กูยจอมพระ




 

 

                  ศาลปะกำ ที่ 1 ( ตระกูลสุขเเสวง )  บ้านศรีจอมพระเก่าเเก่ที่สุดอายุไม่ตำกว่า 500 ปี 


     ชาวกูยจอมพระประกอบไปด้วยหมู่บ้าน 5 หมู่ ได้เเก่ 1.บ้านจอมพระ 2.บ้านศรีจอมพระ 

3.บ้านดงบัง 4. บ้านศรีดงบัง 5.บ้านกระทุ่มเกษตร เป็นกลุ่มชาวกูยช้าง ( กูยอาจีง ) 

ผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวกูยโบราณเขาพระวิหาร ไม่ต่ำกว่า 1,500 ปี เป็นชาวกูยที่อาศัย

อยู่ในเขตเทือกเขาพนมดงรักมานานเเล้ว คำศัพท์ของภาษากูยเเละสำเนียงภาษาพูด

สัมพันธ์กับภาษาขอมโบราณ ตามจารึกที่พบในเขตปราสาทพระวิหารเเละจารึกปราสาท

จังหวัดเสียมเรียบ เเละภาษาเขมรมาตรฐานของประเทศกัมพูชา อพยพครั้งใหญ่

มาจากเมืองเสียบเรียบสมัยเมืองพระนครหลวงเเตก นำช้างข้ามเทือกเขาพนมดงรัก 

ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตจอมพระในปัจจุบัน เมื่อ 500 ปี ที่ผ่านมา ส่วนคำว่า จอมพระ ได้มาจาก

ภาษากูย 2 คำ คือ จอม แปลว่า ตรง เเละ พระ แปลว่า พระพุทธรูป ดังนั้น จอมพระ แปลว่า

ตรงพระพุทธรูป ชาวกูยตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ด้านทิศตะวันตกตรงกับปราสาทจอมพระที่ตั้ง

อยู่ทางทิศตะวันออก ซึ่งมีพระพุทธรุปประดิษฐ์ฐานอยู่ภายในปราสาทจอมพระ ชาวกูย เรียกหมู่บ้าน

เป็นภาษากูยว่า เสราะจอมพระ แปลว่า บ้านตรงพระพุทธรูป ชาวกูยบ้านจอมพระชำนาญคล้องช้างป่า

( โพนอาจีงกรูง ) จะออกคล้องช้างป่าในเขตประเทศกัมพูชาปัจจุบัน เช่น ป่าในเขต จังหวัดบ้านใต้มีชัย 

อุดรมีชัย เสียมเรียบ พระวิหาร สตึงเเตรง รัตนคีรี

 

 
                            ศาลปะกำ เเห่งที่ 2 ( ตระกูลสุขเเสวง ) บ้านศรีจอมพระอายุไม่ตำ่กว่า 500 ปี


ตำเเหน่งคล้องช้างป่า ของชาวกูยกูยจอมพระเรียงจากตำเเหน่งสุงสุดดังต่อไป


1.กำโลงพืด  ( ประธานใหญ่ ) ตำเเหน่งคล้องช้างของควาญช้างครูบา ผู้เชี่ยวชาญในการคล้องช้างเเละชำนาญเส้นทางสถาณที่คล้องช้างป่า

ที่ประเทศกัมพูชา เเละพิธีกรรมต่างที่เกี่ยวกับช้าง

2.สดีง ( ซ้าย ) ตำเเหน่ง ระดับรองจาก กำโลงพืด 

3.สดำ ( ขวา ) ตำเเหน่ง ระดับรองจาก กำโลงพืด 

4.กะมะ ( ผู้ช่วย ) ตำเเหน่ง ระดับรองจาก สดีง สดำ อยู่บนหลังช้างด้านหลัง ยังไม่มีประสบการณ์ในการคล้องช้าง 

 

อุปกรณ์และเครื่องมือคล้องช้างป่า ( โพนอาจีงกรูง )  ของชาวกูยบ้านจอมพระ มีดังต่อไปนี้

1.พรัดปะกำ คือ เชือกปะกำทำมาจากหนังควาย

2.สลก คือบ่วงคล้องช้างป่าเจาะรู 2 รู ส่วมกับตองจาม

3.ตองจาม คือ ด้ามจับสำหรับคล้องช้างป่าส่วนปลายเจาะรู 2 รู ทำมาจากไม้ ส่วมกับสลก

4.สิงโทน คือ ที่เหยียบเพื่อขึ้นบนหลังช้างต่อ ( ทะนะ ) ทำมาจากไม้

5.พุนธง คือ ทำมาจากด้ายถักขึ้นรูปเป็นทรงกระบอกสำหรับใส่หมากพลู

6.สะเยี่ยว คือ เป็นตาข่ายทำมาจากเชือก สำหรับใส่ จาน หม้อหุงงข้าว ทัพพี

7.สนามมุก คือ ลักษณะคล้ายกับตาข่ายทำมาจากเชือก สำหรับใส่มีด โซ่ พริก เกลือ

8.กะลัน คือ ปลอกคอสำหรับคล้องคอช้างป่า ( เจลย )

9.กะตาซอง คือ อุปกรณ์ สำหรับใส่มีด กะลัน ทำมาจากหวาย

10.เเทบ คือ โครงสานด้วยไม้ใช้ใบตระเเบกสานเป็นแผง ใช้สำหรับสำหรับกันแดด กันฝน ขณะอาศัยอยู่ในป่า

11.จะทัว คือ สำหรับใส่ข้าวสาร ทำมาจากหนังวัว

12.งก คือ ลักษณะคล้ายค้อนทำมาจากไม้สำหรับไล่ช้างต่อขณะคล้องช้างป่า

 

ข้อห้ามเเละข้อปฏิบัติของภรรยาเมื่อสามีคล้องช้างป่ามีดังต่อไปนี้

1.ห้ามไม่ให้ตัดผม

2.ห้ามโยนสิ่งของลงจากบ้าน

3.ห้ามตีลูกหลาน

4.ห้ามพูดคำหยาบ

5.ห้ามไม่ให้คนอื่นมานอนค้างที่บ้าน

6.ห้ามไม่ให้แต่งตัว

7.ห้ามไม่ให้กวาดบ้าน ยกเว้นให้ลูกหลานสามารถกวาดบ้านได้

8.ต้องเเขวนใบสัปปะรดไว้หน้าบ้านทุกครั้งเมื่อสามีออกไปคล้องช้างป่า

 

มอเฒ่า หรือ พระกำโลงพืด คล้องช้างป่า ( โพนอาจีงกรูง ) ของชาวกูยบ้านจอมพระก่อนและหลังมีดังต่อไปนี้

 

1.พระกำโลงพืด มอโพนอาจีงกรูง นุตาฉาย สุขแสวง หมู่ 5 บ้านศรีจอมพระ

 

2.พระกำโลงพืด มอโพนอาจีงกรูง นุตาเฮือน บูรณะ หมู่ 1 บ้านจอมพระ


3. พระกำโลงพืด มอโพนอาจีงกรูง นุตาสุข สุขแสวง หมู่ 6 บ้านเกษตร

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 677878เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2020 12:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2022 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท