การจัดการศึกษาที่พ่ายแพ้


การจัดการศึกษาที่พ่ายแพ้ การจัดการศึกษาที่ผ่านการปฏูิรูปหลายครั้งเพื่อหวังว่าจะเห็นการศึกษาของคนในชาติยกระดับความเป็นชาติไทยให้เท่าทันอารยประเทศ เพราะเราเชื่อว่าการศึกษาเท่านั้นที่จะนำพาการพัฒนาทุกๆด้านในสังคมของความเป็นชาติไทยให้เจริญยิ่งขึี้น เชื่อว่าการศึกษาเท่านั้นที่จะทำให้คนพัฒนา ซึ่งทำให้มองย้อนกลับไปในการจัดการศึกษาไทยที่ผ่านมา จะเห็นอยู่ว่าเน้นการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง เน้นการสร้างคนให้มีอำนาจ จนคนในโครงสร้างมีอำนาจกันทุกคนจนไม่รู้ว่าสุดท้ายใครทำอะไรได้บ้าง มีหลายชุดความคิดของนักจัดการศึกษาที่มองว่าการจัดการศึกษาที่ล้มเหลวและพ่ายแพ้ต่อวันเวลา ต่อพัฒนาการของโลก ไม่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของสังคมเกิดจากอะไร ผู้เขียนในฐานะคนนำนโยบายสู่การปฏิบัติการจัดการศึกษาเห็นว่าไทยล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงเราโหยหาไทยแลนด์ 4.0 เราโดยหาวิวัฒนาการของนวัตกรรมแห่งบุคคล เราโดยหารูปแบบการพัฒนาที่ดี คำตอบในเชิงสังคมปัจจุบันเหมือนเรากำลังถอยหลังลงคลองและตะลิ่งกำลังจะพังเพราะคลื่นสังคมถาโถมเข้าใส่และทับถมความสำเร็จที่เราโหยหา ผลผลิตของการจัดการศึกษาไม่สามารถตอบโจทย์แห่งอนาคตได้เด็กเยาชนครึ่งหนึ่งของผู้สำเร็จการศึกษาไมาสามารถประกอบอาชีพตามที่ตนร่ำเรียนมา น่ันเป็นเพราะการศึกษาไม่ได้เตรียมคนสู่อาชีพอย่างแท้จริง คนเข้าสู่การทำงานช้าลงเพราะระบบการศึกษาเน้นการสร้างองค์ความรู้มากว่าทักษะการปฏิบัติ การสร้างเจตคติที่ดีต่ออาชีพต่อการสร้างรายได้ของตนเองช้ากว่าที่ควรจะเป็น บทเรียนของความสำเร็จที่เราเห็นกันทั่วไปของมหาเศรษฐีในเมืองไทยคือการทำงานตั้งแต่อายุยังน้อย เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของการประกอบอาชีพ เรียนรู้วิธีการพัฒนาการของอาชีพที่ตนเองทำ ทำงานได้อย่างหลากหลายทั้งที่ไม่มีปริญญารับรองความเก่ง โจทย์นี้จึงมีมุมมองหนึ่งได้ว่าการเรียนรู้การประกอบอาชีพเข้าสู่อาชีพเร็วเท่าไรความาำเร็จยิ่งเร็วขึ้นเท่านั้น ความพ่ายแพ้ของการจัดการศึกษาดูจากผลลิต และผลกระทบที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันเด็กเยาวชนวัยทำงานกลับไม่ทำงาน ไม่เกิดการเรียนรู้ ไม่ต่อยอดความสำเร็จมรดกที่เป็นองค์ความรู้ในครอบครัว ไม่เรียนรู้วิธีการทำมาหากินอย่างหลากหลาย เล่านี้ล้วนส่งผลกระทบระยะยาวที่เกิดขึ้นในสังคมเมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดภาวะวิกฤติทางสังคมเช่นภาระการระบาดของโรคโควิด 19 ในปัจจุบันเราจะยิ่งมองเห็นความล้มเหลวทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นภาวะทางเจตคติที่ไม่ดีทำให้คนฆ่าตัวตายเพราะทนรับแรงกดดันไม่ได้ ภาวะขาดจริยะที่ดีต่อสังคมของคนในสังคมทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติ ดังนั้นการจัดการศึกษาที่แท้จริงจึงควรเป็นการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมคนเพื่อการประกอบอาชีพที่เร็วขึ้นและสร้างจริยธรรมทางสังคมอย่างจริงจัง

หมายเลขบันทึก: 677307เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2020 09:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2020 09:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท