วิไลรัตน์ มะโนราช
นาง วิไลรัตน์ มะโนราช วิไลรัตน์ มะโนราช

การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่าน


การพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จ.น่าน

Development of Patient Care System for Patients with Acute Myocardial Infarction Pua Crown Prince Hospital, Nan Province

การวิจัยนี้เป็นเชิงวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จ.น่านผู้เข้าร่วมวิจัยประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ทีมพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย จำนวน 20 คน และผู้ร่วมวิจัยหลัก ได้แก่ ผู้ป่วย STEMI จำนวน30 คน ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2559 ถึง กันยายน พ.ศ. 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยการแจกแจงความถี่ร้อยละและค่าเฉลี่ยและเปรียบเทียบข้อมูลด้วยสถิติ pair t-test ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1) สถานการณ์ที่พบ ด้านระบบบริการเข้าถึงบริการล่าช้าไม่มีแนวทางการดูแลที่ชัดเจน/ไม่มีช่องทางด่วนการขอคำปรึกษาล่าช้าใช้เวลานานด้านผู้ให้บริการขาดทักษะ ความรู้ให้บริการแบบแยกส่วนด้านอุปกรณ์ไม่มีเพียงพอ ไม่มียาละลายลิ่มเลือด 2) การพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ประกอบด้วยแนวทางการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 3) ด้านผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย ภายหลังการพัฒนาตั้งแต่ปีพ.ศ.2560 ถึง ปีพ.ศ.2561พบว่าร้อยละการได้รับยาละลายลิ่มเลือดน้อยกว่า 30นาที มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังการพัฒนาจาก 53 นาทีเป็น 67 ร้อยละระยะเวลาที่ผู้ป่วยได้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพิ่มขึ้นจาก 53 เป็น 100 ระยะเวลาตั้งแต่เจ็บอกจนถึงได้รับการรักษาเพิ่มขึ้นจาก 80 เป็น 87 ไม่พบอัตราการเสียชีวิตและการปฏิบัติตามแนวแนวทางการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมากถึงร้อยละ 100

หมายเลขบันทึก: 687610เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2020 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2020 13:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

3) ด้านผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย ภายหลังการพัฒนาตั้งแต่ปีพ.ศ.2560 ถึง ปีพ.ศ.2561พบว่าร้อยละการได้รับยาละลายลิ่มเลือดน้อยกว่า 30นาที มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังการพัฒนาจาก 53 นาทีเป็น 67 ร้อยละระยะเวลาที่ผู้ป่วยได้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพิ่มขึ้นจาก 53 เป็น 100 ระยะเวลาตั้งแต่เจ็บอกจนถึงได้รับการรักษาเพิ่มขึ้นจาก 80 เป็น 87 ไม่พบอัตราการเสียชีวิตและการปฏิบัติตามแนวแนวทางการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมากถึงร้อยละ 100

ถ้าจะสื่อสาร เราตั้งผลลัพธ์ที่ต้องการและเป็นมาตรฐานด้วยก็ดีนะคะ เพราะหากคนอ่านไม่รู้ผลลัพธ์ที่ควรเป็น อ่านแล้วจะมีคำถามในใจอีกค่ะ หรือเราอาจจะสรุปให้คนอ่านนำไปใช้หรือข้อเสนอแนะด้วยจะดียิ่งขึ้นนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท