วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

การขอสนับสนุนเงินทุนวิจัยทั้งภายในและภายนอก ครั้งที่ 2


การขอสนับสนุนเงินทุนวิจัยทั้งภายในและภายนอก

1. การขอสนับสนุนเงินทุนวิจัยภายในสถาบัน

    1.1 ตัวแทนภาควิชาการพยาบาลสุขจิตและจิตเวช โดย อ.วิลาวรรณ  สายสุวรรณ์ 

          หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและกลับมาทำงานจึงได้รู้ว่าอาจารย์ทุกคนต้องมีผลงานวิชาการตีพิมพ์อย่างน้อย 1 เรื่องภายในระยะเวลา 5 ปี จึงจะสามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ และเมื่อได้ไปสอนนักศึกษาพยาบาลในแหล่งฝึกภาคปฏิบัติได้เห็นช่องทางของการทำวิจัย เมื่อกลุ่มงานวิจัยขอสำรวจอาจารย์ที่จะขอสนับสนุนเงินทุนวิจัยประจำปีงบประมาณ 2564 จึงได้แสดงความจำนงในการขอทุนวิจัยภายในสถาบันไป ขณะนี้ได้ส่งชื่อเรื่อง รูปแบบของการวิจัย และรายละเอียดประมาณการค่าใช้จ่ายให้กับกลุ่มงานวิจัยเพื่อจัดทำแผนแล้ว

ปัจจัยแหล่งความสำเร็จ การสนับสนุนและให้คำปรึกษาของของกลุ่มงานวิจัย 

    1.2 ตัวแทนจากภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน โดย อ.ชนกานต์  แสงคำกุล 

          จุดเริ่มต้นของทำวิจัยมาจากต้องการพัฒนาประจำของตนเองให้ผ่านตัวชี้วัดประกันคุณภาพการศึกษา จึงได้รวมตัวกับเพื่อนอาจารย์ในภาควิชาเพื่อทำวิจัยและขอสนับสนุนเงินวิจัยจากวิทยาลัย โดยมีขั้นตอนของการขอทุน ดังนี้

          1) ศึกษานโยบายการสนับสนุนการผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัย/ตำรา/ผลงานวิชาการ/นวัตกรรม/งานสร้างสรรค์ และระเบียบเกี่ยวกับอัตราการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายการผลิตผลงานวิชาการของสถานศึกษา 

          2) ออกแบบวิจัยให้สอดคล้องกับลักษณะของปัญหาการวิจัย 

          3) เขียนโครงร่างตามแบบฟอร์มของวิทยาลัย ฯ ประมาณการค่าใช้จ่ายตามนโยบาย ฯ และอัตราการเบิกจ่าย ฯ และส่งโครงร่างกับกลุ่มงานวิจัย เพื่อรับการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาทุนของวิทยาลัย ฯ

          4) ปรับแก้ไขโครงร่างตามคำแนะนำของคณะกรรมการพิจารณาทุนของวิทยาลัย ฯ และส่งกลับงานวิจัยเพื่อเสนอรับการพิจารณาเงินสนับสนุนทุนวิจัยภายในสถาบันจากคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย 
          5) ทำสัญญารับการสนับสนุนเงินทุนวิจัยกับวิทยาลัย ฯ รวมทั้งทำหนังสือคุ้มครองสิทธิ

          6) เขียนบันทึกข้อความ เสนอความต้องการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์โครงการ/กิจกรรม ส่งงานพัสดุไว้เลย 

          7) ดำเนินการวิจัยตามแผนที่วางไว้

          8) เบิกเงินสนับสนุนการวิจัยตามงวดงานวิจัยที่แล้วเสร็จ (พยายามควบคุมการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามระยะเวลาที่วางไว้) 

          9) การเบิกจ่ายเงินสนับสนุนการตีพิมพ์เผยแพร่ ฯ ต้องทำบันทึกข้อความขออนุมัติทดรองจ่ายค่าตีพิมพ์ก่อนที่จะโอนเงินให้กับวารสาร และเมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินจากวารสารแล้ว ถึงนำขออนุมัติเบิกเงินได้  

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ  

          1) นโยบายสนับสนุนการผลิตผลงานวิจัยและวิชาการของวิทยาลัย 2) คลินิกวิจัย และ 3) เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน

ปัญหาอุปสรรค

          1) การขาดความเชี่ยวชาญในการทำวิจัย  2) ภาระงานที่มีมาก 3) ระเบียบพัสดุ

2. การขอสนับสนุนเงินทุนวิจัยภายนอกสถาบัน
    2.1 ตัวแทนจากภาควิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น โดย อ.ดร.ชลลดา  ติยะวิสุทธิ์ศรี 

          จากประสบการณ์การทำผลงานวิชาการที่ผ่านมา ไม่เคยคิดที่จะต้องขอทุนในการสนับสนุนการวิจัย เพราะคิดว่าเป็นเรื่องยาก และไม่น่าเป็นไปได้สำหรับตนเอง และมองว่าเป็นภาระในการที่ต้องทำตามระเบียบทางการเงิน ซึ่งก็เป็นยาขมสำหรับการทำงาน และมองเป็นอุปสรรคมาโดยตลอด  ทั้งที่มีกลุ่มงานวิจัยฯที่เข้มแข็งคอยเอื้ออำนวยสิ่งสนับสนุนทุกอย่างในการสนับสนุนให้อาจารย์ทุกคนประสบความสำเร็จในการได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย  แรงจูงใจที่ทำให้อยากขอทุนการวิจัยเกิดขึ้นในช่วงที่ไปศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้ชี้นำ และให้คำปรึกษา ได้ขอทุนวิจัยจาก วช. โดยใช้โครงร่างวิทยานิพนธ์ ในความคิดขณะนั้นคิดแต่เพียงว่าลองดู ได้หรือไม่ได้ทุนวิจัย เราก็ต้องทำให้สำเร็จ ซึ่งวิจัยของตนเองเป็นแบบกึ่งทดลอง และต้องใช้อุปกรณ์หลายอย่าง จึงขอทุนสนับสนุนไป 75000 บาท แล้วก็ตั้งหน้าทำงานวิจัยของตนเองไปไม่ได้ติดตาม จนกระทั่งเลขาคณะตามไปว่าเราได้ทุนสนับสนุนจำนวน 50000 บาท เขาจะส่งเช็คให้ไปที่บ้าน ตอนนั้นดีใจมาก และเกิดความรู้สึกดีกับการขอทุนการวิจัยมานิดนึง กลับจากเรียนตอนนั้นก็มาช่วยอาจารย์ในภาควิชาทำงานวิจัย แต่ตัวเองไม่ได้เป็นหัวหน้าโครงการ แต่ก็มีส่วนร่วมในการผลิตและเขียนรายงานการวิจัย แล้วด้วยระเบียบที่ยุ่งยากมากขึ้น จึงหมดไฟอีกครั้ง

           ต่อมาในการเรียนระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 2 ได้มีโอกาสร่วมทีมเขียนโครงร่างการวิจัยจาก วช.อีกครั้งกับทีมอาจารย์ที่ปรึกษาและเพื่อนๆ ตอนนั้นเราช่วยกันออกแบบร่มใหญ่แล้วให้แต่ละคนรับผิดชอบโครงการย่อยๆ ออกแบบการวิจัยของตนเอง โดยอาจารย์ที่ปรึกษาจะเป็นผู้ชี้แนะและบอกข้อปรับปรุงพัฒนา รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงในการทำ ตอนนั้นของบประมาณไป 7 ล้าน 9 แสนกว่าๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้เด็กชายขอบ ซึ่งก็ได้รับทุนมา 6 ล้านกว่าๆ  ตอนนั้นเหนื่อยแต่สนุกมาก นอกจากจะได้ทุนในการทำวิจัยแล้ว ยังได้พบเครือข่ายกัลยาณมิตรต่างวิชาชีพอีกมากมาย

           เมื่อถอดบทเรียนจากประสบการณ์ใหญ่ๆทั้งสองเหตุการณ์  พบว่า มีปัจจัยที่ทำให้การขอทุนวิจัยประสบความสำเร็จ ต้องชัดเจนในประเด็นต่อไปนี้

   1.ความเชี่ยวชาญของตนเอง

          ควรเป็นวิจัยที่ตรงสาขาของเรา จะททำให้เวลาเขียนโครงการวิจัยจะมีความลุ่มลึก และถ่ายทอดได้น่าสนใจ รวมทั้งแสดงแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ตรงตามสาขา  เพราะจากประสบการณ์การขอทุน วช.ครั้งที่ 2 มีการส่งกลับให้มาแก้ไขสาระบางประเด็น ที่ตนเองไม่ถนัด

          2. การประมาณการงบประมาณค่าใช้จ่ายให้ใกล้เคียงความเป็นจริง มากที่สุด สอดคล้องกับระเบียบวิธีวิจัย เพื่อที่จะได้ไม่ถูกลดงบประมาณ

          3. โครงการวิจัยต้องมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวสร้างสรรค์ ไม่ซ้ำซ้อน  ทันเหตุการณ์มีคุณค่า และที่สำคัยตรงกับความสนใจเจ้าของทุน  ไม่ใช่เป็นวิจัยแฟชั่น  ตามกระแส หรือ วิจัยเร่งด่วน

          4. ต้องคิดเสมอว่าผลลัพธ์ของงานวิจัยของเราเกิดประโยชน์ชัดเจนกับใคร  กว้างขวางขนาดไหน

          5. ศึกษาแบบฟอร์มของแหล่งทุนให้ละเอียด และทำตามหัวข้อ เพราะบางแห่งแค่ดูว่างานเราไม่ตามแบบฟอร์มก็ถูกหยิบลงถัง ตั้งแต่ยังไม่ได้อ่านโครงการของเรา

          6. การมีเครือข่ายการวิจัยที่ดีมีความสนใจในประเด็นคล้ายๆกัน และเป็นกัลยาณมิตรที่ดี มีความจริงใจต่อกัน ร่วมด้วยช่วยกันจนงานสำเร็จ

ปัญหาอุปสรรคที่ไม่อยากเขียนขอทุน

          1. ความกลัวในจิตใจ   ไม่กล้าเขียนขอทุน  มองเป็นเรื่องยุ่งยาก เบื่อระบบขั้นตอนการบริหารงบประมาณ  กลัวเหนื่อย  ขาดแรงจูงใจ

          2. ไม่มีเครือข่ายที่เข้มแข็งที่จะเป็นพี่เลี้ยงในการเขียนขอทุนวิจัยภายนอก

    2.2  ตัวแทนจากภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โดย อ.สุรีรัตน์  ณ วิเชียร

            2.2.1 ทุนสนับสนุนการวิจัยของ วช. (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ) เข้าไปสมัครทุน www.nrms.go.th
กลุ่มเรื่องที่มีโอกาสได้รับทุน

           1) การเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร

           2) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และสิ่งแวดล้อม

           3) การแพทย์และการสาธารณสุข

           4) การขนส่งระบบรางและระบบโลจิสติกส์

           5) การศึกษา มนุษยศาสตร์ และประชาคมอาเซียน

           6) การบริหารจัดการการท่องเที่ยว

           7) วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)

           8) พลาสติกชีวภาพ

           9) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต โดย ๑๐ อุสาหกรรม

สิ่งที่ต้องมี

          1) ใบสมัครการขอทุน

          2) ขอเสนอแนะตามโครงการวิจัยเบื้องต้น

          3) หนังสือรับรองการพิจารณาโครงการวิจัยที่มีการศึกษาในมนุษย์หรือสัตว์

          4) File เอกสารต่างๆ

ข้อตกลงเบื้องต้น

           1) งบประมาณที่ได้ต้องหักให้ต้นสังกัดที่รับทุน ร้อยละ 10 เพราะต้นสังกัดต้องส่งเอกสารหรือติดตามผู้ที่ได้รับทุน และการเบิกจ่ายเงินจะต้องเตรียมบัญชีสำหรับการโอนรับทุนเท่านั้นและได้เป็นงวด เมื่อรายงานความก้าวหน้าของงานวิจัยแต่ละครั้ง

           2) กรณีที่เป็นการวิจัยที่ต้องใช้คนหรือสัตว์ในการทดลอง จะต้องมี certification of Approval

           3) ในกรณีที่ได้รับทุนจะต้องมีกิตติกรรมประกาศว่า ได้รับทุน วช

           4) ผลงานจะต้องนำรูปและวิดีโอลงใน http://thai-explore.net ของสำนักงานวิจัยแห่งชาติเพื่อการเผยแพร่

อุปสรรค :

           1) ทักษะการเขียนให้เข้าใจง่าย กะทัดรัด เราควรให้ผู้อื่นอ่านอีกครั้งเพื่อทวนว่าเราเขียนรู้เรื่องหรือไม่ 

           2) การเตรียมเอกสารต้นฉบับใช้งบเยอะมาก เช่น เอกสารทุกอย่าง 10 ชุด

           3) การบันทึก file ต้องให้แน่ใจว่าแผ่นบันทึกข้อมูลเรียบร้อย

           4) การอนุมัติเงินล่าช้า เนื่องจากการรวมจ่ายเงินในคราวเดียวและเป็นงวดเงิน

ข้อเสนอแนะ

          1) ควรวางแผนว่าเราจะทำวิจัยเรื่องอะไร และเขียนโครงการให้ตรงตามเป้าหมายนั้น

          2) เมื่อได้รับทุนแล้วต้องทำให้สำเร็จ

       2.2.2 ทุน มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์ ของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย 

เอกสารที่ใช้สมัคร

          1) รูปถ่ายหน้าตรง

          2) สำเนาหลักฐานการเป็นสมาชิก

          3) หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ

          4) หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชา

          5) โครงการวิจัยที่จะขอทุน

ข้อเสนอแนะ : เขียนให้ตรงประเด็น เข้าใจง่าย        

    2.3 ตัวแทนจากภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ โดย อ.ดร.เบญจมาภรณ์  นาคามดี 
          ประสบการณ์การขอทุนในการทำวิทยานิพนธ์จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 

การเตรียมตั

         1) ติดตามการประชาสัมพันธ์การขอทุนฯ
         2) ศึกษานโยบายผู้ให้ทุนมีนโยบาย หรือประเด็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำ
         3) ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อเขียนโครงร่างฯให้ได้ทุน ได้แก่ ค้นหาตัวอย่าง  ศึกษาวิธีการเขียน  ดูรีวิว  ถามประสบการณ์ผู้ที่เคยขอทุนฯ
ศึกษายุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒฯ  ประเด็นที่เกี่ยวข้อง 

ขั้นลงมือปฏิบัติ

         1) ความเป็นมา..สถิติ แนวโน้ม ความรุนแรง เชื่อมโยงยุทธศาตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงสาธารณสุข นโยบายผู้ให้ทุน... เขียนกระชับ สรุปสุดท้าย (มีอ้างอิงชัดเจน)
         2) วัตถุประสงค์ชัดเจน...ชัดเจน
         3) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ...ชัดเจน ไม่เกินจริง แต่มีประโยชน์ในวงกว้าง (น้อยแต่มาก)
         4) ระเบียบวิธีวิจัย..มีความหลากหลาย เยอะแต่ชัดเจน (ยากแต่ง่าย)
         5) งบประมาณ..เต็มงบที่ทุนให้ (ตามระเบียบเจ้าของทุน)
         6) ส่งทุกอย่างที่ทุนกำหนด  ผ่านระบบ NRMS และส่งตามเวลาที่กำหนด
         7) ติดตามผลการส่ง.....รอ และติดตาม แต่ไม่เซ้าซี้                                                                                                                           8) ประกาศได้รับทุน  ดูงบประมาณที่ได้รับจริง                                                                                                                                   9) ทำสัญญาทุน ศึกษาละเอียด+สอบถาม+ผู้ประสานงาน                                                                                                                    10) ทำ Time line ให้ชัดเจน ทำงานให้ได้ตามงวดงานที่ทุนกำหนดส่ง และหลักฐานการเงิน เพราะส่งช้าเป็นกลุ่มมีปัญหากลัว Blacklist           11) สรุป และทำทุกอย่างตามเจ้าของทุนกำหนด..โดยเฉพาะในระบบ NRMS                                                                                          12) ติดตามงานที่ส่ง พร้อมประสานงานผู้เกี่ยวข้อง                                                                                                                             13) ส่งงานให้ได้ตามกำหนด..

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

        1) ติดตาม...การประชาสัมพันธ์ทุนเครือข่าย + สื่อ
        2) ไม่ย่อท้อ...แม้อุปสรรคคณานับทุกกระบวนการ
        3) มุ่งมั่น...อยากได้ทุน
        4) ผู้มีประสบการณ์เป็นที่ปรึกษา+มี line ผู้ได้ทุนแบบเดียวกันเพื่อคอยปรึกษา
        5) กลัว Blacklist..ตัวขับเคลื่อนงาน
        6) ถ้าไม่ได้ทุน เขียนใหม่ ทำใหม่ให้หัวข้อตอบโจทย์เจ้าของทุน (ตามศักยภาพของตัวเอง)
ปัญหาและอุปสรรค

        1) ความไม่เข้าใจหลักฐานการเงิน...ชัดเจนก่อนทำ
        2) ไว้ใจระบบการส่งงานเกินไป...ติดตามทุครั้งที่ส่งงาน
        3) ผู้ประสานงานเปลี่ยนคน...เริ่มต้นใหม่
ข้อเสนอแนะ.. เชิญวิทยากรจากหน่วยงานที่ให้ทุน

     2.4 ตัวแทนจากภาควิชาบริหารการพยาบาล โดย อ.ดร.อัศนี  วันชัย 

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ: แนวคิด 

เป้าหมาย 1) เป็น C.co วิชาใดต้องมีงานวิจัย 1 เรื่องที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ                                                                                               2) มีงานอย่างน้อย 1 เรื่องที่ตีพิมพ์วารสารระดับนานาชาติทุกปี
วินัยในตนเอง: วางแผนล่วงหน้าเรื่องเวลากับการทำงานให้ทันตามเป้าหมาย การ Review, IRB, proposal, writing 
น้ำไม่เต็มแก้ว: เรียนรู้ ผสมผสานตัวตนกับสิ่งใหม่ๆที่ทันสมัยเพื่อให้ตรงใจผู้ให้ทุนแต่ไม่ลืมตัวตนว่าเราถนัดอะไร เราคือใคร                 คุณภาพงานต้องมาเต็ม: อ่านมาก รู้มาก เขียนได้ง่ายขึ้น ได้ใจเจ้าของทุน เพราะผลลัพธ์การตีพิมพ์ตามเวลาที่กำหนด (เป็นบันไดสู่การได้ทุนต่อไปเรื่อยๆ)
ยิ่งให้ ยิ่งได้: เป็น reviewer, keynote speaker, advisor


      หมายเลขบันทึก: 677605เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2020 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2020 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


      ความเห็น (43)

      ทุนวิจัยภายนอกมีอยู่มากมายเพียงแต่ว่าต้องศึกษารายละเอียดของแหล่งทุนให้เข้าใจ ทำตามระเบียบขั้นตอนที่เขาต้องการ ก็จะทำให้ข้อเสนอการวิจัยของเราได้รับการพิจารณา และเมื่อได้รับการพิจารณาแล้ว ต้องวางแผนการทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามแผนที่เสนอเจ้าของทุนไว้ เพื่อจะได้ไม่ถูก Blacklist ในภายหลัง และทำให้การขอทุนในโอกาสถัดไปง่ายขึ้น

      การแลกเปลี่ยนทำให้เห็นช่องทางการขอสนับสนุนเงินทุนวิจัย และเคล็ดลับการเขียนงานวิจัยให้ได้ทุนสนับสนุนมากขึ้น

      การทำวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนภายนอก ตามประสบการณ์แล้วงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนต้องเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาตามกลุ่มเป้าหมาย และที่สำคัญที่สุดคือ วิจัยนั้นต้อง…ตรงกับความต้องการของแหล่งทุน ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับเราทุกคน น้องๆ คนใดที่สนใจศึกษาเรียนรู้ การขอทุนสนับสนุนวิจัยภายนอก ยินดีนะคะปี 63 นี้เพิ่งได้จาก สวรส.อีก 1 เรื่อง มาร่วมทีมเรียนรู้ได้นะคะ ยินดี

      ได้รับความรู้เกี่ยวกับเเนวทางในเรื่องการดำเนินการขอทุนวิจัยทั้งภายในและภายนอกที่ชัดเจนมากขึ้นคะ

      ต้องขอบคุณพี่กบ น้องเจี๊ยบและน้องกอฟมากคะ แชร์ขั้นตอนการทำวิจัยเพื่อขอทุนภายนอกได้อย่างชัดเจนมากๆๆ ทำให้ฟังแล้วเกิดแรงบันดาลใจที่จะทำวิจัยเพื่อขอรับทุนจากภายนอกซึ่งเป็นความท้าทายอีกแบบที่น่าสนใจมากๆ ขอบคุณคะ

      การแลกเปลี่ยน KM ทำให้ได้เรียนรู้วิธีขอทุนวิจัยจากท่านอาจารย์ที่มีประสบการณ์ ทำให้อยากเขียนขอทุนวิจัย และพัฒนาตนเองในการทำงานวิจัยต่อไป

      ขอบคุณข้อมูลดีๆและทำให้ได้แนวทางในการขอทุนวิจัยค่ะทำให้อยากพัฒนาตัวเองในการขอทุนวิจัย

      การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้ทำให้ได้เห็นศักยภาพอาจารย์รุ่นใหม่ที่มีใจเป็นนักวิชาการเต็มตัว สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ นักวิจัยต้องมีวินัย อดทน เขียนและเสนอในสิ่งที่เจ้าของทุนต้องการ ต้องเป็นงานที่ตอบสนองนโยบายผู้ให้ทุน เมื่อได้มาต้องมีวินัย ทำให้ได้ตามที่เขากำหนด เพื่อการต่อยอดต่อไปในอนาคต

      การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการขอทุนวิจัยภายนอกหน่วยงานเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับนักวิจัยหน้าใหม่ ที่เรียนรู้จากประสบการณ์ของอาจารย์หลายๆท่าน ต้องขอบคุณผู้นำเสนอทุกท่าน ทำให้ได้มองเห็นแนวทางการขอทุนและเตรียมความพร้อมในการขอทุนจากแหล่งทุนภายนอก ที่สำคัญคือได้รับแรงบันดาลใจเพราะการทำวิจัยเป็นเรื่องยากสำหรับอาจารย์ส่วนใหญ่ ถ้าปรับเปลี่ยนมุมมองว่าการทำวิจัยเป็นเรื่องสนุก น่าทำโดยเฉพาะต้องทำร่วมกันกับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ก็จะมีประโยชน์กับนักวิจัยเอง จึงขอเป็นกำลังใจให้นักวิจัยทุกท่านที่จะนำมาซึ่งชื่อเสียงของตนเองและหน่วยงานและการหาทุนมาทำวิจัยในอนาคต

      ขอให้กำลังใจแก่น้องๆ ที่การพัฒนาเป็นนักวิจัยที่เข้มแข็งได้เกิดขึ้นในวิทยาลัย. ความมุ่งมั่นในการทำวิจัย. ชัดเจนในสาขาความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง จะช่วยให้เราได้รับทุนเมื่อเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนภายนอก

      ได้เรียนรู้แนวทางการขอทุนวิจัยจากภายนอก ซึ่งต้องอาศัยความมุ่งมั่น อดทนของนักวิจัย และขอชื่นชมอาจารย์ที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกท่าน เก่งมาจริงๆค่ะ

      ได้เปิดมุมมองรับรู้แนวทางการขอทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยงานภายนอก ซึ่งประสบการณ์ขออาจารย์ที่มาแลกเปลี่ยนหลากหลายสามารถเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีในการข้อทุนอย่างยิ่ง

      การรับทุนวิจัยจากภายนอกเป็นความท้าทายของของอาจารย์/ของวิทยาลัย เพราะเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงการย้อมรับจากหน่วยงาน/องค์กรภายนอก ท้าทายมากๆ

      เข้าใจในการดำเนินวิจัยได้ดี ทำให้มีกำลังใจในการทำวิจัยต่อไป

      การแลกเปลี่ยนทำให้เห็นเทคนิคในการขอทุนวิจัยมากขึ้น รวมทั้งการบริหารจัดการในกระบวนการวิจัย ซึ่งต้องศึกษารายละเอียอดข้อกำหนดในการสมัครเข้ารับทุนให้ละเอียดเพื่อไม่เกิดปัญหาภายหลัง

      ได้รับความรู้ และมีความเข้าใจในการเขียนวิจัยเพื่อขอทุนเพิ่มขึ้นจากประสบการณ์ ของหลายๆ ท่านที่แชร์ให้ฟังค่ะ จะเป็นแนวทางในการเขียนโครงร่างวิจัยต่อไปค่ะ

      ได้รับความรู้ และมีความเข้าใจในการเขียนวิจัยเพื่อขอทุนเพิ่มขึ้นจากประสบการณ์ ของหลายๆ ท่านที่แชร์ให้ฟังค่ะ จะเป็นแนวทางในการเขียนโครงร่างวิจัยต่อไปค่ะ

      การวิจัยเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับแวดวงวิชาการและการศึกษาทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ไปพัฒนาสิ่งต่างให้ดียิ่งขึ้น ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีที่จะเป็นแนวทางในการขอรับทุนเพื่อทำการวิจัยค่ะ

      ได้รับความรู้ในการขอทุนทำวิจัยมากขึ้น

      ได้เรียนรู้ประสบการณ์ การขอทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอก ไม่ยากแต่ก็ไม่ง่ายเลยค่ะ ต้องมีความมุ่งมั่น เป้าหมายต้องชัดเจน

      เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรับความรู้เพิ่มเติมได้ดีมากคะ ทำให้มีแนวทางในการต่อยอดการวิจัยต่อไปคะ

      เป็นเเนวทางในการทำวิจัยที่ดีต่อไปในอนาคต

      ได้เรียนรู้การขอทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอกและภายใน ไม่ยากแต่ก็ไม่ง่ายเลยค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีที่จะเป็นแนวทางในการขอรับทุนเพื่อทำการวิจัยค่ะ

      การขอทุนวิจัยภายนอกต้องศึกษารายละเอียดของเเหล่งทุนให้ครอบคลุม

      ได้เรียนรู้ประสบการณ์และแนวทางการขอทุนในการทำวิจัยต่อไปค่ะ

      การแลกเปลี่ยนครังนี้ ทำให้ได้พลังบวกและแนวทางการขอทุนวิจัยภายนอกค่ะ..ขอชื่นชมทุกๆท่านที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ดีๆนี้ให้ค่ะ

      ได้รับความรู้เกี่ยวกับเเนวทางในเรื่องการดำเนินการขอทุนวิจัยทั้งภายในและภายนอกที่ชัดเจนมากขึ้นคะ และรู้สึกมีแรงบันดาลใจในการขอทุน

      ได้แนวทางการทำงานวิจัยใหม่ๆๆ​ รวมถึงได้เทคนิคการทำวิจัยจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญมาแลกเปลี่ยนแนวทางที่ดีค่ะ​

      ได้แนวทาง และวิธีการที่ดีๆในการขอทุนสนับสนุนการทำวิจัยจากภายนอก ดีครับ

      การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการขอทุนวิจัย เป็นข้อมูลที่ช่วยในการเตรียมความพร้อมและการวางแผนการตัดสินใจในการขอทุนวิจัยจากทั้งภายในและภายนอก

      เป็นการแลกเปลี่ยนที่ดีมาก สร้างทัศนคติที่ดีในการทำวิจัยต่อไป

      ชื่นชมความสามารถของอาจารย์ที่ได้รับทุนภายนอก และมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์นี้ให้ทุกคนได้รับทราบ

      เป็นเวทีที่ทำให้เห็นช่องทางของการขอทุนภายนอกซึ่งเราต้องศึกษารายละเอียด การเตรียมตัวในการขอทุน เป็นแรงเสริมในการพยายามขอทุนต่อไป

      อาจารย์วิทยาลัยมีประสบการณ์ในการขอทุนสนับสนุนการวิจัยหลายท่าน และสามารถแชร์ประสบการณ์ได้ดี เชื่อว่าอีกไม่นานเราจะสามารถขอทุนสนับสนุนการวิจัยได้เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

      เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีมาก ทำให้เห็นวิธีการขอทุนสนับสนุนในหลายๆทุน โดยเฉพาะการขอทุนสนับสนุนงานวิจัยจากภายนอก เป็นแนวทางและกระตุ้นการสร้างงานวิจัยที่ดีและการสร้างเครือข่ายการดำเนินงานเกี่ยวกับการวิจัยต่อไป

      เป็นเวทีที่ที่ทำให้มองเห็นแนวทางในการขอทุนวิจัยภายนอก และสร้างแรงบันดาลใจในการทำวิจัย

      เป็นการสร้างแรงบันดาลใจและแรงผลักดันในการเขียนงานวิจัย และยังมีเทคนิคในการเขียนขอทุนวิจัยภายนอกที่ดีมาก

      ทำให้ทราบแนวทางการปฏิบัติในการขอทุนสนับสนุนการวิจัย และได้มีโอกาสเรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของพี่ๆน้องๆในวิทยาลัย ที่เก่งมากๆในการหาทุนวิจัยจากภายนอกได้ เยี่ยมมากๆค่ะ

      วิทยาลัยควรเพิ่มกลยุทธุ์และมีระบบการบริหารจัดการที่สนับสนุนในการขอทุนวิจัยภายนอกให้เป็นรูปธรรม เพื่อเป็นการสร้างทีมวิจัย

      เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีมาก ทำให้เราได้เปิดโลกทัศน์ของการขอทุนวิจัยภายนอก ได้เรียนรู้วิธีการจากประสบการณ์ของวิทยากร และประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมประชุม
      ซึ่งมีประโยชน์มากค่ะ

      เป็นหัวข้อที่น่าสนใจและเป็นสิ่งสำคัญมี่อาจารย์ควรปฎิบัติมากๆ

      เป็นหัวข้อที่สำคญและเป็นสิ่งที่อาจารย์ควรปฏิบัติ วิทยากรให้ข้อมูลได้ดีมากๆ

      พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
      ClassStart
      ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
      ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
      ClassStart Books
      โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท