วิชา "ประวัติศาสตร์" ที่เราลืม


..

"ประวัติศาสตร์" คือ วิชาที่รักมาตั้งแต่เด็ก

เรียนวิชาอะไรก็ไม่มีความสุขมากเท่ากับวิชานี้

อาชีพแรกที่ฝันตอนเด็ก ๆ ว่า อยากเป็น คือ "นักโบราณคดี"
น่าจะเป็นเพราะความอยากรู้ เรียกให้ไพเราะ ว่า "ใฝ่รู้"
เวลาที่รู้ (วิชชา) จะมีความสุขมาก มากกว่าความไม่รู้ (อวิชชา)

ตอนมัธยมปลาย "ประวัติศาสตร์" จะทำคะแนนได้ดีจนติดท็อปของห้องได้
ส่วน "ภูมิศาสตร์" ก็อยู่ในสายสังคมศึกษาเหมือนกัน แต่ไม่ได้ใจเท่า

"สังคมวิทยา" มาเรียนเอาก็ตอนปริญญาโทแล้ว
ดูลึกซึ้ง วิเคราะห์ สังเคราะห์ต้องแตกฉาน
ไม่แตกฉาน ก็ไม่เข้าใจ

..

"ประวัติศาสตร์ที่เราลืม เล่ม ๒" ของ "วินทร์ เลียววาริณ"
เป็นหนังสือเล่มที่ ๓ หลังสถานการณ์โควิด-19

สารภาพว่า เล่ม ๑ ยังอ่านไม่จบเลย
แต่โผล่มาเล่ม ๒ กลับอ่านแบบลื่นไหล

แถมบทแรกเป็นเรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์
ที่บังเอิญได้ฟังประวัติศาสตร์นอกตำรามา
จากรายการ "ช่องส่องผี"

อย่างที่บอกว่า ใฝ่รู้ ไม่ว่าเขาจะค้นคว้ามาจากอะไร
แต่มันก็มีความรู้อีกด้านเสมอ
ความรู้ด้านที่คนแพ้ไม่สามารถเขียนประวัติศาสตร์ได้

ไม่ว่าเราจะเชื่อหรือไม่เชื่อ

เพียงแค่ตั้งอยู่ในหลักธรรม กาลามสูตร ๑๐ ก็พอแล้ว

ไม่ต้องเชื่อ ถ้ายังไม่พิสูจน์ด้วยตัวเองว่าจริง
ทุกอย่างเป็นความรู้ที่นำมาประดับ
ถือเป็นองศาหนึ่งของความเป็นไปได้
อย่าเถียงหัวชนฝาว่าไม่ใช่
อย่าเชื่อหลักวิชาการมากเกินไป
จนรับฟังเรื่องที่ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ ไม่ได้

อยู่ในวงการวิชาการมาหลายปี
บางทีก็ตลกกับความเชื่อที่เชื่อ แต่ไม่เคยพิสูจน์
ของนักวิชาการบางท่าน

บันทึกนี้แค่อยากบอกว่า

"ผมรักวิชาประวัติศาสตร์"

บุญรักษา ทุกท่านครับ ;)...

หมายเลขบันทึก: 677947เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2020 00:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2020 00:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท