เด็กทีมีความต้องการจำเป็นพิเศษกับการจัดการศึกษาที่ย้อนแย้ง1


        เด็กทีมีความต้องการจำเป็นพิเศษกับการจัดการศึกษาที่ย้อนแย้ง1
      การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษเป็นการจัดการศึกษาที่คำนึงถึงสิทธิ โอกาส ความเสมอภาคทางการศึกษาของผู้พิการตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการมี ๙ ประเภท ทางการแพทย์มี ๕ ประเภทแต่สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันประเทศไทยถือว่าเป็นจัดการศึกษาที่คลอบคลุมเด็กทุกประเภทเด็กทุกคนต้องได้เรียนเต็มตามศักยภาพของความเป็นปัจเจกบุคคล ได้รับสิทธิตามที่กฏหมายกำหนด
     การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ปัจจุบันเป็นการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เพื่อไม่ให้เกิดการแปลกแยกระหว่างเด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผ่านแผนการจัดการศึกษาฉเพาะบุคคล(IEP)และแผนการจัดการเรียนรู้ฉเพาะบุคคล(IIP) ในการคัดกรองเด็ก ครูที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการคัดกรองผู้พิการทางการศึกษา ของ สพฐ เท่านั้นที่จะมีสิทธิในการคัดกรอง การคัดกรองเป็นเพียงประโยชน์ในการจัดการศึกษาเบื้องต้น การวินิจฉัยความพิการต้องเป็นหมอผู้เชี่ยวชาญเป็นตัดสินความพิการอีกครั้งหนึ่งเพราะผู้พิการหรือเด็กที่มีความจำเป็นพิเศษบางประเภท เช่นกลุ่มมีปัญหาทางพฤติกรรมอารมย์ เด็ก LD พิการซ้ำซ้อน ออทิสติก เป็นต้น อาจต้องมีการใช้ยาในการบำบัดร่วมด้วย ในการคัดกรองและการจัดการเรียนรู้ใช้แผน IEP เป็นเหมือนพิมพ์เขียวในการให้การศึกษาเด็กตลอดปีการศึกษา โดยมีครู ผู้ปกครอง ผู้บริหาร ครูวิชาการร่วมมือในการจัดทำแผน การวัดผลประเมินผลเพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการในแต่ละด้านตามแผน IEP ไม่เน้นองค์ความรู้ และเอกสารต่างๆก็เป็นเอกสารเดียวกับเด็กปกติ แล้วจะเขียนอย่างไรตัดเกรดแบบไหน สพฐ ให้ทำอย่างไร มีรูปแบบหรือวิธีการอย่างไร เป็นคำถามที่ต้องตอบคำถามทุกปี ความย้อนแย้งระหว่างระเบียบ กฎหมาย ในการจัดการและวิธีปฏิบัติไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันตามกฏหมายในเรื่องสิทธิส่วนบุคคล เช่นเมื่อเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษบางประเภท เช่นเด็ก LD ไปชนะการแข่งขันมาก็ติดป้ายประกาศ ว่าชนะประเภท LD ทั้งที่ขัดกับเรื่องสิทธิไม่ให้เปิดเผย หรือแม้แต่เพื่อนในห้องก็รู้ หรือมากไปกว่านั้นเด็กถูกล้อกลับกลายเป็นปมด้อยมากยิ่งขึ้น
      ความย้อนแย้งในการจัดการศึกษากลุ่มเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษและวิธีปฏิบัติที่ขัดกับความเป็นจริงในข้อกฎหมายหลายอย่างเราปฏิบัติจนชินเป็นเรื่องปกติ สิทธิทางการศึกษาบางอย่างถูกปล่อยปละละเลย ทั้งที่กฎหมายเราทันสมัยเท่าอารยประเทศแต่การปฏิบิติต้องเพิ่มความเข้มข้นอีก วันนี้การจัดการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กพิเศษยังต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเสริมสร้างพัฒนาการเขาอย่างต่อเนื่องให้เขาสามารถดูแลตัวเองได้ตามศักยภาพ ลดปัญหาของสังคมตามปณิธานการศึกษาพิเศษ(ต่อภาค 2 ว่าด้วยการวัดผลประเมินผลเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ )

หมายเลขบันทึก: 677435เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2020 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2020 10:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท