896. "หากเพลโตเป็นนักพัฒนาองค์กร"


ผมชอบอ่านหนังสือทั้งร่วมสมัยและโบราณ เช่นสามก๊ก ช่วงนี้เริ่มไปเจาะอ่านหนังสือโบราณหลายเล่มเช่น How to be free ของ Epictatus  และ Republic ของเพลโต ซึ่งของเพลโต นี่อ่านยาก แต่ก็พอเชื่อมโยงเห็นอะไรในโลกปัจจุบันได้ชัดเจน จนรู้สึกแปลกใจ..ผมเลยพยายามค่อยๆ อ่าน เลยรู้สึกว่า ยิ่งอ่าน ยิ่งรู้สึกคนโบราณอย่างเพลโต นี่ลึกล้ำมาก ไม่แปลกเลยมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมตะวันตกมากๆ ทำให้นึกถึงตอนไปเรียนป.โท MBA ที่อเมริกาเมื่อ 20 ปีก่อน  รู้สึกได้กลิ่นอายของกรีกโบราณมากๆ ทั้งๆที่วิชาที่เรียน เรียนหลังเพลโตตายไปสองพันปี  ยิ่งรู้สึกทึ่ง เลยต้องรีบเขียนสรุปอะไรออกมา เริ่มเลยครับ

ดูๆ ไปเพลโตในงานเขียนเรื่อง Republic  กำลังพยายามเปลี่ยนแปลงสังคมผ่านการตีแผ่ความคิดจนถึงความเชื่อ งานของเพลโตพาคนสำรวจประเด็น เช่นความยุติธรรมได้อย่างถึงพลิกถึงขิง  คุณอ่านงานเขาจะเห็นโลกในอีกมุม เช่นพูดถึงความยุติธรรมว่าจริงๆ มันขึ้นกับผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจ  

ผมเองไม่ได้มาสายรัฐศาสตร์ การเมือง มาสายบริหารธุรกิจ แต่ก็เห็นภาพ เอาใช่ ความยุติธรรมมันอยู่กับผู้มีอำนาจในองค์กรนั่นเอง เราเองอาจไม่รู้สึกยุติธรรม แต่เมื่อชีวิตเราขึ้นกับผู้มีอำนาจ ความยุติธรรมที่ดูไม่ยุติธรรมจึงมีบทบาทกะเกณฑ์กับเราเสมอ ผมก็เคยยุเพื่อนให้ขึ้นเป็นผู้นำ ถ้าไม่รู้สึกว่ายุติธรรม ดังนั้นถ้าคุณเป็นผู้นำ คุณก็สามารถสร้างกติกาที่คุณรู้สึกยุติธรรมได้  แต่ที่น่ากลัวกว่าคือคนที่บอกว่าจริงๆ ว่าเป็นคนอยุติธรรม แต่แสร้งทำตัวว่ายุติธรรม ก็จะมีผลอะไรตามมามาก  อ่านแล้วบรรเจิด ประทับใจในการตีแผ่ความจริงแบบเพลโต  ทำให้เห็นโลกในแง่มุมความเป็นจริงมากขึ้น 

วันนี้เลยเกิด Idea ว่าจะลองมองเพลโต้ ในแบบนักพัฒนาองค์กร ว่าเพลโต ถ้าเป็นนักพัฒนาองค์กร ท่านจะเป็นสายไหนนะ  เพราะจากการมองงานของเพลโต การตีแผ่ปรากฏการณ์แบบเพลโต ก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแนวคิด เกิดพลังสามารถเปลี่ยนแปลงระบบได้ แนวคิดการเปลี่ยนแปลงมันก็คือจุดมุ่งหมายของงานพัฒนาองค์กร เลยพออนุมาณว่าเพลโต คือนักพัฒนาองค์กรคนแรกๆ ของโลกได้ 

ผมเลยตั้งคำถามขำๆ คือถ้าหากเพลโตเกิดมาในยุคนี้ แล้วถ้าเขามาทำงานในอาชีพนักพัฒนาองค์กร (Organization Development Consultant)  แบบผม เพลโตน่าจะอยู่ในสาขาไหน ผมว่าน่าจะเป็นสาย Systems Thinking หรือการคิดเชิงระบบ เพลโตน่าจะเป็นนักพัฒนาองค์กรที่ใช้เครื่องมือการคิดเชิงระบบเครื่องมือหนึ่งที่เรียกว่า Iceberg Model ในการตีแผ่ปรากฏการณ์ต่างๆ ให้คนได้คิดและอยากเปลี่ยนแปลง 

เพราะเพลโต้เน้นที่การตั้งคำถาม โดยดูว่าอะไรเคยเกิด (Events) อะไรกำลังจะเกิด (Trend and Patterns) และทำไม (Systems Structure)  นี่มัน Iceberg Model ครับ  อะไรที่เราเห็นปรากฏการณ์ทั้งที่เกิดแล้ว หรือกำลังเกิดซ้ำๆ ดีไม่ดี มันคือเหนือภูเขาน้ำแข็งครับ เราต้องพากันไปสำรวจลึกๆ ว่าใต้น้ำแข็งคืออะไร ใต้น้ำแข็งนั้นอาจเป็น ความกดดัน (pressures) หรือนโยบาย (Policies) หรือพลวัตอำนาจ (Power Dynamics) หรือมุมมอง (Perceptions) หรือจุดประสงค์ หรือจะทำเพื่อใคร หรืออะไร (Purpose) ก็ได้ เมื่อเราหาอะไรที่ใต้นำแข็ง0oเจอ เราก็จะเกิดพลังของการเปลี่ยนแปลง คืออยากเปลี่ยนแปลงขึ้นมา  ดูที่รูป (Iceberg Model)

สิ่งที่เคยเกิดคือ หิว ตอนดึก เลยกินมาม่า  (Events)) สิ่งที่กำลังจะเกิดก็คือ เราจะหิวอีก และจะกินมาม่ากันอีก (Trend and Patterns)  เมื่อมาดูโครงสร้างระบบบ้านคุณ  (Systems Structures) คุณอาจจะเห็นอะไรบางอย่าง  

ความกดดัน (pressures)  แฟนคุณหิวเลยอยากให้คุณกินเป็นเพื่อน ไม่กินด้วยก็งอน

นโยบาย (Policies)   คุณไม่มีนโยบายที่จะรักษาสุขภาพให้แข็งแรง

พลวัตอำนาจ (Power Dynamics)     คุณอาจเกรงใจแฟน

มุมมอง (Perceptions)   คุณไม่เคยคิดจริงจังว่าการกินมาม่ายามดึกอาจสร้างปัญหาตามมามากมายเรื่องสุขภาพ เลยไม่จริงจังนัก

จุดประสงค์ (Purpose)  คุณทำทุกอย่างเพื่อแฟน  

หลังจากคุณเห็นปรากฏการณ์ทั้งเหนือน้ำและใต้น้ำแล้ว คุณอาจมานั่งมองกันกับแฟนคุณว่าอยากให้เหตุการณ์เหมือนเดิมไหม ว่าหิวแล้วกินมาม่าแล้วพากันอ้วน ..คุณคงไม่อยาก แล้วจะเปลี่ยนอะไรล่ะ ... ผมแนะว่าที่ Purpose เลยครับ คุณอาจเริ่มมองว่าคุณคงต้องทำทุกอย่างเพื่อลูกแล้ว เพราะกินมาม่าต่ออาจอายุสั้นๆ   เมื่อตกลงกันได้  แต่ต้องตกลงกับแฟนให้ได้ พอตกลงกันได้ ที่เหลือจะเริ่มเปลี่ยนตั้งแต่มุมมอง พลวัตรอำนาจ ก็เปลี่ยน คุณจะเกรงใจในเรื่องอื่นไม่ใช่เรื่องนี้ นโยบายอาจเปลี่ยน เช่นจากเดิมอ้วน ไม่ออกกำลังกาย อาจเร่ิมออกกำลังกาย แล้วก็ไม่มีใครกดดันใครเรื่องการกินมาม่าอีก ที่สุดเหตุการณ์กินมาม่าแล้วอ้วนก็จะหมดไปจากชีวิตคุณและภรรยา...   

แต่หากคุณทำเพื่อลูกอยู่แล้ว ก็อาจเปลี่ยน Perception เรื่องการมอง อาจพากันหาข้อมูลว่า เราควรจะมองการกินมาม่ายามดึกอย่างไร อาจเอาประสบการณ์มาคุยกัน เช่นแฟนคุณก็บอกขึ้นมาว่ากินแล้วท้องอืด คุณอาจบอกว่ากินแล้วหลับยาก..นี่ไง ไม่ใช่ของดี เมื่อเห็นพร้องกันก็ปรับเปลี่ยนเรื่องอื่น เช่นอาจออกกติกา (Policy) ว่าเห็นใครหน้ามืดจะกินให้ได้ ต้องห้ามแบบไม่เกรงใจนะ และจะไม่กินเด็ดขาด อาจเปลี่ยนเป็นนมเต้าหู้ไม่มีน้ำตาลแทน เป็นต้น 

กระบวนการทั้งหมดคือการทดลองปรับเปลี่ยน ส่วนผสมของ Purpose/Perception/Power Dynamics/Policy/Pressure ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งคุณได้นิสัยใหม่ๆ คือไม่มีหิวตอนดึกอีกเลย 

คราวนี้คุณก็สามารถเอามาประยุกต์เรื่องงาน ลองเอามาตีแผ่เรื่องงาน เช่น ผลงาน หรืออะไรก็ได้ที่มีปัญหาซ้ำซาก แก้ไม่หมดซะที คือไม่ขาด เช่นยอดขายหาย  คนอยู่ไปวันๆ ทุกเรื่องเกี่ยวกับบริหารเอามาตีแผ่กันออกมา แล้วตกลงร่วมกันจะปรับเปลี่ยนองค์ประกอบไหน  เช่นผมเอาไปวิเคราะห์ให้ลูกค้ารายหนึ่ง (ลูกศิษย์ OD ของผม)

สิ่งที่เคยเกิดคือ ยอดขายหายไปเกินครึ่งช่วง Covid  (Events)) สิ่งที่กำลังจะเกิดก็คือ อาจหายอีก (Trend and Patterns) ที่คือยอดภูเขาน้ำแข็งที่อยู่หนือน้ำ  เมื่อมาดูโครงสร้างระบบการทำงาน  (Systems Structures)  ที่อยู่ใต้น้ำคุณอาจจะเห็นดังรี้

ความกดดัน (pressures)  กดดันเรื่องรายได้ครอบครัว เพราะทุกคนยังไม่ค่อย senses เรื่องรายจ่ายที่ลดลง 

นโยบาย (Policies)   คุณไม่มีนโยบายหาลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เน้นแต่ลูกค้าที่รู้จักกันมา

พลวัตอำนาจ (Power Dynamics)    เกรงใจลูกค้าเก่าๆ ไม่กล้ากลับไปขอธุรกิจ

มุมมอง (Perceptions)    มองว่าลูกค้า ถ้าถึงเวลาก็คงมาหาเอง

จุดประสงค์ (Purpose)  ทำเพื่ออะไร ทำเพื่อให้ลูกค้าคนไทยในบริษัทชั้นนำได้บริการ Consulting ระดับโลก แต่ราคาต่ำกว่า 

ผมถามเขาว่าอยากปรับอะไร   ผมแนะเขาที่ตัวล่างสุด จะปรับเป็นอะไรดีลองไปคุยกับหุ้นส่วนดู  

ทั้งหมด อยากปรับ Purpose เป็นทำให้ลูกค้าชั้นนำในภูมิภาค CLMV (ประเทศ กัมพูชา ลาว สหภาพเมียนมาร์ และเวียดนาม)  ได้บริการ Consulting ระดับโลก แต่ราคาต่ำกว่า 1/5  

เลยต้องปรับ 

ความกดดัน (pressures)  บอกความจริงครอบครัว เพื่อร่วมกันแวงแผาน

นโยบาย (Policies)   เน้นเข้าแวดวงใหม่ๆ ไปหอการค้าของประเทศใน CLMV สร้าง Connection ได้แล้ว

พลวัตอำนาจ (Power Dynamics)    เลิกเกรงใจ เราไป CLMV เราคิดว่าต้องกลับไปหาธุรกิจจากลูกค้าในไทยเดิมๆ เพื่อเป็นกำลังขยายฐาน  อาจ Partner กับหุ้นส่วนที่ขายเก่งๆ 

มุมมอง (Perceptions)    ลูกค้าอาจเชื่อคนจากสิงค์โปร์มากกว่า ลองไปหา partnerคนสิงค์โปร์ 

จุดประสงค์ (Purpose)  ทำเพื่ออะไร ทำเพื่อให้ลูกค้าคนไทยในบริษัทชั้นนำได้บริการ Consulting ระดับโลก แต่ราคาต่ำกว่า 

กระบวนการให้เน้นการมีส่วมร่วม ที่สำคัญเน้นได้แล้วทดลองปรับเปลี่ยนจนสถานการณ์เปลี่ยนไปอีกทาง 

นี่คือกระบวนการตีแผ่ความจริงด้วย Systems Thinking ที่ผมว่าเพลโตมาแนวนี้ 

คุณสามารถเอาแนวคิดนี้ ไปวิเคราะห์ชุมชน  ชาวนา การเมืองก็ได้ ลองเอาไปทำดูผมไม่ค่อยถนัด ด้านอื่น แต่ยินดีเป็น OD Consultant ให้คำปรึกษาเรื่องการนำ Iceberg ไปใช้ในการพัฒนาชุมชน ชาวนา ราชการ การเมือง ยินดีแชร์เสมอครับ  

ขอบคุณมหาบุรุษอย่างเพลโต ที่ส่งคำสอนข้ามกาลเวลามาสองพันปีให้ผมและคนจำนวนมากได้คิด ได้สนุกกับการตีแผ่ความจริงอยากเป็นระบบ ด้วยความคิดเชิงระบบ ของคุณท่านจากใจคนไทยครับ 


วันนี้พอเท่านี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

บทความโดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์

Ref: 

  1. รีพับลิก Republic (พิมพ์ครั้งที่ 5 - ปกแข็งสันโค้ง) วรรณกรรมแปล
  2. Systems Thinking for Social Change: A Practical Guide to Solving Complex Problems, Avoiding Unintended Consequences, and Achieving Lasting Results, Paperback – Illustrated, October 16, 2015 by David Peter Stroh 
หมายเลขบันทึก: 687627เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2020 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2020 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากค่ะ ที่เขียนเข้าใจง่าย

ความยุติธรรมมันอยู่กับผู้มีอำนาจในองค์กรนั่นเอง เราเองอาจไม่รู้สึกยุติธรรม แต่เมื่อชีวิตเราขึ้นกับผู้มีอำนาจ ความยุติธรรมที่ดูไม่ยุติธรรมจึงมีบทบาทกะเกณฑ์กับเราเสมอ ผมก็เคยยุเพื่อนให้ขึ้นเป็นผู้นำ ถ้าไม่รู้สึกว่ายุติธรรม ดังนั้นถ้าคุณเป็นผู้นำ คุณก็สามารถสร้างกติกาที่คุณรู้สึกยุติธรรมได้

ประโยคนี้ต้องเอาไปให้คนที่ชอบบอกว่า..หัวหน้าไม่ยุติธรรม อ่านจะเข้าใจยิ่งขึ้นค่ะ สวัสดีปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงนะคะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท