปม้วนด้วยไม้ไผ่ แล้วเชื่อมประสานเอาไปตีขึ้นรูป อัดชัน แล้วกดลาย ถ้าเป็นงานโบราณจะมีลายกลีบบัว ลายดอกจันทร์ บัวคว่ำ บัวหงาย ในปัจจุบันจะกดลายตามจินตนาการของช่างและผู้สั่งทำ

1.2 รีดเป็นแผ่น ตัดตามแบบแล้วเอามาพับตามแบบหรือม้วนตามแบบเชื่อมติดอัดชัน แล้วกดลาย เช่น แมงดา กรวย ไข่แมงมุม หมอนสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม2 ตะเกา เป็นงานลวดโดยการรีดเงินเป็นเส้น แล้วเอามาดึงด้วยแป้น ให้ได้ขนาดที่ต้องการ นำมาดัดโดยใช้ไม้ดัด ไม้ดัดจะทำเอง แต่ละลายไม่เหมือนกัน โดยการหักไปหักมา จนได้จำนวนที่ต้องการแล้วตัดเอาลายมาเชื่อมติดกัน บีบปลาย ทำเป็นกลีบดอกมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของดอกฐานดอกรีดแผ่นเงินให้ใหญ่เท่าขนาดของดอกและมีความบางพอดี ใช้เหล็กตัดตู่ ตอกให้ได้แผ่นเงินวงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าขนาดของดอกเล็กน้อย เพื่อให้กลีบดอกยื่นออกมาแล้วเชื่อมต่อกับลวดที่ดัดเป็นดอกแล้วเป็นฐานล่าง ใช้แผ่นเงินวงกลมขนาดเท่าเดิมนำไปโอ ด้วยหลุมโอ ที่ทำจากเขาควาย จะได้แผ่นวงกลม นูนเชื่อมติดเป็นฐานบน ใช้ลวดขนาดเล็กปั่นเป็นเกลียว การปั่นให้ปั่นไปทางซ้าย 1 เส้นและขวา 1 เส้น ม้วนลวดปั่นให้มีขนาดศูนย์กลางเท่ากับขอบฐานบนแล้วเชื่อมติด ม้วนอีกเส้นที่สลับกันให้มีเส้นผ่านศูนย์กลางชิดกับขอบในของเส้นแรก แล้วเชื่อมติดที่นิยมกันก็คือ 3 เส้น เช่นปั่นไปทางขวา + ปั่นซ้าย ปั่นขวา ขั้นต่อไปการใส่ดอกพริกการทำดอกพริกใช้เส้นลวดขนาดเล็กที่สุด พันรอบลวดทองเหลืองขนาดเล็ก โดยพันให้ชิด เมื่อพันให้ได้ความยาวพอสมควรแล้ว ตัดนำไปเผาให้ลวดที่พันนั้นอ่อนตัว นำมาพันกับลวดทองเหลือที่มีขนาดใหญ่ขึ้นขนาดของทองเหลืองขึ้นอยู่กับขนาดของดอก แล้วตัดจะเป็นวงๆบีบให้รอยตัดชิดกัน นำไปเชื่อมติดรอบวงลวดปั่นด้านใน มองดูจะคล้ายเกสรของดอก ใช้ลวดที่มีขนาดใหญ่กว่าลวดที่ทำลวดปั่น ม้วนให้ได้ขนาดติดขอบในของดอกพริก แล้วเชื่อมติดเป็นลวดกั้นก้นหอยการทำก้นหอยการทำก้นหอยใช้ลวดที่มีขนาดใหญ่กว่าลวดที่ใช้ ทำดอกพริก 1-2 เบอร์ การทำเหมือนการทำดอกพริก แต่ใช้ลวดทองเหลืองที่มีขนาดใหญ่กว่า ตัดแล้วบีบรอยตัดให้ชิดกันเชื่อมต่อกับลวดขึ้น แล้วม้วนลวดขึ้นเชื่อมต่อ แล้วก็เชื่อมลวดต่อก้นหอยเป็นขั้นๆไป จะกี่ชั้นแล้วแต่ขนาดของดอกการทำไข่ปลาตะเกา ถ้าแบ่งออกตามลักษณะไข่ปลา แบ่งได้ 2 ประเภท คือ ไข่ปลากลม และไข่ปลาแบนการทำไข่ปลาใช้ลวดขนาดเล็กพันรอบลวดทองเหลือง ขนาดที่ต้องการแล้วตัดลวดเป็นวง ใช้ไฟเป่าให้หลอมเป็นลูกกลม ไม้ที่รองทำไข่ปลาจะเอาไม้ไผ่มาบากให้เรียบแล้วเป่าด้วยไฟ ให้ข้างบนที่เรียบไหม้เป็นเหมือนถ่าน แล้ววางลวดเงินที่เป็นวง เป่าให้หลอมบนนั้น คุณสมบัติของไม้ไผ่จะมีใยยึดเม็ดเงินกลมไม่ให้วิ่งไปติดกัน เวลาหลอมเป็นลูกกลม เมื่อได้ไข่ปลาแล้วนำไปใส่ด้านบนของดอกพริก และกลีบดอกที่ยื่นออกมาด้านข้าง แล้วเชื่อมติดก็เสร็จเป็นรูปดอกไข่ปลากระแบนถ้าเป็นสามเหลี่ยมให้ตัดจากแผ่นเงิน ถ้าแบนกลมให้ตีจากไข่ปลากลมแล้วเอาไปวางเชื่อมเหมือนกัน เมื่อเสร็จเป็นดอกแล้วก็ต่อเป็นชิ้นงาน แล้วแต่จะออกแบบ

การสร้างนวัตกรรมใหม่ / การต่อยอดภูมิปัญญาการต่อยอดภูมิปัญญา

สอนลูกหลานและศิษย์ที่มีความสนใจ ให้สามารถนำไปประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน และสามารถถ่ายทอดให้รุ่นต่อๆไปได้

กระบวนการและวิธีถ่ายทอดองค์ความรู้

1. กระบวนการหลักการแนวคิดถ่ายทอดถ่ายทอดตามความสามารถของผู้ที่มาเรียน ว่าจะรับได้มากน้อยเพียงไร ถ้ามีความตั้งใจ มีความอดทนพอจะสอนให้หมดเวลาที่จะมาเรียนมีมากขนาดไหน ก็จะถ่ายทอดตามความเหมาะสมกับเวลาขั้นตอนการถ่ายทอดจะถ่ายทอดตั้งแต่การทำเครื่องมือใช้เอง เพื่อให้ตรงกับความถนัดของแต่ละคน สอนตั้งแต่การเตรียมอุปกรณ์ ทำตามขั้นตอนตั้งแต่ขั้นตอนแรก จนออกมาเป็นชิ้นงานแล้วให้ทำตามแต่ละขั้นตอน เมื่อเข้าใจขั้นตอนดีแล้ว ก็ให้ทดลองทำเอง โดยจะคอยแนะนำข้อบกพร่องให้ทำซ้ำๆจนมีความชำนาญแล้วจึงให้เปลี่ยนไปทำแบบใหม่ ลายใหม่ ถ้ามีเวลาพอก็จะสอนให้ทุกแบบ ทุกลาย เพื่อจะได้รู้ว่าคนไหนถนัดแบบไหน ทำลายไหสวย จนเขามีความชำนาญแล้วก็จะปล่อยให้เขาทำเองถ้าเป็นหลักสูตรระยะสั้น จะเลือกว่างานอะไรที่เหมาะกับระยะเวลาในการเรียน การสอน เมื่อจบหลักสูตร ใครที่ต้องการเรียนเพิ่มเติม สามารถมาเรียนที่บ้านของครูต่อได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆรูปแบบการถ่ายทอด1 ถ่ายทอดตามหลักสูตร ถ่านทอดตามระยะเวลาที่กำหนด เนื้อหาตามหลักสูตร

2 ถ่ายทอดด้วยการมาทำงานด้วยกัน มาหัดโดยตรงจากครู หรือเรียนตามหลักสูตรจบแล้วเห็นว่ามีความตั้งใจ มีพรสวรรค์พอที่จะทำงานด้วยกันได้ก็ให้มาทำ หรือเอางานของตัวเองมาทำที่บ้านของครู จะได้ฝึกฝนความชำนาญ และข้อชี้แนะและข้อบกพร่องต่างๆ ตรงนี้จะได้มากกว่าเรียนตามหลักสูตร เพราะได้เรียนรู้ทุกอย่าง แม้เกร็ดเล็กๆน้อยๆที่ไม่มีในหลักสูตร2 วิธีการถ่ายทอด- บรรยาย โดยบรรยายขั้นตอนการทำอย่างละเอียดและข้อห้ามสิ่งที่ต้องระวังเวลาปฏิบัติจริง- สาธิต โดยสาธิตให้ดูทุกขั้นตอนจนมีความเข้าใจดีแล้ว- ทดลอง ให้นักเรียนทดลองปฏิบัติทุกขั้นตอน- ปฏิบัติจริง เมื่อให้นักเรียนปฏิบัติจนแน่ใจแล้วว่าจะทำได้ จะให้ทำด้วยตัวเอง โดยห้ามทำลัดขั้นตอนโดยเด็ดขาด

เครื่องมือที่ใช้ผลิตเครื่องเงิน  เครื่องทอง

1.  เบ้าหลอม เป็นเครื่องมือที่สร้างขึ้นจากภูมิปัญญาชาวบ้านโดยทำมาจากขี้เถ้าขึ้นเป็น รูปทรงกระบอกตัน ด้านบนมีเบ้าเหมือนกระทะใช้เป็นที่ในการหลอมเงินให้ละลาย

2.  เครื่องเป่าไฟ  เดิมใช้เครื่องถลุง  ปัจจุบันใช้เครื่องที่ประกอบขึ้นเอง  โดยดัดแปลงจากเพื่อใช้สำหรับเป่าไฟให้เงินหลอมละลาย  หรือให้เงินอ่อนเพื่อสะดวกในการขึ้นรูป

3.  รางเท  เป็นพิมพ์เหล็กรูปทรงสี่เหลี่ยม  ด้านบนเจาะเป็นช่องพิมพ์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  4  ช่อง  ใช้สำหรับเทเงินที่ผ่านการหลอมแล้วเข้ารางพิมพ์  เมื่อเงินเย็นแล้วจะได้รูปเงินเป็นแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามขนาดของแท่ง พิมพ์  เพื่อให้เกิดความสะดวกในการนำเข้าเครื่องรีด

4.  เครื่องรีดเงิน   เป็นเครื่องมือที่ใช้รีดเงินให้เป็นเส้นและเป็นแผ่นตามขนาดที่ต้องการ  เพื่อนำไปจัดทำเป็นองค์ประกอบในการขึ้นรูปเครื่องประดับเงิน

5.  แป้นดึงลวด  เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการดึงลวดให้เป็นเส้นตามขนาดที่ต้องการ  เพื่อนำไปใช้เป็นองค์ประกอบในการขึ้นรูปเครื่องประดับเงินเช่นกัน

6.  เขาควาย   เป็นเครื่องมือนำมาจากส่วนปลายแหลมของเขาควายจริงๆ สาเหตุที่ใช้เขาควายเพราะผิวเรียบลื่น  และมีความคงทนถาวร  ไม่แตกหักง่าย  เป็นเครื่องมือภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่นำมาใช้ในการดัดขนาดเงินให้เป็น รูปวงกลม

7.  ไม้ละบะ  หรือไม้ม้วนลวดเงิน  เป็นไม้ที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง  ตัวไม้ใช้หวายทำ  ด้านบนจะมีแท่นเหล็กเล็กๆ  ฝังอยู่เป็นระยะๆ โดยมีช่องไฟที่เหมาะสม  เหล็กที่ฝังอยู่นี้ใช้ประโยชน์ในการดัดลวดให้เป้นกลีบดอกสำหรับนำไปขึ้นรูป

8.  ท่อนไม้สำหรับรองดอก  เป็นท่อนไม้เนื้อแข็งที่ผ่านการเผาไฟมาแล้ว  เพื่อมิให้เกิดการเผาไหม้มีควันในขณะใช้เป็นฐานในการนำเงินมาเป่าไฟเพื่อดัด และขัดรูปทรงต่างๆ

9.  เลาไม้ไผ่  เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับพันเส้นลวดเงินให้เป็นเกลียวมีขนาดใหญ่

10.  เส้นลวดทองเหลือง  เป็นเครื่องมือที่ใช้ในสำหรับพันเส้นลวดเงินให้เป็นเกลียวเช่นกัน  แต่ใช้ในกรณีต้องการเกลียวเล็ก

11.  แหนบ  เป็นเครื่องมือที่หาซื้อได้ตามท้องตลาด  ที่ช่างนำมาใช้ประโยชน์ในการจับดัดตกแต่งรูปทรงเงินชิ้นเล็กๆ  ให้เป็นไปตามรูปร่างลักษณะที่ต้องการ

12.  คีมปากกลม  ปากแหลม  ปากนกแก้ว  ใช้สำหรับการจับดัดตกแต่งรูปทรงงานชิ้นใหญ่ๆ

13.  กรรไกร  ใช้เป็นเครื่องมือในการตัดเส้นเงิน

14.  ตุ๊ดตู่  ใช้เป็นเครื่องมือในการตัดแผ่นเงินให้เป็นแผ่นกลม

15.  ค้อน ใช้เป็นเครื่องมือในการตีเส้นลวดเงินตกแต่งให้ได้รูปทรง

16.  สว่านไฟฟ้า  ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการพันเส้นลวดเงินให้เป็นเกลียวขนาดเล็กๆ

17.  แปรงขัดเงิน ใช้เป็นเครื่องมือในการทำความสะอาดขัดเครื่องเงินให้สะอาดและมันวาว

วัสดุที่ใช้ในการผลิต

1.  เม็ดเงิน  ดิบ  1  กิโลกรัม  สามารถนำไปทำเข็มขัดได้  3  เส้นโดยทำดอกประกอบเข็มขัดได้ประมาณ  100  ดอก

2.  น้ำประสานเงิน  ใช้เป็นตัวประสานเงินให้ติดกัน  เป็นการผสมกันระหว่างเครื่องเงิน  ทองแดง  ผงบอเเร็กซ์และน้ำ

3.  น้ำกรดผสมน้ำเปล่าใช้สำหรับการฟอกและกัดเครื่องประดับเงินตะเกาให้มีสีขาว

4.  น้ำแช่ลูกปะคำดีควายหรือแช่น้ำยาล้างจาน ใช้สำหรับขัดทำความสะอาดเครื่องประดับเงินตะเกาให้มันวาว

สื่อทีวีสัมภาษณ์นายสมศักดิ์  มุตะโสภา

#เครื่องประดับทองโบราณพันปีไม่มีตกยุคสู่ทายาทผู้สืบสานงานหัตถศิลป์ชุมชน

นายสมศักดิ์ มุตะโสภา อายุ 63 ปี อาศัยอยู่ บ้านเลขที่ 22 หมู่ 6 ต.เขวาสินรินทร์ อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ ช่างทองผู้รังสรรค์ศิลปหัตถกรรมฝีมือชั้นครูกับตะเกาลายรังฮอโบราณต่างๆด้วยฝีมือประณีต ละเอียดสวยงาม จากการสืบต่อบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่นในชุมชน 

นายสมศักดิ์ มุตะโสภา เปิดเผยว่า "ตนนั้นเรียนเป็นช่างเงิน ช่างทองตั้งแต่เป็นเด็ก โดยการสืบทอดจากบิดา หรือคนทั่วไปรู้จักในนาม "ลุงสวาสเครื่องเงิน" เป็นช่างผู้มีชื่อเสียงระดับประเทศ ซึ่งพ่อได้เรียนรู้จากปู่ซึ่งเป็นช่างรุ่นแรกๆในชุมชน ที่บรรพบุรุษเป็นชาวเขมรได้ถ่ายทอดวิชาช่างทองโบราณให้สืบต่อจนถึงทุกวันนี้   ส่วนเครื่องประดับที่ทำนั้นจะทำเป็น ตะเกา” ภาษาเขมร ใช้เรียก“ตุ้มหู” เป็นการขึ้นรูปด้วยการดัดเส้นลวดเงินไปมาในระยะความห่างที่เท่าๆกันจนได้รูปทรงที่ต้องการ และนำมาเชื่อมต่อซ้อนกันตามขนาดต่างๆ เป็นขั้นบันไดจากนั้นประดับด้วยเม็ดไข่ปลา  เป็นงานที่พิถีพิถันละเอียดเป็นที่สุด ประณีตและใช้ความอดทนสูง ตามโบราณใช้เทคนิคการลนไฟให้เส้นเงินหลอมละลายจนขมวดตัวเป็นเม็ดกลมๆบนรางไม้ไผ่เรียกว่า “ไข่ปลา” ที่อาศัยผิวที่แตกร้าวของไม้ไผ่นั้นเป็นแผงยึดเกาะไม่ให้เม็ดเงินเล็กจิ๋วลื่นไหลหรือปลิวไป  และเทคนิคดั้งเดิมอีกอย่างก็คือ  การใช้ลูกเบง (ผลในฝักของไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง )  มาฝนกับน้ำ สำหรับเป็นตัวเกาะยึดไข่ปลาและชิ้นส่วนขนาดเล็กอื่นๆ ติดตัวชิ้นงานได้โดยง่าย โดยลวดลายตะเกาที่โดดเด่นเป็นที่รู้จักและสร้างชื่อแก่เครื่องเงินสุรินทร์ เช่น ตะเกาดอกรังฮอโบราณ ตะเกาดอกระเวียง ตะเกาดอกตั้งโอ๋  ตะเกาไข่แมงดา  ฯลฯ ซึ่งวัสดุสมัยก่อนจะใช้ทอง  ปัจจุบันทองมีราคาแพงจึงเปลี่ยนเป็นเงินแทน  ส่วนงานทองตนจะรับออเดอร์จากลูกค้าที่มาสั่งทำเป็นพิเศษ สนนราคาถ้าเป็นแหวนทอง 1 วง คิดค่าแรง  4,500 บาท ส่วนสร้อยจะคิดค่าแรงประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาท ส่วนวัสดุทองนั้นลูกค้าหามาเอง  โดยถ้าเป็นสร้อยก็จะตกราวประมาณทอง 3 บาทส่วนถ้าเหลือก็อาจจะทำเป็นแหวนหรือตุ้มหูได้   ซึ่งตนจะทำเองไม่ได้มีลูกน้อง ต่อเดือนจะได้ประมาณ  2-3 ชิ้น เพราะอาศัยความสวยงามและงานประณีต”

นายสมศักดิ์ ได้กล่าวต่อไปอีกว่า “ปัจจุบันตนเองได้อาศัยวิชาช่างในการผลิตชิ้นงานเป็นเครื่องเงิน เครื่องทองโบราณ รู้สึกภูมิใจที่ได้สืบสานการทำเครื่องเงิน เครื่องทองจากบรรพบุรุษ มีลูกค้าที่สนใจในการสั่งเครื่องประดับจากทองเป็นจำนวนมาก เพราะชิ้นงานที่ตนได้ทำนั้น มีความละเอียด ประณีต  และตามความเชื่อโบราณผู้ที่สวมใส่เครื่องเงิน  เครื่องทอง จะป้องกันภัยอันตรายต่างๆ จากภูตผี ปีศาจ ซึ่งเมื่อเด็กแรกเกิดมา  จะนิยมนำผ้าด้ายแดงผู้กับเครื่องเงิน  เครื่องทองให้สวมใส่  หรือบางช่างอาจออกรูปแบบเป็นตะกรุดและจาร  ต่อมาก็มีการประยุกต์ใช้เป็นเครื่องประดับที่สวมใส่กับชุดผ้าไหมที่เป็นแฟชั่น หรือใส่ทำงานในยุคปัจจุบัน  การต่อยอดศิลปหัตถกรรมเครื่องเงินโบราณ ซึ่งจากเดิมวัสดุจะใช้เป็นทองในการทำ ต่อมาทองมีราคาแพง  ช่างทองจึงหันไปใช้วัสดุที่เป็นเงินแทน  แต่งานทองจะมีความประณีตมากกว่าซึ่งหากท่านใดสนใจสามารถสั่งทำเครื่องประดับโบราณที่ใช้วัสดุเป็นทอง หรือเงิน ได้ที่ เบอร์ 086-2443288 คุณสมศักดิ์ มุตะโสภา บ้านสดอ ต.เขวาสินรินทร์ อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์"

หมายเลขบันทึก: 675928เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2020 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2020 11:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท